Blockchain x Supply Chain: ทำความรู้จักกับคู่หูทรงพลังแห่งโลกอุตสาหกรรม
Supply Chain Management and Blockchain Technology Series: Episode 1
ในโลกของเรา มีสัจธรรมที่บอกถึงคุณค่าของสิ่งมีชีวิตอยู่ข้อหนึ่ง นั่นคือ ความเก่ง ทุกชีวิตบนโลกต่างมีความสามารถเฉพาะตัวที่โดดเด่น เช่น กระต่ายเก่งในการวิ่ง นกเก่งในการบิน หรือ ปลาเก่งในการว่ายน้ำ ความเก่งในแต่ละแบบนั้นแสดงถึงการปรับตัว และ ความอยู่รอดในโลกนี้ แต่เมื่อใดที่ความเก่งของแต่ละสิ่งแตกต่างกัน และ ต้องเผชิญหน้าในสถานการณ์ หรือ อุปสรรคที่แตกต่างกันไป พวกเค้ามักจะต้องการ “คู่หู” ที่เก่งในแบบของตนเองมาช่วยกัน เพื่อให้การทำงานหรือการเอาชีวิตรอดเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์แบบ แสดงถึง ภาวะความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกันกับในโลกของธุรกิจและอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนที่ต้องอาศัยการจัดการที่ดี
จากประสบการณ์ที่ผูเขียนเป็น Software engineer ที่โลดแล่นอยู่ในวงการ Financial มาโดยตลอด ได้เห็น Evolution ของเทคโนโลยีที่ทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินของทั่วทั้งโลกเปลี่ยนแปลงไป นับตั้งแต่การเกิดขึ้นของ FinTech ไม่ว่าจะเป็น Mobile banking หรือ Trend อย่าง Cashless Society ทั้งหลาย ไปจนถึงการนำ Blockchain มาใช้ในการสร้างความโปร่งใส และ ความปลอดภัยในการทำธุรกรรม และ ในวันนี้เรากำลังเห็นเทคโนโลยี Blockchain ไม่ได้หยุดอยู่แค่โลกของการเงินเท่านั้น แต่มันกำลัง Expand ไปยังอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย รวมไปถึงวงการ Supply Chain ซึ่งเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงสินค้าจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค
Supply Chain Management เป็นหนึ่งในกระบวนการที่มีการเคลื่อนย้ายโยกย้ายข้อมูล และ สินค้าอย่างรวดเร็ว การขนส่งจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งจะต้องมีการตรวจสอบติดตามข้อมูลอย่างละเอียด และ มีความโปร่งใส แต่ Supply Chain เองก็มีข้อจำกัด และ ข้อด้อยบางอย่างในการทำงานส่งผลให้มีประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผลที่ค่อนข้างแย่ นั่นจึงเป็นที่มาของการหา “คู่หู” ที่มี Relation ที่เหมาะสมในแบบของ Protocooperation เพื่อให้การเปลี่ยนถ่ายยุคสมัยนั้นเป็นไปได้ด้วยดี โดยเทคโนโลยีจะที่เข้ามาเป็น “คู่หู” ในการช่วยเหลือ Supply Chain นั่นก็คือ Blockchain
Protocooperation คือ ความสัมพันธ์แบบได้ประโยชน์ร่วมกัน (+, +) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของ 2 สิ่งแบบได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน สามารถขาดกันได้ถึงแม้ว่าจะแยกกันอยู่ก็สามารถดำรงชีวิตหรือทำงานต่อไปได้ตามปกติ
Blockchain นั้นเก่งในเรื่องของการสร้างความโปร่งใส และ ความปลอดภัยในการบันทึกข้อมูล และ ด้วยความสามารถในการทำงานแบบ Decentralized Ledger ที่มีกลไกที่ทำให้ข้อมูลไม่สามารถถูกปลอมแปลงได้ อีกทั้งยังทนทานต่อความเสียหายได้อีกด้วย และ ทุกความเคลื่อนไหวสามารถตรวจสอบได้แบบ Real Time ความเก่งกาจในด้านนี้ของ Blockchain จะเข้ามาช่วยเสริมจุดแข็งและแก้จุดอ่อนของ
Supply Chain ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งเมื่อจับคู่พวกเค้าร่วมกัน เราก็จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในอุตสาหกรรม Supply Chain ไปในทิศทางที่น่าสนใจอย่างแน่นอน
โดยตลอด Series นี้ จะพาทุกคนไปดูรายละเอียดต่างๆที่น่าสนใจที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของโลก Supply Chain และ บทบาทของ เทคโนโลยี Blockchain ที่จะส่งผลต่อธุรกิจเหล่านี้กัน ซึ่งใน Episode 1 นี้ ทุกคนจะได้เห็นว่าทำไมการผสานพลังของ “คู่หู” สองสิ่งนี้ถึงสำคัญและมันจะมาเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรม Supply Chain ได้อย่างไร
ก่อนจะไปพูดถึงการรวมกันของ 2 คู่หูสุดเทพ อย่าง Blockchain และ Supply Chain เราคงต้องย้อนมาพูดถึง Supply Chain Management ก่อนว่ามันคืออะไรและมีความสำคัญอย่างไรในโลกธุรกิจ และ อุตสาหกรรม
รู้จักกับ Supply Chain สักหน่อย
Supply Chain Management คือ กระบวนการที่เชื่อมโยงทุกจุดในระบบ ตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ การขนส่งสินค้า ไปจนถึงการส่งมอบผลิตภัณฑ์ถึงมือผู้บริโภค ที่มีความครอบคลุมทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะช่วยให้การ Manage นั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้การผลิต และ กระจายสินค้าดำเนินไปอย่างราบรื่น ประหยัดต้นทุน และ มีประสิทธิภาพสูงสุด
ในยุคที่โลกเรามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความต้องการของลูกค้าที่ผันผวน และ การแข่งขันในตลาดที่สูงขึ้น ส่งผลให้ในหลายๆ ธุรกิจ และ อุตสาหกรรม Supply Chain ต้องปรับตัวให้ทันตามกระแสของโลก โดยความคล่องตัว และ ประสิทธิภาพ เป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับธุรกิจ และ อุตสาหกรรมในยุคนี้ เพราะเพียงแค่ล่าช้า หรือ ผิดพลาดเพียงเพียงเล็กน้อย ก็อาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่ทั้งหมด ซึ่งอาจจะส่งผลเสียอย่างมากต่อธุรกิจ อุตสาหกรรม จนอาจจะนำไปถึงจุดที่ทำให้สูญเสียรายได้ หรือ ลูกค้าเลยก็เป็นได้
และที่สำคัญกว่านั้น Supply Chain ยังเป็นสิ่งที่สร้างการเชื่อมโยงให้กับหลายๆอุตสาหกรรม หากการจัดการ Supply Chain มีปัญหา มันอาจจะส่งผลกระทบต่อกันเป็นลูกโซ่ให้กับ Stakeholder ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต, ผู้จัดจำหน่าย หรือ แม้แต่ผู้บริโภค และ ยิ่งเราอยู่ในยุคที่ทิศทางของธุรกิจมีความเป็น Global สูง มีการส่งออก และ ซื้อขายกันในระดับ Global อย่างมากมาย ทำให้ความถูกต้องแม่นยำ และ ความโปร่งใสในการติดตามสินค้าจึงมีความสำคัญมากกว่าที่เคยเป็นมา
เพราะฉะนั้นแล้วการมีระบบที่มีประสิทธิภาพ พร้อมด้วยความสามารถในการติดตามที่น่าเชื่อถือ และ โปร่งใส จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่เปลี่ยนแปลงธุรกิจ Supply chain ให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จ
Supply Chain Management ที่ดีไม่ได้มีเพื่อแค่ทำให้เราส่งสินค้าตรงเวลาเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงการบริหารความเสี่ยง การสร้างความโปร่งใสในการตรวจสอบ และ การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากรอีกด้วย
รู้จักกับ Blockchain สักนิด
และเมื่อเราพูดถึงการสร้างระบบ Supply Chain Management ที่มีประสิทธิภาพ ที่มีทั้ง ความน่าเชื่อถือ และ ความโปร่งใส เทคโนโลยี Blockchain กลายเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมอย่างยิ่ง เนื่องจากมีคุณสมบัติที่สอดคล้องกับความต้องการของการทำ Supply Chain Management ในโลกปัจจุบัน
Blockchain คือ เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลรูปแบบหนึ่ง โดยข้อมูลจะถูก Save ในลักษณะของ Block ซึ่งในแต่ละ Block นั้นจะมี Signature เป็นของตัวเอง โดย Signature ของ Block นั้นจะถูกสร้างขึ้นจากข้อมูลภายใน Block ผสานเข้ากับ Signature ของ Block ก่อนหน้า ซึ่งเป็นการสร้างการเชื่อมโยงกันระหว่าง Block โดยในลักษณะแบบนี้ เราเรียกว่า Chain ส่งผลให้ข้อมูลที่ถูกบันทึกลง Block ไปแล้วนั้นไม่สามารถแก้ไขหรือปลอมแปลงได้ เพราะเมื่อข้อมูลนั้นถูกแก้ไข เจ้าตัว Signature ของ Block ก็จะเปลี่ยนไปส่งผลให้ Signature ใหม่นั้น ไม่ตรงกับ Signature ที่เก็บอยู่ใน Block ถัดไป และ ก็จะ Effect แบบนี้ไปจนถึง Block สุดท้ายของ Chain
หลายๆ คนอาจจะมีความเข้าใจผิดกับคำว่า “ข้อมูลที่เก็บอยู่บน Blockchain ไม่สามารถแก้ไขได้” คำว่า “ไม่สามารถแก้ไขได้” หมายถึง การที่เราไม่สามารถเข้าไป Replace ข้อมูลเดิมที่มีอยู่บน Blockchain ได้ แต่ยังสามารถทำการ Update ข้อมูลเข้าไปใหม่ได้ ซึ่งจะเป็นการแก้ไขในลักษณะของ Trail ยกตัวอย่าง เช่น มีแมวชื่อ A อยู่บน Blockchain แล้วต้องการแก้ไขจากชื่อ A เป็นชื่อ B ก็ สามารถทำได้ตามปกติเลย แต่แมวตัวนั้น ก็จะมี Trail ว่าเคยตั้งชื่อ A อยู่ด้วย
สรุปสั้นๆ การแก้ไขข้อมูลบน Blockchain สามารถทำได้แต่จะเป็นในลักษณะของการ Update ที่จะมี Trail ตามหลังเสมอครับ
สำหรับธุรกิจ อุตสาหกรรม Supply Chain นั้น Blockchain จะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการทำ Supply Chain Management และ มันยังช่วยส่งเสริมการทำงานให้กับ ระบบ MES ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการผลิต และ การจัดส่งสินค้าให้มีการจัดการที่ดีขึ้น และ ประสิทธิภาพสูง
ระบบ MES คือ ระบบที่ใช้ในการจัดการ และ ควบคุมกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม โดยระบบนี้ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างแผนการผลิต (เช่น ERP หรือ Enterprise Resource Planning) และ การทำงานในระดับภาคพื้น โดยระบบ MES จะช่วยเก็บข้อมูล และ ติดตามกระบวนการต่างๆ ในโรงงาน เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพรวมของการผลิตในแบบ Realtime และ ช่วยให้การจัดการกระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น
และจากนี้ขอขยายความถึงคุณสมบัติที่ว่า “จะเป็นปัจจัยสำคัญที่เปลี่ยนแปลงธุรกิจ Supply Chain ให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จ” ที่มีในตัว Blockchain
- อย่างแรกความโปร่งใส (Transparency) ในทุกๆ การบันทึกข้อมูลที่เกิดขึ้นในระบบ Blockchain จะถูกเก็บอย่างเปิดเผยในบัญชีกลาง (Distributed Ledger) ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงและตรวจสอบข้อมูลได้แบบ Realtime โดยข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถแก้ไข หรือ เปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย ทำให้การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจะกลายเป็นเรื่องง่ายดาย และ ช่วยสร้างความไว้วางใจให้กับทุกๆ Stakeholder ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
- อย่างที่สองการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) เป็นคุณสมบัติที่เรียกได้ว่าจะเป็นจุดเด่นที่สร้างความได้เปรียบอย่างมากเมื่อใช้ Blockchain ใน Supply Chain โดยทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้ายสินค้า หรือ มีการเปลี่ยนแปลงสถานะ ระบบ Blockchain จะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ไว้ในทุกขั้นตอน ทำให้ Stakeholder ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ผู้บริโภค สามารถตรวจสอบที่มาที่ไปของสินค้าได้อย่างละเอียด ยกตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่นำเข้า และ การรายละเอียดการใช้งานต่างๆ ในสายการผลิตอย่างชัดเจน ในขณะที่ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบประวัติของสินค้านั้นอย่างละเอียดได้ไม่ว่าจะเป็น ตรวจสอบแหล่งที่มาของวัตถุดิบ กระบวนการผลิต ประวัติการขนส่งตั้งแต่สายการผลิตจนถึง Shelf ที่วางขายสินค้านั้น และ ส่งต่อไปถึงมือของผู้บริโภคได้
- และอย่างสุดท้ายคือ ความปลอดภัย (Security) ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณสมบัติเด่นที่สุดของ Blockchain ด้วยการใช้เทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยต่างๆ ทำให้ข้อมูลที่ถูกบันทึกใน Blockchain ไม่สามารถถูกปลอมแปลง หรือ เข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต
โดยปกติแล้วในการ Hosting Blockchain มาใช้งานนั้น เราจะมีการ DeclareNetwork ที่เปรียบเสมือน Community ที่ช่วยจะกันเก็บข้อมูล ซึ่งภายใน Community นั้นก็จะประกอบไปด้วย Node หลายๆ Node ที่เก็บข้อมูล และ Sync ข้อมูลกันอยู่ตลอดเวลาโดยข้อมูลที่เก็บอยู่บน Blockchain นั้นจะถูกกระจายไปยังทุก Node ใน Network ทำให้การโจมตี หรือ Hack ข้อมูลเป็นเรื่องยากมาก ซึ่งเป็น Mechanism ที่ช่วยเสริมความปลอดภัยให้กับทั้งข้อมูล และ การทำธุรกรรมต่างๆ และด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ Blockchain จึงกลายเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาเสริมประสิทธิภาพและสร้างความไว้วางใจให้กับระบบ Supply Chain ไม่ว่าจะเป็นการลดข้อผิดพลาดในกระบวนการต่างๆ การสร้างความโปร่งใสในทุกขั้นตอน หรือ
การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ไม่สามารถถูกละเมิดได้
ในปัจจุบัน ระบบ Supply Chain มักจะพบเจอปัญหาหลายอย่าง ซึ่งปัญหาเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ Blockchain สามารถเข้ามาช่วยแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น การขาด Traceability ของสินค้า และ วัตถุดิบ ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ส่งผลให้เกิดการปลอมแปลงสินค้า ที่ยากจะตรวจสอบ และ อาจทำให้ขาดความเชื่อมั่นกัน ใน Stakeholder ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และผู้บริโภค และ การที่ไม่มีระบบที่สร้างความชัดเจน และ ความโปร่งใสทำให้หลายฝ่ายไม่สามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง
ซึ่งปัญหาเหล่านี้ Blockchain สามารถช่วยได้โดยการนำมาสร้างเป็นระบบที่มีความน่าเชื่อถือ และ โปร่งใส ทำให้ Stakeholder สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกการเคลื่อนไหวของสินค้าหรือข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาของวัตถุดิบ สิ่งเหล่านี้ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่น และ โปร่งใสให้กับผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่าย
ตัวอย่างการใช้งาน
1). การสร้าง Traceability ของอาหาร ในอุตสาหกรรมอาหาร ความสามารถในการทำ Traceability ตั้งแต่ ฟาร์ม สู่ จาน ของผู้บริโภคนั้นมีความสำคัญมาก หากเกิดปัญหา เช่น การปนเปื้อนของอาหาร Blockchain ช่วยให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังแหล่งที่มาของวัตถุดิบได้ทันทีว่าอาหารเหล่านั้นมาจากที่ใด ผ่านกระบวนการใดมาบ้าง และใครเป็นผู้จัดส่ง สิ่งนี้ช่วยให้กระบวนการเรียกคืนสินค้าเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคในวงกว้างได้อีกด้วย
นอกจากจะช่วยในเรื่องของการตรวจสอบ การสร้าง Traceability ยังช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับอาหาร หรือ สินค้านั้นๆ ด้วย เป็นการสร้าง Story ให้กับอาหาร หรือ สินค้า เช่น Steak เนื้อจานนี้ ตั้งแต่เด็กถูกเลี้ยงด้วยหญ้าที่นำเข้ามาจากแหล่งที่มาชั้นยอด อาบน้ำวันละ 3 หน ให้ดื่มน้ำแร่จากเทือกเข้าแอลป์ ผ่านการตัดแต่ง และ ปรุงโดยเชฟที่มีชื่อเสียง ก่อนจะมาถึงร้านอาหารนี้ หรือ อีกตัวอย่างนึงคือ กระเป๋าใบนี้ ถูกทำมาจากหนังจระเข้ในป่าอเมซอน ที่เย็บโดยช่างทำกระเป๋าชื่อดังจากฝรั่งเศษ และ เคยผ่านการใช้งานมาจากดาราชื่อดัง เป็นต้น
จากตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้าง Traceability กับ อาหารซึ่ง Regulator ในบางประเทศได้ออกมาตรการบังคับในการจัดการเรื่องนี้อย่างเข้มงวด เช่น FDA ของ USA ได้ออกมาตรการในการทำ Traceability กับอาหารในบางประเภทที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งจะช่วยในการป้องกัน และ จัดการปัญหาด้านความปลอดภัยของอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการมุ่งเน้นให้ทุกฝ่ายใน Supply Chain มีระบบบันทึกข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน และ สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปี 2026
แหล่งข่าวที่มา: https://www.fda.gov/food/food-safety-modernization-act-fsma/fsma-final-rule-requirements-additional-traceability-records-certain-foods
2). การรับรองความถูกต้องของชิ้นส่วนอะไหล่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ในอุตสาหกรรมยานยนต์ การปลอมแปลงชิ้นส่วนอะไหล่เป็นปัญหาที่รุนแรงมาก และ อาจเป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่ การนำ Blockchain มาใช้ในระบบ Supply Chain
ของอุตสาหกรรมนี้ช่วยให้สามารถตรวจสอบได้ว่าชิ้นส่วนทุกชิ้นที่ถูกส่งไปยังโรงงานประกอบรถยนต์ หรือ ร้านซ่อมเป็นของแท้หรือไม่ เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับชิ้นส่วนจะถูกบันทึกไว้ในระบบตั้งแต่การผลิต การจัดส่ง จนถึงผู้ใช้งานปลายทาง ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถแก้ไขหรือปลอมแปลงได้ง่าย
สรุป EP.1
การทำ Supply Chain Management เป็นกระบวนการที่จำเป็นมากในการจัดการวัตถุดิบ สินค้า และ ข้อมูลในเครือข่ายโลจิสติกส์ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในความเป็นจริงธุรกิจ และ อุตสาหกรรมในระบบ Supply Chain นั้นมีความซับซ้อน ยุ่งยาก และ ด้อยประสิทธิภาพไปตามกาลเวลา และ ยุคสมัย Blockchain ในฐานะของ Technology ในยุคสมัยใหม่ ได้เข้ามามีบทบาทในการเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสใน Supply Chain Management โดยช่วยให้การติดตามสินค้าจากแหล่งที่มามีความแม่นยำ ป้องกันการปลอมแปลงข้อมูล และ สร้างความน่าเชื่อถือในทุกขั้นตอน
ซึ่งการผสานพลังกันของคู่หูระหว่าง Supply Chain และ Blockchain นั้น เป็นแค่จุดเริ่มต้น ยังมี Room ที่ให้เล่น และ สานต่ออีกมากมาย ซึ่ง คู่หู คู่นี้ค่อนข้างมี Potential สูงในการเปลี่ยนแปลงอนาคตของโลกอุตสาหกรรม
โดยใน Episode หน้าผู้เขียนจะมาแชร์เรื่อง Accounting อย่างไรให้ถูกใจสาย Chain โดยในเนื้อหาจะพูดถึง การทำ Accounting สำหรับการสร้าง Traceability ใน Supply Chain ให้ประสิทธิภาพ โดยใช้ Blockchain Technology
ผู้เขียน Tinnakorn Pornsontisakul
รายละเอียดเพิ่ม คลิก