#ตลาดหุ้นไทย


อภิปรายรัฐบาลประทุ เขย่าหุ้นไทยแค่ไหน? โผ 5 บจ.ซื้อหุ้นคืน- จับตา 10 หุ้น Deep Value เช็กได้!

อภิปรายรัฐบาลประทุ เขย่าหุ้นไทยแค่ไหน? โผ 5 บจ.ซื้อหุ้นคืน- จับตา 10 หุ้น Deep Value เช็กได้!

           หุ้นวิชั่น – โหมโรงศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ที่พุ่งเป้าไปที่ตัว นายกรัฐมนตรี วันที่ 24-25 มี.ค.นี้ เขย่าหุ้นกลุ่มการเมืองอะไรบ้าง นักลงทุนควรทำตัวอย่าไร หุ้นอะไรได้ประโยชน์ หุ้นอะไรได้รับผลกระทบ ต้องติดตาม ทีมงานหุ้นวิชั่น พร้อมรายงาน            จับตา 10 หุ้น Deep Value ประกอบด้วย CPALL, BDMS, MINT, BH, GPSC, SCGP, HMPRO, KBANK, BBL, AOT            เกาะติด 5 หุ้น ที่มีโอกาส ซื้อหุ้นคืน ตาม PTT นั่นคือ PTTEP, PTTGC, BCP, TOP, SCGP            บทวิเคราะห์ บล .กรุงศรี ประเมินทิศทางการลงทุนตลาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้า(24-29 มี.ค.2568) ว่า มีโอกาส “ฟื้นตัว” ตลาดจับตา การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล & นายกรัฐมนตรี 24-25 มี.ค. เพื่อประเมินเสถียรภาพรัฐบาล แต่กรณี Base Case ประเมิน รัฐบาลขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจได้ต่อ และน่าจะหนุนเม็ดเงินลงทุนชะลอดูความชัดเจน ทยอยกลับมาลงทุน SET ที่อยู่ในโซนลงทุน Current Equity Risk Premium ปัจจุบัน 4.8% +/- > AVG. +1.5 S.D.            โดยมีหุ้นเด่น กลุ่มที่มาตรการรัฐฯหนุน (ธนาคาร เช่าซื้อ อสังหา) หุ้นสื่อสาร คาดกระแสงาน AI Revolution รวมถึงคาดมี Preview งบ 1Q25F ที่ยังมีแนวโน้มดีหนุนกลุ่มที่ตลาดเก็งมีศักยภาพทำ และ 10 หุ้น Deep Value (CPALL, BDMS, MINT, BH, GPSC, SCGP, HMPRO, KBANK, BBL, AOT)            และ 10 หุ้น Deep Value (CPALL, BDMS, MINT, BH, GPSC, SCGP, HMPRO, KBANK, BBL, AOT)            หุ้นเด่นสัปดาห์นี้ : แนะนำ PTT, TRUE, KTB ส่วนสัปดาห์ก่อน BDMS, BCH, SCGP ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย -6.22% vs. ดัชนีฯที่ให้ผลตอบแทน 1.09% • PTT (TP Con-34.9): คาดโมเมนตัมการประกาศโครงการ Treasury Stock หนุนต่อ • TRUE(TP25F-15): กระแสงาน AI Revolution + ใกล้ Preview คาดกำไร 1Q25F ดีต่อ • KTB(TP25F-27): ได้ประโยชน์มาตรการซื้อหนี้ธนาคาร + ผ่อนคลาย LTV สูงลำดับต้น •            Investment Theme: • March25 Best Picks: AMATA, AP, BA, BH, BTS, CPALL, MTC • 1Q25F Stock Picks: ADVANC, AWC, BJC, BTS, CPALL, HMPRO, IVL, KBANK, KTB, TRUE Mid-Small Cap Play: INSET, JMT, MALEE, MOSHI            ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดหุ้นไทย • (*) US Econ: 24 มี.ค. ดัชนี Flash PMI ภาคผลิตและบริการ มี.ค. 25 ไม่มีคาด prev. 52.7 และ 51.0 จุด, 25 มี.ค. ความเชื่อมั่นผู้บริโภค Conf. Board มี.ค. คาด 94.0 จุด vs prev. 98.3 จุด • (*) US PCE: 29 มี.ค. เงินเฟ้อ PCE ก.พ.25 คาด +2.5%y-y, +0.3%m-m prev. +2.5% +0.3% • (*) CH Rate: 26 มี.ค. ติดตามอัตราดอกเบี้ย Facility Rate อายุ 1 ปี คาดคงที่ระดับ 2.0% • (*) TH Politic: 24-25 มี.ค. ติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล • (*) Tech Seminar: 27 มี.ค. ติดตามงานสัมมนา AI Revolution “a New Paradigm of New World Economy” บจ.หลักๆ ที่ร่วมงาน ได้แก่ ADVANC, BBIK, KBANK, WHA •             Treasury Stock: คาดกระแสเก็งหุ้นที่มีโอกาสทำ Treasury Stock เพิ่มขึ้น ประเมินหุ้นที่มีฐานะการเงินรองรับได้เป็นเป้า ได้แก่ หุ้นกลุ่มธนาคาร PTTEP, PTTGC, BCP, TOP, SCGP •            สัปดาห์นี้ วันที่ 24 – 29 มี.ค. ต่างประเทศ ติดตามรายงาน GDP และ Core PCE สหรัฐฯ ดัชนี Flash PMI ประเทศเศรษฐกิจสำคัญ ภายในประเทศ ติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจ สัปดาห์หน้า เรื่องหลักที่กำหนดทิศทางตลาดคาดอยู่ที่ภายใน ติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล 24-25 มี.ค. ตลาดน่าจะติดตามสัญญาณบ่งชี้ถึงเสถียรภาพรัฐบาล            ส่วนปัจจัยภายนอก ติดตามแนวโน้มดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะ Flash PMI ภาคผลิตและภาคบริการ มี.ค. 25 และความเชื่อมั่นผู้บริโภค ทั้งของ ม.มิชิแกน และ Conf Board หลังจากตลาดกังวลต่อความเสี่ยงเศรษฐกิจสหรัฐฯ มากขึ้น จากสัญญาณชี้นำในส่วน Inverted Yield Curve ที่เกิดขึ้นระยะหลัง ก่อนปลายสัปดาห์ รวมถึงการรายงานเงินเฟ้อ Core PCE ซึ่งคณะกรรมการ Fed ให้น้ำหนัก โดยมองมีความเสี่ยงด้านสูงสะท้อนจากโครงสร้างของ CPI และ PPI ที่รายงานออกมาก่อนหน้า

อ่านเกมส์ ศึกกลุ่มรับเหมาก่อสร้างไทย พร้อมโอกาสเติบโต [HoonVision x FynnCorp]

อ่านเกมส์ ศึกกลุ่มรับเหมาก่อสร้างไทย พร้อมโอกาสเติบโต [HoonVision x FynnCorp]

Key Highlights: แนวโน้มกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง ยังมีปัจจัยหนุนจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐที่เติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ผู้รับเหมารายใหญ่ ยังคงได้เปรียบในการแข่งขัน ในด้านผู้เล่นใหญ่ในอุตสาหกรรม ช.การช่าง (CK) ครองมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap) ถึง 80% และเป็นบริษัทที่ทำกำไรสุทธิได้สูงสุดของกลุ่ม ขณะที่ อิตาเลียนไทยฯ (ITD) ทำรายได้สูงสุด ในกลุ่มก่อสร้างโครงการภาครัฐ CK ถือเป็นผู้เล่นที่โดดเด่นในกลุ่ม และ ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง (UNIQ) โดดเด่นเรื่อง Dividend Yield สูง กลุ่มธุรกิจก่อสร้างยังมีแนวโน้มขยายตัว เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2568 เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้อนุมัติการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 4 โครงการใหญ่ รวมมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ของบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และโครงการ Data Center 3 โครงการจากบริษัทในไทย จีน และสิงคโปร์ สะท้อนการเติบโตของเทคโนโลยี AI และส่งเสริมการก้าวเข้าสู่การเป็นดิจิทัลฮับของไทย นอกจากนี้ ยังส่งผลดีต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ ธุรกิจก่อสร้าง ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC) ประเมินการก่อสร้างภาครัฐในปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัว 3% จากการได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นของหน่วยงานหลักที่ลงทุนภาคก่อสร้าง ได้แก่ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง และการเปิดประมูล การเริ่มก่อสร้างโครงการเมกะโปรเจกต์ต่างๆ ขณะที่ SCB EIC คาดการก่อสร้างภาคเอกชนจะขยายตัวเล็กน้อย จากแรงกดดันของตลาดที่อยู่อาศัยฟื้นตัวช้า โดยเฉพาะตลาดโครงการระดับราคาปานกลาง - ล่าง ท่ามกลางภาวะ Oversupply ของอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นรายใหญ่ในอุตสาหกรรม ยังคงได้รับปัจจัยบวกเนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความสามารถในการเข้าประมูลรับงานก่อสร้างจากโครงการภาครัฐ ซึ่งมีมูลค่าสูง มีสัดส่วนมากกว่าการก่อสร้างภาคเอกชน และเป็นโครงการลงทุนต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟฟ้า มอเตอร์เวย์ รวมถึง Megaprojects ด้านการคมนาคมที่จะเปิดประมูลในปี 2568 นี้ รวมมูลค่าโครงการกว่า 4 แสนล้านบาท CK ครองส่วนแบ่งตลาดใหญ่ ในกลุ่มผู้เล่นในอุตสาหกรรมก่อสร้าง สามารถแบ่งได้ตามกุล่มที่รับงานก่อสร้างโครงการภาครัฐเป็นหลัก กลุ่มที่รับงานภาคเอกชนเป็นหลัก กลุ่มที่รับงานก่อสร้างอื่นๆ กลุ่มควบคุมงานก่อสร้าง รวมไปถึงรับงานเฉพาะด้าน หากพิจารณาผู้เล่นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่รับงานโครงการภาครัฐเป็นหลัก ได้แก่ ITD, CK, NWR, RT, UNIQ, CIVIL, SQ ซึ่งจากข้อมูล มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) ในปัจจุบัน พบว่า CK ครองตลาดถึง 80% ตามมาด้วย UNIQ (6%), ITD (5%), CIVIL (4%), SQ (3%) ขณะที่บริษัทขนาดเล็กอย่าง RT และ NWR มีสัดส่วน 1% ITD ทำรายได้สูงสุด แต่ CK ทำกำไรนำโด่ง แม้ว่า ITD มีรายได้รวมในปี 2567 สูงสุดที่ 72,454.98 ล้านบาท ตามมาด้วย CK (38,763.91 ล้านบาท) และ UNIQ (10,448.46 ล้านบาท) ซึ่ง ITD และ CK เป็นกลุ่มผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มีประสบการณ์ มีเป้าหมายการรับงานโครงการขนาดใหญ่ รวมถึงในต่างประเทศ และการลงทุนสร้างงานในลักษณะสัมปทานโครงการ จึงส่งผลให้มีโอกาสในการทำรายได้มากกว่าผู้เล่นในกลุ่ม แต่เมื่อดูที่กำไรสุทธิ พบว่า CK มีกำไรส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสูงสุด มูลค่า 1,445.50 ล้านบาท ตามมาด้วย UNIQ (183.04 ล้านบาท), CIVIL (114.88 ล้านบาท) และ RT (71.15 ล้านบาท) CIVIL - RT ใช้เงินทุนคุ้มค่า, UNIQ แจกปันผลสูงสุด เมื่อดูอัตราส่วนผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) และผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) พบว่า CIVIL และ RT มี ROE สูงสุดที่ 6.2% และ 6.02% ตามลำดับในปี 2567 สะท้อนถึงประสิทธิภาพการใช้เงินทุนในการสร้างผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นได้ดีเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ส่วน RT, UNIQ และ CK เด่นในด้าน ROA สะท้อนว่าบริษัทใช้สินทรัพย์ที่มีในการสร้างกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าผู้เล่นในกลุ่ม ส่วนในแง่ของเงินปันผล UNIQ มี Dividend Yield สูงสุดที่ 3.95% ตามมาด้วย CK (2.09%) และ CIVIL (1.26%) สะท้อนว่าบริษัทเหล่านี้จ่ายเงินปันผลสูงในกลุ่มเมื่อเทียบกับราคาหุ้นในปัจจุบัน กล่าวโดยสรุป CK ถือว่าเป็นผู้เล่นที่โดดเด่นในภาพรวม โดยติดสามอันดับแรก ทั้งในแง่ผลการดำเนินงาน การสร้างผลตอบแทน และการจ่ายปันผล จากการที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ในกลุ่ม ส่วน UNIQ อาจดึงดูดนักลงทุนที่ต้องการรายได้จากเงินปันผล และแม้ไม่ได้เป็นผู้เล่นใหญ่สุดในกลุ่ม แต่บริษัทมีความสามารถในการบริหาร ควบคุมต้นทุนดีขึ้นต่อเนื่องจากการซื้อเป็นจำนวนมาก ปัจจัยเสี่ยง การแข่งขันที่รุนแรงจากผู้รับเหมาก่อสร้างจากจีน ส่งผลให้ผู้เล่นของไทยเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น และอาจเป็นแบบนี้ต่อไปในอนาคต นอกจากนั้น ยังเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้สินค้าวัสดุก่อสร้างจากจีน จึงส่งผลกระทบต่อเนื่องทั้ง Supply Chain ของธุรกิจก่อสร้างในประเทศ การฟื้นตัวช้าของตลาดที่อยู่อาศัย จากอุปสงค์ที่มีการโอนกรรมสิทธฺ์ทั่วประเทศยังคงลดลงในปีที่ผ่านมาแม้จะมีแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ในการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง อย่างไรก็ตาม REIC คาดการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2568 จะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านปริมาณและมูลค่าที่ 1.6% และ 1.4% ตามลำดับ ความล่าช้าของการเปิดประมูลโครงการก่อสร้างของภาครัฐ ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อรายได้ กระแสเงินสด และต้นทุนของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรม หมายเหตุ: การวิเคราะห์ข้างต้นเป็นการดูอัตราส่วนทางการเงินเบื้องต้นเทียบกับคู่แข่งในช่วงระยะเวลาเดียว (2024) ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน อ่านรายละเอียดเพิ่ม ที่ https://app.visible.vc/shared-update/458bb195-88b7-4a0c-8827-d715d087bcb1

KKP หั่น GDP เหลือ 2.3% ชี้ไทยเสี่ยงโตต่ำ นทท.จีนหด-นโยบาย Trump กดดัน

KKP หั่น GDP เหลือ 2.3% ชี้ไทยเสี่ยงโตต่ำ นทท.จีนหด-นโยบาย Trump กดดัน

          KKP Research ประเมินเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มโตต่ำและเผชิญความไม่แน่นอนสูงจากนโยบายการค้าของสหรัฐ ฯ โดยพิจารณาจากข้อมูลเศรษฐกิจปี 2024 ที่เติบโตได้ค่อนข้างต่ำเพียง 2.5% แม้ว่าการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวได้ดีและมีมาตรการแจกเงินขนาดใหญ่จากภาครัฐแล้วก็ตาม บ่งชี้ถึงความอ่อนแอในภาคส่วนอื่นๆ ของเศรษฐกิจไทยอย่างชัดเจนจากปัญหาเชิงโครงสร้างโดยเฉพาะการผลิตภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีขนาดประมาณ 25% ของ GDP แต่หดตัวต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาจากการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในหลายอุตสาหกรรม  ทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเปราะบางและกระจุกตัวมากขึ้น จากการพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวเป็นหลัก ซึ่งอาจไม่เพียงพอที่จะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตในระยะยาวได้ อีกทั้งการเข้าสู่สังคมสูงอายุ ยังจะทำให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง และหากไม่มีการเปลี่ยนแปลง มีแนวโน้มที่อาจต่ำกว่า 2.0% ภายในปี 2035           สำหรับปี 2025 KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026 ท่องเที่ยวจีนไม่มา ชั่วคราวหรือถาวร ?           จำนวนนักท่องเที่ยวจีนตั้งแต่ช่วงหลังตรุษจีนมาเติบโตได้ต่ำกว่าที่ประเมินไว้มาก โดยจำนวนนักท่องเที่ยวจีนปรับตัวลดลงจากประมาน 6 แสนคนต่อเดือน หรือ 60% ของช่วงก่อนโควิด ลงมาที่ระดับต่ำกว่า 4 แสนคน หรือ 35% ของช่วงก่อนโควิดซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2023 ประเด็นที่น่ากังวล คือ สัญญาณการฟื้นตัวที่ช้าของนักท่องเที่ยวจีนบางส่วนไม่ได้เกิดจากปัจจัยชั่วคราวและอาจทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้าลงในระยะยาว นักท่องเที่ยวจีนมีความนิยมเที่ยวในประเทศมากขึ้น ข้อมูลในช่วงที่ผ่านมาสะท้อนว่าการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในต่างประเทศของชาวจีนฟื้นตัวช้ากว่าการท่องเที่ยวในประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยการท่องเที่ยวต่างประเทศต่ำกว่าช่วงก่อนโควิดประมาณ 13.5% ในขณะที่การท่องเที่ยวในประเทศต่ำกว่าช่วงก่อนโควิดประมาณ 6.4% ซึ่งอาจสะท้อนว่านักท่องเที่ยวจีนมีความชื่นชอบในการท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น การแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นจากประเทศญี่ปุ่นและมาเลเซีย โดยจำนวนเที่ยวบินจากจีนไปยังญี่ปุ่นและมาเลเซียมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 อย่างชัดเจน นอกจากนี้เหตุการณ์ลักพาตัวนักแสดงจีนในไทยยังเพิ่มความกังวลกับนักท่องเที่ยวจีนที่จะมาเที่ยวไทย กรุ๊ปทัวร์จีนคือกลุ่มหลักที่ไม่กลับมา โดยแม้นักท่องเที่ยวทั่วไป (Free Individual Traveler) จะเริ่มฟื้นตัวกลับมาได้กว่า 77% ของช่วงก่อนโควิด แต่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนแบบกรุ๊ปทัวร์ยังคงไม่กลับมาในระดับเดิม โดยอยู่เพียงระดับประมาณ 45% ของจำนวนช่วงก่อนโควิดเท่านั้น           KKP Research ประเมินว่าหากนักท่องเที่ยวจีนไม่กลับมาฟื้นตัวจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยอาจไม่สามารถกลับไปแตะระดับ 40 ล้านคนเท่ากับช่วงก่อนโควิดได้เร็วตามคาด เนื่องจากนักท่องเที่ยวจีนคิดเป็นสัดส่วนกว่า 30% ของภาคการท่องเที่ยวทั้งหมด โดย KKP Research ปรับประมาณการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวปี 2025 เป็น 37.2 ล้านคน จาก 38.1 ล้านคน และปี 2026 เป็น 39.9 ล้านคนจาก 40.6 ล้านคน เศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญหน้ากับความเสี่ยงจากนโยบายการค้าสหรัฐ ฯ           KKP Research ประเมินว่าประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่เผชิญความเสี่ยงจากนโยบายการค้าสหรัฐ ฯ เป็นลำดับต้น ๆ ของภูมิภาค โดยมีโอกาสสูงที่ไทยจะอยู่ในรายชื่อกลุ่มแรกของการเรียกเก็บภาษี reciprocal tariffs ซึ่งสะท้อนจากข้อมูลสองส่วน คือ 1) การเกินดุลการค้ากับสหรัฐ ฯ ในระดับสูง ซึ่งไทยถือเป็นประเทศลำดับที่ 11 ของโลกที่มีการเกินดุลการค้ากับสหรัฐ ฯ มากที่สุด 2) ส่วนต่างระหว่างอัตราภาษีเฉลี่ยตามน้ำหนักการค้าที่ไทยคิดกับสหรัฐ ฯ และสหรัฐ ฯ คิดกับไทยถือว่าสูงเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศกลุ่ม Emerging Markets และสูงที่สุดใน ASEAN และไทยยังมีมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีอีกด้วย           KKP Research ประเมินว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากนโยบายการค้าสหรัฐฯ มีความไม่แน่นอนสูงมากและยังไม่ได้รวมผลกระทบไว้ในการประเมินตัวเลข GDP โดยมี 4 ปัจจัยหลักที่ต้องประเมินผลกระทบจากการขึ้นภาษี คือ 1) ขนาดของภาษีที่สหรัฐ ฯ จะขึ้นกับไทย 2) ผลต่อการชะลอตัวของการส่งออกของไทยจากการขึ้นภาษี 3) มูลค่าเพิ่มที่ไทยสร้างได้จากการส่งออกไปยังสหรัฐ ฯ และ 4) ระยะเวลาที่ไทยจะถูกขึ้นภาษี โดยประเมินว่า           1) อัตราภาษีที่ไทยจะถูกเรียกเก็บจากสหรัฐฯ จะอยู่ในช่วง 10% - 20% โดยคำนวณจากส่วนต่างของอัตราภาษีที่ไทยคิดกับสหรัฐ ฯ และสหรัฐ ฯ คิดกับไทย อย่างไรก็ตามอัตรานี้ยังมีความไม่แน่นอนสูง           2) มูลค่าเพิ่มที่ไทยสร้างได้ในประเทศจากสินค้าส่งออกไปยังสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับ 30% - 40%  ในช่วงก่อนปี 2020 สินค้าส่งออกไทยไปสหรัฐฯ มีมูลค่าเพิ่มค่อนข้างสูงที่ประมาน 50% - 60% อย่างไรก็ตามตั้งแต่หลังปี 2020 การเติบโตของการส่งออกเกิดจากการนำเข้าจากจีนเพื่อส่งต่อไปยังสหรัฐฯ ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มในประเทศในระดับต่ำมาก ทำให้มูลค่าเพิ่มของสินค้าส่งออกไทยในปัจจุบันลดต่ำลง           จากสองปัจจัยสำคัญ KKP Research คาดการว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในภาพรวมจะอยู่ในช่วง 0.2 – 0.4ppt หากมีการประกาศขึ้นภาษีจริงและอัตราภาษีคงไว้ทั้งปี ผลกระทบดังกล่าวไม่รวมถึงผลจากข้อเสนอที่ไทยอาจต้องเจรจาเพื่อให้สหรัฐปรับลดอัตราภาษีนำเข้าลงมา ปัจจัยเหล่านี้อาจเป็นปัจจัยลบเพิ่มเติมโดยต้องจับตาช่วงต้นเดือนเมษายน ที่สหรัฐฯ จะมีการประกาศเกี่ยวกับนโยบายภาษีนำเข้าเพิ่มเติม นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐมีแนวโน้มให้ผลจำกัด           มาตรการแจกเงินผ่านนโยบาย Digital Wallet เป็นความหวังของภาครัฐว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ส่งผลบวกน้อยกว่าที่ประเมินไว้ โดยมาตรการแจกเงินใน 2 ระยะแรกคิดเป็นเงินมูลค่ารวมกว่า 1.77 แสนล้านบาท แต่การบริโภคภาคเอกชนในช่วงไตรมาส 4 ปรับตัวดีขึ้นเพียงเล็กน้อย และอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีโดยเฉพาะเมื่อไม่รวมการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว ทำให้แม้ว่าภาครัฐมีการอนุมัติงบกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมผ่านการแจกเงินระยะที่สามซึ่งจะแจกคนเป็นจำนวน 2.7 ล้านคนอายุระหว่าง 16-20 คิดเป็นเงิน 2.7 หมื่นล้านบาทและจะเริ่มแจกช่วงไตรมาส 2 ของปี และการแจกเงินระยะสุดท้ายน่าจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี แต่จากขนาดของการแจกเงินที่เล็กลง KKP Research ประเมินว่าผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมจะมีจำกัดโดยคาดว่าการบริโภคจะขยายตัวได้ใกล้เคียงกับระดับที่เคยประเมินไว้ คาด ธปท. ลดดอกเบี้ยถึง 1.25% ในปี 2026           ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในเดือนตุลาคมและเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ลงมาที่ระดับ 2% ซึ่งมีทิศทางสอดคล้องกับที่ KKP Research ประเมินไว้ว่ามีโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะปรับลดลงเหลือ 1.5% ในปีนี้ อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังคงอ่อนแอต่อเนื่อง ความไม่แน่นอนด้านการค้าโลก ภาวะทางการเงินที่ตึงตัวจากการหดตัวของสินเชื่อ และคุณภาพสินเชื่อที่ยังคงแย่ ส่งผลให้ KKP Research คาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีการปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มอีก 2 ครั้งในปี 2025 และอีก 1 ครั้งในปี 2026 และทำให้อัตราดอกเบี้ยสุดท้าย (Terminal rate) ในรอบการลดดอกเบี้ยนี้จะอยู่ที่ 1.25% เหตุผลสำคัญที่เชื่อว่าดอกเบี้ยควรลดลงเพิ่มเติม คือ ปัญหาด้านความเสี่ยงเสถียรภาพระบบการเงินลดน้อยลงมาก จากสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่ธนาคารระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และสินเชื่อภาคธนาคารหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณหนี้ต่อ GDP ของไทยเริ่มปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการสื่อสารของ ธปท. ในช่วงที่ผ่านมาที่กล่าวว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้จะไม่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงด้านเสถียรภาพของระบบการเงิน สัญญาณในตลาดการเงินหลายส่วนสะท้อนว่านโยบายการเงินในปัจจุบันอาจตึงตัวมากเกินไป อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มอยู่ต่ำกว่าระดับศักยภาพในอดีต นอกจากนี้สัญญาณของตลาดการเงินทั้งเงินบาทที่แข็งค่า อัตราดอกเบี้ยดอกเบี้ยระยะยาวที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง อาจส่งสัญญาณว่านโยบายการเงินในปัจจุบันมีแนวโน้มตึงตัวเกินไป

TRUE เสนอขายหุ้นกู้อายุ 3 - 10 ปี ชูดอกเบี้ยคงที่ 3.00-3.95%

TRUE เสนอขายหุ้นกู้อายุ 3 - 10 ปี ชูดอกเบี้ยคงที่ 3.00-3.95%

          หุ้นวิชั่น - กรุงเทพฯ : 21 มีนาคม 2568 - บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE บริษัทโทรคมนาคมเทคโนโลยีชั้นนำอันดับ 1 ของไทย และอันดับ 1 ของโลกด้านความยั่งยืน ด้วยคะแนน DJSI 2024 สูงสุดในกลุ่มอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเป็นปีที่ 7 ติดต่อกัน เตรียมเสนอขายหุ้นกู้ชุดใหม่ให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป จำนวน    5 ชุด อายุตั้งแต่ 3 ปี ถึง 10 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ระหว่าง [3.00 – 3.95]% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน ด้วยอันดับความน่าเชื่อถือ “A+” แนวโน้ม “คงที่” (Stable) จากทริสเรทติ้ง สะท้อนถึงความแข็งแกร่งของ ทรู คอร์ปอเรชั่น ในธุรกิจโทรคมนาคมและธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัล คาดเปิดให้จองซื้อระหว่าง วันที่ 2 และวันที่ 6-7 พฤษภาคม 2568 ผ่าน 7 สถาบันการเงินชั้นนำได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ กสิกรไทย ไทยพาณิชย์ ซีไอเอ็มบี ยูโอบี บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคินภัทร และบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส รวมถึงการขายผ่านแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet โดยมีธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นนายทะเบียนหุ้นกู้และผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้           นางสาวยุภา ลีวงศ์เจริญ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน (ร่วม) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ทรู คอร์ปอเรชั่น ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีของไทย สำหรับการควบรวมกิจการระหว่างทรูและดีแทคซึ่งดำเนินมาครบ 2 ปีในขณะนี้ ได้เสริมสร้างศักยภาพและความแข็งแกร่งของบริษัทฯ ส่งผลให้บริษัทฯ เติบโตอย่างยั่งยืน โดยในปี 2567 ที่ผ่านมา บริษัทฯ มีรายได้จากการให้บริการ (ไม่รวมรายได้ค่าเชื่อมต่อโครงข่าย หรือ IC)  1.66 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4.6% มี EBITDA 9.81 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน และมีกำไรสุทธิ (ภายหลังการปรับปรุง) 9.9 พันล้านบาท โดย EBITDA เติบโตต่อเนื่อง 8 ไตรมาสติดต่อกัน สำหรับปี 2568 คาดว่าจะเป็นปีที่บริษัทเริ่มมีผลกำไรสุทธิหลังหักภาษี”           นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้ประกาศปรับโครงสร้างผู้บริหารเพื่อเสริม         ความแข็งแกร่งของทีมผู้นำและร่วมขับเคลื่อนบริษัทให้เติบโตทัดเทียมบริษัทชั้นนำระดับโลก โดยแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญ 3 ตำแหน่ง ได้แก่ Group CEO  ดูแลบริหารงานขับเคลื่อนด้านยุทธศาสตร์ภาพรวมของบริษัท     President/CEO – Enterprise & Data Business ดูแลสายงานในกลุ่มธุรกิจดิจิทัล ออนไลน์ ทรูวิชั่นส์ ดาต้าและ     กลุ่มลูกค้าองค์กร เพื่อปรับโฉมด้านดิจิทัลของทรูให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต  ส่วน President/CEO – Consumer Business รับผิดชอบกลุ่มธุรกิจโมบายล์และงานบริการลูกค้า การปรับโครงสร้างครั้งนี้สะท้อนวิสัยทัศน์ในการเตรียมพร้อมรับความท้าทายในอนาคตและเสริมสร้างสถานะทางการเงินให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น           บริษัทฯ และหุ้นกู้ที่จะเสนอขายในครั้งนี้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ “A+” แนวโน้ม “คงที่” (Stable) จากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 สะท้อนถึงสถานะความเป็นผู้นำในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ เสริมทัพด้วยโครงข่ายทั่วประเทศ ชุดคลื่นความถี่ที่ครอบคลุม และชื่อแบรนด์ที่ผู้บริโภคคุ้นเคย  อีกทั้งปัจจัยบวกจากประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการควบรวม รวมถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทฯ ที่คาดว่าน่าจะปรับตัวดีขึ้นในอนาคตอีกด้วย           ทางด้านผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้กล่าวเพิ่มเติมว่า “หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา และมีการคาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมวันที่ 25 มิถุนายน 2568 ทำให้ช่วงเวลานี้เป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนในการสะสมหุ้นกู้ เพื่อล็อคผลตอบแทนไว้ก่อนที่จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยลงอีก โดยเฉพาะนักลงทุนที่นิยมลงทุนในหุ้นกู้ที่มีคุณภาพสูง และด้วยอันดับความน่าเชื่อถือสูงที่ระดับ “A+” แนวโน้ม “คงที่” ของทรู หุ้นกู้ทรูจึงเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนในช่วงนี้”           หุ้นกู้ครั้งนี้จะเสนอขายแก่ผู้ลงทุนทั่วไป (Public Offering) จำนวน 5 ชุด โดยมีอายุหุ้นกู้ให้เลือกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 10 ปี ครอบคลุมผู้ลงทุนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ต้องการลงทุนระยะสั้น ระยะกลาง หรือระยะยาว วัตถุประสงค์ในการ     ออกหุ้นกู้ครั้งนี้เพื่อชำระคืนหนี้จากการออกตราสารหนี้ โดยเป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ จ่ายดอกเบี้ยทุกๆ 6 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ และคาดว่าจะเปิดให้จองซื้อระหว่างวันที่ 2 และ    วันที่ 6-7 พฤษภาคม 2568 สำหรับผู้ลงทุนทั่วไป มูลค่าจองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท และทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท บริษัทฯ เชื่อว่าหุ้นกู้ที่เสนอขายในครั้งนี้จะได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดีเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา โดยหุ้นกู้ทั้ง 5 ชุดที่เสนอขาย มีรายละเอียดดังนี้ หุ้นกู้ชุดที่ 1 อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ [3.00 - 3.15]% ต่อปี หุ้นกู้ชุดที่ 2 อายุ 4 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ [3.30 - 3.45]% ต่อปี หุ้นกู้ชุดที่ 3 อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ [3.45 - 3.60]% ต่อปี หุ้นกู้ชุดที่ 4 อายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ [3.65 - 3.80]% ต่อปี หุ้นกู้ชุดที่ 5 อายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ [3.80 - 3.95]% ต่อปี และผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนวันครบกำหนดได้ตั้งแต่หุ้นกู้ครบปีที่ 5 เป็นต้นไป           ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยที่แน่นอนจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง โดยบริษัทฯ อยู่ระหว่างการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ และร่างหนังสือชี้ชวนซึ่งยังไม่มีผลบังคับใช้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงาน ก.ล.ต. ผู้ลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ และร่างหนังสือชี้ชวนที่ www.sec.or.th หรือ สอบถามรายละเอียดที่ผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ทั้ง 7 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา (ยกเว้นสาขาไมโคร) หรือ โทร. 1333 หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่าน Bangkok Bank Mobile Banking ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา โทร. 02 888 8888 กด 869 หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่าน https://www.kasikornbank.com/kmyinvest (ยกเว้นบุคคลสัญชาติต่างด้าว และนิติบุคคล สามารถจองซื้อผ่านสำนักงานใหญ่และสาขา) และรวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะหน่วยงานขายของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา หรือ โทร. 02 777 6784 หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่านแอป SCB EASY และรวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด ในฐานะหน่วยงานขายของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา หรือ โทร. 02 626 7777 หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่าน แอป CIMB Thai ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา หรือ โทร. 02 285 1555 บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด โทร. 02 680 4004 บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) โทร. 02 165 5555 หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่านแอปฯ Dime! และรวมถึง ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ในฐานะหน่วยงานขายของบริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)           สำหรับผู้สนใจจองซื้อหุ้นกู้ผ่านแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.truemoney.com หรือติดต่อขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของ บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด โทร. 1240 กด 6

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

แจงแล้ว KTB - TTB แผนควบรวม ยันไม่เป็นความจริง!

แจงแล้ว KTB - TTB แผนควบรวม ยันไม่เป็นความจริง!

                หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) แจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ ว่า ตามที่หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจและสื่อออนไลน์ในเครือดังกล่าว เสนอข่าวเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 ว่าจะมีการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (“กรุงไทย”) กับธนาคารทหารไทยธนชาตจำกัด (มหาชน) (“ทีทีบี”) นั้น บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายหนึ่งของทีทีบี ขอเรียนว่าเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง โดยบริษัทฯ ไม่ได้มีการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้                 ด้าน นางมานิกา สิทธิชัย เลขานุการบริษัท ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) แจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ เช่นกันว่า ตามที่ได้มีรายงานข่าว ณ วันที่ 21 มีนาคม 2568 เกี่ยวกับการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบีธนชาต ("ธนาคารฯ") และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) นั้น ทีเอ็มบีธนชาตขอเรียนชี้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง ธนาคารฯ ไม่ได้อยู่ในกระบวนการควบรวมกิจการตามที่ปรากฏในสื่อ รวมทั้งไม่มีแผนการควบรวมกิจการกับธนาคารอื่นอยู่ในแผนงาน 5 ปีแต่อย่างใด                 ทั้งนี้ ธนาคารฯ ยังคงมุ่งเน้นพันธกิจสำคัญคือ การ Make REAL Change หรือการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายเพื่อให้ลูกค้าของธนาคารกว่า 10 ล้านคน มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ผ่านกลยุทธ์การสร้างการเติบโตแบบ Ecosystem Play และการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบและสอดคล้องกับแนวทางการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) อีกทั้งยังเดินหน้า Transform องค์กรอย่างรอบด้านเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรและสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นอย่างยั่งยืน                 ขณะที่ นายพงษ์สิทธิ์ ชัยฉัตรพรสุข ประธานผู้บริหาร Legal Comliance & Financial Crime และเลขานุการบริษัท แจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อเกี่ยวกับการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) นั้น ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ("ธนาคารฯ") ขอเรียนชี้แจงว่า ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง และในขณะนี้ คณะกรรมการธนาคารฯ ไม่ได้มีดำริ หรือได้มอบหมายฝ้ายบริหารให้ดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการควบรวมกิจการตามที่เป็นข่าว ธนาคารฯ ขอยืนยันว่า คณะกรรมการธนาคารฯและฝ่ายบริหาร ยังคงขับเคลื่อนองค์กรภายใด้วิสัยทัศน์                 "กรุงไทยเคียงข้างไทยสู่ความยั้งยืน" โดยให้ความสำคัญกับการเติบโตของประเทศไทย คนไทย และธุรกิจไทยอย่างครอบคลุมและทั่วถึงผ่านความร่วมมือกับพันธมิตร และการเชื่อมโยงระบบนิเวศน์ทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งพิจารณาโอกาสในการขยายการเดิบโตในหลากหลายรูปแบบ ทั้งในส่วนของธนาคารฯ และบริษัทในกลุ่มธนาคารฯ เพื่อมุ่งสร้างและเพิ่มมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่องและชั่งยืน ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวสอดคล้อง กับยุทธศาสตร์ของธนาคารฯ ภายใต้แนวคิด Corporate Value Creation (เสริมทักษะ สร้างคุณค่า สู่อนาคต) ซึ่งธนาคารได้สื่อสารมาอย่างต่อเนื่อง

NER สนับสนุนวิถีเกษตรยั่งยืน ปี2  มอบเครื่องจักรกลการเกษตร ที่ จ.บุรีรัมย์

NER สนับสนุนวิถีเกษตรยั่งยืน ปี2 มอบเครื่องจักรกลการเกษตร ที่ จ.บุรีรัมย์

            หุ้นวิชั่น - บมจ.นอร์ทอีส รับเบอร์ (NER) ผู้นำอุตสาหกรรมยาง เห็นความสำคัญของการเกษตรซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของประเทศ เน้นทำธุรกิจควบคู่การรักษาสิ่งแวดล้อม ได้สานต่อโครงการ "NER สนับสนุนวิถีเกษตรยั่งยืน" ต่อเนื่องปีที่ 2 ร่วมกับเกษตรอำเภอประโคนชัยและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มอบเครื่องจักรกลการเกษตรรถแทรกเตอร์ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจะเสร็จสิ้นภายในปี 2568 นี้ โดยมอบรถแทรกเตอร์จำนวน 30 คัน ให้แก่ 30 วิสาหกิจชุมชนใน อ.ประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อให้เกษตรกรในชุมชน อ.ประโคนชัย ลดต้นทุนการผลิตและมีผลผลิตที่มีคุณภาพมากขึ้น ที่ผ่านมาบริษัท NER สนับสนุนโครงการเพื่อสังคมมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมยึดหลักแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง เดินหน้าสานต่อและสร้างวิถีเกษตรยั่งยืน...             นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER เปิดเผยว่า บริษัท ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่าย ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง ยางผสม และสินค้าปลายน้ำแผ่นยางพาราปูพื้นคุณภาพสูง เพื่อจำหน่ายไปยัง ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์และกลุ่มผู้ค้าคนกลางทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้วิสัยทัศน์ของบริษัท “NER เป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติชั้นนำระดับโลก ที่มุ่งสร้างคุณค่าและอนาคตที่ยั่งยืนให้กับทุกชุมชนที่มีเรา”             "บริษัทฯ ตระหนักถึงบทบาทสำคัญของภาคเกษตรในเศรษฐกิจไทยและความมั่นคงทางอาหาร จึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อให้การผลิตอาหารเพียงพอควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม ตลอดมา บริษัทฯ สนับสนุนโครงการเพื่อสังคมโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระราชทานไว้ การส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่ม ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย"             ปัจจุบัน บริษัทฯ สานต่อโครงการ "NER สนับสนุนวิถีเกษตรยั่งยืน" ปีที่ 2 เพื่อมอบเครื่องจักรกลการเกษตรให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ นับเป็นการส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร สร้างความเข้มแข็งและพัฒนาเครือข่าย ความร่วมมือระหว่างกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน เพื่อให้เกษตรกรในชุมชนลดต้นทุนการผลิตทำให้มีผลผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพดี ทั้งนี้บริษัทฯสนับสนุน “เครื่องจักรกลทางการเกษตร คือรถแทรกเตอร์” ปี 2568 จำนวน 10 คัน (เดือนมกราคมที่ผ่านมา) และ 27 มีนาคมนี้จะมอบจำนวน 10 คัน และมิถุนายนจะมอบ จำนวน 10 คัน             โดยเกษตรกรในพื้นที่ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ร่วมโครงการมีจำนวน 62 วิสาหกิจชุมชน ครอบคลุมพื้นที่การเกษตร 198,642.08 ไร่ และประชากรในพื้นที่ 9,748 ครัวเรือน โดยบริษัท NER ได้จัดสรรงบประมาณไว้ทั้งสิ้น 41 ล้านบาท ซึ่งได้มอบเครื่องจักรกลการเกษตรเมื่อปีที่ผ่านมา (2567)  จำนวน 6 คัน ให้ 6 วิสาหกิจชุมชน เป็นที่เรียบร้อย  และปี 2568 นี้มอบอีก 30 คันให้ 30 วิสาหกิจชุมชน ซึ่งเหลือจำนวน 26 คัน จะมอบในโอกาสต่อไป [caption id="attachment_46941" align="aligncenter" width="2079"] default[/caption]

SISB คาดปีนี้กำไร 956 ลบ. จ่อ Breakeven นนทบุรี-ระยอง เป้า 23.40 บ.

SISB คาดปีนี้กำไร 956 ลบ. จ่อ Breakeven นนทบุรี-ระยอง เป้า 23.40 บ.

            หุ้นวิชั่น - บล.เอเอสแอล เจาะหุ้น SISB จากวางแผนขยายการเติบโตระหว่างปี 25-26F ด้วยงบลงทุน 565 ล้านบาท โดยเพิ่มที่นั่งเรียนรวม 1,600 ที่นั่ง ผ่านโครงการขยายวิทยาเขต PU เฟส 3 ซึ่งจะเพิ่ม 600 ที่นั่ง ด้วยงบ 265 ล้านบาท คาดแล้วเสร็จใน 1Q26 และโครงการโรงเรียนนานาชาติแห่งที่ 7 (ปทุมธานี) ที่เพิ่มอีก 1,000 ที่นั่ง ด้วยงบ 300 ล้านบาท คาดแล้วเสร็จใน 4Q26 ส่งผลให้เป้าจำนวนนักเรียนปี 25-26F เท่ากับ 5,000 คน และ 5,600 คนตามลำดับ             ตั้งเป้ารายได้ปี 25F ขยายตัวในกรอบ 10-20% ผ่านจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากต่างชาติที่มีโปรแกรมปรับพื้นฐานทางภาษา ช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าเรียนกับ SISB ในระยะยาว ทั้งนี้ผู้บริหารคาดหวังสาขาระยองในปีนี้จะสร้างกำไรเป็นบวก (กรณีมีนักเรียนถึง 220 คน จากสิ้นปีก่อนที่ 159 คน)             แนวโน้ม 1Q25F คาดทรงตัว QoQ จากฐานที่สูง แต่ดีขึ้น YoY จากการปรับขึ้นค่าเทอม จำนวนนักเรียนที่สูงขึ้น และแนวโน้ม margin ที่ทรงตัวในระดับสูง             ฝ่ายวิจัยคาดกำไรสุทธิปีนี้ที่ 956 ล้านบาท (+8% YoY) แม้จะทำ New high แต่การเติบโตของกำไรสุทธิที่ต่ำกว่าระดับ double digit เป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี มีปัจจัยกดดันจากปีนี้ไม่มีการเปิดสาขาใหม่ แต่คาดหวังการ Breakeven ของสาขานนทบุรีและระยอง โดยคาดรายได้หลักปีนี้ขยายตัว 10% และการปรับขึ้นของค่าเทอมราว 3.3% น้อยกว่าค่าจ้างของบุคลากรที่ 5% กระทบต่อ GPM และ EBITDA ให้ลดลง ในเชิงปัจจัยพื้นฐานแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมาย 23.40 บาท อิง PE 23 เท่า ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี – 2 SD ในเชิง valuation มีความน่าสนใจ ในเชิงของธุรกิจมองว่ามีความเสถียรภาพ และยังเติบโตตามการให้ความสำคัญด้านการศึกษา ประกอบกับแผนการขยายโรงเรียนจะเป็น Key driver ในการเติบโตในช่วงปี 26F เป็นต้นไป รวมถึงการเกิด Economies of scale ที่ช่วยหนุน margin ให้สูงขึ้น แนวรับ 18/17.60 ไม่ควรต่ำกว่าลงมา แนวต้าน 18.50/19.30/20.70

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

TRC รุกธุรกิจจัดการขยะ ปั้นNew S-Curveต่อยอด

TRC รุกธุรกิจจัดการขยะ ปั้นNew S-Curveต่อยอด

            หุ้นวิชั่น - TRC เดินหน้าสร้าง New S-Curve ลุยธุรกิจ “จัดการขยะ-เหมืองโพแทช”หวังดันรายได้ฟื้น-เพิ่ม Margin ด้วยโมเดลธุรกิจยั่งยืน ปัจจุบันถือหุ้น PSEC แล้ว 40% เล็งเพิ่มอีก 20% หากรายได้เป็นไปตามเป้า พร้อมตุน Backlog ในมือรวมมูลค่า 2,485.78 ล้านบาท             นายภาสิต ลี้สกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRC เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมก่อสร้างซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัท กำลังเผชิญกับความท้าทายในปี 2568 บริษัทจึงมุ่งเน้นขยายโอกาสไปยังธุรกิจใหม่ภายใต้แนวคิด New S-Curve โดยคาดว่ารายได้จะสามารถฟื้นตัวได้อย่างมีนัยสำคัญ             สำหรับภาพรวมธุรกิจก่อสร้างของบริษัทในปี 2567 บริษัทมีมูลค่างานที่รอรับรู้รายได้ (Backlog) ทั้งหมด 22 โครงการ รวมมูลค่า 2,485.78 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2568 มีโครงการที่รอการประมูลรวมมูลค่า 4,936 ล้านบาท โดยบริษัทได้เตรียมขยายการลงทุนไปยัง 2 ธุรกิจหลัก เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางธุรกิจ ดังนี้ ร่วมมือกับ บริษัท พีเอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด (PSEC) ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ปัจจุบัน PSEC มีโครงการจัดการขยะขนาดใหญ่ 3 โครงการ ได้แก่ โครงการจังหวัดกาญจนบุรี, โครงการจังหวัดอยุธยา             และโครงการจังหวัดพัทลุง ทั้งนี้ PSEC ยังอยู่ระหว่างเตรียมเข้าประมูลโครงการจัดการขยะเพิ่มเติมอีกหลายโครงการ ซึ่งกระบวนการดำเนินงานของ PSEC เป็นการมุ่งเน้นแยกขยะและนำมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ถุง เพื่อนำไปจำหน่ายให้กับบริษัทด้านปิโตรเคมี นอกจากนี้ TRC ยังร่วมมือกับ PSEC ในด้านการตลาด โดยคาดว่าในปีนี้จะสามารถประมูลสถานที่กำจัดขยะได้เพิ่มเติม 2-3 แห่ง ด้านโครงสร้างรายได้ของ PSEC แบ่งออกเป็น 2 ช่องทางหลัก ได้แก่ ค่าบริการกำจัดขยะ อัตรา 200-300 บาท/ตัน             และรายได้จากการจำหน่ายถุงขยะที่แยกแล้วได้ ราคา 7,000-8,000 บาท/ตัน โดยธุรกิจนี้ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีอัตรากำไร (Margin) สูง เนื่องจากมีผู้เล่นในตลาดน้อย อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาขยะในประเทศ และมีโอกาสส่งออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย ปัจจุบัน TRC ถือหุ้นใน PSEC 40% และอยู่ระหว่างดำเนินการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นอีก 20% หากรายได้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้             ร่วมมือกับ บริษัท อาเซียนโพแทชชัยภูมิ จำกัด (APOT) ซึ่งดำเนินธุรกิจเหมืองโพแทช มุ่งเน้นการทำเหมืองแร่โพแทชและเกลือหิน เพื่อลดการนำเข้าแม่ปุ๋ยโพแทสเซียมจากต่างประเทศ และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรในภูมิภาคให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบัน APOT อยู่ระหว่างกระบวนการบริหารจัดการผู้ถือหุ้น บริษัทยังคงเชื่อมั่นว่าการขยายเข้าสู่ธุรกิจใหม่เหล่านี้จะช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับบริษัท และช่วยส่งเสริมธุรกิจเดิมให้สามารถฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง

FPI ปักธงรายได้ 4 พันล. ตลาด OEM โตกระโดด

FPI ปักธงรายได้ 4 พันล. ตลาด OEM โตกระโดด

            หุ้นวิชั่น - FPI จับตาตลาด OEM โตก้าวกระโดด ออเดอร์ไทย อินเดียแน่น คาดหนุนผลงาน Q2/68 โตสนั่น ด้านผู้บริหาร "สมพล ธนาดำรงศักดิ์" ปักหมุดรายได้ แตะ 4 พันล้านบาทในปี 71 เล็งรับทรัพย์โรงงานซาอุดิอารเบีย นายสมพล ธนาดำรงศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ FPI เปิดเผยว่า คาดว่าตลาด OEM จะเติบโตอย่างก้าวกระโดดหลังจากเดือนพฤษภาคม 2568 เนื่องจากบริษัทจะเริ่มส่งมอบและรับรู้รายได้จากทั้งในประเทศไทยและอินเดีย โดยในส่วนของประเทศไทย บริษัทได้รับออเดอร์จาก Toyota สำหรับรถรุ่นใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มส่งมอบในเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคมนี้ โดยมีมูลค่าโปรเจ็กต์ประมาณ 300 ล้านบาท จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ระหว่าง 200-500 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้เริ่มทำการจัดทำแม่พิมพ์ไปบางส่วนแล้ว และคาดว่าจะสามารถส่งมอบได้ตามแผนในเดือนมิถุนายนนี้ ส่วนในประเทศอินเดีย บริษัทจะเริ่มส่งสินค้าในเดือนพฤษภาคม 2568 โดยมีโปรเจ็กต์ใหญ่จาก Suzuki ซึ่งคาดว่าจะรับรู้รายได้จากโปรเจ็กต์นี้ 3 โครงการใหญ่ในเดือนพฤษภาคมนี้เช่นกัน ดังนั้น บริษัทคาดว่าธุรกิจจะมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดในไตรมาส 2 ปี 2568 เนื่องจากจะเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป โดยในไตรมาส 1/2568 จะเป็นช่วงของการติดตั้งเครื่องจักรและเริ่มกระบวนการผลิต ซึ่งจะทำให้การรับรู้รายได้เพิ่มขึ้นอย่างมากในไตรมาส 2 เป็นต้นไป นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับคำสั่งซื้อจากค่ายรถยนต์แบรนด์อื่นๆ เพิ่มเติม คาดว่าจะสนับสนุนการเติบโตของ FPI อย่างต่อเนื่อง บริษัทมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) โดยเริ่มจากรายได้ 1,500 ล้านบาท และตั้งเป้าหมายที่จะเติบโตเป็น 4,000 ล้านบาทในปี 2571 จากการเริ่มดำเนินการโรงงานในซาอุดิอารเบียอย่างเต็มตัว โดยคาดว่าจะมีรายได้จากซาอุดิอารเบียเฉลี่ยปีละ 10-20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจะสามารถทำรายได้รวม 4,000 ล้านบาทในปี 2571 ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรจากจีน ซึ่งมีปัญหาจากสงครามการค้า และกำลังพิจารณาร่วมทุนกับบริษัทโดยผ่านการรีไวท์ 2-3 บริษัท บริษัทให้ความสำคัญและสนใจในเรื่องของการผลิตแม่พิมพ์ และใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปยังตลาดอเมริกา, แคนาดา และเม็กซิโก ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ โดยคาดว่าจะได้รับอานิสงส์จากนโยบายภาษีและผลกระทบจากสงครามการค้า

เปิด 2 ปัจจัยหนุน ERW รายได้โตต่อ เล็งเป้าที่ 4.30บ.

เปิด 2 ปัจจัยหนุน ERW รายได้โตต่อ เล็งเป้าที่ 4.30บ.

           หุ้นวิชั่น - บล.เอเอสแอ ประเมินหุ้น ERW โดยบริษัทคาดรายได้ทั้งปีจะสามารถโตได้ในระดับ 10% โดยมาจาก กลุ่มโรงแรม Economy to Luxury ในไทย คาดโตได้ราว 5-7% YoY จากการปรับค่าห้องขึ้นราว 4% และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย กลุ่มโรงแรม Budget (เครือ Hoop Inn) ในไทยที่คาดจะโตได้โดดเด่น 23% YoY จากการขยายโรงแรมในปีก่อนกว่า 13 แห่ง และตั้งเป้าเปิดเพิ่มอีก 10 แห่งในปีนี้ (ไตรมาสที่ 1-3 คาดจะเปิดได้ไตรมาสละ 3 แห่ง และไตรมาสที่ 4 อีก 1 แห่ง) โดยบริษัทตั้งงบลงทุนปีนี้ที่ 2 พันล้านอีกด้วย            นอกจากนี้ ฝ่ายวิจัยมองแนวโน้มในช่วง 1Q25 เติบโตได้ราว 10% QTD ตามเป้าที่บริษัทวางไว้ จำนวนนักท่องเที่ยวเข้าสู่ไทย 8.3 ล้านคน YTD แนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมาย 4.30 บาท            ฝ่ายวิจัยคาดรายได้ของปี 2025 จะเติบโตในระดับ 8% อยู่ที่ 8.5 พันล้านบาท โดยต่ำกว่าที่บริษัทคาด เนื่องจากการฟื้นตัวช้าของนักท่องเที่ยวจีนและยุโรปที่อาจไม่เป็นไปตามแผน และมีกำไรปกติ (Core Profit) ที่ 1.06 พันล้านบาท +17.4% YoY ฝ่ายวิจัยประเมินราคาเหมาะสมอยู่ที่ 4.3 บาทต่อหุ้น อิง PE ที่ 20 เท่า (ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 2 ปี 24 เท่า) มองว่าเหมาะสม

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

“พิชัย” แจ้งข่าวดี! ส่งออกไทย ก.พ.68 โต 14% รัฐบาล

“พิชัย” แจ้งข่าวดี! ส่งออกไทย ก.พ.68 โต 14% รัฐบาล "แพทองธาร" 5 เดือนโตเฉลี่ย 11.8%

             หุ้นวิชั่น - วันที่ 21 มีนาคม 2568 ณ กระทรวงพาณิชย์ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เผยตัวเลขส่งออกไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ขยายตัว 14% คิดเป็นมูลค่า 26,707.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 906,520 ล้านบาท ต่อเนื่องจากเดือนมกราคมที่โต 13.6% ทำให้เฉลี่ย 2 เดือนแรกของปี 2568 การส่งออกขยายตัวแล้วถึง 13.8% มูลค่า 51,984.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นบวกต่อเนื่อง 8 เดือน              นายพิชัยกล่าวว่า การส่งออกเป็นเครื่องยนต์เศรษฐกิจที่สำคัญของไทย โดยรัฐบาลตั้งเป้าขยายตัวเศรษฐกิจเกิน 3% และต้องการให้การส่งออกไทยเติบโตอย่างน้อย 3.5% ปัจจุบันการส่งออกขยายตัวถึง 13.8% ซึ่งเป็นสัญญาณบวก และคาดว่าเดือนมีนาคมรวมถึงเดือนถัดไปจะขยายตัวต่อเนื่องจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้น              นายพิชัยกล่าวว่า เครื่องยนต์เศรษฐกิจของไทย กำลังไปได้ดีทุกตัว โดยในปีที่แล้วไทยมียอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนสูงถึง 1.13 ล้านล้านบาท ขณะนี้หลายโรงงานใกล้เสร็จและพร้อมเริ่มการผลิตเพื่อส่งออก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมแผงวงจรพิมพ์ หรือ PCB และข้อมูลจาก BOI ระบุว่า 2 เดือนแรกของปี 2568 มียอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การส่งออก 2 เดือนแรกโต 13.8% การลงทุนขยายตัวสูงกว่าปีก่อน การท่องเที่ยวปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยว 36 ล้านคน ปีนี้คาดว่าแตะ 39-40 ล้านคน ถึงแม้ตัวเลขเศรษฐกิจจะดีขึ้น แต่ปัญหาหนี้ยังเป็นอุปสรรคสำคัญ จึงสนับสนุนแนวคิดการแก้หนี้ เพื่อให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ และอาจขยายตัวถึง 5-6%              ตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่รัฐบาล ท่านนายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เข้ามาบริหารประเทศ การส่งออกไทยเติบโตต่อเนื่อง โดยมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 11.8% โดยเดือนตุลาคม 2567 ขยายตัว 14.6% เดือนพฤศจิกายน 2567 ขยายตัว 8.2% เดือนธันวาคม 2567 ขยายตัว 8.7% เดือนมกราคม 2568 ขยายตัว 13.6% และเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ขยายตัว 14% ซึ่งการส่งออกไทยกำลังฟื้นตัวจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ไทยเป็นประเทศเล็กและเปิด จำเป็นต้องพึ่งพาการส่งออก ในอดีตตัวเลขไม่ดีเพราะการลงทุนหดตัว แต่ขณะนี้การลงทุนเพิ่มขึ้น ทำให้การส่งออกขยายตัว              นายพิชัย กล่าวว่า การนำเข้าของไทยในช่วงที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นมากกว่าการส่งออก เนื่องจากเป็นการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าขั้นกลาง เพื่อนำมาผลิตเพื่อส่งออกและขยายการผลิตในอนาคต ซึ่งเป็นสัญญาณบวกในเชิงเศรษฐศาสตร์ หากเราสามารถแก้ปัญหาหนี้ของประชาชนและภาคธุรกิจได้สำเร็จ เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยมีโอกาสขยายตัวเกิน 5% และเดินหน้าเติบโตอย่างแข็งแกร่งในระยะยาว              ด้านนายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเพิ่มเติม รายละเอียดดังนี้ มูลค่าการค้ารวมมูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนกุมภาพันธ์ 2568 การส่งออก มีมูลค่า 26,707.1ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 14.0 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า24,718.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 4.0ดุลการค้า เกินดุล 1,988.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพรวมการส่งออก 2 เดือนแรกของปี 2568 การส่งออกมีมูลค่า 51,984.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 13.8 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 51,876.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 6.0 ดุลการค้า เกินดุล 108.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนกุมภาพันธ์2568 การส่งออก มีมูลค่า 906,520 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9.4เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า848,824 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 0.2 ดุลการค้า เกินดุล 57,696 ล้านบาท ภาพรวมการส่งออก 2 เดือนแรกของปี 2568 การส่งออก มีมูลค่า 1,768,887 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.6 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า1,786,936 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.1 ดุลการค้า ขาดดุล 18,049 ล้านบาท การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร              มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 3.9 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน โดยสินค้าเกษตร หดตัวร้อยละ 1.6 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวร้อยละ 9.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 35.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 16 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ และเวียดนาม)น้ำตาลทราย ขยายตัวร้อยละ 25.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย เวียดนาม ลาว จีน และมาเลเซีย) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 9.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน เนเธอร์แลนด์ และ ไอร์แลนด์) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 27.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 14 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ เมียนมา กัมพูชา และออสเตรเลีย) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 14.4 ขยายตัวต่อเนื่อง 17 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อิตาลี เวียดนาม และสหราชอาณาจักร) และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 22.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 17 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และแคนาดา)              ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ข้าว หดตัวร้อยละ 34.3 หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ แอฟริกาใต้ โกตดิวัวร์ แองโกลา และเซเนกัล แต่ขยายตัวในตลาดอิรัก จีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ และแคนาดา) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 15.8 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดจีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน และฟิลิปปินส์แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย เกาหลีใต้ เวียดนาม และลาว) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง หดตัวร้อยละ 3.7 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดจีน เกาหลีใต้ สหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร แต่ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ฮ่องกง และอินเดีย) และเนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ หดตัวร้อยละ 6.7 หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ ลาว และออสเตรเลีย แต่ขยายตัวในตลาดกัมพูชา เมียนมา ฮ่องกง เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์) ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 2.1 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม              มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 17.2 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 4.5 กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ เวียดนาม สหรัฐฯ เม็กซิโก และอินโดนีเซีย) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 51.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และฮ่องกง)อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 106.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินเดีย สหรัฐฯ เยอรมนี สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร) ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวร้อยละ16.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และมาเลเซีย) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 32.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม ออสเตรเลีย อินเดีย และไต้หวัน) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 21.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์) แผงวงจรไฟฟ้า ขยายตัวร้อยละ 24.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ สหรัฐฯ และเวียดนาม)              ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ หดตัวร้อยละ 13.2 หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดอินเดีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และเมียนมา แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน เวียดนาม และลาว) เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 10.1 หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ สาธารณรัฐเช็ก จีน และฮ่องกง แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เม็กซิโก สิงคโปร์ เมียนมา และไอร์แลนด์) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด หดตัวร้อยละ 46.1 หดตัวต่อเนื่อง 12 เดือน(หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง เกาหลีใต้ อินเดีย และเวียดนาม แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน สิงคโปร์ และมาเลเซีย) ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 17.1 ตลาดส่งออกสำคัญ              การส่งออกไปตลาดสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัว โดยเฉพาะการส่งออกไปตลาดจีนที่ขยายตัวเร่งขึ้นตามการฟื้นตัวของภาคการผลิต ตลาดเอเชียใต้ขยายตัวสูงต่อเนื่องตามการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (โลหะมีค่า) ไปยังอินเดีย ประกอบกับยังมีการเร่งนำเข้าใน              ตลาดสหรัฐฯ จากความกังวลมาตรการกำแพงภาษีในอนาคต ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 7.7 โดยขยายตัวต่อเนื่องในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 18.3 จีนร้อยละ 22.4 และสหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 4.5 แต่หดตัวในตลาดญี่ปุ่น ร้อยละ 3.1 อาเซียน (5) ร้อยละ 0.5 และ CLMVร้อยละ 1.8 (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 21.2 โดยขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 129.5ตะวันออกกลาง ร้อยละ 6.7 แอฟริกา ร้อยละ 6.8 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 17.9 รัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 30.2 และสหราชอาณาจักร ร้อยละ 3.7 แต่หดตัวในตลาดทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 7.7 และ (3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 184.6              ตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 18.3 (ขยายตัวต่อเนื่อง 17 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ และเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 20.3              ตลาดจีน ขยายตัวร้อยละ 22.4 (ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เม็ดพลาสติก และผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568ขยายตัวร้อยละ 17.9              ตลาดญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 3.1 (กลับมาหดตัวในรอบ 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ยางพาราเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และทองแดงและของทำด้วยทองแดง ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 หดตัวร้อยละ 0.6              ตลาดสหภาพยุโรป (27) ขยายตัวร้อยละ 4.5(ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัวเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ และไก่แปรรูปสินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 9.1              ตลาดอาเซียน (5) หดตัวร้อยละ 0.5 (กลับมาหดตัวหลังจากขยายตัวในเดือนก่อน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น สินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และน้ำตาลทราย ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 2.2              ตลาด CLMV หดตัวร้อยละ 1.8 (กลับมาหดตัวในรอบ 14 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ น้ำมันสำเร็จรูป และทองแดงและของทำด้วยทองแดง สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และเคมีภัณฑ์ ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 1.7              ตลาดเอเชียใต้ ขยายตัวร้อยละ 129.5 (ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่นอัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม และเคมีภัณฑ์ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ทองแดงและของทำด้วยทองแดง เส้นใยประดิษฐ์ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 120.8              ตลาดทวีปออสเตรเลีย หดตัวร้อยละ 7.7 (หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล และเครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 หดตัวร้อยละ 17.3              ตลาดตะวันออกกลาง ขยายตัวร้อยละ 6.7 (กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 2.3              ตลาดแอฟริกา ขยายตัวร้อยละ 6.8 (ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และเครื่องยนต์สันดาปภายใน สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ข้าว เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 10.1              ตลาดลาตินอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 17.9 (ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่นหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ และเครื่องนุ่งห่ม ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 19.7              ตลาดประชาคมรัฐเอกราช (CIS) ขยายตัวร้อยละ 30.2 (กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 12.2              ตลาดสหราชอาณาจักร ขยายตัวร้อยละ 3.7(ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัวเช่น ไก่แปรรูป เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 6.7 แนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าการส่งออกในไตรมาสแรกของปี 2568 จะยังคงมีทิศทางการเติบโตที่น่าพอใจ โดยได้รับแรงหนุนจากหลายปัจจัยสำคัญ ทั้งความเชื่อมั่นในภาคการผลิตที่มีแนวโน้มปรับตัวในเชิงบวก ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสถานการณ์ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เริ่มคลี่คลายลง อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความท้าทายที่ต้องเฝ้าติดตามอย่างต่อเนื่อง อาทิ นโยบายการค้าของสหรัฐฯ และมาตรการตอบโต้จากประเทศต่างๆ ซึ่งสร้างความไม่แน่นอนให้กับระบบการค้าโลก ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการผลิตสินค้าเกษตรของไทย ตลอดจนกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมวางแนวทางการดำเนินงานร่วมกับภาคเอกชน เพื่อรับมือกับสภาวการณ์ที่มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพ

CHOW ร่วมมือ SME D Bank ถ่ายทอดความรู้ Solar Rooftop

CHOW ร่วมมือ SME D Bank ถ่ายทอดความรู้ Solar Rooftop

             นายปรมัตถ์ จุฬวนิช ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บริษัท เชาว์สตีล อินดัสทรี้ จำกัด(มหาชน) หรือ CHOW และดร.จีรณัทย์ สุทธวารี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฎิบัติการ บริษัท เชาว์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการด้านระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจร ในเครือ CHOW ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรบรรยายหลักสูตร “ความรู้ Solar Rooftop เพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์สินเชื่อ SME Green Productivity” ให้กับพนักงาน SME D Bank ทั่วประเทศ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในด้านต่างๆ เช่น เทคโนโลยีและอุปกรณ์มาตรฐานในการติดตั้ง การคำนวณต้นทุนและการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน เป็นต้น โดยมุ่งเน้นให้พนักงาน SME D Bank มีความเข้าใจและสามารถแนะนำข้อมูลให้ลูกค้าที่ต้องการติดตั้ง Solar Rooftop และเข้าร่วมโครงการ สินเชื่อ SME Green Productivity พร้อมดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3%ต่อปีส าหรับ 3 ปีแรก ณ ธนาคารพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank) สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็วๆนี้

กฟผ. ลุยโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ  เปิดซองประกวดราคาถึง 18 เม.ย. นี้

กฟผ. ลุยโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ เปิดซองประกวดราคาถึง 18 เม.ย. นี้

               หุ้นวิชั่น - กฟผ. เปิดขายเอกสารประกวดราคาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ หรือ โซลาร์เซลล์ลอยน้ำ เขื่อนภูมิพล ชุดที่ 1 จ.ตาก ตั้งแต่วันนี้ – 18 เมษายน 2568 ผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด หนุนประเทศสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality ติดตามรายละเอียดที่ https://www4.egat.co.th/fprocurement/biddingeng/main/3582                นายทิเดช เอี่ยมสาย รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ. เดินหน้าพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ เขื่อนภูมิพล ชุดที่ 1 จ.ตาก                ขนาดกำลังผลิต 158 เมกะวัตต์ (MWac) ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งอยู่บนทุ่นลอยน้ำในอ่างเก็บน้ำของเขื่อน โดยโครงการฯ นี้ เป็นส่วนหนึ่งในแผนดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี ค.ศ. 2065 ผ่านกลไกการสนับสนุนการชดเชยและหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างเป็นรูปธรรม กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ในปี 2570                ปัจจุบันโครงการฯ อยู่ระหว่างการเปิดขายเอกสารประกวดราคา ผู้ประกอบการที่สนใจมีส่วนร่วมในการสร้างพลังงานสะอาดให้กับประเทศ สามารถซื้อเอกสารประกวดราคาได้ ตั้งแต่วันนี้ – 18 เมษายน 2568 กำหนดเปิดซองประกวดราคาในวันที่ 14 กรกฎาคม 2568 (สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม) ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www4.egat.co.th/fprocurement/biddingeng/main/3582                ทั้งนี้ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ เขื่อนภูมิพล ชุดที่ 1 นี้ เป็นโครงการฯ ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Revision 1) รวมถึงร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยฉบับใหม่ โดยมีแผนพัฒนาในพื้นที่เขื่อนของ กฟผ. ทั่วประเทศ กำลังผลิตรวม 2,725 เมกะวัตต์ ภายในปี 2573 ภายใต้หลักการสำคัญ คือ เพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานสะอาดขับเคลื่อนเป้าหมายประเทศ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยก่อสร้างโรงไฟฟ้าบนพื้นที่ผิวน้ำในเขื่อนของ กฟผ. และใช้อุปกรณ์หลักร่วมกันกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่มีอยู่เดิม ช่วยลดต้นทุนการผลิต ทำให้ค่าไฟฟ้ามีราคาต้นทุนที่เหมาะสม เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

abs

ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารอย่างครบวงจร

LTMH เคาะ IPO  5 บ. เสนอขาย 25 - 27 มี.ค.  คาดเทรด 2 เม.ย. 68

LTMH เคาะ IPO 5 บ. เสนอขาย 25 - 27 มี.ค. คาดเทรด 2 เม.ย. 68

                 หุ้นวิชั่น - บริษัท แอลทีเอ็มเอช จำกัด (มหาชน) หรือ LTMH กำหนดราคาเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ที่ราคาหุ้นละ 5.00 บาท จำนวนเสนอขาย 50 ล้านหุ้น เตรียมเปิดจองซื้อระหว่างวันที่ 25 - 27 มีนาคม 2568 นี้คาดเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) วันที่ 2 เมษายน 2568 โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อขยายธุรกิจเทคโนโลยีบริหารความมั่งคั่ง (WealthTech) ภายใต้ชื่อ “WealthX” เพื่อสนับสนุนการเติบโตในระยะยาว                  นายสมภพ กีระสุนทรพงษ์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้น IPO ของบริษัท แอลทีเอ็มเอช จำกัด (มหาชน) หรือ LTMH เปิดเผยว่า LTMH จะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 50 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 25.00 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดหลังการเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้  โดยกำหนดราคา IPO ที่ราคาหุ้นละ 5.00 บาท รวมเป็นเงินที่บริษัทฯ ได้รับจากการระดมทุนในครั้งนี้จำนวน 250.00 ล้านบาท เปิดให้จองซื้อหุ้นในระหว่างวันที่ 25-27 มีนาคม 2568 และคาดว่าจะเข้าซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) หมวดธุรกิจบริการ (SERVICE) ในวันที่ 2 เมษายน 2568 ในชื่อย่อหลักทรัพย์ว่า "LTMH" พร้อมกันนี้มีผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายอีก 3 แห่ง ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด, บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน)                  สำหรับการกำหนดราคา IPO ดังกล่าว ถือเป็นระดับที่เหมาะสมกับปัจจัยพื้นฐาน และสอดคล้องกับสภาวะของตลาดหลักทรัพย์ในปัจจุบัน LTMH ถือเป็นธุรกิจสื่อออนไลน์ที่แข็งแกร่ง เป็นที่ยอมรับ และมีการเติบโตที่โดดเด่น Brand LTMH เริ่มต้นจากการสร้างเพจ Facebook ภายใต้ชื่อ “ลงทุนแมน” และต่อมาได้ขยายเพิ่มอีก 5 เพจ ประกอบด้วย ลงทุนเกิร์ล, MarketThink, Brandcase, Money Lab และ Mao-Investor ครอบคลุม เข้าถึง และตอบสนองกลุ่มลูกค้าและผู้ติดตามได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น จาก 4.87 ล้านคน ในปี 2564 เพิ่มเป็น 8.32 ล้านคน ณ สิ้นปี 2567 คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 19.61% ในช่วงปี 2564 -2567 ทำให้ LTMH ถือเป็นอินฟลูเอนเซอร์ ด้านการเงิน และการลงทุน ที่มีความน่าเชื่อถือ และมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นและการตัดสินใจของผู้ติดตามจำนวนมาก                  นอกจากนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน ผู้ถือหุ้นใหญ่ คือกลุ่มครอบครัวคุณธณัฐ เตชะเลิศ และ ผู้ถือหุ้นเดิมรายอื่นอีก 4 ราย ยังได้สมัครใจทำข้อตกลงไม่จำหน่ายหุ้นในส่วนที่เหลือจากการติด Silent Period ตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นเวลา 6 เดือนตั้งแต่วันที่เริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมส่วนที่เหลือที่ไม่ติด Lock up จะมีจำนวนเพียง 4.03 ล้านหุ้น คิดเป็นเพียงร้อยละ 2.02 ของจำนวนหุ้นภายหลังการเสนอขายหุ้นเท่านั้น                  นายธณัฐ เตชะเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอลทีเอ็มเอช จำกัด (มหาชน) หรือ LTMH เปิดเผยว่าการเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้ เป็นอีกก้าวสำคัญที่จะสร้างให้ LTMH เติบโตอย่างยั่งยืน โดยการระดมทุนครั้งนี้ จำนวน 250.00 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อขยายธุรกิจ WealthTech ภายใต้แบรนด์ "WealthX" ที่จะช่วยให้คนไทยสามารถยกระดับทางการเงิน การลงทุนได้มากขึ้นในอนาคต ในเบื้องต้น เราได้ยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2568 คาดว่าจะเริ่มดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์ได้ภายในปี 2568 นอกจากนี้ การระดมทุนยังมีวัตถุประสงค์เพื่อชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินที่ใช้ลงทุนในหุ้น บลจ.ทาลิส รวมถึงเป็นเงินทุนหมุนเวียนในบริษัทฯ และบริษัทย่อย ซึ่งผมเชื่อมั่นว่า สิ่งที่จะทำให้ LTMH ประสบความสำเร็จในการขยายธุรกิจครั้งนี้มาจาก “จุดแข็งสำคัญ” ที่เรามีอยู่ทั้งชื่อเสียงของแบรนด์ที่แข็งแกร่ง การมีสื่อออนไลน์และช่องทางการติดตามที่หลากหลาย รวมถึงการมีแพลตฟอร์มสื่อออนไลน์ที่เป็นของเราเอง และระบบ Ecosystem ที่เกื้อหนุนกันรวมถึงทีมผู้บริหารและบุคลากรที่มีความสามารถและประสบการณ์ในอุตสาหกรรมมาอย่างยาวนาน                  ในนามของ LTMH ผมขอขอบคุณบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ที่สนับสนุนและช่วยเหลือให้คำแนะนำในการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) และต้องขอขอบคุณผู้ร่วมจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายทั้ง 3 แห่งในฐานะผู้ร่วมจัดจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ LTMH รวมถึงนักลงทุนทุกๆ ท่าน ที่ให้ความสนใจการเสนอขายหุ้น IPO ของ LTMH ในครั้งนี้                  ในช่วงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ระหว่างปี 2564 – 2567 รายได้รวมของบริษัทฯ เท่ากับ 118.06 ล้านบาท 173.90 ล้านบาท 225.77 ล้านบาท และ 231.72 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ได้ถึง 25.20% รวมถึงในปี 2567 บริษัทฯ มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงถึง 50.55% และมีอัตรากำไรสุทธิที่ระดับ 15.23% แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไรที่สูง                  ทั้งนี้ ทางบริษัทฯ เชื่อว่าด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ค่อนข้างสูง บวกกับต้นทุนค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของบริษัทฯ เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงรากฐานขององค์กรที่แข็งแกร่ง ทั้งในด้านธุรกิจสื่อและแพลตฟอร์มสื่อ (ออนไลน์) และธุรกิจออฟไลน์นั้น เมื่อมาผนวกกับแผนการทางธุรกิจในอนาคตที่ค่อนข้างชัดเจน โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาต่อยอดธุรกิจ WealthTech ที่มีโอกาสเติบโตอยู่ในระดับสูง ก็จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้บริษัทฯ สามารถเดินหน้าสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการขยายธุรกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพต่อการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอนาคตได้เป็นอย่างดี [PR News]

“กรุงศรี” คัด 7 หุ้น โอกาสซื้อหุ้นคืน ตาม PTT

“กรุงศรี” คัด 7 หุ้น โอกาสซื้อหุ้นคืน ตาม PTT

               หุ้นวิชั่น - บล.กรุงศรี จับตากระแสการซื้อหุ้นซื้อคืนกลับมาคึกคักขึ้น หลัง PTT ประกาศโครงการซื้อหุ้น คืนเพื่อบริหารทางการเงิน (Treasury Stock) วงเงินสูงสุดไม่เกิน 16,000 ลบ. และจำนวนหุ้นซื้อคืน ไม่เกิน 470 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกิน 1.65% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด (implied ราคาหุ้น ซื้อคืนราว 34 บาท/หุ้น)                หลังจากนี้ คาดตลาดมีโอกาสเก็งกำไรหุ้น Big Cap ที่มีศักยภาพดำเนินการได้ อิงรายงานกลยุทธ์ “โอกาสลงทุนจากกระแสหุ้นทุนซื้อคืน” ที่ฝ่ายวิจัยออกวันที่ 29 ม.ค. 25 ซึ่งพบว่า มีหุ้น Big Cap หลักๆในกลุ่มพลังงาน ธนาคาร ปิโตรเคมีที่มีโอกาสเห็นการซื้อคืนระยะถัดไป อาทิ SCB, KBANK, KTB , BBL, PTTGC, TOP, BCP                นอกจาก PTT, TTB ที่ประกาศ โครงการดังกล่าว รวมถึงหุ้นธนาคารส่วนใหญ่ที่ปรับเพิ่มอัตราจ่ายเงินปันผลไปแล้ว รอติดตามหุ้นที่ยังประกาศในส่วน BCP, PTTGC, TOP

จับตาศึก

จับตาศึก "เครื่องดื่มชูกำลัง" ชู CBG เด่นสุด

          หุ้นวิชั่น - บล.ดาโอ จับตาหุ้นเครื่องดื่มชูกำลัง โดยฝ่ายวิจัย คงน้ำหนักการลงทุนกลุ่ม Food & Beverage (Energy Drink) ที่ “เท่ากับตลาด”           ฝ่ายวิจัยคาดมูลค่าตลาดเครื่องดื่มชูกำลังปี 2025E จะอยู่ที่ 23,850 ล้านบาท ขยายตัว +3% YoY (ปี 2024 โต +6.1%) สำหรับเดือน ก.พ. 2025 ตลาดเครื่องดื่มชูกำลังในประเทศเดือน ก.พ. (by % sales volume) เติบโต +2.7% YoY, -4% MoM โดย OSP มี market share อยู่ที่ 43.6% (-190 bps YoY, ทรงตัว MoM), CBG อยู่ที่ 25.8% (+150 bps YoY, +10 bps MoM) และ TCP อยู่ที่ 19.4% (+20 bps YoY, +20 bps MoM)           โดยเดือน ก.พ. OSP และ TCP จัดโปรโมชั่นใน CVS อีกทั้ง OSP เริ่มกระจายสินค้า M-150 (Yellow) ราคา 10 บาท สู่ Traditional Trade และ Makro ทั่วประเทศเป็นเดือนแรก โดยจะครบทั้งหมดในเดือน มี.ค. ด้าน CBG ยังไม่ได้จัดโปรโมชั่น โดยมีแผนที่จะจัดในปลาย มี.ค. - ต้น เม.ย. ฝ่ายวิจัยอยู่ระหว่างรอดูผลตอบรับของผู้บริโภคและ market share หลัง OSP กระจายสินค้า M-150 (10 บาท – Yellow) ครบทั่วประเทศ และ CBG จัดโปรโมชั่นใน CVS ในช่วงปลายมี.ค.           สำหรับภาษีน้ำตาลที่จะปรับขึ้นระยะที่ 4 ตั้งแต่ 1 เม.ย. ปัจจุบัน OSP และ TCP ไม่ต้องเสียภาษีน้ำตาล ด้าน CBG เสียภาษีน้ำตาลที่ 0.045 บาทต่อขวด           อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ปรับสูตรลดน้ำตาลเรียบร้อยแล้ว โดยสูตรใหม่จะไม่ต้องเสียภาษีน้ำตาล (0 บาท/ขวด) ทั้งนี้ หากกรมสรรพสามิตเลื่อนการปรับขึ้นภาษีน้ำตาล บริษัทฯ จะใช้เครื่องดื่มชูกำลังสูตรปัจจุบันต่อไปคาดกำไรปกติกลุ่มใน 1Q25E โต YoY, QoQ จากรายได้และ GPM ขยายตัว หนุนโดยต้นทุนวัตถุดิบและ packaging ที่ปรับตัวลดลง           ฝ่ายวิจัยคงประมาณการกำไรสุทธิกลุ่มปี 2025E ที่ 6,413 ล้านบาท (+9% YoY) จากรายได้รวมที่ขยายตัวต่อเนื่องจากรายได้ทั้งในและต่างประเทศขยายตัวจากการบริโภคฟื้นตัว           ราคาหุ้นกลุ่ม Food & Beverage (Energy Drink) ทรงตัวเมื่อเทียบกับ SET ใน 1 เดือนที่ผ่านมา ฝ่ายวิจัยเลือก CBG (ซื้อ/เป้า 95.00 บาท) เป็น Top Pick กลุ่ม           จาก 1) market share เครื่องดื่มคาราบาวแดงซึ่งอยู่ในทิศทางขาขึ้น เราคาดปิดปีที่ 28% (บริษัทคาด 29%), 2) valuation ไม่แพง ปัจจุบัน CBG เทรดอยู่ที่ 2025E PER 17.7x ยังไม่สะท้อน 2024-26E EPS CAGR +19% และมี upside จากการปรับ packaging, เปิดโรงงานพม่าและเขมร และ 3) มี short term catalyst จากกำไร 1Q25E ที่จะสูงสุดในรอบ 15 ไตรมาส

abs

Hoonvision

เช็ก! หุ้นได้ประโยชน์ตัวเลขส่งออกไทยขยายตัว

เช็ก! หุ้นได้ประโยชน์ตัวเลขส่งออกไทยขยายตัว

              หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) ระบุ กระทรวงพาณิชย์เผยตัวเลขส่งออก เดือน ก.พ.68 ออกมาขยายตัว 14.00%y-y เพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค.68 ที่ 13.60%y-y ทำให้ตัวเลขส่งออกรวมเดือน ม.ค.-ก.พ.68 ออกมาขยายตัว 13.8% ขณะที่ตัวเลขนำเข้าในเดือน ก.พ.68 ออกมาขยายตัว 4.00%y-y ลดลงจากเดือน ม.ค.68 ที่ 7.9%y-y ทำให้ดุลการค้าพลิกมาเกินดุล 1.99 พันล้านเหรียญฯ เบื้องต้น สินค้าที่ยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ -ยางพารา ขยายตัว 35.7%y-y (ขยายตัว 16 เดือนต่อเนื่อง) -ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และ แปรรูป ขยายตัว 9.3%y-y (ขยายตัว 5 เดือนต่อเนื่อง) -ผลไม้สด ขยายตัว 12.7%y-y (พลิกมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 3 เดือน) -สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 9.9%y-y (ขยายตัว 8 เดือนต่อเนื่อง) -สินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว 17.2%y-y (ขยายตัว 11 เดือนต่อเนื่อง) -ข้าวสาลี และ อาหารสำเร็จรูปอื่นๆ ขยายตัว 27.7%y-y (ขยายตัว 14 เดือนต่อเนื่อง) -ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัว 22.5%y-y (ขยายตัว 17 เดือนต่อเนื่อง) -อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัว 14.4%y-y (ขยายตัว 17 เดือนต่อเนื่อง) -อัญมณี และ เครื่องประดับ ขยายตัว 106.3%y-y (ขยายตัว 4 เดือนต่อเนื่อง) -เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ และ ส่วนประกอบ ขยายตัว 51.3%y-y(ขยายตัว 11 เดือนต่อเนื่อง) -เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัว 32.8%y-y (ขยายตัว 8 เดือนต่อเนื่อง) -ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัว 16.9%y-y (ขยายตัว 8 เดือนต่อเนื่อง) ทางฝ่ายมองหุ้นที่อยู่ในกลุ่มสินค้าที่ยังส่งออกได้ดี จะได้รับ Sentiment บวก มองหุ้นน่าสนใจมีดังนี้ ยางพารา และ ผลิตภัณฑ์ยาง : NER, STA, STGT, TRUBB ไก่สด และ แปรรูป : CPF, TFG, GFPT อาหารสัตว์เลี้ยง : ITC, AAI ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ : DELTA, HANA, KCE, CCET, SVI

[Gossip] BLC ร่วมนำเสนอผลงานใน Opportunity Day

[Gossip] BLC ร่วมนำเสนอผลงานใน Opportunity Day

            หุ้นวิชั่น - นับเป็นหุ้น Health Care ที่น่าจับตามองอย่างมากจากการมีผลการดำเนินงานที่เติบโตต่อเนื่องมาโดยตลอด สำหรับ บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด (มหาชน) หรือ BLC ล่าสุด ภก. สุวิทย์ งามภูพันธ์ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BLC พร้อมคณะผู้บริหาร ร่วมนำเสนอข้อมูลผลการดำเนินงานปี 2567 แก่นักลงทุนใน Opportunity Day จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งบริษัทฯ ทำผลการดำเนินงานได้อย่างยอดเยี่ยม โดยมีรายได้ 1,557 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 176.1 ล้านบาท เติบโต 10.7% และ 16.8% ตามลำดับ ด้านบอร์ดเตรียมขออนุมัติจ่ายเงินปันผลงวดผลการดำเนินงานในปี 2567 จากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ในอัตรา 0.09 บาทต่อหุ้น โดยจะกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ์ได้รับเงินปันผล ในวันที่ 11 เมษายน 2568 และจ่ายเงินปันผลในวันที่ 30 เมษายน 2568 ทั้งนี้ ในปี 2568 BLC วางแผนขยายขอบเขตความร่วมมือเพื่อสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยาไทยให้เติบโต พร้อมทั้งสร้างความมั่นคงทางด้านสุขภาพ และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน รวมทั้ง มุ่งผลักดันรายได้เติบโตเฉลี่ย 200 ล้านบาทต่อปีตามเป้าหมาย งานนี้ผู้ถือหุ้นสบายใจหายห่วง! ทั้งนี้ สามารถรับชมเทปบันทึกย้อนหลังได้ที่ https://listed-company-presentation.setgroup.or.th/th/vdo/8131

TLB รับมอบประกาศนียบัตรเครื่องหมายรับรอง  Carbon Footprint of Product

TLB รับมอบประกาศนียบัตรเครื่องหมายรับรอง Carbon Footprint of Product

             หุ้นวิชั่น - เมื่อเร็วๆ นี้  คุณภูพิงค์ ทวีทรัพย์ ผู้จัดการฝ่ายความยั่งยืนองค์กร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทน บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) (TLB) บริษัทในกลุ่มไทยออยล์ รับมอบประกาศนียบัตรเครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product : CFP) ในพิธีมอบประกาศนียบัตรเครื่องหมายรับรองฉลากคาร์บอน ประจำปี 2568 ซึ่งจัดโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) โดยมี ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้มอบเกียรติบัตรฯ ณ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย              สำหรับผลิตภัณฑ์ของ บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) ที่ผ่านการรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในปีนี้ ประกอบด้วยน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน ไขพาราฟิน น้ำมันยาง น้ำมันยางมลพิษต่ำ และยางมะตอย ซึ่งถือเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ของกลุ่มไทยออยล์ที่ได้รับประกาศนียบัตรดังกล่าวเพิ่มเติมจากปีก่อนหน้า              การได้รับประกาศนียบัตรฯ ในครั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จอีกขั้นจากความมุ่งมั่นดำเนินงาน เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์จากกลุ่มไทยออยล์ตาม Net Zero Pathway เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ต่อไป

SAWAD ขายเกลี้ยง ! หุ้นกู้ 4,000 ล้าน

SAWAD ขายเกลี้ยง ! หุ้นกู้ 4,000 ล้าน

                หุ้นวิชั่น - บริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAWAD ประกาศความสำเร็จในการเสนอขายหุ้นกู้ มูลค่า 4,000 ล้านบาทซึ่งได้รับกระแสตอบรับอย่างล้นหลามจากนักลงทุน สามารถจำหน่ายได้ครบ ทั้งจำนวนภายในเวลาอันรวดเร็ว ตอกย้ำความเชื่อมั่นในสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งของบริษัท พร้อมได้รับอันดับความน่าเชื่อถือ A-(THA) และแนวโน้ม “Stable” จาก FITCH Rating                 นางสาวธิดา แก้วบุตตา ผู้อำนวยการกลยุทธ์องค์กร บมจ. ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “การออกหุ้นกู้ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่บริษัทฯ ออกด้วยอันดับเครดิต A-(THA) และความสำเร็จของการขายในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่นักลงทุนมีต่อ SAWAD ซึ่งสอดคล้องกับอันดับเครดิตที่บริษัทฯ อยู่ในระดับที่เหมาะสม SAWAD พร้อมเดินหน้าในการขยายสินเชื่อรายย่อยให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ตลอดจนพัฒนา เทคโนโลยีทางการเงิน เพื่อให้บริการลูกค้าได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น”                 หุ้นกู้ของ SAWAD มีให้เลือกลงทุนถึง 4 รุ่น รองรับความต้องการของนักลงทุนและนักลงทุนสถาบันที่ มองหาทางเลือกการลงทุนที่มั่นคงและให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ โดยแบ่งเป็น รุ่นที่ 1 อายุ 2 ปี 2 เดือน ครบกำหนดปี 2570 อัตราดอกเบี้ย 3.59% ต่อปี, รุ่นที่ 2 อายุ 3 ปี 2 เดือน ครบกำหนดปี 2571 อัตราดอกเบี้ย 3.85% ต่อปี, รุ่นที่ 3 อายุ 4 ปี ครบกำหนดปี 2572 อัตราดอกเบี้ย 4.00% ต่อปี และรุ่นที่ 4 อายุ 5 ปี ครบกำหนดปี 2573 อัตราดอกเบี้ย 4.20% ต่อปี พร้อมรับดอกเบี้ย  ทุก 3 เดือน ตลอดอายุหุ้นกู้ ซึ่งเป็นข้อเสนอที่เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระแสเงินสดอย่างต่อเนื่อง                 อีกทั้งยังได้รับการจัดจำหน่ายโดย 15 สถาบันการเงินและบริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำ อาทิ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย, ธนาคารกสิกรไทย, บล.เอเซีย พลัส, บล.หยวนต้า, บล.เมย์แบงก์, บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง, บล.ดาโอ, บล.บลูเบลล์, บล.ธนชาต, บล.เคจีไอ, บล.บียอนด์, บล.พาย, บล.ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล, บล.โกลเบล็ก และบล.ทรีนีตี้ พร้อมให้บริการแก่นักลงทุนที่สนใจ                 "SAWAD มุ่งมั่นเดินหน้าขยายธุรกิจและพัฒนาโซลูชันทางการเงิน เพื่อการเติบโตที่มั่นคง พร้อมส่งมอบคุณค่าสูงสุดแก่ลูกค้าและนักลงทุนทุกท่าน เราขอขอบคุณทุกความไว้วางใจที่มีให้เสมอมา โดยยึดมั่นหลักการ ‘ศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ มั่นใจ ถูกต้อง โปร่งใสตามกฎหมาย พร้อมเติบโตคู่ชีวิตชาวไทย’ด้วยบริการสินเชื่อที่โปร่งใส เป็นธรรม และเข้าถึงง่ายสำหรับทุกคน" นางสาวธิดากล่าวปิดท้าย

THANI คาดกำไรปี68 ที่ 1 พันลบ. โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 2 บาท

THANI คาดกำไรปี68 ที่ 1 พันลบ. โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 2 บาท

             หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.ฟิลลิป ระบุ THANI การปล่อยสินเชื่อใหม่อาจจะยังไม่ได้เติบโตมากนัก โดย THANI ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อปี 68 ใกล้เคียงกับปี 67 แต่รถยึดเข้ามาลดลงเรื่อย ๆ และการขายออกทำได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้การตั้งสำรอง และค่าใช้จ่ายสำรองจากผลขาดทุนจากการขายรถยึดจะลดลงด้วย ปรับประมาณการกำไรปี 68 ขึ้น จากผลตอบแทนสินเชื่อที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อ และค่าใช้จ่ายที่ลดลง ปรับราคาพื้นฐานเป็น 2 บาท ยังแนะนำ “ซื้อ” ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อปี 68 ใกล้เคียงกับปี 67              ในปี 67 ถึงแม้ว่ายอดขายรถทั้งรถยนต์นั่ง และรถบรรทุกจะลดลง โดยยอดขายรถยนต์นั่งลดลง 23.3% จากปี 66 ที่ขายได้ 2.9 แสนคัน ลดเหลือเพียง 2.2 แสนคันในปี 67 ส่วนรถบรรทุกยิ่งลดลงมากกว่รถยนต์นั่ง โดยลดลงถึง 42% จากปี 66 ที่ขายได้ 2.7 หมื่นคัน เหลือเพียง 1.6 หมื่นคันในปี 67 แต่ THANI ก็ยังปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ 16,761 ลบ. แต่การชำระคืนสินเชื่อของลูกค้าทำให้พอร์ตสินเชื่อหดตัวลงถึง 13% ในปี 68 ทาง THANI มองว่าเศรษฐกิจนั้นยังไม่ฟื้นตัวดี ถึงแม้จะเห็นการฟื้นตัวของความต้องการใช้รถบรรทุกในภาคเกษตร แต่ในภาคก่อสร้างอาจจะยังชะลอตัว ทำให้ทาง THANI ตั้งเป้าที่จะปล่อยสินเชื่อใหม่ในปี 68 ใกล้เคียงกับปี 67 ที่ 16,000 – 17,000 ลบ. และพอร์ตสินเชื่อ ณ สิ้นปี 68 ใกล้เคียงกับปี 67 การยึดรถเข้ามาใหม่น้อยลง และการขายรถยึดทำได้ดีขึ้น              จากการดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิด และมีการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกค้าในช่วงปลายปีก่อน ประกอบกับการปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวัง ทำให้การยึดรถเข้ามาใหม่เริ่มน้อยลงเรื่อย ๆ จากที่เคยยึดรถสูงถึง 120 – 130 คัน/เดือน ในขณะนี้เหลือเพียงประมาณ 100 คัน และการขายรถยึดออกไปทำได้ดีมากขึ้น โดยขายได้ประมาณ 130 – 140 คัน/เดือน ทำให้สต็อกรถยึดนั้นลดลงเรื่อย ๆ และผลขาดทุนจากการขายก็ลดต่ำลงด้วย นอกจากนี้ทาง THANI ยังจะสามารถกลับสำรองที่ตั้งไว้เผื่อผลขาดทุนจากการขายรถยึดมาเป็นรายได้ได้ด้วย การแข่งขันที่ลดลงทำให้สามารถปรับดอกเบี้ยขึ้นได้              ถึงแม้ว่าต้นทุนทางการเงินของ THANI จะยังทรงตัวอยู่ ถึงแม้ว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยจะเป็นขาลงแล้วก็ตาม แต่การแข่งขันในธุรกิจเช่าซื้อรถบรรทุกที่ลดลงเนื่องจากผู้ประกอบการมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ ทำให้ทาง THANI สามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อขึ้นในรถบางประเภท เพื่อเพิ่มผลตอบแทน และรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นได้ ปรับประมาณการกำไร และราคาพื้นฐานขึ้น ยังแนะนำ “ซื้อ”              ทางฝ่ายปรับประมาณการกำไรปี 68 ของ THANI ขึ้นเป็น 1 พันลบ. จากเดิมที่คาดไว้ที่ 941 ลบ. เนื่องจากปรับเพิ่มประมาณการผลตอบแทนสินเชื่อขึ้น และปรับลดค่าใช้จ่ายลงจากสำรองค่าเผื่อผลขาดทุนจากรถยึดลง โดยกำไรที่ปรับขึ้นนี้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 30.2% y-y ปรับเพิ่มเงินปันผลขึ้นเป็น 0.09 บาท/หุ้น คิดเป็น Div. yield 5% จากเดิมคาดไว้ที่ 0.08 บาท/หุ้น และปรับราคาพื้นฐานขึ้นเป็น 2 บาท/หุ้น มองว่าเริ่มเห็นการฟื้นตัวของ THANI และผลประกอบการน่าจะกลับมาเติบโตได้อย่างโดดเด่น เมื่อเทียบราคาหุ้นในปัจจุบัน กับราคาพื้นฐานยังเหลือส่วนต่างพอสมควร จึงยังคงแนะนำ “ซื้อ”

PRM คาดกำไรปีนี้ 2,338 ลบ. โบรกชี้หุ้นมี upside เคาะพื้นฐาน 9.35 บ.

PRM คาดกำไรปีนี้ 2,338 ลบ. โบรกชี้หุ้นมี upside เคาะพื้นฐาน 9.35 บ.

               หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.ฟิลลิป ระบุ 1H68 คาดกำไรปกติ PRM จะอ่อนกว่าปีก่อน จากเรือใหญ่เข้าอู่หลายลำและขายเรือ FSU 1 ลำ จะมีกำไรจากการขายเรือ แต่ใน 2H68 จะกลับโตทั้ง y-y และ h-h จากเรือทำงานได้เต็มที่มากขึ้น รวมถึง Crew Boat ใหม่ 4 ลำที่รับใน 1H68 และมีเรือใหญ่เข้าอู่เพียง 1 ลำในช่วง 4Q68 ทั้งปี เรือเข้าอู่ 19 ลำ จากปีก่อน 28 ลำ คาดกำไรโต 10.3% y-y ที่ 2,338 ล้านบาท อิง P/E ที่ 9 เท่า ราคาพื้นฐานที่ 9.35 บาท และยังมี Div. Yield ที่ 8.3% ยังคงแนะนำ “ซื้อ” 1Q68 แนวโน้มกำไรปกติอ่อนลง y-y จากเรือใหญ่เข้าอู่ซ่อมบำรุง ซึ่งยังไม่รวมกำไรขายเรือ                เรือที่เข้าอู่ซ่อมบำรุงในช่วงของ 4Q67 เริ่มทยอยกลับเข้าทำงานใน 1Q68 เรือ AWB (นวธานี) เรือโรงแรมลอยน้ำกลับมาทำงาน 26 ม.ค., เรือ VLCC ที่ขนส่งน้ำมันดิบกลับมาทำงาน 5 ก.พ., เรือ Aframax ที่นำไปดัดแปลงตั้งแต่กลางปี 2567 เป็นเรือ FSO (ขนส่งและจัดเก็บน้ำมันดิบสำหรับแท่นขุดเจาะน้ำมัน) กลับมาทำงาน 26 ก.พ. และรับเรือ Crew Boat ใหม่ 3 ลำเข้าทำงานกับ ADNOC 2 ลำเมื่อ 6 ม.ค. และ 1 ลำเมื่อ 22 มี.ค. แต่แนวโน้มกำไรคาดไม่ดีเท่าปีก่อน จากเรือใหญ่ AWB และ VLCC ที่เข้า Dry Dock คาบเกี่ยวมาจาก 4Q67 และ 1Q-2Q68 เรือ Aframax ยังให้บริการขนส่งน้ำมันดิบก่อนออกไปดัดแปลงเป็นเรือ FSO ตั้งแต่ 3Q67 แม้จะกลับมาเป็นเรือ FSO แต่ให้เช่าแบบเรือเปล่า (Bare Boat) ที่รายได้ต่ำลงกว่าขนส่งน้ำมันดิบ อีกทั้งจะขายเรือ FSU ในเดือน มี.ค. เร็วกว่าแผนที่จะขาย ก.ย. ทำให้รายได้หายไปราวครึ่งเดือน ซึ่งที่กล่าวมาข้างต้นทำให้ 1Q68 แนวโน้มกำไรปกติอ่อนตัว y-y แต่ดีขึ้น q-q เงินบาทที่กลับมาแข็งค่าจากสิ้นปี 2567 ที่ 34 บาท/ดอลลาร์ เป็นราว 33.60-33.80 บาท คาดมีการบันทึกขาดทุน Fx และกำไรขายเรือ ซึ่งในปี 2566 มีการขายเรือ FSU กำไรที่ 312 ล้านบาท ซึ่งเป็นเรือแบบเดียวกับที่ขายในเดือน มี.ค. แต่เรืออายุเรือมากกว่า คาดกำไรน้อยกว่าปี 2566 แต่จะยังมีนัยสำคัญอยู่ คาดกำไรสุทธิโต y-y และ q-q คาดจะเห็นรายได้และกำไรเติบโตใน 2H68                2Q68 จะมีผลกระทบจากเรือ FSU ที่ขายได้ใน 1Q68 แต่จะมีเรือแบบเดียวกันลำใหม่เข้าทำงานใน พ.ค. ทำให้วันทำงานหายไปราว 1 เดือน แม้เรือลำใหม่จะสามารถเก็บน้ำมันได้มากกว่าเรือเก่าที่ขายไป ซึ่งเก็บได้เพียง 2 ใน 3 ของความจุเรือ เรื่องความปลอดภัยจากอายุเรือ และเรือ Aframax ยังวิ่งขนส่งน้ำมันดิบ แม้ปีนี้มาเป็นเรือ FSO แต่ค่าเช่าถูกลง และตามแผนจะมีรับเรือ Crew Boat อีก 1 ลำเดือน มิ.ย. คาดกำไรปกติจะมีขึ้นกว่า 1Q68 แต่ยังต่ำกว่าปีก่อน                ครึ่งปีหลัง 2568 จะเห็นทิศทางที่ดีขึ้นกว่าในครึ่งปีแรกและช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเรือที่ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น, เรือ FSU ลำใหม่สามารถเก็บน้ำมันได้สูงกว่าลำเดิมที่ในปี 2567 มีอัตราการใช้งาน (U Rate) เพียง 65% เมื่อเทียบกับอีก 4 ลำที่ U Rate เฉลี่ยที่ 81% คาดจะเห็น U Rate ดีขึ้นกว่าปีก่อน และเรือใหญ่ VLCC เข้า Dry Dock เพียง 1 ลำใน 4Q68 เมื่อรวมเรือประเภทอื่นมีเข้า Dry Dock ที่ 9 ลำเทียบกับทั้งปีที่ 19 ลำ และน้อยกว่าปี 2567 ที่เข้า Dry Dock ที่ 28 ลำ เรือสามารถทำให้ งานได้มากขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่มองว่ารายได้และกำไรในครึ่งปีหลังจากดีขึ้น h-h และ y-y ยังมี upside หากแผนลงทุนโครงการใหม่ทำได้สำเร็จ                ในปี 2567 PRM ได้มีการลงทุนราว 4,500 ล้านบาท ทั้งเพิ่มกองเรือและ M&A ในปี 2568 วางกรอบเงินลงทุนราว 3,000 ล้านบาท โดยลงทุนในกลุ่มเรือ 1) เรือขนส่งน้ำมันสำเร็จรูปและเคมี (PCT) ราว 1,000 ล้านบาท ที่อยู่ระหว่างการเจรจาหาผู้เช่า ซึ่ง PRM ได้โควต้าเรือใหม่มาจากอู่ต่อเรือที่จีน 2 ลำ และ 2) เรือสนับสนุนงานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมกลางทะเล (OSV) ราว 2,000 ล้านบาท เพราะเรือกลุ่มนี้มีหลายประเภท เช่น เรือลากจูง (Anchor Tug) เรือสนับสนุนงานก่อสร้างในทะเล (DB2: Derrick Barge 2) เป็นต้น หรืออาจพิจารณาต่อเรือใหม่เพิ่ม จากปัจจุบันในบริการเรือ AWB, Crew Boat และ FSO รวมถึงการทำ M&A ถ้าโครงการประสบความสำเร็จ จะเป็น upside เพิ่มเติม ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาพื้นฐาน 9.35 บาท                บริษัทมีข้อดี คือ มีรายได้ประจำ (recurring income) ที่กว่า 70% ของรายได้ เกิดจากการทำสัญญาระยะยาว 2-10 ปีเพื่อต้องการลดความเสี่ยงด้านรายได้จากการลงทุนที่สูง ทางฝ่ายยังคงคาดในปี 2568 คาดรายได้ +7.5% ที่ 9,451 ล้านบาท และกำไรที่ 2,338 ล้านบาท +10.3% (ยังไม่รวมกำไรขายเรือในเดือน มี.ค.) PRM ได้ทำการซื้อหุ้นคืนรอบแรกที่ 172.89 ล้านหุ้น คิดเป็น 6.92% และอยู่ระหว่างซื้อคืนรอบที่ 2 อีก 75 ล้านหุ้น คิดเป็น 3% โดยมีแผนลดทุนหุ้นซื้อคืนจะทำให้ทุนชำระแล้วเหลือ 2,252.11 ล้านหุ้น ปรับ P/E ลงเป็น 9 เท่า มีพรีเมียมจากการซื้อขายเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลังที่ 8.5 เท่า จากกำไรปีนี้ที่ยังเติบโตได้ ราคาพื้นฐาน 9.35 บาท อีกทั้งหากอิง Payout Ratio จ่ายปันผลที่ 54% เท่าปีก่อน คาดปันผลของปีนี้ที่ 0.56 บาท (จ่ายปีละ 2 ครั้ง) มีผลตอบแทนจากเงินปันผลสูง 8.3% ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ”

BCPG โตแรง! โรงไฟฟ้าสหรัฐฯหนุน ขึ้นแท่น Top Pick พลังงาน

BCPG โตแรง! โรงไฟฟ้าสหรัฐฯหนุน ขึ้นแท่น Top Pick พลังงาน

             หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง BCPG ระบุว่า การเติบโตช่วง 2H25 ชัดเจน โรงไฟฟ้าในสหรัฐฯ จะเป็น Growth Driver สำคัญในปี 2025              เมื่อวันที่ 19 มี.ค. ที่ผ่านมา เราได้เข้าร่วมงาน Yuanta Corporate Day กับผู้บริหาร โดยมีสาระสำคัญดังนี้              ปัจจุบัน โครงการลม Monsoon ในลาว (กำลังการผลิต 290MWe, ถือหุ้น 48%) ได้มีการติดตั้งกังหันลมเสร็จสิ้นไปกว่า 92% โดยมีกำหนดการ COD ในช่วง 2H25 ซึ่งโครงการ Monsoon จะขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าเวียดนาม (EVN) ด้วยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ในรอบปี 2025/26 ค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติทั้ง 4 โครงการในสหรัฐฯ ปรับขึ้นมาอยู่ที่ $269.92/MW-Day โดย PJM (ตลาดขายไฟฟ้าในสหรัฐฯ) คาดการณ์ว่าค่าความพร้อมจ่ายในอีก 2 ปีข้างหน้า จะยังทรงตัวในระดับสูง เนื่องจากไฟฟ้าสำรองในระบบ (Reserve Margin) ของตลาด PJM มีโอกาสลดลงมาอยู่ที่เพียง 10%-15% ของกำลังการผลิตในตลาด สาเหตุจาก อุปสงค์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจาก Data Center และ AI อุปทานไฟฟ้าในตลาด PJM ไม่สามารถเพิ่มได้ทัน โดยคาดว่าทาง PJM จะประกาศค่าความพร้อมจ่ายสำหรับรอบปี 2026/27 ในเดือน ก.ค. นี้ เริ่มเห็นการเติบโตของกำไร YoY ตั้งแต่ 2Q25 เป็นต้นไป เบื้องต้นคาดกำไรปกติ 1Q25 ที่ราว 250-300 ล้านบาท เติบโต QoQ จากการที่โรงไฟฟ้าในสหรัฐฯ มีจำนวนวันปิดซ่อมน้อยลง และปัจจัยฤดูกาลของโรงไฟฟ้าน้ำในลาว แต่ลดลง YoY เพราะผลกระทบจาก การหมดสัญญา Adder การขายโรงไฟฟ้าในญี่ปุ่น หากมองไปยัง 2Q25 เราคาดว่ากำไรปกติจะกลับมาเติบโต YoY จากการเริ่มรับรู้ ส่วนแบ่งกำไรของโรงไฟฟ้าในสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นค่าความพร้อมจ่ายในเดือน มิ.ย. 25 (รับรู้ราว 1 เดือน) ขณะที่ 3Q-4Q25 เราคาดว่ากำไรปกติสามารถเติบโต YoY ได้อย่างต่อเนื่อง จากการเริ่มรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากโครงการ Monsoon ที่มีกำหนดการ COD ในช่วง 2H25การรับรู้ค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าในสหรัฐฯ แบบเต็มไตรมาส ให้เป็น Top Pick สำหรับการลงทุนในช่วง 2Q25เราคงประมาณการปี 2025 ที่ 1,583 ล้านบาท (+41% YoY) และคงราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2025 ที่ 9.50 บาท/หุ้น (Upside 32%) เรามองว่า BCPG มีโอกาสเคลื่อนไหวได้ดีกว่ากลุ่มโรงไฟฟ้า จาก บริษัทมีความเสี่ยงเชิงนโยบายของรัฐต่ำที่สุดในกลุ่ม เนื่องจากมีกำลังการผลิตในประเทศเพียง 10% (รวมกำลังการผลิตที่ยังไม่ COD) ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ต่ำที่สุดของอุตสาหกรรม ปัจจุบันบริษัทมีสัญญา Adder เหลือเพียง 1 โครงการ (โดยจะหมดสัญญาในปี 2029 และจะส่งผลกระทบต่ำกว่า 5% ของประมาณการปี 2029) แนวโน้มการเติบโตของกำไรที่ชัดเจนตั้งแต่ 2Q25 เป็นต้นไป คงคำแนะนำ "ซื้อ" - ให้ BCPG เป็น Top Pick ของกลุ่มโรงไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ด้วยราคาหุ้นที่ Outperform ตลาดค่อนข้างมาก เชิงกลยุทธ์แนะนำ ซื้อเมื่อราคาปรับตัวลงมาที่แนวรับ 6.80 บาท/หุ้น

CPN พื้นที่ให้เช่า คาดหนุนโตต่อ ปักเป้าที่ 68.00 บ.

CPN พื้นที่ให้เช่า คาดหนุนโตต่อ ปักเป้าที่ 68.00 บ.

             หุ้นวิชั่น - บล.เคจีไอ ประเมินหุ้น Central Pattana (CPN.BK/CPN TB)* ประกาศแผนการลงทุน 5 ปี มูลค่ารวมราว 1.20 แสนล้านบาท โดยจะเปิดตัว 2 โครงการค้าปลีก, 1 อาคารสำนักงานในปี 2568F และ 3 โครงการ mixed-use ขนาดใหญ่ในปี 2569F ขณะที่ ภายในสิ้นปี 2568 นี้ CPN จะมีโครงการทั้งหมด 135 โครงการในทุกกลุ่มธุรกิจ โดยมีโครงการ mixed-use 30 โครงการจาก 44 ทำเลที่มีศักยภาพ (20 แห่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 23 แห่งในจังหวัดอื่นๆ และอีก 1 แห่งในมาเลเซีย)              อย่างไรก็ดี ฝ่ายวิจัยคาดกำไรปี 2568F เติบโต 2% และโตอีก 12% ในปี 2569F ตามพื้นที่ให้เช่าเพิ่มขึ้นเป็นหลัก ทั้งนี้ ปรับลดราคาเป้าหมาย DCF (ใช้ WACC ที่ 7.5% และ Terminal growth ที่ 1% (ลดลงจากเดิม 1.5%)) ลงเหลือ 68.00 บาท จากเดิม 72.00 บาท และคงคำแนะนำ “ซื้อ”              ฝ่ายวิจัยปรับลดราคาเป้าหมาย DCF (ใช้ WACC ที่ 7.5% และ Terminal ที่ 1%) ลงที่ 68.00 บาทจาก 72.00 บาท บนสมมติฐาน Terminal growth ลดเหลือ 1% จาก 1.5% ทั้งนี้ เยังคงคำแนะนำซื้อ เพราะยังมี upside สูงถึง 37% จากราคาเป้าหมายใหม่ของฝ่ายวิจัย              ขณะนี้ CPN เทรดที่ PE และ PB ต่ำใกล้ระดับ -2 S.D. Risks ความรวดเร็วในอัตราการเติบโตของ GDP, การแข่งขันรุนแรงในธุรกิจค้าปลีกที่กรุงเทพ, การเพิ่มขึ้นของต้นทุนสาธารณูปโภคและค่าแรงงานขั้นต่ำ, ความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติขาเข้า

วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล เก็บหุ้น WARRIX เพิ่ม 17.8602% รวมถือ 45.9848%

วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล เก็บหุ้น WARRIX เพิ่ม 17.8602% รวมถือ 45.9848%

            หุ้นวิชั่น - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับรายงานการได้มา หุ้นของ บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด (มหาชน) (WARRIX) โดย นาย วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล ซึ่งเป็นการได้มา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2568 จำนวนหลักทรัพย์ที่ได้มา คิดเป็น 17.8602% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการได้มา คิดเป็น 45.9848% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ที่ได้มา ของกลุ่มคิดเป็น 17.8602% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการได้มา ของกลุ่มคิดเป็น 45.9848% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ

จับตา KCG กำไรโค้งแรกยังโต เป้า 12.20 บ. - ราคาหุ้นถูก ปันผลดี

จับตา KCG กำไรโค้งแรกยังโต เป้า 12.20 บ. - ราคาหุ้นถูก ปันผลดี

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง KCG ว่า แนวโน้มกำไรใน 1Q25 ยังเติบโตได้ที่ระดับ 10% YoY ยอดขาย 2 เดือนแรกของปี 2025 เติบโตในระดับ 10% YoY ยอดขายเดือน ม.ค.-ก.พ. 2025 ชะลอตัวลง QoQ จากการผ่านพ้นช่วง High season แต่ยังสามารถเติบโตได้ที่ระดับ 10% YoY หนุนจาก 1) ธุรกิจ B2C ที่สามารถโต 10% YoY จากการเร่งออกสินค้าใหม่ต่อเนื่องเพื่อไปชดเชยสินค้าที่ถูกยกเลิกจำหน่ายไป จากการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ (Product Rationalization) ในปีก่อน 2) ธุรกิจ B2B โตระดับ 10% YoY เช่นกัน ตามการขยายตัวของธุรกิจร้านเบเกอรี่ และร้านอาหารตะวันตก ส่วนลูกค้ากลุ่มโรงแรมยังทรงตัว-เพิ่มขึ้นเล็กน้อย YoY ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยังเติบโตได้ค่อนข้างจำกัด ขณะที่ราคาต้นทุนไขมันเนย ปัจจุบันเราเริ่มเห็นราคาปรับตัวลง QoQ เป็นไตรมาสแรก แต่ยังสูงกว่าในปีก่อน ซึ่งคาดจะชดเชยได้จาก U-rate ที่สูงขึ้น รวมถึง Product Mix ที่ดีขึ้น ทำให้ GPM คาดว่ายังทรงตัว YoY ได้ที่ 30.5% ทำให้เราคาดกำไรสุทธิใน 1Q25 ลดลง QoQ แต่เติบโตในระดับ 10% YoY บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตในปี 2025 ที่ระดับ 8% YoY บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตของรายได้ปี 2025 ที่ระดับไม่ต่ำกว่าปี 2024 ที่ 8% YoY หนุนจาก แนวโน้มตลาดเนยและชีสที่ยังขยายตัวระดับ 5% และ 7% ต่อปี ตามการเติบโตของกระแสนิยมอาหารตะวันตก การออกสินค้าใหม่ไม่ต่ำกว่า 100 SKUs เพื่อชดเชยสินค้าที่ถูกยกเลิกจำหน่ายไปในปีก่อน การรับรู้กำลังการผลิตใหม่ในช่วง 4Q25 ที่จะทำให้บริษัทสามารถรองรับการผลิตในช่วง High season ได้ หลังจากที่ใน 4Q24 บริษัทได้ใช้เครื่องจักรเต็มประสิทธิภาพแล้ว การส่งออกที่กลับมาเติบโตจากการรับรู้ผลของการปรับทีมขายใหม่เต็มปี ส่วน GPM บริษัทตั้งเป้าหมายที่ทรงตัว YoY แม้ราคาต้นทุนไขมันเนยจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ทางผู้บริหารมองว่าจะชดเชยได้จาก Product Mix ที่ดีขึ้น จากการรับรู้ผลของการยกเลิกจำหน่ายสินค้าที่ไม่ทำกำไรออกเต็มปี ปรับประมาณการกำไรปี 2025-2026 ขึ้น 8.2% และ 6.4% ตามลำดับ จากยอดขายใน 2 เดือนแรก ที่ยังเติบโตได้ในระดับ 10% ทำให้เรามั่นใจว่าบริษัทจะสามารถผลักดันยอดขายให้เติบโตได้ระดับ 8% YoY รวมถึงประมาณการ SG&A เดิมของเราที่ยังไม่รวมปัจจัยบวกจากการเปิดใช้งาน KCG Logistic Park ทั้ง 6 ตึกเต็มปี ที่คาดว่าจะสามารถประหยัดค่าเช่าคลังสินค้าได้ราว 20 ลบ./ปี ทำให้เราปรับประมาณการกำไรปี 2025-2026 ขึ้น 8.2% และ 6.4% เป็น 447 ลบ. (+10.4% YoY) และ 501 ลบ. (+12.0% YoY) ตามลำดับ จากการปรับสมมติฐานรายได้ขึ้น และปรับ SG&A/Sales ลง คงราคาเหมาะสมที่ 12.20 บาท ราคาหุ้นถูก ปันผลดี แนะนำ “ซื้อ” เราปรับไปใช้วิธี PER Multiple ในการประเมินมูลค่า เพื่อให้สอดคล้องกับการประเมินมูลค่าของหุ้นกลุ่มขนมขบเคี้ยวของเราทั้ง SNNP / NSL / CHAO ซึ่งแม้เราจะปรับประมาณการขึ้น แต่เรายังคงราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2025 ที่ 12.20 บาท หรือคิดเป็น PE ในการประเมินมูลค่าที่ 14.9 เท่า เพื่อเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น จากสภาวะตลาดที่ผันผวน โดยราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายบน PER25 เพียง 10.1 เท่า ต่ำสุดในกลุ่ม คิดเป็น -1 SD ของ PE Band ย้อนหลังนับตั้งแต่ IPO รวมถึงยังมี Div. Yield ที่ระดับ 4.9% (ขึ้น XD วันที่ 6 พ.ค. 2025) ช่วยจำกัด Downside risk ของราคาหุ้นในระยะสั้น คงคำแนะนำ “ซื้อ”

ตลท.ขอให้ผลท.ศึกษาข้อมูลงบการเงิน-ติดตามคำชี้แจง MORE

ตลท.ขอให้ผลท.ศึกษาข้อมูลงบการเงิน-ติดตามคำชี้แจง MORE

                 หุ้นวิชั่น - ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้บริษัท มอร์ รีเทิร์น จำกัด (มหาชน) (MORE) ชี้แจงข้อมูลในงบการเงินประจำปี 2567 โดยผู้สอบบัญชีมีข้อสังเกตเกี่ยวกับเงินจ่ายล่วงหน้าโครงการ Grand Ratchada ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินการ และเงินจ่ายค่าก่อสร้าง Loud Club ซึ่งเมื่อครบอายุสัญญาแล้ว ทรัพย์สินจะตกเป็นของเจ้าของที่ดิน รวมทั้งสิ้น 259 ล้านบาท คิดเป็น 26% ของมูลค่าสินทรัพย์รวม ซึ่งอาจกระทบต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของ MORE รวมทั้งขอให้ชี้แจงข้อมูลการเสนอที่จะเพิ่มทุนแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) เพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 18 เมษายน 2568 นี้                โดยขอให้ MORE ชี้แจงข้อมูลผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันที่ 28 มีนาคม 2568ในส่วนความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบ ขอให้ชี้แจงภายในวันที่ 4 เมษายน 2568 นอกจากนี้ ขอให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลงบการเงินและติดตามคำชี้แจงของ MORE ดังกล่าวง สรุปข้อมูลสำคัญของ MORE ข้อมูลในงบการเงินประจำปี 2567 ผู้สอบบัญชีมีข้อสังเกต (1) เงินลงทุนจ่ายล่วงหน้าในโครงการ Grand Ratchada 200 ล้านบาท หรือ 13% ของมูลค่าโครงการ (1,550 ล้านบาท) ซึ่งทำสัญญาร่วมลงทุนตั้งแต่ปี 2566 ปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินการ และ (2) การจ่ายเงินค่าก่อสร้าง Loud Club (โครงการ Rolling Loud Thailand) 59 ล้านบาท ในปี 2567 หรือ 59% ของมูลค่าสัญญาก่อสร้าง (100 ล้านบาท) ซึ่งเมื่อสิ้นสุดสัญญาในปี 2573 ทรัพย์สินดังกล่าวจะตกเป็นของเจ้าของที่ดิน ทั้งนี้ มูลค่ารายการข้างต้นรวม 259 ล้านบาท คิดเป็น 26% ของมูลค่าสินทรัพย์รวม ผลการดำเนินงานปี 2567 MORE มีผลขาดทุนสุทธิ 181 ล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตจากเงินให้กู้ยืมบริษัทร่วม 176 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีขาดทุนจากการลงทุนในคอนเสิร์ตเกาหลี ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ทางการเงิน (หุ้น HEALTH) ขาดทุนจากขายหลักทรัพย์เพื่อค้า ขาดทุนจากการปรับมูลค่ายุติธรรมของหลักทรัพย์เพื่อค้า รวมทั้งสิ้นอีก 57 ล้านบาท การขายหุ้นทั้งหมดของบริษัท มอร์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 คณะกรรมการบริษัทมีมติขายหุ้นทั้งหมดของบริษัทดังกล่าว เป็นเงิน 330 ล้านบาท โดย ณ วันทำสัญญา ผู้ซื้อชำระเงิน 60 ล้านบาท ส่วนอีก 270 ล้านบาท อาจชำระทั้งจำนวนหรือชำระเป็นครั้งคราวภายใน 3 ปี แผนการเพิ่มทุน วันที่ 8 ธันวาคม 2566 คณะกรรมการบริษัทมีมติเพิ่มทุนโดยจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering) 14,353 ล้านหุ้น เป็นเงิน 718 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการขยายธุรกิจเพื่อสุขภาพและความงาม กลุ่มสาธารณูปโภค ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งเป็นการเพิ่มทุนในสัดส่วนที่มีนัยสำคัญ (คิดเป็น 200% ของทุนชำระแล้วในเวลานั้น) ขณะเดียวกัน อดีตกรรมการ และผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ MORE ถูกสำนักงาน ก.ล.ต. กล่าวโทษต่อ DSI อีกทั้งยังมีผู้ถือหุ้นจำนวนหนึ่งถูกอายัดหุ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ถือหุ้นกลุ่มดังกล่าวมีข้อจำกัดในการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน ประกอบกับ IFA มีความเห็นว่าผู้ถือหุ้นไม่ควรอนุมัติการเพิ่มทุน เนื่องจากราคาเสนอขายต่ำกว่าราคาตลาดและจะเกิด Control Dilution  สูงถึง 75% สำหรับผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้ใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน อย่างไรก็ดี ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 ไม่ได้มีการพิจารณาอนุมัติการเพิ่มทุนดังกล่าว ต่อมาเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้เสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ในวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อพิจารณาอนุมัติการเพิ่มทุนแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) โดยจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering) หรือบุคคลในวงจำกัด (Private Placement) หรือประชาชนทั่วไป (Public Offering) จำนวน 2,153 ล้านหุ้น (30% ของทุนชำระแล้ว ณ ปัจจุบัน) เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่อง ในการประกอบธุรกิจของ MORE ทั้งนี้ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการซื้อหุ้นเพิ่มทุน คือ MORE มีนโยบายจ่ายเงินปันผลไม่ต่ำกว่า 40% ของกำไรสุทธิตามงบการเงินเฉพาะกิจการ โดยผู้ที่ซื้อหุ้นเพิ่มทุนจะมีสิทธิได้รับเงินปันผลจากการดำเนินงานของ MORE เริ่มตั้งแต่มีชื่อปรากฏเป็นผู้ถือหุ้นในทะเบียนผู้ถือหุ้นของ MORE ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ MORE ชี้แจงข้อมูลดังนี้ ความคืบหน้าและโอกาสความสำเร็จในการดำเนินโครงการ Grand Ratchada รวมถึงผลกระทบต่อฐานะการเงินและสภาพคล่องของ MORE อันเนื่องมาจากความล่าช้าของโครงการ การประเมินผลตอบแทนจากการลงทุน รวมทั้งมีการพิจารณาบันทึกด้อยค่ารายการดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร สรุปความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการ Loud Club โดยให้ระบุกรอบระยะเวลาที่คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและ เริ่มดำเนินการเพื่อสร้างรายได้เชิงพาณิชย์ มูลค่าโครงการ การประเมินผลตอบแทนจากการลงทุน รวมทั้งชี้แจงว่าเงื่อนไขการโอนกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ให้แก่คู่สัญญาและเจ้าของพื้นที่ภายหลังสิ้นสุดอายุสัญญาเป็นเงื่อนไขการค้าทั่วไปในธุรกิจประเภทนี้หรือไม่ ทั้งนี้ การทำโครงการ Loud Club เข้าข่ายเป็นรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์ และ/หรือ รายการที่เกี่ยวโยงกันหรือไม่ รวมทั้งมีการดำเนินการเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องแล้วหรือไม่ อย่างไร สาเหตุของการให้เงินกู้ยืมระยะสั้นแก่บริษัทร่วมเพิ่มเติมในปี 2567 จำนวนสุทธิ 176 ล้านบาท และการตั้งค่าเผื่อ ผลขาดทุนด้านเครดิตทั้งจำนวนในปีเดียวกัน ความคืบหน้าในการติดตามหนี้ การกำหนดหลักประกันในการให้เงินกู้ยืม  มาตรการกำกับดูแลความเสี่ยงในการให้เงินกู้ยืม รวมทั้งระบุชื่อบริษัทร่วมที่ได้รับเงินกู้ยืมและความสามารถในการชำระหนี้ดังกล่าวของบริษัทร่วม ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบ ในประเด็นต่อไปนี้ มาตรการกำกับดูแลความเสี่ยงจากการให้เงินกู้ยืม การลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ การลงทุนในหลักทรัพย์ การขายทรัพย์สิน ซึ่งส่งผลให้ผลการดำเนินงานปี 2567 เป็นขาดทุนสุทธิ รวมถึงหากมีการลงทุนหรือทำธุรกรรมใด ๆ ในอนาคตด้วย การพิจารณาอนุมัติการเพิ่มทุนแบบ General Mandate เหตุผลและความสมเหตุสมผลที่ MORE เลือกขายหุ้นของบริษัท มอร์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด โดยไม่เรียกชำระค่าหุ้นทั้งจำนวนในคราวเดียว ซึ่งหาก MORE เรียกชำระค่าหุ้นทั้งจำนวนอาจทำให้ MORE มีสภาพคล่องเพียงพอ โดยอาจไม่จำเป็นต้องดำเนินการเพิ่มทุน ทั้งนี้ MORE ได้มีการประเมินความสามารถ    ในการชำระค่าหุ้นของผู้ซื้อในปัจจุบันหรือไม่ อย่างไร การเพิ่มทุนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การใช้เงินที่เกี่ยวข้องกับแผนเพิ่มทุนเมื่อเดือนธันวาคม 2566 หรือไม่ อย่างไร หากมีความเกี่ยวข้อง ขอให้อธิบายเหตุผลในการเปลี่ยนรูปแบบการเพิ่มทุนเป็นแบบ General Mandate รวมทั้งชี้แจงว่ามีแผนการเพิ่มทุนเพิ่มเติมในอนาคต (1 - 3 ปี) หรือไม่ อย่างไร หลักเกณฑ์และเหตุผลในการพิจารณาเลือกรูปแบบการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนแต่ละประเภท รวมถึงปัจจัย ที่จะนำมาพิจารณาในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดสรรจากรูปแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ตามที่บริษัทได้แจ้งกำหนดกรอบราคากรณีจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนให้กับบุคคลในวงจำกัด (Private Placement) หรือประชาชนทั่วไป (Public Offering) ว่าเป็นราคาตลาดตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยยังไม่ได้ระบุราคากรณีที่เป็น การจัดสรรให้ผู้ถือหุ้นเดิมนั้น หากคณะกรรมการ MORE จะมีมติจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิม ตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering) ขอทราบกรอบการพิจารณากำหนดราคาเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนและ    แนวทางการคุ้มครองสิทธิของผู้ถือหุ้นที่ถูกอายัดหุ้นอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งข้อจำกัดในการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนของผู้ถือหุ้นดังกล่าว (หากมี) ความเป็นไปได้ในการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้จองซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามที่ MORE ได้แจ้งไว้ เนื่องจากงบการเงิน ปี 2567 (งบเฉพาะกิจการ) MORE ได้มีผลขาดทุนสุทธิสูงถึง 293 ล้านบาท ประกอบกับ MORE ยังมีผลขาดทุนสะสมอีก 1,086 ล้านบาท

จับตา

จับตา"ซื้อหนี้ประชาชน" คัด 3 หุ้น Top Pick

            หุ้นวิชั่น - บล.กรุงศรี จับตาข่าวซื้อหนี้ของประชาชน โดยฝ่ายวิจัยมีมุมมองเป็น slightly positive sentiment ต่อกลุ่ม ธนาคาร และ การเงินผู้บริโภค ต่อข่าวการซื้อหนี้ของประชาชนในกลุ่มสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันและบัตรเครดิตที่มีมูลหนี้ต่ำกว่า 1 แสนบาท เพราะเป็นการเพิ่มทางเลือกในการจัดการหนี้เสีย (NPL) ให้กับสถาบันการเงิน             เบื้องต้นเราประเมินเงินลงทุนที่ใช้ในการซื้อหนี้ภายใต้สมมติฐาน 1) 35% ของมูลหนี้ทั้งหมด 1.2 ล้านล้านบาท 2) เงินลงทุนซื้อหนี้ไม่มีหลักประกันเฉลี่ยของ AMC ราว 5-10% ของมูลค่าหนี้ คิดเป็นทั้งหมด 2.1-4.2 หมื่นล้านบาท เราคาดว่าการระดมทุนเม็ดเงินดังกล่าวพอเป็นไปได้ ฝ่ายวิจัยเรียงลำดับสถาบันการเงินที่มีสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันและบัตรเครดิตมากไปน้อย ดังนี้ กลุ่ม ธนาคาร: KTB (26%) > KBANK, TTB (6%) > SCB (5%) > KKP (4%) สำหรับ BBL ไม่มีการชี้แจงรายละเอียด และ TISCO ไม่มีสินเชื่อประเภทดังกล่าวกลุ่ม การเงินผู้บริโภค: KTC (98%) > AEONTS (92%) > MTC (10%) > SAWAD (3%) สำหรับ THANI และ MICRO ไม่มีสินเชื่อประเภทดังกล่าว แม้ว่า KTC จะมีสัดส่วนสินเชื่อประเภทดังกล่าวสูงสุดในกลุ่ม การเงินผู้บริโภค แต่ KTC ไม่มีนโยบายการขายหนี้             สำหรับประเด็นเรื่องการให้ลูกหนี้ NPL หลุดจากการติดแบล็คลิสต์เครดิตบูโร เรามองว่ามีโอกาสเกิดได้น้อย เพราะจะทำให้เกิด Moral Hazard และประโยชน์ของข้อมูลเครดิตบูโรลดลง เรามองว่าโอกาสที่เป็นไปได้คือ การติดรหัสพิเศษให้กับลูกหนี้กลุ่มนี้ เหมือนกับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ฝ่ายวิจัยคงน้ำหนักการลงทุน NEUTRAL สำหรับกลุ่มธนาคาร และคง KBANK (BUY, TP 178 บ.) และ KTB (BUY, TP 27 บ.) เป็น Top Pick ฝ่ายวิจัยคงน้ำหนักการลงทุน BULLISH สำหรับกลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ และคง MTC (BUY, TP 58 บ.) เป็น Top Pick

โอเปกจ่อลดการผลิตน้ำมัน  SPRC-PTTEP-TOP มีเฮ!

โอเปกจ่อลดการผลิตน้ำมัน SPRC-PTTEP-TOP มีเฮ!

               หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล. ดาโอระบุว่า วานนี้ สำนักเลขาธิการโอเปก (OPEC Secretariat) ได้รับแผนชดเชยกำลังการผลิตน้ำมันอัพเดตจาก 7 ประเทศสมาชิก (กลุ่มประเทศ (กลุ่มประเทศสมาชิกที่ตกลงจะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน ยกเว้น แอลจีเรีย) โดยแผนใหม่นี้จะแสดงการปรับลดกำลังการผลิตรายเดือนระหว่าง 189-435 พันบาร์เรลต่อวัน (kbd) โดยการปรับลดกำลังการผลิตนี้ตามกำหนดจะคงอยู่จนถึงเดือน มิ.ย.2026 โดยประเทศที่ตกลงจะปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันมากสุดตามแผนนี้ในช่วงเดือน มี.ค.2025-มิ.ย.2026 (เรียงจากมากไปน้อย) คือ อิรัก 1,954 kbd, คาซัคสถาน (908 kbd), รัสเซีย (706 kbd), สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (365 kbd), คูเวต (141 kbd), โอมาน (99 kbd), และซาอุดิอาระเบีย (30 kbd)                ทั้งนี้ สังเกตได้ว่าคาซัคสถานได้ผลิตที่ระดับสูงสุดใหม่ในช่วงที่ผ่านมาจากการขยายกำลังการผลิตของ Chevron โดยคาซัคสถานผลิตน้ำมันรวม 1.767 ล้านบาร์เรลต่อวัน (mbd) ในเดือน ก.พ.2025 สูงขึ้นจาก 1.570 mbd ในเดือน ม.ค.2025 และโควตาการผลิตของ OPEC+ ที่ 1.468 mbd                US ออกมาตรการคว่ำบาตรที่เกี่ยวกับอิหร่านเพิ่มเติม วานนี้ รัฐบาลสหรัฐอเมริกา (US) ประกาศคว่ำบาตร (sanction) ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมน้ำมันอิหร่านเพิ่มเติมโดยคราวนี้ตั้งเป้าไปที่ โรงกลั่นขนาดเล็กของจีน (teapot refineries) ซึ่งรวมถึง โรงกลั่น Shandong Shouguang Luqing Petrochemical Co., Ltd. นอกจากนี้ กระทรวงการคลังของ US ยังบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรกับ เรือขนส่งน้ำมัน 8 ลำ ซึ่งระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของกองเรือเงา (shadow fleet) ของอิหร่านที่เป็นเรือบรรทุกน้ำมันที่จัดหาให้กับโรงกลั่นเอกชนของจีน (ที่มา: Reuters, Bloomberg)                บล.ดาโอ มีมุมมองเป็นบวกต่อแนวโน้มราคาน้ำมันดิบ โดยเรามองว่าการประกาศแผนลดกำลังการผลิตน้ำมันเพื่อชดเชยการผลิตส่วนเกินของ OPEC และการ sanction อุตสาหกรรมน้ำมันของอิหร่านเพิ่มเติม น่าจะส่งผลกระทบให้ตลาดน้ำมันโลกมีความตึงตัวมากขึ้นและอาจทำให้ภาวะอุปทานล้นตลาด (oversupply) ที่น่าจะเกิดขึ้นในปี 2025E ผ่อนคลายลงมาได้ ทั้งนี้ วานนี้ราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ปรับตัวสูงขึ้น 1.7% เป็น USD72.0/bbl โดยเรายังสมมติฐานราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ยปีนี้ที่ USD73.0/bbl เรายังคงน้ำหนักการลงทุน “เท่ากับตลาด” สำหรับกลุ่มพลังงาน และคาดส่งผลบวกต่อหุ้นโรงกลั่นและหุ้นน้ำมันต้นน้ำ                โดยชอบหุ้น SPRC (ซื้อ/เป้า 6.50 บาท), PTTEP (ซื้อ/เป้า 160.00 บาท) และ TOP (ซื้อ/เป้า 36.00 บาท) โดยเราคาดว่าจะได้ประโยชน์จากแนวโน้มราคาน้ำมันที่น่าจะปรับตัวสูงขึ้น

จับตาข่าว KTB ควบ TTB บล.ดาโอ มองยังไง เช็กได้!

จับตาข่าว KTB ควบ TTB บล.ดาโอ มองยังไง เช็กได้!

              หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล. ดาโอระบุว่า จับตาแวดวงแบงก์ กำลังจะมี "บิ๊กดีล" ควบรวมกิจการระหว่าง "กรุงไทย-ทีทีบี" เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย "ผนึก" สร้างความแข็งแกร่ง จ่อขึ้นแท่นเบอร์ 1 กลุ่มแบงก์ หลังควบรวมเสร็จในด้าน "สินทรัพย์รวม" กว่า 5.36 ล้านล้าน และฐานลูกค้า และยังสามารถ "ลดต้นทุนธุรกิจ-สร้างโอกาสการเติบโต" ครั้งใหม่ พร้อมปูทางสร้างความแข็งแกร่งบน "ดิจิทัลแบงกิ้ง" (ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ)               บล. ดาโอ มีมุมมองเป็นกลางต่อประเด็นข่าวดังกล่าว เพราะยังไม่มีความชัดเจนกับดีลดังกล่าว แต่หากการควบรวม KTB และ TTB เกิดขึ้นจริง มองว่า จะกลายเป็นธนาคารที่มีสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มที่ราว 5.5 ล้านล้านบาท และคาดว่าจะเกิดผลดีในระยะยาวจากการเกิด synergy ในการขยายพอร์ตสินเชื่อได้ดี เพราะทั้งสองธนาคารมีกลุ่มลูกค้าที่ค่อนข้างแตกต่างกัน ทั้งนี้ ข่าวดังกล่าวเคยออกมาแล้วช่วงกลางเดือน เม.ย. 2018 โดย TTB มีการปรับตัวขึ้นก่อนมีข่าว +10% ส่วน KTB +5% แต่หลังจากนั้นราคาหุ้นปรับลงมา เพราะนักลงทุนคิดว่า ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้จริง อย่างไรก็ดี เบื้องต้นวันนี้คาดว่าราคาหุ้นของ KTB และ TTB จะตอบรับเชิงบวกต่อประเด็นข่าวดังกล่าว โดยยังคงแนะนำ “ซื้อ” ทั้ง KTB และ TTB ราคาเป้าหมายที่ 27.50 บาท และ 2.22 บาท ตามลำดับ

โผ “หุ้นอสังหาฯ” รับอานิสงส์ปลดล็อก LTV

โผ “หุ้นอสังหาฯ” รับอานิสงส์ปลดล็อก LTV

            หุ้นวิชั่น - บล.อเซียพลัส จับตาประเด็นจากวานนี้ ธปท ประกาศผ่อนคลายเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อ อื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) เป็นการชั่วคราว ฝ่ายวิจัยมีมุมมองเชิงบวกต่อการผ่อนคลายเกณฑ์ข้างต้น ย่อมส่งผลดีต่อทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ทั้งนี้ ประเมินกลุ่มบริษัทที่ได้ประโยชน์มากสุด ได้แก่ 1) กลุ่มบริษัทที่มี BACKLOG (รวม JV) ระดับสูง ได้แก่ AP, ORI, NOBLE, ASW, SC, SIRI และ SPALI เป็นต้น 2) กลุ่มที่มีสต๊อกคอนโดฯ สร้างเสร็จพร้อมโอนฯสูง ได้แก่ SPALI, ORI, AP และ ANAN ทั้งหมดมีเกินระดับ 1 หมื่นล้านบาท และ3) กลุ่มที่มีแผนโอนคอนโดฯ ใหม่ปีนี้ เช่น ORI, AP, SIRI,ASW, NOBLE , SPALI, PSH และ ANAN เป็นต้น

KSS คาด SET วันนี้ “Rebound” เคาะ PTT-PTTEP-KTB เด่น

KSS คาด SET วันนี้ “Rebound” เคาะ PTT-PTTEP-KTB เด่น

              หุ้นวิชั่น - บล.กรุงศรี คาด SET วันนี้ “Rebound” ต้าน 1195/1202จุด รับ 1175/1165 จุด ประเด็นสำคัญวันนี้ค่อนทางบวกต่อ SET 1.) ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นเฉลี่ย +1.7% หลังสหรัฐฯประกาศคว่ำบาตรอิหร่านเพิ่ม เป็นบวกต่อ SET ที่มีหุ้นพลังงานราว 10-11% ของมูลค่าตลาด               ผสาน 2.) ภายใน การประกาศซื้อหุ้นคืน PTT จำนวนไม่เกิน 470 ล้านหุ้น (1.65% ของหุ้นทั้งหมด) วงเงิน 1.6 หมื่นล้านบาท น่าจะทำให้ตลาด เก็งภาพอาจจะเห็นหุ้นอื่นในกลุ่มดำเนินการคล้ายกัน อาทิ BCP, PTTGC, TOP ดังที่เกิดขึ้นภาพทยอยปรับเพิ่ม Payout Ratio ในกลุ่มธนาคาร               3.) กลุ่มธนาคาร+เช่าซื้อ มีภาพบวกแนวทางกระทรวงการคลังซื้อหนี้คืนที่ชัดเจนขึ้น เน้นหนี้ไม่มีหลักประกัน ยอดค้าง < 1 แสนบาทต่อคน (35% ของหนี้ NPLs ทั้งระบบ 1.2 ล้านล้านบาท) ประเมินเงินที่ใช้2.1-4.2 หมื่นล้านบาท อยู่ในกรอบที่ระดมทุนเอกชนได้4.) BOT กลับมาผ่อนคลาย มาตรการ LTV อีกครั้งบวกต่อหุ้นอสังหา+ธนาคาร 5.) วันนี้ FTSE Rebalance ราคาปิดเป็น Net inflows +40 ล้านเหรียญฯ ประเมินหนุน               SET Rebound หุ้นนำ คือ หุ้นกลุ่มพลังงาน ธนาคาร เช่าซื้อ และอสังหา ผสาน 10 หุ้น Deep Value วันนี้แนะนำ PTT, PTTEP, KTB

เช็กด่วน! PTTแจงเหตุ “ซื้อหุ้นคืน”  ใช้ราคาเฉลี่ยเท่าไร ก่อนตัดสินใจ  

เช็กด่วน! PTTแจงเหตุ “ซื้อหุ้นคืน” ใช้ราคาเฉลี่ยเท่าไร ก่อนตัดสินใจ  

               หุ้นวิชั่น- วิเคราะห์เบื้องหลัง PTT ซื้อหุ้นคืน ที่ประชุมเปิดข้อมูลราคาซื้อขายเฉลี่ยย้อนหลัง 30 วัน ที่ 30.33 บาทต่อหุ้น เพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจ ก่อนกำหนดวงเงิน 16,000 ล้าน รวมถึงเหตุผล 3 ข้อ ในการซื้อหุ้นครั้งนี้                 นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ("ปตท.") หรือ PTT แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ("ตลท.") ว่า  ที่ประชุมคณะกรรมการ ปตท. ครั้งที่ 3/2568 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 ได้มีมติอนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารทางการเงิน (Treasury Stock) ภายในวงเงินสูงสุดไม่เกิน 16,000 ล้านบาท และจำนวนหุ้นที่จะซื้อคืนไม่เกิน 470 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 1.65 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด โดยวิธีจับคู่อัตโนมัติผ่านระบบการซื้อขายของ ตลท. (Automatic Order Matching: AOM) และมีกำหนดระยะเวลาซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2568 ถึงวันที่ 23 กันยายน 2568 กรอบราคาซื้อคืน                ทั้งนี้ ราคาหุ้นที่จะซื้อหุ้นคืนจะไม่เกินราคาปิดของหุ้นเฉลี่ย 5 วันทำการซื้อขายก่อนหน้าวันที่ทำการซื้อขายแต่ละครั้ง บวกด้วย 15% ของราคาปิดเฉลี่ยดังกล่าว และเพื่อประกอบการพิจารณาราคาหุ้นเฉลี่ยย้อนหลัง 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 18 ก.พ. 2568 ถึง 19 มี.ค. 2568 เท่ากับ 30.33 บาทต่อหุ้น (ราคาปิดเฉลี่ยย้อนหลัง 30 วัน) เหตุผลซื้อหุ้นคืน                นายคงกระพันระบุว่า เหตุผลในการซื้อหุ้นคืนครั้งนี้ 1. เพื่อเป็นการบริหารสภาพคล่องส่วนเกินของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพ  2. เพิ่มอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE)  และอัตรากำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) และ 3. เป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ลงทุน และผู้ถือหุ้นถึงสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง และความสามารถในการทำกำไรของบริษัท

หุ้นได้-เสีย ผ่อนกฎ LTV

หุ้นได้-เสีย ผ่อนกฎ LTV

          หุ้นวิชั่น - บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นไทยยามนี้ ต้องยอมรับว่า นักลงทุนยังกล้าๆกลัวๆ ข่าวดีน้อย มีแต่ข่าวร้ายท่วมตลาด วานนี้ (20 มี.ค.2568) แบงก์ชาติปล่อยผี  ยอมผ่อนเกณฑ์ LTV เป็นการชั่วคราว ถือว่าเป็นการต่อลมหายใจธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้ในระดับหนึ่ง ดีกว่าไม่มีมาตรการกระตุ้นอะไรเลย           สาระสำคัญ มีดังนี้ 1.กำหนดให้เพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกันเป็น 100% สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ทั้งกรณี(1) มูลค่าหลักประกันต่ำกว่า 10 ล้านบาท ตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 2 เป็นต้นไป(2) มูลค่าหลักประกันตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 1 เป็นต้นไป  2.การผ่อนคลายนี้ให้เป็นการชั่วคราว สำหรับสัญญาเงินกู้ที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.2568 ถึง 30 มิ.ย.2569           ด้าน บล.ดาโอ มองเป็นบวก โดยการผ่อนเกณฑ์ LTV จะเป็นผลดีต่อกลุ่ม property ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการซื้อให้กับลูกค้าได้มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการช่วยระบายสต็อกที่อยู่อาศัยได้เร็วขึ้น และส่งผลให้ภาพรวมกลุ่มที่อยู่อาศัยมีการฟื้นตัวได้ดีขึ้น           สำหรับหุ้นที่ประเมินว่า จะได้ประโยชน์มากสุด ได้แก่ SPALI, SIRI, ORI เนื่องจากมี backlog รอโอน และยังมี inventory ค่อนข้างมาก           ส่วนกลุ่มธนาคารก็รับอานิสงส์ไม่น้อยเช่นกัน  เพราะจะช่วยให้คนเข้าถึงสินเชื่อบ้านได้มากขึ้น โดยธนาคารที่มีสัดส่วนสินเชื่อบ้านจากมากไปน้อย คือ SCB 32%, TTB 26%, KTB 19%, KBANK 17% ทั้งนี้ ยังคงน้ำหนักการลงทุนลงเป็น “มากกว่าตลาด” โดยเลือก KTB (ซื้อ/เป้า 27.50 บาท), TTB (ซื้อ/เป้า 2.22 บาท) และ BBL (ซื้อ/เป้า 186.00 บาท) เป็นหัวหอก           กลับมาที่ บล.เอเซีย พลัส ได้วิเคราะห์ประเด็นยอดฮิต กรณี GULF ขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับ 5 ที่สัดส่วน 3.25% ใน KBANK และจะจ่ายปันผลรวม 10.5 บาท/หุ้น (ประกอบด้วยปันผลประจำปี 8.0 บาท/หุ้น XD 17 เม.ย.2568 และปันผลพิเศษ 2.5 บาท/หุ้น XD 15 พ.ค.68) ในวันที่ 6 มิ.ย.2568           ทั้งนี้หาก  GULF ถือหุ้นจนถึงวันขึ้นเครื่องหมาย XD จะได้รับเงินปันผลราว 808.5 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 3.8% ของคาดการณ์กำไรปกติปี 2568 ของ GULF ล่าสุด GULF ชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถือหุ้นว่า  เป็นการลงทุนทั่วไปตามนโยบายของบริษัทฯ ซึ่งโดยปกติจะมีportfolio การลงทุนอยู่แล้ว โดยเห็นว่า KBANK เป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง, P/BV และ P/E อยู่ในระดับต่ำ, และมีการจ่ายปันผลต่อเนื่องที่ให้dividend yield ราว 7-8%/ปี           ดังนั้น การเข้าลงทุนดังกล่าวจึงมุ่งหวังผลตอบแทนจากปันผล และ upside จากราคาหุ้น KBANK ในอนาคต ทั้งนี้ GULF ได้ทยอยซื้อสะสม KBANK ตั้งแต่ช่วง4Q67 ส่วนของนโยบายการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน KBANK รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดโอกาส synergy ร่วมกันระหว่าง GULF และ KBANK ในอนาคต ปัจจุบัน GULF ยังไม่สามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าวได้ จึงถือเป็นประเด็นที่ยังคงต้องติดตาม           วกเข้ามาที่ กลุ่มหุ้นแบงก์ขนาดใหญ่อีกครั้ง  หลังมีการคงดอกเบี้ยของธนาคารกลางต่างประเทศ บล .เอเซียพลัส มองเป็นกลางต่อพอร์ตสินเชื่อ ในต่างประเทศของ BBL (สัดส่วนสินเชื่อต่างประเทศ 25% แบ่งเป็น 10% ในอินโดฯ และ ประเทศอื่นๆ อีก 15%) ส่วนทิศทางดอกเบี้ยนโยบายไทย มองว่าในช่วงครึ่งปีแรกปี2568 มีโอกาสลดได้อีก 1 ครั้ง อย่างไรก็ดีหากการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ช้ากว่าคาด อาจเห็นการลง ดอกเบี้ยนโยบายได้มากกว่านั้น (เริ่มมีมองไปที่ 1.00% -1.25%)           ส่วนแบงก์ใหญ่ 3 อันดับแรก ที่มีสัดส่วนสินเชื่อ Floating rate สูง จะรับผลจากการเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากกว่ากลุ่มฯ ได้แก่ BBL ตามด้วย KTB และ KBANK โดย BBL จะมีความสัมพันธ์กับทิศทางอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศ ในขณะที่ KTB และ KBANK มีความสัมพันธ์กับดอกเบี้ยนโยบายไทยมากสุดในกลุ่มและในทางตรงข้ามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทย ที่ลดลงจะดีต่อ KKP และ TISCO รวมถึง Non – Bank(Bond yield ลง) อย่าง MTC SAWAD และ TIDLOR               ขณะที่ แบงก์ใหญ่ ยังมีความน่าสนใจเชิง PBV ต่ำและ Div Yield ราว 6% -9% เน้นตั้งรับ KTB, BBLและ TTB มองว่าการจัดการคุณภาพสินทรัพย์ของ 3 ธนาคาร ทำได้ดีกว่ากลุ่ม ช่วยให้การตั้งสำรองลดลง ชดเชยผลจากรายได้ที่อ่อนแอ ตามวัฎจักรดอกเบี้ย ด้านแบงก์เล็ก ชอบ TISCO มากกว่า KKP ในขณะที่ Non – Bank เลือก MTC มากกว่า TIDLOR (อยู่ระหว่างปรับเป็น Holding ราคาหุ้นอาจผันผวนระหว่างดำเนินการ) การลงทุน มีความเสี่ยง ผู้ลงทุน ควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ ลงทุน ข่าวหัวม่วง by ทีมงานหุ้นวิชั่น

เกณฑ์ใหม่ปลุกตลาด IPO ต้นปีระดมทุนแล้ว 540 ล.

เกณฑ์ใหม่ปลุกตลาด IPO ต้นปีระดมทุนแล้ว 540 ล.

          หุ้นวิชั่น - นักวิเคราะห์ ชี้หลักเกณฑ์ใหม่ IPO ปี68 ดันตลาดคึกคักขึ้น อานิสงส์มาตรการคัดกรองบริษัทคุณภาพ ลดความเสี่ยงนักลงทุน  ด้านสำนักงานก.ล.ต.เผยตั้งแต่ต้นปี มี IPO ระดมทุน 2 หลักทรัพย์ มูลค่ารวม 540.40 ล้านบาท ขณะที่คำขอ IPO ที่ได้รับอนุมัติแล้วมี 10 บริษัท และอยู่ระหว่างพิจารณาอีก 16 บริษัท พร้อมกันนี้ ตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนยังร้อนแรง ออกตราสารหนี้ระยะยาวกว่า6.5หมื่นลบ.           สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ สำนักงาน ก.ล.ต. รายงานสรุป ภาวะตลาดทุนเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2568 มีการระดมทุนเสนอขาย IPO จำนวน 2 หลักทรัพย์ มูลค่ารวม 540.40 ล้านบาทโดยมีคำขอที่ได้รับอนุญาตและพร้อมเสนอขาย 10 หลักทรัพย์ อยู่ระหว่างการพิจารณาคำขอ 16 หลักทรัพย์และอยู่ระหว่าง Pre-consult 56 หลักทรัพย์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการระดมทุนผ่านตลาดทุนต่อเนื่องสำหรับการระดมทุนผ่านสินทรัพย์ดิจิทัล มีคำขออนุญาต จำนวน 1 บริษัท และอยู่ระหว่างการพิจารณา 2 บริษัทและมีคำขอ ICO อยู่ระหว่าง Pre-consult 5 บริษัท (ผลรวมสะสมการระดมทุนผ่านสินทรัพย์ดิจิทัลทั้งสิ้น 3 บริษัท มูลค่า 5,065.23 ล้านบาท)           การระดมทุนผ่าน Crowdfunding ในปี 2567 (1 ม.ค. - 31 ม.ค. 68) มีบริษัทที่ดำเนินการสำเร็จแล้ว 32 บริษัท มูลค่ารวม 146.38 ล้านบาท (ผลรวมสะสมการระดมทุนผ่าน Crowdfunding มูลค่า 16,404.02 ล้านบาท) การเสนอขายหลักทรัพย์วงแคบของ SME (1 ม.ค. - 31 ม.ค. 68) มีผลรวมสะสมจนถึงปัจจุบัน 29 บริษัท มูลค่า 1,303.24 ล้านบาทและการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ของ SME จำนวน 1 บริษัท โดยมีมูลค่าเสนอขาย 12.80 ล้านบาท (มีผลรวมสะสมจนถึงปัจจุบัน 7 บริษัท มูลค่าเสนอขายรวม 287.50 ล้านบาท) สำหรับตราสารหนี้ภาคเอกชน มีการออกตราสารหนี้ระยะยาวมูลค่า 65,244.60 ล้านบาทแบ่งเป็นตราสาร Investment Grade 60,605.80 ล้านบาท และ High Yield Bond 4,638.80 ล้านบาท (1 ม.ค. - 31 ม.ค. 68) ตั้งแต่ต้นปี 67 มีการออกเสนอขายตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนแล้ว (1 ม.ค. - 31 ธ.ค. 67)จำนวน 15 บริษัท มูลค่า 184,550.32 ล้านบาท (ผลรวมสะสม 39 บริษัท มูลค่า 901,013.58 ล้านบาท) สำหรับกองทุนรวม (ม.ค. - ก.พ. 2568) มีการเสนอขาย IPO จำนวน 133 กองทุน มูลค่ารวม 271,045 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการเสนอขายกองทุนรวมประเภทตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนในประเทศสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย           ทั้งนี้ ปัจจุบันมีบริษัทที่อยู่ระหว่างการพิจารณา IPO จำนวน 16 บริษัท ได้แก่ หมวดเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร บมจ. สยาม ดีเสิร์ท ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า TENG1 บมจ. แพลททินัม ฟรุ๊ต ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า  PTF หมวดบริการ บมจ. จีเอ็มเอ็ม มิวสิค ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า GMM บมจ.พี เอ อี เทคนิคอล เซอร์วิส ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า PTS บมจ. ออนเซ็น รีทรีต แอนด์ สปา กรุ๊ป ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า ONSENS หมวดสินค้าอุตสาหกรรม  บมจ. สมาร์ททีทีซี ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า  STTC บมจ. แมสเทค ลิ้งค์ ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า  MASTEC หมวดทรัพยากร บมจ. บริษัท แอตลาส เอ็นเนอยี ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า  ATLAS บมจ. บริษัท วัน พาวเวอร์ ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า ONE หมวดอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง  บมจ. เอ็มเอ็มเอ็ม แคปปิตอล ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า  MMM บมจ. ไทยประเสริฐกรุ๊ป เอ็นเตอร์ไพรส์ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า TPG หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค บมจ.แกรนด์ คอส กรุ๊ป ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า MER บมจ. นูทริชั่น โปรเฟส NUT บมจ. 88(ไทยแลนด์) ใช้ชื่อย่อหุ้นยว่า 88TH หมวดธุรกิจการเงิน บมจ. ซิลค์สแปน ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า SILK   หมวดเทคโนโลยี บมจ. อินดิจี ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า IDG ส่วนบริษัทที่ อนุมัติคำขอIPO แล้ว มี 10 บริษัท ได้แก่ หมวดบริการ บมจ. มิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย. โฮลติ้ง (ประเทศไทย) ใช้ชื่อย่อว่า MRDIYT บมจ. สกิลเลน เทคโนโลยี ใช้ชื่อย่อว่า SKILL บมจ. โรงพยาบาลมุกดาหาร อินเตอร์เนชั่นแนล ใช้ชื่อย่อว่า HANN บมจ. แอลทีเอ็มเอช ใช้ชื่อย่อว่า LTMH หมวดสินค้าอุตสาหกรรม บมจ. วาย.เอส.เอส. (ประเทศไทย) ใชชื่อย่อหุ้นว่า YSS หมวดอสังหาริมทรัพย์ และก่อสร้าง บมจ. บางกอก แอสเซท อินเตอร์กรู๊ป ใช้ชื่อย่อว่า BKA หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค บมจ.พีเคเอ็น อินเตอร์โฮลดิ้ง ใช้ชื่อย่อว่า IGNITE บมจ. สกิน ลาบอราทอรี่ ใช้ชื่อย่อว่า SKIN หมวดธุรกิจการเงิน บมจ. เงินเทอร์โบ ใช้ชื่อย่อว่า TURBO หมวดเทคโนโลยี  บมจ. บลู โซลูชั่น ใช้ชื่อย่อว่า BLUE           นายมงคล พ่วงเภตรา รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า มองว่า ปี 2568 จะเป็นปีแห่งการฟื้นตัวของตลาด IPO  หลังจากตลาดหลักทรัพย์ปรับปรุงหลักเกณฑ์การเข้าจดทะเบียนทั้งใน SET และ mai ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพของบริษัทจดทะเบียน           หลักเกณฑ์ใหม่ที่เข้มงวดขึ้นจะทำหน้าที่คัดกรองให้เฉพาะบริษัทที่มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่งและมีผลประกอบการที่ดีเข้าสู่ตลาด ส่งผลให้คุณภาพโดยรวมของบริษัทจดทะเบียนสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุน เนื่องจากที่ผ่านมา การลงทุนในหุ้น IPO หลายกรณีไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่ดี หรือราคาหุ้นหลังเข้าตลาดต่ำกว่าราคาจองซื้อ ส่งผลให้ภาวะการซื้อขายหุ้น IPO ลดความคึกคักลง           สำหรับบริษัทจดทะเบียน นายมงคลระบุว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จำนวนบริษัทที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่ในปีนี้ คาดว่าตลาด IPO จะกลับมาเปิดโอกาสอีกครั้ง เนื่องจากบริษัทที่ต้องการเข้าตลาดต้องมีคุณภาพสูงขึ้น ขณะที่หลักเกณฑ์ที่เข้มงวดขึ้นจะทำให้การกำหนดราคา IPO เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยุติธรรมมากขึ้น           "ที่ผ่านมา มีบางบริษัทที่เข้าตลาดเพื่อ Exit หรือจดทะเบียนแล้วไม่มีความเคลื่อนไหวมากนัก แต่ด้วยหลักเกณฑ์ใหม่ การเข้าตลาดหลักทรัพย์จะเป็นไปเพื่อการเติบโตอย่างแท้จริงของบริษัท และสร้างประโยชน์ให้แก่นักลงทุนมากขึ้น" นายมงคลกล่าว รายงานโดย : ณัฏฐ์ชญา ปุริมปรัชญ์ภัทร บรรณาธิการ Hoon vision

PTT พุ่ง 4.20% ยืน 31 บ. รับ yield เกิน 7%

PTT พุ่ง 4.20% ยืน 31 บ. รับ yield เกิน 7%

          หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน นายเบญจพล สุทธิ์วนิช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ราคาหุ้นของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (PTT) ที่ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 31 บาท/หุ้น +4.20% คาดเป็นเรื่องของ Yield เป็นหลัก โดย Bond Yield สหรัฐปรับลดลงจากธนาคารกลางสหรัฐ หรือ Fed ลดดอกเบี้ย 2 ครั้งตามคาดการณ์ ส่งผลให้ PTT ที่ราคาหุ้นปรับตัวลงไปต่ำกว่า 30 บาท yield จึงมากกว่า 7%

CHOW ติดสปีดธุรกิจสีเขียว คว้าใบรับรอง “คาร์บอนฟุตพริ้นท์”

CHOW ติดสปีดธุรกิจสีเขียว คว้าใบรับรอง “คาร์บอนฟุตพริ้นท์”

             หุ้นวิชั่น - CHOW ได้รับใบรับรองฉลาก “คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน” และ “คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์” จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ประจำปี 2567 ตอกย้ำแนวคิดธุรกิจ Circular Economy เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาด พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนองค์กรสู่การเติบโตควบคู่การดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน              นายปรมัตถ์ จุฬวนิช ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน บริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ CHOW ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็กแท่งยาว (Steel Billet) รายใหญ่ของประเทศ เปิดเผยว่า CHOW ได้รับการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ และได้รับฉลากรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product: CFP) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ซึ่งเป็นไปตามแผนการดำเนินงานการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ CHOW ในการควบคุมตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตไปจนถึงขั้นตอนการจัดจำหน่าย เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ ซึ่งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) เป็นองค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อวิเคราะห์ กลั่นกรองและทำความเห็นเกี่ยวกับการให้คำรับรองโครงการที่ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม การลงทุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม “CHOW ให้ความสำคัญในเรื่องการใส่ใจดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนในทุกขั้นตอน ยึดมั่นในแนวคิดธุรกิจ Circular Economy หรือระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของการนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ ด้วยการเลือกวัสดุคุณภาพที่มีแนวคิดรักษ์โลกและรีไซเคิลได้ 100% ซึ่งไม่เพียงสนับสนุนแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ CHOW ให้เป็นไปตามเป้าหมาย แต่ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยในครั้งนี้ CHOW ได้รับใบรับรองสำหรับผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 รายการ ได้แก่ RB6, RB8 และ RB9 ถือเป็นการเสริมสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ องค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่หันมาสนใจเรื่องการใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้นร่วมกับการตัดสินใจซื้อสินค้า การได้รับฉลากรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของ CHOW นับเป็นการเพิ่มขีดความสามารถอีกทางหนึ่งสำหรับการแข่งขันในตลาดเหล็กปัจจุบันอีกด้วย และคาดว่าจะทำให้ยอดขายเหล็กในปีนี้เพิ่มขึ้น 2 หลัก ” นายปรมัตถ์ กล่าวสรุป              คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product) คือ ฉลากที่แสดงถึงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการผลิตผลิตภัณฑ์นั้น ๆ โดยจะคำนวณตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ จนเข้าสู่กระบวนการผลิต การขนส่ง การนำไปใช้และการกำจัดซาก โดย CHOW คาดหวังให้ผู้บริโภคทราบถึงความใส่ใจต่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปัญหาโลกร้อน ช่วยสร้างความตระหนักและทำให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจก หากเลือกใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ให้ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ของไทยให้มุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียวได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย

เจาะกลยุทธ์ลงทุนบ่าย คัด 3 หุ้นเด่น!

เจาะกลยุทธ์ลงทุนบ่าย คัด 3 หุ้นเด่น!

            หุ้นวิชั่น - บล.กรุงศรี คาด SET Index บ่ายนี้ผันผวนในกรอบ 1,190 -1,200 จุด upside ระยะสั้นอาจจะจํากัดที่ระดับ 1,200 จุด จากการระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ ในสัปดาห์หน้า รวมถึง การปรับขึ้นภาษี Reciprocal Tax ของสหรัฐในช่วงต้น เดือน เม.ย. กลยุทธ์ยังเน้นหุ้น Big Cap ที่ปัจจัยพื้นฐานดี และ มีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว (รองรับเงิน ในช่วงที่ INTUCH +GULF หยุดซื้อขาย) Top Pick บ่ายนี้ คือ ADVANC, PTTEP และ VGI ด้านตลาดหุ้นภาคเช้า  SET Index ปิดตลาดภาคเช้าเพิ่มขึ้น 5 จุด ปรับขึ้นในทิศทางเดียวกับ ตลาดหุ้นสหรัฐรับผลประชุมเฟดโทนเป็นกลางตามที่ตลาดคาด หุ้น Big cap ยังเด่นคาดหวัง Fund flow ไหลเข้าหลังโบรกต่างชาติเพิ่มน้ําหนักตลาดหุ้นไทยเป็น overweight หุ้นที่ปรับ ขึ้นนําตลาดเช้านี้ คือ PTT, PTTEP, GULF, ADVANC และ KBANK

ถอดรหัสหุ้นแบงก์-นอนแบงก์  หลัง FED คงดอกเบี้ย

ถอดรหัสหุ้นแบงก์-นอนแบงก์ หลัง FED คงดอกเบี้ย

              หุ้นวิชั่น - บล.เอเซียพลัส เปิดมุมมองหลังการคงดอกเบี้ยของธนาคารกลางต่างประเทศข้างต้น มองเป็นกลางต่อพอร์ตสินเชื่อ ในต่างประเทศของ BBL (สัดส่วนสินเชื่อต่างประเทศ 25% แบ่งเป็น 10% ในอินโดฯ และ ประเทศอื่นๆ อีก 15%)               ส่วนทิศทางดอกเบี้ยนโยบายไทย ในมุมฝ่ายวิจัยมองว่าในช่วง 2H68 มีโอกาสลดได้อีก 1 ครั้ง อย่างไรก็ดีหากการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ช้ากว่าคาด อาจเห็นการลง ดอกเบี้ยนโยบายได้มากกว่านั้น (ตลาดเริ่มมีมองไปที่ 1.00% -1.25%)               โดยตามความเห็นของฝ่ายวิจัย ปัจจัยที่จะเปิด Downside ต่อเศรษฐกิจไทย มาจากความเสี่ยงจากสงครามการค้า และการเดินทางเข้าไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ (สัดส่วน ราว 12% ของ GDP ไทย) มาน้อยกว่าคาดการณ์ อันเป็นผลกระทบจากการชะลอตัว ของนักท่องเที่ยวจีน หลังเกิดเหตุ ซิง ซิง (จีนมาไทย 2M68 ลบ 13% YoY)               ทั้งนี้ ธ.พ. ใหญ่ 3 อันดับแรก ที่มีสัดส่วนสินเชื่อ Floating rate สูง จะรับผลจากการเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากกว่ากลุ่มฯ ได้แก่ BBL ตามด้วย KTB และ KBANK โดย BBL จะมีความสัมพันธ์กับทิศทางอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศ ในขณะที่ KTB และ KBANK มีความสัมพันธ์กับดอกเบี้ยนโยบายไทยมากสุดในกลุ่มฯ และในทางตรงข้ามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทย ที่ลดลงจะดีต่อ KKP และ TISCO รวมถึง Non – Bank(Bond yield ลง) อย่าง MTC SAWAD และ TIDLOR               ส่วน ธ.พ. ใหญ่ ยังมีความน่าสนใจเชิง PBV ต่ำและ Div Yield ราว 6% -9% เน้นตั้งรับ KTB, BBLและ TTB มองว่าการจัดการคุณภาพสินทรัพย์ของ 3 ธนาคาร ทำได้ดีกว่ากลุ่มฯ ช่วยให้การตั้งสำรองลดลง ชดเชยผลจากรายได้ที่อ่อนแอ ตามวัฎจักรดอกเบี้ย               ด้าน ธ.พ. เล็ก ชอบ TISCO มากกว่า KKP ในขณะที่ Non – Bank เลือก MTC > TIDLOR (อยู่ระหว่างปรับเป็น Holding ราคาหุ้นอาจผันผวนระหว่างดำเนินการ) > SAWAD

GULF โบรกชี้จังหวะน่าสะสม เคาะเป้า 70.25 บ.

GULF โบรกชี้จังหวะน่าสะสม เคาะเป้า 70.25 บ.

              หุ้นวิชั่น - บล.เอเซียพลัส ส่องประเด็น ขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับ 5 ที่สัดส่วน 3.25% ใน KBANK และจะจ่ายปันผลรวม 10.5 บาท/หุ้น (ประกอบด้วยปันผลประจำปี 8.0 บาท/หุ้น XD 17 เม.ย.2568 และปันผลพิเศษ 2.5 บาท/หุ้น XD 15 พ.ค.68) ในวันที่ 6 มิ.ย.2568               ฝ่ายวิจัยมองว่าจากกรณีที่ GULF ถือหุ้นจนถึงวันขึ้นเครื่องหมาย XD จะได้รับเงินปันผลราว 808.5 ล้าน บาท หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 3.8% ของคาดการณ์กำไรปกติปี 2568 ของ GULF               ทั้งนี้ GULF ชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถือหุ้นดังกล่าว โดยระบุว่าเป็น การลงทุนทั่วไปตามนโยบายของบริษัทฯ ซึ่งโดยปกติจะมีportfolio การลงทุนอยู่แล้ว โดยเห็นว่า KBANK เป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง, P/BV และ P/E อยู่ในระดับต่ำ, และมีการจ่ายปันผลต่อเนื่องที่ให้dividend yield ราว 7-8%/ปีดังนั้น การเข้าลงทุนดังกล่าวจึงมุ่งหวังผลตอบแทนจากปันผล และ upside จากราคาหุ้น KBANK ในอนาคต ทั้งนี้ GULF ได้ทยอยซื้อสะสม KBANK ตั้งแต่ช่วง4Q67               นอกจากนี้ ในส่วนของนโยบายการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน KBANK รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดโอกาส synergy ร่วมกันระหว่าง GULF และ KBANK ในอนาคต ปัจจุบัน GULF ยังไม่สามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าวได้ จึงถือเป็นประเด็นที่ยังคงต้องติดตาม               ฝ่ายวิจัยคงมูลค่าพื้นฐาน ปี 2568 ของ GULF ที่สะท้อนการควบรวมเป็น NewCo แล้ว อยู่ที่ 70.25 บาท ช่วงสั้น 1Q68 คาดกำไร ทำ New High ได้ต่อเนื่อง และระยะยาวที่เห็นการเติบโตที่แข็งแกร่ง ปัจจุบันราคาหุ้นปรับฐานลง มองเป็นจังหวะเข้าสะสมลงทุนระยะยาว               ด้านความเสี่ยงด้านนโยบายลดค่าไฟ คาดส่งผลกระทบต่อ GULF ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากมีสัดส่วนขายไฟฟ้าให้ลูกค้าอุตสาหกรรมอยู่ในระดับต่ำ ไม่ถึง 10% ของ รายได้ขายไฟฟ้าโดยรวม ทั้งนี้ GULF จะหยุดซื้อขายวันที่21 มี.ค.-2 เม.ย. 2568 และจะเปลี่ยนเป็น NEWCO โดยใช้ ชื่อเดิมว่า GULF ในวันที่ 3 เม.ย. 2568 เป็นต้นไป

ขึ้นอีกแล้ว! ราคาทองเช้าวันนี้ ทองรูปพรรณ ขายออก 49,300 บ.

ขึ้นอีกแล้ว! ราคาทองเช้าวันนี้ ทองรูปพรรณ ขายออก 49,300 บ.

           หุ้นวิชั่น – เช้าวันที่  20 มีนาคม 2568 สมาคมค้าทองคำ ได้แจ้งราคาทองคำซึ่ง ราคาปรับขึ้นลงจำนวน 4 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 ราคาปรับขึ้น 200 บาท ,ครั้งที่ 2 ราคาปรับลง 50 บาท ,ครั้งที่ 3 ราคาปรับขึ้น 50 บาท และครั้งที่ 4 ราคาปรับขึ้น 50 บาท            รวมเช้าวันนี้ "ราคาปรับขึ้น 300 บาท" โดยราคาทองแท่ง ปัจจุบันรับซื้ออยู่ที่ 48,400.00 บาท ราคาขายออกอยู่ที่ 48,500.00 บาท ส่วนราคาทองรูปพรรณ รับซื้ออยู่ที่ 47,526.60 บาท และราคาขายออกอยู่ที่ 49,300.00 บาท

GABLE ดึงเทคโนโลยี HCM เสริมแกร่ง

GABLE ดึงเทคโนโลยี HCM เสริมแกร่ง

          หุ้นวิชั่น - บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) หรือ G-Able ผู้นำด้าน Tech Enabler ของประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย หรือ PMAT จัดงานสุดเอ็กคูลซีฟ ภายใต้หัวข้อ “HR as a Growth Engine: Unlocking Business Potential Through People” ณ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก โดยมีผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรชั้นนำกว่า 20 แห่ง ร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดการขับเคลื่อนธุรกิจผ่านกลยุทธ์ด้านทรัพยากรบุคคลในครั้งนี้ ซึ่งภายในงาน ดร. ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัท จีเอเบิล ผู้นำด้าน “Tech Enabler” ของไทย ที่มีความเชี่ยวชาญด้านโครงสร้างพื้นฐานไอทีและดิจิทัลโซลูชันที่หลากหลาย รวมถึง Business Applications ที่ครบวงจรแบบ End-to-end ได้ร่วมเผยข้อมูลที่น่าสนใจ ภายใต้หัวข้อ “Driving Business Transformation through HR Leadership” ไว้ว่า “สำหรับผู้บริหารระดับสูง หัวเรือใหญ่ของแผนก HR คือ พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรและผลักดันให้เกิดการเติบโตทางธุรกิจผ่านส่วนงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการวางกลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายองค์กร การคัดสรร Talent เข้ามาร่วมงาน การสร้างคนเก่ง ไปจนถึงการสร้างทีมที่มีความคล่องตัวให้พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจอยู่ตลอดเวลา พร้อมเน้นย้ำว่า การที่ธุรกิจองค์กรสามารถพัฒนาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นกุญแจสำคัญ ในการช่วยองค์กรปรับตัวให้พร้อมรับกับคลื่นแห่งความเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจที่กำลังเข้าสู่โลกดิจิทัล (Business Transformation) ดังนั้น ฝ่ายทรัพยากรบุคคล จึงไม่ใช่เป็นเพียงแค่หน่วยสนับสนุนของธุรกิจองค์กร แต่เป็น Growth Engine สำคัญที่ช่วยสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ ซึ่งในมุมของการสร้าง Competitive Advantage ให้กับธุรกิจองค์กร การเลือกใช้ Business Application ด้าน HCM ที่มีการผสานแนวคิดเชิงกลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลภายใต้โครงสร้างองค์กรที่ซับซ้อน เข้ากับเทคโนโลยี AI, ระบบ HR Analytics รวมถึงโซลูชันต่างๆ ไว้ด้วยกัน จะเป็นการวางรากฐานที่แข็งแกร่งในการสร้างการเติบโตให้ธุรกิจในระยะยาวได้อย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล” ซึ่งงานนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการยกระดับมาตรฐานการบริหารทรัพยากรบุคคลในประเทศไทย โดย จีเอเบิล พร้อมเดินหน้าสร้างเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีที่ครอบคลุมทุกมิติความต้องการของธุรกิจองค์กรต่างๆ ในการสร้างการเติบโต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจอย่างยั่งยืนต่อไป [PR News]

ฟินันเซีย ชู 'MTC' เด่น แนะ

ฟินันเซีย ชู 'MTC' เด่น แนะ "ซื้อ" เป้าหมาย 56 บ.

                หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) คาดแนวโน้มตลาดวันนี้จะมีโอกาสแกว่ง Sideways to Sideways Up ต่อเนื่อง เข้าหาแนวต้านโซน 1,200+- จุด โดยได้รับแรงหนุนจากผลการประชุม Fed ที่นักลงทุนตอบรับในเชิงบวก โดยอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ยังคงอยู่ที่ 4.25-4.50% แต่ Dot Plot ยังสะท้อนมุมมองของ Fed ว่ายังเห็นโอกาสลดดอกเบี้ยในปีนี้อีก 2 ครั้ง แม้ประมาณการเศรษฐกิจใหม่จะปรับลดคาดการณ์การเติบโตของ GDP ลง 0.4%/0.2%/0.1% เหลือ +1.7%/+1.8%/+1.8% ในปี 2025-27 และปรับเพิ่ม Core PCE ปี 2025 ขึ้นจาก 2.5% เป็น 2.8% จากผลกระทบของนโยบายภาษีการค้าของทรัมป์ แต่ตลาดประเมินว่าอาจกระทบเพียงชั่วคราวในช่วงเปลี่ยนผ่าน และอาจไม่นำไปสู่ Recession อย่างที่กังวลในช่วงก่อนหน้า นอกจากนี้ Fed ยังปรับลดขนาด QT ลงจาก US$60,000 ล้านเหลือ US$40,000 ล้านต่อเดือน ส่งผลให้เม็ดเงินไหลกลับเข้าสินทรัพย์เสี่ยงระยะสั้น ขณะที่ Bond Yield ปรับตัวลดลง                 ส่วนปัจจัยในประเทศประเด็นหลักที่ตลาดจับตาคือ มาตรการซื้อหนี้เสียของรัฐบาลว่าจะมีรายละเอียดและความชัดเจนเมื่อไร ซึ่งหากทำได้จริงอาจทำให้เกิด Upside ต่อกำไรและ ROE ของกลุ่มธนาคาร ซึ่งจะเป็นผลดีต่อ SET ในภาพรวม เรายังคงมองว่า SET Index ที่ปรับตัวร่วงแรงราว 20% จาก High เดือน ต.ค. 24 ทำให้ Valuation ระยะกลาง-ยาวน่าสนใจ โดยเทรด PER และ PBV เพียง 12.5 เท่าและ 1.14 เท่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยช่วงก่อนโควิดอย่างมีนัยยะ ทำให้ยังมองเป็นจังหวะในการทยอยสะสม โดยยังคงชอบกลุ่ม Domestic Play ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่ากลุ่ม Global-Related Play ที่อาจถูกกระทบจากความไม่แน่นอนของประเด็นการค้าและเศรษฐกิจโลก กลยุทธ์: ยังเน้น Selective Buy หุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว ที่มีแนวโน้มกำไร 1Q25-2025 แข็งแกร่งและ Valuation ต่ำกว่าช่วงก่อนโควิดอย่างมีนัยยะ หุ้นเด่นเดือนมี.ค.: BA, BTG, CPALL, MTC, PR9 FSSIA Portfolio: BA, BBL, BTG, CPALL, MTC, NSL, PR9, SEAFCO, SHR หุ้นเด่นวันนี้: MTC แนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 56 บาท ยังคงมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มการเติบโตของกำไรปี 2025 แม้การประหยัด Funding Cost จะน้อยกว่าที่เคยประเมิน แต่การเติบโตของสินเชื่อและคุณภาพสินทรัพย์ยังสามารถจัดการได้ดีต่อเนื่อง เราคาดกำไรปกติปี 2025 ที่ 7.1 พันล้านบาท +21% y-y                 ระยะสั้นได้ Sentiment หนุนจาก Bond Yield สหรัฐฯที่ปรับตัวลดลง นอกจากนี้หาก กนง. ปรับลดดอกเบี้ยลงจาก 2% ในปัจจุบันในช่วงที่เหลือของปีนี้ จะเป็นอีก Catalyst บวกและหนุนราคาหุ้นได้ต่อเนื่อง แนวรับ 42-41.50 บาท แนวต้าน 44-44.50//46 บาท                 Fund Flow: วานนี้กระแสเงินทุนต่างชาติไหลออกจากภูมิภาคสุทธิหนาแน่นกว่าคาดที่ US$1,160 ล้าน โดยกระจุกตัวที่ไต้หวัน US$1,124 ล้าน ส่วนเกาหลีใต้ยังคงไหลเข้า US$88 ล้าน ส่วนฝั่งอาเซียนเม็ดเงินไหลออกเช่นกัน นำโดยอินโดนีเซียและเวียดนาม ประเทศละ US$55 ล้าน และมีเพียงฟิลิปปินส์ที่ไหลเข้าเล็กน้อย แนวโน้มกระแสเงินทุนคาดมีโอกาสพลิกมาไหลเข้า หลังผลการประชุม FED โดยรวมลดความกังวลเรื่อง Recession ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยังเปิดช่องลดดอกเบี้ยได้อีก 2 ครั้งปีนี้                 ประเด็นสำคัญวันนี้: (-) กลุ่มยานยนต์ ยอดผลิตรถยนต์เดือนม.ค. 2025 อยู่ที่ 1.07 แสนคัน หดตัว 24.6% y-y และคิดเป็นเพียง 7% ของประมาณการทั้งปี 2025 ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ส่วนยอดขายในประเทศลดลง 12.3% y-y หลักๆ มาจากรถกะบะ pickup และรถเพื่อการพาณิชย์ที่หดตัวอย่างมาก สะท้อนความเชื่อมั่นธุรกิจที่อ่อนแอ เรายังให้น้ำหนักการลงทุนกลุ่มนี้เป็น Underweight แม้ Valuation จะถูกก็ตาม                 (-) AH จากยอดผลิตรถยนต์เดือนม.ค. 2025 อยู่ที่ 1.07 แสนคัน หดตัว 24.6% y-y คิดเป็นเพียง 7% ของประมาณการทั้งปี 2025 คาดผลประกอบการ 1Q25 ยังชะลอตัวทั้ง q-q, y-y และคาดหวังว่าจะค่อยๆ ฟื้นตัวใน 2H25 เราปรับลดประมาณการกำไรปกติปี 2025 ลง 52% เป็นกำไรปกติปี 2025 ที่ 804 ล้านบาท +11.6% y-y ราคาเป้าหมายใหม่ 13.50 บาท ลดคำแนะนำเป็น "ถือ"                 (0) กลุ่มเครื่องดื่มชูกำลัง มาร์เก็ตแชร์เดือน ก.พ. เพิ่มขึ้น m-m ทั้งคู่ แต่ 2MTD OSP +0.3% ส่วน CBG -0.3% ดูเหมือน OSP สามารถแย่ง share จาก CBG ได้เล็กน้อย แต่ส่วนหนึ่งเพราะ CBG ยังไม่ได้ทำโปรในช่องทาง modern trade และได้กลับมาทำในเดือน มี.ค. ต้องติดตามต่อว่าจะปรับขึ้นได้ต่อหรือไม่ แม้ OSP จะมี market share ปรับขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ถือเป็นสัญญาณที่ดี แต่ยังไม่ชัดเจนว่าผลตอบรับของ M150 ฝาเหลือง 10 บาท จะเป็นเช่นไรเพราะเพิ่งทยอยกระจายสินค้าเดือน ก.พ. ดังนั้นยังต้องตามต่อในเดือน มี.ค. และ 2Q25                 (+) NSL Beef steak sandwich ได้รับการตอบรับดีมาก ปัจจุบันขายอยู่ที่ 2.5-3.0 หมื่นชิ้น/วัน ขณะที่คาดความต้องการน่าจะอยู่ที่ 5-6 หมื่นชิ้น/วัน บริษัทมีแผนจะเพิ่มกำลังการผลิตใน 1-2 เดือนข้างหน้า และตั้งเป้ารายได้ปี 2025 +16% y-y จากทุกธุรกิจ ส่วนการเข้าซื้อกิจการ PNF อาจแล้วเสร็จใน 2Q25 คาดรายได้ 1Q25 เติบโตทั้ง q-q, y-y ดีกว่าปกติและดีกว่าประมาณการของเรา ขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบทรงตัวและยังล็อกราคาซื้อชีสและเนยล่วงหน้าไว้แล้ว คงคาดกำไรสุทธิปี 2025 +11% y-y บนสมมติฐานที่ต่ำกว่าเป้าหมายของบริษัท ทำให้ประมาณการของเรามี upside ราคาเป้าหมาย 43 บาท ยังแนะนำ "ซื้อ"

KKP เปิดตัว KKP Lifecare Saving ตอบโจทย์การเงิน-ด้านสุขภาพ

KKP เปิดตัว KKP Lifecare Saving ตอบโจทย์การเงิน-ด้านสุขภาพ

                หุ้นวิชั่น -ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) จับมือ บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ "KKP Lifecare Saving" บัญชีเงินฝากที่มาพร้อมประกันโรคร้ายแรง ตอบโจทย์คนที่ต้องการทั้งผลตอบแทนทางการเงินและความอุ่นใจด้านสุขภาพในบัญชีเดียว ด้วยจุดเด่นที่ให้ความคุ้มครอง 40 โรคร้ายแรง ทุนประกันภัยสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมข้อเสนอพิเศษจากธนาคารเกียรตินาคินภัทร รับดอกเบี้ยเงินฝากสูงถึง 0.75% ต่อปี (วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 – 31 พฤษภาคม 2568)                 นายกัมพล จันทวิบูลย์  กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร กล่าวว่า “ปัจจุบันอัตราการป่วยด้วยโรคร้ายแรงของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นมะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ความเครียดและมลภาวะที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวัน โดยเฉพาะคนวัยทำงานที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้ ธนาคารจึงได้ร่วมมือกับเจนเนอราลี่ ประกันชีวิต พัฒนาผลิตภัณฑ์ KKP Lifecare Saving ขึ้นมาเพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการด้านการเงินและลดภาระทางการเงินในกรณีที่เกิดโรคร้ายแรง”                 บัญชีเงินฝากพร้อมประกันโรคร้ายแรง KKP Lifecare Saving ได้รับการออกแบบให้ตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการทั้งการออมเงินและการคุ้มครองสุขภาพ โดยการผสานข้อดีของบัญชีเงินฝากและแผนประกันสุขภาพเข้าด้วยกัน ด้วยจุดเด่น ดังนี้ คุ้มครองการเสียชีวิตทุกกรณี ตลอด 24 ชั่วโมง จำนวนเงินเอาประกันภัย 50,000 บาท คุ้มครอง 40 โรคร้ายแรง ครอบคลุมโรคที่พบบ่อย เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะไตวายเรื้อรัง วงเงินคุ้มครองสูงสุดถึง 1,000,000 บาท รับดอกเบี้ยเงินฝากสูงถึง 0.75% ต่อปี (ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 – 31 พฤษภาคม 2568 ) ไม่ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยรายปีเพิ่มเติม เพียงรักษายอดเงินฝากขั้นต่ำ 50,000 บาท วงเงินเอาประกันภัยสูงถึง 125% ของยอดเงินฝากเฉลี่ย 2 เดือน ก่อนเดือนที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคร้ายแรง สะสมดอกเบี้ยเงินฝากทุกวัน ช่วยให้เงินเติบโตโดยไม่ปล่อยเงินให้อยู่เฉย ๆ                 “KKP Lifecare Saving เป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าสำหรับผู้ที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการเงินและต้องการเพิ่มหลักประกันด้านสุขภาพ โดยเฉพาะในยุคที่ค่ารักษาพยาบาลมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การมีบัญชีเงินฝากที่ให้ดอกเบี้ยดี พร้อมกับการคุ้มครองโรคร้ายแรง จะช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจขึ้น ปลอดภัย และไร้กังวล ทั้งในวันนี้และอนาคต” นายกัมพลกล่าว                 นายอาร์ช คอลมิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ กล่าวว่า “เจนเนอราลี่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยตามความต้องการและสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดย KKP Lifecare Saving เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าธนาคารเกียรตินาคินภัทรที่ให้ความสำคัญในการวางแผนทางการเงินอย่างครอบคลุม ทั้งการออมทรัพย์และการป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพ  ธนาคารเกียตินาคินภัทรถือได้ว่าเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่สำคัญของเจนเนอราลี่ เราจึงมุ่งมั่นที่จะเสริมความแข็งแกร่งด้วยการนำเสนอประกันภัยที่ตอบโจทย์ ผ่านการคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม โดดเด่น และให้ประโยชน์ที่คุ้มค่าสำหรับลูกค้า ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักของบริษัทฯ” นายอาร์ชกล่าว                 ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารเกียรตินาคินภัทรทุกสาขา หรือ โทร. 02 165 5555

SIRI ลุ้น Q1/68 ยอดพรีเซลล์แตะ 1 หมื่นล. โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 2.34 บาท

SIRI ลุ้น Q1/68 ยอดพรีเซลล์แตะ 1 หมื่นล. โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 2.34 บาท

              หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.กสิกรไทย มีมุมมอง SIRI slightly positive ต่อ average take-up rate โครงการ condo เปิดใหม่ 8 โครงการ มูลค่ารวม 10.7 พันลบ. ที่ทำไป 38% ซึ่งถือว่าค่อนข้างดี โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า โครงการที่มี demand ต่างชาติ เช่น ภูเก็ต, พัทยา และโครงการกลุ่ม ready to move ยังมี take-up rate ที่สูงกว่าโครงการอื่น สำหรับเป้า 1Q25F presale ที่ 10.0 พันลบ. คาดทำได้ตามเป้า / มากกว่าเป้า ในขณะที่เป้า 1Q25F transfer ที่ 7.5 พันลบ. น่าจะทำได้เช่นกัน เรามอง 1Q25F เด่นที่ presale               ในขณะที่กำไรสุทธิคาดเด่นใน 2Q25F เป็นต้นไป โดยคง Norm. profit 2025F ที่ 5.25 พันลบ. (+6% y-y) ซึ่งมีโอกาสทำ record high เราคง TP25F ที่ 2.34 บาท คง BUY และเป็น top pick จากจุดเด่นเรื่องการเป็น first mover ทั้งด้าน product design, จับ trend ตลาดที่เปลี่ยนแปลงไวได้ดี และกลยุทธ์สร้าง value-added ในทำเลที่มีการโตสูง ซึ่งเป็นส่วนผลักดันให้ 2025F Norm. profit มีโอกาสทำ record high ได้ Slightly Positive view จาก average take-up rate condo ใหม่ ที่ค่อนข้างดี • Average take-up rate ของ 8 condo ใหม่ เท่ากับ 38% • 1Q25 มีแผนเปิด 8 โครงการ condo ใหม่ มูลค่ารวม 10.7 พันลบ. โดยเปิดครบแล้ว และมี average take-up rate ที่ 38% ถือว่าค่อนข้างดี ทั้งนี้บางโครงการยังเป็น เพียงเปิดแบบ soft launch ซึ่งภายหลัง official launch คาด take-up rate เพิ่มขึ้น • โครงการ condo ที่เป็น highlight ใน 1Q25 คือ The Base Chaengtalay (1.4 พัน ลบ.) และ PTY Residence Sai 1 (2.9 พันลบ.) ทำยอดขายไปที่ 71% และ 60% ตามลำดับ ซึ่งดีกว่าเป้า ทั้งนี้ PTY Residence Sai 1 ซึ่งจะมี official launch ในวันที่ 29-30 มี.ค. นี้ น่าจะมีโอกาสที่ take-up rate จะทำได้ระดับ > 80% • เป็นที่น่าสังเกตว่าโครงการที่มี take-up rate สูง จะเป็นโครงการที่มี demand ของต่างชาติ โดย The Base Chaengtalay อยู่ในภูเก็ต และ PTY Residence Sai 1 อยู่ในพัทยา ซึ่งเป็น tourist destination ที่ต่างชาติสนใจซื้อ สำหรับ down payment ของต่างชาติจะอยู่ที่ 20-30% ของมูลค่าห้อง ทำให้โอกาสทิ้ง down ค่อนข้างน้อย • ในขณะที่ 2 ใน 8 โครงการที่เปิดขายเป็นกลุ่ม ready to move คือ Vay Pothisan 2(0.4 พันลบ.) และ The Muve Pradipat (0.6 พันลบ.) โดยมี take-up rate ที่ 77% และ 46% สะท้อนว่าสินค้าแบบพร้อมอยู่ในตลาดล่าง ยังเป็นที่ต้องการของตลาด • YTD presale (as of 2 March) = 6.7 พันลบ. (15% of full-year target), YTD transfer = 3.3 พันลบ. (8% of full-year target) โดย presale ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาทำได้ดีเพราะ feedback เปิดโครงการใหม่กลุ่ม condo ทำได้ดี ในขณะที่ transfer ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมายังทำได้ค่อนข้างช้า ส่วนหนึ่งเพราะ backlog รอโอนไม่มาก และ speed การขายกลุ่ม low-rise ยังชะลอตัวต่อเนื่องมาจาก 4Q24 • เป้า 1Q25F presale ที่ 10.0 พันลบ. และเป้า 1Q25F transfer ที่ 7.5 พันลบ. โดยมีโอกาสที่ 1Q25F presale ทำได้ตามเป้า / มากกว่าเป้า ในขณะที่ 1Q25F transfer target ต่ำกว่าปกติ เพราะโอนไปมากใน 4Q24 ทั้งนี้แนวโน้ม Norm. profit 1Q25F คาดลดลง y-y, q-q แต่ extra gain ที่อาจเกิดขึ้นจากการขายที่ดินเข้าโครงการ JV น่าจะสนับสนุนให้ 1Q25F กำไรสุทธิยังอยู่ที่ราว 800-900 ลบ. ได้ • ตั้งเป้า presale ที่ 46.0 พันลบ. (+13% y-y) สัดส่วน low-rise : condo ที่ 63% : 37% ซึ่งโตทั้ง low-rise และ condo ระดับใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ในเป้า condo presale ที่ราว 17.0 พันลบ. คาดหวัง presale จากต่างชาติสูง 7.0 พันลบ. หรือราว 40% ของ condo presale target • ตั้งเป้า transfer ที่ 46.0 พันลบ. (+5% y-y) ถึงแม้ growth ต่ำเพราะฐานสูงแต่เป็นตัวเลขที่น่าจะเป็นไปได้โดยน้ำหนักการโอนคาด 1H : 2H ที่ 40% : 60% • แผนเปิดโครงการใหม่ 52.0 พันลบ. (+12% y-y) จำนวน 29 โครงการ เป็นสัดส่วน low-rise : condo ที่ 60% : 40% และเป็นกลุ่ม luxury สูงถึง 56% ทั้งนี้แผนเปิดโครงการใหม่กระจายตัว 1Q : 2Q : 3Q : 4Q ที่ 26% : 31% : 25% : 18% • เป้า % residential GPM ที่ 31.0-32.0% (Vs. KSS estimate ที่ 31.3%, Vs. 2024 % GPM ที่ 31.6%) โดย SIRI คาดว่ายังใช้ price promotion ที่มาก ตามการแข่งขันที่ยังสูง อย่างไรก็ตาม sensitivity หาก % GPM ต่ำกว่าคาดทุก 50 bps กระทบกำไรปกติลดลง 3% • Backlog ณ Feb 25 อยู่ที่ 18.1 พันลบ. (Incl. JV) โดยราว 10.2 พันลบ. มีแผนโอนใน 2025F ทำให้ secured เป้าโอนปี 2025F ที่ 24% • ปัจจุบัน SIRI มี finished stock ราว 14.7 พันลบ. ซึ่งเทียบยอดขาย / ยอดโอน ที่เฉลี่ยเดือนละ 3.4 พันลบ.+- เทียบเท่าการใช้เวลาระบาย stock 4-5 เดือน ซึ่งเป็นระดับที่ไม่น่ากังวล • Debt Capacity คาดยังบริหารจัดการได้ถึงแม้เปิดโครงการมาก โดย IBD/E ณ Dec-24 อยู่ที่ 1.5x (ลดลงจาก Dec-23 ที่ 1.7x) ในขณะที่ IBD/E ใน 2025F คาดลงมาที่ 1.4x ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการ The Standard Hotel ออกไป ซึ่งได้เงินสดกลับมาชำระคืนหนี้ ทั้งนี้ internal control ของ IBD/E อยู่ที่ 2.0x และ bank control ที่ 2.5x สำหรับ cost of debt คาดทรงตัวจากปี 2024 ที่ 4.15%-4.20% ในปี 2025F ความเห็นและคำแนะนำ • แนวโน้ม average take-up rate condo เปิดใหม่ที่ค่อนข้างดีน่าจะสนับสนุนให้ 1Q25F presale เด่น ในขณะที่ด้านกำไรสุทธิคาดเด่นใน 2Q25F เป็นต้นไป โดย i) แผนเปิดโครงการใหม่ 1Q25F มากในกลุ่ม condo ทำให้แนวโน้ม presale ดี ในขณะที่ด้านกำไรสุทธิคาด 1Q25F น่าจะเป็นไตรมาสที่กำไรสุทธิต่ำสุดรายไตรมาสของปีนี้ แต่จะทยอยดีขึ้นใน 2Q25F เป็นต้นไป ภายหลังโครงการ highlight กลุ่ม low-rise (ทำเลบางนา, กรุงเทพกรีฑา) ทยอยเปิดพร้อมโอนมากขึ้นใน 2Q25F • คงประมาณการ Norm. profit 2025F ที่ 5.25 พันลบ. (+6% y-y) ซึ่งมีโอกาสทำ record high โดยคาดตัวสนับสนุนการโตหลักมาจากแนวโน้มการโอนที่คาดโตได้ y-y • คง TP25F ที่ 2.34 บาท/หุ้น คงคำแนะนำ BUY และเป็น top pick โดยให้น้ำหนัก 1H25F ยังเด่นกว่าบริษัทอื่น ทั้งด้าน presale, transfer ในขณะที่ business direction ยัง aggressive เป็นโอกาสของเพิ่ม market share ซึ่งเป็นผลดีในระยะยาว ราคาปัจจุบัน trade ที่ PER เพียง 5.5x และมี dividend yield สูง 9.9% มองผลตอบแทนน่าสนใจ

เอเซียพลัส คัด 3 หุ้นเด่น คลิก!

เอเซียพลัส คัด 3 หุ้นเด่น คลิก!

         หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล. เอเซียพลัส ระบุว่า ติดสปริงเล็กๆ ให้ SET INDEX FED ไม่เซอร์ไพร์ส คงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 4.5% ตามตลาดคาดการณ์ นอกจากนี้ FED ชะลอการทำ QT หวังลดผลกระทบต่อตลาดการเงิน ขณะที่ทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ ในระยะถัดไป DOT PLOT คาดว่าจะเห็น FED ลด ดอกเบี้ยในปี 2568 ราว 2 ครั้ง (ลง 0.5% สู่ระดับ 4.0%) ความคาดหวังทิศทางดอกเบี้ยขาลงในปีนี้ หนุนให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงมาก ขึ้นในช่วงสั้น แต่ในระยะยาวยังต้องระวังความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะ STAGFLATION จากผลกระทบนโยบายการค้าสหัฐฯ ที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ซึ่งอาจผลักให้เงินเฟ้อขยับตัวสูงขึ้น พร้อมกับกดดันเศรษฐกิจชะลอตัวลงได้ INTERNAL FACTOR 5 เดือนแห่งความสูญสลาย          โดย SET INDEX ลงเร็วและแรงกว่า 21% จาก 1506 จุด (18/10/24) ปัจจุบันเหลือ 1189 จุด และถ้าตัด DELTA ออกเหลือ 1118 จุด แรงขายหลักๆ มาจาก PROGRAM TRADING สูงถึง -7.1 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตามเริ่มเห็นการชะลอการลดลงของ SET จากต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิในบางวัน มีโบรกเกอร์ต่างชาติเริ่มมีมุมมองบวกกับหุ้นไทยมากขึ้น และในเชิง TECHNICAL เห็น SET ตัดเส้น EMA 10 วัน ที่ชัดเจนในรอบ 3 เดือน อาจทำให้ PROGRAM TRADING ชะลอการขาย และกลับมาซื้อเพิ่มขึ้นได้ TOP PICK เลือก CCET, PLANB และ JMART

PRM ขยายกองเรือ แนะ “ซื้อ” เป้า 10.20 บ.

PRM ขยายกองเรือ แนะ “ซื้อ” เป้า 10.20 บ.

                      หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง PRM ว่า สรุปสาระสำคัญจากประชุมนักวิเคราะห์ PRM เหตุการณ์สำคัญ ► เรือ 3 ลำที่เข้าซ่อมแซมใน Drydocking ช่วง 4Q24 ได้แก่ 1) เรือขนส่งน้ำมันขนาดใหญ่ VLCC 2) เรือกักเก็บน้ำมันดิบ FSU และ 3) เรือขนส่งและที่พักอาศัยสำหรับพนักงาน AWB ซึ่งได้ทยอยกลับมาให้บริการในช่วงเดือน ก.พ. – มี.ค. แล้ว ► PRM ได้ปลดระวางเรือ FSU ที่มีอายุการใช้งานสูงออก 1 ลำในเดือน มี.ค. ทำให้บริษัทจะรับรู้กำไรพิเศษใน 1Q25 ► บริษัทมีแผนรับเรือ FSU ใหม่ในเดือน พ.ค. 2025 และ Crew Boat ใหม่ในเดือน มิ.ย. 2025 หากเป็นไปตามแผน PRM จะมีกองเรือทั้งหมด 68 ลำ ณ สิ้นปี 2025 ► PRM มีแผนซ่อมบำรุงเรือทั้งหมด 19 ลำในปี 2025 โดยส่วนใหญ่จะเป็นเรือขนส่งน้ำมันในประเทศและเรือบริกรนอกชายฝั่ง (OSV) ► บริษัทตั้งเป้า CAPEX ปี 2025 ระหว่าง 3.0-4.5 พันล้านบาท เพื่อขยายธุรกิจขนส่งน้ำมันในประเทศและ OSV โดยจะศึกษาการลงทุนในเรือประเภทใหม่ในช่วง 2H25 แนวโน้มและการประเมิน ► คาดกำไรปกติ 1Q25 ฟื้นตัว QoQ จากการขนส่งน้ำมันในประเทศที่เร่งตัวขึ้นตามฤดูกาลท่องเที่ยวและทรงตัว YoY โดยคาดผลประกอบการจะกลับมาขยายตัวตั้งแต่ 2Q25 เป็นต้นไปจากการเพิ่มเรือใหม่ ► คาดกำไรปกติปี 2025 เติบโต 16% YoY จากการขยายกองเรือเชิงรุก คาดกำไรกลับมาขยายตัวทั้ง QoQ และ YoY ตั้งแต่ 2Q25 เป็นต้นไป ► ราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายบน PER 25 ที่ 7.0x ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี โดยคาด Dividend Yield ปี 2025 สูงถึง 7.9% ► แนะนำ "ซื้อ" ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2025 ที่ 10.20 บาท/หุ้น

ทยอยสะสม 'DUSIT' 2H25 โตเด่น - เป้า 14.50 บ.

ทยอยสะสม 'DUSIT' 2H25 โตเด่น - เป้า 14.50 บ.

              หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง DUSIT ว่า ทยอยสะสมรอการเติบโตเด่นช่วง 2H25 บริษัทคงเป้าหมายปี 2025 คาดรายได้ทั้งกลุ่มเติบโต 30-35% YoY (ฐานปี 2024 ไม่รวมรายได้จากการส่งมอบงานก่อสร้างพื้นที่ค้าปลีกของโครงการดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค (DCP) ให้กับ CPN จำนวน 3.8 พันล้านบาท) และตั้งเป้าหมาย Ebitda Margin ที่ 16-18% เป้าหมายการเติบโตของรายได้ปี 2025 แบ่งตามธุรกิจดังนี้ ธุรกิจโรงแรมคาดรายได้ +15-18% YoY จากการเติบโตของ RevPar ของกลุ่มโรงแรมเดิม โดยไม่นับรวมการเปิดให้บริการเต็มปีของโรงแรมดุสิตธานีกรุงเทพฯ ธุรกิจการศึกษาคาดรายได้ +10-12% YoY จากการเพิ่มหลักสูตรระยะสั้นและหลักสูตรที่เกี่ยวกับการโรงแรมมากขึ้น ธุรกิจอาหารคาดรายได้ +20-25% YoY เติบโตจากธุรกิจให้บริการ Catering และร้าน Bakery ธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ การก่อสร้างส่วนที่เหลือของโครงการ DCP คืบหน้าตามแผน ส่วนโครงการ Residence ตั้งเป้าหมายการขาย 95% และเริ่มโอนกรรมสิทธิ์ช่วงปลายปี 2025 ปัจจุบันโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ในโครงการ DCP เปิดให้บริการ 90% ของพื้นที่ (สิ้นปี 2024 เปิด 70%) บริษัทตั้งเป้าหมายแบบอนุรักษ์นิยมทั้งปี 2025 Occ. Rate อยู่ที่ 56% และ ADR เฉลี่ยที่ 1.2 หมื่นบาท/คืน (+8-10% YoY) หรือคิดเป็น RevPar ราว 6.6 พันบาท/คืน ต่ำกว่าประมาณการของเราราว 8% อัพเดทการก่อสร้างโครงการ DCP ปัจจุบันเป็นไปตามแผน               Residence ขายไปแล้วกว่า 88% คาดจะขาย 95% และเริ่มโอนกรรมสิทธิ์ได้ภายในสิ้นปี 2025 พื้นที่ค้าปลีกและอาคารสำนักงานคาดเปิดให้บริการในเดือน ส.ค. 2025 (ยอดจองล่วงหน้า 80% และ 40% ตามลำดับ) บริษัทแจ้งตลาดเรื่องการพัฒนาโครงการ Residences แห่งใหม่เป็น Segment ระดับ High-end มูลค่าโครงการราว 2 พันล้านบาท บนที่ดินติดกับโรงแรมดุสิตธานีหัวหิน โดยจะเริ่มขาย 2Q25 ก่อสร้างภายในปี 2026 และเริ่มรับรู้รายได้ 1Q28 Our Take               เรามีมุมมองเป็นกลางหลังการประชุม Guidance ปี 2025 ของบริษัทและพัฒนาการของโครงการ DCP ยังเป็นไปตามคาดการณ์ก่อนหน้า ทำให้เราคงคาดการณ์กำไรปกติปี 2568-2569 ที่ 520 ล้านบาท และ 1.8 พันล้านบาท (+244% YoY) ตามลำดับ การเติบโตหนุนจาก 1) การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และ 2) ผลบวกของโครงการ DCP โดยเฉพาะใน 2H25 หลังผ่านช่วง Ramp-up โรงแรมใหม่ การเปิดโครงการ DCP เต็มรูปแบบ และการเริ่มโอนกรรมสิทธิ์ Residence ช่วงปลายปี               เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” และคงราคาเหมาะสม 14.50 บาทต่อหุ้น ราคาหุ้น YTD ปรับตัวลง 17% ใกล้เคียงกับการปรับฐานของ SET Index -16% ปัจจุบันหุ้นซื้อขายบน PER 25 ที่ 14x เราประเมินว่า Valuation ไม่แพงแล้ว แนะนำสะสมสำหรับนักลงทุนที่สามารถลงทุนในระยะกลาง-ยาว ความน่าสนใจของหุ้นจะอยู่ในช่วง 2H25 ตามการ Turnaround จากการรับรู้รายได้รอบใหญ่จากโครงการ DCP

บล.หยวนต้า แนะ TENCENT80 ผลงาน Q4/67 ดีเกินคาด-กำไรปี 68 โตต่อ

บล.หยวนต้า แนะ TENCENT80 ผลงาน Q4/67 ดีเกินคาด-กำไรปี 68 โตต่อ

                หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.หยวนต้า ระบุ Tencent รายงานผลประกอบการไตรมาส 4/67 โดยรายได้เติบโตขึ้น 11% YoY สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 66 เป็นจำนวน 1.72 แสนล้านหยวน (2.38 หมื่นล้านเหรียญ) ดีกว่าที่ตลาดคาด 1.69 แสนล้านหยวน ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 5.13 หมื่นล้านหยวน (+90% YoY) ดีกว่าคาดที่ 4.63 หมื่นล้านหยวน โดยหลักได้แรงหนุนจากธุรกิจเกมภายในประเทศที่เติบโตเด่น 23% YoY เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการเล่นเกมในจีนเมื่อปีที่แล้ว ขณะที่ธุรกิจเกมในต่างประเทศก็เติบโตได้ดีที่ระดับ 15% YoY                 ส่วนธุรกิจอื่นๆ เช่น ธุรกิจโฆษณาออนไลน์เติบโต 17% YoY และธุรกิจคลาวด์เติบโต 3% YoY หลังจากรายงานผลประกอบการออกมาดี บริษัทก็ได้ประกาศแผนซื้อหุ้นคืนมูลค่า 8 หมื่นล้านฮ่องกงดอลลาร์ หรือประมาณ 1 หมื่นล้านเหรียญ                 ค่าใช้จ่ายลงทุน (CapEx) ของ Tencent ในปี 67 อยู่ที่ 7.68 หมื่นล้านหยวน เพิ่มขึ้นถึง 3.2 เท่าจากปีก่อนหน้านี้ ซึ่งบริษัทระบุว่าส่วนหนึ่งนำไปใช้กับเซิร์ฟเวอร์และหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) สะท้อนการลงทุนในด้าน AI ของบริษัทที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก และน่าจะเป็น Growth Driver ที่สำคัญในอนาคต                 แนวโน้มปี 68 Bloomberg Consensus คาดกำไรสุทธิเติบโตต่อ 7% YoY หนุนจากการเติบโตในทุกธุรกิจหลัก โดยแม้ Bloomberg จะประเมินราคาเป้าหมาย ณ สิ้นปีที่ 540 ฮ่องกงดอลลาร์ต่อหุ้น ทำให้ไม่มี Upside แล้วเมื่อเทียบกับราคาปิดที่ผ่านมา แต่ยังมีโอกาสถูกปรับเพิ่มประมาณการได้อีกหลังจากที่รายงานผลประกอบการดีเกินคาด

KTC ยอดช็อปโค้งแรกโตสนั่น Easy E-Receipt หนุน - เป้า 50 บ.

KTC ยอดช็อปโค้งแรกโตสนั่น Easy E-Receipt หนุน - เป้า 50 บ.

               หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด ระบุถึง KTC ว่า KTC รายงานกำไรสุทธิปี 24 เท่ากับ 7.39 พันล้านบาท +2%YoY หนุนจากการโอนกลับหนี้สงสัยจะสูญภายในปีที่ 1.8 พันล้านบาท (เทียบกับปีก่อนที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายราว 970 ล้านบาท) แต่ทั้งนี้ภาพรวมของผลขาดทุนทางด้านเครดิต +15%YoY จากการเพิ่มขึ้นใน ECL ของสินเชื่อบุคคล จาก 9.9% เป็น 11.5% ของรายได้รวม จากการขยายตัวของสินเชื่อบุคคล โดยเฉพาะสินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ที่ +31.8%YoY ส่วนสินเชื่อบัตรเครดิต -0.7%YoY ลดลงเล็กน้อยจากอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้น และการหยุดปล่อยสินเชื่อลูกหนี้สัญญาเช่า -33.8%YoY ส่งผลให้สินเชื่อทั้งปี -1.1%YoY จากความต้องการสินเชื่อที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าและหนี้ภาคครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ด้าน NPLs ratio อยู่ที่ 1.95% และมี NPL coverage อยู่ในระดับสูงที่ 369.3% โดยลูกหนี้ S2 และ S3 ลดลง ขณะที่ credit cost ปรับตัวขึ้นเป็น 6.1% จากปีก่อนที่ 5.2% ตามนโยบายการตัดหนี้สูญเพิ่มขึ้น ประกาศจ่ายปันผล 1.32 บาท คิดเป็น Div. yield ที่ 2.8% ขึ้น XD 17 เม.ย. แนวโน้ม 1Q25F เติบโตแข็งแกร่ง                แนวโน้ม 1Q25F คาดว่าจะขยายตัวทั้ง QoQ และ YoY โดยได้ประโยชน์จากมาตรการ Easy E-Receipt ช่วยเพิ่มยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต โดยหมวดที่มียอดการใช้จ่ายปรับตัวขึ้นได้แก่หมวดวาไรตี้สโตร์ เช่น การช้อปปิ้งผ่านช่องทางออนไลน์, บริการสั่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึงรับอาสงค์จากสิทธิพิเศษของร้านค้าที่มีการผ่อน 0% เช่นในหมวดเทเลคอม หรือ โทรศัพท์มือถือ ส่งผลให้ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเป็นไปตามเป้าทั้งปีที่ +10% ส่วนพอร์ตสินเชื่อทั้งหมดจะขยายตัว 4-5% ได้แรงหนุนจาก KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ส่วน NPLs ratio ตั้งเป้าให้ไม่เกิน 2% พร้อมแนวโน้มการตั้งสำรองและค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่ลดลงพันล้านบาท +7%YoY                โดยในปี 25F เราคาดสินเชื่อจะขยายตัว 4% ผ่านยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต +10% สินเชื่อ KTC Proud +3% และสินเชื่อพี่เบิ้ม รถแลกเงิน ปล่อยใหม่ราว 3 พันล้านบาท ด้าน NIM คาดว่าจะทรงตัวจากปีก่อนที่ 13% จากการปรับสัดส่วนสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อจดทะเบียนมากขึ้น ช่วยชดเชย CoF ที่สูงขึ้น                ด้านคุณภาพลูกหนี้คาดว่าจะควบคุมได้ดีขึ้นจากการเน้นกลุ่มลูกค้าบัตรเครดิตระดับบนที่มีวินัยการชำระหนี้ดี โดยคาด NPLs ratio ที่ 1.9% และ Credit cost ที่ 5% ลดลงจากปีก่อนที่ 6.1% ขณะที่ C/I มีโอกาสปรับขึ้นสู่ระดับ 37.5% (ปีก่อนที่ระดับ 35%) เนื่องจากมีการลงทุนในระบบ IT เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน                เราขอแนะนำ “ถือ” โดยมีราคาเป้าหมายเท่ากับ 50.00 บาท อิง PBV 2.95 เท่า ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี – 1 SD โดย upside ปัจจุบันเริ่มจำกัดจาก ROE ที่ยังอยู่ในแนวโน้มขาลงจากการเพิ่มขึ้นของ Equity ที่มากกว่ากำไรสุทธิ ซึ่งเราคาดการณ์กำไรสุทธิในปี 25-27F มีการเติบโตเพียง 5% CAGR แต่ทั้งนี้ตลาดติดตามผลบวกจากมาตรการคุณสู้เราช่วย และ sentiment บวกจากแนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย ปัจจัยเสี่ยง: ภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบาง, คุณภาพลูกหนี้ที่อ่อนแอ, แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาลง, มาตรการจากทางการ ประเด็นที่มีนัยยะสำคัญด้านความยั่งยืน: การต่อต้านการคอร์รัปชั่นและการติเสินบน (G), นวัตกรรมดิจิทัล (G), การกำกับดูแลกิจการ (G)

BH ราคาน่าสะสม - เช็กเลย!

BH ราคาน่าสะสม - เช็กเลย!

                 หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด ระบุถึง BH ว่า การดำเนินงานปีนี้มีความเสี่ยงไม่ฟื้นตัว แต่ราคาน่าสะสม ► ผู้บริหารมองแนวโน้มรายได้จากผู้ป่วยต่างชาติชะลอลง แต่จะได้รับปัจจัยบวกจากการปรับค่าบริการขึ้นเฉลี่ยทั้งปีที่ 4% ขณะที่แผนการเปิดโรงพยาบาลที่ภูเก็ตถูกเลื่อนไปเป็นช่วง 1H70 จากความล่าช้าของการขออนุมัติ EIA ► คาดรายได้จากกิจการโรงพยาบาลปีนี้ที่ 25,448 ล้านบาท (-1.1%) และระดับ GPM ที่ 51.0% ลดลงจากปีก่อนที่ 51.4% ขณะที่กำไรสุทธิคาดว่าจะอยู่ที่ 7,596 ล้านบาท (-2.3%) ► แนวโน้ม 1Q68 คาดรายได้มีโอกาสปรับตัวลงทั้ง QoQ จากปัจจัยฤดูกาล และ YoY จากการชะลอลงของรายได้ผู้ป่วยต่างชาติ โดยเฉพาะรายได้จากผู้ป่วยชาวคูเวตและ UAE และการเข้าสู่ช่วงรอมฎอนที่เร็วกว่าปีก่อนราว 10 วัน ► เราแนะนำ "ซื้อ" สำหรับ BH ที่ราคาเหมาะสม 215 บาท/หุ้น อิง PER ที่ 22.5 เท่า ซึ่งเป็นระดับ PER เฉลี่ยของปีนี้ Earning review                  บริษัทรายงานงบ 4Q67 เท่ากับ 1,903 ล้านบาท (+10.6% YoY) โดยมีรายได้จากกิจการโรงพยาบาลเท่ากับ 6,452 ล้านบาท (-0.7% YoY) โดยการลดลงของรายได้จากผู้ป่วยต่างชาติ 5.8% และรายได้จากผู้ป่วยไทยเพิ่มขึ้น 10.2% ส่งผลให้สัดส่วนรายได้ผู้ป่วยต่างชาติต่อผู้ป่วยไทยอยู่ที่ 64.5 : 35.5 เทียบกับงวดเดียวกันปีก่อนที่ 68.0 : 32.0 ด้านต้นทุนกิจการโรงพยาบาลอยู่ที่ระดับ 50.5% ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 51.3% ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้น 0.9% YoY โดยหลักมาจากค่าใช้จ่ายการตลาดที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ทั้งปีรายงานกำไรสุทธิ 7,775 ล้านบาท (+11.0% YoY) และรายได้กิจการโรงพยาบาล 25,634 ล้านบาท (+1.3% YoY) Outlook                  แนวโน้มปีนี้คาดว่าจะมีความท้าทายจากรายได้ผู้ป่วยต่างชาติที่ชะลอลง โดยยังไม่เห็นสัญญาณการกลับมาของผู้ป่วยชาวคูเวตและ UAE ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะได้รับปัจจัยบวกจากการปรับค่าบริการขึ้นเฉลี่ย 4% ขณะที่แผนการเปิดโรงพยาบาลที่ภูเก็ตจะล่าช้าไปอีก 6 เดือนจากเดิม                  คาดรายได้จากกิจการโรงพยาบาลปีนี้จะอยู่ที่ 25,448 ล้านบาท (-1.1%) และกำไรสุทธิจะอยู่ที่ 7,596 ล้านบาท (-2.3%) ขณะที่แนวโน้มใน 1Q68 คาดรายได้จะปรับตัวลงทั้ง QoQ และ YoY จากการชะลอลงของรายได้ผู้ป่วยต่างชาติ โดยเฉพาะการลดลงของรายได้จากผู้ป่วยชาวคูเวตและ UAE และผลกระทบจากการเข้าสู่ช่วงรอมฎอนที่เร็วกว่าปีก่อนราว 10 วัน                  เราแนะนำ “ซื้อ” สำหรับ BH ที่ราคาเหมาะสม 215 บาท/หุ้น อิง PER ที่ 22.5 เท่า ซึ่งเป็นระดับ PER เฉลี่ยของปีนี้ (หรือเท่ากับ PER ย้อนหลัง 1 ปี – 1.50 s.d.) ซึ่งสะท้อนมุมมองต่อภาวะเศรษฐกิจที่ค่อนข้างมีความอ่อนไหวและปัจจัยลบต่อรายได้ผู้ป่วยต่างชาติไปพอสมควรแล้ว ทั้งนี้ แม้ว่าปีนี้ผลการดำเนินงานมีโอกาสไม่เติบโตต่อจากปีก่อน แต่ด้านราคามองว่ายังน่าซื้อสะสม ปัจจัยเสี่ยง ความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ และการชะลอตัวลงของผู้ป่วยชาวคูเวตและ UAE ประเด็นที่มีนัยยะสำคัญด้านความยั่งยืน การกำกับดูแลองค์กร, คุณภาพการให้บริการและความปลอดภัยของผู้ป่วย, และการพัฒนาศักยภาพและรักษาทรัพยากรบุคคล

'BAM' ผลงานเกินคาด - เช็กเป้าด่วน!

'BAM' ผลงานเกินคาด - เช็กเป้าด่วน!

              หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด คาด แนวโน้ม SET Index แกว่งตัว Sideway ในกรอบ 1,180-1,200 จุด โดยขานรับเฟดคงดอกเบี้ยที่ระดับ 4.25% - 4.50% ส่วนในการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) เจ้าหน้าที่เฟดส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% รวม 0.50% ในปีนี้ ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากรายงาน Dot Plot เมื่อ 3 เดือนที่แล้ว นอกจากนี้ยังได้ปรับคาดการณ์ GDP ลงเป็น +1.7% (เดิม +2.1%) และปรับเพิ่มเงินเฟ้อเป็น +2.8% (เดิม +2.5%) ขณะเดียวกันเฟดยังคงประเมินผลกระทบของมาตรการภาษีศุลกากรของทรัมป์ ที่จะมีต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ด้านถ้อยแถลงของพาวเวลได้สร้างความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ หนุนให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้น ทั้งนี้จับตาการใช้มาตรการภาษีศุลกากรของทรัมป์ หลังจากที่เขาประกาศว่าจะบังคับใช้มาตรการภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) ในวันที่ 2 เม.ย.นี้ ด้าน BoJ คงดอกเบี้ยตามคาด โดยกำลังประเมินผลกระทบของมาตรการตอบโต้ทางภาษี               ด้านปัจจัยในประเทศ คาดหวังนักลงทุนสถาบันโอกาสที่จะเข้ามาทำ Window Dressing จาก performance ของ SET Index ที่ปรับตัวลงกว่า 15% YTD รวมถึงเป็นโอกาสในการเข้าซื้อสะสมหุ้นเพื่อรับปันผลในช่วงเม.ย.-พ.ค. ส่วนในเชิง valuation ราคาปัจจุบันซื้อขายบน PBV ที่ 1.12 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง -2.5 SD และ EYG สูงกว่า 6% ใกล้เคียงช่วงโควิด-19 ทำให้ดาวน์ไซด์จำกัดแล้ว แนะนำทยอยสะสมหุ้นใน SET50 เราชอบ AOT, BEM, CPALL, CPAXT, CRC, PTT, OSP, WHA ติดตาม : การประชุม BoE (คาดคงดอกเบี้ย)               Stock pick : BAM มีแนวโน้มเติบโตมากกว่าตลาดคาด เป้าเชิงกลยุทธ์ที่ 7.20 บาท               BAM รายงานกำไรสุทธิในไตรมาส 4 ปี 2564 (4Q24) เท่ากับ 523 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 162.8% QoQ และ 13.9% YoY โดยบริษัทสามารถจัดเก็บหนี้ NPLs ได้สูงสุดในปีที่ 2.3 พันล้านบาท (+7.6% QoQ) จากการฟื้นตัวของภาคธุรกิจและการลงทุนภาครัฐ ส่วนเงินรับจากการขาย NPAs เท่ากับ 1.9 พันล้านบาท (+53.4% QoQ) โดยเฉพาะยอดขายประเภทที่อยู่อาศัย จากแคมเปญการตลาดที่คึกคักเช่น "BAM โปรผ่อนที่ร้อนแรงที่สุดแห่งปีดอกเบี้ย 0% 2 ปีแรก" และ "BAM for Thai Heroes" แม้ว่าราคาขายต่อราคาประเมินทรัพย์เฉลี่ยลดลงจาก 88.6% มาเป็น 84.3% แต่บริษัทก็ยังมีผลประกอบการที่แข็งแกร่ง               ทั้งนี้ BAM ยังรับอานิสงส์จากการลดลงของค่าใช้จ่ายการตั้งสำรอง ในขณะที่กำไรสุทธิทั้งปี 2564 อยู่ที่ 1.6 พันล้านบาท (+4.4% YoY) ดีขึ้นจากการเร่งติดตามลูกหนี้และการบังคับคดี นอกจากนี้ บริษัทประกาศจ่ายปันผล 0.35 บาท/หุ้น คิดเป็น Div. yield 5.4% ขึ้น XD วันที่ 25 เมษายน 2568               ในเชิงคาดการณ์ เป้าหมายปี 2565 คาดว่าจะมี Cash collection ที่ 1.78 หมื่นล้านบาท (+13% YoY) โดยมีการตั้งเป้าหมายเพิ่มการขายในกลุ่ม NPAs ส่วนในเชิง sentiment บริษัทจะได้รับประโยชน์จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท.ลง 0.25% สู่ระดับ 2% ซึ่งหนุนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์               การประเมินมูลค่า: บริษัทซื้อขายบน PE ที่ 12.3 เท่า ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยย้อนหลัง (20.2 เท่า) – 1.0 SD โดย Bloomberg consensus คาดกำไรสุทธิปี 2565-2566 ที่ 1.68 พันล้านบาท (+1% YoY) และ 1.88 พันล้านบาท (+13% YoY) ตามลำดับ โดยมีราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 6.74 บาท แนวรับ: 6.50/6.15 ไม่ควรต่ำกว่าลงมา แนวต้าน: 6.80/7.20/8.00

CPAXT เด่นสุดในกลุ่ม Commerce รับอานิสงส์ควบรวม-แจกเงินสด

CPAXT เด่นสุดในกลุ่ม Commerce รับอานิสงส์ควบรวม-แจกเงินสด

                 หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุว่า เข้าสู่เฟสที่กำไรกลับมาโตในระดับปกติ Event: อัปเดตแนวโน้มกลุ่ม Commerce Impact: ภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย                  ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยอาจทำให้กำลังซื้อลดลง แม้ว่าภาวะการจับจ่ายใช้สอยจะดีขึ้น จากข้อมูลของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สี่แตะ 59.0 ในเดือนมกราคม แต่ลดลงมาอยู่ที่ 57.8 ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 66.9 ขณะเดียวกัน นักเศรษฐศาสตร์ของ KGI คาดว่า GDP ของประเทศไทยและการบริโภคจะยังขยายตัวต่อเนื่อง แม้จะโตในอัตราที่ชะลอลง โดยคาดว่า GDP ปี 2568F จะขยายตัว 2.6% YoY (จาก 2.5% YoY ในปี 2567) ในขณะที่คาดว่าการบริโภคจะขยายตัว 2.7% YoY (จาก 4.4% YoY ในปี 2567) ทั้งนี้ ประมาณการของเราได้รวมผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดล่าสุดของรัฐบาล เช่น Easy e-Receipts และ การแจกเงินเฟส 3 ไว้แล้ว การแข่งขันเพิ่มขึ้น และภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้อทำให้กำไรกลับมาโตในระดับปกติ                  เราคาดว่ากำไรของบริษัทในกลุ่ม Commerce ที่เราศึกษา ได้แก่ CPALL, CPAXT, CRC, DOHOME, GLOBAL และ HMPRO จะเติบโตในระดับเลขตัวเดียวสูง ๆ เนื่องจาก                  ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย (SSSGs เป็นเลขตัวเดียวระดับกลางถึงต่ำ)ประสิทธิภาพในการดำเนินงานลดลงจากฐานกำไรความเสี่ยงจากการแข่งขันที่อาจรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะในหมวดสินค้าฟุ่มเฟือยจากการมีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาในตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาจมีการขยับช่วง PER ลง                  เนื่องจากกำไรมีแนวโน้มกลับมาเติบโตในระดับปกติ อาจทำให้เกิดการ de-rate PER โดยปัจจุบันช่วง PER ยังคงสูง เนื่องจากอิงกับอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งในอดีต รายได้ของหุ้นกลุ่มนี้ในภูมิภาคน่าจะโตระดับเลขตัวเดียวกลาง ๆ ขณะที่กำไรสุทธิคาดว่าจะโตในระดับเลขตัวเดียวสูง ๆ หรือสิบต้น ๆ                  QTD SSSG ของ กลุ่มสินค้าจำเป็น (consumer staple) อยู่ที่ บวกเลขตัวเดียวต่ำ ๆ ในขณะที่ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย (consumer discretionary) มี SSSG ติดลบระดับเลขตัวเดียวต่ำ ๆ ถึงกลาง ๆ (ยกเว้น DOHOME ที่มี SSSG บวกเลขตัวเดียวต่ำ ๆ) เราให้ premium เล็กน้อยกับหุ้นที่ขายสินค้าจำเป็น เนื่องจากมีผู้เล่นในตลาดน้อย โดยกำหนดช่วง PER ดังนี้ CPALL: 25x (ค่าเฉลี่ยในอดีตของหุ้นกลุ่มนี้ในตลาดโลก +0.25 S.D.) เพื่อสะท้อนสถานะผู้นำธุรกิจร้านสะดวกซื้อ CPAXT: 28x (ค่าเฉลี่ยในอดีตของหุ้นกลุ่มนี้ในตลาดโลก +1.0 S.D.) เพื่อสะท้อนอานิสงส์จากการควบรวม HMPRO: 18x (ค่าเฉลี่ยในอดีตของหุ้นกลุ่มนี้ในตลาดโลก) เพื่อสะท้อนกำไรที่คาดว่าจะโตในระดับปกติและความเสี่ยงจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น CRC: PER เฉลี่ย 23x (22.0x สำหรับหมวดแฟชั่น, 26.0x สำหรับหมวดอาหาร, และ 18.0x สำหรับหมวด Hardline) DOHOME และ GLOBAL: ใช้ช่วง PER เฉลี่ยของทั้งสองบริษัท เนื่องจากรูปแบบกำไรผันผวน โดย DOHOME ใช้ PER 30x และ GLOBAL ใช้ PER 21x Valuation & Action                  แม้จะมีการปรับลดช่วง PER เพื่อสะท้อนแนวโน้มกำไรที่โตในระดับปกติ แต่ราคาหุ้นยังคงมี upside อยู่ นอกจากนี้ ผู้เล่นในกลุ่มสินค้าจำเป็นน่าจะได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เรายังคงให้น้ำหนักหุ้นกลุ่ม Commerce ที่ "มากกว่าตลาด" โดยเลือก CPAXT เป็นหุ้นเด่นในกลุ่ม เนื่องจากได้อานิสงส์จากการควบรวม มีโอกาสได้รับผลบวกจากมาตรการ “แจกเงินสด” ของรัฐบาล เราจึงแนะนำ "ซื้อ" CPAXT พร้อมให้ราคาเป้าหมายสิ้นปี 2568F ที่ 32.50 บาท

UOBKH แนะนำ ‘ซื้อ’ OKJ เป้า 10.50 บ. - กำไรโต 27%

UOBKH แนะนำ ‘ซื้อ’ OKJ เป้า 10.50 บ. - กำไรโต 27%

               หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น บริษทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์ เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุว่า UOBKH : OKJ (Initial BUY, [email protected])_ฝ่ายวิจัยเริ่มต้น coverage OKJ ด้วยคำแนะนำ ซื้อ                ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกต่อหุ้น OKJ โดยคาดราคาหุ้นที่ปรับฐานเป็นโอกาสในการเข้าลงทุน หนุนจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ 1) ราคาหุ้น OKJ ปรับตัวลดลง 45% YTD จากความกังวลกำไร 4Q24 ที่หดตัว กดดันจากทั้ง SSSG drop 1.1% yoy และ NPM ลดลงมาเพียงระดับ 5.7% (VS ปี 2023-24 ที่ 8-8.5%) และดูตลาดยังไม่ buy idea core profit ที่ OKJ ชี้แจง (one-off จากน้ำท่วม, IPO, marketing, Pre-opening expenses) อย่างไรก็ตาม จากที่เรา channel check ช่วง Jan - Feb 25 เรามองเห็น momentum ที่ฟื้นตัวดีขึ้น SSSG กลับมาเป็นบวก low single และ GPM ที่จะกลับมายืนเหนือ 45% ได้ (GPM +1-2% qoq) คาดหนุน NPM กลับสู่ระดับเดิมได้ +/-9% คาดกำไรราว 55-60 ลบ. ในงวด 1Q25                2) คาดกำไรปี 2025 ยังเติบโตแข็งแกร่ง ระดับ 27% yoy (และประเมิน CAGR 2025-27 ที่ 23% ต่อปี) หนุนจากแนวโน้ม SSSG ที่กลับเติบโต และการขยายสาขาใหม่ต่อเนื่อง ของทั้ง OKJ และ Oh! juice ประกอบกับ NPM ที่ฟื้นตัวดีขึ้น จากทั้ง GPM ฟื้นตัว และค่าใช้จ่าย Brand admirer ที่รับรู้ไปแล้ว นอกจากนี้ จะมีสีสันเพิ่มเติมในช่วง 2Q25 จากเตรียมเปิดตัวร้านไก่ทอด แตกไลน์จากเมนูฮิตในร้าน (leverage จากฐานร้าน OKJ เดิม)                3) Strong Brand position ต้องยอมรับว่าถ้าพูดถึงร้านอาหารเพื่อสุขภาพ เราประเมิน OKJ position ปัจจุบันถือเป็นหนึ่งใน Top of mind ที่เหนือกว่าคู่แข่งในอุตสาหกรรม Healthy restaurants จึงเชื่อว่าจากแนวโน้มกระแสรักสุขภาพ + สังคมสูงวัย จะเป็นลมหนุนต่อการขยายธุรกิจของ OKJ ได้ในระยะยาว                ภาพรวมจากกำไร 1Q25 ที่เห็นการฟืันตัวสู่ระดับความคาดหวังเดิม ประกอบกับ แนวโน้มกำไรปี 2025 คาดยังเติบโตสูง 27% พร้อม Valuation ที่ถูกลง PE'25 19.7x, PEG'25 0.7x เรามองการปรับฐานที่ผ่านถือเป็น healthy correction และยังมองราคาปัจจุบันน่าสนใจเข้าลงทุน จึงเริ่มต้นบทวิเคราะห์ OKJ ด้วยคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 10.5 บาท

เศรษฐกิจดิจิทัล 4.85 ล้านล้านบาท หุ้นสื่อสาร - Digital Tech บูม

เศรษฐกิจดิจิทัล 4.85 ล้านล้านบาท หุ้นสื่อสาร - Digital Tech บูม

            หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) ระบุว่า รมว.ดิจิทัลเผย คาดการณ์เศรษฐกิจดิจิทัลปี 2568 จะมีมูลค่ารวม 4.85 ล้านล้านบาท เติบโต 7.3% y-y โดยการลงทุนขยายตัว 9.9% y-y นำโดยภาคเอกชนที่เติบโต 10.3% y-y ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนในด้านดิจิทัลคาดว่าจะขยายตัว 7.6% y-y ส่วนการบริโภคภาครัฐในด้านดิจิทัลคาดโต 4.3% y-y ปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจากกระแส Digital Transformation และการนำ AI เข้ามาต่อยอดนวัตกรรมทางธุรกิจ ประเมินว่าข้อมูลดังกล่าวส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มสื่อสาร เช่น ADVANC, TRUE รวมถึงหุ้นกลุ่ม Digital Tech Consult เช่น BE8, BBIK

SCB คาดค่าเงินบาทวันนี้ กรอบ 33.45-33.70 บ./ดอลลาร์

SCB คาดค่าเงินบาทวันนี้ กรอบ 33.45-33.70 บ./ดอลลาร์

            หุ้นวิชั่น - กลุ่มงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 33.45-33.70 บาท/ดอลลาร์ ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หลังธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 25-4.50% ตามคาด คงระดับ Median dot plot ไว้เท่าเดิม ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจลง เงินเฟ้อขึ้น ทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ธนาคารกลางญี่ปุ่นคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 50% และส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยอีกภายในครึ่งแรกของปีนี้ รายงานการประชุม กนง. ชี้ว่าเศรษฐกิจไทยโตต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้ แต่การลดดอกเบี้ยไม่ใช่จุดเริ่มต้นของวัฐจักรการผ่อนคลายนโยบาย และสามารถรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าได้

สภาไฟเขียว พ.ร.บ. แอลกอฮอล์ หนุนหุ้น BJC - CBG เป็นบวก

สภาไฟเขียว พ.ร.บ. แอลกอฮอล์ หนุนหุ้น BJC - CBG เป็นบวก

              หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) ระบุว่า ที่ประชุมสภาโหวตผ่านร่าง พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื้อหาสำคัญ คือ การยกเลิกมาตรา 32 ที่ห้ามผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม               ประเมินเป็นบวก ต่อโอกาสเห็นเม็ดเงินโฆษณาจากกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวเพิ่มขึ้น แต่แนะนำเน้นลงทุนในหุ้นสื่อที่มีความเสี่ยงถูก Disrupt ต่ำ เช่น PLANB นอกจากนี้ จิตวิทยาบวกต่อหุ้นที่มีการขายสินค้า/ให้บริการเชื่อมโยงกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น BJC, CBG

“สงกรานต์สนามหลวง” หุ้นไหนรับอานิสงส์ - เช็ก!

“สงกรานต์สนามหลวง” หุ้นไหนรับอานิสงส์ - เช็ก!

                            หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) ระบุว่า รัฐทุ่ม 180 ล้าน จัดงานมหกรรม “สงกรานต์สนามหลวง” ระหว่างวันที่ 12-16 เม.ย. คาดหวังเงินสะพัด 4.6 หมื่นล้านบาท ประเมินว่ามีโอกาสช่วยให้นักท่องเที่ยวในเดือน เม.ย. 2025 มีโมเมนตัมดีขึ้น หลังจากสัปดาห์ล่าสุดเริ่มเห็นฐานที่มีการฟื้นตัว โดยจำนวนนักท่องเที่ยวรวมทรงตัว ขณะที่นักท่องเที่ยวหลักๆ ฟื้นตัวได้ w-w แล้วจิตวิทยาบวกต่อหุ้นท่องเที่ยวและหุ้นอิงภาคบริการ เน้นหุ้น Deep Value อาทิ AOT, CPALL, CPAXT, MINT

KSS คาด SET “Sideways Up” คัดหุ้นเด่น วันนี้ KBANK, BA, CBG

KSS คาด SET “Sideways Up” คัดหุ้นเด่น วันนี้ KBANK, BA, CBG

            หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) คาด SET วันนี้ “Sideways Up” ต้าน 1202/1210 จุด รับ 1182/1175 จุด ประเด็นสำคัญวันนี้ 1.) ผลประชุม Fed “Neutral to Slightly Dovish” แม้คงดอกเบี้ย และคง Dot Plot ลดดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้งในปี 2025-2026 และ 1 ครั้งในปี 2027 แต่มีภาพบวกจาก Fed ประกาศชะลอ Quantitative Tightening (QT) เหลือ 4 หมื่นล้านเหรียญต่อเดือน ซึ่งดีกว่าตลาดคาด ส่วนเงินเฟ้อปี 2025F แม้เพิ่มสู่ 2.8% (เดิม 2.5%) แต่ Fed มองเป็นเรื่องชั่วคราว และให้น้ำหนักต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอลงเป็น Soft Landing เล็กๆ ลด GDP ปี 2025F เหลือ 1.7% (-0.4%) ต่ำกว่าศักยภาพที่ 2% เล็กน้อย พร้อมทั้งถ้อยแถลงเอียงมาให้น้ำหนักดูแลเศรษฐกิจ เป็นจิตวิทยาบวกสินทรัพย์เสี่ยงโลกโดยเฉพาะตลาด Laggard ขณะที่จีนมีแรงหนุนจาก TENCENT กำไรดีกว่าคาด 2.) เงินเฟ้อ CPI ยุโรป ก.พ. 2025 (ครั้งสุดท้าย) ลดลงเร็วกว่าคาด +2.3% y-y vs prev. +2.4% สร้างความยืดหยุ่นนโยบายการเงิน 3.) ปัจจัยภายในประเทศ หลังชัดเจนนโยบายกีดกันการค้าของคุณ Trump ชุดท้ายๆ ในส่วนภาษีเท่าเทียมต้น เม.ย. จากนี้เราคาดว่าจะมีการใช้นโยบายการเงินที่ยืดหยุ่นขึ้น หนุน SET แกว่งขึ้นต่อ หุ้นนำ หุ้นวงจรดอกเบี้ยขาลงหนุน หุ้นได้ประโยชน์จากการเปิดให้โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (PLANB, CBG, BJC) หุ้นอิงยุโรปและจีน ผสาน 10 Deep Value หุ้นแนะนำวันนี้ KBANK, BA, CBG

KTMS ชูธงรายได้แตะพันล. ใส่เกียร์ผุดศูนย์ไตเทียมเร่งโต

KTMS ชูธงรายได้แตะพันล. ใส่เกียร์ผุดศูนย์ไตเทียมเร่งโต

              หุ้นวิชั่น - KTMS ตั้งเป้ารายได้แตะ 1 พันล้านบาทในปี 70 จากปีนี้ปักธงรายได้ 800 ล้านบาท หรือโตเฉลี่ย 20-30% ต่อปี เดินหน้าผุดศูนย์ไตเทียมทำเงิน กางแผนธุรกิจ วางงบลงทุนที่ 200-250 ล้านบาท เชื่อดีมานด์ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมสูง สยายปีกภาคตะวันออกเฉียงเหนือเต็มสูบ               นางสาวกาญจนา พงศ์พัฒนะเดชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคที เมดิคอล เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ KTMS เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 2568 แตะ 800 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเติบโต 20-30% ต่อปี โดยปัจจุบันบริษัทครองส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจนี้ประมาณ 1 ใน 3 หรือคิดเป็น 3-5% ของตลาดรวม               สำหรับไตรมาส 1/2568 บริษัทคาดว่ารายได้จะเติบโตจากการขยายสาขาและหน่วยไตเทียมเพิ่มขึ้น ปัจจุบัน KTMS มีสาขาทั้งหมด 36 แห่ง และมีเครื่องฟอกไตเทียมจำนวน 495 เครื่อง โดยในปีนี้มีแผนเพิ่มเครื่องฟอกไตอีก 70-90 เครื่อง รองรับจำนวนผู้ป่วยที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง               ขณะที่อัตรากำไร (มาร์จิ้น) ของหน่วยไตเทียมในโรงพยาบาล (Outsource) จะมีอัตรากำไรอยู่ที่ 10-20% ขณะที่คลินิกเวชกรรมไตเทียมแบบ Stand-Alone คาดว่าจะสร้างอัตรากำไรที่ 15-30% โดยบริษัทมีแผนขยายาขาทั้งรูปแบบ Outsource และ Stand-Alone โดยบริษัทตั้งงบไว้ที่ 200-250 ล้านบาท เพื่อขยายหน่วยไตเทียมเป็นหลัก               ในส่วนของค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ใช้สิทธิ์ประกันสังคมและบัตรทอง บริษัทไม่มีนโยบายลดรายจ่ายในส่วนนี้ และยังคงใช้นโยบายเดิม แม้ว่าสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะมีแนวทางผลักดันการล้างไตทางช่องท้อง (PD First) บริษัทมั่นใจว่ายังสามารถรักษารายได้จากฐานผู้ป่วยเดิม ซึ่งมีจำนวนกว่า 3,000 คนในปัจจุบัน               สำหรับงบลงทุนปี 2568 นอกจากการขยายหน่วยไตเทียมแล้ว บริษัทยังมีแผนขยายโรงงานผลิตน้ำยาฟอกไตแห่งใหม่ ปัจจุบันอยู่ระหว่างมองหาโลเคชั่น โดยบริษัทวางเงินลงทุนไว้ที่ 80-100 ล้านบาท (ไม่รวมที่ดิน) แต่คาดว่าจะใช้จริงประมาณ 50 ล้านบาท               สำหรับแผนระยะยาว ปี 2568-2570 บริษัทตั้งเป้ารายได้แตะ 1,000 ล้านบาท ภายในปี 2570 โดยเตรียมขยายกำลังการผลิตน้ำยาไตเทียม และขยายการให้บริการลูกค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ ยังมีแผนนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ นอกเหนือจากการฟอกเลือด พร้อมเดินหน้าพัฒนาระบบน้ำสำหรับฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และเพิ่มการติดตั้งท่อลมให้กับโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน

เปิดสถิติการจ่ายปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ปี 2567

เปิดสถิติการจ่ายปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ปี 2567

           หุ้นวิชั่น - เปิดสถิติการจ่ายปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ปี 2567  พบว่า ริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นรวมกว่า 593,610 ล้านบาท จากการจ่าย เงินปันผล 864 ครั้ง จากบริษัทจดทะเบียน 590 บริษัท Key Findings: • ในปี 2567 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ) จำนวน 590 บริษัท มีการจ่ายเงินปันผลรวม 864 ครั้ง รวมเงินปันผลจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นรวมกว่า 593,610 ล้านบาท • ในช่วงเทศกาลจ่ายเงินปันผล คือ ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2567 บริษัทจดทะเบียนจ่ายเงินปันผลรวม 538 ครั้ง หรือคิดเป็น 62.3% ของจำนวนการจ่ายเงินปันผลทั้งหมดในปี 2567 โดยเดือนพฤษภาคมมีการจ่ายเงินปันผลมากที่สุดทั้งจากจำนวนครั้งและมูลค่าเงินปันผลจ่าย • หมวดธุรกิจที่มีการจ่ายเงินปันผลมูลค่าสูงสุด 3 อันดับแรก ในปี 2567 ยังคงเป็นหมวดเดียวกันกับปี 2566 ได้แก่ หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค หมวดธนาคาร และหมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยบริษัทจดทะเบียนในหมวดพลังงานและสาธารณูปโภค (Energy and utilities sector) จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นด้วยมูลค่ามากที่สุดมีมูลค่ารวมกว่า 170,148 ล้านบาท • หากพิจารณาความสามารถในการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนจากผลประกอบการ ประจำปี 2567 พบว่า บริษัทจดทะเบียนไทย 925 บริษัท ที่รายงานผลประกอบการ มีกำไรสุทธิลดลงจากปีก่อน แต่ก็อยู่ในระดับสูง โดยมีกำไรสุทธิรวมกว่า 869,000 ล้านบาท และพบว่า 67.8% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด (627 บริษัท) ยังคงมีกำไรสุทธิจากการดำเนินธุรกิจ • อย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินปันผลในปี 2568 นอกจากจะขึ้นอยู่กับผลประกอบการปี 2567 ก็ยังขึ้นอยู่กับผลประกอบการที่เกิดขึ้นในปี 2568 ที่อาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ รวมทั้งนโยบายการจ่ายเงินปันผลและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัทอีกด้วย • จากข้อมูลสถิติการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย เป็นข้อมูลเบื้องต้นให้นักลงทุนได้ทราบช่วงเวลาในการจ่ายเงินปันผล เพื่อใช้ประกอบการวางแผนคัดเลือกหุ้นปันผลและเลือกจังหวะเวลาในการเข้าซื้อหุ้นปันผลเข้าพอร์ตการลงทุน            จากข้อมูลสถิติการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (ตลาดหุ้นไทย) พบว่า ในปี 2567 มีการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นรวมสูงถึง 593,610 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 เล็กน้อย และหากพิจารณาการจ่ายเงินปันในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยเติบโตเฉลี่ยปีละ 4.01% (ภาพที่ 1) ด้วยปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในปี 2566 - 2567 ที่มีรายได้รวมสูงปีละกว่า 18 ล้านล้านบาท และมีกำไรสุทธิอยู่ถึง 941,000 ล้านบาทและ 870,000 ล้านบาท (ภาพที่ 2) ตามลำดับ            โดยการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวเป็นการจ่ายปันผล 864 ครั้ง จากบริษัทจดทะเบียน 590 บริษัท (บริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่จ่ายเงินปันผลปีละครั้ง บางบริษัทจ่าย 2 - 4 ครั้งในแต่ละปี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายการจ่ายเงินปันผลของแต่ละบริษัท) ตามตารางที่ 1 ในช่วงเทศกาลจ่ายเงินปันผล คือ ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2567 บริษัท จดทะเบียนจ่ายเงินปันผลรวม 538 ครั้ง หรือคิดเป็น 62.3% ของจำนวนการจ่าย เงินปันผลทั้งหมดในปี 2567 โดยเดือนพฤษภาคมมีการจ่ายเงินปันผลมากที่สุดทั้งจากจำนวนครั้งและมูลค่าเงินปันผลจ่าย            ในช่วงเทศกาลจ่ายเงินปันผล พบว่า ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2567 มีการจ่ายเงินปันผลรวม 538 ครั้ง คิดเป็น 62.3% ของจำนวนการจ่ายเงินปันผลทั้งหมดในปี 2567 โดยในเดือนพฤษภาคม 2657 เป็นเดือนที่การจ่ายเงินปันผลมากที่สุดรวม 464 ครั้ง คิดเป็น 53.7% ของจำนวนการจ่ายเงินปันผลทั้งหมดในปี 2567            ในแต่ละปีจะมีเทศกาลจ่ายเงินปันผลอีกหนึ่งรอบในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายนของทุกปี พบว่า ในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีการจ่ายเงินปันผลรวม 210 ครั้ง หรือประมาณ 24.3% ของจำนวนการจ่ายเงินปันผลในปี 2567 (ภาพที่ 3)            หากพิจารณามูลค่าเงินปันผลที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ในปี 2567 (ภาพที่ 4) พบว่า ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2567 มีการจ่ายเงินปันผลรวม 366,148 ล้านบาท คิดเป็น 61.7% ของมูลค่าเงินปันผลทั้งหมดที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้นในปี 2567 โดยเดือนที่มีการจ่ายเงินปันผลสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เดือนพฤษภาคม 2567 ที่มีการจ่ายเงินปันผลด้วยมูลค่าสูงสุด 216,566 ล้านบาท คิดเป็น 36.5% ของมูลค่าเงินปันผลทั้งหมดที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้นในปี 2567 ตามมาด้วยเดือนเมษายน 2567 ที่มีการจ่ายเงินปันผลด้วยมูลค่าสูงสุด 145,256 ล้านบาท คิดเป็น 24.5% และเดือนกันยายน 2567 มีการจ่ายเงินปันผลด้วยมูลค่าสูงสุด 145,100 ล้านบาท คิดเป็น 24.4% ตามลำดับ 3 หมวดธุรกิจที่มีการจ่ายเงินปันผลด้วยมูลค่าสูงสุดในปี 2567 ได้แก่ หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค หมวดธนาคาร และหมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร            เมื่อพิจารณาการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียน ในปี 2567 จำแนกตามหมวดธุรกิจ พบว่า 3 หมวดธุรกิจที่มีการจ่ายเงินปันผลด้วยมูลค่าสูงสุด ยังคงเป็นหมวดธุรกิจเดียวกันกับปี 2566 ได้แก่ หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค หมวดธนาคาร หมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ตารางที่ 2)            โดยบริษัทจดทะเบียนในหมวดพลังงานและสาธารณูปโภค (Energy and utilities sector) จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นด้วยมูลค่ามากที่สุด รวมกว่า 170,148 ล้านบาท ตามมาด้วยบริษัทจดทะเบียนในหมวดธนาคาร (Banking sector) ที่จ่ายเงินปันผลด้วยมูลค่ารวม 107,093 ล้านบาท และหมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information & Communication Technology sector) ที่จ่ายเงินปันผลด้วยมูลค่ารวม 53,594 ล้านบาท แม้ว่า ในปี 2567 บริษัทจดทะเบียนมีกำไรสุทธิรวมน้อยกว่าปี 2566 แต่ก็อยู่ในระดับสูงถึง 869,000 ล้านบาท ขณะที่ SET Index ลดลงไปอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า SET Index อาจลงมาอยู่ในระดับต่ำ อาจเป็นโอกาสของนักลงทุนในการเข้ามาเลือกซื้อหุ้นเพื่อรับเงินปันผล            สถิติการจ่ายเงินปันผลที่กล่าวมาข้างต้น อาจสรุปได้ว่า การลงทุนในหุ้นปันผลก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนและผู้มีเงินออมที่เน้นการลงทุนระยะยาว ที่สำคัญคือ การคัดเลือกหุ้นปันผล และจังหวะเวลาในการเข้าซื้อหุ้นปันผล ซึ่งโดยปกติราคาหุ้นจะสูงหรือต่ำ ก็ขึ้นอยู่ปัจจัยพื้นฐาน (อาทิ ทิศทางเศรษฐกิจ ภาวะอุตสาหกรรม และผลประกอบการ เป็นต้น) และปัจจัยด้านจิตวิทยา ที่เกี่ยวข้องกับความคาดหวังของนักลงทุนและปริมาณความต้องการหุ้นของนักลงทุน จากการเคลื่อนไหวของ SET Index ตั้งแต่ตลาดเปิดทำการซื้อขายในปี 2518 ถึงปัจจุบัน พบว่า มีช่วงที่ SET Index แตะที่ระดับ 1,000 จุด ขึ้นไป อยู่ 3 ช่วงเวลา กล่าวคือ ในปี 2533 ที่ SET Index ทำสถิติสูงสุดระหว่างที่แตะ 1,143 จุดในวันที่ 25 กรกฎาคม 2533 ก่อนลดลงมาปิดสิ้นปีที่ 612.86 จุด และในช่วงที่ 2 ในช่วงปี 2538 - 2539 ช่วงก่อนวิกฤติต้มยำกุ้ง และในช่วงที่ 3 ตั้งแต่ปี 2554 ถึงปัจจุบัน (ภาพที่ 5) ที่ SET Index มีการเคลื่อนไหวอยู่ในระดับสูงกว่า 1,000 จุด ต่อเนื่องกว่า 15 ปี (ภาพที่ 5)            หากเปรียบเทียบผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นในไทย (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ) พบว่า ข้อสังเกตที่น่าสนใจ กล่าวคือ 1) ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 คือ ในปี 2563 ที่กำไรสุทธิบริษัทจดทะเบียนลดลงค่อนข้างเยอะเหลือเพียง 399,000 ล้านบาท ขณะที่ SET Index เคลื่อนไหวในช่วงกว้างอยู่ในช่วง 1,024.46 - 1,600.48 จุด และปิดที่ 1,449.35 จุด ก่อนที่กำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนก็ฟื้นตัวมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาด 2) ในปี 2567 แม้ว่าบริษัทจดทะเบียนมีกำไรสุทธิรวมลดลงน้อยกว่าปี 2566 แต่ก็อยู่ในระดับสูงถึง 869,000 ล้านบาท ขณะที่ SET Index ลดลงไปอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า SET Index อาจลงมาอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งอาจเป็นโอกาสของนักลงทุนในการเข้ามาเลือกซื้อหุ้นเพื่อรับเงินปันผล            หากพิจารณาผลประกอบการปี 2567 ของบริษัทจดทะเบียน พบว่า ส่วนใหญ่ (627 บริษัท) หรือ 67.8% ของบริษัท     จดทะเบียนทั้งหมดยังคงมีกำไรสุทธิจากการดำเนินธุรกิจในปี 2567 อย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินปันผลนอกจากจะขึ้นอยู่กับผลประกอบการปี 2567 ก็ยังขึ้นอยู่กับผลประกอบการที่เกิดขึ้นในปี 2568 ที่อาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ รวมทั้งนโยบายการจ่ายเงินปันผล ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัทอีกด้วย            ดังนั้น จากข้อมูลสถิติการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย เป็นข้อมูลเบื้องต้นให้นักลงทุนได้ทราบช่วงเวลาในการจ่ายเงินปันผล เพื่อใช้ประกอบการวางแผนคัดเลือกหุ้นปันผลและเลือกจังหวะเวลาในการเข้าซื้อหุ้นปันผลเข้าพอร์ตการลงทุน

GULF ยุคใหม่ ไฉไลกว่าเดิม l Hoon Vision Talk Online

GULF ยุคใหม่ ไฉไลกว่าเดิม l Hoon Vision Talk Online

https://youtu.be/MaiMv3c5vQ4?si=gnH607SvYfGaI6Ob GULF ยุคใหม่ ไฉไลกว่าเดิม l Hoon Vision Talk #หุ้นวิชั่น #GULF #ตลาดหุ้น #หุ้นไทย

บุก! โรงเรียนนานาชาติ หนึ่งเดียวในตลท.

บุก! โรงเรียนนานาชาติ หนึ่งเดียวในตลท.

https://youtu.be/xRIpgS4Y4vk?si=ywARiuRQgRsdCK2y บุก!โรงเรียนนานาชาติ หนึ่งเดียวใน ตลท. ✅ทำไมต้อง SISB ? ✅เรื่องไม่ลับ..มุมการลงทุน #hoonvision #visioninside #SISB #ตลาดหุ้น #หุ้นไทย #การเงิน #การลงทุน

SET เช้าปิดพุ่ง 14.69 จุด ยืนแกร่งสวนภูมิภาค โบรกต่างชาติอัพเกรดหุ้นไทย

SET เช้าปิดพุ่ง 14.69 จุด ยืนแกร่งสวนภูมิภาค โบรกต่างชาติอัพเกรดหุ้นไทย

          หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน ตลาดหุ้นไทย เช้าวันนี้ ปิดที่ระดับ 1,190.86 จุด เพิ่มขึ้น 14.69 จุด (+1.25%) ทำระดับสูงสุดที่ 1,195.56 จุด และทำระดับต่ำสุดที่ 1,174.62 ด้วยมูลค่าซื้อขาย 22,674.57 ล้านบาท           นายวทัญ จิตต์สมนึก ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.พาย กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวันนี้ปรับตัวขึ้นได้อย่างแข็งแกร่ง สวนทางกับตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชีย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ Broker ต่างชาติปรับเพิ่มคำแนะนำเป็นมากกว่าตลาด จากเดิมกลางๆ โดยให้เหตุผลว่าหุ้นไทยเริ่มถูกแล้ว และก่อนหน้าก็สะท้อนปัจจัยกดดันต่างๆ ไปมากแล้ว โดยจะมีแรงหนุนจากกองทุน Thai ESGX มาเป็นตัวเพิ่มสภาพคล่อง           สำหรับมุมมองของฝ่ายวิเคราะห์เห็นคล้ายๆ กัน คือ หุ้นไทยถูกมากแล้ว หลายๆ ตัว ปันผลอยู่ในจุดที่น่าสนใจ แต่การฟื้นตัวจะไปได้ไกลมากน้อยแค่ไหน ยังเชื่อว่า Upside ไม่ได้เยอะมาก จากความเสี่ยงทั้งเศรษฐกิจสหรัฐฯ, Trump กับนโยบายการค้า เป็นต้น           ให้แนวรับที่ 1,185 จุด และแนวต้าน 1,200 จุด

เปิดรายงานการประชุมกนง. หลังให้ลดดอกเบี้ยลงเหลือ2%

เปิดรายงานการประชุมกนง. หลังให้ลดดอกเบี้ยลงเหลือ2%

              หุ้นวิชั่น - รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 1/2568 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ และ 26 กุมภาพันธ์ 2568 ธนาคารแห่งประเทศไทย               การประเมินภาพเศรษฐกิจ ฝ่ายเลขานุการ กนง. นำเสนอภาพเศรษฐกิจไทยในปี 2567 ว่าขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้ แม้อุปสงค์ในประเทศ การท่องเที่ยว และการส่งออกสินค้ายังขยายตัวดี แต่ไม่ได้ส่งผลบวกต่อภาคการผลิตมากนัก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีการระบายสินค้าคงคลังที่อยู่ในระดับสูงและนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น มองไปข้างหน้า เศรษฐกิจไทยในปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 2.5 เล็กน้อย ซึ่งต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้ จากภาคการผลิตที่ยังถูกกดดันจากปัญหาเชิงโครงสร้างและการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น รวมถึงผลกระทบจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ที่บังคับใช้แล้ว โดยอุตสาหกรรมยานยนต์ ปิโตรเคมี และวัสดุก่อสร้าง ถูกกดดันจากปัญหาเชิงโครงสร้างและการแข่งขันจากสินค้าต่างประเทศ ขณะที่ภาคบริการและท่องเที่ยวยังขยายตัวได้               เศรษฐกิจในแต่ละภาคส่วนขยายตัวแตกต่างกันมากขึ้น (K-shape) โดยภาคบริการมีแนวโน้มขยายตัวดี โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ส่วนภาคการผลิตกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากวัฏจักรสินค้าเทคโนโลยี ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างโดยเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวกับยานยนต์ และภาคอสังหาริมทรัพย์มีพัฒนาการแย่ลง โดยการผลิตรถยนต์ถูกกดดันจากการแข่งขันจากรถยนต์ไฟฟ้า (EV) กำลังซื้อในประเทศที่อ่อนแอ และสถาบันการเงินระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อให้กับกลุ่มที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตสูง แม้จะมีสัญญาณเชิงบวกบ้างจากราคารถยนต์มือสองที่เริ่มทรงตัว               ด้านภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มชะลอตัวจากกำลังซื้อในประเทศที่ลดลง โดยสถาบันการเงินระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเนื่องจากสัดส่วนการผิดนัดชำระหนี้ที่ปรับสูงขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มรายได้ต่ำถึงปานกลาง จึงต้องติดตามธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะรายเล็กที่มีข้อจำกัดด้านสภาพคล่องและการปรับตัว รวมถึงผู้รับเหมาก่อสร้างที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการ SMEs เพื่อประเมินภาพอย่างใกล้ชิด               คณะกรรมการฯ เห็นว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้ และมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า จากภาคการผลิตที่ถูกกดดันอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง ผลกระทบที่อาจรุนแรงขึ้นจากนโยบายการค้าของประเทศเศรษฐกิจหลัก และภาวะการเงินของธุรกิจและครัวเรือนบางส่วนที่ตึงตัว ขณะที่กรรมการบางท่านเห็นว่าเศรษฐกิจอาจมีความเสี่ยงมากกว่าที่ฝ่ายเลขานุการฯ ประเมินไว้ โดยอุตสาหกรรมยานยนต์และภาคอสังหาริมทรัพย์อาจต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งก่อนจะเริ่มกลับมาฟื้นตัว               สะท้อนจากการใช้กำลังการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่อยู่ในระดับต่ำและอุปทานคงค้างระดับสูงในภาคอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ ภาคการผลิตในหลายอุตสาหกรรมเผชิญการแข่งขันที่สูงขึ้นจากสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ที่เผชิญความท้าทายในการปรับตัวและมีข้อจำกัดในการเข้าถึงสินเชื่อ รวมทั้งการแข่งขันที่อาจสูงขึ้นอีกในระยะต่อไป กรรมการบางส่วนแสดงความกังวลว่าภาคบริการและการท่องเที่ยวซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลัก (growth driver) อาจสนับสนุนเศรษฐกิจได้ลดลงเมื่อเทียบกับช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา               ส่วนหนึ่งจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวชะลอลงตามพฤติกรรมการใช้จ่ายและโครงสร้างของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป รวมถึงขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคท่องเที่ยวไทยในระยะยาว ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นร่วมกันว่าเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวชะลอลงมีสาเหตุสำคัญมาจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง ซึ่งจำเป็นต้องใช้นโยบายปรับโครงสร้างด้านอุปทานเพื่อยกระดับศักยภาพของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เช่น การลงทุนใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน และการสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อช่วยในการปรับตัว               สำหรับเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ (demand side) มีแนวโน้มขยายตัวจากการบริโภคภาคเอกชน โดยการบริโภคของกลุ่มผู้มีรายได้สูงยังขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำถึงปานกลางยังถูกกดดันจากการขยายตัวของรายได้ที่ไม่ทั่วถึงและภาวะสินเชื่ออุปโภคบริโภคที่ชะลอลง กรรมการบางส่วนให้ความเห็นว่าการบริโภคภาคเอกชนที่ผ่านมา ถูกขับเคลื่อนโดยครัวเรือนกลุ่มรายได้ปานกลางและสูง แต่ครัวเรือนกลุ่มดังกล่าวอาจระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้นในระยะต่อไป ตามความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและปัจจัยด้านความมั่งคั่งที่ลดลง (wealth effect) ตามมูลค่าของตลาดหุ้นไทย               ด้านการส่งออกสินค้าคาดว่าจะขยายตัวได้จากสินค้ากลุ่มเทคโนโลยีและสินค้าเกษตรแปรรูปเป็นหลัก สำหรับการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มดีขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนของ BOI ที่มูลค่ารวมอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และ data center ทั้งนี้ กรรมการบางส่วนให้ความเห็นว่าต้องติดตามการสร้างมูลค่าเพิ่มของการส่งออกสินค้าและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศต่อเศรษฐกิจในภาพรวม เนื่องจากการสร้างมูลค่าเพิ่มมีแนวโน้มลดลงเทียบกับอดีต ส่วนหนึ่งจากการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ ซึ่งรวมถึงกรณีของ data center อีกทั้งมีการนำเข้าปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศ (import content) เพิ่มขึ้น               มองไปข้างหน้า เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงจากนโยบายการค้าของประเทศเศรษฐกิจหลัก โดยอาจได้รับผลกระทบจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ที่จะออกมาเพิ่มเติม เช่น (1) มาตรการขึ้นภาษีนำเข้าโดยตรงรายประเทศ ซึ่งไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่อาจถูกสหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษีจากการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง และ (2) มาตรการภาษีศุลกากรแบบตอบโต้ (reciprocal tariffs) ที่อาจส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูปของไทยที่มีส่วนต่างภาษีระหว่างไทยและสหรัฐฯ ค่อนข้างสูง ทั้งนี้ นโยบายการค้าของสหรัฐฯ ยังมีความไม่แน่นอนสูงทั้งในมิติรูปแบบและช่วงเวลา รวมทั้งการตอบโต้ของประเทศเศรษฐกิจหลักอื่น โดยฉากทัศน์ที่สหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้นรวมเป็นร้อยละ 30 และประเทศกลุ่มเสี่ยงรวมถึงไทยถูกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าร้อยละ 10 การขยายตัวของเศรษฐกิจอาจปรับลดลงจากกรณีฐานประมาณร้อยละ 0.3-0.5 โดยประเมินว่าจะได้รับผลกระทบในช่วงครึ่งหลังของปี 2568 ผ่านช่องทาง (1) การส่งออกสินค้าของไทยไปสหรัฐฯ โดยตรงลดลง (2) การส่งออกสินค้าขั้นกลางของไทยไปจีนลดลง และ (3) ปัญหาการแข่งขันกับอุปทานส่วนเกินของจีนทั้งในตลาดส่งออกและตลาดในประเทศที่รุนแรงขึ้น อย่างไรก็ดี การประเมินผลในฉากทัศน์นี้ยังมีความไม่แน่นอนสูง และผลกระทบอาจรุนแรงขึ้นหากมีมาตรการตอบโต้ทางการค้าเพิ่มเติม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มทรงตัวใกล้เคียงขอบล่างของกรอบเป้าหมายจากปัจจัยด้านอุปทาน โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีโอกาสต่ำกว่ากรอบเป้าหมายในบางช่วงเวลา จากอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานมีแนวโน้มปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก รวมถึงปัจจัยเชิงโครงสร้าง อาทิ การแข่งขันด้านราคาที่สูงขึ้นจากสินค้านำเข้า               ทั้งนี้ ยังไม่เห็นสัญญาณนำไปสู่ภาวะเงินฝืดหรือภาวะที่เงินเฟ้อติดลบต่อเนื่อง เพราะ (1) พลวัตเงินเฟ้อมาจากปัจจัยด้านอุปทานมากกว่าด้านอุปสงค์ โดยปัจจัยด้านอุปทาน อาทิ ราคาน้ำมันโลกที่ไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อผลผลิตทางการเกษตร โดยราคาสินค้าในหมวดพลังงานและอาหารสดส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไปใน 12 เดือนที่ผ่านมาร้อยละ 0.2 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 5 ปีก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.0 (2) ราคาสินค้าและบริการไม่ได้ปรับลดลงในวงกว้าง โดยราคาสินค้าและบริการกว่า 3 ใน 4 ของตะกร้าเงินเฟ้อยังเพิ่มขึ้นหรือไม่เปลี่ยนแปลง และ (3) อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังทรงตัวในกรอบเป้าหมาย               มองไปข้างหน้า อัตราเงินเฟ้อมีความเสี่ยงด้านต่ำตามแนวโน้มราคาพลังงานโลก จากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่อาจต่ำกว่าคาด แนวโน้มราคาอาหารสดที่อาจต่ำกว่าคาดจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย และมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐที่อาจมีเพิ่มเติม คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ทรงตัวใกล้เคียงขอบล่างของกรอบเป้าหมายไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจและไม่ได้ส่งสัญญาณภาวะเงินฝืด อีกทั้งยังมีส่วนช่วยบรรเทาค่าครองชีพของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มที่รายได้ฟื้นตัวได้ช้าหลังจากที่เงินเฟ้อได้เร่งขึ้นไปในช่วงก่อนหน้า โดยกรรมการบางส่วนให้ความเห็นว่ากำลัง การผลิตส่วนเกิน (overcapacity) ของจีน และการแสวงหาตลาดใหม่ของประเทศต่าง ๆ ที่ถูกปรับขึ้นภาษีการค้า อาจทำให้มีสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศเข้ามาแข่งขันกับผู้ประกอบการไทยมากขึ้น ซึ่งจะกดดันภาคการผลิตและระดับราคาสินค้าของไทยเพิ่มเติมในระยะข้างหน้า               การประเมินภาวะการเงินและเสถียรภาพระบบการเงิน ภาวะการเงินยังตึงตัวจากสินเชื่อที่ชะลอลง แม้การขยายตัวและคุณภาพของสินเชื่อในภาพรวมเริ่มมี สัญญาณทรงตัวบ้าง โดยการขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจมาจากสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ ขณะที่สินเชื่อธุรกิจ SMEs โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างยังหดตัวต่อเนื่อง นอกจากนี้ สภาพคล่องเพื่อดำเนิน ธุรกิจของ SMEs ถูกกดดันเพิ่มเติมจากสินเชื่อการค้า (trade credit) ที่แย่ลง โดย SMEs ส่วนใหญ่ประสบปัญหาระยะเวลารับชำระเงินจากลูกหนี้การค้า (credit term) ที่ยาวขึ้น ด้านสินเชื่ออุปโภคบริโภคยังปรับลดลง ส่วนหนึ่งจากครัวเรือนที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง               ทั้งนี้ ยังต้องติดตามแนวโน้มการ ขยายตัวและคุณภาพสินเชื่อในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs และครัวเรือนกลุ่มเปราะบางการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ (household debt deleveraging) ยังคงดำเนินไปต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินในระยะยาวคณะกรรมการฯ แสดงความกังวลในประเด็นสินเชื่อที่ยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวชัดเจน จึงเห็นควรให้ติดตามการขยายตัวและคุณภาพของสินเชื่อโดยเฉพาะสินเชื่อ SMEs และสินเชื่ออุปโภคบริโภคอย่างใกล้ชิด โดยกรรมการบางท่านตั้งข้อสังเกตว่าการกลับมาขยายตัวของสินเชื่อในช่วงปลายปี อาจมาจากปัจจัยเฉพาะจากการที่สถาบันการเงินเร่งปล่อยสินเชื่อให้ถึงเป้าหมาย รวมทั้งคุณภาพสินเชื่อที่ปรับดีขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขายหนี้เสียและตัดหนี้สูญของสถาบันการเงินในช่วงปลายปี นอกจากนี้ กรรมการส่วนหนึ่งแสดงความกังวลต่อการด้อยลงของคุณภาพสินเชื่อกลุ่มรายได้ต่ำที่อาจเริ่มลุกลามมายังกลุ่มรายได้ที่สูงขึ้นรวมถึงคุณภาพสินเชื่อที่ปรับแย่ลงอาจส่งผลให้สถาบันการเงินระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นได้               โดยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเช่าซื้อ ซึ่งฝ่ายเลขานุการฯ ได้ชี้แจงข้อมูลล่าสุดว่าเริ่มเห็นสถาบันการเงินระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นในสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีวงเงินสูงขึ้น จึงต้องติดตามอย่าง ใกล้ชิดต่อไปราคาสินทรัพย์ในตลาดการเงินโลก รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ เคลื่อนไหว ผันผวนจากความไม่แน่นอนของแนวโน้มเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลัก               อย่างไรก็ดี หลังตลาดการเงินประเมินว่านโยบายการค้าของสหรัฐฯ อาจไม่รุนแรงเท่าที่คาดไว้ ราคาสินทรัพย์เสี่ยงจึงปรับเพิ่มขึ้น และเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับอ่อนค่า ค่าเงินบาทปรับแข็งขึ้นจากทั้งปัจจัยภายนอกและ ปัจจัยเฉพาะของไทยที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในบางจังหวะ การระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนโดยรวมยังดำเนินการได้ตามปกติ แต่ต้องติดตามความเสี่ยงของการระดมทุนทดแทนหุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนได้ไม่เต็มจำนวน (rollover risk) ของผู้ออกตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง ด้านดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับลดลง ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามพัฒนาการในตลาดการเงินโลกที่อาจส่งผลต่อตลาดการเงินไทยและความผันผวนของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด การพิจารณานโยบายการเงิน • คณะกรรมการฯ ประเมินว่าสมดุลของความเสี่ยง

UBS overwieghts หุ้นไทย

UBS overwieghts หุ้นไทย

          หุ้นวิชั่น - UBS Global Research ออกบทวิเคราะห์วันที่ 18 มีนาคม 2568 ได้ปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในประเทศไทยเป็น overweight เนื่องจากปัจจัยสำคัญ อาทิ นโยบายรัฐบาล (เช่น มาตรการกระตุ้นทางการคลัง) การฟื้นตัวของการท่องเที่ยว และการฟื้นตัวของการบริโภคแบบ K-shaped จะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับตลาด รวมถึงการไถ่ถอนกองทุน LTF ที่หมดอายุในปี 2568 จะถูกชดเชยด้วยโครงการสิทธิประโยชน์ทางภาษีใหม่ ดังนั้น ความเสี่ยงด้านลบดูเหมือนได้ถูกสะท้อนในราคาไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ โดยมองมูลค่าหุ้นไทยใกล้กับระดับต่ำสุดในช่วงโควิด

DELTA คาดกำไร Q1 โตต่อ อุปสงค์ AI server ฟื้น หนุน เป้า 65 บ.

DELTA คาดกำไร Q1 โตต่อ อุปสงค์ AI server ฟื้น หนุน เป้า 65 บ.

             หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.เคจีไอ ระบุ แนวโน้ม AI server ยังเป็นบวก ในบทวิเคราะห์อุตสาหกรรมของ KGI Taiwan เรื่อง “Radar Monthly IT Hardware: Nvdia GTC to revive AI market sentiment” ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 ทีมวิจัยของ KGI Taiwan ยังคงมองบวกกับแนวโน้มกลุ่ม server หลังจากที่ยอดจัดส่ง server โลกเพิ่มขึ้น 2.8% YoY ใน 4Q67 ทำให้ยอดจัดส่ง server โลกในปี 2567 เพิ่มขึ้น 4% YoY เป็น 11.8 ล้านชิ้น (Figure 1) โดยโมเมนตัมน่าจะเป็นบวกต่อเนื่องในปี 2568F และ คาดว่าจะโตได้ถึง 10% YoY (Figure 2) จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ server ทั่วไป และ การเปลี่ยนมาใช้ AI server เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ CSP รายใหญ่ของสหรัฐน่าจะเดินหน้าใช้งบลงทุน (CAPEX) เพิ่มในปี 2568-2569              โดยคาดว่างบลงทุนดังกล่าวจะโตถึง 32% YoY ในปี 2568F (Figure 4) และ เนื่องจากอุปสงค์จาก CSPs สี่เจ้าใหญ่คิดเป็นสัดส่วนถึง 58% ของอุปสงค์ AI server ทั้งหมดในปี 2567F และ คาดว่าจะคิดเป็น 75% ของอุปสงค์ GB200 ทั้งหมดในปี 2568F จึงคาดว่าสัดส่วนของ AI server จะเพิ่มเป็น 12% ของยอดจัดส่งทั้งหมดในปี 2568F จาก 6% ในปี 2567 (Figure 5)              ในขณะเดียวกัน ความกังวลเกี่ยวกับนโยบายภาษีของ Trump อาจเป็นเหตุให้ i) มีการร่นคำสั่งซื้อ (pull-in orders) เข้ามาในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมก่อนที่ภาษีอัตราใหม่จะมีผลบังคับใช้ และ ii) เกิดกระแสการย้ายฐานการผลิตไปสหรัฐ อย่างเช่น TSMC (2330.TW/ 2330 TT) ที่เพิ่งประกาศแผนลงทุนเพิ่ม 1 แสนล้านดอลลาร์ฯ เพื่อสร้างโรงงานผลิต (fabrication plant) เพิ่มสามแห่ง, โรงงานบรรจุภัณฑ์ขั้นสูง (advanced packaging facilities) สองแห่ง และ ศูนย์ R&D หนึ่งแห่ง แต่เนื่องจากต้นทุนในสหรัฐูสู้กับที่อื่นไม่ค่อยได้ ทางทีมวิจัย KGI Taiwan จึงคาดว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานน่าจะเพิ่มขึ้นในปีหน้า กำไรของ DELTA ใน 1Q68 น่าจะโตได้ QoQ แต่การเติบโต YoY ยังเป็นความท้าทาย              เราคาดว่ากำไรจากธุรกิจหลักของ DELTA ใน 1Q68F จะเพิ่มขึ้น QoQ เนื่องจาก i) น่าจะได้อานิสงส์จากการร่นคำสั่งซื้อเข้ามาเพราะหมวด data center คิดเป็น ~35% ของรายได้รวม ii) GPM เพิ่มขึ้น QoQ เพราะไม่มีการปรับวัตถุดิบ, rebase สำหรับลูกค้า และ การตั้งสำรองสำหรับสินค้าที่มี defect และ iii) ค่าใช้จ่ายอาจจะลดลงเพราะไม่ต้องจ่ายค่า royalty fee ย้อนหลัง อย่างไรก็ตาม เรามองว่าการที่กำไรจะเพิ่มขึ้น YoY ยังเป็นเรื่องท้าทายเพราะ i) ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น YoY จากค่า royalty fee และ ii) ค่าใช้จ่ายภาษีเพิ่มขึ้นจากการที่แนวทาง Global minimum tax มีผลบังคับใช้ ซึ่งจะไปหักล้างกับอัตรากำไรขั้นต้นที่น่าจะเพิ่มขึ้น YoY Valuation & action          ราคาเป้าหมายสิ้นปี 2568 เอาไว้ที่ 65.00 บาท อิงจาก PER ที่ 46.0x (ค่าเฉลี่ยในอดีต) เราเชื่อว่าประมาณการกำไรปี 2568F ของเราค่อนข้างอนุรักษ์นิยมแล้ว โดยยังต่ำกว่าของนักวิเคราะห์ในตลาด 10% ในขณะเดียวกัน ราคาเป้าหมายของเราก็ถูก de-rate ลงมาที่ระดับเท่ากับค่าเฉลี่ยในอดีตแล้ว ทั้งนี้ ราคาหุ้น DELTA ลดลงมา 18% ภายในหนึ่งเดือนหลังจากที่เราปรับลดราคาเป้าหมาย และ ลดลงมาถึง 44% หลังจากที่เราปรับลดคำแนะนำเป็นขายตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 ราคาหุ้นในปัจจุบันมี downside เพียง 9% เราจึงปรับเพิ่มคำแนะนำจาก “ขาย” เป็น “ถือ” Risks              ภัยธรรมชาติ, มีการปิดโรงงานนอกแผน, ลูกค้าเปลี่ยนไปสั่งสินค้าจาก supplier รายอื่น, ขาดแคลนวัตถุดิบ, เงินบาทแข็งค่าขึ้น

หุ้นกลุ่ม AMC วิ่งคึก รับอานิสงค์รัฐเล็งซื้อหนี้เสียมาบริหาร

หุ้นกลุ่ม AMC วิ่งคึก รับอานิสงค์รัฐเล็งซื้อหนี้เสียมาบริหาร

                หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน นายกรกช เสวตร์ครุตมัต ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย เปิดเผยว่า หุ้นกลุ่มบริหารหนี้ หรือ AMC ได้แก่ บริษัท ชโย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (CHAYO), บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (BAM) และบริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) (JMT) วันนี้ ปรับตัวขึ้นโดดเด่น มองว่าจะได้รับประโยชน์เนื่องจากคาดว่ารัฐบาลอาจแบ่งให้เอกชนเข้าไปซื้อหนี้จากรัฐบาลเข้ามาบริหารร่วมกัน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มพอร์ตบริหารหนี้เสียได้อีกทางหนึ่ง                 วานนี้นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง รับแนวคิดของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่จะให้รัฐบาลรับซื้อหนี้เสียประชาชนออกจากธนาคาร มาศึกษา ซึ่งยังต้องติดตามต่อว่าจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ และเงื่อนไขต่างๆ เป็นอย่างไร แต่ในเบื้องต้นมองว่ากลุ่ม AMC น่าจะได้รับ Sentiment บวกจากปัจจัยดังกล่าว

SENA ปิดขายหุ้นกู้ ยอดจองเกินเป้าหมาย

SENA ปิดขายหุ้นกู้ ยอดจองเกินเป้าหมาย

                หุ้นวิชั่น - บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (SENA) ขอบคุณนักลงทุนที่ให้ความเชื่อมั่น ตอกย้ำความสำเร็จปิดการเสนอขายหุ้นกู้ชุดใหม่ 1/2568 อายุ 2 ปี 6 เดือน ด้วยอัตราดอกเบี้ย 5.70% มูลค่าเสนอขายรวม 1,500 ล้านบาท โดยได้รับความสนใจและการตอบรับอย่างดีมากจากนักลงทุนทั่วไปและนักลงทุนสถาบัน (PO) ด้วยยอดจองเกินเป้าหมายที่เสนอขายอย่างรวดเร็ว สะท้อนความมั่นใจในศักยภาพธุรกิจและแผนการเติบโตของบริษัท                 นางสาวอธิกา บุญรอดชู ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดสรรเงินและการลงทุน บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA เปิดเผยว่า ตามที่บริษัทฯ ได้เสนอขายหุ้นกู้ของบริษัท ครั้งที่ 1/2568 อายุ 2 ปี 6 เดือน อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.70% ต่อปี ระหว่างวันที่ 14 และ 17 ถึง 18 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา มูลค่าเสนอขาย 1,500 ล้านบาท เพื่อนำเงินไปใช้ชำระคืนหุ้นกู้เดิมที่ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนมีนาคมนี้ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี นักลงทุนให้ความสนใจจองซื้อหุ้นกู้ จนยอดจองเกินกว่าเป้าที่บริษัทวางไว้ ส่งผลให้ยอดจองซื้อเต็มจำนวนอย่างรวดเร็ว สะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนจำนวนมากมีความเชื่อมั่นในผลการดำเนินงานของบริษัท และศักยภาพการเติบโตของบริษัทในอนาคต                 “บริษัทขอขอบคุณนักลงทุนทุกท่านที่ให้ความสนใจและไว้วางใจลงทุนในหุ้นกู้ของ SENA เป็นอย่างดีเสมอมา ตลอดจนขอขอบคุณบริษัทหลักทรัพย์ผู้จัดจำหน่ายหุ้นกู้ทั้ง 12 แห่ง ได้แก่ บล. เอเซีย พลัส, บล. หยวนต้า (ประเทศไทย),  บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง, บล. โกลเบล็ก, บล.พาย, บล.ดาโอ (ประเทศไทย), บล.ยอนด์, บล. เมย์แบงก์ (ประเทศไทย), บล.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์, บล.ทรีนีตี้, บล.บลูเบลล์ และบล. เอเอสแอล ที่ให้การสนับสนุนบริษัทเป็นอย่างดี ตอกย้ำถึงความเชื่อมั่นที่นักลงทุนมีต่อบริษัท”                 SENA ยังคงมุ่งมั่นเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ด้วยประสบการณ์ยาวนานในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการมีวินัยทางการเงินที่แข็งแกร่ง ตอกย้ำความเป็นผู้นำการอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน (Sustainable Living Leader) โดยมุ่งเน้นตลาด Affordable ที่ยังมีความต้องการสูง พร้อมผลักดันโครงการ LivNex เช่าออมบ้าน เปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดี และยอดขายจากโครงการนี้จะสามารถทยอยรับรู้เป็นรายได้ภายใน 3 ปี ตอกย้ำความแข็งแกร่งของ SENA ในฐานะผู้นำอสังหาริมทรัพย์ที่พร้อมขับเคลื่อนการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

WHA เลื่อนแยก WHAID ความเชื่อมั่นฟู โบรกแนะ ซื้อ ปรับเป้าที่ 4.50 บาท

WHA เลื่อนแยก WHAID ความเชื่อมั่นฟู โบรกแนะ ซื้อ ปรับเป้าที่ 4.50 บาท

                หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.เคจีไอ ระบุ WHA ปรับเพิ่มคำแนะนำกับราคาเป้าหมายและปรับประมาณการกำไรใหม่ เลื่อนแผนการ spin-off ธุรกิจ WHAID ออกไปก่อน ราคาหุ้น WHA Corp (WHA.BK/WHA TB)* ทรุดลงหนักทีเดียวถึง 30% หลังได้ประกาศเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ว่าจะ spin-off ธุรกิจ WHAID ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่มีกำไรสูงโดยดำเนินธุรกิจนิคมฯ ทั้งในประเทศไทยและเวียดนาม รวมถึงการปรับโครงสร้างการถือหุ้นใน WHA Utilities & Power (WHAUP.BK/WHAUP TB) อีกด้วย ต่อมา เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 68 WHA ได้ตัดสินใจที่จะเลื่อนแผนดังกล่าวนี้ออกไปก่อนเพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นนักลงทุนท่ามกลางแนวโน้มตลาดหลักทรัพย์ที่อ่อนแอ แม้ว่าขณะนี้ WHA มีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิ/ส่วนของผู้ถือหุ้น (net IBD/equity) ที่ 1.2x แต่ WHA ก็ยังคงมั่นใจว่าจะสามารถหาแหล่งเงินทุนเพื่อลงทุนใน CAPEX ปีนี้มูลค่า 2 หมื่นล้านบาทได้ อัปเดตธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมอย่างสั้น ๆ                 WHA ตระหนักว่าอุปสงค์ที่ดินนิคม ฯ ยังคงแข็งแกร่ง โดยเฉพาะในประเทศไทย ขณะที่ ยอดขายที่ดินนิคมฯ 1Q68 น่าจะเกินกว่า 700 ไร่ เทียบกับ 749 ไร่ ใน 3Q67 และ 774 ไร่ ใน 4Q67 ในอีกด้านหนึ่ง ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก็น่าจะแข็งแกร่งเกินกว่า 500 ไร่ด้วย เทียบกับ 450 ไร่ใน 4Q67 และ 581 ไร่ใน 1Q67 ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2567 WHA มียอดขายที่รอการโอนกรรมสิทธิ์ ( backlog) สูงที่ 1.535 พันไร่ (70% ของประมาณการยอดโอนที่ดินปี 2568F ของเรา) ที่จะรับรู้เป็นรายได้ในปีนี้ อีกทั้งยังมีหนังสือแสดงเจตจำนง (LOI) และความร่วมมือเบื้องต้น (MOU) โดดเด่นที่ 716 ไร่ (30% ของประมาณการยอดขายที่ดินปี 2568F ของเรา) ที่รอการลงนามในปีนี้ ขณะนี้ WHA ได้ให้ guidance ว่าราคาขายที่ดินนิคม ฯ ในประเทศไทยเฉลี่ยปีนี้อยู่ที่ 5 ล้านบาท/ไร่ เพิ่มจาก 4 ล้านบาท/ไร่ ในปี 2567 ปรับประมาณการกำไรใหม่                 เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2568F ขึ้น 7% อยู่ที่ 4.86 พันล้านบาท (+11.5% YoY) เพื่อสะท้อนสมมติฐานของเราบนราคาขายที่ดินเฉลี่ยสูงขึ้น ส่วนปี 2569F เราประเมินกำไรสุทธิชะลอลงที่ 4.47 พันล้านบาท (-8% YoY) จากยอดขายและโอนที่ดินลดลง อย่างไรก็ดี เราคงยอดขายและโอนที่ดินของเราปี 2568F ไว้ที่ 2.500/2.200 พันไร่ และปี 2569F ที่ 2.250/1.875 พันไร่ (Figure 1) Valuation & Action                 เราปรับเพิ่มราคาเป้าหมาย SOTP ขึ้นที่ 4.50 บาท จากเดิม 3.4 บาท (Figure 2) และปรับเพิ่มคำแนะนำ WHA ขึ้นเป็น “ซื้อ” จากเดิมถือ ส่วน valuation ของธุรกิจที่ดินนิคมอุตสาหกรรม (IE) และธุรกิจธุรกิจสาธารณูปโภคและไฟฟ้า เราก็ปรับเพิ่มจากประมาณการครั้งก่อน บนสมมติฐานการถือหุ้น WHAIDเพิ่มขึ้นเป็น 100% (จาก 76% ตามแผนการ spin-off ก่อนหน้า) และการถือหุ้น WHAUP เพิ่มเป็น 72% (จาก 57% ตามแผนการปรับโครงสร้างก่อนหน้า) อีกทั้งมีการปรับกำไรขึ้นจากการเพิ่มของราคาเฉลี่ยค่าที่ดิน แต่อย่างไรก็ดี เรายังคงใช้ PE ที่ -1SD ในธุรกิจหลักเพื่อสะท้อนโมเมนตัมการเติบโตที่ชะลอตัวในอนาคต ปัจจุบัน WHA เทรดที่ -2SD จากระดับค่าเฉลี่ย Risks ความรวดเร็วในอัตราการเติบโตของ GDP, การเพิ่มขึ้นของต้นทุนสาธารณูปโภคและค่าแรงงานขั้นต่ำ, ความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย ภูมิรัฐศาสตร์โลกและเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI)

TITLE ปักหมุดเสาเอก  3 โครงการใหม่ 1 หมื่นล.

TITLE ปักหมุดเสาเอก 3 โครงการใหม่ 1 หมื่นล.

                 หุ้นวิชั่น - “ร่มโพธิ์ พร็อพเพอร์ตี้” หรือ “THE TITLE” เร่งเดินหน้าตามแผนถือฤกษ์ดีปักหมุดลงเสาเอก 3 โครงการ Leisure Residence ได้แก่ โครงการเดอะ โมเดวา บางเทา (The Modeva Bang-Tao), โครงการ เดอะ ไทเทิล อาร์ทริโอ บางเทา (The Title Artrio Bang-Tao) และโครงการ เดอะ ไทเทิล เซียโล่ ราไวย์ (The Title Cielo Rawai) ซึ่งนับเป็นก้าวแรกสำคัญในการเริ่มดำเนินการก่อสร้าง   หลังผ่านการอนุมัติการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) พร้อมเตรียมลุยก่อสร้างตามแผนที่วางไว้                  นายดรงค์ หุตะจูฑะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ร่มโพธิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ THE TITLE ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ Leisure Residence เพื่อการพักอาศัยและการลงทุนอย่างยั่งยืน กล่าวว่า บริษัทฯ ได้เริ่มเดินหน้าทำพิธีลงเสาเอก โครงการเดอะ โมเดวา บางเทา, โครงการ เดอะ ไทเทิล อาร์ทริโอ บางเทา และ โครงการ เดอะ ไทเทิล เซียโล่ ราไวย์ ตามแผนงานที่วางไว้ หลังทั้ง 3 โครงการได้รับการอนุมัติผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA Approved ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพร้อมและศักยภาพในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์คุณภาพในจ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นทำเลที่มีความน่าสนใจสูงในตลาดอสังหาฯ ทั้งในแง่ของการพักอาศัยและการลงทุน รวมถึงเป็นการยืนยันถึงมาตรฐานการทำงานของบริษัทฯ ที่ให้ความสำคัญกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน รวมถึงยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าและนักลงทุนในการตัดสินใจซื้อโครงการได้มากยิ่งขึ้น                  ด้านนายเวคิน ตั้งกุลวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท ร่มโพธิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพ ถ่ายทอดความตั้งใจและผ่านการคัดสรรในทุกๆ รายละเอียด ทั้งทำเลที่ดี เชื่อมต่อการเดินทางได้หลากหลาย การออกแบบที่เข้าใจผู้อยู่อาศัย และการก่อสร้างที่มีคุณภาพ ส่งมอบโครงการที่อยู่อาศัยได้รวดเร็วตามกำหนด ซึ่งเป็นจุดเด่นสำคัญของเรา ที่ลูกค้าและนักลงทุนให้ความไว้วางใจมาโดยตลอด ผนวกกับความใส่ใจถึงผลกระทบที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญตั้งแต่เริ่มต้น ทำให้ทั้ง 3 โครงการนี้ สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้                  สำหรับ 3 โครงการดังกล่าวประกอบด้วย 1. โครงการเดอะ โมเดวา บางเทา  เป็นโครงการ  Leisure Residences และยังเป็นครั้งแรกของแบรนด์ THE TITLE ที่พัฒนาอาคารที่พักอาศัยที่มีโซน “Pet-Friendly” ภายในโครงการ มาพร้อม Pet Pool & Pet Grooming ตอบโจทย์คนรักสัตว์เลี้ยง มูลค่าโครงการ 6,200 ล้านบาท          กับแนวคิด The Vibes of Pleasure เพียง 500 เมตร ก็ได้สัมผัสความงดงามของชายหาดบางเทา และยังสะดวกสบายใกล้แหล่งลักชูรี่ไลฟ์สไตล์อย่าง Porto De Phuket & Boat Avenue อีกด้วย โครงการเดอะ ไทเทิล อาร์ทริโอ บางเทา ตั้งอยู่ติด Porto de Phuket แหล่งรวมไลฟ์สไตล์ ร้านอาหาร คาเฟ่ ใจกลางย่านบางเทา โดยสามารถเดินเชื่อมต่อด้วยประตูเข้า-ออกจากโครงการ มาพร้อมคอนเซปต์ Live Artfully, Where Creative Retreat Meets Style ที่ถ่ายทอดความงาม และตอบโจทย์การพักผ่อนเสมือน ได้ชมศิลปะในอาร์ทแกเลอรี่ มูลค่าโครงการ 2,600 ล้านบาท ครบครันด้วยส่วนกลางขนาดใหญ่กว่า 41 โซน ทั้ง Outdoor และ Indoor รวมถึงโซนสำหรับสัตว์เลี้ยง Pet Grooming และ Pet Pool & Playground ในอาคาร Pet-Friendly โครงการเดอะ ไทเทิล เชียโล่ ราไวย์ ตั้งอยู่บนทำเลศักยภาพราไวย์ ใกล้หาดราไวย์เพียง 250 เมตร สัมผัสวิถีชีวิตของหมู่บ้านชาวประมง ลิ้มรสอาหารทะเลแบบสดๆ ส่งตรงจากทะเล พัฒนาโครงการภายใต้แนวคิด “The Breeze of Blissful Living” ผสานกลิ่นอายสถาปัตยกรรมชายฝั่งทะเลยุโรป พร้อมสระว่ายน้ำขนาดใหญ่สไตล์ชายหาดล้อมทั่วโครงการ มูลค่าโครงการ 1,200 ล้านบาท

TACC ปันผล 10.9% เยอะสุดในกลุ่มเครื่องดื่ม

TACC ปันผล 10.9% เยอะสุดในกลุ่มเครื่องดื่ม

            หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) ระบุว่า การประชุมโทนเป็นกลางของ TACC ใน Opportunity Day เป็นไปในทิศทางกลาง โดยฝ่ายบริหารเน้นย้ำถึงการเติบโตของรายได้ 10% ในปี 2025F ซึ่งจะมาจากทั้งร้านสะดวกซื้อ 7-11 (คิดเป็น 93% ของยอดขายในปี 2024) และจากแบรนด์ของตัวเอง (น้ำเชื่อมและชา – คิดเป็น 7% ของยอดขายในปี 2024) เราคาดว่ากำไรหลักจะเติบโต 10% สอดคล้องกับยอดขาย จึงคงคำแนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 6 บาท โดยเชื่อว่า TACC สามารถรักษาอัตราการจ่ายเงินปันผล 96% (เท่ากับปี 2024) ซึ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลอยู่ที่ 10.9% ในปี 2025F ณ ราคาหุ้นปัจจุบัน อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่สูงนี้ทำให้หุ้นนี้มีความน่าสนใจท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ สาระสำคัญของการประชุม:             ฝ่ายบริหารเน้นย้ำว่า ยอดขาย อาจเติบโต 10% ในปี 2025F จากทั้ง B2B (ยอดขายที่ร้านสะดวกซื้อ 7-11) และ B2C (ยอดขายแบรนด์ของตัวเอง ซึ่งประกอบด้วยน้ำเชื่อมและชา) ยอดขาย B2B อาจเติบโตไปพร้อมกับยอดขายของร้านสะดวกซื้อ และบริษัทมีแผนจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ (เช่น ชาแอปเปิ้ล) มากขึ้นในปีนี้เพื่อกระตุ้นยอดขาย บริษัทกำลังพิจารณาข้อตกลงการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ แต่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดใดๆ ด้วยราคากาแฟที่สูงขึ้น อาจกดดันอัตรากำไรขั้นต้นของบริษัท แต่ TACC พยายามจัดการโดยล็อกราคาผ่านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงใช้กาแฟที่ราคาถูกกว่า TACC อาจปรับขึ้นราคาขายเพื่อชดเชยต้นทุนสินค้าที่เพิ่มขึ้น หากจำเป็น คงคำแนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 6.00 บาท             TACC ซื้อขายที่ 8.8 เท่าของ P/E ปี 2025 และมองว่าอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ 10.9% ซึ่งสูงที่สุดในกลุ่มเครื่องดื่มนั้นน่าสนใจ ความเสี่ยงหลัก คือการกระจุกตัวของรายได้ (93% ของรายได้รวม) มาจากร้านสะดวกซื้อ 7-11 โดยคาดว่าจะมีการต่อสัญญาทุก สามปี

เปิดโผ 15 หุ้นโดดเด่น โบรกแนะช่วงเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว

เปิดโผ 15 หุ้นโดดเด่น โบรกแนะช่วงเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.พาย ระบุว่า รอติดตามประชุม FED คืนนี้ ด้วยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่เริ่มมีสัญญาณชะลอตัว อาจเห็นถ้อยแถลงผ่อนคลาย หนุนสินทรัพย์เสี่ยง           ตลาดหุ้น Dow Jones เมื่อคืนปิดลบ 260 จุด (-0.6%) ท่ามกลางการซื้อขายที่เป็นไปอย่างระมัดระวังก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐฯจะแถลงผลประชุมในคืนนี้ตามเวลาประเทศไทย ด้านราคาน้ำมันดิบ BRT ปิดลบ 0.72% หลังจากทรัมป์และรัสเซียเจรจากันเกี่ยวกับการยุติสงครามในยูเครน           เมื่อคืนที่ผ่านมาฝั่งสหรัฐฯมิได้มีตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ ทำให้การเคลื่อนไหวของ US Bond Yield ค่อนข้างทรงตัว เพราะนักลงทุนรอติดตามผลประชุม FED ที่จะทราบทางการในคืนนี้ตามเวลาประเทศไทย หรือทราบผลทางการช่วงเช้าวันพฤหัสบดีของประเทศไทย สำหรับผลประชุมครั้งนี้ CME FED Watch ให้น้ำหนักอย่างเป็นทางการว่า FED จะคงดอกเบี้ยระดับเดิม แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญอาจไม่ใช่เรื่องดอกเบี้ยแต่เป็นปัจจัยเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯจากนี้รวมไปถึงการส่งสัญญาณต่อดอกเบี้ยเพราะปัจจุบันเศรษฐกิจสหรัฐฯเผชิญกับตัวเลขเศรษฐกิจที่เริ่มต่ำกว่านักวิเคราะห์ประเมินไว้ประกอบกับมีความเสี่ยงไปทาง Downside Risk จากนโยบายกีดกันการค้า ทำให้อาจเปิดช่องทางในการดำเนินนโยบายที่ผ่อนคลายมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามด้วยการกีดกันการค้าจะเป็นตัวเร่งเงินเฟ้อ จึงต้องรอติดตามว่าจะมีสัญญาณผ่อนคลายหรือไม่ หากส่งสัญญาณก็มองเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นทั่วโลก           ด้านปัจจัยในประเทศเมื่อวานที่ผ่านมากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้รายงานจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยในช่วง 1 ม.ค. – 16 มี.ค. สะสมที่ 8.29 ล้านคน (+3.9%YoY) นับว่าขยายตัวค่อนข้างต่ำและสอดคล้องกับตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วง 1 – 16 มี.ค. ที่ทรงตัว (-0.2%YoY) และหากเทียบกับช่วงปี 19 พบว่า (-14%YoY) ซึ่งอาจสร้างแรงกดดันระยะสั้นต่อกลุ่มท่องเที่ยว           ส่วนการปรับลงของตลาดหุ้นอินโดนีเซียวานนี้ปรับลงไปลึกสุด -7% ก่อนจะฟื้นตัวมาปิดราว -3.8% Bloomberg ประเมินว่าเกิดจากการใช้จ่ายผู้บริโภคที่อ่อนแอและมาตรการประชานิยมของงผู้นำประเทศ รวมไปถึงกระแสเปลี่ยนรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง โดยหุ้นไทยที่มีรายได้จากอินโดนีเซียประกอบไปด้วย BBL SCGP SCC แต่อย่างไรก็ตามเป็นเพียงปัจจัยกดดันระยะสั้นต่อหุ้นข้างต้นเท่านั้น           คืนนี้นอกเหนือประชุม FED รอติดตามสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ Bloomberg Consensus ประเมินไว้ที่ 0.8 ล้านบาร์เรล           วันนี้ประเมิน SET INDEX เคลื่อนไหวในกรอบ 1165 – 1190 ในเชิงกลยุทธ์การลงทุน Valuation หุ้นไทยอาจไม่แพงแต่ถึงอย่างนั้นกลยุทธ์การลงทุนยังคงสำคัญท่ามกลางการเติบโตหลังจากนี้ที่อาจมิได้โดดเด่นเท่าใดนัก หุ้นที่ควรให้ความสนใจยังเป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่มีความสามารถในการแข่งขันที่สูง เป็นผู้นำอุตสาหกรรม อำนาจต่อรองกับลูกค้าสูง อาทิ โรงพยาบาล (BDMS) ท่องเที่ยว (CENTEL MINT) ศูนย์การค้า (CPN) ค้าปลีก (BJC CPALL HMPRO) ธนาคารพาณิชย์ (BBL KBANK KTB SCB) ส่งออก (ITC TU) นิคมอุตสาหกรรม (AMATA WHA) CPN (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 87.00 บาท) กำไรสุทธิ 4Q24 3,898 ล้านบาท แต่ถ้าไม่รวมรายการพิเศษที่เป็นการปรับปรุงบัญชีจากการถือหุ้นใน Grab Thailand กว่า 497 ล้านบาท จะมีกำไรปกติถึง 4,392 ล้านบาท (+11%YoY,+7%QoQ) ดีกว่าที่เราคาดไว้เพราะค่าใช้จ่ายการบริหารมีเพียง 2,706 ล้านบาท (เราคาดไว้ที่ 3,000 ล้านบาท) สำหรับรายได้ยังเห็นการเติบโตดีทั้งจากธุรกิจให้เช่าพื้นที่และโรงแรม ส่วนอสังหาโตดีจาก 3Q24 แต่ลดลงจาก 4Q23 แนวโน้มในปี 25 คาดว่าจะยังเติบโตได้ดี จากการเปิดศูนย์ใหม่ 2 แห่ง และออฟฟิศ 1 แห่ง WHA (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 5.20 บาท) การนำ WHAID เข้าจดทะเบียนเลื่อนไปอย่างน้อย 2-3 ปี โดยไม่กระทบกับแผนการลงทุนที่ตั้งไว้ ซึ่งผู้บริหารให้เหตุผลว่า เงินที่ได้จากการ spin off ส่วนหนึ่งเตรียมไว้สำหรับการ M&A กิจการที่มองว่ามีโอกาสเสริมธุรกิจของ WHA ส่วนแผนการเพิ่มพื้นที่เช่าอีก 200000 ตร.ม. ทางผู้บริหารมีความมั่นใจเพราะจะมีการตั้งโรงงานเพิ่มที่เวียดนามหลายที่

ชี้เป้า 10 หุ้นน่าสนใจ ต่างชาติทยอยเก็บ

ชี้เป้า 10 หุ้นน่าสนใจ ต่างชาติทยอยเก็บ

             หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.ธนชาต ระบุ เริ่มเห็น Sentiment “บวก” หลังต่างชาติกลับมาซื้อหุ้นไทยเมื่อวานนี้ 886 ล้านหลังจากที่ขายติดต่อกัน 6 วัน ขณะที่โบรคต่างชาติ UBS ได้ปรับคำแนะนำหุ้นไทยเป็น “Overweight” จาก “Neutral ” โดยมองว่า Valuation อยู่ในระดับที่น่าสนใจ ใกล้เคียงกับระดับช่วงเกิดโควิด และเชื่อว่าราคาที่ปรับลดลงได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว นอกจากนี้การออก Thai ESG Extra ช่วยชดเชยกับเงินที่จะครบกำหนดของ LTF              ซึ่งถ้าเทียบหุ้นที่ Valuation น่าสนใจ กำไรเติบโตดี และเริ่มเห็นสัญญาณต่างชาติสะสม แนะนำ “ซื้อ” 1. กลุ่มที่เห็น Fund Flow ไหลเข้า ชอบ CENTEL CBG MINT CKP 2. กลุ่มที่ Fund Flow ไหลออก แต่พื้นฐานดี มีโอกาสเห็น Fund flow ไหลเข้าอีกครั้ง ชอบ KBANK CPALL TRUE BDMS CPN WHA

GULF-INTUCH นับถอยหลังควบรวม ซื้อขายวันสุดท้ายพรุ่งนี้ 20 มี.ค. หนุนกำไร แตะ 25,504 ลบ.โต 15%

GULF-INTUCH นับถอยหลังควบรวม ซื้อขายวันสุดท้ายพรุ่งนี้ 20 มี.ค. หนุนกำไร แตะ 25,504 ลบ.โต 15%

                หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง GULF ว่า โค้งสุดท้ายก่อนการควบรวมกิจการ ซื้อขายวันสุดท้ายวันที่ 20 มี.ค. 68 ก่อนหยุดพักการซื้อขาย 9 วัน NewCo ผสานพลังธุรกิจโรงไฟฟ้า-ICT คาดกำไรปี 2025 โต 15% แตะ 25,504 ล้านบาท พร้อมศักยภาพขยายตัวต่อเนื่อง ราคาเหมาะสม 53.25 บาท เริ่มต้นคำแนะนำ “TRADING” จับตาอัปไซด์จากคลื่น กสทช. หนุนต้นทุนลด                 การควบรวมกิจการระหว่าง GULF-INTUCH เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายคือ การจัดประชุมผู้ถือหุ้นร่วมในวันที่ 25 มี.ค. 2025 ทั้งนี้หุ้น GULF และ INTUCH จะหยุดพักการซื้อขายหุ้นเป็นระยะเวลา 9 วันทำการ ตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค. 2025 ถึงวันที่ 2 เม.ย. 2025 ดังนั้นนักลงทุนต้องถือหุ้นในวันที่ 20 มี.ค. ซึ่งเป็นวันซื้อขายวันสุดท้ายหากจะแปลงเป็น NewCo โดยระบบจะเปลี่ยนเป็น NewCo ให้โดยอัตโนมัติภายใต้ Ratio 1 หุ้น GULF ต่อ 1.0297                 หุ้นในบริษัทใหม่และ 1 หุ้น INTUCH ต่อ 1.6934 หุ้นในบริษัทใหม่ ระยะสั้นยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมาก...รอดูความชัดเจนหลังการควบรวม ภายหลังการควบรวม NewCo จะเป็นบริษัทฯ ที่มีธุรกิจหลัก 2 ธุรกิจ คือ ธุรกิจโรงไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐาน                 ธุรกิจ ICT ภายใต้ ADVANC ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีความคล้ายคลึงกับโครงสร้างเดิมก่อนการควบรวมกิจการ                 ทั้งนี้เรามองว่าในระยะยาวบริษัทฯ จะมีการนำองค์ความรู้ของแต่ละธุรกิจมาเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล อย่างไรก็ตามในระยะสั้นคาดยังไม่เห็น Synergy ที่มีนัยสำคัญระหว่างทั้ง 2 บริษัทฯ (คาดยังเน้นไปที่การลงทุนตามแผนเดิมก่อนการควบรวม)                 ทั้งนี้เรามองว่าภายหลังกระบวนการควบรวมเสร็จสิ้นบริษัทฯ จะมีการเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเติบโตของ NewCo ในระยะยาว หลังคาด Net IBD/E ของ NewCo จะอยู่ที่เพียง 0.9 เท่า เทียบกับ GULF ที่ราว 1.9 เท่า (มีความสามารถในการกู้ยืมที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการควบรวม)คาดกำไรปกติของ NewCo เติบโตต่อเนื่อง เนื่องจากทั้งธุรกิจไฟฟ้าและ ICT                 เบื้องต้นคาดกำไรปกติปี 2025 ของ NewCo ที่ 25,504 ล้านบาท เติบโต 15% YoY (อิงกำไรจากงบเสมือนปี 2024 ที่ 22,240 ล้านบาท) หนุนจากการเริ่มรับรู้รายได้และส่วนแบ่งกำไรจากโครงการใหม่ที่ COD ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และส่วนแบ่งกำไรจาก ADVANC ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงการเริ่มรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากธุรกิจ Data Center และหากมองไปปี 2026-27 คาดกำไรปกติของ NewCo จะยังสามารถเติบโต YoY ได้ต่อเนื่องจากการ COD โครงการใหม่ของธุรกิจโรงไฟฟ้าและ ARPU ของธุรกิจมือถือและ Broadband ที่เพิ่มขึ้น                 นอกจากนี้ประมาณการของเรายังมี Upside เพิ่มเติมจากการเปิดประมูลคลื่นรอบใหม่ของ กสทช. ในช่วง 2Q-3Q25 ที่มีโอกาสส่งผลให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายของ ADVANC ลดลงได้ราว 1.0-2.0 พันล้านบาท/ปี (เป็น Upside ให้กับราคาเหมาะสมของ NewCo ได้ราว 0.25-0.75 บาท/หุ้น) เริ่มต้นคำแนะนำ “TRADING” อิงราคาเหมาะสม 53.25 บาท/หุ้น                 เราประเมินราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2025 ของ NewCo ที่ 53.25 บาท/หุ้น โดยใช้วิธี Sum of the Part (SOTP) โดยเราประเมินธุรกิจโรงไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานด้วยวิธี DCF บน WACC 6.4% และ Terminal Growth ที่ 0% และเราประเมินมูลค่าเงินลงทุนในส่วนของ ADVANC และ THCOM โดยใช้ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2025 ที่ 296.00 บาท/หุ้น และ 16.50 บาท/หุ้น ตามลำดับ และหักลดด้วย Discount 10% โดยหากอิงราคาปิดของ GULF และ INTUCH ณ วันที่ 18 มี.ค. ที่ 49.50 บาท/หุ้น และ 80.00 บาท/หุ้น ตามลำดับ จะคิดเป็นราคา NewCo ที่ราว 47.80 บาท/หุ้น มี Upside เพียง 11.4% จึงเริ่มต้นคำแนะนำ “TRADING”                 ความเสี่ยงที่สำคัญ: การปรับสัญญาซื้อขายไฟฟ้าของภาครัฐ การปรับแผน PDP ของภาครัฐ การแข่งขันในอุตสาหกรรม ICT ที่รุนแรงกว่าคาดความต้องการใช้งาน Data Center ที่น้อยกว่าคาดขั้นตอนการควบรวมกิจการโค้งสุดท้าย                 การควบรวมกิจการระหว่าง GULF-INTUCH กำลังจะเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย คือการจัดประชุมผู้ถือหุ้นร่วมระหว่างผู้ถือหุ้น GULF และ INTUCH เพื่อพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการควบรวมบริษัท เช่น ชื่อของ NewCo (“Gulf Development”) และการอนุมัติทุนจดทะเบียน เป็นต้น โดยการประชุมดังกล่าวจะเกิดขึ้นในวันที่ 25 มี.ค. 2025 เวลา 15.30 น. โดยจะเป็นการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ทั้ง GULF และ INTUCH ได้มีการกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวไปแล้วเมื่อวันที่ 22 ก.พ. ที่ผ่านมา)                 ทั้งนี้หุ้น GULF และ INTUCH จะหยุดพักการซื้อขายหุ้นเป็นระยะเวลา 9 วันทำการ ตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค. 2025 จนถึง วันที่ 2 เม.ย. 2025 ดังนั้นนักลงทุนจะต้องมีหุ้นในวันที่ 20 มี.ค. 2025 ซึ่งจะเป็นวันซื้อขายวันสุดท้ายหากจะแปลงเป็น NewCo โดยนักลงทุนที่ถือหุ้นถึงสิ้นวันที่ 20 มี.ค. 2025 ระบบจะเปลี่ยนเป็น NewCo ให้ภายใต้อัตราส่วน 1 หุ้น GULF ต่อ 1.0297 หุ้นในบริษัทใหม่ และ 1 หุ้น INTUCH ต่อ 1.6934 หุ้นในบริษัทใหม่ หรือคิดเป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบ (Swap Ratio) ระหว่าง GULF-INTUCH ที่ 1.6444 ทั้งนี้หุ้นของ NewCo จะเริ่มซื้อขายในวันที่ 3 เม.ย. 2025 (กลับมาซื้อขายในกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค)

“MMM” จ่อขาย PO 64.20 ล้านหุ้น  นำร่อง LiVEx ยกชั้นเทรด mai

“MMM” จ่อขาย PO 64.20 ล้านหุ้น นำร่อง LiVEx ยกชั้นเทรด mai

             หุ้นวิชั่น - ก.ล.ต.นับหนึ่งไฟลิ่ง บมจ. เอ็มเอ็มเอ็ม แคปปิตอล หรือ MMM หนึ่งในผู้นำด้านตัวแทนการขายอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้การให้บริการที่ปรึกษาด้านการขายและการตลาดแก่ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาฯ และซื้อขายอสังหาฯ เตรียมเสนอขายหุ้น PO จำนวน 64.20 ล้านหุ้น พร้อมระบุ MMM จะเป็นบริษัทแรกใน LiVEx ที่ก้าวสู่การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) เล็งนำเม็ดเงินจากการระดมทุน สยายปีกเพื่อสร้างโอกาสการเติบโต ก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านการเป็นที่ปรึกษาด้านการขายและการตลาดเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร              นางสาวเดือนพรรณ ลีลาวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไพโอเนีย แอดไวเซอรี่ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของ บริษัท เอ็มเอ็มเอ็ม แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ MMM  เปิดเผยว่า หลังจากที่ MMM ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (แบบไฟลิ่ง) และแบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่วไป (PO) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. โดยล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต.นับหนึ่งแบบไฟลิ่ง MMM เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2568 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเพื่อเสนอขายหุ้น PO จำนวนไม่เกิน 64,200,000 หุ้น หรือคิดเป็น 21.40% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 0.50 บาท เพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) หมวดอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง              สำหรับหุ้นที่เสนอขายในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) หุ้นสามัญเพิ่มทุนไม่เกิน 52,200,000 หุ้น คิดเป็นไม่เกิน 17.40% และ 2) หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย บริษัท ณัชชา โฮลดิ้ง จำกัด ไม่เกิน 12,000,000 หุ้น คิดเป็นไม่เกิน 4.00% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้              ปัจจุบัน MMM ดำเนินธุรกิจเป็นตัวแทนการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยทุกประเภท                ให้กับเจ้าของโครงการ ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม รวมถึงการวางแผนกลยุทธ์       ทางการตลาดและการขายผ่านเครือข่ายนายหน้าอิสระ นอกจากนี้ บริษัทฯ ทำธุรกิจซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ โดยการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีสภาพดีนำมาปรับปรุงเพื่อจำหน่าย ธุรกิจของ MMM สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ที่ปรึกษางานขายโครงการ (BU1) โดยเป็นตัวแทนขายอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงผู้เดียว ให้กับเจ้าของโครงการ เพื่อให้บริการแนะนำติดต่อผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย ตลอดจนประสานงานเพื่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาฯ ระหว่างผู้ซื้อและเจ้าของโครงการจนกว่าแล้วเสร็จ การบริหารงานขายโครงการ (BU2) เป็นตัวแทนขายและรับประกันการขายแต่เพียงผู้เดียว เพื่อให้บริการ แนะนำ ติดต่อผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย ตลอดจนประสานงานเพื่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ระหว่างผู้ซื้อและเจ้าของโครงการจนกว่าแล้วเสร็จ นอกจากนี้ MMM ให้บริการบริหารงานขายแบบวางหลักประกันการซื้อ (Hybrid) ซึ่งเป็นการรวมรูปแบบการให้บริการที่ปรึกษางานขายโครงการ (BU1) ในช่วงแรก และสิทธิในการเลือกเป็นการบริหารงานขายโครงการแบบรับประกันการขาย (BU2) ในช่วงที่สอง การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ (BU3) เป็นการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีสภาพดีนำมาปรับปรุงเพื่อจำหน่าย “MMM มีศักยภาพความโดดเด่น ด้านความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการวางแผนการตลาดที่สามารถตอบโจทย์ทุกความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้ครบทุกมิติ ส่งผลให้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 บริษัทฯ มีโครงการอสังหาฯ ภายใต้สัญญาให้บริการและรอการขายสำหรับ BU1  BU2 และ BU3 รวมจำนวน 25 โครงการ  848 ยูนิต ซึ่งกระจายในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี ชลบุรี ระยอง และจังหวัดอื่นๆ ครอบคลุมทั้งบ้านเดี่ยว  บ้านแฝด ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม”              นางสาวณิชา โรจน์วัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็มเอ็มเอ็ม แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ MMM เปิดเผยว่า MMM ถือว่าเป็นบริษัทแรกที่ย้ายจากตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ (LiVEx) เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ ดังนั้น การเข้าระดมทุนในครั้งนี้ ถือเป็นอีกก้าวที่สำคัญของบริษัทฯ   ที่จะเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว รวมถึงยังเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสในการดำเนินธุรกิจสู่การต่อยอดการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนในอนาคต สอดรับกับแนวคิดภายใต้               การเป็น “เพื่อนคู่คิด นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์”              สำหรับเม็ดเงินจากการระดมทุนในครั้งนี้ บริษัทฯ นำไปขยายธุรกิจ โดยใช้ในการวางเป็นเงินประกันสัญญาในธุรกิจการให้บริการที่ปรึกษางานขายโครงการ (BU1) และสัญญาการให้บริการบริหารงานขายโครงการ (BU2) รวมทั้งสัญญาการให้บริการบริหารงานขายแบบวางหลักประกันการซื้อ (Hybrid) อีกทั้งยังใช้เพื่อการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในธุรกิจการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ (BU3) และส่วนที่เหลือเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรองรับการขยายธุรกิจ เพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้นำในด้านการเป็นที่ปรึกษาด้านการขายและการตลาดเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร ตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ ควบคู่กับการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนและสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น ภายใต้นโยบายการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิจากงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทฯ ภายหลังการหักภาษีเงินได้นิติบุคคล และการจัดสรรเงินทุนสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทฯ              อย่างไรก็ตาม จากความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจ สะท้อนถึงผลการดำเนินงานในปี 2565 - 2567 โดยบริษัทฯ มีรายได้จากการขายและบริการเท่ากับ 168.08 ล้านบาท 255.66 ล้านบาท และ 357.88 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่กำไรสุทธิ และอัตรากำไรสุทธิเท่ากับ 35.09 ล้านบาท 47.74 ล้านบาท และ 80.76 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิร้อยละ 20.62 ร้อยละ 18.49 และร้อยละ 22.39 ตามลำดับ              จากการเติบโตดังกล่าว บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายที่จะขยายธุรกิจให้เติบโตและสามารถสร้างผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ผ่านการเพิ่มเครือข่ายนายหน้าอิสระเพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ขยายฐานการเข้าถึงผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อเพิ่มยอดขาย รวมถึงการรักษามาตรฐานและคุณภาพในการให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าปัจจุบันพร้อมกับการขยายการให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าใหม่ เพื่อการเติบโตของรายได้ในอนาคต

ฟินันเซีย ชู ICHI หุ้นเด่น ปันผลเร้าใจ 9% - เช็กเป้าเลย!

ฟินันเซีย ชู ICHI หุ้นเด่น ปันผลเร้าใจ 9% - เช็กเป้าเลย!

              หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) คาดว่า SET Index จะแกว่ง Sideways ในกรอบ 1,170-1,185 จุด โดยประเมินว่าความผันผวนอาจลดลง และคาดว่าตลาดจะรอติดตามการประชุม FED คืนนี้ ซึ่งแม้ว่าจะคงดอกเบี้ยค่อนข้างแน่ แต่โฟกัสจะอยู่ที่ถ้อยแถลงหลังการประชุมเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ รวมถึงประมาณการเศรษฐกิจและ Dot Plot ใหม่ โดยล่าสุด Survey ของ BofA ระบุว่าตลาดลดการถือครองหุ้นสหรัฐฯ และโยกไปหาฝั่งยุโรปและตลาดเกิดใหม่ (EM) รวมถึงถือเงินสดมากขึ้น               ส่วนภาพ Sector: ตลาดลดน้ำหนักกลุ่มเทคโนโลยีและพลังงานลง แต่เพิ่มในกลุ่ม Consumer Staple, ธนาคาร และสาธารณูปโภค สะท้อนความระมัดระวังที่มากขึ้น ด้านสงครามล่าสุด แม้รัสเซียจะปฏิเสธการหยุดยิงกับสหรัฐฯ แต่ระบุว่าจะหลีกเลี่ยงการโจมตีโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน ส่งผลให้ค่าน้ำมันดิบกลับมาชะลอตัวลงอีกครั้ง ส่วนปัจจัยในประเทศวานนี้ ครม. ยังไม่เห็นชอบมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ อย่างที่ตลาดคาดหวัง โดยต้องติดตามต่อในสัปดาห์หน้า ภาพรวม:               เราประเมินว่า SET Index ที่ปรับตัวร่วงแรงราว 20% จาก High เดือน ต.ค. 24 ทำให้ Valuation ระยะกลาง-ยาวน่าสนใจ โดยเทรด PER และ PBV เพียง 12.5 เท่า และ 1.13 เท่า ตามลำดับ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยช่วงก่อนโควิดอย่างมีนัยยะ ทำให้ยังมองเป็นจังหวะในการทยอยสะสม โดยยังคงชอบกลุ่ม Domestic และ Tourism-Related Play ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำกว่ากลุ่ม Global-Related Play ที่อาจถูกกระทบจากความไม่แน่นอนของประเด็นการค้าและเศรษฐกิจโลก ส่วนระยะสั้นเน้น Selective หุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว กลยุทธ์: ยังเน้น Selective Buy หุ้นที่มีแนวโน้มแข็งแกร่งในปี 2025 และ Valuation ต่ำกว่าช่วงก่อนโควิดอย่างมีนัยยะ หุ้นเด่นเดือนมี.ค.: BA, BTG, CPALL, MTC, PR9 FSSIA Portfolio: BA, BBL, BTG, CPALL, MTC, NSL, PR9, SEAFCO, SHR หุ้นเด่นวันนี้: ICHI แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 16 บาท               เบื้องต้นคาดกำไร 1Q25 ทรงตัว q-q และ y-y แต่จะเริ่มขึ้นใน 2Q25 จาก High Season หลังได้ลูกค้า OEM เต็มไตรมาส รวมถึงเตรียมออกสินค้าใหม่หลายรายการในช่วง 1H25 แผนการขายที่ดิน คาดจะแล้วเสร็จและบันทึกกำไรได้ใน 2Q-3Q25 ขณะที่ปัจจุบันพันธมิตรเริ่มสร้างโรงงานแล้ว คาดแล้วเสร็จและเริ่มเปิดได้กลางปี 2026 จุดเด่นของ ICHI ยังอยู่ที่ Valuation ที่ถูก ปัจจุบันเทรด PER เพียง 11 เท่า และให้ Dividend Yield ทั้งปีสูงราว 9% แนวรับ 12 บาท, แนวต้าน 13/14 บาท Fund Flow:               วานนี้กระแสเงินทุนต่างชาติยังคงผสมผสาน แต่สุทธิแล้วพลิกมาไหลเข้าภูมิภาคบางๆ US$69 ล้าน เม็ดเงินไหลเข้ากาหลีใต้ US$278 ล้าน แต่ไหลออกจากไต้หวัน US$74 ล้าน ส่วนด้านอาเซียนไหลออกสูงสุดที่ อินโดนีเซีย US$150 ล้าน แต่ไหลเข้าประเทศไทย US$26 ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนคาดทรงตัวโดยรอติดตามผลการประชุมและถ้อยแถลงของประธาน FED คืนนี้ ประเด็นสำคัญวันนี้:               (0) ความกังวลเศรษฐกิจอินโดนีเซีย อาจเป็น sentiment เชิงลบต่อนักลงทุนที่มีรายได้ในตลาดอินโด โดยบริษัทในกลุ่มอาหารเครื่องดื่มที่มีสัดส่วนรายได้ขายไปยังอินโดนีเซียได้แก่ SAPPE คาดสัดส่วนไม่เกิน 10% ของรายได้รวม, TKN 10-15%, RBF สัดส่วนราว 7.8%, SNNP ต่ำกว่า 1%, ICHI 0.7% เรามองข่าวอินโดเป็นเพียง sentiment เชิงลบต่อนักลงทุนกลุ่มนี้ แต่คาดผลกระทบจำกัด เพราะส่วนใหญ่เป็นสินค้าอาหารเครื่องดื่มซึ่งเป็นสินค้าจำเป็น โดยเฉพาะ RBF ที่ขาย food coating ไปยังผู้ผลิตอาหารที่จำเป็นต่อการบริโภค ส่วน SCGP มีสัดส่วนรายได้จากอินโดนีเซียราว 14% (+) GFPT               Valuation อยู่ในระดับต่ำมากและต่ำที่สุดในกลุ่มเนื้อสัตว์ ราคาหุ้นของ GFPT ปรับตัวลดลงไปถึง 20% ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา และปัจจุบันมีการซื้อขายที่เพียง 6.6x 2025E P/E คาดกำไร 1Q25 จะฟื้นตัวดี q-q หุ้นมีปัจจัยบวกหลายประการ เช่น ราคาหมูดี, ราคาวัตถุดิบลดลง และส่วนแบ่งกำไรที่ฟื้นตัว คงประมาณการกำไรสุทธิปี 2025 ที่ 1.56 พันล้านบาท และราคาเป้าหมาย 12.5 บาท, ยังแนะนำ “ซื้อ” (+) EGCO               ปี 2025 บริษัทตั้งงบลงทุนราว 3 หมื่นล้านบาท เพื่อเพิ่มกำลังผลิต ขณะที่รายได้ปี 2025 คาดจะลดลงหลังโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน QPL ฟิลิปปินส์ 460MW ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าหลักที่มีสัดส่วนกำไรจากการดำเนินงานกว่า 24% ของ EGCO แต่จะถูกชดเชยจากโรงไฟฟ้าลม Yunlin 640MW ที่เริ่ม COD ตั้งแต่ต้นปีนี้ และโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน APEX สหรัฐ ที่มีโอกาสเติบโตสูง คาดแนวโน้มกำไรปี 2025 คงที่ y-y บริษัทคงนโยบายจ่ายเงินปันผล 6.50 บาท/หุ้น/ปี Yield 7% ราคาหุ้นที่ลงลึกจนเทรด P/BV เพียง 0.48 เท่า ขณะที่ Downside มีจำกัด น่าจะเป็นโอกาสลงทุน

SM ปักธงปี 68 รายได้โต 10-15% แย้มช่องทาง Ecommerce เปิด Q3/68

SM ปักธงปี 68 รายได้โต 10-15% แย้มช่องทาง Ecommerce เปิด Q3/68

หุ้นวิชั่น -บมจ.สตาร์ มันนี่ (SM) เปิดเกมรุกปี 68 เดินหน้าขยายฐานลูกค้าผ่านการขยายสาขา และคู่ค้าพันธมิตร พร้อมเพิ่มสินค้าใหม่สร้างความหลากหลายตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มศักยภาพทางด้านการแข่งขัน ขณะที่แพลตฟอร์ม Ecommerce คาดเปิดให้บริการช่วงไตรมาส 3/68 ฟากบอสใหญ่ “ชูศักดิ์ วิวัฒน์วงศ์เกษม” ตั้งเป้ารายได้เติบโตไม่ต่ำกว่า 10-15% ออลไทม์ไฮต่อเนื่อง สอดรับกลยุทธ์ที่แข็งแกร่ง ตอกย้ำราชาสินเชื่อเงินผ่อนแห่งภาคตะวันออก             นายชูศักดิ์ วิวัฒน์วงศ์เกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท สตาร์ มันนี่ จำกัด (มหาชน) หรือ SM ผู้นำในการให้บริการสินเชื่อรายย่อยแบบมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน ภายใต้ชื่อแบรนด์ “สตาร์ มันนี่” (Star Money) ถือเป็นผู้จัดจําหน่ายรายใหญ่ในภาคตะวันออกของไทย รวมถึงผ่าน Platform E-Marketplace เปิดเผยว่า แนวโน้มผลงานปี 2568 บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายรายได้รวมเติบโตไม่ต่ำกว่า 10-15% ออลไทม์ไฮต่อเนื่อง โดยมีแผนจะเพิ่มจำนวนสาขาที่ให้บริการทั้งการขายสินค้าและให้บริการทางการเงินเป็น 91 สาขา ซึ่งจะเป็นสาขาที่ตั้งอยู่บนทำเลดีและมีศักยภาพ ส่วนช่องทาง Platform online ต่างๆ ที่อยู่ระหว่างช่วงของการวางระบบและแผนงาน คาดจะสามารถให้บริการได้ในไตรมาส 3/68             ปัจจุบัน สตาร์ มันนี่ มีสาขารวมทั้งสิ้น 98 สาขา แบ่งเป็น สาขาหลักให้บริการทั้งจำหน่ายสินค้า ประเภทขายสดและขายผ่อนชำระ โดยมีคลังสินค้าประจำสาขา รวมถึงให้บริการปล่อยสินเชื่อ 16 สาขา, สาขาย่อยให้บริการประเภทขายสดและขายผ่อนชำระ รวมถึงให้บริการปล่อยสินเชื่อ 71 สาขา และ สาขา Express ให้บริการเหมือนสาขาหลัก แต่จะมีขนาดที่เล็กกว่า 8 สาขา             ขณะเดียวกัน วางแผนจะขยายการบริการผ่านสาขาคู่ค้าหรือพันธมิตร ทั้งคู่ค้าทางด้าน Green Energy, ด้านจำหน่ายตู้แช่เชิงพาณิชย์, ด้านจำหน่ายเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญครบวงจร และเดินหน้าหาพันธมิตรใหม่ทางธุรกิจ อีกทั้งจะเพิ่มสินค้าใหม่เพื่อเข้าถึงความต้องการของลูกค้าในยุค EV หรือ Energy Saving เช่น สินค้า Solar Rooftop และ รถจักรยานไฟฟ้า EV เป็นต้น             นอกจากนี้ ยังได้มีการวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพทางด้านการแข่งขัน อย่างการใช้เครื่องมือ Machine Learning เพื่อช่วยในการตัดสินใจอนุมัติสินเชื่อ และช่วยในการบริหารหนี้ รวมถึงช่วยเจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ส่วน Data Analytics จะเน้นนำข้อมูลของลูกค้ามาวิเคราะห์เพื่อสร้างสิทธิประโยชน์เข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า             สำหรับผลการดำเนินงานงวดปี 2567 ที่ผ่านมา บริษัทฯ มีรายได้รวมเท่ากับ 1,545.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 165.25 ล้านบาท หรือ 11.97% จากปีก่อนที่มีรายได้รวม 1,379.85 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 50.58 ล้านบาท พร้อมกันนี้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลสำหรับงวดปี 2567 (มกราคม-ธันวาคม 2567) ให้กับผู้ถือหุ้นเป็นเงินสด ในอัตราหุ้นละ 0.03 บาท รวมเป็นเงินปันผลทั้งสิ้นไม่เกิน 33,000,000 ล้านบาท โดยกำหนดขึ้น XD วันที่ 7 พฤษภาคม และกำหนดวันจ่ายเงินปันผล ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2568

AH ต้องฝ่ามรสุม ผลิตรถยนต์เหนื่อย

AH ต้องฝ่ามรสุม ผลิตรถยนต์เหนื่อย

            หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง AH ว่า สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์วันที่ 18 มี.ค. 2025 ► บริษัทให้ข้อมูลแนวโน้มผลประกอบการใน 1Q25 ยังมีโอกาสชะลอตัว QoQ, YoY ตามอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์จากตัวเลขยอดผลิตรถของประเทศไทยในเดือน ม.ค. ตามที่ส.อ.ท. รายงาน -25% YoY ► บริษัทให้มุมมองต่อแนวโน้มอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ปีนี้ ยังไม่สดใสนัก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ระดับสูงทำให้สถาบันเข้มงวดปล่อยสินเชื่อ และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง นอกจากนี้ยังถูกดึงส่วนแบ่งตลาดจาก EV ที่ช่วงแรกยังเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงตลาดรถมือ 2 ที่ราคาตกต่ำ ทำให้ยอดซื้อรถใหม่ลดลง ซึ่งต้องรอติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐในการช่วยเหลือผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีหลายฝ่ายเสนอ เช่น มาตรการสนับสนุนสินเชื่อรถกระบะ และรถเก่าแลกรถใหม่ ► การฟื้นตัวของผลประกอบการ AH จะค่อยเป็นค่อยไป ปี 2025 ตั้งเป้ารายได้ใกล้เคียงปีก่อน แต่คาดอัตรากำไรจะดีกว่าปีก่อน โดยกลยุทธ์การลงทุนในปีนี้ยังเน้นการควบคุมต้นทุนที่เข้มงวดมาก ขณะที่ธุรกิจตัวแทนจำหน่าย (dealership) มีการปรับแบรนด์ใหม่ส่งผลให้อัตรากำไรดีขึ้น ► ปัจจุบันธุรกิจ EV ทำรายได้ราว 5% ของรายได้รวม สำหรับปีนี้มีคำสั่งซื้อจากค่าย CHANGAN และ BYD คาดจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยรับรู้รายได้ปีนี้เต็มปี และจำนวนยอดผลิตรถ EV ที่ค่ายรถยนต์จากจีนต้องผลิต EV มากกว่าปีก่อนตามเงื่อนไขที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาล Our Take ► แนวโน้ม 1Q25 คาดผลประกอบการยังชะลอตัวต่อเนื่อง YoY ตามที่สภาอุตสาหกรรมรายงานตัวเลขผลิตรถยนต์ในเดือน ม.ค. -25% YoY เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้น ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงทำให้สถาบันเข้มงวดปล่อยสินเชื่อและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง นอกจากนี้ยังถูกดึงส่วนแบ่งตลาดจาก EV ที่ช่วงแรกยังเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงตลาดรถมือ 2 ที่ราคาตกต่ำส่งผลให้ยอดซื้อรถใหม่ลดลง ทำให้ค่ายรถยนต์ยังคงปรับลดกำลังการผลิตลง ► ปี 2025 ภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ยังเผชิญความท้าทาย เรามองการลงทุนที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่และกำลังซื้อภายในประเทศที่ยังเปราะบาง เรามองว่าเป้ายอดผลิตรถยนต์ในปีนี้ที่ 1.5 ล้านคันเติบโต 2% มี downside risk ส่วนตลาด EV สำหรับค่ายรถยนต์จีนที่มาตั้งฐานการผลิตในไทย จะเริ่มเดินหน้าผลิต EV มากขึ้นตามมาตรการสนับสนุนการลงทุนจากภาครัฐ แต่ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ามาจำหน่าย อย่างไรก็ตามด้วยค่ายรถจีนส่วนใหญ่มีซัพพลายเออร์ของตัวเองตามมาด้วย มูลค่าคำสั่งซื้อที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยได้รับจึงไม่สูงมากนัก AH มีคำสั่งซื้อจากค่ายรถยนต์ BYD และ CHANGAN แต่มูลค่าไม่สูงมากนัก เราคงประมาณการกำไรปกติปี 2025 ที่ 885 ล้านบาท (+3% YoY) ► เราปรับคำแนะนำจาก “Trading” เป็น “ซื้อ” เราคาดผลประกอบการจะเข้าช่วงต่ำสุดใน 2Q25 ก่อนที่จะฟื้นตัวใน 2H25 จากฐานต่ำ ราคาหุ้นปรับลดลงสะท้อนผลประกอบการที่อ่อนแอ และเพิ่งขึ้นเครื่องหมาย XD ไปเมื่อ 13 มี.ค. 2025 ที่ผ่านมา ซึ่งลงมาซื้อขายที่ PER เพียง 5.0X ซึ่งสะท้อนปัจจัยลบไปพอสมควร เราคงมูลค่าพื้นฐานปี 2025 ที่ 15.50 บาท อิง PER เฉลี่ย 3 ปี -0.50 SD ที่ 6.20x

SCB คาดค่าเงินบาทวันนี้ กรอบ 33.55-33.75 บ./ดอลลาร์

SCB คาดค่าเงินบาทวันนี้ กรอบ 33.55-33.75 บ./ดอลลาร์

             หุ้นวิชั่น - กลุ่มงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 33.55-33.75 บาท/ดอลลาร์ ค่าเงินบาทยังเคลื่อนไหว Sideway พร้อมดัชนีเงินดอลลาร์หลังเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (industrial production) ออกมาที่ 7%MOM สูงกว่าตลาดคาด และเลขการก่อสร้างที่อยู่อาศัยออกมาสูงขึ้น นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย และ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เตรียมหารือทางโทรศัพท์กับวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียบรรลุข้อตกลงหยุดยิงด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐาน และเริ่มเจรจาการหยุดยิงระยะยาว แต่ปูตินตั้งเงื่อนไขให้สหรัฐฯ ระงับการสนับสนุนด้านอาวุธและข่าวกรองแก่ยูเครน สมาชิกสภานิติบัญญัติเยอรมนีผ่านร่างกฎหมายงบประมาณมูลค่า 5 แสนล้านยูโร

AUCT น่ากังวล Supply รถยึดแนวโน้มลดลงต่อ

AUCT น่ากังวล Supply รถยึดแนวโน้มลดลงต่อ

              หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง AUCT ว่า ถูกกดดันจาก Supply รถยึดที่มีแนวโน้มลดลงในช่วง 1-2 ปีนี้ Event วานนี้ผู้บริหารให้ข้อมูลธุรกิจในงาน Opportunity Day และเราสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้ ► แนวโน้ม Supply ของรถยึดจากสถาบันการเงิน ที่จะไหลเข้าสู่ลานประมูลคาดว่าจะลดลงจากปี 2024 หลังได้รับผลกระทบจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของธนาคารที่เพิ่มขึ้น ทั้งมาตรการ Responsible Lending ที่ให้ธนาคารต้องเจรจากับลูกหนี้เพื่อปรับโครงสร้างทั้งก่อนและหลังจากเป็น NPL รวมถึงมาตรการ “คุณสู้ เราช่วย” ที่จะมีผลในช่วง 3 ปีนี้ คาดทำให้การยึดรถของสถาบันการเงินช้าลง กระทบกับรายได้ค่าธรรมเนียมประมูลซึ่งเป็นรายได้หลักของบริษัท ► ผู้บริหารมองว่า ประเด็นดังกล่าวจะมีผลในระยะสั้น-กลาง แต่ในระยะยาวปริมาณรถยึดจะเพิ่มขึ้น คล้ายกับช่วง COVID-19 ที่มีการดำเนินมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้จำนวนมาก แต่พอมาตรการดังกล่าวครบกำหนด หนี้เสียและรถยึดก็จะกลับมาเพิ่มขึ้น ► ในช่วงที่จำนวนรถยึดน้อยลง ผู้บริหารตั้งเป้าที่จะเพิ่มรายได้จากบริการอื่นๆ เสริมเข้ามา เช่น บริการขนส่งรถ, บริการประมูลอสังหาฯ, บริการจัดไฟแนนซ์ให้กับผู้ประมูล (AUCT Fin) และล่าสุดบริษัทได้เปิด สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) เพื่อดึงให้ลูกค้าใช้บริการต่างๆ ผ่านทางบริษัทให้มากที่สุด และในอนาคตจะต่อยอดเพิ่มบริการขายประกัน พรบ. เป็นอีกแหล่งรายได้ใหม่ ► ปัจจุบัน AUCT มีลานจอดรถยึด 45 แห่ง และมีโรงประมูล 13 โรง โดยปีนี้จะสร้างลานจอดเพิ่มอีก 4 แห่ง เพื่อรองรับรถยึดที่จะมีระยะเวลาจอดในลานนานขึ้น ตามเกณฑ์ของ สคบ. (เปิดโอกาสให้ลูกหนี้มาชำระหนี้เพื่อไถ่ถอนรถคืน) Our Take               เรามีมุมมองเป็นลบ จากข้อมูลที่ได้ในงาน Opportunity Day โดยภาพรวมคาดปี 2025 AUCT จะมีกำไรสุทธิ 362 ลบ. ลดลง 2.5% YoY หลังรายได้ค่าธรรมเนียมประมูลลดลงจากปริมาณรถยึดของสถาบันการเงินที่เข้าสู่ลานประมูลน้อยลง ขณะที่รายได้ค่าบริการอื่นๆ มองว่ายังมีผลบวกไม่พอที่จะชดเชยปัจจัยลบข้างต้น ทำให้เรามองว่าผลดำเนินงานของ AUCT ยังไม่เด่นและมีโอกาสจะซึมลงในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า               เราคงคำแนะนำเพียง “Trading” และคงมูลค่าพื้นฐานปี 2025 เดิมที่ 8.30 บาท แม้เราคาดกำไรสุทธิของ AUCT จะชะลอตัว แต่จุดเด่นของ AUCT อยู่ที่การจ่ายปันผลสูง และคงนโยบาย Div. Payout Ratio สูงกว่า 95% มานาน ทำให้คาดยังมีความน่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการหุ้นปันผลสูง ล่าสุดบริษัทประกาศจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิ 2H24 หุ้นละ 0.32 บาท คิดเป็น Div. Yield 4.3% (XD วันที่ 11 เม.ย. และจ่ายปันผลวันที่ 2 พ.ค.) และคาดจะจ่ายปันผลหุ้นละ 0.65 บาท ในปี 2025 คิดเป็น Div. Yield 8.8%

PIS คว้าบิ๊กโปรเจค พัฒนาระบบ ERP กฟภ.มูลค่า 2.9 พันลบ.

PIS คว้าบิ๊กโปรเจค พัฒนาระบบ ERP กฟภ.มูลค่า 2.9 พันลบ.

           หุ้นวิชั่น - บมจ.โปร อินไซด์ (PIS) สุดยอด! ประกาศบิ๊กดีลส่งท้ายไตรมาส 1/68 คว้างานบิ๊กโปรเจค พัฒนาระบบ ERP ให้กับ กฟภ.มูลค่ากว่า 2.9 พันล้านบาท ดัน Backlog พุ่งแตะ 5,938 ล้านบาท แม่ทัพหญิง "เบญญาภา เฉลิมวัฒน์" ระบุถือเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงศักยภาพ ผู้ให้บริการ ICT Solution ครบวงจร ที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ แย้มยังมีอีกหลายโปรเจคที่อยู่ระหว่างการยื่นประมูลระดับพันล้านบาท มั่นใจช่วยผลักดันผลงานในช่วง 1-3 ปี ข้างหน้า เติบโตอย่างก้าวกระโดด สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น            นางสาวเบญญาภา เฉลิมวัฒน์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โปร อินไซด์ จำกัด (มหาชน) (PIS) ผู้ให้บริการ ICT Solution ครบวงจร  เปิดเผยว่า ตามที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ออกเอกสารประกวดราคาจ้างงานจัดหา พัฒนา ติดตั้ง และดูแลบำรุงรักษา ระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning: ERP) ของ กฟภ. ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิคส์ (e-bidding) นั้น บริษัทฯ ได้ยื่นข้อเสนอราคางานโครงการฯ ดังกล่าว และในวันที่ 3 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา กฟภ. ได้ประกาศให้บริษัทฯ เป็นผู้ชนะการเสนอราคา โดยมีมูลค่าโครงการเป็นเงินทั้งสิ้น 2,938,220,000 บาท (สองพันเก้าร้อยสามสิบแปดล้านสองแสนสองหมื่นบาทถ้วน) ซึ่งเป็นราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว            "การได้รับงานเมกะโปรเจคพัฒนาระบบ ERP ของ กฟภ.ในครั้งนี้ ตอกย้ำให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจที่มีต่อ PIS ในฐานะผู้ให้บริการ ICT Solution ครบวงจร ส่งผลให้งานในมือรอรับรู้รายได้ (Backlog) เพิ่มจาก 3,000 ล้านบาท เป็น 5,938 ล้านบาท และมีงานที่อยู่ระหว่างการยื่นประมูลและรอการประมูลหลายโปรเจค มูลค่าหลักพันล้านบาท ผลักดันผลการดำเนินงานในช่วง 1-3 ปีข้างหน้า เติบโตอย่างก้าวกระโดด สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น"             นางสาวเบญญาภา กล่าวอีกว่า ในช่วงที่เหลือของปีนี้ PIS ยังคงเดินหน้าเข้าประมูลงานด้านไอซีทีของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นจุดแข็งที่สำคัญของบริษัทฯ ภายใต้ทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นมืออาชีพ มีประสบการณ์มายาวนาน ได้รับความไว้วางใจจากภาครัฐ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่นๆ ที่มีแผนขยายการลงทุน และเปิดประมูลโครงการใหม่ๆ ต่อเนื่องทุกปี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น สอดรับนโยบายของรัฐบาล ทำให้มั่นใจว่าแนวโน้มรายได้ในปี 2568 จะเติบโตเกิน 15% ทำสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง            โดยตั้งแต่ปลายปี 2567 จนถึงต้นปี 2568 บริษัทฯได้งาน 2 โปรเจคใหม่ร่วมกับพันธมิตรผ่านกิจการค้าร่วม พี ที เอ็น พี ใอ (PTNPI) ในงานจ้างดูแลบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสำหรับธุรกิจหลัก (รชธ.) และบูรณาการระบบงานที่เกี่ยวข้อง มูลค่าโครงการ 1,504.42 ล้านบาท  และกิจการค้าร่วม เอสพี (SP Consortium) ในโครงการจัดซื้อระบบคลาวด์กลางด้านสาธารณสุขของประเทศไทยกับ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT) มูลค่า 992 ล้านบาท            ขณะที่ผลการดำเนินงานของ PIS ในปี 2567 (สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2567) มีรายได้จากธุรกิจหลักรวม 1,472 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 37% จากปีก่อนที่ทำไว้ 1,077 ล้านบาท สร้างสถิติสูงสุดใหม่ และมีกำไรสุทธิ 103 ล้านบาท

DUSIT ทุ่ม 2 พันลบ. ผุดโครงการหรูหัวหิน เริ่มขายปีนี้

DUSIT ทุ่ม 2 พันลบ. ผุดโครงการหรูหัวหิน เริ่มขายปีนี้

หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) (DUSIT) เปิดเผยว่า บริษัท ดุสิต อจารา หัวหิน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่มีทุนจดทะเบียนและชำระแล้ว 569.09 ล้านบาท โดยมีบริษัท ดุสิต ฮอสปิตัลลิตี้ เซอร์วิสเซส จำกัด (บริษัทย่อยที่ดุสิตถือหุ้นร้อยละ 99.9) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ร้อยละ 82 อยู่ในระหว่างการเตรียมพัฒนาโครงการที่พักอาศัย (residences) บนที่ดินจำนวน 20 ไร่ 20 ตารางวา ริมถนนเพชรเกษม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินที่ต่อเนื่องกับที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงแรมดุสิตธานีหัวหิน และมีชื่อโครงการว่า ดุสิต อจารา หัวหิน               โครงการดุสิต อจารา หัวหิน เป็นโครงการที่พักอาศัยระดับบน (high-end) ที่ออกแบบมุ่งเน้นความเป็นอยู่ที่ดี (well-being) โดยมีแนวคิดการอยู่อาศัยสำหรับลูกค้าทุกช่วงวัยในพื้นที่เดียวกัน (multi-generational living) และก่อสร้างโดยใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการนี้มีมูลค่าโครงการประมาณ 2,000 ล้านบาท และคาดว่าจะเริ่มขายในปีนี้ โดยมีสำนักงานขายตั้งอยู่ในที่ตั้งของโครงการ และการก่อสร้างจะเริ่มประมาณปี 2569 แหล่งเงินทุนหลักมาจากรายได้จากการขายและสินเชื่อโครงการ (project finance)               ประโยชน์ที่ได้รับจากการลงทุน โครงการดุสิต อจารา หัวหิน เป็นไปตามกลยุทธ์ของบริษัทในการขยายหน่วยธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของบริษัท และการใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (maximizing asset utilization)               การคำนวณขนาดรายการโครงการดุสิต อจารา หัวหิน มีขนาดรายการตามเกณฑ์มูลค่าสิ่งตอบแทน ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่มีขนาดรายการสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 4.70 ของสินทรัพย์รวมของบริษัท ตามงบการเงินฉบับตรวจสอบ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567

SAWAD ผลงานกำลังฟื้น แนะ “ซื้อ” - เช็กเป้าเลย!

SAWAD ผลงานกำลังฟื้น แนะ “ซื้อ” - เช็กเป้าเลย!

               หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด ระบุถึง SAWAD ว่า Earning Review 4Q24: กำไรสุทธิเท่ากับ 1.28 พันล้านบาท (-6.2% QoQ, -0.3% YoY) จาก NII ที่ลดลงตาม Yield on loan ที่ปรับลดลง ขณะที่ CoF ที่สูงขึ้น กดดัน NIM ให้ปรับลดลงเหลือ 13.73% (-94 bps QoQ) สินเชื่อชะลอตัว -3% QoQ, -4% YoY ด้านคุณภาพสินทรัพย์ NPLs ratio เพิ่มขึ้นเป็น 3.58% (+10 bps QoQ) จากการ Write-off ลูกหนี้ รวมถึงการชะลอตัวของสินเชื่อผลกระทบจากความตึงตัวในการระดมทุนในตลาดหุ้นกู้และความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อใหม่ Gross NPLs ทำได้ดีขึ้น ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานดีขึ้นจากแนวโน้มผลขาดทุนจากรถยึดเริ่มลดลงรายได้ค่าธรรมเนียมชะลอตัวลงตามสินเชื่อ FY24: กำไรสุทธิ 5.2 พันล้านบาท ทรงตัวจากปีก่อน ประกาศจ่ายหุ้นปันผลในอัตรา 10:1 (เท่ากับปีก่อน) เงินปันผล 0.04 บาท/หุ้น ขึ้น XD 8 พ.ค. Outlook กำลังฟื้นตัว                ผู้บริหารตั้งเป้าสินเชื่อเติบโต 10-15%เนื่องจากสภาพคล่องดีขึ้นจากการคาดหวังการระดมทุนในตลาดหุ้นกู้ที่กลับมาสู่สภาวะปกติ Focus ในสินเชื่อจำนำทะเบียนเป็นหลัก ภายใต้ความเข้มงวดของการปล่อยสินเชื่อ (LTV ยังคงอยู่ในระดับต่ำ)สินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์มองว่ามีโอกาสเติบโตNIM อาจปรับตัวขึ้นได้เล็กน้อยจาก CoF ที่มีแนวโน้มลดลงใน 2H25Fจากการได้รับอันดับ Credit rating ที่ A- จากเดิมที่ BBB+ จากทริสเรทติ้งNPLs ratio ที่ 3-4% และ Credit cost ที่ 1.8-2.0% (ปี 24 = 2%) ธุรกิจนายหน้าประกันภัย                ตั้งเป้ายอดเบี้ยประกันวินาศภัยเติบโต 30-50%ได้รับใบอนุญาตให้ขายประกันผ่านช่องทางออนไลน์ เป้า D/E ในกรอบ 1.7-2.0 เท่า เทียบกับปีก่อนที่ 2.2 เท่า ประเมินกำไรสุทธิปีนี้ขยายตัวเพียง 4% แต่แนะนำ “ซื้อ” ด้วย Upside ที่สูง คาดการณ์กำไรสุทธิปี 25F เท่ากับ 5.46 พันล้านบาท +4% YoYโมเมนตัมของผลประกอบการจะเติบโตเด่นในช่วง 2H25Fสินเชื่อคาดขยายตัว 10%Credit cost ลดลงเล็กน้อยจากปีก่อนมาที่ 1.9%ROE ปรับตัวลงเหลือ 15.7% จากผลของการจ่ายหุ้นปันผลมองเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากเป็นการเพิ่มสภาพคล่องแก่บริษัทเพื่อเร่งปล่อยสินเชื่อ แนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมาย 40.25 บาท อิง PBV 1.77 เท่า ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยย้อนหลังระยะยาว (4.9 เท่า) – 1.25 SDตลาดตอบรับความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของบริษัทมากเกินไปผู้บริหารมีแผนที่จะจ่ายหุ้นปันผลพร้อมเงินสดอย่างต่อเนื่อง แต่จะเพิ่มอัตราการจ่ายเป็นเงินสดขึ้นจากปีก่อนที่ 1.2% Upside ปัจจุบันน่าสนใจ                บริษัทตั้งเป้าสินเชื่อเติบโต 10-15% เน้นสินเชื่อจำนำทะเบียน ภายใต้การปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวด (LTV ต่ำ) ขณะที่ NIM มีโอกาสปรับขึ้นเล็กน้อยจาก CoF ที่ลดลงใน 2H25F หลังได้รับการปรับอันดับ Credit Rating เป็น A- NPLs ratio คาดอยู่ที่ 3-4% และ Credit cost อยู่ที่ 1.8-2.0%ธุรกิจนายหน้าประกันตั้งเป้าเบี้ยประกันวินาศภัยเติบโต 30-50% หลังได้รับใบอนุญาตขายออนไลน์มีแผนจ่ายปันผลเป็นหุ้นและเงินสดต่อเนื่อง แต่จะเพิ่มสัดส่วนการจ่ายเงินสดมากขึ้นคาดกำไรสุทธิปี 25F อยู่ที่ 5.46 พันล้านบาท (+4% YoY) โมเมนตัมเติบโตเด่นใน 2H25F แนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 40.25 บาท อิง PBV 1.77x ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว

ราคาทองเช้าวันนี้ พุ่ง! +250 ทองรูปพรรณ ขายออก 49,050 บ.

ราคาทองเช้าวันนี้ พุ่ง! +250 ทองรูปพรรณ ขายออก 49,050 บ.

              หุ้นวิชั่น – เช้าวันที่  19 มีนาคม 2568 สมาคมค้าทองคำ ได้แจ้งราคาทองคำซึ่ง “ ราคาปรับขึั้น 250 บาท ” โดยการซื้อขายครั้งที่ 1 ราคาทองแท่ง ปัจจุบันรับซื้ออยู่ที่ 48,150.00 บาท ราคาขายออกอยู่ที่ 48,250.00 บาท ส่วนราคาทองรูปพรรณ รับซื้ออยู่ที่ 47,284.04 บาท และราคาขายออกอยู่ที่ 49,050.00 บาท

CENTEL ท่องเที่ยวหนุน โรงแรมขยายตัว 20% - เป้า 41 บ.

CENTEL ท่องเที่ยวหนุน โรงแรมขยายตัว 20% - เป้า 41 บ.

              หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด ระบุถึง CENTEL ว่า เติบโตต่อเนื่องในปี 2025 ► CENTEL รายงานกำไรสุทธิปี 2024 ที่ 2.3 หมื่นล้านบาท เติบโต 6.9% YoY โดยธุรกิจโรงแรมทำสถิติสูงสุดจากการเติบโตของ RevPar ในไทยและญี่ปุ่น ขณะที่ธุรกิจอาหาร +4% YoY และกำไรสุทธิ 1.75 พันล้านบาท +40% YoY ► ในปี 2025 ธุรกิจโรงแรมคาดขยายตัว 20% จากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวและการขยายโรงแรม 9 แห่ง ขณะที่ธุรกิจอาหารคาดรายได้ +10% จากการเปิดแบรนด์ใหม่และขยายสาขา ► แนะนำ “ซื้อ” โดยมีราคาเป้าหมาย 41.00 บาท อิง PE เฉลี่ยย้อนหลัง 2 ปี – 1.5 S.D. ที่ 26.8 เท่า Earnings Review               รายงานผลประกอบการปี 2024 ออกมาที่ 2.3 หมื่นล้านบาท เติบโต +6.9% YoY โดยรายได้ธุรกิจโรงแรมทำ Record High +12% YoY ได้รับแรงหนุนจาก RevPar (รายได้เฉลี่ยต่อห้องพักทั้งหมดในโรงแรม) ที่เติบโตโดดเด่น โดยเฉพาะในไทยและญี่ปุ่น ในขณะที่ธุรกิจอาหาร SSSG อยู่ในระดับคงที่ แต่ยอดขายรวมโต 4% YoY ผ่านการเปิดแบรนด์ใหม่ 2 แบรนด์ ได้แก่ NAMA และ Katsu Midoriด้านต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการขายสามารถควบคุมได้ผ่านโครงการควบคุมต้นทุนของบริษัท ทำให้ทั้งปีมีกำไรสุทธิที่ 1.75 พันล้านบาท +40% YoY Outlook               แนวโน้มธุรกิจโรงแรมในปี 2025 คาดการท่องเที่ยวจะเติบโตตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาสู่ไทย โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3-5%ในไทยคาดจำนวนนักท่องเที่ยว ราว 38-40 ล้านคน, มัลดีฟส์ 2.2-2.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากการขยายสนามบิน ด้านญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดใหม่ มีผลประกอบการ 2024 ค่อนข้างโดดเด่น และคาดว่าปี 2025 จะสามารถเติบโตได้ต่อเนื่องจากการจัดงาน Expo ที่โอซาก้า ตั้งแต่เดือนเมษายนไปจนถึงเดือนตุลาคมแผนขยายธุรกิจของ CENTEL มีแผนขยายโรงแรมเพิ่ม 9 แห่ง แบ่งเป็นโรงแรมที่เป็นเจ้าของเอง 2 แห่งโรงแรมในเครืออีก 7 แห่งมีการพิจารณาทำ JV และธุรกิจใหม่ เพื่อเพิ่มรายได้ ประกอบกับการทำโครงการเพื่อลดต้นทุนอย่างต่อเนื่อง คาดว่าปีนี้ ธุรกิจโรงแรมจะสามารถเติบโตได้ระดับ Double Digit แนวโน้มธุรกิจอาหาร               อุตสาหกรรมอาหารโลกขยายตัวราวปีละ 5% โดยมีแนวโน้มหลักดังนี้เกิดแบรนด์ใหม่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง แบรนด์อาหารจากจีนเริ่มรุกตลาดมากขึ้นอาหารในกลุ่ม Premium ได้รับความนิยมมากขึ้นแบรนด์อาหารส่วนใหญ่ได้รับความนิยมและเสื่อมความนิยมอย่างรวดเร็วเกิดสินค้าใหม่ขึ้นอย่างต่อเนื่องเริ่มใช้คนน้อยลงผ่านการ Optimize การประกอบอาหาร ด้าน CENTEL มุ่งเน้นไปที่:               การเพิ่มรายได้ในกลุ่มอาหาร Top แบรนด์ เปิดสาขาเพิ่มเพิ่มระดับ SSSG หากการเติบโตใหม่ในกลุ่มลูกค้าใหม่ผ่านการออกสินค้าใหม่ในแบรนด์เดิม เพิ่มประสิทธิภาพในการทำกำไรพัฒนา Gross Profit ในกลุ่มธุรกิจ Deliveryเพิ่ม Labor Productivity โดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนจัดสรรพื้นที่ร้านอาหารให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพิ่มแบรนด์อาหารใหม่ตั้งเป้าธุรกิจอาหารเติบโต 10-13%SSSG +3-5%ร้านอาหารทั้งหมด 1,400 สาขา แบรนด์อาหารใหม่ 2-3 แบรนด์ แนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมาย 41.00 บาท               คาดการณ์รายได้ปี 2025 จะอยู่ที่ 2.9 หมื่นล้านบาท +6.9% ธุรกิจโรงแรมเติบโต +20% YoY จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นและการเปิดโรงแรมใหม่ ธุรกิจอาหารคาดว่าจะขยายตัวได้ 10% YoY ผ่านการเปิดสาขาร้านอาหารใหม่และเพิ่มแบรนด์อาหารใหม่คาดการณ์กำไรสุทธิอยู่ที่ 2.07 พันล้านบาท +12.3% YoYแนะนำ “ซื้อ” มีราคาเป้าหมายที่ 41.00 บาท อิง PE เฉลี่ยย้อนหลัง 2 ปี – 1.5 S.D. ที่ 26.8 เท่า ปัจจัยเสี่ยง: เศรษฐกิจชะลอตัว ต้นทุนที่สูงขึ้น จำนวนนักท่องเที่ยวไม่เป็นไปตามที่คาดภาวะสงครามในยุโรป การแข่งขันด้านราคา               ประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืน:ตั้งเป้าปล่อย คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050ติดตั้ง โซลาร์เซลล์ 8 โรงแรมลดปริมาณการใช้น้ำต่อห้องพัก (Environmental - E)มุ่งพัฒนาและยกระดับพนักงานโดยให้การสนับสนุน การศึกษา ความก้าวหน้าในอาชีพ สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Social - S) CENTEL ได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิก S&P Global Sustainability Yearbook Member ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ได้รับการประเมินจาก MSCI ESG ในระดับ A ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 (Governance - G)

ASL ชูหุ้น tock Pick 'OSP' เป้าเชิงกลยุทธ์ที่ 16.20 บาท

ASL ชูหุ้น tock Pick 'OSP' เป้าเชิงกลยุทธ์ที่ 16.20 บาท

             หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด คาดแนวโน้ม SET Index Sideway ในกรอบ 1,160-1,185 จุด โดยตลาดรอผลการประชุม เฟด แม้ว่าจะคาดว่าคงดอกเบี้ยในครั้งนี้ที่ 4.25-4.50% แต่รอถ้อยแถลงของ พาวเวล และรายงานคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) ของเจ้าหน้าที่เฟด และตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจ เช่น GDP และเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดี นักลงทุนคาดว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงทั้งสิ้น 0.60% ในปีนี้ แม้เจ้าหน้าที่เฟดหลายคนได้เตือนไม่ให้เฟดปรับอัตราดอกเบี้ยเร็วเกินไป และควรรอดูผลกระทบของมาตรการภาษีศุลกากรที่จะสะท้อนให้เห็นในข้อมูลเศรษฐกิจก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน              ด้าน ทรัมป์-ปูติน เห็นพ้องกันที่จะให้มีการหยุดยิงเป็นเวลา 30 วัน ต่อเป้าหมายด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานในการทำสงครามยูเครน และจะมีการเริ่มต้นเจรจาหยุดยิงในวงกว้างขึ้นโดยทันที ส่วนด้านสถานการณ์ ตึงเครียดในตะวันออกกลาง ทรัมป์ได้ขู่ว่าจะโจมตีกลุ่ม ฮูตี จนกว่าจะยอมยุติการโจมตีเรือสินค้าในทะเลแดง และเตือนว่า อิหร่าน จะต้องรับผิดชอบต่อการโจมตีใด ๆ ในอนาคตที่เกิดจากกลุ่มฮูตี ปัจจัยในประเทศ              นักลงทุนสถาบันมีโอกาสเข้ามาทำ Window Dressing จาก performance ของ SET Index ที่ปรับตัวลงกว่า 16% YTD รวมถึงเป็นโอกาสในการเข้าซื้อสะสมหุ้นเพื่อรับ ปันผล ในช่วง เม.ย.-พ.ค. ส่วนในเชิง valuation ราคาปัจจุบันซื้อขายบน PBV ที่ 1.12 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง -2.5 SD และ EYG สูงกว่า 6% แนะนำทยอยสะสมหุ้นใน SET50 หุ้นเด่นที่แนะนำ: AOT, BEM, CPALL, CPAXT, CRC, PTT, OSP, WHA ขณะที่ ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หนุน fund flow ไหลเข้า ติดตาม: การประชุม เฟด (FOMC) การประชุม BoE (Bank of England) การประชุม BoJ (Bank of Japan) Stock Pick: OSP – ผลงานรอการพิสูจน์ เป้าเชิงกลยุทธ์ที่ 16.20 บาท ผลงานรอการพิสูจน์              OSP รายงานกำไรจากการดำเนินงานปกติงวด 4Q24 เท่ากับ 615 ล้านบาท (-8.5% QoQ, +3.8% YoY) โดยหดตัว QoQ จากค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่เพิ่มขึ้นตามปัจจัยฤดูกาล รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการปรับโครงสร้างด้านการลงทุนและกำลังการผลิต รวมถึงมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยคิดเป็น C/I ที่ 28.2% เทียบกับ 26% ใน 3Q24              ส่วนด้าน รายได้จากการขาย +6.3% QoQ เติบโตเด่นใน ยอดขายต่างประเทศ +40.7% QoQ, +41.0% YoY โดยหลักมาจากยอดขายใน เมียนมา, ลาว, อินโดนีเซีย ส่วนในประเทศ -9% YoY จากช่องทางค้าปลีกที่หดตัวตามภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่ม Energy drink ขณะที่ GPM ทำ New High ที่ 38.5% (+2.4% QoQ, +3.0% YoY) จากราคาต้นทุนวัตถุดิบและพลังงานที่ลดลง การส่งออกไปต่างประเทศเพิ่มขึ้น และการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตที่ดีขึ้น              ด้านกำไรจากการดำเนินงานปกติทั้งปี เท่ากับ 3.04 พันล้านบาท (+39.3% YoY) แต่กำไรส่วนที่เป็นของบริษัทเท่ากับ 1.6 พันล้านบาท (-31.8% YoY) เนื่องจากมีรายการพิเศษจากการปรับโครงสร้างธุรกิจกว่า 1.4 พันล้านบาท ประกอบไปด้วย การด้อยค่าเงินลงทุนใน Basecamp Brews Limited (BCB) การตั้งสำรองเงินให้กู้ยืมแก่ บริษัท อินโนเวชั่น ออฟ เอ็กซ์พีเรียนซ์ จำกัด (iEX) ใน 2Q การจำหน่ายเงินลงทุนในธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายขวดแก้วในเมียนมา และอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนใน 3Q ผลขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนจากการเลิกกิจการ Shark AG และ Osotspa Europe Limited ใน 4Q มุมมองตลาด              ตลาดรับรู้การแข่งขันของตลาด Energy drink ในประเทศพอสมควรแล้ว โดยผู้บริหารตั้งเป้าเติบโตในส่วนนี้ 3-5% และจะเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดอีก 2-5% จากสิ้นปี 24 ที่ 45.8% ผ่านการปรับราคาขาย M-150 ในราคา 10 บาท ส่วนเป้า GPM คาดทรงตัวที่ 37.3%              แต่ด้าน C/I คาดว่าจะลดลงหลังไม่มีรายการพิเศษ ส่วนในเชิง Valuation ซื้อขายบน Fwd PE ที่ 15.8 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยภูมิภาคที่ 23.8 เท่า ราว 34% เป็นจุดที่น่าสะสมระยะกลาง-ยาว โดย Bloomberg ประเมินกำไรสุทธิปีนี้ที่ 3.0 พันล้านบาท ราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 19.84 บาท              ทั้งนี้ ได้ประกาศ จ่ายปันผล 0.30 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend Yield ที่ 1.9% ขึ้น XD 8 พ.ค. แนวรับ 15.30-15.00 บาท (ไม่ควรต่ำกว่าลงมา) แนวต้าน 15.70 / 16.20 บาท

ILM เป้าขยาย 4 สาขา กระตุ้นยอด - ลุยแบรนด์ใหม่

ILM เป้าขยาย 4 สาขา กระตุ้นยอด - ลุยแบรนด์ใหม่

                หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ILM ว่า Key Point ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 68 ยังมีความท้าทายจากกำลังซื้อที่ลดลง และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ยังไม่ฟื้นตัว ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้ม เติบโตชะลอลงจาก 4.4% ในปี 67 เหลือ 3.3% ในปี 68 ซึ่งส่งผลต่อสินค้า คงทน (Durable Goods) อย่างเฟอร์นิเจอร์ที่ ILM จำหน่าย                 ในปี 68 บริษัทตั้งเป้าขยาย 4 สาขาใหม่ แบ่งเป็น Index Living Mall 1 สาขาที่เชียงรายและ The Little Walk 3 สาขา อย่างไรก็ตาม การเปิดสาขาใหม่มีความจำเป็นต่อการกระตุ้นยอดขาย เนื่องจากยอดขายสาขาเดิม (Same Store Sales) มีแนวโน้มลดลงจากกำลังซื้อที่อ่อนแอ อีกทั้งบริษัทยังเดินหน้าส่งแบรนด์ใหม่ "Flying Tiger Copenhagen" เสริมทัพและขยายฐานลูกค้า ทางฝ่ายมองว่ายอดขายปี 68 จะยังเติบโตจากการขยายสาขา และ GPM ที่สูงของบริษัททำให้ได้เปรียบใน การแข่งขันในภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา แนะนำ "ซื้อ" ที่ราคาพื้นฐานปี 68 25.00 บาทต่อหุ้น ภาพปี 68 ยังน่าห่วง ผู้บริโภคกำลังซื้อ ลด ความมั่นใจหด                 ใน 4Q67 ที่ผ่านมา GDP ประเทศไทยเติบโต 3.2% ดีขึ้นเล็กน้อยจาก 3.0% ใน 3Q67 รวมทั้งปีโต 2.5% โดยการบริโภคภาคเอกชนโต 4.4% คาดการณ์จาก สภาพัฒน์ ว่า GDP ในปี 68 จะเติบโตในช่วง 2.3-3.3% (ค่ากลางที่ 2.8%) และคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะเติบโต 3.3% ลดลงกว่าปี 67                 ILM มีสินค้าหลักเป็นเฟอร์นิเจอร์และสิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้าน ซึ่งจัดเป็นกลุ่ม สินค้าคงทน (Durable Goods) ที่การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในสินค้ากลุ่มนี้มักอ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ทางฝ่ายเชื่อว่าแนวโน้มการอุปโภคสินค้าคงทนสะท้อนในข้อมูลทางสถิติดังต่อไปนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) และดัชนีราคาสินค้า (CPI) หนี้ครัวเรือน (Household Debt) และรายได้ต่อหัว (Per Capita Income) แนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ (New and Existing Home Sales) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) – ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในกรุงเทพฯ ยังไม่ฟื้น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม (CCI) เดือนกุมภาพันธ์ปี 68 อยู่ที่ 52.0 จุด เพิ่มขึ้นจาก 51.5 จุด ของเดือนมกราคม 68 แต่ลดลง 2.2 จุด หากเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 67 ที่อยู่ที่ 54.2 จุด เนื่องจากสาขาของILM กว่าครึ่งอยู่ในโซนกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า CCI โซนกรุงเทพฯ และปริมณฑลเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 52.2 จุด ปรับตัวลดลง 0.5 จุด จากเดือนมกราคม และลดลงถึง 4.0 จุด จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว คาดว่าลดลงจากความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทางฝ่ายมองว่าเป็นปัจจัยลบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทในปี 68                 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในส่วนของสินค้าเฟอร์นิเจอร์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 98.94 จุด ในเดือนธันวาคม 67 มาอยู่ที่ 100.57 จุด ในเดือนมกราคม 68 สวนทางกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัว และกำลังซื้อผู้บริโภคจากสัดส่วนหนี้ครัวเรือนที่สูง คาดว่าเกิดจาก Cost-Push Inflation จากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่บังคับใช้ 1 มกราคม 68 ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น เนื่องจากค่าแรงงานคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20% ของโครงสร้างต้นทุนการผลิตและจัดจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์

ฟิลลิป คาด SET Sideways down 1,160 – 1,180 จุด - ล็อคเป้าลงทุน เช็ก!

ฟิลลิป คาด SET Sideways down 1,160 – 1,180 จุด - ล็อคเป้าลงทุน เช็ก!

                 หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงานว่า บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) คาดว่า SET Index จะแกว่งตัวในลักษณะ Sideways down ระหว่าง 1,160 – 1,180 จุด ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในตะวันออกกลางและสงครามการค้า รวมถึงการลดสถานะเสี่ยงก่อนทราบผลการประชุม FOMC แต่ก็ยังมีแรงพยุงจากสัญญาณเชิงบวกในสมรภูมิรัสเซีย-ยูเครน กลยุทธ์การลงทุน Thai ESGX: BTG, CPALL, GULF, KBANK, KTB, SCB, TISCO Commodity: BCP, NER, PSL, PTTEP, TOP Defensive: BCH, BDMS Selective: ASIAN, CENTEL, INTUCH, MINT, PT, SEAFCO, STEC, TFG กังวลสงครามอาวุธและการค้า                  หนีสินทรัพย์เสี่ยง เข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัย: คาดว่าการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึง SET Index จะถูกกดดันจากการลดสถานะเพื่อเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัย โดยสอดคล้องกับราคาทองคำ COMEX ที่ปรับตัวขึ้น 1.15% ปิดที่ $3,040.8 ต่อออนซ์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ท่ามกลางสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง หลังอิสราเอลกลับมาใช้ปฏิบัติการทางอากาศโจมตีฉนวนกาซาอีกครั้งเมื่อวานนี้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 400 ราย และบาดเจ็บหลายร้อยราย ถือเป็นการยุติข้อตกลงหยุดยิงระยะเวลา 2 เดือนกับกลุ่มฮามาส นอกจากนี้ ปธน.ทรัมป์ยังขู่ว่าจะเดินหน้าโจมตีกลุ่มฮูตีจนกว่าจะยอมยุติการโจมตีเรือสินค้าในทะเลแดง และเตือนว่าอิหร่านต้องรับผิดชอบต่อการโจมตีใด ๆ ที่เกิดจากกลุ่มฮูตี ความกังวลผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกจากมาตรการภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ: ปธน.ทรัมป์เตรียมใช้มาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ในวันที่ 2 เม.ย. 68 ติดตามการประชุม FOMC และ BoJ                  คาดว่า SET Index จะเผชิญแรงขายลดสถานะเสี่ยงก่อนทราบผลการประชุม FOMC ในคืนนี้ โดยตลาดคาดการณ์ว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ 4.25-4.50% สิ่งสำคัญที่ต้องติดตามคือ Dot Plot ซึ่งจะบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด รวมถึง Economic Projection ที่จะบ่งชี้ทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังต้องติดตามการประชุม BoJ โดยคาดว่า BoJ จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ 0.50% แต่ก็อาจมีการส่งสัญญาณ Hawkish หรือการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต คลายกังวลไปหนึ่งสมรภูมิ                  การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึง SET Index ยังพอมีแรงพยุงเบา ๆ จากความคลายกังวลสงครามรัสเซีย-ยูเครน หลังปธน.ทรัมป์และปธน.ปูตินเห็นพ้องกันที่จะให้มีการหยุดยิงเป็นเวลา 30 วัน โดยจะเน้นเป้าหมายด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานในการทำสงครามยูเครน และจะเริ่มต้นเจรจาหยุดยิงในวงกว้าง แม้ปัจจัยข้างต้นจะเป็น Sentiment เชิงลบต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน ซึ่งสอดคล้องกับราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวลง 1.01% ปิดที่ $66.90 ต่อบาร์เรล แต่ก็ยังมองว่าเป็นโอกาสในการเก็งกำไร ท่ามกลางสถานการณ์ตะวันออกกลางที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ อาจมีแรงเก็งกำไรในหุ้น GULF และ INTUCH จากนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง ก่อนที่จะขึ้น SP ในวันพรุ่งนี้ ปัจจัยเพิ่มเติม (+) กรมธุรกิจพลังงาน เผยภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเดือน ม.ค. 68 อยู่ที่ 157.56 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้น 2.8% y-y เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวและบริการ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (+) กระทรวงท่องเที่ยวฯ เผยตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 16 มี.ค. 68 ไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศแล้วทั้งสิ้น 8.3 ล้านคน สร้างรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 4.06 แสนล้านบาท (-) สื่อของรัฐบาลจีน เตือนว่าภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เนื่องจากประเทศอื่น ๆ ตอบโต้ด้วยการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ในอัตราสูง ซึ่งอาจเปิดโอกาสให้จีนมีมาตรการเพิ่มเติม

 KBANKเคาะคืนภาษีเงินปันผล  อัตราเท่าไรนักลงทุน เช็กได้แล้ว!

 KBANKเคาะคืนภาษีเงินปันผล อัตราเท่าไรนักลงทุน เช็กได้แล้ว!

                หุ้นวิชั่น –เกาะติด KBANK ใกล้เข้ามาแล้ว การจ่ายปันผลรอบแรก หุ้นละ 8 บาท จ่อขึ้น XD วันที่ 8 เม.ย. 2568 และงวดที่2 ปันผลพิเศษอีก 2.50 บาทต่อหุ้น  ขึ้น XD  วันที่ 15 พ.ค. 2568  รวมเป็นเงินปันผลจ่ายทั้งสิ้น 28,431,931,116  บาท ทั้งนี้ เงินปันผลจ่ายจากกำไรสะสมที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 20 ผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดาสามารถ ขอเครดิตภาษีเงินปันผลคืนได้ ในอัตรา 20/80 ของเงินปันผลที่ได้รับ                 บมจ.ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK แจ้งมายังตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2568 ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ เห็นควรเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติจ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานปี 2567 แก่ผู้ถือหุ้นสามัญเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษในอัตราหุ้นละ 2.50 บาท เป็นเงิน 5,923,318,982.50 บาท                 ทั้งนี้ ธนาคารได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลไปแล้วเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2567 ในอัตราหุ้นละ 1.50 บาท เป็นเงิน 3,553,991,389.50 บาท และเสนอขออนุมัติจ่ายเงินปันผลงวดสุดท้าย ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น วันที่ 9 เมษายน 2568 ในอัตราหุ้นละ 8.00 บาท เป็นเงิน 18,954,620,744.00 บาท                 ซึ่งเมื่อรวมกับการเสนอขอจ่ายเงินปันผลเป็นกรณีพิเศษครั้งนี้ ในอัตราหุ้นละ 2.50 บาท รวมเป็นเงินปันผลจ่ายทั้งสิ้น 28,431,931,116.00 บาท โดยกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผลในวันที่ 16 พฤษภาคม 2568 และกำหนดจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในวันที่ 6 มิถุนายน 2568 ขอคืนภาษีได้ 20/80 ของเงินปันผลที่ได้รับ                 ทั้งนี้ เงินปันผลจ่ายจากกำไรสะสมที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 20 ซึ่งผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดาสามารถขอเครดิตภาษีเงินปันผลคืนได้ในอัตรา 20/80 ของเงินปันผลที่ได้รับ                 หุ้นวิชั่นรายงานว่า  เงินปันผล KBANK รอบนี้มี 2 งวด  โดยงวดแรก จ่าย 8 บาทต่อหุ้น ขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 17 เม.ย. 2568 และงวดที่สอง เงินปันผลพิเศษอีกหุ้นละ 2.50 บาท โดยจะขึ้น XD วันที่ 15 พ.ค. 2568  dividend yield ทั้งปี67 ที่ 8.1%                 บทวิเคราะห์ บล . ดาโอ ระบุว่า KBANK อนุมัติจ่ายเงินปันผลพิเศษอีก 2.50 บาทต่อหุ้น โดยจะ XD วันที่ 15 พ.ค. 25 (งวด 1H24 จ่ายไปแล้ว 1.50 บาทต่อหุ้น, 2H24=8.00 บาทต่อหุ้น XD 17 เม.ย. 25)                 บล. ดาโอ มีมุมมองเป็นบวกต่อการเซอร์ไพร์จ่ายเงินปันผลพิเศษที่้เหนือความคาดหมาย ทำให้งวดปี 2024 จ่ายทั้งหมดที่ 12.00 บาทต่อหุ้น คิดเป็น dividend yield ทั้งปี 2024 ที่ระดับ 8.1% (ใกล้เคียงกับ SCB ที่ 8.5%) และคิดเป็น Dividend payout ที่ 59% (มากกว่าเดิมที่ 46%) โดยจากการสอบถาม IR พบว่า การจ่ายปันผลพิเศษที่ 2.50 บาทต่อหุ้นจะไม่ sustain เพราะเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนอยู่แต่ KBANK พยายามที่จะบริหาร capital เพื่อที่จะทำให้เป็น double digit ROE (2025E คาด ROE ที่ 9%) โดยยังคงคําแนะนํา “ซื้อ” KBANK และราคาเป้าหมายที่ 176.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.70x (-1.00SD below 10-yr average PBV)

บล.กรุงศรี แนะชะลอลงทุน 5 หุ้นมีธุรกิจในอินโดฯ หลังตลาดหุ้นร่วงแรง

บล.กรุงศรี แนะชะลอลงทุน 5 หุ้นมีธุรกิจในอินโดฯ หลังตลาดหุ้นร่วงแรง

          หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.กรุงศรี ระบุ ตลาดหุ้นอินโดนีเซียวันนี้ปรับลงแรงกระทบ SET Index จำกัด มองเป็นจิตวิทยาลบระยะสั้นต่อหุ้นที่มีสัดส่วนรายได้ในอินโดนีเซีย SCGP, SCC, PTTGC, BBL, KBANK           ตลาดหุ้นอินโดนีเซียวันนี้ปรับลงแรง - 6.12% ทำให้ระหว่างวันต้องหยุดการซื้อขาย หุ้นกลุ่มที่ปรับลงหลักคือ Technology -11.7%, Basic Materials -7.3%, พลังงาน -4.5%, การเงิน -2.7% สาเหตุคาดเกิดจาก - ความกังวลปัญหาเศรษฐกิจ หลังเริ่มมีผู้ประกอบการผิดนัดชำระหนี้ คือ “PT Wijaya Karya” ผู้รับเหมาก่อสร้างอันดับ 2 ของอินโดนีเซีย ผิดนัดเงินกู้ 61 ล้านดอลลาร์ และพันธบัตร Sukuk mudharabah ที่ออกในปี 2565 - ธุรกิจในอินโดนีเซียเผชิญปัญหาการขู่กรรโชกจากกลุ่มอาชญากรรมที่แอบอ้างเป็นองค์กรพลเมือง ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมการลงทุน - การบริโภคที่ชะลอตัวลงก่อนวันหยุด Eid Holiday เทศกาลอีฎของชาวมุสลิม           สำหรับผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทย คาดจำกัด มองเป็นเพียงจิตวิทยาลบระยะสั้น โดยผลกระทบต่อบริษัทจดทะเบียน กระทบจิตวิทยาหุ้นไทยที่มีธุรกิจในอินโดนีเซีย ระยะสั้น แนะนำชะลอลงทุนไปก่อน อาทิ ▪️SCGP : 14% ของรายได้รวม ▪️SCC : 7%ของรายได้รวม ▪️PTTGC 3%ของรายได้รวม ▪️BBL : 12%ของสินเชื่อรวม ▪️KBANK < 5%ของสินเชื่อรวม

EA ผนึก TMHWST  พัฒนาพลังงานสะอาด โลจิสติกส์ไทย

EA ผนึก TMHWST พัฒนาพลังงานสะอาด โลจิสติกส์ไทย

          หุ้นวิชั่น - 18 กุมภาพันธ์ 2568 - บมจ. พลังงานบริสุทธิ์ หรือ EA ส่งบริษัทย่อย “อมิตา” ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) ร่วมกับ บริษัท โตโยต้า แมททีเรียล แฮนด์ลิ่ง แวร์เฮ้าส์ โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ TMHWST เปิดตัวผลิตภัณฑ์แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคุณภาพสูง ภายใต้แบรนด์ TerraXell สำหรับรถฟอร์คลิฟต์ไฟฟ้า ยกระดับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ มุ่งเน้นการใช้พลังงานสะอาด           นายฉัตรพล ศรีประทุม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA เปิดเผยว่า บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ อมิตา ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ EA ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) กับ บริษัท โตโยต้า แมททีเรียล แฮนด์ลิ่ง แวร์เฮ้าส์ โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ TMHWST เพื่อร่วมมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ (Business Partner)           โดยอมิตาดำเนินการพัฒนาแบตเตอรี่ต้นแบบ (Battery Prototype) พร้อมกับการออกแบบ การประกอบ การทดสอบแบตเตอรี่และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการศึกษาด้านเครื่องชาร์จประจุไฟฟ้า (Battery Charger) และระบบจัดการแบตเตอรี่ (BMS) สำหรับใช้งานกับรถฟอร์คลิฟต์ไฟฟ้า นำไปสู่การใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ทดแทนการใช้แบตเตอรี่ตะกั่วกรดแบบดั้งเดิม           TMHWST เป็นผู้พัฒนาตลาดสำหรับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ภายใต้แบรนด์ TerraXell เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และคลังสินค้าที่ต้องการเพิ่มผลิตภาพ ลดต้นทุนการใช้พลังงาน และเพิ่มความปลอดภัยในกระบวนการขนย้ายสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีกำหนดส่งมอบ       ลอตแรกกว่า 100 ลูก ภายในเดือนมีนาคม 2568 พร้อมจำหน่าย-ให้เช่า และบริการหลังการขาย ด้วยแนวคิด "Lithium-ion Battery: The Key to More Productive Operations”           นายจามีกร เผือกสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โตโยต้า แมททีเรียล แฮนด์ลิ่ง แวร์เฮ้าส์ โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด (TMHWST) กล่าวว่า ปัจจุบัน พลังงานสะอาดไม่ได้เป็นเพียงทางเลือก แต่เป็นพันธกิจ           สำคัญที่บริษัทชั้นนำให้ความสำคัญ เพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม TMHWST ในฐานะผู้นำด้านโซลูชันอินทราโลจิสติกส์และการจัดการคลังสินค้า ได้นำเสนอแบรนด์แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน TerraXell เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมที่ต้องการทั้งประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และความคุ้มค่าระยะยาว เสริมศักยภาพให้เครือข่ายธุรกิจเดินหน้าสู่อนาคตอย่างมั่นคง           นายฉัตรพล ศรีประทุม กล่าวเพิ่มเติมว่า “เราภูมิใจที่ได้ร่วมมือกับบริษัทชั้นนำอย่าง บริษัท โตโยต้า แมททีเรียล แฮนด์ลิ่ง แวร์เฮ้าส์ โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด ความร่วมมือครั้งนี้เป็นเครื่องยืนยันถึงคุณภาพที่มีมาตรฐานระดับโลกของแบตเตอรี่ Amita ที่สามารถตอบโจทย์สำคัญในการขับเคลื่อนการ    ใช้พลังงานสะอาดในอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ พร้อมความเป็นไปได้ในการรีไซเคิลแบตเตอรี่      และการเตรียมความพร้อมด้านคาร์บอนเครดิต” [PR news]

“โกลเบล็ก” ชี้หุ้นไทย Rebound  คัด 5 หุ้น อัตราปันผลสูง - เช็กเลย!

“โกลเบล็ก” ชี้หุ้นไทย Rebound คัด 5 หุ้น อัตราปันผลสูง - เช็กเลย!

                หุ้นวิชั่น - บล. โกลเบล็ก (GBS) ลุ้นหุ้นไทยสัปดาห์นี้มีโอกาส Rebound ตามทิศทางตลาดต่างประเทศ แนะจับตา ทรัมป์ เดินหน้าเก็บภาษีนำเข้าต่อเนื่อง กระทบจิตวิทยานักลงทุน จึงคาดการณ์กรอบดัชนีที่ระดับ 1,150-1,200 จุด แนะกลยุทธ์ลงทุนใน 5 หุ้นเด่นได้ประโยชน์จาก ThaiESG Extra                 นางสาววิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด หรือ GBS ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ Rebound ตามทิศทางตลาดต่างประเทศ โดยมีแรงหนุนจากจีนเปิดเผยแผนงานพิเศษเพื่อกระตุ้นการบริโภค ประกอบกับราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวขึ้นหนุนหุ้นกลุ่มพลังงาน อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ เดินหน้าเก็บภาษีนำเข้าต่อเนื่องเป็นปัจจัยกดดันต่อดัชนีในระยะสั้นได้ จึงให้กรอบกรอบดัชนีในสัปดาห์นี้ที่ 1,150-1,200 จุด                 สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการลงทุนที่จับตาในประเทศ อาทิ สัปดาห์ที่ 3 ส.อ.ท. แถลงยอดผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ วันที่ 24 มี.ค. ฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศ สศอ. แถลงดัชนีอุตสาหกรรม สศค. รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค, ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค วันที่ 31 มี.ค. ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจและการเงินไทย และวันที่ 30 เม.ย. กำหนดประชุม กนง. ครั้งที่ 2/2568                 ส่วนสถานการณ์ต่างประเทศที่น่าจับตา วันนี้ 18 มี.ค. อียู รายงานดุลการค้าเดือนม.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือนมี.ค. สหรัฐ รายงานตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนก.พ. ราคานำเข้าและส่งออกเดือนก.พ. และการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.พ. วันที่ 19 มี.ค. ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) แถลงมติอัตราดอกเบี้ย ญี่ปุ่น รายงานยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้าเดือนก.พ. ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรเดือนม.ค. และการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค. วันที่ 18-19 มี.ค. ประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ครั้งที่ 2/68 และช่วงเช้าวันที่ 20 มี.ค. เฟดแถลงมติอัตราดอกเบี้ย                 ดังนั้น นายวัชเรนทร์ จงยรรยง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.โกลเบล็ก  แนะนำกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชน์จาก ThaiESG Extra ซึ่งเป็นหุ้นที่มีอัตราผลตอบแทนเงินปันผลสูง ได้แก่ BBL, , PTT, TISCO และหุ้นที่ราคาปรับตัวลงมามากแล้ว ได้แก่ BEM, CPALL                 ด้านนายณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.โกลเบล็ก ประเมินราคาทองคำ มีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อ โดยได้แรงหนุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความกังวลสงครามการค้า  จากแคนาดาและสหภาพยุโรปส่งสัญญาณเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าบางรายการจากสหรัฐฯ เพื่อตอบโต้มาตรการภาษีของสหรัฐฯ ขณะที่สหรัฐฯ ขู่จะเก็บภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์สุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จาก EU สูงถึง 200%                 นอกจากนี้ทองคำได้แรงหนุนเพิ่มเติม จากสหรัฐฯ เผยตัวเลขเงินเฟ้อ CPI และ PPI ปรับตัวขึ้นต่ำกว่าคาดการณ์ ทำให้นักลงทุนเพิ่มคาดการณ์ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้เป็น 3 ครั้ง จากเดิมคาดการณ์ 1 ครั้ง ขณะที่ราคาทองคำปรับตัวขึ้นทำ New High ในสัปดาห์ที่ผ่านมา คาดอาจมีแรงขายทำกำไรเป็นปัจจัยกดดันราคาทองคำ อย่างไรก็ตามสัปดาห์นี้แนะนำให้ติดตามผลการประชุมเฟด ครั้งที่ 2/68 มองกรอบทองคำสัปดาห์นี้  2,950- 3,030 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ออนซ์ แนะนำขายทำกำไรบางส่วนที่แนวต้าน

เอเซียพลัส คัด 3 หุ้นเด่น เช็ก!

เอเซียพลัส คัด 3 หุ้นเด่น เช็ก!

           ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล. เอเซียพลัส ระบุ วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวราว +0.3% ถึง +1.2% โดยตลาดฯ ให้น้ำหนักกับประเด็นเศรษฐกิจสหัฐฯ ส่งสัญญาณแข็งแกร่ง หลังสหรัฐเผย RETAIL CONTROL เดือน ก.พ. 68 ดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 1.0% ซึ่งสูงกว่าตลาดคาดที่ 0.2%MOM อย่างไรก็ตาม หากมองถึงความกังวลในระยะข้างหน้า คงหนีไม่พ้นความเสี่ยง TRADE WAR หลัง ปธน. TRUMP เรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศต่างๆ และอาจกดดันภาพรวมเศรษฐกิจตามมา พร้อมกับเงินเฟ้อมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น ภาวะดังกล่าว อาจเพิ่มความเสี่ยง “STAGFLATION” ซึ่งสิ่งที่ต้องติดตามในระยะถัดไป อาจทำให้การคาดเดาทิศทางดอกเบี้ยยากขึ้น ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงมาแรง 11.87%YTD สาเหตุหนึ่งมาจากการโยกย้ายเม็ดเงินเข้าตลาดตราสารหนี้โดยปีล่าสุด MARKET CAP SET น้อยกว่ามูลค่าคงค้างตราสารหนี้ถึง 2.5 ล้านล้านบาท ฝ่ายวิจัยฯคาดว่าเม็ดเงินดังกล่าวมีโอกาสโยกย้ายเข้าฝั่ง            ตลาดหุ้นไทยในระยะถัดไป โดยมี 3 เหตุผลสนับสนุน 1.อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในช่วงขาลงทั่วโลกรวมถึงไทย 2. การออกหุ้นกู้ภาคเอกชนระยะยาวน้อยลง โดยเฉพาะ RATING ต่ำกว่า BBB 3. ระดับ MARKET EARNING YIELD GAP ของไทยดูโดดเด่น TOP PICK เลือก BDMS, SPALI และ BJC

ฟินันเซีย ชู BA เด่น แนะ “ซื้อ” เป้า 30 บ.

ฟินันเซีย ชู BA เด่น แนะ “ซื้อ” เป้า 30 บ.

              หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) แนวโน้มตลาดวันนี้ คาด SET Index ยังมีโอกาส Rebound ระยะสั้นในกรอบ 1,165-1,180 จุด โดยยังคงมี Sentiment บวกจากฝั่งต่างประเทศนำโดยสหรัฐฯ หลังเม็ดเงินทยอยไหลกลับเข้าสินทรัพย์เสี่ยง โดยคาดหวังเชิงบวกต่อการยุติสงครามซึ่งสหรัฐฯ-รัสเซียจะมีการพูดคุยกันวันนี้ ขณะที่ตัวเลขยอดค้าปลีกสหรัฐฯ เดือน ก.พ. แม้จะต่ำกว่าคาด แต่พลิกมาเป็นบวกได้เล็กน้อย +0.2% m-m จากเดือนก่อนที่ -1.2% m-m ส่วนสัปดาห์นี้โฟกัสยังคงอยู่ที่การประชุม FED คืนวันพุธ ซึ่งค่อนข้างแน่นอนว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ 4.25-4.5% แต่ต้องติดตามถ้อยแถลงของประธาน FED ภายหลังการประชุมว่าจะมีมุมมองต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้ออย่างไร รวมถึงผลกระทบจากนโยบายเก็บภาษีสินค้าของทรัมป์               เราประเมินว่า SET Index ที่ปรับตัวร่วงแรงกว่า 20% จาก High ปลายปีก่อน ทำให้ Valuation ระยะกลาง-ยาวน่าสนใจ โดยเทรด PER และ PBV เพียง 12.4 เท่าและ 1.13 เท่าตามลำดับ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยช่วงก่อนโควิด ทำให้ยังมองเป็นจังหวะในการทยอยสะสม โดยยังคงชอบกลุ่ม Domestic และ Tourism-Related Play ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำกว่ากลุ่ม Global-Related Play ที่อาจถูกกระทบจากความไม่แน่นอนของประเด็นการค้าและเศรษฐกิจโลก ส่วนระยะสั้นเน้น Selective หุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว กลยุทธ์: ยังเน้น Selective Buy หุ้นที่มีแนวโน้ม 2025 แข็งแกร่งและ Valuation ตํ่ากว่าช่วงก่อนโควิด               หุ้นเด่นเดือนมี.ค.: BA, BTG, CPALL, MTC, PR9               FSSIA Portfolio: BA, BBL, BTG, CPALL, MTC, NSL, PR9, SEAFCO, SHR หุ้นเด่นวันนี้: BA แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 30 บาท ตัวเลขผู้โดยสารของสมุยทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือน ม.ค. และโต 14% YTD แข็งแกร่งกว่าภาพรวมตัวเลขนักท่องเที่ยวไทยที่เดือน ม.ค.-ก.พ. +7% YTD ซึ่งเริ่มชะลอตัวจากนักท่องเที่ยวจีนที่หายไป ทำให้คาดว่ากำไร 1Q25 ของ BA คาดว่าจะเติบโตโดดเด่นทำ Record High เราคาดกำไรปี 2025 ที่ 4.1 พันลบ. +6% y-y และอาจมี Upside รวมถึงมีจุดแข็งของความเป็น Monopoly ของสมุย ราคาหุ้นปัจจุบันยังมี Valuation ที่ถูก เทรด PER เพียง 10.4 เท่าและคาดให้ Dividend Yield สูงราว 6% ต่อปี แนวรับ 20-19.80 บาท แนวต้าน 21/21.40 บาท Fund Flow: วานนี้กระแสเงินทุนต่างชาติผสมผสาน สุทธิแล้วไหลออกจากภูมิภาคบางๆ US$36 ล้าน เม็ดเงินยังคงไหลออกสูงสุดที่ไต้หวัน US$303 ล้าน แต่ไหลเข้าเกาหลีใต้ US$346 ล้าน ส่วนฝั่งอาเซียนเม็ดเงินไหลออกจากไทยและอินโดนีเซียประเทศละ US$39-54 ล้าน แต่ไหลเข้า ฟิลิปปินส์และเวียดนามบาง แนวโน้มกระแสเงินทุน: คาดว่ามีโอกาสพลิกมาไหลเข้า หลังเม็ดเงินยังทยอยไหลกลับเข้าสินทรัพย์เสี่ยง อย่างไรก็ตามโฟกัสหลักอยู่ที่การประชุม FED สัปดาห์นี้ ประเด็นสำคัญวันนี้: กลุ่มท่องเที่ยว: ตัวเลขนักท่องเที่ยวขาเข้าของไทยอ่อนแอในเดือน ก.พ. และ มี.ค. จากตัวเลขนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ลดลงแรง Theme การลงทุนกลุ่มท่องเที่ยวที่สำคัญคือสมุย: ตัวเลขนักท่องเที่ยวโตต่อเนื่องในช่วงเดือน ก.พ. – มี.ค. 2025 สวนทางแนวโน้มของไทย, เวียดนาม: ตัวเลขนักท่องเที่ยวกระโดดเพิ่ม 30% y-y และ YTD ทำสถิติสูงสุดใหม่ คาดการท่องเที่ยวของไทยจะค่อย ๆ ฟื้นตัว อย่างไรก็ดีเราเลือกหุ้นที่มีลักษณะผูกขาดและอยู่ในตลาดที่กำลังเติบโตน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า หุ้นเด่นในเชิงกลยุทธ์คือ BA ราคาเป้าหมาย 30 บาท และ SAV ราคาเป้าหมาย 27.50 บาท เรายังให้น้ำหนักลงทุนในหุ้นกลุ่มท่องเที่ยวเป็น Overweight             WHA: แจ้งตลท. ชะลอแผน IPO WHAID และการปรับโครงสร้างการถือหุ้นใน WHAUP เพราะภาวะตลาดทุนที่ผันผวน อาจไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทและผู้ถือหุ้นของบริษัท เราอาจต้องปรับกำไรและเป้าของ WHA กลับไปที่เดิมเพราะ WHA จะยังถือ WHAID ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่ทำคิ้มฯ ทางตรงและอ้อม 99.9% ตามเดิม อิง EPS เดิมที่ 0.36 ของ WHA ก่อนถูกปรับลงมา ราคาหุ้นปัจจุบันคิดเป็น PE เพียง 9.8x vs. กำไรปีนี้ +18% y-y และมี PEG 0.54 ขณะที่ AMATA มี PE 8.9x vs. กำไรปีนี้ +12% y-y และมี PEG 0.77 WHA เริ่มจะถูกกว่า             SISB: แผนขยายโรงเรียนและเป้าจำนวนนักเรียนซึ่งไม่ต่างจากในบทวิเคราะห์ของเรา และมี hidden asset Expansion plan มี 2 แห่ง 1. ประชาอุทิศเฟส 3 ลงทุน 265 ลบ. เปิด 1Q26 2. โรงเรียนใหม่แห่งที่ 7 ที่รังสติคลอง 3 ลงทุนราว 300 ลบ. เปิด 4Q26 ผู้บริหารยังคงเป้าสิ้นปี 2025 ที่ 5,000 คน +380 คน จากสิ้นปี 2024 สำหรับนักเรียน 1Q25 ไม่ได้เพิ่มจาก 4Q24 แต่คาดว่าจะเพิ่ม 70-80 คนใน 2Q25 ส่วน 3Q25 ซึ่งเป็นปีการศึกษาใหม่ ต้องลุ้นอีกทีว่าเด็กจะเข้ามาตามเป้าหรือไม่ ถ้าพลาดเป้า รายได้ปี 2025 โต double digit กำไรน่าจะมากกว่า 900 ลบ. เพราะค่าเทอมเทอมที่แล้ว +5% ยังมีผลใน 7 เดือนแรก เราคาดกำไรปี 2025-26 โตปีละ 12% ราคาเป้าหมาย 39 บาท ยังแนะนำ “ซื้อ”

PLANET ชู 6 กลยุทธ์ เจาะ New S Curve มุ่ง Digital go Green

PLANET ชู 6 กลยุทธ์ เจาะ New S Curve มุ่ง Digital go Green

                  หุ้นวิชั่น - PLANET ปักธงปี 68 มุ่งเน้น นำเทคโนโลยีขั้นสูง และเทคโนโลยีดิจิทัลใช้เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Digital Go Green) เต็มตัว ชู 6 กลยุทธ์ รักษาฐานตลาดเดิมและเจาะตลาด New S Curveประกอบด้วย กลุ่มเทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced Technology) กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสำหรับการป้องกันประเทศ (Defense Technology) กลุ่มธุรกิจระบบป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ในระบบปฏิบัติการ (OT Cybersecurity) กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืน (ESG)  กลุ่มธุรกิจศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะสีเขียว (Green AI Data Center) และต่อยอดด้วยกลุ่มธุรกิจบริการ AI และ ข้อมูลขนาดใหญ่ (AI & Big Data Services) บิ๊กบอส "ประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์" ตั้งเป้าปี 68 ผลงานพลิกเป็นกำไร                   นายประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย จำกัด (มหาชน) หรือ PLANET ผู้ให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลแบบครบวงจร เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมา สภาพตลาดได้เปลี่ยนแปลงไป ทั้งทางด้านเทคโนโลยี  ความต้องการของลูกค้าเดิมขยายช้า และการแข่งขันในธุรกิจเดิมที่สูงมาก ทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโตของบริษัทฯ ดังนั้น  เพื่อสร้างโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืนและผลกำไรเพิ่มขึ้น ในปี 2568 บริษัทฯ จึงได้วางแผนการดำเนินธุรกิจ 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 รักษาฐานลูกค้าและเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมเดิม ส่วนที่ 2 มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูงสำหรับตลาดเฉพาะ (New S Curve) รวมทั้งนำเทคโนโลยีดิจิทัลใช้เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Digital Go Green) อย่างเต็มตัว จึงได้กำหนดกลยุทธ์การขับเคลื่อนธุรกิจองค์กรภายใต้ 6 กลยุทธ์ ประกอบด้วย                   1.กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced Technology) ซึ่งบริษัทเริ่มดำเนินธุรกิจนี้มาตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา หลังได้เป็นตัวแทนจำหน่ายบริษัท SAAB Technologies จากประเทศสวีเดน ซึ่งมีความชำนาญทางด้านเทคโนโลยีขั้นสูงทางด้านระบบควบคุมการเดินอากาศที่ใช้กิจการควบคุมการเดินอากาศและสนามบินต่างๆทั่วโลก โดยในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการจำหน่ายระบบติดตามอากาศยานภาคพื้นดินแบบ Multilateration (MLAT) ของ SAAB Technologies ให้แก่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (Aerothai) ตามนโยบายของรัฐบาลเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้เติบโต จึงมีแผนในการปรับปรุงระบบการเดินอากาศของสนามบินทุกแห่ง ให้มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยตามมาตราการบินสากล เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีความมั่นใจในการเดินทางมาประเทศไทยเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายของรัฐบาล “ กลุ่มธุรกิจในส่วนนี้มีแนวโน้มเติบโตทุกปีตามนโยบายของรัฐบาลที่จะปรับปรุงระบบควบคุมการบินของทุกสนามบิน ด้วยภาวะการแข่งขันในตลาดซึ่งอยู่ในระดับต่ำ จึงมีแนวโน้มกำไรขั้นต้นสูง และบริษัทฯ ยังมีความได้เปรียบจากการเป็นพันธมิตรกับ SAAB Technologies ซึ่งเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก จึงเป็นโอกาสสำคัญในการสร้างรายได้ เพื่อผลักดันให้ธุรกิจกลับมาทำกำไรอย่างมั่นคง” นายประพัฒน์กล่าว                   2.กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสำหรับการป้องกันประเทศ (Defense Technology) ในปี 2568 บริษัทฯเล็งเห็นโอกาสในการเพิ่มรายได้ จากนโยบายรัฐบาล ที่ให้ความสำคัญกับการเสริมศักยภาพด้านความมั่นคงของประเทศ และจำนวนคู่แข่งในตลาดไทยที่ยังมีไม่มาก จึงวางแผนขยายธุรกิจ และผลิตภัณฑ์สินค้าเทคโนโลยีใหม่ๆสำหรับตลาดนี้ อาทิ ระบบโครงข่ายสื่อสารแบบเคลื่อนที่เป็นกลุ่ม ,ระบบวิทยุสื่อสารทางการทหาร และ Drone & Anti Drone, Jammers ทั้งนี้ ในฐานะที่บริษัทฯ เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสื่อสารทางการทหาร และได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีป้องกันประเทศ อาทิ DTC, L3Harris, Skydio, IXI, Flyfocus และIAI จึงมองเห็นโอกาสในการขยายตลาด และเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการเติบโตของบริษัทฯ                   3.กลุ่มธุรกิจระบบป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ในระบบการปฏิบัติการ (OT Cybersecurity) ปัจจุบัน เหล่าแฮกเกอร์เริ่มขยายเป้าหมายโจมตีไซเบอร์จากทางด้าน IT ระบบคอมพิวเตอร์ มาเน้นโจมตีระบบปฏิบัติการภายในหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานของประเทศและภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่สามารถสร้างเสียหายได้มากกว่า รวมทั้งมีผลกระทบกับความมั่นคงของประเทศอย่างรุนแรง ซึ่งระบบการปฏิบัติการ OT Cybersecurity ของบริษัทฯเป็นเทคโนโลยีใหม่และมีโอกาสสร้างรายได้ที่มีมูลค่าสูง “ในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ Siemens ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกทางด้านระบบปฎิบัติการของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานของประเทศและภาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีประสบการณ์ในการป้องกันการโจมตีจากภัยคุกคามไซเบอร์ให้หน่วยงานชั้นนำทั่วโลก ในปีที่ผ่านมา จึงได้นำเสนอโซลูชัน OT Cybersecurity  และจัดสัมมนาให้ความรู้แก่หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากกลุ่มเป้าหมาย คาดว่าจะเห็นผลงานภายในปี 2568 นี้“ นายประพัฒน์กล่าว                   4.กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืน (ESG) ในปี 2568 บริษัทฯมีแผนให้บริการโซลูชันบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลการปล่อยคาร์บอนขององค์กร (Carbon Management Platform) พร้อมบันทึกการเกิดลดคาร์บอน (Carbon Footprints)และการลดคาร์บอน (Carbon Credit)  พร้อมเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT กับระบบไฟฟ้า ในการวัดค่าการใช้งานเพื่อใช้การคำณวนแบบ Real Time  รวมทั้งการรับรองผล กับเทคโนโลยี่ทางด้านพลังงานทดแทน อาทิ Solar, รถไฟฟ้า EV, EV Charger, BESS, Wind Turbines, Water Turbines ให้แก่ทุกอุตสาหกรรมโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมภาคการส่งออก ที่ต้องการปรับตัวให้สอดคล้องกับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม และต้องปฏิบัติตามมาตรการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) ซึ่งเป็นกฎระเบียบสำคัญของสหภาพยุโรปในการควบคุมการปล่อยคาร์บอนในห่วงโซ่อุปทาน ในปีปี 2569 นี้ ซึ่งมั่นใจว่ากลุ่มธุรกิจของบริษัทฯในส่วนนี้จะสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโตในปีนี้                   5.กลุ่มธุรกิจศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะสีเขียว (Green AI Data Center) ในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ มุ่งเน้นให้บริการรับฝากวางคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Co-Location Service) สำหรับองค์กรและธุรกิจที่ต้องการพื้นที่วางเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์ไอที และจากความร่วมมือกับ NVIDIA ทำให้ปัจจุบันเริ่มมีลูกค้าจากต่างประเทศ เช่าใช้บริการพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และประสงค์ใช้บริการ GPU Server NVIDIA ซึ่งเป็นจุดเด่น ที่บริษัทฯ มีพร้อมให้บริการ นอกเหนือจาก ความพร้อมด้าน ระบบสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐาน ทำให้มั่นใจว่า ภายในสิ้นปี 2568 มีลูกค้าเข้าใช้บริการเต็มพื้นที่ 124 เซิร์ฟเวอร์ หรือเต็มกำลังผลิตไฟฟ้ารองรับลูกค้า1.3 เมกะวัตต์ ตามเป้าหมาย " บริษัทฯ ยังมีแผนขยายพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อรองรับ Hyperscale Data Center เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด AI และฐานข้อมูลที่ขยายตัวอย่างก้าวกระโดด ซึ่งจะช่วยเสริมศักยภาพของบริษัทฯ ในการเป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI Data Center ที่ครบวงจรและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม" นายประพัฒน์กล่าว                   6.กลุ่มธุรกิจบริการ AI และ ข้อมูลขนาดใหญ่ (AI & Big Data Services) ต่อยอดจากบริการศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะสีเขียว ในปี 2568 บริษัทฯมีแผนขยายบริการ AI และ Big Data เพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรภาครัฐ โดยเฉพาะ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ซึ่งมีการเก็บข้อมูลจำนวนมาก แต่ยังขาดระบบวิเคราะห์และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถ จัดเก็บ วิเคราะห์ และนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อย่างเป็นระบบ โดยเน้นการสนับสนุนด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน                   สำหรับ กลุ่มธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunications Technology) ที่บริษัทดำเนินงานมากว่า 30 ปี  ปัจจุบันมีการจำหน่ายสินค้าและบริการ ให้กับหน่วยงานราชการ หน่วยงานทหารและความมั่นคง บริษัทเอกชนชั้นนำ โรงงานอุตสาหกรรม ประกอบด้วย  ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satcom) ระบบโครงข่ายพื้นฐานโทรคมนาคม (Network Infrastructure) ระบบรวมศูนย์การสื่อสาร ภาพ เสียง ข้อมูล (Unified Communications System) ระบบถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์แบบดิจิทัล (Digital Broadcasting) และ รถสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Mobile Vehicle)                   ในส่วนนี้ เราจะเน้นรักษาฐานลูกค้าเดิม และหาลูกค้าใหม่ที่มีความต้องการและมีกำลังซื้อมาชดเชยยอดขายที่ลดลง พร้อมทั้งการปรับตัวทางด้านการหาสินค้าที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆให้ตรงกับความต้องการของตลาด และหากสินค้าใดไม่สามารถทำผลกำไรได้ บริษัทจะพิจารณาลดบทบาทลงไป                   “ด้วยกลยุทธ์ทั้งหมดในข้างต้น มั่นใจว่าจะทำให้ผลการดำเนินของบริษัทฯ สามารถพลิกกลับมาเป็นมีกำไรและกลับไปอยู่ในจุดที่แข็งแกร่ง สามารถสร้างรายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน พร้อมขยายศักยภาพไปสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในอนาคตต่อไป” นายประพัฒน์กล่าว   [PR News]    

ทรีนีตี้ คัด 10 หุ้นเด่น เช็กด่วน!

ทรีนีตี้ คัด 10 หุ้นเด่น เช็กด่วน!

             หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด คาด SET Index น่าจะยังแกว่งทรงตัวที่บริเวณดัชนี 1,170 จุด ท่ามกลางวอลุ่มการซื้อขายที่เบาบาง ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะนักลงทุนชะลอดูผลการประชุม Fed และ BoJ ที่จะออกมาในวันพรุ่งนี้ ในเชิงกลยุทธ์ คงแนะนำถือครองหุ้นในส่วนเดิม ซึ่ง Top pick ของเราในเดือนนี้ยังคงได้แก่ CPALL, CPAXT, HMPRO, AP, SPALI, TIDLOR, VGI, BDMS, LHHOTEL, 3BBIF              Asia vs. U.S.: สำหรับปัจจัยตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าสนใจที่ออกมาเมื่อวานนี้ได้แก่ รายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและยอดค้าปลีกของจีนประจำเดือนก.พ. ซึ่งต่างออกมาขยายตัวดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ทั้งคู่ ส่งผลให้ล่าสุดดัชนี Economic surprise ของประเทศจีนปรับสูงขึ้นมายืนในแดนบวกได้เป็นครั้งแรกในรอบ 1 เดือนครึ่ง สวนทางกับทิศทางของตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังคงอ่อนแอกว่าที่ตลาดคาดส่วนใหญ่ โดยเมื่อวานนี้ยอดค้าปลีกประจำเดือนก.พ.ขยายตัวเพียง 0.2% ต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 0.6% ส่งผลให้ดัชนี Economic surprise ของสหรัฐฯยังคงยืนในแดนลบต่อเนื่อง (รูปที่ 1) เรามองต่อจากเมื่อวานนี้เช่นเดิมว่า ตลาดหุ้นเอเชียจะสามารถปรับตัวแข็งแกร่งกว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯได้ต่อไปอย่างไม่ยากเย็น              Residential: สำหรับปัจจัยวันนี้ แนะนำติดตามการประชุมครม.ซึ่งอาจมีวาระหารือเกี่ยวกับการพิจารณามาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะมาตรการการต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง 0.01% สำหรับที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท รวมไปถึงความเป็นไปได้ในการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV เป็นการชั่วคราวและเพิ่มวงเงินซอฟต์โลนจากธนาคารอาคารสงเคราะห์              Our take: หากมีความคืบหน้ามาตรการดังกล่าวในวันนี้ ประเมินจะเป็น Sentiment ที่ดีต่อมายังกลุ่มที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นกลุ่ม Domestic ภายในที่เผชิญกับปัญหากำลังซื้อถดถอยในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ จากการคัดกรองของเราไปยังหุ้นในกลุ่มนี้ที่มีคุณลักษณะ Deep value (PBV ต่ำกว่า 1x / PBV ต่ำกว่า -1.5SD / Dividend เกินกว่า 3% / 2025E EPS growth เป็นบวก / มี ESG Rating) จะได้ว่าหุ้นที่น่าสนใจมากที่สุดในกลุ่มยังคงได้แก่ SPALI

SCC ดีมานด์ใช้ปูนขยายตัว หยวนต้าให้ เป้า 185 บาท

SCC ดีมานด์ใช้ปูนขยายตัว หยวนต้าให้ เป้า 185 บาท

              หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง SCC ว่า ประชุมนักวิเคราะห์โทนค่อนไปทางบวก เหตุการณ์ สาระสำคัญจากงานประชุมนักวิเคราะห์วันที่ 17 มีนาคม มุมมองของเรา               ผู้บริหารให้มุมมองเกี่ยวกับอุตสาหกรรมปี 2025 โดยประเมินว่าอุปสงค์ใช้ปูนซีเมนต์ในตลาดประเทศหลัก ๆ เช่น ไทย ศรีลังกา เวียดนาม และกัมพูชา จะขยายตัว YoY               สำหรับประเทศไทย แม้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2025 (1H25) อุปสงค์ผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างปลายน้ำ การจำหน่ายปูนถุงในตลาดค้าปลีก และตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังมีความท้าทายจากปัญหาหนี้ครัวเรือน แต่ในภาพรวม อุปสงค์ปูนในประเทศจะเติบโต 2% YoY เป็น 31.4 ล้านตัน จากการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่ได้รับแรงหนุนจากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ อัตรากำไรยังได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มสัดส่วนเชื้อเพลิงทางเลือก การจำหน่าย Low Carbon Cement และอัตราการใช้ Clinker Factor ลดลง               แม้เวียดนามและศรีลังกาจะมีความท้าทายจากปัจจัยด้านราคา หลังจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากอุปทานใหม่ แต่ภาพรวมธุรกิจมีทิศทางที่ดีขึ้น หนุนจากอุปสงค์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 17.5 ล้านตัน (+5% YoY) และ 4.9 ล้านตัน (+11% YoY) ตามลำดับ หนุนจากการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐ การก่อสร้างภาคอุตสาหกรรม เม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ การฟื้นตัวของภาคที่อยู่อาศัย และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง               สำหรับประเด็นการปรับขึ้นราคาปูนซีเมนต์ในประเทศ (โดยการลดส่วนลดทางการค้า Rebate) คาดว่าจะเริ่มทยอยเห็นผลในช่วงปลายไตรมาส 1 ปี 2025 ซึ่งจะส่งผลบวกต่อการจำหน่ายปูนถุงก่อน ขณะที่การจำหน่ายปูน Bulk คาดว่าจะทยอยรับรู้อานิสงส์แบบค่อยเป็นค่อยไปเนื่องจากโครงสร้างราคาที่เป็นสัญญาระยะยาว ทำให้มี Lag-time เบื้องต้นคาดว่า จะมีผลบวกต่อกำไรในปี 2025 ประมาณ 400 – 800 ล้านบาท หรือ 10-20% (ยังไม่รวมในประมาณการ) โดยสมมติฐานคือ 1) ราคาปูนถุงเพิ่มขึ้น 20 บาท/ถุง 2) ปริมาณการจำหน่ายปูนในประเทศไทย 9.5 ล้านตัน/ปี 3) สัดส่วนการจำหน่ายปูนถุง 28% และ 4) การรับรู้การปรับขึ้นราคาตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2025 เป็นต้นไป               บริษัทฯ มีแผนปิดซ่อมบำรุงเตาเผาปูนซีเมนต์ในเวียดนาม 1 แห่งในช่วงไตรมาส 1 ปี 2025 ขณะที่โรงงานในไทยจะหยุดซ่อมบำรุง 1 เตาในไตรมาส 2 ปี 2025, 2 เตาในไตรมาส 3 ปี 2025 และ 1 เตาในไตรมาส 4 ปี 2025               ภาพรวมเรามีมุมมองค่อนไปทางบวก แม้ยังมีความท้าทายจากการแข่งขันในเรื่องของกำลังผลิตใหม่และอุปสงค์จากภาคครัวเรือนในประเทศไทยที่ยังไม่เด่น แต่ภาพรวมความต้องการใช้ปูนในตลาดหลักทั้งไทยและภูมิภาคในปี 2025 จะขยายตัว YoY นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนจากทิศทางต้นทุนพลังงานที่ลดลง การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดการใช้ Clinker Factor (เหลือ 65% ในปี 2030 จาก 70% ในปัจจุบัน) การเพิ่มสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงทางเลือก TSR (เป็น 40% ในปี 2030 จาก 29% ในปัจจุบัน) มาตรการควบคุมค่าใช้จ่าย และการรับรู้ผลการดำเนินงานของ LANNA ที่เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนถือหุ้น 61.44% ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2024 (จากเดิม 44.99%) รวมถึงอานิสงส์จากการปรับขึ้นราคาปูนในประเทศ (ยังไม่รวมในประมาณการ) ซึ่งทำให้ผลการดำเนินงานหลักในปี 2025 คาดจะเติบโต YoY               คาดกำไรปกติในไตรมาส 1 ปี 2025 จะปรับตัวขึ้น QoQ จากการเข้าสู่ High Season ของธุรกิจ               คงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเหมาะสมที่ 185.00 บาท

SCC ทำสัญญาเช่าเรือขนส่งก๊าซอีเทนเพิ่ม 2 ลำ 

SCC ทำสัญญาเช่าเรือขนส่งก๊าซอีเทนเพิ่ม 2 ลำ 

              หุ้นวิชั่น - นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCC) เปิดเผยว่า ตามที่บริษัทฯ ได้รายงานให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทราบ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2567 เรื่องโครงการเพิ่มวัตถุดิบก๊าซอีเทนที่โรงงาน Long Son Petrochemicals Company Limited ประเทศเวียดนาม (หรือ LSPE) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในกลุ่มบริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) (SCGC) ที่ SCC ถือหุ้นทั้งหมด และรายงานให้ทราบความคืบหน้าที่สำคัญของโครงการในวันที่ 23 มกราคม 2568 และ 27 กุมภาพันธ์ 2568 ตามลำดับนั้น               SCC ขอแจ้งความคืบหน้าเพิ่มเติมว่า SCGC ได้ทำสัญญาเช่าเหมาเรือขนส่งเพิ่มเติมอีก 2 ลำ สำหรับโรงงาน Long Son Petrochemicals Company Limited ประเทศเวียดนาม โดย SCGC และ Mitsui O.S.K. Lines, Ltd. (MOL) ได้ลงนามในสัญญาระยะยาวสำหรับเช่าเหมาเรือขนส่งก๊าซอีเทน (Very Large Ethane Carriers (VLECs)) ผ่านบริษัทย่อยของ MOL เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2568 ภายใต้สัญญาดังกล่าว กลุ่มบริษัท MOL จะให้บริการขนส่งก๊าซอีเทนจากสหรัฐอเมริกาไปยังประเทศเวียดนามตลอดระยะเวลาสัญญา 15 ปี ดังนั้นกลุ่มบริษัท MOL จะเป็นผู้ให้บริการเรือขนส่งก๊าซอีเทนรวมทั้งหมด 5 ลำสำหรับโครงการ LSPE               โครงการ LSPE มีการลงทุนประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือประมาณ 18,000 ล้านบาท) ซึ่งเงินลงทุนส่วนใหญ่จะเป็นการก่อสร้างถังเก็บวัตถุดิบ ในขณะที่การจัดหาเรือ VLECs จำนวน 5 ลำ จะดำเนินการในรูปของสัญญาบริการระยะยาว โดย LSP จะพิจารณาใช้แหล่งเงินทุนภายในของ SCC และคาดว่าจะสามารถเริ่มใช้ก๊าซอีเทนที่โรงงาน LSP ได้ในปลายปี 2570               Mitsui O.S.K. Lines, Ltd. หรือ MOL เป็นบริษัทขนส่งชั้นนำที่มีการดำเนินงานระดับโลกด้วยเรือประมาณ 900 ลำ และ MOL ได้พัฒนาธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ โดยมีธุรกิจหลัก ได้แก่ การขนส่งทางทะเล เทคโนโลยีและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ รวมถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บริการเรือของ MOL ประกอบด้วยเรือบรรทุกสินค้าแห้ง เรือบรรทุกก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เรือบรรทุกยานยนต์ และเรือบรรทุกน้ำมัน นอกจากธุรกิจขนส่งแบบดั้งเดิมแล้ว MOL ยังให้บริการทางธุรกิจด้านความเป็นอยู่และไลฟ์สไตล์ เช่น อสังหาริมทรัพย์ การดำเนินงานท่าเรือ และบริการเรือเฟอร์รี่ รวมถึงธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โลจิสติกส์และพลังงานลมนอกชายฝั่ง โดยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MOL สามารถดูได้ที่ https://www.mol.co.jp/en/

VIH คาด Q1/68 รายได้โต ยกระดับให้บริการดึงลูกค้าใหม่

VIH คาด Q1/68 รายได้โต ยกระดับให้บริการดึงลูกค้าใหม่

                                                                                 หุ้นวิชั่น - บมจ.ศรีวิชัยเวชวิวัฒน์ หรือ VIH ในนามกลุ่มโรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล ประเมินแนวโน้มไตรมาส 1/68 เติบโตต่อเนื่อง เร่งยกระดับการให้บริการทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ และบริหารจัดการค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพ ดันจำนวนลูกค้าทั่วไปและลูกค้าโครงการภาครัฐเพิ่มหลังสำนักงานประกันสังคม (SSO) เพิ่มค่าบริการ ค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง  (Adj RW>2) เป็น 12,000 บาทตามเดิม มั่นใจทั้งปีเติบโต 10% ตามแผน               นพ. มงคล วณิชภักดีเดชา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีวิชัยเวชวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) หรือ VIH เปิดเผยว่า ภาพรวมการดำเนินงานในไตรมาส 1/2568 คาดว่าจะรักษาการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง จากแผนการดำเนินงานปีนี้ ที่ต้องการเร่งยกระดับการให้บริการทางการแพทย์ในการดูแลรักษาโรคซับซ้อนด้วยความเชี่ยวชาญ โดยนำเทคโนโลยีทางการแพทย์เข้าให้บริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วย พร้อมทั้งดึงดูดให้ผู้ป่วยทั่วไปเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้น เช่น การเปิดให้บริการของศูนย์จักษุคลินิกของโรงพยาบาลวิชัยเวช แยกไฟฉาย ตั้งแต่ปีก่อน ส่งผลให้มีผู้ป่วยเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้น รวมถึงการให้บริการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตด้วยเทคโนโลยีไอน้ำ เป็นต้น เหล่านี้ล้วนสร้างการรับรู้รายได้เพิ่มขึ้นด้วย               ส่วนแผนการดำเนินโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ เนื้อที่รวม 19 ไร่ มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 36,000 ตารางเมตรภายใต้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 2,750 ล้านบาทนั้น คาดว่าจะพร้อมเปิดให้บริการได้ภายในไตรมาส 1 ของปี 2570 หรือช้ากว่ากำหนดการเดิมประมาณ 6 เดือน เนื่องจากต้องใช้เวลาในการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือ EIA จากหน่วยงานภาครัฐ               สำหรับโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารทางการเงินระหว่างวันที่ 17 มีนาคม 2568 โดยมีระยะเวลา 6 เดือน หรือสิ้นสุดในวันที่ 16 กันยายนนี้ ภายใต้กรอบวงเงิน 200 ล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นคืนจำนวน 26,666,666 หุ้น หรือคิดเป็น 4.38% ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ราคาหุ้น VIH ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ทั้งที่บริษัททำกำไรได้ดีอย่างต่อเนื่อง และมีแผนขยายโรงพยาบาลแห่งใหม่ ซึ่งน่าจะทำให้บริษัทเติบโตได้อีกมาก ทั้งนี้กระบวนการซื้อหุ้นคืนได้คำนึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ โดยเม็ดเงินมาจากเงินส่วนเกินไม่ใช่เงินจากการเพิ่มทุนแต่อย่างใด “แม้ปีนี้ภาพรวมเศรษฐกิจจะไม่ดีนัก แต่เรามั่นใจว่าจะรักษาอัตราการเติบโตที่ดีได้อย่างต่อเนื่อง จากการพัฒนาการให้บริการทางการแพทย์ใหม่ๆ รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานและบริหารจัดการค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง เพิ่มศักยภาพการเติบโตในปีนี้ให้ได้ 10% ตามแผนที่วางไว้” นพ.มงคลกล่าว               ด้านดร. ศักดา ตั้งจิตวัฒนากร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน กล่าวถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการในกลุ่มลูกค้าโครงการภาครัฐให้ดีอย่างต่อเนื่อง หลังภาครัฐโดยสำนักงานประกันสังคมปรับเกณฑ์ค่าบริการทางแพทย์สำหรับผู้ป่วยในกลุ่มโรคซับซ้อน (Adj RW>2) อยู่ที่ 12,000 บาทตามเดิม ซึ่ง VIH ยังมีโควตาผู้ประกันตนจากประกันสังคม ณ สิ้นปี 2567 ได้อีกประมาณ 50,000 คน จากปัจจุบันที่ให้บริการผู้ป่วยประกันสังคมกว่า 217,055 คน ที่โรงพยาบาลวิชัยเวช อ้อมน้อยและที่สมุทรสาคร ทั้งนี้ในปี 2568 ยังเป็นปีที่ดีของ VIH โดยเติบโตได้ตามเป้าหมายและสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ