หุ้นวิชั่น – ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.เอเอสแอล ระบุ SCB คาดกำไรสุทธิปี 2025 ที่ 4.5 หมื่นล้านบาท (+3.3% YoY) โดยสินเชื่อขยายตัว 1.6% และ Fee Income โต 2.2% จากธุรกิจประกันและ Wealth ส่วน Credit cost ลดลงเหลือ 1.7% และ NPLs ratio ลดลงเหลือ 3.3% สะท้อนคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น
► แนวโน้ม 1Q25 ทรงตัว QoQ และ YoY จาก NIM ที่ลดลงหลังการปรับลดดอกเบี้ย แต่ยังพอรับมือได้จาก OPEX และ ECL ที่ลดลง
► คงคำแนะนำ “ถือเพื่อรับปันผล” ราคาเป้าหมาย 125.25 บาท อิง PBV 0.87 เท่า โดย Payout Ratio สูงถึง 80% โดยงวด 2H24 จ่ายปันผล 8.44 บาท (ทั้งปี 10.44 บาท) คิดเป็น Div. Yield 6.9% (ทั้งปี 8.5%) XD 16 เม.ย. ทั้งนี้คาดการณ์ Div. Yield ปี 25-27 สูงกว่า 8.8-9.4% แต่เนื่องจาก Upside จำกัด แนะนำ “ถือเพื่อรับปันผล”
Earnings Recap
• 4Q24 : กำไรสุทธิเท่ากับ 1.1 หมื่นล้านบาท -5.8%QoQ, -6.1%YoY ดีกว่าตลาดคาด 16% จากการลดลงของการตั้งสำรอง -10.7%QoQ คิดเป็น Credit cost ที่ 1.62% จากฐานที่สูงในปีก่อนที่มีการตั้งเพิ่มในส่วนของ Management overlay ส่วนด้าน PPOP ยังขยายตัว +1.8%QoQ, +9.1%YoY ดีขึ้นเด่น YoY จาก Fee income และรายได้จากการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่ลดลง คิดเป็น C/I ที่ 42.7% หลังยุติการดำเนินงานของ PPV ด้าน NII ชะลอตัวลง จากการลดลงของ Earnings yield asset ที่มากกว่า CoF ส่งผลให้ NIM ปรับลดลงเหลือ 3.88% -3 bps QoQ, -8 bps YoY ส่วนสินเชื่อ -1.3%QoQ, -1.0%YoY จากการหดตัวของทั้งสินเชื่อธุรกิจ SME และรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อและสินเชื่อไม่มีหลักประกันที่หดตัวแรง ส่วน CardX และ AutoX ดีขึ้นเล็กน้อน YoY ด้าน NPLs ratio เท่ากับ 3.37% ลดลง QoQ-YoY จากกลุ่มสินเชื่อบุคคลและ CardX ที่มีคุณภาพดีขึ้น
• 24FY : กำไรสุทธิเท่ากับ 4.39 หมื่นล้านบาท +1.0%YoY ดีขึ้นจาก NII ที่เพิ่มขึ้น และการตั้งสำรองที่ลดลง แม้ว่าจะมีปัจจัยลบจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่ชะลอตัว และมีรายการพิเศษจาก Robinhood ทั้งนี้มี ROE เท่ากับ 9.1% (-0.2%YoY)
Outlook 25F เน้นการเติบโตอย่างมั่นคง เป้าหมายไม่หวือหวา
• GDP +2.4% : คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันการค้าของทรัมป์ 2.0 ส่งผลต่อภาคการส่งออกจะชะลอตัว ส่วนการลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะฟื้นตัวได้ในระดับปานกลาง
• สินเชื่อขยายตัว 1-3% : โดยจะเน้นในกลุ่ม Gen2 (CardX และ AutoX) มากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มสินเชื่อจำนำทะเบียนรถในพอร์ต AutoX เพื่อลดผลกระทบของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง
• Credit cost 1.5-1.7% : ปรับตัวลงจากคุณภาพลูกหนี้กลุ่มบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลของ CardX ดีขึ้น สะท้อนผ่านพัฒนาการด้าน NPL ที่ดีขึ้นในกลุ่มนี้
• NIM ในกรอบ 3.6-3.8% : ปรับลดลงจากสิ้นปี 24 ที่ 3.85% โดยพยายามปรับพอร์ตไปยังกลุ่ม Gen2 ที่ให้ Yield สูงในสัดส่วนมากขึ้น
• Fee income ขยายตัว 2-4% : จากธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง และการฟื้นตัวจากธุรกิจประกันผ่าน AutoX รวมถึงค่าธรรมเนียมจากธุรกิจ Gen2 และ 3
• C/I ในช่วง 42-44% : ยังมีค่าใช้จ่ายด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และ Cloud COEs รวมถึงด้าน IT เพิ่มขึ้นเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี และ AI มากขึ้น
• ผู้บริหารคาดว่า มาตรการ “คุณสู้ เราช่วย” จะมีมูลหนี้เข้ามา 6-7 พันล้านบาท
คาดกำไรสุทธิปีนี้ขยายตัวเพียง 3.3%
• ประเมินกำไรสุทธิทั้งปีที่ 4.5 หมื่นล้านบาท +3.3%YoY โดยคาดสินเชื่อขยายตัว 1.6% ในกลุ่ม Gen 2 เป็นหลัก ส่วน NIM ลดลงที่ระดับ 3.7% ตามกรอบเป้าหมายของ SCB ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมประเมินเติบโตบริเวณกรอบล่างของเป้าธนาคาร 2-4% ที่ 2.2% จากการ cross selling ผลิตภัณฑ์ทางการเงินของธนาคารโดยเฉพาะธุรกิจประกันและ Wealth อย่างไรก็ดี Credit cost ลดลงเหลือ 1.7% และ NPLs ratio ลดลงเป็น 3.3% จากแนวโน้มคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น
• แนวโน้ม 1Q25F เบื้องต้นทรงตัว QoQ และ YoY จาก NIM ที่ลดลงหลังกนง.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% และ SCB ประกาศลดดอกเบี้ย M-Rate ลง แต่ยังไม่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอย่างทันที รวมถึงการปรับมูลค่าตลาดที่ลดลงจากเครื่องมือทางการเงิน แต่ยังประคองตัวได้จากการลดลงของ OPEX และ ECL ที่มีแนวโน้มลดลง
คงคำแนะนำ “ถือเพื่อรับปันผล” ที่ราคาเป้าหมาย 125.25 บาท
• เราคงคำแนะนำ “ถือเพื่อรับปันผล” โดยมีราคาเป้าหมายที่ 125.25 บาท อิง PBV ที่ 0.87 เท่า ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยระยะยาว (1.12 เท่า) – 0.75 SD โดดเด่นด้วยการจ่ายปันผลในระดับสูง (payout ratio ที่ 80%) ซึ่งในงวด 2H24 จ่ายปันผลระหว่างกาลหุ้นละ 8.44 บาท (ทั้งปีที่ 10.44 บาท) คิดเป็น Div.yield เท่ากับ 6.9% (คิดเป็นทั้งปี 8.5%) ขึ้น XD 16 เม.ย. ขณะที่แนวโน้มในปี 25-27F คาดหวังการจ่ายปันผลในระดับสูงต่อเนื่อง คิดเป็น Div.yield สูงกว่า 8.8-9.4% แต่ด้วย upside ปัจจุบันที่ค่อนข้างน้อย จึงแนะนำเพียง “ถือเพื่อรับปันผล”
ปัจจัยเสี่ยง: การชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย สภาวะหนี้ภาคครัวเรือนในระดับสูง แนวโน้มคุณภาพสินทรัพย์ที่ด้อยคุณภาพ และกฎเกณฑ์จากทางการที่ส่งผลกระทบในเชิงลบ
ประเด็นที่มีนัยยะสำคัญด้านความยั่งยืน: การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (E) และความมั่นคงทางไซเบอร์-ข้อมูลสารสนเทศ (G)