หุ้นวิชั่น – ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุถึง BANK Sector ว่า มาร์จิ้นลดลงชดเชยด้วยกำไรจากการลงทุนตราสารหนี้
Event
สรุปประมาณการ 1Q68F และอัพเดตแนวโน้มกลุ่มธนาคาร
Impact
คาดว่ากำไรสุทธิใน 1Q68F จะเพิ่มขึ้น 14% QoQ และ 6% YoY
ปัจจัยการโตกำไร QoQ เป็นผลจากฐานกำไรต่ำในไตรมาส 4/67 เพราะคชจ.ดำเนินงาน ส่วนการโต YoY เป็นผลจาก NIM ลดลงเล็กน้อย และคชจ.ตั้งสำรองฯลด โดยเฉพาะ KBANK, KTB และ SCB อย่างไรก็ตาม เราคาดว่ากำไร FVTPL ของ BBL จะลดลง เพราะผลขาดทุน MTM จากการลงทุนในหุ้น
เราคาดว่า credit cost ของ TTB และ KKP จะลดลงจาก LOS ที่ลดลงเพราะราคารถมือสองขยับเพิ่มขึ้น
NIM ที่ลดลงจะถูกชดเชยโดยกำไร FVTPL
นอกจากจะมีการปรับลดดอกเบี้ยลงแล้ว การปรับสัดส่วนสินทรัพย์โดยเพิ่มการปล่อยกู้ในตลาดเงินซึ่งมีความเสี่ยงต่ำยังเป็นปัจจัยที่กดดันให้ NIM ลดลงด้วย ซึ่งเมื่อพิจารณาเป็นรายธนาคาร พบว่า KTB มีการปล่อยกู้ในตลาดเงินเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมาคือ KBANK ในขณะที่ของ BBL เพิ่มขึ้น 5% แต่การปล่อยกู้ในตลาดเงินของ SCB และ TTB ลดลง อย่างไรก็ตาม ธนาคารทุกแห่งมีการปรับเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจากแนวโน้มอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่อยู่ลดลง กลยุทธ์นี้น่าจะช่วยให้ธนาคารมีกำไร FVTPL ซึ่งจะมาช่วยชดเชย NIM ที่ลดลง
การดำเนินงานของกลุ่มธนาคารไม่ได้แย่มากนักในรอบแรกที่สหรัฐตั้งกำแพงภาษีในปี 2561
การที่สหรัฐเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 2561 ซึ่งในตอนนั้น สหรัฐทยอยประกาศขึ้นภาษี โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 8-9 เดือนจากเดือนมกราคม 2561 ถึงกันยายน 2561 ส่งผลให้ GDP ลดลงจาก 4.2% ในปี 2561 เหลือ 2.2% ในปี 2562 โดยที่อัตราการขยายตัวของการส่งออกพลิกจาก 3% ในปี 2561 เป็นหดตัวที่ -6% ในปี 2562 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายแกว่งตัวจาก 1.5% เหลือ 1.25% จากปี 2561-2562 ซึ่งในช่วงนั้น การดำเนินงานของกลุ่มธนาคารไม่ได้แย่มากนักเพราะกำไรสุทธิรวม (ของธนาคาร 7 แห่ง) เพิ่มขึ้น 6% ในปี 2561 และพลิกมาเป็นลดลง 0.6% ในปี 2562 ในขณะที่ NPL เพิ่มขึ้น 3% ในปี 2561 และ 4% ในปี 2562 โดย credit cost ลดลงในปี 2561-2562 (figure 1-6)
ความเสี่ยงจากการตั้งกำแพงภาษีรอบ 2 ของสหรัฐในปี 2568 ขึ้นกับการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
เราคิดว่าภาวะตลาดในปัจจุบันใกล้เคียงกับเมื่อปี 2561 ในแง่ที่ว่ามีการปรับลด NPL ส่วนใหญ่ออกจากงบดุลไปแล้วในปี 2567 ผ่านการตัดหนี้สูญ และขายออกไปให้ AMC ซึ่งคล้ายกับปี 2560 ก่อนที่มีมาตรการภาษีของสหรัฐ นอกจากนี้ในปัจจุบันธนาคารส่วนใหญ่ยังมีสำรองส่วนเกินและมีรายได้สูงกว่าช่วงปี 2561
เราคิดว่าธนาคารส่วนใหญ่จะสามารถรับมือในแง่ของคุณภาพสินทรัพย์ได้ อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงจะมาจาก NIM ที่ลดลงตามระดับความรุนแรงของการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท.