#หุ้นวิชั่น


แนวคิด “ซื้อลูกหนี้ประชาชน”  ทำไม JMT ถึงได้ประโยชน์?

แนวคิด “ซื้อลูกหนี้ประชาชน” ทำไม JMT ถึงได้ประโยชน์?

          หุ้นวิชั่น - จับตา “ซื้อลูกหนี้ประชาชน” ออกจากระบบธนาคาร ซึ่งหากโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ให้น้ำหนักกรณีที่รัฐบาลเปิดโอกาสในการซื้อหนี้เพิ่มเติม หรือว่าจ้างเอกชนในการบริหาร เนื่องจากการสนับสนุนในรูปแบบดังกล่าว มีความเสี่ยงที่รัฐได้รับและต้นทุนด้านนโยบายสูงกว่ากรณีที่รัฐบริหารเอง โดยปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนในแง่ของนโยบาย จึงต้องติดตามในระยะถัดไป คงน้ำหนัก Neutral กลุ่มบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และเลือก JMT (Trading Buy, TP 15.60 บาท) เป็นหุ้นเด่น ประเด็น           บทวิเคราะห์ บล. กรุงศรี ระบุว่า แนวคิด “ซื้อลูกหนี้ประชาชน” ออกจากระบบธนาคาร จากภาครัฐเสนอให้มีการซื้อหนี้ของประชาชนทั้งหมดออกจากระบบธนาคาร แล้วให้ประชาชนค่อยๆ ผ่อนชำระในอัตราที่ลดลง พร้อมล้างประวัติเครดิตบูโร โดยอาศัยการลงทุนจากภาคเอกชน เพื่อลดการใช้งบประมาณของรัฐ           ปัจจุบันมีแนวทางที่อาจเป็นไปได้ 3 กรณี i) ให้ภาคเอกชนที่สนใจเข้ามาร่วมลงทุนและบริหาร NPLs ii) อาศัยรัฐวิสาหกิจเป็นหน่วยงานกลาง (อาทิ BAM หรือ SAM) ในการซื้อหนี้เสีย โดยบริหารหนี้ Secured NPLs เอง และว่าจ้างบริษัทเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญติดตามหนี้ Unsecured NPLs (เนื่องจาก BAM และ SAM ไม่มีความชำนาญในธุรกิจดังกล่าว) iii) จัดตั้งหน่วยบริหาร NPLs ขึ้นมาโดยเฉพาะซึ่งจะดำเนินการร่วมกันระหว่างสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นเจ้าของหนี้ และรัฐบาลช่วยในการบริหาร           บล. กรุงศรี มองเป็น Sentiment บวกเล็กน้อยต่อกลุ่ม AMC เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนในแง่ของนโยบาย แต่จากทั้ง 3 กรณีมองได้ในลักษณะ           กรณีที่ 1 เปิดโอกาสในการซื้อหนี้เพิ่มเตมแก่เอกชน โดยให้การสนับสนุนอาทิ ซื้อหนี้ Unsecured NPLs ได้ในราคาต่ำที่ 5% ของมูลหนี้ หรือให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับการซื้อหนี้เพื่อเป็น Incentive ในการซื้อหนี้ที่อาจเก็บยากกว่าปกติเนื่องจากเป็น NPLs คงค้างในระบบมานาน            กรณีที่ 2 รัฐว่าจ้าง AMC ที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารหนี้เสีย จะเป็นบวกกับกลุ่ม AMC โดยเฉพาะกลุ่มติดตามทวงถามหนี้ Unsecured NPLs (JMT, CHAYO) เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีรัฐวิสาหกิจที่เชี่ยวชาญด้านนี้ เนื่องจาก BAM และ SAM เน้นหนี้ Secured NPLs ซึ่งหากอิงบนยอดหนี้กลุ่มคนที่มีหนี้ไม่มีหลักประกันต่อคน < 1 แสนบาทที่ 35% ของหนี้ NPLs ราว 1.2 ล้านล้านบาท (ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ, NESDC) คิดเป็นมูลค่า 4.2 แสนล้านบาท และโดยทั่วไปธุรกิจติดตามทวงถามหนี้ Unsecured จะได้รับค่า Commission ราว 5-10% ของหนี้ที่ติดตามได้            กรณีที่ 3 รัฐบริหารเองหรือตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่เพื่อบริหารหนี้ดังกล่าว คาดเป็นผลลบจากการเพิ่มการแข่งขันในกลุ่ม AMC ซึ่งอาจทำให้ปริมาณ NPL ที่ซื้อได้มีโอกาสลดลง           หากโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นจริง เรามองน้ำหนักกรณีที่ 1 > กรณีที่ 2 > กรณีที่ 3 เนื่องจากกรณีที่ 1 รัฐได้รับความเสี่ยงต่ำกว่าอีก 2 กรณีซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากรัฐวิสาหกิจ และรัฐต้องร่วมแบกความเสี่ยงในการบริหารหนี้เสียเอง           คงน้ำหนัก Neutral กลุ่มบริหารสินทรัพย์ ระยะสั้นยังคงชอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์ซึ่งมีสัดส่วนรายได้จากหนี้ Unsecured NPLs เป็นหลักจากแนวโน้ม Cash collection ที่ฟื้นตัวต่อเนื่องติดต่อกัน 2 ไตรมาส และคงมุมมองระมัดระวังต่อกลุ่มบริหารหนี้ที่มีสัดส่วนรายได้จาก Secured NPLs            เลือก JMT (Trading Buy, TP 15.60 บาท) เป็นหุ้น Top pick กลุ่มฯ โดยปัจจุบันหุ้นซื้อขายบน PBV 0.7x ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง -1.5SD จึงเป็นโอกาสเก็งกำไรจากปัจจัยบวกข้างต้น

อภิปรายรัฐบาลประทุ เขย่าหุ้นไทยแค่ไหน? โผ 5 บจ.ซื้อหุ้นคืน- จับตา 10 หุ้น Deep Value เช็กได้!

อภิปรายรัฐบาลประทุ เขย่าหุ้นไทยแค่ไหน? โผ 5 บจ.ซื้อหุ้นคืน- จับตา 10 หุ้น Deep Value เช็กได้!

           หุ้นวิชั่น – โหมโรงศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ที่พุ่งเป้าไปที่ตัว นายกรัฐมนตรี วันที่ 24-25 มี.ค.นี้ เขย่าหุ้นกลุ่มการเมืองอะไรบ้าง นักลงทุนควรทำตัวอย่าไร หุ้นอะไรได้ประโยชน์ หุ้นอะไรได้รับผลกระทบ ต้องติดตาม ทีมงานหุ้นวิชั่น พร้อมรายงาน            จับตา 10 หุ้น Deep Value ประกอบด้วย CPALL, BDMS, MINT, BH, GPSC, SCGP, HMPRO, KBANK, BBL, AOT            เกาะติด 5 หุ้น ที่มีโอกาส ซื้อหุ้นคืน ตาม PTT นั่นคือ PTTEP, PTTGC, BCP, TOP, SCGP            บทวิเคราะห์ บล .กรุงศรี ประเมินทิศทางการลงทุนตลาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้า(24-29 มี.ค.2568) ว่า มีโอกาส “ฟื้นตัว” ตลาดจับตา การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล & นายกรัฐมนตรี 24-25 มี.ค. เพื่อประเมินเสถียรภาพรัฐบาล แต่กรณี Base Case ประเมิน รัฐบาลขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจได้ต่อ และน่าจะหนุนเม็ดเงินลงทุนชะลอดูความชัดเจน ทยอยกลับมาลงทุน SET ที่อยู่ในโซนลงทุน Current Equity Risk Premium ปัจจุบัน 4.8% +/- > AVG. +1.5 S.D.            โดยมีหุ้นเด่น กลุ่มที่มาตรการรัฐฯหนุน (ธนาคาร เช่าซื้อ อสังหา) หุ้นสื่อสาร คาดกระแสงาน AI Revolution รวมถึงคาดมี Preview งบ 1Q25F ที่ยังมีแนวโน้มดีหนุนกลุ่มที่ตลาดเก็งมีศักยภาพทำ และ 10 หุ้น Deep Value (CPALL, BDMS, MINT, BH, GPSC, SCGP, HMPRO, KBANK, BBL, AOT)            และ 10 หุ้น Deep Value (CPALL, BDMS, MINT, BH, GPSC, SCGP, HMPRO, KBANK, BBL, AOT)            หุ้นเด่นสัปดาห์นี้ : แนะนำ PTT, TRUE, KTB ส่วนสัปดาห์ก่อน BDMS, BCH, SCGP ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย -6.22% vs. ดัชนีฯที่ให้ผลตอบแทน 1.09% • PTT (TP Con-34.9): คาดโมเมนตัมการประกาศโครงการ Treasury Stock หนุนต่อ • TRUE(TP25F-15): กระแสงาน AI Revolution + ใกล้ Preview คาดกำไร 1Q25F ดีต่อ • KTB(TP25F-27): ได้ประโยชน์มาตรการซื้อหนี้ธนาคาร + ผ่อนคลาย LTV สูงลำดับต้น •            Investment Theme: • March25 Best Picks: AMATA, AP, BA, BH, BTS, CPALL, MTC • 1Q25F Stock Picks: ADVANC, AWC, BJC, BTS, CPALL, HMPRO, IVL, KBANK, KTB, TRUE Mid-Small Cap Play: INSET, JMT, MALEE, MOSHI            ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดหุ้นไทย • (*) US Econ: 24 มี.ค. ดัชนี Flash PMI ภาคผลิตและบริการ มี.ค. 25 ไม่มีคาด prev. 52.7 และ 51.0 จุด, 25 มี.ค. ความเชื่อมั่นผู้บริโภค Conf. Board มี.ค. คาด 94.0 จุด vs prev. 98.3 จุด • (*) US PCE: 29 มี.ค. เงินเฟ้อ PCE ก.พ.25 คาด +2.5%y-y, +0.3%m-m prev. +2.5% +0.3% • (*) CH Rate: 26 มี.ค. ติดตามอัตราดอกเบี้ย Facility Rate อายุ 1 ปี คาดคงที่ระดับ 2.0% • (*) TH Politic: 24-25 มี.ค. ติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล • (*) Tech Seminar: 27 มี.ค. ติดตามงานสัมมนา AI Revolution “a New Paradigm of New World Economy” บจ.หลักๆ ที่ร่วมงาน ได้แก่ ADVANC, BBIK, KBANK, WHA •             Treasury Stock: คาดกระแสเก็งหุ้นที่มีโอกาสทำ Treasury Stock เพิ่มขึ้น ประเมินหุ้นที่มีฐานะการเงินรองรับได้เป็นเป้า ได้แก่ หุ้นกลุ่มธนาคาร PTTEP, PTTGC, BCP, TOP, SCGP •            สัปดาห์นี้ วันที่ 24 – 29 มี.ค. ต่างประเทศ ติดตามรายงาน GDP และ Core PCE สหรัฐฯ ดัชนี Flash PMI ประเทศเศรษฐกิจสำคัญ ภายในประเทศ ติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจ สัปดาห์หน้า เรื่องหลักที่กำหนดทิศทางตลาดคาดอยู่ที่ภายใน ติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล 24-25 มี.ค. ตลาดน่าจะติดตามสัญญาณบ่งชี้ถึงเสถียรภาพรัฐบาล            ส่วนปัจจัยภายนอก ติดตามแนวโน้มดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะ Flash PMI ภาคผลิตและภาคบริการ มี.ค. 25 และความเชื่อมั่นผู้บริโภค ทั้งของ ม.มิชิแกน และ Conf Board หลังจากตลาดกังวลต่อความเสี่ยงเศรษฐกิจสหรัฐฯ มากขึ้น จากสัญญาณชี้นำในส่วน Inverted Yield Curve ที่เกิดขึ้นระยะหลัง ก่อนปลายสัปดาห์ รวมถึงการรายงานเงินเฟ้อ Core PCE ซึ่งคณะกรรมการ Fed ให้น้ำหนัก โดยมองมีความเสี่ยงด้านสูงสะท้อนจากโครงสร้างของ CPI และ PPI ที่รายงานออกมาก่อนหน้า

อ่านเกมส์ ศึกกลุ่มรับเหมาก่อสร้างไทย พร้อมโอกาสเติบโต [HoonVision x FynnCorp]

อ่านเกมส์ ศึกกลุ่มรับเหมาก่อสร้างไทย พร้อมโอกาสเติบโต [HoonVision x FynnCorp]

Key Highlights: แนวโน้มกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง ยังมีปัจจัยหนุนจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐที่เติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ผู้รับเหมารายใหญ่ ยังคงได้เปรียบในการแข่งขัน ในด้านผู้เล่นใหญ่ในอุตสาหกรรม ช.การช่าง (CK) ครองมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap) ถึง 80% และเป็นบริษัทที่ทำกำไรสุทธิได้สูงสุดของกลุ่ม ขณะที่ อิตาเลียนไทยฯ (ITD) ทำรายได้สูงสุด ในกลุ่มก่อสร้างโครงการภาครัฐ CK ถือเป็นผู้เล่นที่โดดเด่นในกลุ่ม และ ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง (UNIQ) โดดเด่นเรื่อง Dividend Yield สูง กลุ่มธุรกิจก่อสร้างยังมีแนวโน้มขยายตัว เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2568 เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้อนุมัติการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 4 โครงการใหญ่ รวมมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ของบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และโครงการ Data Center 3 โครงการจากบริษัทในไทย จีน และสิงคโปร์ สะท้อนการเติบโตของเทคโนโลยี AI และส่งเสริมการก้าวเข้าสู่การเป็นดิจิทัลฮับของไทย นอกจากนี้ ยังส่งผลดีต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ ธุรกิจก่อสร้าง ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC) ประเมินการก่อสร้างภาครัฐในปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัว 3% จากการได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นของหน่วยงานหลักที่ลงทุนภาคก่อสร้าง ได้แก่ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง และการเปิดประมูล การเริ่มก่อสร้างโครงการเมกะโปรเจกต์ต่างๆ ขณะที่ SCB EIC คาดการก่อสร้างภาคเอกชนจะขยายตัวเล็กน้อย จากแรงกดดันของตลาดที่อยู่อาศัยฟื้นตัวช้า โดยเฉพาะตลาดโครงการระดับราคาปานกลาง - ล่าง ท่ามกลางภาวะ Oversupply ของอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นรายใหญ่ในอุตสาหกรรม ยังคงได้รับปัจจัยบวกเนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความสามารถในการเข้าประมูลรับงานก่อสร้างจากโครงการภาครัฐ ซึ่งมีมูลค่าสูง มีสัดส่วนมากกว่าการก่อสร้างภาคเอกชน และเป็นโครงการลงทุนต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟฟ้า มอเตอร์เวย์ รวมถึง Megaprojects ด้านการคมนาคมที่จะเปิดประมูลในปี 2568 นี้ รวมมูลค่าโครงการกว่า 4 แสนล้านบาท CK ครองส่วนแบ่งตลาดใหญ่ ในกลุ่มผู้เล่นในอุตสาหกรรมก่อสร้าง สามารถแบ่งได้ตามกุล่มที่รับงานก่อสร้างโครงการภาครัฐเป็นหลัก กลุ่มที่รับงานภาคเอกชนเป็นหลัก กลุ่มที่รับงานก่อสร้างอื่นๆ กลุ่มควบคุมงานก่อสร้าง รวมไปถึงรับงานเฉพาะด้าน หากพิจารณาผู้เล่นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่รับงานโครงการภาครัฐเป็นหลัก ได้แก่ ITD, CK, NWR, RT, UNIQ, CIVIL, SQ ซึ่งจากข้อมูล มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) ในปัจจุบัน พบว่า CK ครองตลาดถึง 80% ตามมาด้วย UNIQ (6%), ITD (5%), CIVIL (4%), SQ (3%) ขณะที่บริษัทขนาดเล็กอย่าง RT และ NWR มีสัดส่วน 1% ITD ทำรายได้สูงสุด แต่ CK ทำกำไรนำโด่ง แม้ว่า ITD มีรายได้รวมในปี 2567 สูงสุดที่ 72,454.98 ล้านบาท ตามมาด้วย CK (38,763.91 ล้านบาท) และ UNIQ (10,448.46 ล้านบาท) ซึ่ง ITD และ CK เป็นกลุ่มผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มีประสบการณ์ มีเป้าหมายการรับงานโครงการขนาดใหญ่ รวมถึงในต่างประเทศ และการลงทุนสร้างงานในลักษณะสัมปทานโครงการ จึงส่งผลให้มีโอกาสในการทำรายได้มากกว่าผู้เล่นในกลุ่ม แต่เมื่อดูที่กำไรสุทธิ พบว่า CK มีกำไรส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสูงสุด มูลค่า 1,445.50 ล้านบาท ตามมาด้วย UNIQ (183.04 ล้านบาท), CIVIL (114.88 ล้านบาท) และ RT (71.15 ล้านบาท) CIVIL - RT ใช้เงินทุนคุ้มค่า, UNIQ แจกปันผลสูงสุด เมื่อดูอัตราส่วนผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) และผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) พบว่า CIVIL และ RT มี ROE สูงสุดที่ 6.2% และ 6.02% ตามลำดับในปี 2567 สะท้อนถึงประสิทธิภาพการใช้เงินทุนในการสร้างผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นได้ดีเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ส่วน RT, UNIQ และ CK เด่นในด้าน ROA สะท้อนว่าบริษัทใช้สินทรัพย์ที่มีในการสร้างกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าผู้เล่นในกลุ่ม ส่วนในแง่ของเงินปันผล UNIQ มี Dividend Yield สูงสุดที่ 3.95% ตามมาด้วย CK (2.09%) และ CIVIL (1.26%) สะท้อนว่าบริษัทเหล่านี้จ่ายเงินปันผลสูงในกลุ่มเมื่อเทียบกับราคาหุ้นในปัจจุบัน กล่าวโดยสรุป CK ถือว่าเป็นผู้เล่นที่โดดเด่นในภาพรวม โดยติดสามอันดับแรก ทั้งในแง่ผลการดำเนินงาน การสร้างผลตอบแทน และการจ่ายปันผล จากการที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ในกลุ่ม ส่วน UNIQ อาจดึงดูดนักลงทุนที่ต้องการรายได้จากเงินปันผล และแม้ไม่ได้เป็นผู้เล่นใหญ่สุดในกลุ่ม แต่บริษัทมีความสามารถในการบริหาร ควบคุมต้นทุนดีขึ้นต่อเนื่องจากการซื้อเป็นจำนวนมาก ปัจจัยเสี่ยง การแข่งขันที่รุนแรงจากผู้รับเหมาก่อสร้างจากจีน ส่งผลให้ผู้เล่นของไทยเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น และอาจเป็นแบบนี้ต่อไปในอนาคต นอกจากนั้น ยังเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้สินค้าวัสดุก่อสร้างจากจีน จึงส่งผลกระทบต่อเนื่องทั้ง Supply Chain ของธุรกิจก่อสร้างในประเทศ การฟื้นตัวช้าของตลาดที่อยู่อาศัย จากอุปสงค์ที่มีการโอนกรรมสิทธฺ์ทั่วประเทศยังคงลดลงในปีที่ผ่านมาแม้จะมีแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ในการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง อย่างไรก็ตาม REIC คาดการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2568 จะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านปริมาณและมูลค่าที่ 1.6% และ 1.4% ตามลำดับ ความล่าช้าของการเปิดประมูลโครงการก่อสร้างของภาครัฐ ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อรายได้ กระแสเงินสด และต้นทุนของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรม หมายเหตุ: การวิเคราะห์ข้างต้นเป็นการดูอัตราส่วนทางการเงินเบื้องต้นเทียบกับคู่แข่งในช่วงระยะเวลาเดียว (2024) ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน อ่านรายละเอียดเพิ่ม ที่ https://app.visible.vc/shared-update/458bb195-88b7-4a0c-8827-d715d087bcb1

EGCO ทุ่มงบ 3 หมื่นลบ. รุกขยายพลังงานในปท.-ตปท.

EGCO ทุ่มงบ 3 หมื่นลบ. รุกขยายพลังงานในปท.-ตปท.

           หุ้นวิชั่น - EGCO รุกขยายธุรกิจพลังงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยวางงบลงทุนไว้ที่ 30,000 ล้านบาท พร้อมแสวงหาแนวทางธุรกิจใหม่ เพิ่มรายได้-กำไร            นางสาวจิราพร ศิริคำ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO เปิดเผยว่า ปี 2568 บริษัทตั้งเป้างบลงทุนไว้ที่ 30,000 ล้านบาท รองรับการขยายธุรกิจโรงไฟฟ้า และธุรกิจพลังงานที่เกี่ยวเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง จากปี 2567 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 10,587 ล้านบาท            ทั้งนี้บริษัทฯ ยังมีโครงการสำคัญ ที่จะเข้ามาหนุนการเติบโตของรายได้ ได้แก่ โครงการ APEX ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมี 6 โครงการ กำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 841 เมกะวัตต์ โดยคาดว่าจะสามารถ COD ได้ในไตรมาส 1/68 จำนวน 5 โครงการ และไตรมาส 4/68 จำนวน 1 โครงการ             โครงการธุรกิจสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน CDI ในอินโดนีเซีย ซึ่งบริษัทได้ร่วมลงทุน 30% โดย CDI มีหลายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะธุรกิจด้านโลจิสติกส์ที่มีโอกาสขยายตัวสูง คาดว่าจะมีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต             โครงการ Yunlin ในไต้หวัน ซึ่งปัจจุบันสามารถเดินเครื่องเต็มกำลัง และสามารถรับรู้รายได้เต็มปี            โครงการ QPL ในฟิลิปปินส์ ที่กำลังดำเนินการต่อสัญญาในไตรมาสนี้ คาดว่าจะสามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง            ปัจจุบันบริษัทมีโรงไฟฟ้าจำนวน 42 แห่ง กำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 6,608 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น 6,461 เมกะวัตต์ที่จ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) แล้ว และอีกอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ราว 147 เมกะวัตต์            นอกจากนี้ บริษัทยังมองหาโอกาสในการร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อพัฒนาพลังงานทางเลือกและเพิ่มประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้า            สำหรับเป้าหมายในปี 2568-2560 กลยุทธ์ Triple P ยังคงเป็นแนวทางสำคัญของ EGCO GROUP โดยมีเป้าหมายหลัก คือ การลดการปล่อยคาร์บอนภายในปี 2573  ซึ่งเป็นเป้าหมายที่บริษัทดำเนินการอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ บริษัทยังคงแสวงหาแนวทางธุรกิจใหม่ เพิ่มรายได้อย่างสม่ำเสมอ และรักษากำไรให้คงที่  โดยบริษัทจะให้ความสำคัญกับการปรับปรุงโครงสร้างองค์กร การพัฒนาบุคลากร และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้มากขึ้น  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

ก.ล.ต. กล่าวโทษ OKX-ผู้สนับสนุนการกระทำความผิด 9 ราย ประกอบธุรกิจศูนย์ฯ ไม่ได้รับอนุญาต

ก.ล.ต. กล่าวโทษ OKX-ผู้สนับสนุนการกระทำความผิด 9 ราย ประกอบธุรกิจศูนย์ฯ ไม่ได้รับอนุญาต

          ก.ล.ต. กล่าวโทษ Aux Cayes FinTech Co. Ltd. ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มบนเว็บไซต์ www.okx.com/th (OKX) และผู้สนับสนุนการกระทำความผิด 9 ราย ต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) กรณีกระทำการเข้าข่ายการประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ โดยมีบุคคลทั้ง 9 รายเป็นผู้สนับสนุนการกระทำของ OKX           สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับแจ้งเบาะแสและตรวจสอบ พบว่าตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2564 OKX ได้ให้บริการจัดระบบการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่ออำนวยความสะดวกให้เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล โดยเก็บค่าธรรมเนียมร้อยละ 0.1 ของมูลค่าธุรกรรมที่ลูกค้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และมีการชักชวนและประชาสัมพันธ์ให้มาใช้บริการผ่านเว็บไซต์ OKX รวมถึงยังมีกิจกรรมส่งเสริมการขายอันเป็นการชักชวน ผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ เช่น Telegram ชื่อ “OKX TH” Twitter (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น X) ชื่อ “OKX Thai Community” Line OpenChat ชื่อ “Thai Community” เป็นต้น           การกระทำของ OKX เข้าข่ายประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลตามมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ) ซึ่ง OKX ดำเนินการโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26 อันมีความผิดและระวางโทษตามมาตรา 66 แห่ง พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ           นอกจากนี้ ยังปรากฏว่า OKX ได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนการประชาสัมพันธ์การให้บริการและกิจกรรมส่งเสริมการขายจากบุคคลทั้ง 9 ราย ได้แก่ (1) นายศรัณย์ บุญมีศรีสง่า ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “ลองลงทุน” Youtube ชื่อ “ลองลงทุน” และ Discord Server ชื่อ “LONGLONGTHUN Community” (2) นายณัฐ จูงวงศ์ ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “พ่อบ้านคริปโต” Youtube ชื่อ “พ่อบ้านคริปโต” Discord Server ชื่อ “Moonstation” และ Line OpenChat ชื่อ “Exclusive MoonStation” (3) นายกฤษณะ กฤษณานุวัตร์ ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “Srisiam” และ Youtube ชื่อ “Srisiam” (4) นายสมิทธิ เจริญมิน ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “น้ายามพาเทรด” และ Youtube ชื่อ “น้ายามพาเทรด” (5) นายกิตติทัศน์ เบญจเจริญพัฒน์ ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “I Learn A Lot : แชร์มุมมองด้านการลงทุน” Youtube ชื่อ “I Learn A Lot” และ Line OpenChat ชื่อ “Exclusive Wave125i” (6) นายสรวิศ สงวนโภคัย ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “Art of Crypto” Youtube ชื่อ “Art of Crypto” และ Telegram ชื่อ “Art of Crypto” (7) นายอัครวัฒน์ รุจิเรืองชัย ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “Crypto Teller : บอกกล่าวเล่าคริปโต” Youtube ชื่อ “cryptoteller007” และ Discord Server ชื่อ “Mookata Trader Community” (8) นายรชต เชื้อสายบัว ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “กราฟฟิ้ววว” Line OpenChat ชื่อ “กราฟฟิ้ววว เดอะ คอมมูนิตี้” และ Discord Server ชื่อ “ห้องลับจับคลื่น” (9) นายวรุตม์ วนิชยาโกศล ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “Insight On-Chain : ส่องข้อมูลออนเชน” และ Line OpenChat ชื่อ “Insight On-Chain มาคุยกัน”           การกระทำของบุคคลทั้ง 9 ราย ทำให้ OKX เป็นที่รู้จักและมีบุคคลสนใจไปใช้บริการ OKX มากขึ้น จึงเข้าข่ายเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ OKX ในการประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนมาตรา 26 อันมีความผิดและระวางโทษตามมาตรา 66 แห่งพ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ประกอบมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา           ก.ล.ต. จึงกล่าวโทษ OKX และผู้สนับสนุนการกระทำความผิดทั้ง 9 ราย ต่อ บก.ปอศ. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป           ทั้งนี้ ภายหลังการกล่าวโทษของ ก.ล.ต. กระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาต่อไปเป็นการสอบสวนของพนักงานสอบสวน การสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการ และการพิจารณาของศาลยุติธรรม ตามลำดับ โดย ก.ล.ต. จะติดตามความคืบหน้าในการดำเนินคดี และจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ในกระบวนการภายหลัง ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษแล้ว           พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. ขอเตือนประชาชนและผู้ลงทุนให้ระมัดระวังการใช้บริการกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และยังมีความเสี่ยงที่จะถูกหลอกลวง (scam) รวมถึงความเสี่ยงในการเป็นเส้นทางผ่านเงินของผู้กระทำความผิดที่ต้องการฟอกเงิน โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตได้ที่ www.sec.or.th หรือแอปพลิเคชัน “SEC Check First” และสามารถตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ได้ที่ investor alert ลิงก์ https://market.sec.or.th/public/idisc/th/InvestorAlert           ทั้งนี้ หากมีเบาะแสเกี่ยวกับการดำเนินการที่น่าสงสัย โปรดแจ้งที่ “ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและแจ้งเบาะแส” โทร. 1207 หรือผ่านช่องทาง Facebook page “สำนักงาน กลต.” หรือ Sec Live Chat ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. เพื่อการตรวจสอบในเชิงลึกต่อไป

ก.ล.ต. กล่าวโทษ XT.COM ประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต

ก.ล.ต. กล่าวโทษ XT.COM ประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต

             ก.ล.ต. กล่าวโทษผู้ให้บริการแพลตฟอร์มศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลบนเว็บไซต์ www.xt.com (XT.COM) ต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ในความผิดกรณี XT.COM กรณีกระทำการเข้าข่ายประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ)              สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตรวจสอบพบว่า XT.COM ได้ให้บริการระบบการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่ออำนวยความสะดวกให้เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล โดยเก็บค่าธรรมเนียม และมีการชักชวนและประชาสัมพันธ์ให้มาใช้บริการของ XT.COM ในประเทศไทย ผ่านทางโซเชียลมีเดียเป็นภาษาไทย ได้แก่ Facebook Telegram และ YouTube รวมทั้งการออกบูธ XT.COM ในงานที่จัดขึ้นในประเทศไทยด้วย              การกระทำของ XT.COM เข้าข่ายประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ซึ่ง XT.COM ดำเนินการโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนมาตรา 26 อันมีความผิดและระวางโทษตามมาตรา 66 แห่ง พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ก.ล.ต. จึงกล่าวโทษ XT.COM ต่อ บก.ปอศ. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป              ทั้งนี้ ภายหลังการกล่าวโทษของ ก.ล.ต. กระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาต่อไปเป็นการสอบสวนของพนักงานสอบสวน การสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการ และการพิจารณาของศาลยุติธรรม ตามลำดับ โดย ก.ล.ต. จะติดตามความคืบหน้าในการดำเนินคดี และจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ในกระบวนการภายหลัง ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษแล้ว              พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. ขอเตือนประชาชนและผู้ลงทุนให้ระมัดระวังการใช้บริการกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และยังมีความเสี่ยงที่จะถูกหลอกลวง (scam) รวมถึงความเสี่ยงในการเป็นเส้นทางผ่านเงินของผู้กระทำความผิดที่ต้องการฟอกเงิน โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตได้ที่ www.sec.or.th และแอปพลิเคชัน SEC Check First และสามารถตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ได้ที่ investor alert ลิงก์ https://market.sec.or.th/public/idisc/th/InvestorAlert              ทั้งนี้ หากมีเบาะแสเกี่ยวกับการดำเนินการที่น่าสงสัย โปรดแจ้งที่ “ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและแจ้งเบาะแส” โทร. 1207 หรือผ่านช่องทาง Facebook page “สำนักงาน กลต.” หรือ Sec Live Chat ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. เพื่อการตรวจสอบในเชิงลึกต่อไป

ก.ล.ต. เตือนผถห.กู้ NRF254A ใช้สิทธิประชุมวันที่ 25 มี.ค.68

ก.ล.ต. เตือนผถห.กู้ NRF254A ใช้สิทธิประชุมวันที่ 25 มี.ค.68

          สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ขอให้ผู้ถือหุ้นกู้ NRF254A ใช้สิทธิในการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ ศึกษาข้อมูล ซักถามผู้ออกหุ้นกู้หรือผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนและเพียงพอต่อการตัดสินใจลงมติ ในวันที่ 25 มีนาคม 2568           ตามที่บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) (NRF) ในฐานะผู้ออกหุ้นกู้ NRF254A จะจัดให้มี  การประชุมผู้ถือหุ้นกู้ ครั้งที่ 3/2568 ในวันที่ 25 มีนาคม 2568 เวลา 14.00 น. ด้วยวิธีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-meeting) โดยมีเรื่องเพื่อพิจารณาขอผ่อนผันหรือขออนุมัติ เพื่อไม่ให้ถือเป็นเหตุผิดนัดตามข้อกำหนดสิทธิ ดังนี้ (1) ผ่อนผันให้การที่บริษัทไม่สามารถดำเนินการปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นกู้ 14 วัน ล่วงหน้าก่อนวันประชุม (2) ผ่อนผันให้บริษัทและนายทะเบียนนำส่งหนังสือเชิญประชุม โดยใช้รายชื่อผู้ถือหุ้นกู้ที่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมและออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2568 เป็นรายชื่อผู้ถือหุ้นกู้ที่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมและออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ครั้งที่ 3/2568 (3) อนุมัติให้การที่ผู้ออกหุ้นกู้นำที่ดิน อาคาร และเครื่องจักรของโรงงานผลิตเครื่องปรุงรสของบริษัทไปจำนองกับธนาคารแห่งหนึ่ง เพื่อเป็นหลักประกันการขอวงเงินสินเชื่อ การ Refinance หรือการเจรจาผ่อนผัน หรือการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคาร           ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้กำหนดให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ประโยชน์ และผลกระทบที่ผู้ถือหุ้นกู้จะได้รับจากการมีมติอนุมัติ หรือไม่อนุมัติ ให้ชัดเจนในแต่ละทางเลือก พร้อมเหตุผลประกอบโดยมีความเห็นของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ประกอบด้วย ก.ล.ต. จึงขอให้ผู้ถือหุ้นกู้ศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบ และใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ในการรักษาประโยชน์ของตนเอง พร้อมทั้งสอบถามข้อมูลต่าง ๆ จากผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อให้มีข้อมูลครบถ้วนประกอบการตัดสินใจออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ด้วย หมายเหตุ : ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ NRF254A ครบกำหนดชำระวันที่ 20 เมษายน 2570

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

ปตท. -GPSC - Solar PPM ติดตั้งไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ ณ วัดสระเกศฯ

ปตท. -GPSC - Solar PPM ติดตั้งไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ ณ วัดสระเกศฯ

เมื่อเร็วๆนี้ - ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) หรือ PTT พร้อมด้วย นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) และนายกฤษณ์ พรพิไลลักษณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โซลาร์ พีพีเอ็ม จำกัด (Solar PPM) ร่วมถวายระบบ Solar Rooftop ขนาด 100 กิโลวัตต์ แด่พระเดชพระคุณพระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดภูเขาทอง) เพื่อปรับปรุงระบบไฟฟ้าของวัดให้เป็นระบบไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับใช้งานภายในอาคารบำเพ็ญกุศล 1-2 และเมรุ โดยสามารถลดค่าไฟฟ้าของวัดได้ถึงร้อยละ 50 ภายใน 1 เดือน นับเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายให้แก่วัดและเป็นการสนับสนุนเพื่อสาธารณประโยชน์ให้แก่วัดและชุมชนในพื้นที่อีกด้วย

ก.ล.ต.เห็นชอบปรับปรุงเกณฑ์ NC ของ DA Custodian

ก.ล.ต.เห็นชอบปรับปรุงเกณฑ์ NC ของ DA Custodian

          สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (คณะกรรมการ ก.ล.ต.) มีมติเห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์เงินกองทุน (Net Capital) สำหรับ DA Custodian เพื่อส่งเสริมให้เกิดผู้ให้บริการภายในประเทศมากขึ้น รวมทั้งเห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์อัตราค่าความเสี่ยงสำหรับ investment token และโทเคนดิจิทัลที่ไม่มี custody risk ยกระดับระบบนิเวศของโทเคนดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพ           ตามที่ ก.ล.ต. มีแนวทางในการส่งเสริมผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Custodial Wallet Provider : DA Custodian) ให้มีจำนวนมากขึ้น โดยสนับสนุนผู้ให้บริการดังกล่าวให้มีต้นทุนที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ต้องการฝากทรัพย์สินลูกค้ากับ DA Custodian ในประเทศ รวมถึงมีแนวทางในการส่งเสริมและยกระดับระบบนิเวศของโทเคนดิจิทัล ทั้งการออกเสนอขายในตลาดแรกและ การซื้อขายเปลี่ยนมือในตลาดรอง โดยลดภาระของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในการดำรงเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเก็บรักษาทรัพย์สินลูกค้า (custody risk) กรณีที่ทรัพย์สินดังกล่าวเป็นโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (investment token) และโทเคนดิจิทัลที่ไม่มี custody risk           คณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2568 ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดำรงเงินกองทุน หรือ “หลักเกณฑ์ NC” ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีสาระสำคัญดังนี้           (1) การปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ NC ของ DA Custodian โดยปรับลดอัตรา NC cold wallet สำหรับให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล (DA Custodian) ให้อยู่ที่ 1% (ลดลงจาก 2%) เพื่อส่งเสริมให้เกิดผู้ให้บริการภายในประเทศมากขึ้นและลดภาระต้นทุนให้ผู้ประกอบธุรกิจ ปรับเพิ่มสัดส่วนการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าใน cold wallet ให้ไม่น้อยกว่า 95% (จากเดิม 90%) และกำหนดห้ามผู้ประกอบธุรกิจประเภท DA Custodian มอบหมายระบบงานในการเก็บรักษาทรัพย์สินลูกค้าต่อไปยังผู้ให้บริการรายอื่น (ห้าม sub-custody) รวมทั้งปรับปรุงข้อกำหนดอื่น ๆ ของหลักเกณฑ์ ให้สอดคล้องกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นที่เก็บรักษาทรัพย์สินลูกค้า*           (2) การปรับปรุงหลักเกณฑ์อัตราค่าความเสี่ยงสำหรับโทเคนดิจิทัลที่ไม่มี custody risk โดยกำหนดยกเว้นอัตรา NC custody risk สำหรับโทเคนดิจิทัล** ที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเก็บรักษาไว้ใน hot และ cold wallet หากเหรียญดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด*** รวมถึงไม่ต้องนำไปฝากไว้กับผู้ประกอบธุรกิจประเภท DA Custodian           ทั้งนี้ ก.ล.ต. จะดำเนินการยกร่างประกาศ เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และออกประกาศบังคับใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อไป หมายเหตุ : * ได้แก่ การใช้ same coin ในการดำรงเงินกองทุน การปรับปรุงนิยามของกรมธรรม์ และการดำเนินการกรณีที่ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้ ** โทเคนดิจิทัล ให้หมายความตามนิยาม "โทเคนดิจิทัล" ใน พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ https://www.sec.or.th/TH/Documents/ActandRoyalEnactment/RoyalEnactment/enactment-digitalasset2561.pdf *** เช่น ผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องจะต้องมีบริการที่สามารถติดต่อประสานงานได้ในประเทศไทย หรือระบุเงื่อนไขการออกเหรียญใหม่ (re-issue) อย่างชัดเจนในแบบ filing เป็นต้น

KKP หั่น GDP เหลือ 2.3% ชี้ไทยเสี่ยงโตต่ำ นทท.จีนหด-นโยบาย Trump กดดัน

KKP หั่น GDP เหลือ 2.3% ชี้ไทยเสี่ยงโตต่ำ นทท.จีนหด-นโยบาย Trump กดดัน

          KKP Research ประเมินเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มโตต่ำและเผชิญความไม่แน่นอนสูงจากนโยบายการค้าของสหรัฐ ฯ โดยพิจารณาจากข้อมูลเศรษฐกิจปี 2024 ที่เติบโตได้ค่อนข้างต่ำเพียง 2.5% แม้ว่าการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวได้ดีและมีมาตรการแจกเงินขนาดใหญ่จากภาครัฐแล้วก็ตาม บ่งชี้ถึงความอ่อนแอในภาคส่วนอื่นๆ ของเศรษฐกิจไทยอย่างชัดเจนจากปัญหาเชิงโครงสร้างโดยเฉพาะการผลิตภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีขนาดประมาณ 25% ของ GDP แต่หดตัวต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาจากการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในหลายอุตสาหกรรม  ทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเปราะบางและกระจุกตัวมากขึ้น จากการพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวเป็นหลัก ซึ่งอาจไม่เพียงพอที่จะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตในระยะยาวได้ อีกทั้งการเข้าสู่สังคมสูงอายุ ยังจะทำให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง และหากไม่มีการเปลี่ยนแปลง มีแนวโน้มที่อาจต่ำกว่า 2.0% ภายในปี 2035           สำหรับปี 2025 KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026 ท่องเที่ยวจีนไม่มา ชั่วคราวหรือถาวร ?           จำนวนนักท่องเที่ยวจีนตั้งแต่ช่วงหลังตรุษจีนมาเติบโตได้ต่ำกว่าที่ประเมินไว้มาก โดยจำนวนนักท่องเที่ยวจีนปรับตัวลดลงจากประมาน 6 แสนคนต่อเดือน หรือ 60% ของช่วงก่อนโควิด ลงมาที่ระดับต่ำกว่า 4 แสนคน หรือ 35% ของช่วงก่อนโควิดซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2023 ประเด็นที่น่ากังวล คือ สัญญาณการฟื้นตัวที่ช้าของนักท่องเที่ยวจีนบางส่วนไม่ได้เกิดจากปัจจัยชั่วคราวและอาจทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้าลงในระยะยาว นักท่องเที่ยวจีนมีความนิยมเที่ยวในประเทศมากขึ้น ข้อมูลในช่วงที่ผ่านมาสะท้อนว่าการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในต่างประเทศของชาวจีนฟื้นตัวช้ากว่าการท่องเที่ยวในประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยการท่องเที่ยวต่างประเทศต่ำกว่าช่วงก่อนโควิดประมาณ 13.5% ในขณะที่การท่องเที่ยวในประเทศต่ำกว่าช่วงก่อนโควิดประมาณ 6.4% ซึ่งอาจสะท้อนว่านักท่องเที่ยวจีนมีความชื่นชอบในการท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น การแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นจากประเทศญี่ปุ่นและมาเลเซีย โดยจำนวนเที่ยวบินจากจีนไปยังญี่ปุ่นและมาเลเซียมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 อย่างชัดเจน นอกจากนี้เหตุการณ์ลักพาตัวนักแสดงจีนในไทยยังเพิ่มความกังวลกับนักท่องเที่ยวจีนที่จะมาเที่ยวไทย กรุ๊ปทัวร์จีนคือกลุ่มหลักที่ไม่กลับมา โดยแม้นักท่องเที่ยวทั่วไป (Free Individual Traveler) จะเริ่มฟื้นตัวกลับมาได้กว่า 77% ของช่วงก่อนโควิด แต่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนแบบกรุ๊ปทัวร์ยังคงไม่กลับมาในระดับเดิม โดยอยู่เพียงระดับประมาณ 45% ของจำนวนช่วงก่อนโควิดเท่านั้น           KKP Research ประเมินว่าหากนักท่องเที่ยวจีนไม่กลับมาฟื้นตัวจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยอาจไม่สามารถกลับไปแตะระดับ 40 ล้านคนเท่ากับช่วงก่อนโควิดได้เร็วตามคาด เนื่องจากนักท่องเที่ยวจีนคิดเป็นสัดส่วนกว่า 30% ของภาคการท่องเที่ยวทั้งหมด โดย KKP Research ปรับประมาณการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวปี 2025 เป็น 37.2 ล้านคน จาก 38.1 ล้านคน และปี 2026 เป็น 39.9 ล้านคนจาก 40.6 ล้านคน เศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญหน้ากับความเสี่ยงจากนโยบายการค้าสหรัฐ ฯ           KKP Research ประเมินว่าประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่เผชิญความเสี่ยงจากนโยบายการค้าสหรัฐ ฯ เป็นลำดับต้น ๆ ของภูมิภาค โดยมีโอกาสสูงที่ไทยจะอยู่ในรายชื่อกลุ่มแรกของการเรียกเก็บภาษี reciprocal tariffs ซึ่งสะท้อนจากข้อมูลสองส่วน คือ 1) การเกินดุลการค้ากับสหรัฐ ฯ ในระดับสูง ซึ่งไทยถือเป็นประเทศลำดับที่ 11 ของโลกที่มีการเกินดุลการค้ากับสหรัฐ ฯ มากที่สุด 2) ส่วนต่างระหว่างอัตราภาษีเฉลี่ยตามน้ำหนักการค้าที่ไทยคิดกับสหรัฐ ฯ และสหรัฐ ฯ คิดกับไทยถือว่าสูงเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศกลุ่ม Emerging Markets และสูงที่สุดใน ASEAN และไทยยังมีมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีอีกด้วย           KKP Research ประเมินว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากนโยบายการค้าสหรัฐฯ มีความไม่แน่นอนสูงมากและยังไม่ได้รวมผลกระทบไว้ในการประเมินตัวเลข GDP โดยมี 4 ปัจจัยหลักที่ต้องประเมินผลกระทบจากการขึ้นภาษี คือ 1) ขนาดของภาษีที่สหรัฐ ฯ จะขึ้นกับไทย 2) ผลต่อการชะลอตัวของการส่งออกของไทยจากการขึ้นภาษี 3) มูลค่าเพิ่มที่ไทยสร้างได้จากการส่งออกไปยังสหรัฐ ฯ และ 4) ระยะเวลาที่ไทยจะถูกขึ้นภาษี โดยประเมินว่า           1) อัตราภาษีที่ไทยจะถูกเรียกเก็บจากสหรัฐฯ จะอยู่ในช่วง 10% - 20% โดยคำนวณจากส่วนต่างของอัตราภาษีที่ไทยคิดกับสหรัฐ ฯ และสหรัฐ ฯ คิดกับไทย อย่างไรก็ตามอัตรานี้ยังมีความไม่แน่นอนสูง           2) มูลค่าเพิ่มที่ไทยสร้างได้ในประเทศจากสินค้าส่งออกไปยังสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับ 30% - 40%  ในช่วงก่อนปี 2020 สินค้าส่งออกไทยไปสหรัฐฯ มีมูลค่าเพิ่มค่อนข้างสูงที่ประมาน 50% - 60% อย่างไรก็ตามตั้งแต่หลังปี 2020 การเติบโตของการส่งออกเกิดจากการนำเข้าจากจีนเพื่อส่งต่อไปยังสหรัฐฯ ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มในประเทศในระดับต่ำมาก ทำให้มูลค่าเพิ่มของสินค้าส่งออกไทยในปัจจุบันลดต่ำลง           จากสองปัจจัยสำคัญ KKP Research คาดการว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในภาพรวมจะอยู่ในช่วง 0.2 – 0.4ppt หากมีการประกาศขึ้นภาษีจริงและอัตราภาษีคงไว้ทั้งปี ผลกระทบดังกล่าวไม่รวมถึงผลจากข้อเสนอที่ไทยอาจต้องเจรจาเพื่อให้สหรัฐปรับลดอัตราภาษีนำเข้าลงมา ปัจจัยเหล่านี้อาจเป็นปัจจัยลบเพิ่มเติมโดยต้องจับตาช่วงต้นเดือนเมษายน ที่สหรัฐฯ จะมีการประกาศเกี่ยวกับนโยบายภาษีนำเข้าเพิ่มเติม นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐมีแนวโน้มให้ผลจำกัด           มาตรการแจกเงินผ่านนโยบาย Digital Wallet เป็นความหวังของภาครัฐว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ส่งผลบวกน้อยกว่าที่ประเมินไว้ โดยมาตรการแจกเงินใน 2 ระยะแรกคิดเป็นเงินมูลค่ารวมกว่า 1.77 แสนล้านบาท แต่การบริโภคภาคเอกชนในช่วงไตรมาส 4 ปรับตัวดีขึ้นเพียงเล็กน้อย และอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีโดยเฉพาะเมื่อไม่รวมการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว ทำให้แม้ว่าภาครัฐมีการอนุมัติงบกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมผ่านการแจกเงินระยะที่สามซึ่งจะแจกคนเป็นจำนวน 2.7 ล้านคนอายุระหว่าง 16-20 คิดเป็นเงิน 2.7 หมื่นล้านบาทและจะเริ่มแจกช่วงไตรมาส 2 ของปี และการแจกเงินระยะสุดท้ายน่าจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี แต่จากขนาดของการแจกเงินที่เล็กลง KKP Research ประเมินว่าผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมจะมีจำกัดโดยคาดว่าการบริโภคจะขยายตัวได้ใกล้เคียงกับระดับที่เคยประเมินไว้ คาด ธปท. ลดดอกเบี้ยถึง 1.25% ในปี 2026           ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในเดือนตุลาคมและเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ลงมาที่ระดับ 2% ซึ่งมีทิศทางสอดคล้องกับที่ KKP Research ประเมินไว้ว่ามีโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะปรับลดลงเหลือ 1.5% ในปีนี้ อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังคงอ่อนแอต่อเนื่อง ความไม่แน่นอนด้านการค้าโลก ภาวะทางการเงินที่ตึงตัวจากการหดตัวของสินเชื่อ และคุณภาพสินเชื่อที่ยังคงแย่ ส่งผลให้ KKP Research คาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีการปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มอีก 2 ครั้งในปี 2025 และอีก 1 ครั้งในปี 2026 และทำให้อัตราดอกเบี้ยสุดท้าย (Terminal rate) ในรอบการลดดอกเบี้ยนี้จะอยู่ที่ 1.25% เหตุผลสำคัญที่เชื่อว่าดอกเบี้ยควรลดลงเพิ่มเติม คือ ปัญหาด้านความเสี่ยงเสถียรภาพระบบการเงินลดน้อยลงมาก จากสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่ธนาคารระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และสินเชื่อภาคธนาคารหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณหนี้ต่อ GDP ของไทยเริ่มปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการสื่อสารของ ธปท. ในช่วงที่ผ่านมาที่กล่าวว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้จะไม่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงด้านเสถียรภาพของระบบการเงิน สัญญาณในตลาดการเงินหลายส่วนสะท้อนว่านโยบายการเงินในปัจจุบันอาจตึงตัวมากเกินไป อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มอยู่ต่ำกว่าระดับศักยภาพในอดีต นอกจากนี้สัญญาณของตลาดการเงินทั้งเงินบาทที่แข็งค่า อัตราดอกเบี้ยดอกเบี้ยระยะยาวที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง อาจส่งสัญญาณว่านโยบายการเงินในปัจจุบันมีแนวโน้มตึงตัวเกินไป

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

TRUE เสนอขายหุ้นกู้อายุ 3 - 10 ปี ชูดอกเบี้ยคงที่ 3.00-3.95%

TRUE เสนอขายหุ้นกู้อายุ 3 - 10 ปี ชูดอกเบี้ยคงที่ 3.00-3.95%

          หุ้นวิชั่น - กรุงเทพฯ : 21 มีนาคม 2568 - บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE บริษัทโทรคมนาคมเทคโนโลยีชั้นนำอันดับ 1 ของไทย และอันดับ 1 ของโลกด้านความยั่งยืน ด้วยคะแนน DJSI 2024 สูงสุดในกลุ่มอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเป็นปีที่ 7 ติดต่อกัน เตรียมเสนอขายหุ้นกู้ชุดใหม่ให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป จำนวน    5 ชุด อายุตั้งแต่ 3 ปี ถึง 10 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ระหว่าง [3.00 – 3.95]% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน ด้วยอันดับความน่าเชื่อถือ “A+” แนวโน้ม “คงที่” (Stable) จากทริสเรทติ้ง สะท้อนถึงความแข็งแกร่งของ ทรู คอร์ปอเรชั่น ในธุรกิจโทรคมนาคมและธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัล คาดเปิดให้จองซื้อระหว่าง วันที่ 2 และวันที่ 6-7 พฤษภาคม 2568 ผ่าน 7 สถาบันการเงินชั้นนำได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ กสิกรไทย ไทยพาณิชย์ ซีไอเอ็มบี ยูโอบี บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคินภัทร และบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส รวมถึงการขายผ่านแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet โดยมีธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นนายทะเบียนหุ้นกู้และผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้           นางสาวยุภา ลีวงศ์เจริญ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน (ร่วม) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ทรู คอร์ปอเรชั่น ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีของไทย สำหรับการควบรวมกิจการระหว่างทรูและดีแทคซึ่งดำเนินมาครบ 2 ปีในขณะนี้ ได้เสริมสร้างศักยภาพและความแข็งแกร่งของบริษัทฯ ส่งผลให้บริษัทฯ เติบโตอย่างยั่งยืน โดยในปี 2567 ที่ผ่านมา บริษัทฯ มีรายได้จากการให้บริการ (ไม่รวมรายได้ค่าเชื่อมต่อโครงข่าย หรือ IC)  1.66 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4.6% มี EBITDA 9.81 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน และมีกำไรสุทธิ (ภายหลังการปรับปรุง) 9.9 พันล้านบาท โดย EBITDA เติบโตต่อเนื่อง 8 ไตรมาสติดต่อกัน สำหรับปี 2568 คาดว่าจะเป็นปีที่บริษัทเริ่มมีผลกำไรสุทธิหลังหักภาษี”           นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้ประกาศปรับโครงสร้างผู้บริหารเพื่อเสริม         ความแข็งแกร่งของทีมผู้นำและร่วมขับเคลื่อนบริษัทให้เติบโตทัดเทียมบริษัทชั้นนำระดับโลก โดยแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญ 3 ตำแหน่ง ได้แก่ Group CEO  ดูแลบริหารงานขับเคลื่อนด้านยุทธศาสตร์ภาพรวมของบริษัท     President/CEO – Enterprise & Data Business ดูแลสายงานในกลุ่มธุรกิจดิจิทัล ออนไลน์ ทรูวิชั่นส์ ดาต้าและ     กลุ่มลูกค้าองค์กร เพื่อปรับโฉมด้านดิจิทัลของทรูให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต  ส่วน President/CEO – Consumer Business รับผิดชอบกลุ่มธุรกิจโมบายล์และงานบริการลูกค้า การปรับโครงสร้างครั้งนี้สะท้อนวิสัยทัศน์ในการเตรียมพร้อมรับความท้าทายในอนาคตและเสริมสร้างสถานะทางการเงินให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น           บริษัทฯ และหุ้นกู้ที่จะเสนอขายในครั้งนี้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ “A+” แนวโน้ม “คงที่” (Stable) จากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 สะท้อนถึงสถานะความเป็นผู้นำในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ เสริมทัพด้วยโครงข่ายทั่วประเทศ ชุดคลื่นความถี่ที่ครอบคลุม และชื่อแบรนด์ที่ผู้บริโภคคุ้นเคย  อีกทั้งปัจจัยบวกจากประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการควบรวม รวมถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทฯ ที่คาดว่าน่าจะปรับตัวดีขึ้นในอนาคตอีกด้วย           ทางด้านผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้กล่าวเพิ่มเติมว่า “หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา และมีการคาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมวันที่ 25 มิถุนายน 2568 ทำให้ช่วงเวลานี้เป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนในการสะสมหุ้นกู้ เพื่อล็อคผลตอบแทนไว้ก่อนที่จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยลงอีก โดยเฉพาะนักลงทุนที่นิยมลงทุนในหุ้นกู้ที่มีคุณภาพสูง และด้วยอันดับความน่าเชื่อถือสูงที่ระดับ “A+” แนวโน้ม “คงที่” ของทรู หุ้นกู้ทรูจึงเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนในช่วงนี้”           หุ้นกู้ครั้งนี้จะเสนอขายแก่ผู้ลงทุนทั่วไป (Public Offering) จำนวน 5 ชุด โดยมีอายุหุ้นกู้ให้เลือกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 10 ปี ครอบคลุมผู้ลงทุนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ต้องการลงทุนระยะสั้น ระยะกลาง หรือระยะยาว วัตถุประสงค์ในการ     ออกหุ้นกู้ครั้งนี้เพื่อชำระคืนหนี้จากการออกตราสารหนี้ โดยเป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ จ่ายดอกเบี้ยทุกๆ 6 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ และคาดว่าจะเปิดให้จองซื้อระหว่างวันที่ 2 และ    วันที่ 6-7 พฤษภาคม 2568 สำหรับผู้ลงทุนทั่วไป มูลค่าจองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท และทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท บริษัทฯ เชื่อว่าหุ้นกู้ที่เสนอขายในครั้งนี้จะได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดีเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา โดยหุ้นกู้ทั้ง 5 ชุดที่เสนอขาย มีรายละเอียดดังนี้ หุ้นกู้ชุดที่ 1 อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ [3.00 - 3.15]% ต่อปี หุ้นกู้ชุดที่ 2 อายุ 4 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ [3.30 - 3.45]% ต่อปี หุ้นกู้ชุดที่ 3 อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ [3.45 - 3.60]% ต่อปี หุ้นกู้ชุดที่ 4 อายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ [3.65 - 3.80]% ต่อปี หุ้นกู้ชุดที่ 5 อายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ [3.80 - 3.95]% ต่อปี และผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนวันครบกำหนดได้ตั้งแต่หุ้นกู้ครบปีที่ 5 เป็นต้นไป           ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยที่แน่นอนจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง โดยบริษัทฯ อยู่ระหว่างการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ และร่างหนังสือชี้ชวนซึ่งยังไม่มีผลบังคับใช้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงาน ก.ล.ต. ผู้ลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ และร่างหนังสือชี้ชวนที่ www.sec.or.th หรือ สอบถามรายละเอียดที่ผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ทั้ง 7 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา (ยกเว้นสาขาไมโคร) หรือ โทร. 1333 หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่าน Bangkok Bank Mobile Banking ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา โทร. 02 888 8888 กด 869 หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่าน https://www.kasikornbank.com/kmyinvest (ยกเว้นบุคคลสัญชาติต่างด้าว และนิติบุคคล สามารถจองซื้อผ่านสำนักงานใหญ่และสาขา) และรวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะหน่วยงานขายของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา หรือ โทร. 02 777 6784 หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่านแอป SCB EASY และรวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด ในฐานะหน่วยงานขายของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา หรือ โทร. 02 626 7777 หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่าน แอป CIMB Thai ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา หรือ โทร. 02 285 1555 บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด โทร. 02 680 4004 บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) โทร. 02 165 5555 หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่านแอปฯ Dime! และรวมถึง ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ในฐานะหน่วยงานขายของบริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)           สำหรับผู้สนใจจองซื้อหุ้นกู้ผ่านแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.truemoney.com หรือติดต่อขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของ บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด โทร. 1240 กด 6

4 หุ้นแบงก์ เฮ! รับมาตรการค้ำประกันสินเชื่อเช่าซื้อ ‘รถกระบะ’

4 หุ้นแบงก์ เฮ! รับมาตรการค้ำประกันสินเชื่อเช่าซื้อ ‘รถกระบะ’

          หุ้นวิชั่น – ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.ธนชาต ระบุ กระทรวงการคลัง ออกมาตรการ “กระบะพี่ มีคลังค้ำ” ค้ำประกันสินเชื่อเช่าซื้อรถกระบะ วงเงิน 5 พันล้านบาท โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จะค้ำประกันและจ่ายส่วนต่างของภาระหนี้กับราคาขายทอดตลาดให้กับสถาบันการเงินตามเงื่อนไข และรัฐจะเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมค้ำประกันให้ 3 ปีแรก ส่วนปีที่ 4-7 คิดค่าธรรมเนียมเพียง 1.5% ต่อปี           สำหรับเงื่อนไข วงเงินค้ำประกันต่อรายสูงสุดจะอยู่ที่ 1.5 ล้านบาท เริ่มเปิดรับคำขอ 1 เม.ย. – 30 ธ.ค. 2568 คาดกระตุ้นยอดขายเพิ่ม 6,250 คัน           มองเป็น “บวก” ต่อกลุ่มธนาคารที่มีสัดส่วนสินเชื่อเช่าซื้อ อย่าง TISCO (32%), KKP (43%), TTB (29%), SCB (6%)           สำหรับ THANI ASK TIDLOR จะได้ประโยชน์ไม่มากเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นรถบรรทุกที่ไม่ใช่ รถกระบะปิคอัพ

EA ดึงพาสเนอร์ร่วมทุนฟื้นธุรกิจ-ศึกษา Green Data Center

EA ดึงพาสเนอร์ร่วมทุนฟื้นธุรกิจ-ศึกษา Green Data Center

          หุ้นวิชั่น - นายวสุ กลมกลี้ยง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) เปิดเผยว่า สำหรับผลการดำเนินงานในปีนี้ บริษัทฯ คาดว่ากำไรควรดีขึ้นกว่าปีก่อน โดยเฉพาะในแง่ของกำไรสุทธิจากการดำเนินงานที่คาดเติบโตต่อเนื่อง โดยในปีนี้จะไม่มีการปรับปรุงทางบัญชีที่ไม่ใช่เงินสด (one-time non-cash accounting write-off) เหมือนในไตรมาส 4/67 แล้ว และการเร่งระบายสต็อก หรือขายรถ EV ให้เร็วขึ้นจะช่วยสนับสนุนผลงาน            ทั้งนี้ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน  (Renewable Energy) ยังเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจอยู่ โดยอยู่ระหว่างติดตามงานประมูลพลังงานหนุมเวียนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม ราว 7 โครงการ กำลังการผลิตรวม 630 เมกะวัตต์ และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 2 โครงการ กำลังการผลิตรวม 150 เมกะวัตต์ โดย EA ก็คาดหวังจะชนะประมูลดังกล่าว เนื่องด้วยบริษัทฯ ถือว่ามีประสบการณ์ด้านพลังงานหมุนเวียนอย่างมากในประเทศไทย           ธุรกิจ EV Ecosystem นอกจากการเร่งดำเนินการขายรถแล้ว ยังมีการจับมือกับ “เฉิงหลี่” จากจีน ซึ่งเป็นบริษัทผลิตรถ Special vehicle เช่น รถขยะ เป็นต้น คาดว่าความร่วมมือดังกล่าวจะต่อยอดการผลิตรถไปสู่ Special Ev vehicle ได้ ประกอบกับบริษัทฯ ต้องการมุ่งเน้นลดเงินลงทุนลงให้น้อยที่สุด ผ่านการร่วมมือกับบริษัทต่างชาติ ซึ่งโรงงานของ EA ตั้งอยู่ใน Free Zone ก็พร้อมรับจ้างผลิต (OEM) ให้กับบริษัทรถต่างๆ โดยเริ่มมีการเจรจากับบริษัทจีนในหลายบริษัทแล้ว           ธุรกิจการผลิตแบตเตอรี่ บริษัทฯ จะร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่ในจีน ในการผลิตโปรดักซ์ และเจาะตลาดใหม่ๆ เพื่อพลิกฟื้นธุรกิจให้กลับมา โดยมองว่าจากนโยบายการค้าของสหรัฐ จะทำให้บริษัทแบตเตอรี่ในจีนเริ่มมองหาการขยายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศ เพื่อส่งออกไปยังสหรัฐได้ตามเดิม ซึ่งโรงงานอมิตาฯ ถือว่ามีจุดเด่นในแง่ของสิ่งอำนวยความสะดวก และสามารถขยายเป็น 4 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี จากปัจจุบันใช้พื้นที่ไปเพียงครึ่งเดียว  และในด้านของโครงสร้างพื้นฐาน ก็พร้อมให้บริษัทจีน พร้อมเข้ามาดำเนินการได้ทันที รวมถึงตัวโรงงานตั้งอยู่ใน Free Zone หาก EA มีการร่วมมือกับบริษัทจีน คาดจะใช้เวลาไม่ถึง 1 ปี จะสามารถผลิตโปรดักซ์ชั่นออกมาได้           ธุรกิจ Bio Fuel บริษัทฯ มีแผนเปิดดำเนินการโรงงาน Sustainable Aviation Fuel (SAF) ในช่วงปลายปีนี้ กำลังการผลิตราว 1 แสนลิตรต่อวัน โดยได้มีการร่วมมือกับ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT) แล้ว ในการทำเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานในสนามบินต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ EA เข้าสู่ตลาด SAF ได้ง่ายขึ้น           International Investment โดย EA ได้เข้าไปบริหารจัดการโครงการพลังงานในสปป.ลาวทั้งหมด และถือหุ้นในสัดส่วน 35% ใน Super Holding Company (SHC) ซึ่งแรกเริ่มจะบริหารจัดการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ กำลังการผลิตราว 2 กิกะวัตต์ และจะขยายไปสู่ 7 กิกะวัตต์ได้ในอนาคต และหากเทียบเป็นพลังงานไฟฟ้า (Electricity Outputs) จะเป็น 9,400 กิกะวัตต์ต่อชั่วโมง และจะเติบโตไปได้ถึง 30,000 กิกะวัตต์ต่อชั่วโมง ประกอบกับหากลาวจะส่งออกไฟฟ้าขายในต่างประเทศ SHC จะเป็นตัวแทนในการดำเนินงานด้วย รวมถึงการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าก็จะส่งผลต่อ SHC เช่นกัน เป็นต้น           ธุรกิจใหม่ บริษัทฯ ก็มองโอกาสขยายธุรกิจไปสู่ Green Data Center โดยรูปแบบจะร่วมมือกับบริษัทชั้นนำ และโซลาร์ลอยน้ำ EA จะเป็นผู้ดำเนินการเอง เนื่องจากเป็นสิ่งที่บริษัทมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว “เราพยายามแก้ไขปัญหาหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นในบริษัท คงเป็นเฟสแรกที่เราจะเดิน ขณะที่เงินลงทุนในปีนี้คงไม่ได้เยอะมาก เน้นลงทุนใน waste to energy เป็นหลัก ส่วนธุรกิจอื่นๆ ยังอยู่ในช่วงของการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน และการหาผู้ร่วมทุนเข้ามาลงทุน” นายวสุ กล่าว           สำหรับความคืบหน้าการตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้มีการว่าจ้างที่ปรึกษาตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ เพื่อตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในการดำเนินงานโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของบริษัท อีเอ โซล่า นครสวรรค์ จำกัด (ESN) และบริษัท อีเอ โซล่า ลำปาง จำกัด (ESL) ตามการกล่าวโทษของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ต่ออดีตผู้บริหารของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ได้ดำเนินการว่าจ้างบริษัท แกรนท์ ธอนตัน สเปเชียลิสท์ แอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จำกัด เป็นที่ปรึกษาตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (Special Audit) เมื่อเดือนสิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา           ทั้งนี้จากการตรวจสอบ ไม่พบความผิดปกติในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่สามารถยืนยันได้ว่าตัวบริษัทฯ ดำเนินการตาม Corporate Governance ที่ดี สะท้อนต่อ ESG Ratings ในตลาดโลก อย่างไรก็ตามก.ล.ต. ยังไม่มีการอัปเดตกลับมายังบริษัทฯ           พร้อมกันนี้บริษัทฯ ได้มีการเจรจากับทางทริสเรทติ้งอย่างสม่ำเสมอ จากความกังวลในเรื่องของหุ้นกู้ฯ จะถูกชำระได้หรือไม่ และจะทำอย่างไรต่อไป โดยมองว่าจากการอัปเดตกับทริสเรทติ้ง ก็คาดว่าจะมีการอัพเกรดเครดิตเรทติ้งของ EA ในขณะที่แผนการออกหุ้นกู้ บริษัทฯ ก็มองโอกาสทดลองออกหุ้นกู้ในช่วงปลายปีนี้ มูลค่าราว 1 หมื่นล้านบาท หากมีการอัพเกรดจากทริสเรทติ้ง และสภาวะตลาดต้องเอื้ออำนวยด้วย           นายวสุ กล่าวว่า แผนการชำระคืนหนี้หุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนที่ถูกเลื่อนออกมา ทั้ง EA248A และ EA249A บริษัทฯ ได้เตรียมวงเงินจากการเพิ่มทุนล่าสุด ที่ได้รับมา 7,600 ล้านบาท และยังมีความแข็งแกร่งจากเงินสดจากการดำเนินงาน ทำให้มั่นใจว่ามีสภาพคล่องเพียงพอที่จะชำระคืนหุ้นกู้ดังกล่าวได้ ขณะเดียวกันยังเจรจากับสถาบันทางการเงิน และอยู่ระหว่างดำเนินการขายสินทรัพย์เพิ่มติม           นอกจากนี้บริษัทฯ จะรักษาสิทธิ์ในการเพิ่มทุน หลังคณะกรรมการบริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) (NEX) มีมติให้จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (RO) โดยเชื่อว่า NEX ยังเป็นเรือธง ที่จะผลักดันเข้าสู่ EV Ecosystem ต่อไป           ด้านราคาหุ้นของ EA วันนี้ค่อนข้างปรับตัวลงมาค่อนข้างมาก โดยระดับ 2.50 บาท มองว่าน่าจะสะท้อนปัจจัยลบต่างๆ ไปหมดแล้ว

abs

ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารอย่างครบวงจร

แจงแล้ว KTB - TTB แผนควบรวม ยันไม่เป็นความจริง!

แจงแล้ว KTB - TTB แผนควบรวม ยันไม่เป็นความจริง!

                หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) แจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ ว่า ตามที่หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจและสื่อออนไลน์ในเครือดังกล่าว เสนอข่าวเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 ว่าจะมีการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (“กรุงไทย”) กับธนาคารทหารไทยธนชาตจำกัด (มหาชน) (“ทีทีบี”) นั้น บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายหนึ่งของทีทีบี ขอเรียนว่าเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง โดยบริษัทฯ ไม่ได้มีการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้                 ด้าน นางมานิกา สิทธิชัย เลขานุการบริษัท ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) แจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ เช่นกันว่า ตามที่ได้มีรายงานข่าว ณ วันที่ 21 มีนาคม 2568 เกี่ยวกับการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบีธนชาต ("ธนาคารฯ") และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) นั้น ทีเอ็มบีธนชาตขอเรียนชี้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง ธนาคารฯ ไม่ได้อยู่ในกระบวนการควบรวมกิจการตามที่ปรากฏในสื่อ รวมทั้งไม่มีแผนการควบรวมกิจการกับธนาคารอื่นอยู่ในแผนงาน 5 ปีแต่อย่างใด                 ทั้งนี้ ธนาคารฯ ยังคงมุ่งเน้นพันธกิจสำคัญคือ การ Make REAL Change หรือการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายเพื่อให้ลูกค้าของธนาคารกว่า 10 ล้านคน มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ผ่านกลยุทธ์การสร้างการเติบโตแบบ Ecosystem Play และการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบและสอดคล้องกับแนวทางการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) อีกทั้งยังเดินหน้า Transform องค์กรอย่างรอบด้านเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรและสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นอย่างยั่งยืน                 ขณะที่ นายพงษ์สิทธิ์ ชัยฉัตรพรสุข ประธานผู้บริหาร Legal Comliance & Financial Crime และเลขานุการบริษัท แจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อเกี่ยวกับการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) นั้น ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ("ธนาคารฯ") ขอเรียนชี้แจงว่า ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง และในขณะนี้ คณะกรรมการธนาคารฯ ไม่ได้มีดำริ หรือได้มอบหมายฝ้ายบริหารให้ดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการควบรวมกิจการตามที่เป็นข่าว ธนาคารฯ ขอยืนยันว่า คณะกรรมการธนาคารฯและฝ่ายบริหาร ยังคงขับเคลื่อนองค์กรภายใด้วิสัยทัศน์                 "กรุงไทยเคียงข้างไทยสู่ความยั้งยืน" โดยให้ความสำคัญกับการเติบโตของประเทศไทย คนไทย และธุรกิจไทยอย่างครอบคลุมและทั่วถึงผ่านความร่วมมือกับพันธมิตร และการเชื่อมโยงระบบนิเวศน์ทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งพิจารณาโอกาสในการขยายการเดิบโตในหลากหลายรูปแบบ ทั้งในส่วนของธนาคารฯ และบริษัทในกลุ่มธนาคารฯ เพื่อมุ่งสร้างและเพิ่มมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่องและชั่งยืน ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวสอดคล้อง กับยุทธศาสตร์ของธนาคารฯ ภายใต้แนวคิด Corporate Value Creation (เสริมทักษะ สร้างคุณค่า สู่อนาคต) ซึ่งธนาคารได้สื่อสารมาอย่างต่อเนื่อง

NER สนับสนุนวิถีเกษตรยั่งยืน ปี2  มอบเครื่องจักรกลการเกษตร ที่ จ.บุรีรัมย์

NER สนับสนุนวิถีเกษตรยั่งยืน ปี2 มอบเครื่องจักรกลการเกษตร ที่ จ.บุรีรัมย์

            หุ้นวิชั่น - บมจ.นอร์ทอีส รับเบอร์ (NER) ผู้นำอุตสาหกรรมยาง เห็นความสำคัญของการเกษตรซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของประเทศ เน้นทำธุรกิจควบคู่การรักษาสิ่งแวดล้อม ได้สานต่อโครงการ "NER สนับสนุนวิถีเกษตรยั่งยืน" ต่อเนื่องปีที่ 2 ร่วมกับเกษตรอำเภอประโคนชัยและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มอบเครื่องจักรกลการเกษตรรถแทรกเตอร์ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจะเสร็จสิ้นภายในปี 2568 นี้ โดยมอบรถแทรกเตอร์จำนวน 30 คัน ให้แก่ 30 วิสาหกิจชุมชนใน อ.ประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อให้เกษตรกรในชุมชน อ.ประโคนชัย ลดต้นทุนการผลิตและมีผลผลิตที่มีคุณภาพมากขึ้น ที่ผ่านมาบริษัท NER สนับสนุนโครงการเพื่อสังคมมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมยึดหลักแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง เดินหน้าสานต่อและสร้างวิถีเกษตรยั่งยืน...             นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER เปิดเผยว่า บริษัท ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่าย ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง ยางผสม และสินค้าปลายน้ำแผ่นยางพาราปูพื้นคุณภาพสูง เพื่อจำหน่ายไปยัง ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์และกลุ่มผู้ค้าคนกลางทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้วิสัยทัศน์ของบริษัท “NER เป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติชั้นนำระดับโลก ที่มุ่งสร้างคุณค่าและอนาคตที่ยั่งยืนให้กับทุกชุมชนที่มีเรา”             "บริษัทฯ ตระหนักถึงบทบาทสำคัญของภาคเกษตรในเศรษฐกิจไทยและความมั่นคงทางอาหาร จึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อให้การผลิตอาหารเพียงพอควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม ตลอดมา บริษัทฯ สนับสนุนโครงการเพื่อสังคมโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระราชทานไว้ การส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่ม ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย"             ปัจจุบัน บริษัทฯ สานต่อโครงการ "NER สนับสนุนวิถีเกษตรยั่งยืน" ปีที่ 2 เพื่อมอบเครื่องจักรกลการเกษตรให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ นับเป็นการส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร สร้างความเข้มแข็งและพัฒนาเครือข่าย ความร่วมมือระหว่างกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน เพื่อให้เกษตรกรในชุมชนลดต้นทุนการผลิตทำให้มีผลผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพดี ทั้งนี้บริษัทฯสนับสนุน “เครื่องจักรกลทางการเกษตร คือรถแทรกเตอร์” ปี 2568 จำนวน 10 คัน (เดือนมกราคมที่ผ่านมา) และ 27 มีนาคมนี้จะมอบจำนวน 10 คัน และมิถุนายนจะมอบ จำนวน 10 คัน             โดยเกษตรกรในพื้นที่ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ร่วมโครงการมีจำนวน 62 วิสาหกิจชุมชน ครอบคลุมพื้นที่การเกษตร 198,642.08 ไร่ และประชากรในพื้นที่ 9,748 ครัวเรือน โดยบริษัท NER ได้จัดสรรงบประมาณไว้ทั้งสิ้น 41 ล้านบาท ซึ่งได้มอบเครื่องจักรกลการเกษตรเมื่อปีที่ผ่านมา (2567)  จำนวน 6 คัน ให้ 6 วิสาหกิจชุมชน เป็นที่เรียบร้อย  และปี 2568 นี้มอบอีก 30 คันให้ 30 วิสาหกิจชุมชน ซึ่งเหลือจำนวน 26 คัน จะมอบในโอกาสต่อไป [caption id="attachment_46941" align="aligncenter" width="2079"] default[/caption]

SISB คาดปีนี้กำไร 956 ลบ. จ่อ Breakeven นนทบุรี-ระยอง เป้า 23.40 บ.

SISB คาดปีนี้กำไร 956 ลบ. จ่อ Breakeven นนทบุรี-ระยอง เป้า 23.40 บ.

            หุ้นวิชั่น - บล.เอเอสแอล เจาะหุ้น SISB จากวางแผนขยายการเติบโตระหว่างปี 25-26F ด้วยงบลงทุน 565 ล้านบาท โดยเพิ่มที่นั่งเรียนรวม 1,600 ที่นั่ง ผ่านโครงการขยายวิทยาเขต PU เฟส 3 ซึ่งจะเพิ่ม 600 ที่นั่ง ด้วยงบ 265 ล้านบาท คาดแล้วเสร็จใน 1Q26 และโครงการโรงเรียนนานาชาติแห่งที่ 7 (ปทุมธานี) ที่เพิ่มอีก 1,000 ที่นั่ง ด้วยงบ 300 ล้านบาท คาดแล้วเสร็จใน 4Q26 ส่งผลให้เป้าจำนวนนักเรียนปี 25-26F เท่ากับ 5,000 คน และ 5,600 คนตามลำดับ             ตั้งเป้ารายได้ปี 25F ขยายตัวในกรอบ 10-20% ผ่านจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากต่างชาติที่มีโปรแกรมปรับพื้นฐานทางภาษา ช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าเรียนกับ SISB ในระยะยาว ทั้งนี้ผู้บริหารคาดหวังสาขาระยองในปีนี้จะสร้างกำไรเป็นบวก (กรณีมีนักเรียนถึง 220 คน จากสิ้นปีก่อนที่ 159 คน)             แนวโน้ม 1Q25F คาดทรงตัว QoQ จากฐานที่สูง แต่ดีขึ้น YoY จากการปรับขึ้นค่าเทอม จำนวนนักเรียนที่สูงขึ้น และแนวโน้ม margin ที่ทรงตัวในระดับสูง             ฝ่ายวิจัยคาดกำไรสุทธิปีนี้ที่ 956 ล้านบาท (+8% YoY) แม้จะทำ New high แต่การเติบโตของกำไรสุทธิที่ต่ำกว่าระดับ double digit เป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี มีปัจจัยกดดันจากปีนี้ไม่มีการเปิดสาขาใหม่ แต่คาดหวังการ Breakeven ของสาขานนทบุรีและระยอง โดยคาดรายได้หลักปีนี้ขยายตัว 10% และการปรับขึ้นของค่าเทอมราว 3.3% น้อยกว่าค่าจ้างของบุคลากรที่ 5% กระทบต่อ GPM และ EBITDA ให้ลดลง ในเชิงปัจจัยพื้นฐานแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมาย 23.40 บาท อิง PE 23 เท่า ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี – 2 SD ในเชิง valuation มีความน่าสนใจ ในเชิงของธุรกิจมองว่ามีความเสถียรภาพ และยังเติบโตตามการให้ความสำคัญด้านการศึกษา ประกอบกับแผนการขยายโรงเรียนจะเป็น Key driver ในการเติบโตในช่วงปี 26F เป็นต้นไป รวมถึงการเกิด Economies of scale ที่ช่วยหนุน margin ให้สูงขึ้น แนวรับ 18/17.60 ไม่ควรต่ำกว่าลงมา แนวต้าน 18.50/19.30/20.70

abs

Hoonvision

TRC รุกธุรกิจจัดการขยะ ปั้นNew S-Curveต่อยอด

TRC รุกธุรกิจจัดการขยะ ปั้นNew S-Curveต่อยอด

            หุ้นวิชั่น - TRC เดินหน้าสร้าง New S-Curve ลุยธุรกิจ “จัดการขยะ-เหมืองโพแทช”หวังดันรายได้ฟื้น-เพิ่ม Margin ด้วยโมเดลธุรกิจยั่งยืน ปัจจุบันถือหุ้น PSEC แล้ว 40% เล็งเพิ่มอีก 20% หากรายได้เป็นไปตามเป้า พร้อมตุน Backlog ในมือรวมมูลค่า 2,485.78 ล้านบาท             นายภาสิต ลี้สกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRC เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมก่อสร้างซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัท กำลังเผชิญกับความท้าทายในปี 2568 บริษัทจึงมุ่งเน้นขยายโอกาสไปยังธุรกิจใหม่ภายใต้แนวคิด New S-Curve โดยคาดว่ารายได้จะสามารถฟื้นตัวได้อย่างมีนัยสำคัญ             สำหรับภาพรวมธุรกิจก่อสร้างของบริษัทในปี 2567 บริษัทมีมูลค่างานที่รอรับรู้รายได้ (Backlog) ทั้งหมด 22 โครงการ รวมมูลค่า 2,485.78 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2568 มีโครงการที่รอการประมูลรวมมูลค่า 4,936 ล้านบาท โดยบริษัทได้เตรียมขยายการลงทุนไปยัง 2 ธุรกิจหลัก เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางธุรกิจ ดังนี้ ร่วมมือกับ บริษัท พีเอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด (PSEC) ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ปัจจุบัน PSEC มีโครงการจัดการขยะขนาดใหญ่ 3 โครงการ ได้แก่ โครงการจังหวัดกาญจนบุรี, โครงการจังหวัดอยุธยา             และโครงการจังหวัดพัทลุง ทั้งนี้ PSEC ยังอยู่ระหว่างเตรียมเข้าประมูลโครงการจัดการขยะเพิ่มเติมอีกหลายโครงการ ซึ่งกระบวนการดำเนินงานของ PSEC เป็นการมุ่งเน้นแยกขยะและนำมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ถุง เพื่อนำไปจำหน่ายให้กับบริษัทด้านปิโตรเคมี นอกจากนี้ TRC ยังร่วมมือกับ PSEC ในด้านการตลาด โดยคาดว่าในปีนี้จะสามารถประมูลสถานที่กำจัดขยะได้เพิ่มเติม 2-3 แห่ง ด้านโครงสร้างรายได้ของ PSEC แบ่งออกเป็น 2 ช่องทางหลัก ได้แก่ ค่าบริการกำจัดขยะ อัตรา 200-300 บาท/ตัน             และรายได้จากการจำหน่ายถุงขยะที่แยกแล้วได้ ราคา 7,000-8,000 บาท/ตัน โดยธุรกิจนี้ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีอัตรากำไร (Margin) สูง เนื่องจากมีผู้เล่นในตลาดน้อย อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาขยะในประเทศ และมีโอกาสส่งออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย ปัจจุบัน TRC ถือหุ้นใน PSEC 40% และอยู่ระหว่างดำเนินการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นอีก 20% หากรายได้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้             ร่วมมือกับ บริษัท อาเซียนโพแทชชัยภูมิ จำกัด (APOT) ซึ่งดำเนินธุรกิจเหมืองโพแทช มุ่งเน้นการทำเหมืองแร่โพแทชและเกลือหิน เพื่อลดการนำเข้าแม่ปุ๋ยโพแทสเซียมจากต่างประเทศ และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรในภูมิภาคให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบัน APOT อยู่ระหว่างกระบวนการบริหารจัดการผู้ถือหุ้น บริษัทยังคงเชื่อมั่นว่าการขยายเข้าสู่ธุรกิจใหม่เหล่านี้จะช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับบริษัท และช่วยส่งเสริมธุรกิจเดิมให้สามารถฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง

FPI ปักธงรายได้ 4 พันล. ตลาด OEM โตกระโดด

FPI ปักธงรายได้ 4 พันล. ตลาด OEM โตกระโดด

            หุ้นวิชั่น - FPI จับตาตลาด OEM โตก้าวกระโดด ออเดอร์ไทย อินเดียแน่น คาดหนุนผลงาน Q2/68 โตสนั่น ด้านผู้บริหาร "สมพล ธนาดำรงศักดิ์" ปักหมุดรายได้ แตะ 4 พันล้านบาทในปี 71 เล็งรับทรัพย์โรงงานซาอุดิอารเบีย นายสมพล ธนาดำรงศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ FPI เปิดเผยว่า คาดว่าตลาด OEM จะเติบโตอย่างก้าวกระโดดหลังจากเดือนพฤษภาคม 2568 เนื่องจากบริษัทจะเริ่มส่งมอบและรับรู้รายได้จากทั้งในประเทศไทยและอินเดีย โดยในส่วนของประเทศไทย บริษัทได้รับออเดอร์จาก Toyota สำหรับรถรุ่นใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มส่งมอบในเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคมนี้ โดยมีมูลค่าโปรเจ็กต์ประมาณ 300 ล้านบาท จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ระหว่าง 200-500 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้เริ่มทำการจัดทำแม่พิมพ์ไปบางส่วนแล้ว และคาดว่าจะสามารถส่งมอบได้ตามแผนในเดือนมิถุนายนนี้ ส่วนในประเทศอินเดีย บริษัทจะเริ่มส่งสินค้าในเดือนพฤษภาคม 2568 โดยมีโปรเจ็กต์ใหญ่จาก Suzuki ซึ่งคาดว่าจะรับรู้รายได้จากโปรเจ็กต์นี้ 3 โครงการใหญ่ในเดือนพฤษภาคมนี้เช่นกัน ดังนั้น บริษัทคาดว่าธุรกิจจะมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดในไตรมาส 2 ปี 2568 เนื่องจากจะเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป โดยในไตรมาส 1/2568 จะเป็นช่วงของการติดตั้งเครื่องจักรและเริ่มกระบวนการผลิต ซึ่งจะทำให้การรับรู้รายได้เพิ่มขึ้นอย่างมากในไตรมาส 2 เป็นต้นไป นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับคำสั่งซื้อจากค่ายรถยนต์แบรนด์อื่นๆ เพิ่มเติม คาดว่าจะสนับสนุนการเติบโตของ FPI อย่างต่อเนื่อง บริษัทมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) โดยเริ่มจากรายได้ 1,500 ล้านบาท และตั้งเป้าหมายที่จะเติบโตเป็น 4,000 ล้านบาทในปี 2571 จากการเริ่มดำเนินการโรงงานในซาอุดิอารเบียอย่างเต็มตัว โดยคาดว่าจะมีรายได้จากซาอุดิอารเบียเฉลี่ยปีละ 10-20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจะสามารถทำรายได้รวม 4,000 ล้านบาทในปี 2571 ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรจากจีน ซึ่งมีปัญหาจากสงครามการค้า และกำลังพิจารณาร่วมทุนกับบริษัทโดยผ่านการรีไวท์ 2-3 บริษัท บริษัทให้ความสำคัญและสนใจในเรื่องของการผลิตแม่พิมพ์ และใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปยังตลาดอเมริกา, แคนาดา และเม็กซิโก ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ โดยคาดว่าจะได้รับอานิสงส์จากนโยบายภาษีและผลกระทบจากสงครามการค้า

เปิด 2 ปัจจัยหนุน ERW รายได้โตต่อ เล็งเป้าที่ 4.30บ.

เปิด 2 ปัจจัยหนุน ERW รายได้โตต่อ เล็งเป้าที่ 4.30บ.

           หุ้นวิชั่น - บล.เอเอสแอ ประเมินหุ้น ERW โดยบริษัทคาดรายได้ทั้งปีจะสามารถโตได้ในระดับ 10% โดยมาจาก กลุ่มโรงแรม Economy to Luxury ในไทย คาดโตได้ราว 5-7% YoY จากการปรับค่าห้องขึ้นราว 4% และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย กลุ่มโรงแรม Budget (เครือ Hoop Inn) ในไทยที่คาดจะโตได้โดดเด่น 23% YoY จากการขยายโรงแรมในปีก่อนกว่า 13 แห่ง และตั้งเป้าเปิดเพิ่มอีก 10 แห่งในปีนี้ (ไตรมาสที่ 1-3 คาดจะเปิดได้ไตรมาสละ 3 แห่ง และไตรมาสที่ 4 อีก 1 แห่ง) โดยบริษัทตั้งงบลงทุนปีนี้ที่ 2 พันล้านอีกด้วย            นอกจากนี้ ฝ่ายวิจัยมองแนวโน้มในช่วง 1Q25 เติบโตได้ราว 10% QTD ตามเป้าที่บริษัทวางไว้ จำนวนนักท่องเที่ยวเข้าสู่ไทย 8.3 ล้านคน YTD แนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมาย 4.30 บาท            ฝ่ายวิจัยคาดรายได้ของปี 2025 จะเติบโตในระดับ 8% อยู่ที่ 8.5 พันล้านบาท โดยต่ำกว่าที่บริษัทคาด เนื่องจากการฟื้นตัวช้าของนักท่องเที่ยวจีนและยุโรปที่อาจไม่เป็นไปตามแผน และมีกำไรปกติ (Core Profit) ที่ 1.06 พันล้านบาท +17.4% YoY ฝ่ายวิจัยประเมินราคาเหมาะสมอยู่ที่ 4.3 บาทต่อหุ้น อิง PE ที่ 20 เท่า (ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 2 ปี 24 เท่า) มองว่าเหมาะสม

USDT และ USDC กับตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในไทย [HoonVision x Tokenx]

USDT และ USDC กับตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในไทย [HoonVision x Tokenx]

          USDT และ USDC: เปิดศักราชใหม่ของการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย           หุ้นวิชั่น - จากการที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ได้ประกาศอนุมัติให้เหรียญ Stablecoin ที่ได้รับความนิยมระดับโลกอย่าง USDT (Tether) และ USDC (Circle) สามารถจับคู่ซื้อขายกับสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นๆ บนแพลตฟอร์มที่ได้รับการกำกับดูแลในประเทศไทยได้ ในวันที่ 16 มีนาคม 2568   การเปิดให้ Stablecoin ดังกล่าวซื้อขายได้ เป็นการตอบสนองต่อกระแสความนิยมที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกและความต้องการจากตลาดนักลงทุนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่การเพิ่มสภาพคล่องและอำนวยความสะดวกในการลงทุน           โดยก่อนหน้านี้ กลต. อนุญาตให้ซื้อขายได้เฉพาะสกุลเงินดิจิทัลชั้นนำเช่น Bitcoin (BTC), Ethereum (ETH), XRP และ Stellar (XLM) หรือเหรียญที่ใช้เฉพาะในระบบชำระเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้น แล้ว USDC, USDT น่าเชื่อถือหรือไม่?           Stablecoin เป็นส่วนสำคัญของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลทั่วโลก โดยมีมูลค่าตลาดรวมพุ่งสูงถึงประมาณ 1.9 – 2.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงปลายปี 2024 ซึ่งเติบโตกว่า 46% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ตอกย้ำการขยายตัวอย่างรวดเร็วของตลาดนี้ ปัจจุบัน ภาพประกอบ : ข้อมูลสถิติ stablecoin แต่ละเหรียญ (ราคา , ปริมาณการเทรดใน 24 ชั่วโมง (เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2024), จำนวน exchange ที่รองรับ และ market cap) USDT (Tether) เป็นเหรียญ Stablecoin ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งในด้านมูลค่าตลาดและปริมาณการใช้งาน โดยครองส่วนแบ่งตลาดราว 69–70% ของมูลค่าตลาด Stablecoin ทั้งหมด  มีมูลค่าตลาดประมาณ 1.39 แสนล้านดอลลาร์ (ประมาณ 4.9 ล้านล้านบาท)  มีกระดานเทรดรองรับ 358 กระดาน USDC (USD Coin) ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 20% อันดับสองของโลก  และเป็น Stablecoin มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์ และมีกระดานเทรดรองรับถึง 397 กระดาน           ส่วน Stablecoin อื่นๆ เช่น DAI, BUSD, และเหรียญที่มีขนาดเล็กกว่า รวมกันคิดเป็นสัดส่วนที่เหลือราว 10% ของตลาด           สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีข้อมูลสถิติอย่างเป็นทางการที่ระบุสัดส่วนประชากรไทยที่ถือครอง Stablecoin โดยตรง อย่างไรก็ดี ไทยได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการยอมรับคริปโทเคอร์เรนซีสูงติดอันดับโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา (ปี 2023 ไทยอยู่ในอันดับที่ 10 ของดัชนีการยอมรับคริปโทระดับโลก ก่อนจะปรับมาอยู่อันดับ 16 ในปี 2024) มีรายงานว่าในปี 2023 คนไทยราว 13 ล้านคน (ประมาณ 18% ของประชากร) เคยใช้สกุลเงินดิจิทัลบางประเภทในการลงทุนหรือทำธุรกรรม           เปรียบเทียบ USDT vs USDC (ความน่าเชื่อถือและการใช้งาน): แม้ USDT และ USDC จะเป็น Stablecoin ชั้นนำที่ผูกกับเงินดอลลาร์สหรัฐเหมือนกัน แต่ทั้งสองมีความแตกต่างในด้านความน่าเชื่อถือ การกำกับดูแล และการยอมรับใช้งานในตลาด           USDT (Tether): เป็น Stablecoin รุ่นบุกเบิก (ก่อตั้งปี 2014) และมีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด โดยได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในตลาดเอเชียและการเทรดระดับโลก เนื่องจากสภาพคล่องสูงและมีคู่เทรดแทบทุกแพลตฟอร์ม นอกจากนี้ USDT ยังได้รับการยอมรับใช้บนเครือข่ายบล็อกเชนที่หลากหลาย (เช่น Ethereum, Tron, BSC เป็นต้น) ทำให้ผู้ใช้สามารถโอน USDT ได้สะดวกด้วยค่าธรรมเนียมต่ำ (กรณี Tron-USDT ได้รับความนิยมมากในเอเชียเพราะค่าธรรมเนียมถูก) อย่างไรก็ตาม USDT เคยมีประวัติด้านลบเรื่อง ความโปร่งใสในการสำรองสินทรัพย์ โดยในปี 2021 บริษัท Tether ถูกสั่งปรับเป็นเงิน 41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากกรณีให้ข้อมูลชวนเข้าใจผิดว่ามีทุนสำรองหนุนหลังเหรียญครบ 100% ตลอดเวลา แต่ภายหลังสืบสวนพบว่าช่วงหนึ่งมีทุนสำรองจริงเพียง 27.6% ของจำนวนเหรียญที่ออก  กรณีนี้ทำให้ USDT ถูกวิจารณ์เรื่องความโปร่งใสและสร้างความกังวลในหมู่นักลงทุน ถึงแม้ปัจจุบัน Tether จะยืนยันว่าได้ปรับปรุงการเปิดเผยข้อมูลและมีทุนสำรองเต็มมูลค่าเหรียญแล้วก็ตาม อีกด้านหนึ่ง USDT มีประวัติราคาที่ผันผวนหลุดจาก $1 น้อยมาก (ยกเว้นช่วงวิกฤตสั้นๆ ที่ผู้ลงทุนเทขายเหรียญอื่นแล้วเข้าถือ USDT มากขึ้นจนราคา USDT สูงกว่า $1 เล็กน้อย) และไม่เคยเกิดกรณีเหรียญล้มละลาย จึงยังรักษาความเชื่อมั่นจากผู้ใช้ส่วนใหญ่ไว้ได้ กรณี USDT กับข้อพิพาทกฎหมาย MiCA ของยุโรป: หนึ่งในประเด็นสำคัญระดับสากลคือการที่ สกุลเงิน USDT ต้องเผชิญกับกฎระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรปภายใต้กฎหมาย Markets in Crypto-Assets (MiCA) ซึ่งเป็นกรอบกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะมีผลบังคับใช้ทั่วทั้งสหภาพยุโรป MiCA กำหนดให้ผู้ออก Stablecoin ต้องได้รับอนุญาตและปฏิบัติตามมาตรฐานด้านเงินทุนและสินทรัพย์สำรองที่เข้มงวด รวมถึงการจำกัดปริมาณการใช้ Stablecoin บางประเภทในการทำธุรกรรมรายวันเพื่อป้องกันความเสี่ยงเชิงระบบในภูมิภาคนี้ ในช่วงต้นปี 2025 ที่ผ่านมา แพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลหลายแห่งในยุโรป (เช่น com และ Coinbase) ได้ประกาศ เพิกถอน USDT ออกจากการให้บริการในยุโรป ชั่วคราว เพื่อเตรียมความพร้อมให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ MiCA           USDC (USD Coin): เป็น Stablecoin ที่ออกในปี 2018 โดยบริษัท Circle (ร่วมกับ Coinbase ภายใต้เครือข่าย Centre) ซึ่งวางตำแหน่งให้ USDC เป็นเหรียญที่เน้น ความโปร่งใสและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ มากกว่า USDT โดย Circle มีการเปิดเผยรายงานการตรวจสอบสินทรัพย์สำรองโดยบุคคลที่สามเป็นประจำทุกเดือน และเก็บสินทรัพย์สำรองในสถาบันการเงินที่ได้รับการกำกับดูแลอย่างเข้มงวดใน คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้ USDC ได้รับความเชื่อถือในฐานะ Stablecoin ที่มีความน่าเชื่อถือสูง และมักถูกเลือกใช้ในบริบทที่ต้องการความโปร่งใสหรือเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน (เช่น บริษัทจดทะเบียนหรือโครงการ DeFi ที่ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์) อย่างไรก็ดี USDC เองก็เคยประสบเหตุการณ์ สูญเสียมูลค่าผูกพันช่วงสั้นๆ ในเดือนมีนาคม 2023 เมื่อธนาคาร Silicon Valley Bank ซึ่งถือเงินสำรองบางส่วนของ USDC ประสบปัญหาล้มละลาย ส่งผลให้ USDC หลุดpeg ลงไปประมาณ 87 เซนต์ก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเข้ามาประกันเงินฝากและทำให้ USDC กลับสู่ $1 ได้ในเวลาไม่นาน () () เหตุการณ์ดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าแม้ USDC จะมีการกำกับดูแลที่ดีกว่า แต่ก็ยังอาจได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงของระบบการเงินดั้งเดิมได้เช่นกัน ในแง่การใช้งาน USDC เป็นที่นิยมมากในฝั่งสหรัฐอเมริกาและยุโรป และเริ่มมีบทบาทในตลาดเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะในการใช้งานด้าน DeFi และการชำระเงินระหว่างประเทศที่ต้องการความน่าเชื่อถือ           โดยสรุป USDT มีจุดแข็งเรื่องเครือข่ายการใช้งานกว้างขวางและสภาพคล่องสูง ขณะที่ USDC โดดเด่นเรื่องความโปร่งใสและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ผู้ใช้งานมักเลือก Stablecoin ที่เหมาะกับความต้องการของตน เช่น นักเทรดอาจนิยม USDT เพราะมีความคุ้นชิน และรู้จักมานาน ส่วนองค์กรธุรกิจหรือโครงการที่เน้นความน่าเชื่อถืออาจเลือกใช้ USDC มากกว่า ทั้งนี้ ทั้งสองเหรียญต่างก็ถือว่ามีประวัติรักษามูลค่าใกล้เคียง $1 ได้อย่างมีเสถียรภาพสูงมาก ยกเว้นเหตุการณ์ผิดปกติระยะสั้นในบางครั้งเท่านั้น ผลกระทบเชิงบวกของรองรับ USDT และ USDC สามารถจับคู่ซื้อขายกับสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นๆ ที่เปิดกว้างมากขึ้น           ในระยะสั้น ทาง USDT และ USDC นั้น สามารถเป็น สะพานเชื่อมระหว่างระบบการเงินไทยกับตลาดการเงินดิจิทัลโลก ช่วยให้นักลงทุนไทยจะสามารถเข้าถึงสินทรัพย์ดิจิทัลได้สะดวกขึ้น เนื่องจาก USDT และ USDC ช่วยลดปัญหาความผันผวนของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัล จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นตัวกลางการซื้อขายและเก็บรักษามูลค่า นอกจากนี้ยังเปิดกว้างการเข้าถึง digital asset ของประเทศไทยที่ออกได้ในอนาคต ในกรณีที่ผู้ออกโทเคนดิจิทัลยอมรับการชำระเงินเป็นสกุล USD ซึ่งจะทำให้การมูลค่าเงินจาก คริปโตเคอเรนซี่ เข้ามายัง digital asset มากขึ้น           นอกจากนี้ Stablecoin ยังอาจถูกใช้เป็น เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน ในช่วงที่ค่าเงินบาทผันผวน สมมติหากผู้ประกอบการหรือประชาชนกังวลว่าบาทจะอ่อนค่า ก็อาจแปลงสินทรัพย์บางส่วนไปถือเป็น Stablecoin สกุลเงินดอลลาร์เพื่อรักษามูลค่า (คล้ายกับการถือเงินตราต่างประเทศ) อย่างไรก็ดี การทำเช่นนี้ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยยอมรับได้           ในขณะที่นักลงทุนจากต่างประเทศจะมองประเทศไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจมากขึ้น ด้วยระบบที่มีความยืดหยุ่นและรองรับการใช้งานของ Stablecoin ซึ่งได้รับความนิยมในระดับสากล ส่งผลให้มีเงินทุนไหลเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น โดยนักลงทุนต่างชาติไม่จำเป็นจะต้องเจอความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนในกรณีที่ลงทุนในสินทรัพย์ดิจัทัลของประเทศไทย           ซึ่ง USDT และ USDC น่าจะมีโอกาสที่จะเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่นักลงทุนไทยถือครองมากขึ้น เพื่อใช้เป็นที่พักเงินระหว่างการเทรดหรือเพื่อโอนมูลค่าระหว่างแพลตฟอร์ม เนื่องจากความผันผวนต่ำและความสะดวกในการแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ แนวโน้มการเติบโตของ Stablecoin ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีความโดดเด่น สอดคล้องกับกระแสทั่วโลกที่ Stablecoin กลายเป็นเครื่องมือสำคัญทั้งในการซื้อขายคริปโทและการชำระเงินดิจิทัล โดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่อย่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกา และลาตินอเมริกา ซึ่งมีความต้องการ Stablecoin สูง           ในระยะกลางและยาว stablecoin ทั้ง USDT, USDC ยังช่วยเปิดประตูสู่นวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ เช่น การชำระเงินด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล การให้บริการฝากหรือกู้ยืมสินทรัพย์ดิจิทัลที่มี Stablecoin เป็นสื่อกลาง ตลอดจนการพัฒนาโทเคนดิจิทัลที่มีสินทรัพย์อ้างอิง (Asset-backed Tokens) อย่างไรก็ตาม การใช้งานดังกล่าวต้องดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้มั่นใจว่าการใช้ Stablecoin เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินนั้น จะไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ หากมีการนำ Stablecoin มาใช้อย่างแพร่หลายในระบบการเงินไทย ย่อมก่อให้เกิด ผลดีหลายประการต่อภาคการเงินและการลงทุน ประการแรก Stablecoin สามารถช่วย เพิ่มประสิทธิภาพในการโอนเงินและการชำระเงิน โดยเฉพาะธุรกรรมระหว่างประเทศ เช่น การโอนเงินข้ามประเทศหรือการชำระค่าสินค้านำเข้า–ส่งออก สามารถทำได้รวดเร็วขึ้นและค่าธรรมเนียมถูกลง เมื่อเทียบกับการโอนผ่านธนาคารแบบดั้งเดิมและระบบ SWIFT นอกจากนี้ Stablecoin ยัง ทำงานตลอด 24/7 ไม่มีวันหยุด จึงอำนวยความสะดวกให้ภาคธุรกิจสามารถทำธุรกรรมได้ตลอดเวลา ไม่ต้องรอเวลาทำการของธนาคาร ความท้าทายที่ควรจับตาจากการนำ USDT และ USDC มาใช้กว้างขวางมากขึ้น           ความเสี่ยงของ Stablecoin ในบริบทประเทศไทย (ฟอกเงินและบัญชีม้า):           สำหรับประเทศไทย ปัญหา “บัญชีม้า” ที่คนร้ายใช้บัญชีธนาคารของผู้อื่นหรือบัญชีปลอมในการรับโอนเงินก็อาจเชื่อมโยงกับการใช้ Stablecoin ได้ เช่น คนร้ายอาจหลอกให้เหยื่อโอนเงินเข้าบัญชีม้า แล้วรีบนำเงินนั้นไปซื้อ USDT/USDC และโอนออกนอกประเทศในรูปคริปโท ทำให้การติดตามเงินทำได้ยากขึ้น ความเสี่ยงเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการจัดการผ่านมาตรการตรวจสอบและกำกับดูแลที่เหมาะสม ซึ่งไทยเองเริ่มตระหนักถึงปัญหานี้ เช่น ผู้เชี่ยวชาญได้เตือนว่าการใช้ Stablecoin ที่ไม่อยู่ในระบบสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมอาจทำให้หน่วยงานยากจะติดตามที่มาของเงิน และไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นเจ้าของเงินจริงๆ ในธุรกรรมนั้น จึงต้องมีการกำกับและบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังเพื่อป้องกันการใช้ Stablecoin เป็นช่องทางฟอกเงินหรือหลอกลวงทางการเงิน ตัวอย่างกรณีล่าสุดคือกรณีอื้อฉาวของ บริษัท The ICON Group ที่ถูกกล่าวหาว่าฟอกเงินและติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่ามีธุรกรรมผิดปกติเป็นมูลค่ามหาศาลกว่า 247 ล้าน USDT (ประมาณ 8,223 ล้านบาท) ถูกโอนออกจากกระเป๋าที่เกี่ยวข้องก่อนที่ผู้บริหารของบริษัทจะถูกจับกุมเพียง 1 ชั่วโมง กรณีนี้ชี้ให้เห็นว่าอาชญากรสามารถใช้ Stablecoin (เช่น USDT) โยกย้ายเงินจำนวนมากได้อย่างรวดเร็วเมื่อใกล้ถูกจับกุม           นอกจากนี้ รายงานของสหประชาชาติ ยังได้เตือนว่า Stablecoin อย่าง USDT กลายเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมในกลุ่มอาชญากรและองค์กรอาชญากรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากความสะดวกรวดเร็วในการโอน, ความเป็นส่วนตัวของธุรกรรม, และค่าธรรมเนียมต่ำ เมื่อเทียบกับการโอนผ่านธนาคารแบบดั้งเดิม ทำให้เงินผิดกฎหมายสามารถถูกฟอกและย้ายข้ามประเทศได้โดยยากต่อการตรวจสอบ นอกจากนี้ Stablecoin ยังถูกใช้มากในธุรกิจผิดกฎหมายออนไลน์ เช่น การพนันออนไลน์ และ “ธนาคารใต้ดิน” เพื่อเลี่ยงมาตรการควบคุมของ           อีกด้านหนึ่ง ความเสี่ยงด้านอาชญากรรมการเงิน ก็เป็นความท้าทายสำคัญ ดังที่กล่าวในหัวข้อก่อนหน้า Stablecoin ที่ทำธุรกรรมบนบล็อกเชนแบบไม่มีตัวกลางอาจถูกใช้ฟอกเงินหรือสนับสนุนกิจกรรมผิดกฎหมายได้ ไทยจึงจำเป็นต้องเสริมสร้างระบบการตรวจสอบและกำกับดูแล เช่น กำหนดให้ผู้ให้บริการในประเทศต้องทำ KYC/AML ลูกค้าอย่างเข้มงวด และประสานงานกับหน่วยงานปราบปรามการฟอกเงินในการติดตามธุรกรรมที่น่าสงสัย ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าปัจจุบัน ธุรกรรม Stablecoin มีความเป็นส่วนตัวสูงและติดตามตัวตนได้ยาก ซึ่งหน่วยงานไทยจะต้องหาแนวทางตรวจสอบที่มา-ปลายทางของเงินให้ได้ มิฉะนั้นจะไม่ทราบเลยว่าใครเป็นเจ้าของเงินหรือเงินนั้นมาจากกิจกรรมที่ถูกกฎหมายหรือไม่  ความท้าทายนี้ต้องการเครื่องมือกำกับดูแลใหม่ ๆ ที่อาจเกินขีดความสามารถของกฎหมายการเงินแบบเดิม แหล่งอ้างอิง : รายงานและประกาศจากธนาคารแห่งประเทศไทย​ , สำนักงาน ก.ล.ต., สถาบันการเงินระหว่างประเทศ, Markets in Crypto-Assets (MiCA รวมถึง ข้อมูลจากบทวิเคราะห์จาก CoinDesk, Cointelegraph ผู้เขียน สุทธิรัตน์ หาญพานิชย์ Head of Business Development, Token X

เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 3 รางวัล จาก Future Trends Awards 2025

เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 3 รางวัล จาก Future Trends Awards 2025

           เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 3 รางวัลจากงาน Future Trends Awards 2025  ทั้งรางวัลสำหรับบุคคลซึ่งเป็นผู้นำองค์กรที่โดดเด่นและมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางอนาคต และ รางวัลการบริหารองค์กรมีความโดดเด่นในด้านวิสัยทัศน์และการสร้างสรรค์นวัตกรรม  โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ พิจารณาคัดเลือกด้วยหลักเกณฑ์ข้อกำหนดที่เป็นมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ              บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) คว้ารางวัลเกียรติยศจากงาน Future Trends Awards 2025  ภายใต้แนวคิด Knowing the Future, Be the Winners of Tomorrow เวทีสำคัญของการมอบรางวัลเพื่อยกย่องบุคคลและองค์กรที่โดดเด่นในการนำเทรนด์และนวัตกรรมมาใช้อย่างสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ สร้างคุณค่าต่อการพัฒนาของทุกภาคส่วน พร้อมเป็นต้นแบบและเป็นแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนการเติบโตของวันนี้และอนาคตอย่างยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งด้านคุณภาพชีวิต สังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม  โดยสามารถคว้ารางวัลสำคัญถึง  3  ประเภท ได้แก่ รางวัล Leader of Business มอบให้แก่นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ได้รับต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เป็นเครื่องยืนยันถึงบทบาทของผู้นำที่สามารถขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าอย่างแข็งแกร่ง ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ โดยอาศัยกลยุทธ์การเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาปรับใช้ในทุกกระบวนการของการดำเนินงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างโอกาสใหม่ให้กับบริษัทฯ นอกจากนี้ รางวัลนี้ยังสะท้อนถึงแนวทางการบริหารที่คำนึงถึง ความคุ้มค่าและประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า ควบคู่ไปกับการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมในวงกว้าง ผ่านโครงการต่างที่ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืน รางวัล Leader of Leader มอบให้แก่ นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซึ่งได้รับต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ถือเป็นรางวัลที่แสดงถึง วิสัยทัศน์และภาวะผู้นำ ที่ได้รับการยอมรับในระดับสูงสุด ตอกย้ำถึงศักยภาพในการบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ รางวัลนี้สะท้อนถึงบทบาทในการ สร้างความร่วมมือระหว่างพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partnerships) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรให้สามารถแข่งขันและเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งในระดับสากล นอกจากนี้ ยังแสดงถึงความสามารถในการ เป็นแรงบันดาลใจ ให้กับบุคลากรในทุกระดับขององค์กร กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นความเป็นผู้นำนวัตกรรม ตลอดจนการทำงานร่วมกันเพื่อความสำเร็จของธุรกิจ โดยรางวัลนี้เป็นข้อพิสูจน์ถึงบทบาทในฐานะผู้นำที่ไม่เพียงแต่สร้างความสำเร็จให้กับบริษัทฯ เพียงอย่างเดียวแต่ยังช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมประกันชีวิตให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน รางวัล The Most Attractive Employer (Student 18-22 Years Old) เป็นเครื่องยืนยันถึงความสำเร็จของเมืองไทยประกันชีวิตในการดึงดูดและสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มนักศึกษาที่กำลังเตรียมตัวก้าวสู่ตลาดแรงงาน สะท้อนให้เห็นถึง วัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้าง ทันสมัย และส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทฯ เป็นที่ต้องการของคนรุ่นใหม่ บริษัทฯ มุ่งมั่นในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เอื้อต่อการพัฒนา เช่น การทำงานข้ามสายงาน (Cross-Functional Team) การหมุนเวียนเพื่อเรียนรู้งานอื่น ๆ (Internal Rotation) และ กิจกรรมเสริมสร้างทักษะเพื่อให้พนักงานได้มีโอกาสเรียนรู้อย่างมืออาชีพและเติบโตไปพร้อมกับองค์กร โดยมุ่งเน้นความสมดุลในชีวิตและการทำงาน รวมถึงการทำงานแบบยืดหยุ่น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการโอกาสทางอาชีพและคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีโครงการ “Young MTL Internship” ซึ่งเป็นโครงการนักศึกษาฝึกงานที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สัมผัสเเละรับประสบการณ์จากการฝึกงานที่ได้คิดและลงมือทำจริง เพื่อเตรียมความพร้อม สำหรับการทำงาน รวมถึงยังมีโอกาสร่วมงานกับบริษัทฯ ในอนาคตอีกด้วย            สำหรับการได้รับรางวัลทั้ง 3 ประเภทนี้ เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่บุคลากรและผู้นำรุ่นใหม่ บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี เพื่อส่งเสริมศักยภาพของพนักงานและสร้างอนาคตที่มั่นคงให้กับทุกภาคส่วนต่อไป บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลผ่านการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งและเปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมให้สูงขึ้นอีกทั้งยังขยายความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตของทุกฝ่ายอย่างสมดุลและยั่งยืน

“พิชัย” แจ้งข่าวดี! ส่งออกไทย ก.พ.68 โต 14% รัฐบาล

“พิชัย” แจ้งข่าวดี! ส่งออกไทย ก.พ.68 โต 14% รัฐบาล "แพทองธาร" 5 เดือนโตเฉลี่ย 11.8%

             หุ้นวิชั่น - วันที่ 21 มีนาคม 2568 ณ กระทรวงพาณิชย์ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เผยตัวเลขส่งออกไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ขยายตัว 14% คิดเป็นมูลค่า 26,707.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 906,520 ล้านบาท ต่อเนื่องจากเดือนมกราคมที่โต 13.6% ทำให้เฉลี่ย 2 เดือนแรกของปี 2568 การส่งออกขยายตัวแล้วถึง 13.8% มูลค่า 51,984.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นบวกต่อเนื่อง 8 เดือน              นายพิชัยกล่าวว่า การส่งออกเป็นเครื่องยนต์เศรษฐกิจที่สำคัญของไทย โดยรัฐบาลตั้งเป้าขยายตัวเศรษฐกิจเกิน 3% และต้องการให้การส่งออกไทยเติบโตอย่างน้อย 3.5% ปัจจุบันการส่งออกขยายตัวถึง 13.8% ซึ่งเป็นสัญญาณบวก และคาดว่าเดือนมีนาคมรวมถึงเดือนถัดไปจะขยายตัวต่อเนื่องจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้น              นายพิชัยกล่าวว่า เครื่องยนต์เศรษฐกิจของไทย กำลังไปได้ดีทุกตัว โดยในปีที่แล้วไทยมียอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนสูงถึง 1.13 ล้านล้านบาท ขณะนี้หลายโรงงานใกล้เสร็จและพร้อมเริ่มการผลิตเพื่อส่งออก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมแผงวงจรพิมพ์ หรือ PCB และข้อมูลจาก BOI ระบุว่า 2 เดือนแรกของปี 2568 มียอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การส่งออก 2 เดือนแรกโต 13.8% การลงทุนขยายตัวสูงกว่าปีก่อน การท่องเที่ยวปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยว 36 ล้านคน ปีนี้คาดว่าแตะ 39-40 ล้านคน ถึงแม้ตัวเลขเศรษฐกิจจะดีขึ้น แต่ปัญหาหนี้ยังเป็นอุปสรรคสำคัญ จึงสนับสนุนแนวคิดการแก้หนี้ เพื่อให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ และอาจขยายตัวถึง 5-6%              ตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่รัฐบาล ท่านนายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เข้ามาบริหารประเทศ การส่งออกไทยเติบโตต่อเนื่อง โดยมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 11.8% โดยเดือนตุลาคม 2567 ขยายตัว 14.6% เดือนพฤศจิกายน 2567 ขยายตัว 8.2% เดือนธันวาคม 2567 ขยายตัว 8.7% เดือนมกราคม 2568 ขยายตัว 13.6% และเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ขยายตัว 14% ซึ่งการส่งออกไทยกำลังฟื้นตัวจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ไทยเป็นประเทศเล็กและเปิด จำเป็นต้องพึ่งพาการส่งออก ในอดีตตัวเลขไม่ดีเพราะการลงทุนหดตัว แต่ขณะนี้การลงทุนเพิ่มขึ้น ทำให้การส่งออกขยายตัว              นายพิชัย กล่าวว่า การนำเข้าของไทยในช่วงที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นมากกว่าการส่งออก เนื่องจากเป็นการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าขั้นกลาง เพื่อนำมาผลิตเพื่อส่งออกและขยายการผลิตในอนาคต ซึ่งเป็นสัญญาณบวกในเชิงเศรษฐศาสตร์ หากเราสามารถแก้ปัญหาหนี้ของประชาชนและภาคธุรกิจได้สำเร็จ เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยมีโอกาสขยายตัวเกิน 5% และเดินหน้าเติบโตอย่างแข็งแกร่งในระยะยาว              ด้านนายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเพิ่มเติม รายละเอียดดังนี้ มูลค่าการค้ารวมมูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนกุมภาพันธ์ 2568 การส่งออก มีมูลค่า 26,707.1ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 14.0 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า24,718.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 4.0ดุลการค้า เกินดุล 1,988.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพรวมการส่งออก 2 เดือนแรกของปี 2568 การส่งออกมีมูลค่า 51,984.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 13.8 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 51,876.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 6.0 ดุลการค้า เกินดุล 108.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนกุมภาพันธ์2568 การส่งออก มีมูลค่า 906,520 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9.4เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า848,824 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 0.2 ดุลการค้า เกินดุล 57,696 ล้านบาท ภาพรวมการส่งออก 2 เดือนแรกของปี 2568 การส่งออก มีมูลค่า 1,768,887 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.6 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า1,786,936 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.1 ดุลการค้า ขาดดุล 18,049 ล้านบาท การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร              มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 3.9 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน โดยสินค้าเกษตร หดตัวร้อยละ 1.6 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวร้อยละ 9.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 35.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 16 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ และเวียดนาม)น้ำตาลทราย ขยายตัวร้อยละ 25.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย เวียดนาม ลาว จีน และมาเลเซีย) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 9.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน เนเธอร์แลนด์ และ ไอร์แลนด์) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 27.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 14 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ เมียนมา กัมพูชา และออสเตรเลีย) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 14.4 ขยายตัวต่อเนื่อง 17 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อิตาลี เวียดนาม และสหราชอาณาจักร) และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 22.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 17 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และแคนาดา)              ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ข้าว หดตัวร้อยละ 34.3 หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ แอฟริกาใต้ โกตดิวัวร์ แองโกลา และเซเนกัล แต่ขยายตัวในตลาดอิรัก จีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ และแคนาดา) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 15.8 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดจีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน และฟิลิปปินส์แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย เกาหลีใต้ เวียดนาม และลาว) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง หดตัวร้อยละ 3.7 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดจีน เกาหลีใต้ สหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร แต่ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ฮ่องกง และอินเดีย) และเนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ หดตัวร้อยละ 6.7 หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ ลาว และออสเตรเลีย แต่ขยายตัวในตลาดกัมพูชา เมียนมา ฮ่องกง เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์) ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 2.1 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม              มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 17.2 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 4.5 กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ เวียดนาม สหรัฐฯ เม็กซิโก และอินโดนีเซีย) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 51.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และฮ่องกง)อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 106.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินเดีย สหรัฐฯ เยอรมนี สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร) ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวร้อยละ16.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และมาเลเซีย) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 32.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม ออสเตรเลีย อินเดีย และไต้หวัน) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 21.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์) แผงวงจรไฟฟ้า ขยายตัวร้อยละ 24.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ สหรัฐฯ และเวียดนาม)              ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ หดตัวร้อยละ 13.2 หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดอินเดีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และเมียนมา แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน เวียดนาม และลาว) เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 10.1 หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ สาธารณรัฐเช็ก จีน และฮ่องกง แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เม็กซิโก สิงคโปร์ เมียนมา และไอร์แลนด์) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด หดตัวร้อยละ 46.1 หดตัวต่อเนื่อง 12 เดือน(หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง เกาหลีใต้ อินเดีย และเวียดนาม แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน สิงคโปร์ และมาเลเซีย) ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 17.1 ตลาดส่งออกสำคัญ              การส่งออกไปตลาดสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัว โดยเฉพาะการส่งออกไปตลาดจีนที่ขยายตัวเร่งขึ้นตามการฟื้นตัวของภาคการผลิต ตลาดเอเชียใต้ขยายตัวสูงต่อเนื่องตามการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (โลหะมีค่า) ไปยังอินเดีย ประกอบกับยังมีการเร่งนำเข้าใน              ตลาดสหรัฐฯ จากความกังวลมาตรการกำแพงภาษีในอนาคต ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 7.7 โดยขยายตัวต่อเนื่องในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 18.3 จีนร้อยละ 22.4 และสหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 4.5 แต่หดตัวในตลาดญี่ปุ่น ร้อยละ 3.1 อาเซียน (5) ร้อยละ 0.5 และ CLMVร้อยละ 1.8 (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 21.2 โดยขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 129.5ตะวันออกกลาง ร้อยละ 6.7 แอฟริกา ร้อยละ 6.8 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 17.9 รัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 30.2 และสหราชอาณาจักร ร้อยละ 3.7 แต่หดตัวในตลาดทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 7.7 และ (3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 184.6              ตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 18.3 (ขยายตัวต่อเนื่อง 17 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ และเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 20.3              ตลาดจีน ขยายตัวร้อยละ 22.4 (ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เม็ดพลาสติก และผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568ขยายตัวร้อยละ 17.9              ตลาดญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 3.1 (กลับมาหดตัวในรอบ 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ยางพาราเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และทองแดงและของทำด้วยทองแดง ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 หดตัวร้อยละ 0.6              ตลาดสหภาพยุโรป (27) ขยายตัวร้อยละ 4.5(ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัวเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ และไก่แปรรูปสินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 9.1              ตลาดอาเซียน (5) หดตัวร้อยละ 0.5 (กลับมาหดตัวหลังจากขยายตัวในเดือนก่อน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น สินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และน้ำตาลทราย ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 2.2              ตลาด CLMV หดตัวร้อยละ 1.8 (กลับมาหดตัวในรอบ 14 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ น้ำมันสำเร็จรูป และทองแดงและของทำด้วยทองแดง สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และเคมีภัณฑ์ ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 1.7              ตลาดเอเชียใต้ ขยายตัวร้อยละ 129.5 (ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่นอัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม และเคมีภัณฑ์ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ทองแดงและของทำด้วยทองแดง เส้นใยประดิษฐ์ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 120.8              ตลาดทวีปออสเตรเลีย หดตัวร้อยละ 7.7 (หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล และเครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 หดตัวร้อยละ 17.3              ตลาดตะวันออกกลาง ขยายตัวร้อยละ 6.7 (กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 2.3              ตลาดแอฟริกา ขยายตัวร้อยละ 6.8 (ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และเครื่องยนต์สันดาปภายใน สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ข้าว เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 10.1              ตลาดลาตินอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 17.9 (ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่นหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ และเครื่องนุ่งห่ม ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 19.7              ตลาดประชาคมรัฐเอกราช (CIS) ขยายตัวร้อยละ 30.2 (กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 12.2              ตลาดสหราชอาณาจักร ขยายตัวร้อยละ 3.7(ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัวเช่น ไก่แปรรูป เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 6.7 แนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าการส่งออกในไตรมาสแรกของปี 2568 จะยังคงมีทิศทางการเติบโตที่น่าพอใจ โดยได้รับแรงหนุนจากหลายปัจจัยสำคัญ ทั้งความเชื่อมั่นในภาคการผลิตที่มีแนวโน้มปรับตัวในเชิงบวก ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสถานการณ์ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เริ่มคลี่คลายลง อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความท้าทายที่ต้องเฝ้าติดตามอย่างต่อเนื่อง อาทิ นโยบายการค้าของสหรัฐฯ และมาตรการตอบโต้จากประเทศต่างๆ ซึ่งสร้างความไม่แน่นอนให้กับระบบการค้าโลก ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการผลิตสินค้าเกษตรของไทย ตลอดจนกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมวางแนวทางการดำเนินงานร่วมกับภาคเอกชน เพื่อรับมือกับสภาวการณ์ที่มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพ

CHOW ร่วมมือ SME D Bank ถ่ายทอดความรู้ Solar Rooftop

CHOW ร่วมมือ SME D Bank ถ่ายทอดความรู้ Solar Rooftop

             นายปรมัตถ์ จุฬวนิช ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บริษัท เชาว์สตีล อินดัสทรี้ จำกัด(มหาชน) หรือ CHOW และดร.จีรณัทย์ สุทธวารี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฎิบัติการ บริษัท เชาว์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการด้านระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจร ในเครือ CHOW ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรบรรยายหลักสูตร “ความรู้ Solar Rooftop เพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์สินเชื่อ SME Green Productivity” ให้กับพนักงาน SME D Bank ทั่วประเทศ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในด้านต่างๆ เช่น เทคโนโลยีและอุปกรณ์มาตรฐานในการติดตั้ง การคำนวณต้นทุนและการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน เป็นต้น โดยมุ่งเน้นให้พนักงาน SME D Bank มีความเข้าใจและสามารถแนะนำข้อมูลให้ลูกค้าที่ต้องการติดตั้ง Solar Rooftop และเข้าร่วมโครงการ สินเชื่อ SME Green Productivity พร้อมดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3%ต่อปีส าหรับ 3 ปีแรก ณ ธนาคารพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank) สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็วๆนี้

กฟผ. ลุยโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ  เปิดซองประกวดราคาถึง 18 เม.ย. นี้

กฟผ. ลุยโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ เปิดซองประกวดราคาถึง 18 เม.ย. นี้

               หุ้นวิชั่น - กฟผ. เปิดขายเอกสารประกวดราคาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ หรือ โซลาร์เซลล์ลอยน้ำ เขื่อนภูมิพล ชุดที่ 1 จ.ตาก ตั้งแต่วันนี้ – 18 เมษายน 2568 ผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด หนุนประเทศสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality ติดตามรายละเอียดที่ https://www4.egat.co.th/fprocurement/biddingeng/main/3582                นายทิเดช เอี่ยมสาย รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ. เดินหน้าพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ เขื่อนภูมิพล ชุดที่ 1 จ.ตาก                ขนาดกำลังผลิต 158 เมกะวัตต์ (MWac) ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งอยู่บนทุ่นลอยน้ำในอ่างเก็บน้ำของเขื่อน โดยโครงการฯ นี้ เป็นส่วนหนึ่งในแผนดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี ค.ศ. 2065 ผ่านกลไกการสนับสนุนการชดเชยและหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างเป็นรูปธรรม กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ในปี 2570                ปัจจุบันโครงการฯ อยู่ระหว่างการเปิดขายเอกสารประกวดราคา ผู้ประกอบการที่สนใจมีส่วนร่วมในการสร้างพลังงานสะอาดให้กับประเทศ สามารถซื้อเอกสารประกวดราคาได้ ตั้งแต่วันนี้ – 18 เมษายน 2568 กำหนดเปิดซองประกวดราคาในวันที่ 14 กรกฎาคม 2568 (สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม) ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www4.egat.co.th/fprocurement/biddingeng/main/3582                ทั้งนี้ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ เขื่อนภูมิพล ชุดที่ 1 นี้ เป็นโครงการฯ ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Revision 1) รวมถึงร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยฉบับใหม่ โดยมีแผนพัฒนาในพื้นที่เขื่อนของ กฟผ. ทั่วประเทศ กำลังผลิตรวม 2,725 เมกะวัตต์ ภายในปี 2573 ภายใต้หลักการสำคัญ คือ เพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานสะอาดขับเคลื่อนเป้าหมายประเทศ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยก่อสร้างโรงไฟฟ้าบนพื้นที่ผิวน้ำในเขื่อนของ กฟผ. และใช้อุปกรณ์หลักร่วมกันกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่มีอยู่เดิม ช่วยลดต้นทุนการผลิต ทำให้ค่าไฟฟ้ามีราคาต้นทุนที่เหมาะสม เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

LTMH เคาะ IPO  5 บ. เสนอขาย 25 - 27 มี.ค.  คาดเทรด 2 เม.ย. 68

LTMH เคาะ IPO 5 บ. เสนอขาย 25 - 27 มี.ค. คาดเทรด 2 เม.ย. 68

                 หุ้นวิชั่น - บริษัท แอลทีเอ็มเอช จำกัด (มหาชน) หรือ LTMH กำหนดราคาเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ที่ราคาหุ้นละ 5.00 บาท จำนวนเสนอขาย 50 ล้านหุ้น เตรียมเปิดจองซื้อระหว่างวันที่ 25 - 27 มีนาคม 2568 นี้คาดเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) วันที่ 2 เมษายน 2568 โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อขยายธุรกิจเทคโนโลยีบริหารความมั่งคั่ง (WealthTech) ภายใต้ชื่อ “WealthX” เพื่อสนับสนุนการเติบโตในระยะยาว                  นายสมภพ กีระสุนทรพงษ์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้น IPO ของบริษัท แอลทีเอ็มเอช จำกัด (มหาชน) หรือ LTMH เปิดเผยว่า LTMH จะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 50 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 25.00 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดหลังการเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้  โดยกำหนดราคา IPO ที่ราคาหุ้นละ 5.00 บาท รวมเป็นเงินที่บริษัทฯ ได้รับจากการระดมทุนในครั้งนี้จำนวน 250.00 ล้านบาท เปิดให้จองซื้อหุ้นในระหว่างวันที่ 25-27 มีนาคม 2568 และคาดว่าจะเข้าซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) หมวดธุรกิจบริการ (SERVICE) ในวันที่ 2 เมษายน 2568 ในชื่อย่อหลักทรัพย์ว่า "LTMH" พร้อมกันนี้มีผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายอีก 3 แห่ง ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด, บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน)                  สำหรับการกำหนดราคา IPO ดังกล่าว ถือเป็นระดับที่เหมาะสมกับปัจจัยพื้นฐาน และสอดคล้องกับสภาวะของตลาดหลักทรัพย์ในปัจจุบัน LTMH ถือเป็นธุรกิจสื่อออนไลน์ที่แข็งแกร่ง เป็นที่ยอมรับ และมีการเติบโตที่โดดเด่น Brand LTMH เริ่มต้นจากการสร้างเพจ Facebook ภายใต้ชื่อ “ลงทุนแมน” และต่อมาได้ขยายเพิ่มอีก 5 เพจ ประกอบด้วย ลงทุนเกิร์ล, MarketThink, Brandcase, Money Lab และ Mao-Investor ครอบคลุม เข้าถึง และตอบสนองกลุ่มลูกค้าและผู้ติดตามได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น จาก 4.87 ล้านคน ในปี 2564 เพิ่มเป็น 8.32 ล้านคน ณ สิ้นปี 2567 คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 19.61% ในช่วงปี 2564 -2567 ทำให้ LTMH ถือเป็นอินฟลูเอนเซอร์ ด้านการเงิน และการลงทุน ที่มีความน่าเชื่อถือ และมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นและการตัดสินใจของผู้ติดตามจำนวนมาก                  นอกจากนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน ผู้ถือหุ้นใหญ่ คือกลุ่มครอบครัวคุณธณัฐ เตชะเลิศ และ ผู้ถือหุ้นเดิมรายอื่นอีก 4 ราย ยังได้สมัครใจทำข้อตกลงไม่จำหน่ายหุ้นในส่วนที่เหลือจากการติด Silent Period ตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นเวลา 6 เดือนตั้งแต่วันที่เริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมส่วนที่เหลือที่ไม่ติด Lock up จะมีจำนวนเพียง 4.03 ล้านหุ้น คิดเป็นเพียงร้อยละ 2.02 ของจำนวนหุ้นภายหลังการเสนอขายหุ้นเท่านั้น                  นายธณัฐ เตชะเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอลทีเอ็มเอช จำกัด (มหาชน) หรือ LTMH เปิดเผยว่าการเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้ เป็นอีกก้าวสำคัญที่จะสร้างให้ LTMH เติบโตอย่างยั่งยืน โดยการระดมทุนครั้งนี้ จำนวน 250.00 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อขยายธุรกิจ WealthTech ภายใต้แบรนด์ "WealthX" ที่จะช่วยให้คนไทยสามารถยกระดับทางการเงิน การลงทุนได้มากขึ้นในอนาคต ในเบื้องต้น เราได้ยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2568 คาดว่าจะเริ่มดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์ได้ภายในปี 2568 นอกจากนี้ การระดมทุนยังมีวัตถุประสงค์เพื่อชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินที่ใช้ลงทุนในหุ้น บลจ.ทาลิส รวมถึงเป็นเงินทุนหมุนเวียนในบริษัทฯ และบริษัทย่อย ซึ่งผมเชื่อมั่นว่า สิ่งที่จะทำให้ LTMH ประสบความสำเร็จในการขยายธุรกิจครั้งนี้มาจาก “จุดแข็งสำคัญ” ที่เรามีอยู่ทั้งชื่อเสียงของแบรนด์ที่แข็งแกร่ง การมีสื่อออนไลน์และช่องทางการติดตามที่หลากหลาย รวมถึงการมีแพลตฟอร์มสื่อออนไลน์ที่เป็นของเราเอง และระบบ Ecosystem ที่เกื้อหนุนกันรวมถึงทีมผู้บริหารและบุคลากรที่มีความสามารถและประสบการณ์ในอุตสาหกรรมมาอย่างยาวนาน                  ในนามของ LTMH ผมขอขอบคุณบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ที่สนับสนุนและช่วยเหลือให้คำแนะนำในการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) และต้องขอขอบคุณผู้ร่วมจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายทั้ง 3 แห่งในฐานะผู้ร่วมจัดจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ LTMH รวมถึงนักลงทุนทุกๆ ท่าน ที่ให้ความสนใจการเสนอขายหุ้น IPO ของ LTMH ในครั้งนี้                  ในช่วงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ระหว่างปี 2564 – 2567 รายได้รวมของบริษัทฯ เท่ากับ 118.06 ล้านบาท 173.90 ล้านบาท 225.77 ล้านบาท และ 231.72 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ได้ถึง 25.20% รวมถึงในปี 2567 บริษัทฯ มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงถึง 50.55% และมีอัตรากำไรสุทธิที่ระดับ 15.23% แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไรที่สูง                  ทั้งนี้ ทางบริษัทฯ เชื่อว่าด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ค่อนข้างสูง บวกกับต้นทุนค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของบริษัทฯ เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงรากฐานขององค์กรที่แข็งแกร่ง ทั้งในด้านธุรกิจสื่อและแพลตฟอร์มสื่อ (ออนไลน์) และธุรกิจออฟไลน์นั้น เมื่อมาผนวกกับแผนการทางธุรกิจในอนาคตที่ค่อนข้างชัดเจน โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาต่อยอดธุรกิจ WealthTech ที่มีโอกาสเติบโตอยู่ในระดับสูง ก็จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้บริษัทฯ สามารถเดินหน้าสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการขยายธุรกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพต่อการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอนาคตได้เป็นอย่างดี [PR News]

“กรุงศรี” คัด 7 หุ้น โอกาสซื้อหุ้นคืน ตาม PTT

“กรุงศรี” คัด 7 หุ้น โอกาสซื้อหุ้นคืน ตาม PTT

               หุ้นวิชั่น - บล.กรุงศรี จับตากระแสการซื้อหุ้นซื้อคืนกลับมาคึกคักขึ้น หลัง PTT ประกาศโครงการซื้อหุ้น คืนเพื่อบริหารทางการเงิน (Treasury Stock) วงเงินสูงสุดไม่เกิน 16,000 ลบ. และจำนวนหุ้นซื้อคืน ไม่เกิน 470 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกิน 1.65% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด (implied ราคาหุ้น ซื้อคืนราว 34 บาท/หุ้น)                หลังจากนี้ คาดตลาดมีโอกาสเก็งกำไรหุ้น Big Cap ที่มีศักยภาพดำเนินการได้ อิงรายงานกลยุทธ์ “โอกาสลงทุนจากกระแสหุ้นทุนซื้อคืน” ที่ฝ่ายวิจัยออกวันที่ 29 ม.ค. 25 ซึ่งพบว่า มีหุ้น Big Cap หลักๆในกลุ่มพลังงาน ธนาคาร ปิโตรเคมีที่มีโอกาสเห็นการซื้อคืนระยะถัดไป อาทิ SCB, KBANK, KTB , BBL, PTTGC, TOP, BCP                นอกจาก PTT, TTB ที่ประกาศ โครงการดังกล่าว รวมถึงหุ้นธนาคารส่วนใหญ่ที่ปรับเพิ่มอัตราจ่ายเงินปันผลไปแล้ว รอติดตามหุ้นที่ยังประกาศในส่วน BCP, PTTGC, TOP

จับตาศึก

จับตาศึก "เครื่องดื่มชูกำลัง" ชู CBG เด่นสุด

          หุ้นวิชั่น - บล.ดาโอ จับตาหุ้นเครื่องดื่มชูกำลัง โดยฝ่ายวิจัย คงน้ำหนักการลงทุนกลุ่ม Food & Beverage (Energy Drink) ที่ “เท่ากับตลาด”           ฝ่ายวิจัยคาดมูลค่าตลาดเครื่องดื่มชูกำลังปี 2025E จะอยู่ที่ 23,850 ล้านบาท ขยายตัว +3% YoY (ปี 2024 โต +6.1%) สำหรับเดือน ก.พ. 2025 ตลาดเครื่องดื่มชูกำลังในประเทศเดือน ก.พ. (by % sales volume) เติบโต +2.7% YoY, -4% MoM โดย OSP มี market share อยู่ที่ 43.6% (-190 bps YoY, ทรงตัว MoM), CBG อยู่ที่ 25.8% (+150 bps YoY, +10 bps MoM) และ TCP อยู่ที่ 19.4% (+20 bps YoY, +20 bps MoM)           โดยเดือน ก.พ. OSP และ TCP จัดโปรโมชั่นใน CVS อีกทั้ง OSP เริ่มกระจายสินค้า M-150 (Yellow) ราคา 10 บาท สู่ Traditional Trade และ Makro ทั่วประเทศเป็นเดือนแรก โดยจะครบทั้งหมดในเดือน มี.ค. ด้าน CBG ยังไม่ได้จัดโปรโมชั่น โดยมีแผนที่จะจัดในปลาย มี.ค. - ต้น เม.ย. ฝ่ายวิจัยอยู่ระหว่างรอดูผลตอบรับของผู้บริโภคและ market share หลัง OSP กระจายสินค้า M-150 (10 บาท – Yellow) ครบทั่วประเทศ และ CBG จัดโปรโมชั่นใน CVS ในช่วงปลายมี.ค.           สำหรับภาษีน้ำตาลที่จะปรับขึ้นระยะที่ 4 ตั้งแต่ 1 เม.ย. ปัจจุบัน OSP และ TCP ไม่ต้องเสียภาษีน้ำตาล ด้าน CBG เสียภาษีน้ำตาลที่ 0.045 บาทต่อขวด           อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ปรับสูตรลดน้ำตาลเรียบร้อยแล้ว โดยสูตรใหม่จะไม่ต้องเสียภาษีน้ำตาล (0 บาท/ขวด) ทั้งนี้ หากกรมสรรพสามิตเลื่อนการปรับขึ้นภาษีน้ำตาล บริษัทฯ จะใช้เครื่องดื่มชูกำลังสูตรปัจจุบันต่อไปคาดกำไรปกติกลุ่มใน 1Q25E โต YoY, QoQ จากรายได้และ GPM ขยายตัว หนุนโดยต้นทุนวัตถุดิบและ packaging ที่ปรับตัวลดลง           ฝ่ายวิจัยคงประมาณการกำไรสุทธิกลุ่มปี 2025E ที่ 6,413 ล้านบาท (+9% YoY) จากรายได้รวมที่ขยายตัวต่อเนื่องจากรายได้ทั้งในและต่างประเทศขยายตัวจากการบริโภคฟื้นตัว           ราคาหุ้นกลุ่ม Food & Beverage (Energy Drink) ทรงตัวเมื่อเทียบกับ SET ใน 1 เดือนที่ผ่านมา ฝ่ายวิจัยเลือก CBG (ซื้อ/เป้า 95.00 บาท) เป็น Top Pick กลุ่ม           จาก 1) market share เครื่องดื่มคาราบาวแดงซึ่งอยู่ในทิศทางขาขึ้น เราคาดปิดปีที่ 28% (บริษัทคาด 29%), 2) valuation ไม่แพง ปัจจุบัน CBG เทรดอยู่ที่ 2025E PER 17.7x ยังไม่สะท้อน 2024-26E EPS CAGR +19% และมี upside จากการปรับ packaging, เปิดโรงงานพม่าและเขมร และ 3) มี short term catalyst จากกำไร 1Q25E ที่จะสูงสุดในรอบ 15 ไตรมาส

เช็ก! หุ้นได้ประโยชน์ตัวเลขส่งออกไทยขยายตัว

เช็ก! หุ้นได้ประโยชน์ตัวเลขส่งออกไทยขยายตัว

              หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) ระบุ กระทรวงพาณิชย์เผยตัวเลขส่งออก เดือน ก.พ.68 ออกมาขยายตัว 14.00%y-y เพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค.68 ที่ 13.60%y-y ทำให้ตัวเลขส่งออกรวมเดือน ม.ค.-ก.พ.68 ออกมาขยายตัว 13.8% ขณะที่ตัวเลขนำเข้าในเดือน ก.พ.68 ออกมาขยายตัว 4.00%y-y ลดลงจากเดือน ม.ค.68 ที่ 7.9%y-y ทำให้ดุลการค้าพลิกมาเกินดุล 1.99 พันล้านเหรียญฯ เบื้องต้น สินค้าที่ยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ -ยางพารา ขยายตัว 35.7%y-y (ขยายตัว 16 เดือนต่อเนื่อง) -ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และ แปรรูป ขยายตัว 9.3%y-y (ขยายตัว 5 เดือนต่อเนื่อง) -ผลไม้สด ขยายตัว 12.7%y-y (พลิกมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 3 เดือน) -สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 9.9%y-y (ขยายตัว 8 เดือนต่อเนื่อง) -สินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว 17.2%y-y (ขยายตัว 11 เดือนต่อเนื่อง) -ข้าวสาลี และ อาหารสำเร็จรูปอื่นๆ ขยายตัว 27.7%y-y (ขยายตัว 14 เดือนต่อเนื่อง) -ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัว 22.5%y-y (ขยายตัว 17 เดือนต่อเนื่อง) -อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัว 14.4%y-y (ขยายตัว 17 เดือนต่อเนื่อง) -อัญมณี และ เครื่องประดับ ขยายตัว 106.3%y-y (ขยายตัว 4 เดือนต่อเนื่อง) -เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ และ ส่วนประกอบ ขยายตัว 51.3%y-y(ขยายตัว 11 เดือนต่อเนื่อง) -เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัว 32.8%y-y (ขยายตัว 8 เดือนต่อเนื่อง) -ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัว 16.9%y-y (ขยายตัว 8 เดือนต่อเนื่อง) ทางฝ่ายมองหุ้นที่อยู่ในกลุ่มสินค้าที่ยังส่งออกได้ดี จะได้รับ Sentiment บวก มองหุ้นน่าสนใจมีดังนี้ ยางพารา และ ผลิตภัณฑ์ยาง : NER, STA, STGT, TRUBB ไก่สด และ แปรรูป : CPF, TFG, GFPT อาหารสัตว์เลี้ยง : ITC, AAI ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ : DELTA, HANA, KCE, CCET, SVI

บล.กรุงไทยฯ เผย NIKE80X ปรับขึ้น ผลงานออกมาดีกว่าคาด

บล.กรุงไทยฯ เผย NIKE80X ปรับขึ้น ผลงานออกมาดีกว่าคาด

           หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ระบุ Nike (NIKE80X) ปรับขึ้นหลังผลประกอบการออกมาไม่ได้แย่อย่างคาด โดยรายได้หดตัว 9% และกำไรสุทธิลดลง 30% แต่ผู้บริหารมองไตรมาสถัดไปยังไม่ฟื้น รายได้ 3Q68 (สิ้นสุด ก.พ.68) หดตัว 9.3%YoY มาที่ USD 1.13 หมื่นล้าน แต่ดีกว่าคาด โดย - รายได้ Footwear หดตัว -12%YoY ระดับเดิมจากไตรมาสก่อน มาที่ USD 7.21 พันล้าน แต่ดีกว่าคาด - รายได้ Apparel หดตัวมากขึ้น -3%YoY มาที่ USD 3.19 พันล้าน แต่ดีกว่าคาด - หากแบ่งตามภูมิภาคอเมริกาเหนือยอดขายลดลง 4%YoY แต่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย ด้านตลาดจีนหดตัว 17%YoY และยุโรปหดตัว 10%YoY อัตรากำไรขั้นต้นลดลงเหลือ 41.5% ลดลงจาก 44.8% ในปีก่อน และออกมาต่ำกว่าคาดm กำไรสุทธิต่อหุ้นหดตัว -30%YoY หดตัวมากขึ้นจากไตรมาสก่อนมาที่ USD 0.54 แต่ยังออกมาดีกว่าคาด ทั้งนี้ผู้บริหารมองยอดขาย Q4 หดตัวลดลง mid-teen ซึ่งสะท้อนการหดตัวมากขึ้นจาก Q3 นี้ รวมถึงอัตรากำไรขั้นต้นลดลงอีก ซึ่งเป็นผลกระทบจากทั้งภาษีการค้า และความเชื่อมั่นการบริโภคที่ลดลง

[Gossip] BLC ร่วมนำเสนอผลงานใน Opportunity Day

[Gossip] BLC ร่วมนำเสนอผลงานใน Opportunity Day

            หุ้นวิชั่น - นับเป็นหุ้น Health Care ที่น่าจับตามองอย่างมากจากการมีผลการดำเนินงานที่เติบโตต่อเนื่องมาโดยตลอด สำหรับ บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด (มหาชน) หรือ BLC ล่าสุด ภก. สุวิทย์ งามภูพันธ์ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BLC พร้อมคณะผู้บริหาร ร่วมนำเสนอข้อมูลผลการดำเนินงานปี 2567 แก่นักลงทุนใน Opportunity Day จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งบริษัทฯ ทำผลการดำเนินงานได้อย่างยอดเยี่ยม โดยมีรายได้ 1,557 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 176.1 ล้านบาท เติบโต 10.7% และ 16.8% ตามลำดับ ด้านบอร์ดเตรียมขออนุมัติจ่ายเงินปันผลงวดผลการดำเนินงานในปี 2567 จากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ในอัตรา 0.09 บาทต่อหุ้น โดยจะกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ์ได้รับเงินปันผล ในวันที่ 11 เมษายน 2568 และจ่ายเงินปันผลในวันที่ 30 เมษายน 2568 ทั้งนี้ ในปี 2568 BLC วางแผนขยายขอบเขตความร่วมมือเพื่อสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยาไทยให้เติบโต พร้อมทั้งสร้างความมั่นคงทางด้านสุขภาพ และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน รวมทั้ง มุ่งผลักดันรายได้เติบโตเฉลี่ย 200 ล้านบาทต่อปีตามเป้าหมาย งานนี้ผู้ถือหุ้นสบายใจหายห่วง! ทั้งนี้ สามารถรับชมเทปบันทึกย้อนหลังได้ที่ https://listed-company-presentation.setgroup.or.th/th/vdo/8131

TLB รับมอบประกาศนียบัตรเครื่องหมายรับรอง  Carbon Footprint of Product

TLB รับมอบประกาศนียบัตรเครื่องหมายรับรอง Carbon Footprint of Product

             หุ้นวิชั่น - เมื่อเร็วๆ นี้  คุณภูพิงค์ ทวีทรัพย์ ผู้จัดการฝ่ายความยั่งยืนองค์กร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทน บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) (TLB) บริษัทในกลุ่มไทยออยล์ รับมอบประกาศนียบัตรเครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product : CFP) ในพิธีมอบประกาศนียบัตรเครื่องหมายรับรองฉลากคาร์บอน ประจำปี 2568 ซึ่งจัดโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) โดยมี ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้มอบเกียรติบัตรฯ ณ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย              สำหรับผลิตภัณฑ์ของ บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) ที่ผ่านการรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในปีนี้ ประกอบด้วยน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน ไขพาราฟิน น้ำมันยาง น้ำมันยางมลพิษต่ำ และยางมะตอย ซึ่งถือเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ของกลุ่มไทยออยล์ที่ได้รับประกาศนียบัตรดังกล่าวเพิ่มเติมจากปีก่อนหน้า              การได้รับประกาศนียบัตรฯ ในครั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จอีกขั้นจากความมุ่งมั่นดำเนินงาน เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์จากกลุ่มไทยออยล์ตาม Net Zero Pathway เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ต่อไป

SAWAD ขายเกลี้ยง ! หุ้นกู้ 4,000 ล้าน

SAWAD ขายเกลี้ยง ! หุ้นกู้ 4,000 ล้าน

                หุ้นวิชั่น - บริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAWAD ประกาศความสำเร็จในการเสนอขายหุ้นกู้ มูลค่า 4,000 ล้านบาทซึ่งได้รับกระแสตอบรับอย่างล้นหลามจากนักลงทุน สามารถจำหน่ายได้ครบ ทั้งจำนวนภายในเวลาอันรวดเร็ว ตอกย้ำความเชื่อมั่นในสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งของบริษัท พร้อมได้รับอันดับความน่าเชื่อถือ A-(THA) และแนวโน้ม “Stable” จาก FITCH Rating                 นางสาวธิดา แก้วบุตตา ผู้อำนวยการกลยุทธ์องค์กร บมจ. ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “การออกหุ้นกู้ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่บริษัทฯ ออกด้วยอันดับเครดิต A-(THA) และความสำเร็จของการขายในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่นักลงทุนมีต่อ SAWAD ซึ่งสอดคล้องกับอันดับเครดิตที่บริษัทฯ อยู่ในระดับที่เหมาะสม SAWAD พร้อมเดินหน้าในการขยายสินเชื่อรายย่อยให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ตลอดจนพัฒนา เทคโนโลยีทางการเงิน เพื่อให้บริการลูกค้าได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น”                 หุ้นกู้ของ SAWAD มีให้เลือกลงทุนถึง 4 รุ่น รองรับความต้องการของนักลงทุนและนักลงทุนสถาบันที่ มองหาทางเลือกการลงทุนที่มั่นคงและให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ โดยแบ่งเป็น รุ่นที่ 1 อายุ 2 ปี 2 เดือน ครบกำหนดปี 2570 อัตราดอกเบี้ย 3.59% ต่อปี, รุ่นที่ 2 อายุ 3 ปี 2 เดือน ครบกำหนดปี 2571 อัตราดอกเบี้ย 3.85% ต่อปี, รุ่นที่ 3 อายุ 4 ปี ครบกำหนดปี 2572 อัตราดอกเบี้ย 4.00% ต่อปี และรุ่นที่ 4 อายุ 5 ปี ครบกำหนดปี 2573 อัตราดอกเบี้ย 4.20% ต่อปี พร้อมรับดอกเบี้ย  ทุก 3 เดือน ตลอดอายุหุ้นกู้ ซึ่งเป็นข้อเสนอที่เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระแสเงินสดอย่างต่อเนื่อง                 อีกทั้งยังได้รับการจัดจำหน่ายโดย 15 สถาบันการเงินและบริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำ อาทิ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย, ธนาคารกสิกรไทย, บล.เอเซีย พลัส, บล.หยวนต้า, บล.เมย์แบงก์, บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง, บล.ดาโอ, บล.บลูเบลล์, บล.ธนชาต, บล.เคจีไอ, บล.บียอนด์, บล.พาย, บล.ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล, บล.โกลเบล็ก และบล.ทรีนีตี้ พร้อมให้บริการแก่นักลงทุนที่สนใจ                 "SAWAD มุ่งมั่นเดินหน้าขยายธุรกิจและพัฒนาโซลูชันทางการเงิน เพื่อการเติบโตที่มั่นคง พร้อมส่งมอบคุณค่าสูงสุดแก่ลูกค้าและนักลงทุนทุกท่าน เราขอขอบคุณทุกความไว้วางใจที่มีให้เสมอมา โดยยึดมั่นหลักการ ‘ศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ มั่นใจ ถูกต้อง โปร่งใสตามกฎหมาย พร้อมเติบโตคู่ชีวิตชาวไทย’ด้วยบริการสินเชื่อที่โปร่งใส เป็นธรรม และเข้าถึงง่ายสำหรับทุกคน" นางสาวธิดากล่าวปิดท้าย

THANI คาดกำไรปี68 ที่ 1 พันลบ. โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 2 บาท

THANI คาดกำไรปี68 ที่ 1 พันลบ. โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 2 บาท

             หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.ฟิลลิป ระบุ THANI การปล่อยสินเชื่อใหม่อาจจะยังไม่ได้เติบโตมากนัก โดย THANI ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อปี 68 ใกล้เคียงกับปี 67 แต่รถยึดเข้ามาลดลงเรื่อย ๆ และการขายออกทำได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้การตั้งสำรอง และค่าใช้จ่ายสำรองจากผลขาดทุนจากการขายรถยึดจะลดลงด้วย ปรับประมาณการกำไรปี 68 ขึ้น จากผลตอบแทนสินเชื่อที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อ และค่าใช้จ่ายที่ลดลง ปรับราคาพื้นฐานเป็น 2 บาท ยังแนะนำ “ซื้อ” ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อปี 68 ใกล้เคียงกับปี 67              ในปี 67 ถึงแม้ว่ายอดขายรถทั้งรถยนต์นั่ง และรถบรรทุกจะลดลง โดยยอดขายรถยนต์นั่งลดลง 23.3% จากปี 66 ที่ขายได้ 2.9 แสนคัน ลดเหลือเพียง 2.2 แสนคันในปี 67 ส่วนรถบรรทุกยิ่งลดลงมากกว่รถยนต์นั่ง โดยลดลงถึง 42% จากปี 66 ที่ขายได้ 2.7 หมื่นคัน เหลือเพียง 1.6 หมื่นคันในปี 67 แต่ THANI ก็ยังปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ 16,761 ลบ. แต่การชำระคืนสินเชื่อของลูกค้าทำให้พอร์ตสินเชื่อหดตัวลงถึง 13% ในปี 68 ทาง THANI มองว่าเศรษฐกิจนั้นยังไม่ฟื้นตัวดี ถึงแม้จะเห็นการฟื้นตัวของความต้องการใช้รถบรรทุกในภาคเกษตร แต่ในภาคก่อสร้างอาจจะยังชะลอตัว ทำให้ทาง THANI ตั้งเป้าที่จะปล่อยสินเชื่อใหม่ในปี 68 ใกล้เคียงกับปี 67 ที่ 16,000 – 17,000 ลบ. และพอร์ตสินเชื่อ ณ สิ้นปี 68 ใกล้เคียงกับปี 67 การยึดรถเข้ามาใหม่น้อยลง และการขายรถยึดทำได้ดีขึ้น              จากการดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิด และมีการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกค้าในช่วงปลายปีก่อน ประกอบกับการปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวัง ทำให้การยึดรถเข้ามาใหม่เริ่มน้อยลงเรื่อย ๆ จากที่เคยยึดรถสูงถึง 120 – 130 คัน/เดือน ในขณะนี้เหลือเพียงประมาณ 100 คัน และการขายรถยึดออกไปทำได้ดีมากขึ้น โดยขายได้ประมาณ 130 – 140 คัน/เดือน ทำให้สต็อกรถยึดนั้นลดลงเรื่อย ๆ และผลขาดทุนจากการขายก็ลดต่ำลงด้วย นอกจากนี้ทาง THANI ยังจะสามารถกลับสำรองที่ตั้งไว้เผื่อผลขาดทุนจากการขายรถยึดมาเป็นรายได้ได้ด้วย การแข่งขันที่ลดลงทำให้สามารถปรับดอกเบี้ยขึ้นได้              ถึงแม้ว่าต้นทุนทางการเงินของ THANI จะยังทรงตัวอยู่ ถึงแม้ว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยจะเป็นขาลงแล้วก็ตาม แต่การแข่งขันในธุรกิจเช่าซื้อรถบรรทุกที่ลดลงเนื่องจากผู้ประกอบการมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ ทำให้ทาง THANI สามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อขึ้นในรถบางประเภท เพื่อเพิ่มผลตอบแทน และรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นได้ ปรับประมาณการกำไร และราคาพื้นฐานขึ้น ยังแนะนำ “ซื้อ”              ทางฝ่ายปรับประมาณการกำไรปี 68 ของ THANI ขึ้นเป็น 1 พันลบ. จากเดิมที่คาดไว้ที่ 941 ลบ. เนื่องจากปรับเพิ่มประมาณการผลตอบแทนสินเชื่อขึ้น และปรับลดค่าใช้จ่ายลงจากสำรองค่าเผื่อผลขาดทุนจากรถยึดลง โดยกำไรที่ปรับขึ้นนี้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 30.2% y-y ปรับเพิ่มเงินปันผลขึ้นเป็น 0.09 บาท/หุ้น คิดเป็น Div. yield 5% จากเดิมคาดไว้ที่ 0.08 บาท/หุ้น และปรับราคาพื้นฐานขึ้นเป็น 2 บาท/หุ้น มองว่าเริ่มเห็นการฟื้นตัวของ THANI และผลประกอบการน่าจะกลับมาเติบโตได้อย่างโดดเด่น เมื่อเทียบราคาหุ้นในปัจจุบัน กับราคาพื้นฐานยังเหลือส่วนต่างพอสมควร จึงยังคงแนะนำ “ซื้อ”

บล.หยวนต้า แนะ VENTURE19 คาดกำไรกลับมาโต

บล.หยวนต้า แนะ VENTURE19 คาดกำไรกลับมาโต

              หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.หยวนต้า ระบุ Venture Corp. (VENTURE19) เป็นผู้ให้บริการด้านการผลิตและประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งบริษัทเชี่ยวชาญในด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์ รวมไปถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ใน AI Data Center               ราคาหุ้นของบริษัทก่อนหน้านี้ค่อนข้างอ่อนแอ และ Underperform ตลาดหุ้นสิงคโปร์ โดยสาเหตุหลักมาจากผลประกอบการที่หดตัวมาเป็นระยะเวลา 2 ปีติดต่อกัน จากอุปสงค์ของลูกค้าในต่างประเทศที่ชะลอตัวลง อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์มองว่าราคาหุ้นที่ปรับตัวลงมา สะท้อนปัจจัยดังกล่าวไปพอสมควรแล้ว               ขณะที่แนวโน้มในปี 2568 Bloomberg Consensus คาดกำไรสุทธิจะกลับมาเติบโต 6.6% YoY จากคำสั่งซื้อของลูกค้าใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับ Data Center ธนาคารกลางสิงคโปร์มีแนวโน้มผ่อนคลายนโยบายการเงิน หรือก็คือการปล่อยให้ค่าเงินอ่อนค่า ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกกับ Venture ที่มีรายได้จากต่างประเทศสูงถึง 74% และส่วนใหญ่อยู่ในเอเชีย จึงมีความเสี่ยงจากสงครามการค้าต่ำ               บริษัทจ่ายปันผลสม่ำเสมอ โดยปี 2025 คาด Dividend Yield อยู่ที่ราว 5.7% ส่วนปันผลสำหรับรอบผลประกอบการปี 2024 จะขึ้น XD ในวันที่ 2 พ.ค. คาดว่าปันผลจะอยู่ที่ 0.1238 บาทต่อ DR คิดเป็น Dividend Yield ราว 3.8%               บริษัทเป็น Net Cash มีเงินสดเหลือในการใช้ซื้อหุ้นคืน โดย ณ วันที่ 18 มี.ค. บริษัทประกาศผลการซื้อหุ้นคืน โดยได้ซื้อคืนไปแล้วทั้งหมด 1.8 ล้านหุ้น จากที่บริษัทประกาศไว้ที่ 14.5 ล้านหุ้น หมายความว่ายังมีโควตาให้ซื้อหุ้นคืนอีกมาก

PRM คาดกำไรปีนี้ 2,338 ลบ. โบรกชี้หุ้นมี upside เคาะพื้นฐาน 9.35 บ.

PRM คาดกำไรปีนี้ 2,338 ลบ. โบรกชี้หุ้นมี upside เคาะพื้นฐาน 9.35 บ.

               หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.ฟิลลิป ระบุ 1H68 คาดกำไรปกติ PRM จะอ่อนกว่าปีก่อน จากเรือใหญ่เข้าอู่หลายลำและขายเรือ FSU 1 ลำ จะมีกำไรจากการขายเรือ แต่ใน 2H68 จะกลับโตทั้ง y-y และ h-h จากเรือทำงานได้เต็มที่มากขึ้น รวมถึง Crew Boat ใหม่ 4 ลำที่รับใน 1H68 และมีเรือใหญ่เข้าอู่เพียง 1 ลำในช่วง 4Q68 ทั้งปี เรือเข้าอู่ 19 ลำ จากปีก่อน 28 ลำ คาดกำไรโต 10.3% y-y ที่ 2,338 ล้านบาท อิง P/E ที่ 9 เท่า ราคาพื้นฐานที่ 9.35 บาท และยังมี Div. Yield ที่ 8.3% ยังคงแนะนำ “ซื้อ” 1Q68 แนวโน้มกำไรปกติอ่อนลง y-y จากเรือใหญ่เข้าอู่ซ่อมบำรุง ซึ่งยังไม่รวมกำไรขายเรือ                เรือที่เข้าอู่ซ่อมบำรุงในช่วงของ 4Q67 เริ่มทยอยกลับเข้าทำงานใน 1Q68 เรือ AWB (นวธานี) เรือโรงแรมลอยน้ำกลับมาทำงาน 26 ม.ค., เรือ VLCC ที่ขนส่งน้ำมันดิบกลับมาทำงาน 5 ก.พ., เรือ Aframax ที่นำไปดัดแปลงตั้งแต่กลางปี 2567 เป็นเรือ FSO (ขนส่งและจัดเก็บน้ำมันดิบสำหรับแท่นขุดเจาะน้ำมัน) กลับมาทำงาน 26 ก.พ. และรับเรือ Crew Boat ใหม่ 3 ลำเข้าทำงานกับ ADNOC 2 ลำเมื่อ 6 ม.ค. และ 1 ลำเมื่อ 22 มี.ค. แต่แนวโน้มกำไรคาดไม่ดีเท่าปีก่อน จากเรือใหญ่ AWB และ VLCC ที่เข้า Dry Dock คาบเกี่ยวมาจาก 4Q67 และ 1Q-2Q68 เรือ Aframax ยังให้บริการขนส่งน้ำมันดิบก่อนออกไปดัดแปลงเป็นเรือ FSO ตั้งแต่ 3Q67 แม้จะกลับมาเป็นเรือ FSO แต่ให้เช่าแบบเรือเปล่า (Bare Boat) ที่รายได้ต่ำลงกว่าขนส่งน้ำมันดิบ อีกทั้งจะขายเรือ FSU ในเดือน มี.ค. เร็วกว่าแผนที่จะขาย ก.ย. ทำให้รายได้หายไปราวครึ่งเดือน ซึ่งที่กล่าวมาข้างต้นทำให้ 1Q68 แนวโน้มกำไรปกติอ่อนตัว y-y แต่ดีขึ้น q-q เงินบาทที่กลับมาแข็งค่าจากสิ้นปี 2567 ที่ 34 บาท/ดอลลาร์ เป็นราว 33.60-33.80 บาท คาดมีการบันทึกขาดทุน Fx และกำไรขายเรือ ซึ่งในปี 2566 มีการขายเรือ FSU กำไรที่ 312 ล้านบาท ซึ่งเป็นเรือแบบเดียวกับที่ขายในเดือน มี.ค. แต่เรืออายุเรือมากกว่า คาดกำไรน้อยกว่าปี 2566 แต่จะยังมีนัยสำคัญอยู่ คาดกำไรสุทธิโต y-y และ q-q คาดจะเห็นรายได้และกำไรเติบโตใน 2H68                2Q68 จะมีผลกระทบจากเรือ FSU ที่ขายได้ใน 1Q68 แต่จะมีเรือแบบเดียวกันลำใหม่เข้าทำงานใน พ.ค. ทำให้วันทำงานหายไปราว 1 เดือน แม้เรือลำใหม่จะสามารถเก็บน้ำมันได้มากกว่าเรือเก่าที่ขายไป ซึ่งเก็บได้เพียง 2 ใน 3 ของความจุเรือ เรื่องความปลอดภัยจากอายุเรือ และเรือ Aframax ยังวิ่งขนส่งน้ำมันดิบ แม้ปีนี้มาเป็นเรือ FSO แต่ค่าเช่าถูกลง และตามแผนจะมีรับเรือ Crew Boat อีก 1 ลำเดือน มิ.ย. คาดกำไรปกติจะมีขึ้นกว่า 1Q68 แต่ยังต่ำกว่าปีก่อน                ครึ่งปีหลัง 2568 จะเห็นทิศทางที่ดีขึ้นกว่าในครึ่งปีแรกและช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเรือที่ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น, เรือ FSU ลำใหม่สามารถเก็บน้ำมันได้สูงกว่าลำเดิมที่ในปี 2567 มีอัตราการใช้งาน (U Rate) เพียง 65% เมื่อเทียบกับอีก 4 ลำที่ U Rate เฉลี่ยที่ 81% คาดจะเห็น U Rate ดีขึ้นกว่าปีก่อน และเรือใหญ่ VLCC เข้า Dry Dock เพียง 1 ลำใน 4Q68 เมื่อรวมเรือประเภทอื่นมีเข้า Dry Dock ที่ 9 ลำเทียบกับทั้งปีที่ 19 ลำ และน้อยกว่าปี 2567 ที่เข้า Dry Dock ที่ 28 ลำ เรือสามารถทำให้ งานได้มากขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่มองว่ารายได้และกำไรในครึ่งปีหลังจากดีขึ้น h-h และ y-y ยังมี upside หากแผนลงทุนโครงการใหม่ทำได้สำเร็จ                ในปี 2567 PRM ได้มีการลงทุนราว 4,500 ล้านบาท ทั้งเพิ่มกองเรือและ M&A ในปี 2568 วางกรอบเงินลงทุนราว 3,000 ล้านบาท โดยลงทุนในกลุ่มเรือ 1) เรือขนส่งน้ำมันสำเร็จรูปและเคมี (PCT) ราว 1,000 ล้านบาท ที่อยู่ระหว่างการเจรจาหาผู้เช่า ซึ่ง PRM ได้โควต้าเรือใหม่มาจากอู่ต่อเรือที่จีน 2 ลำ และ 2) เรือสนับสนุนงานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมกลางทะเล (OSV) ราว 2,000 ล้านบาท เพราะเรือกลุ่มนี้มีหลายประเภท เช่น เรือลากจูง (Anchor Tug) เรือสนับสนุนงานก่อสร้างในทะเล (DB2: Derrick Barge 2) เป็นต้น หรืออาจพิจารณาต่อเรือใหม่เพิ่ม จากปัจจุบันในบริการเรือ AWB, Crew Boat และ FSO รวมถึงการทำ M&A ถ้าโครงการประสบความสำเร็จ จะเป็น upside เพิ่มเติม ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาพื้นฐาน 9.35 บาท                บริษัทมีข้อดี คือ มีรายได้ประจำ (recurring income) ที่กว่า 70% ของรายได้ เกิดจากการทำสัญญาระยะยาว 2-10 ปีเพื่อต้องการลดความเสี่ยงด้านรายได้จากการลงทุนที่สูง ทางฝ่ายยังคงคาดในปี 2568 คาดรายได้ +7.5% ที่ 9,451 ล้านบาท และกำไรที่ 2,338 ล้านบาท +10.3% (ยังไม่รวมกำไรขายเรือในเดือน มี.ค.) PRM ได้ทำการซื้อหุ้นคืนรอบแรกที่ 172.89 ล้านหุ้น คิดเป็น 6.92% และอยู่ระหว่างซื้อคืนรอบที่ 2 อีก 75 ล้านหุ้น คิดเป็น 3% โดยมีแผนลดทุนหุ้นซื้อคืนจะทำให้ทุนชำระแล้วเหลือ 2,252.11 ล้านหุ้น ปรับ P/E ลงเป็น 9 เท่า มีพรีเมียมจากการซื้อขายเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลังที่ 8.5 เท่า จากกำไรปีนี้ที่ยังเติบโตได้ ราคาพื้นฐาน 9.35 บาท อีกทั้งหากอิง Payout Ratio จ่ายปันผลที่ 54% เท่าปีก่อน คาดปันผลของปีนี้ที่ 0.56 บาท (จ่ายปีละ 2 ครั้ง) มีผลตอบแทนจากเงินปันผลสูง 8.3% ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ”

BCPG โตแรง! โรงไฟฟ้าสหรัฐฯหนุน ขึ้นแท่น Top Pick พลังงาน

BCPG โตแรง! โรงไฟฟ้าสหรัฐฯหนุน ขึ้นแท่น Top Pick พลังงาน

             หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง BCPG ระบุว่า การเติบโตช่วง 2H25 ชัดเจน โรงไฟฟ้าในสหรัฐฯ จะเป็น Growth Driver สำคัญในปี 2025              เมื่อวันที่ 19 มี.ค. ที่ผ่านมา เราได้เข้าร่วมงาน Yuanta Corporate Day กับผู้บริหาร โดยมีสาระสำคัญดังนี้              ปัจจุบัน โครงการลม Monsoon ในลาว (กำลังการผลิต 290MWe, ถือหุ้น 48%) ได้มีการติดตั้งกังหันลมเสร็จสิ้นไปกว่า 92% โดยมีกำหนดการ COD ในช่วง 2H25 ซึ่งโครงการ Monsoon จะขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าเวียดนาม (EVN) ด้วยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ในรอบปี 2025/26 ค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติทั้ง 4 โครงการในสหรัฐฯ ปรับขึ้นมาอยู่ที่ $269.92/MW-Day โดย PJM (ตลาดขายไฟฟ้าในสหรัฐฯ) คาดการณ์ว่าค่าความพร้อมจ่ายในอีก 2 ปีข้างหน้า จะยังทรงตัวในระดับสูง เนื่องจากไฟฟ้าสำรองในระบบ (Reserve Margin) ของตลาด PJM มีโอกาสลดลงมาอยู่ที่เพียง 10%-15% ของกำลังการผลิตในตลาด สาเหตุจาก อุปสงค์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจาก Data Center และ AI อุปทานไฟฟ้าในตลาด PJM ไม่สามารถเพิ่มได้ทัน โดยคาดว่าทาง PJM จะประกาศค่าความพร้อมจ่ายสำหรับรอบปี 2026/27 ในเดือน ก.ค. นี้ เริ่มเห็นการเติบโตของกำไร YoY ตั้งแต่ 2Q25 เป็นต้นไป เบื้องต้นคาดกำไรปกติ 1Q25 ที่ราว 250-300 ล้านบาท เติบโต QoQ จากการที่โรงไฟฟ้าในสหรัฐฯ มีจำนวนวันปิดซ่อมน้อยลง และปัจจัยฤดูกาลของโรงไฟฟ้าน้ำในลาว แต่ลดลง YoY เพราะผลกระทบจาก การหมดสัญญา Adder การขายโรงไฟฟ้าในญี่ปุ่น หากมองไปยัง 2Q25 เราคาดว่ากำไรปกติจะกลับมาเติบโต YoY จากการเริ่มรับรู้ ส่วนแบ่งกำไรของโรงไฟฟ้าในสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นค่าความพร้อมจ่ายในเดือน มิ.ย. 25 (รับรู้ราว 1 เดือน) ขณะที่ 3Q-4Q25 เราคาดว่ากำไรปกติสามารถเติบโต YoY ได้อย่างต่อเนื่อง จากการเริ่มรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากโครงการ Monsoon ที่มีกำหนดการ COD ในช่วง 2H25การรับรู้ค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าในสหรัฐฯ แบบเต็มไตรมาส ให้เป็น Top Pick สำหรับการลงทุนในช่วง 2Q25เราคงประมาณการปี 2025 ที่ 1,583 ล้านบาท (+41% YoY) และคงราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2025 ที่ 9.50 บาท/หุ้น (Upside 32%) เรามองว่า BCPG มีโอกาสเคลื่อนไหวได้ดีกว่ากลุ่มโรงไฟฟ้า จาก บริษัทมีความเสี่ยงเชิงนโยบายของรัฐต่ำที่สุดในกลุ่ม เนื่องจากมีกำลังการผลิตในประเทศเพียง 10% (รวมกำลังการผลิตที่ยังไม่ COD) ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ต่ำที่สุดของอุตสาหกรรม ปัจจุบันบริษัทมีสัญญา Adder เหลือเพียง 1 โครงการ (โดยจะหมดสัญญาในปี 2029 และจะส่งผลกระทบต่ำกว่า 5% ของประมาณการปี 2029) แนวโน้มการเติบโตของกำไรที่ชัดเจนตั้งแต่ 2Q25 เป็นต้นไป คงคำแนะนำ "ซื้อ" - ให้ BCPG เป็น Top Pick ของกลุ่มโรงไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ด้วยราคาหุ้นที่ Outperform ตลาดค่อนข้างมาก เชิงกลยุทธ์แนะนำ ซื้อเมื่อราคาปรับตัวลงมาที่แนวรับ 6.80 บาท/หุ้น

CPN พื้นที่ให้เช่า คาดหนุนโตต่อ ปักเป้าที่ 68.00 บ.

CPN พื้นที่ให้เช่า คาดหนุนโตต่อ ปักเป้าที่ 68.00 บ.

             หุ้นวิชั่น - บล.เคจีไอ ประเมินหุ้น Central Pattana (CPN.BK/CPN TB)* ประกาศแผนการลงทุน 5 ปี มูลค่ารวมราว 1.20 แสนล้านบาท โดยจะเปิดตัว 2 โครงการค้าปลีก, 1 อาคารสำนักงานในปี 2568F และ 3 โครงการ mixed-use ขนาดใหญ่ในปี 2569F ขณะที่ ภายในสิ้นปี 2568 นี้ CPN จะมีโครงการทั้งหมด 135 โครงการในทุกกลุ่มธุรกิจ โดยมีโครงการ mixed-use 30 โครงการจาก 44 ทำเลที่มีศักยภาพ (20 แห่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 23 แห่งในจังหวัดอื่นๆ และอีก 1 แห่งในมาเลเซีย)              อย่างไรก็ดี ฝ่ายวิจัยคาดกำไรปี 2568F เติบโต 2% และโตอีก 12% ในปี 2569F ตามพื้นที่ให้เช่าเพิ่มขึ้นเป็นหลัก ทั้งนี้ ปรับลดราคาเป้าหมาย DCF (ใช้ WACC ที่ 7.5% และ Terminal growth ที่ 1% (ลดลงจากเดิม 1.5%)) ลงเหลือ 68.00 บาท จากเดิม 72.00 บาท และคงคำแนะนำ “ซื้อ”              ฝ่ายวิจัยปรับลดราคาเป้าหมาย DCF (ใช้ WACC ที่ 7.5% และ Terminal ที่ 1%) ลงที่ 68.00 บาทจาก 72.00 บาท บนสมมติฐาน Terminal growth ลดเหลือ 1% จาก 1.5% ทั้งนี้ เยังคงคำแนะนำซื้อ เพราะยังมี upside สูงถึง 37% จากราคาเป้าหมายใหม่ของฝ่ายวิจัย              ขณะนี้ CPN เทรดที่ PE และ PB ต่ำใกล้ระดับ -2 S.D. Risks ความรวดเร็วในอัตราการเติบโตของ GDP, การแข่งขันรุนแรงในธุรกิจค้าปลีกที่กรุงเทพ, การเพิ่มขึ้นของต้นทุนสาธารณูปโภคและค่าแรงงานขั้นต่ำ, ความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติขาเข้า

วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล เก็บหุ้น WARRIX เพิ่ม 17.8602% รวมถือ 45.9848%

วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล เก็บหุ้น WARRIX เพิ่ม 17.8602% รวมถือ 45.9848%

            หุ้นวิชั่น - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับรายงานการได้มา หุ้นของ บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด (มหาชน) (WARRIX) โดย นาย วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล ซึ่งเป็นการได้มา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2568 จำนวนหลักทรัพย์ที่ได้มา คิดเป็น 17.8602% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการได้มา คิดเป็น 45.9848% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ที่ได้มา ของกลุ่มคิดเป็น 17.8602% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการได้มา ของกลุ่มคิดเป็น 45.9848% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ

จับตา KCG กำไรโค้งแรกยังโต เป้า 12.20 บ. - ราคาหุ้นถูก ปันผลดี

จับตา KCG กำไรโค้งแรกยังโต เป้า 12.20 บ. - ราคาหุ้นถูก ปันผลดี

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง KCG ว่า แนวโน้มกำไรใน 1Q25 ยังเติบโตได้ที่ระดับ 10% YoY ยอดขาย 2 เดือนแรกของปี 2025 เติบโตในระดับ 10% YoY ยอดขายเดือน ม.ค.-ก.พ. 2025 ชะลอตัวลง QoQ จากการผ่านพ้นช่วง High season แต่ยังสามารถเติบโตได้ที่ระดับ 10% YoY หนุนจาก 1) ธุรกิจ B2C ที่สามารถโต 10% YoY จากการเร่งออกสินค้าใหม่ต่อเนื่องเพื่อไปชดเชยสินค้าที่ถูกยกเลิกจำหน่ายไป จากการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ (Product Rationalization) ในปีก่อน 2) ธุรกิจ B2B โตระดับ 10% YoY เช่นกัน ตามการขยายตัวของธุรกิจร้านเบเกอรี่ และร้านอาหารตะวันตก ส่วนลูกค้ากลุ่มโรงแรมยังทรงตัว-เพิ่มขึ้นเล็กน้อย YoY ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยังเติบโตได้ค่อนข้างจำกัด ขณะที่ราคาต้นทุนไขมันเนย ปัจจุบันเราเริ่มเห็นราคาปรับตัวลง QoQ เป็นไตรมาสแรก แต่ยังสูงกว่าในปีก่อน ซึ่งคาดจะชดเชยได้จาก U-rate ที่สูงขึ้น รวมถึง Product Mix ที่ดีขึ้น ทำให้ GPM คาดว่ายังทรงตัว YoY ได้ที่ 30.5% ทำให้เราคาดกำไรสุทธิใน 1Q25 ลดลง QoQ แต่เติบโตในระดับ 10% YoY บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตในปี 2025 ที่ระดับ 8% YoY บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตของรายได้ปี 2025 ที่ระดับไม่ต่ำกว่าปี 2024 ที่ 8% YoY หนุนจาก แนวโน้มตลาดเนยและชีสที่ยังขยายตัวระดับ 5% และ 7% ต่อปี ตามการเติบโตของกระแสนิยมอาหารตะวันตก การออกสินค้าใหม่ไม่ต่ำกว่า 100 SKUs เพื่อชดเชยสินค้าที่ถูกยกเลิกจำหน่ายไปในปีก่อน การรับรู้กำลังการผลิตใหม่ในช่วง 4Q25 ที่จะทำให้บริษัทสามารถรองรับการผลิตในช่วง High season ได้ หลังจากที่ใน 4Q24 บริษัทได้ใช้เครื่องจักรเต็มประสิทธิภาพแล้ว การส่งออกที่กลับมาเติบโตจากการรับรู้ผลของการปรับทีมขายใหม่เต็มปี ส่วน GPM บริษัทตั้งเป้าหมายที่ทรงตัว YoY แม้ราคาต้นทุนไขมันเนยจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ทางผู้บริหารมองว่าจะชดเชยได้จาก Product Mix ที่ดีขึ้น จากการรับรู้ผลของการยกเลิกจำหน่ายสินค้าที่ไม่ทำกำไรออกเต็มปี ปรับประมาณการกำไรปี 2025-2026 ขึ้น 8.2% และ 6.4% ตามลำดับ จากยอดขายใน 2 เดือนแรก ที่ยังเติบโตได้ในระดับ 10% ทำให้เรามั่นใจว่าบริษัทจะสามารถผลักดันยอดขายให้เติบโตได้ระดับ 8% YoY รวมถึงประมาณการ SG&A เดิมของเราที่ยังไม่รวมปัจจัยบวกจากการเปิดใช้งาน KCG Logistic Park ทั้ง 6 ตึกเต็มปี ที่คาดว่าจะสามารถประหยัดค่าเช่าคลังสินค้าได้ราว 20 ลบ./ปี ทำให้เราปรับประมาณการกำไรปี 2025-2026 ขึ้น 8.2% และ 6.4% เป็น 447 ลบ. (+10.4% YoY) และ 501 ลบ. (+12.0% YoY) ตามลำดับ จากการปรับสมมติฐานรายได้ขึ้น และปรับ SG&A/Sales ลง คงราคาเหมาะสมที่ 12.20 บาท ราคาหุ้นถูก ปันผลดี แนะนำ “ซื้อ” เราปรับไปใช้วิธี PER Multiple ในการประเมินมูลค่า เพื่อให้สอดคล้องกับการประเมินมูลค่าของหุ้นกลุ่มขนมขบเคี้ยวของเราทั้ง SNNP / NSL / CHAO ซึ่งแม้เราจะปรับประมาณการขึ้น แต่เรายังคงราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2025 ที่ 12.20 บาท หรือคิดเป็น PE ในการประเมินมูลค่าที่ 14.9 เท่า เพื่อเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น จากสภาวะตลาดที่ผันผวน โดยราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายบน PER25 เพียง 10.1 เท่า ต่ำสุดในกลุ่ม คิดเป็น -1 SD ของ PE Band ย้อนหลังนับตั้งแต่ IPO รวมถึงยังมี Div. Yield ที่ระดับ 4.9% (ขึ้น XD วันที่ 6 พ.ค. 2025) ช่วยจำกัด Downside risk ของราคาหุ้นในระยะสั้น คงคำแนะนำ “ซื้อ”

ตลท.ขอให้ผลท.ศึกษาข้อมูลงบการเงิน-ติดตามคำชี้แจง MORE

ตลท.ขอให้ผลท.ศึกษาข้อมูลงบการเงิน-ติดตามคำชี้แจง MORE

                 หุ้นวิชั่น - ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้บริษัท มอร์ รีเทิร์น จำกัด (มหาชน) (MORE) ชี้แจงข้อมูลในงบการเงินประจำปี 2567 โดยผู้สอบบัญชีมีข้อสังเกตเกี่ยวกับเงินจ่ายล่วงหน้าโครงการ Grand Ratchada ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินการ และเงินจ่ายค่าก่อสร้าง Loud Club ซึ่งเมื่อครบอายุสัญญาแล้ว ทรัพย์สินจะตกเป็นของเจ้าของที่ดิน รวมทั้งสิ้น 259 ล้านบาท คิดเป็น 26% ของมูลค่าสินทรัพย์รวม ซึ่งอาจกระทบต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของ MORE รวมทั้งขอให้ชี้แจงข้อมูลการเสนอที่จะเพิ่มทุนแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) เพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 18 เมษายน 2568 นี้                โดยขอให้ MORE ชี้แจงข้อมูลผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันที่ 28 มีนาคม 2568ในส่วนความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบ ขอให้ชี้แจงภายในวันที่ 4 เมษายน 2568 นอกจากนี้ ขอให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลงบการเงินและติดตามคำชี้แจงของ MORE ดังกล่าวง สรุปข้อมูลสำคัญของ MORE ข้อมูลในงบการเงินประจำปี 2567 ผู้สอบบัญชีมีข้อสังเกต (1) เงินลงทุนจ่ายล่วงหน้าในโครงการ Grand Ratchada 200 ล้านบาท หรือ 13% ของมูลค่าโครงการ (1,550 ล้านบาท) ซึ่งทำสัญญาร่วมลงทุนตั้งแต่ปี 2566 ปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินการ และ (2) การจ่ายเงินค่าก่อสร้าง Loud Club (โครงการ Rolling Loud Thailand) 59 ล้านบาท ในปี 2567 หรือ 59% ของมูลค่าสัญญาก่อสร้าง (100 ล้านบาท) ซึ่งเมื่อสิ้นสุดสัญญาในปี 2573 ทรัพย์สินดังกล่าวจะตกเป็นของเจ้าของที่ดิน ทั้งนี้ มูลค่ารายการข้างต้นรวม 259 ล้านบาท คิดเป็น 26% ของมูลค่าสินทรัพย์รวม ผลการดำเนินงานปี 2567 MORE มีผลขาดทุนสุทธิ 181 ล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตจากเงินให้กู้ยืมบริษัทร่วม 176 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีขาดทุนจากการลงทุนในคอนเสิร์ตเกาหลี ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ทางการเงิน (หุ้น HEALTH) ขาดทุนจากขายหลักทรัพย์เพื่อค้า ขาดทุนจากการปรับมูลค่ายุติธรรมของหลักทรัพย์เพื่อค้า รวมทั้งสิ้นอีก 57 ล้านบาท การขายหุ้นทั้งหมดของบริษัท มอร์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 คณะกรรมการบริษัทมีมติขายหุ้นทั้งหมดของบริษัทดังกล่าว เป็นเงิน 330 ล้านบาท โดย ณ วันทำสัญญา ผู้ซื้อชำระเงิน 60 ล้านบาท ส่วนอีก 270 ล้านบาท อาจชำระทั้งจำนวนหรือชำระเป็นครั้งคราวภายใน 3 ปี แผนการเพิ่มทุน วันที่ 8 ธันวาคม 2566 คณะกรรมการบริษัทมีมติเพิ่มทุนโดยจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering) 14,353 ล้านหุ้น เป็นเงิน 718 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการขยายธุรกิจเพื่อสุขภาพและความงาม กลุ่มสาธารณูปโภค ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งเป็นการเพิ่มทุนในสัดส่วนที่มีนัยสำคัญ (คิดเป็น 200% ของทุนชำระแล้วในเวลานั้น) ขณะเดียวกัน อดีตกรรมการ และผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ MORE ถูกสำนักงาน ก.ล.ต. กล่าวโทษต่อ DSI อีกทั้งยังมีผู้ถือหุ้นจำนวนหนึ่งถูกอายัดหุ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ถือหุ้นกลุ่มดังกล่าวมีข้อจำกัดในการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน ประกอบกับ IFA มีความเห็นว่าผู้ถือหุ้นไม่ควรอนุมัติการเพิ่มทุน เนื่องจากราคาเสนอขายต่ำกว่าราคาตลาดและจะเกิด Control Dilution  สูงถึง 75% สำหรับผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้ใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน อย่างไรก็ดี ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 ไม่ได้มีการพิจารณาอนุมัติการเพิ่มทุนดังกล่าว ต่อมาเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้เสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ในวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อพิจารณาอนุมัติการเพิ่มทุนแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) โดยจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering) หรือบุคคลในวงจำกัด (Private Placement) หรือประชาชนทั่วไป (Public Offering) จำนวน 2,153 ล้านหุ้น (30% ของทุนชำระแล้ว ณ ปัจจุบัน) เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่อง ในการประกอบธุรกิจของ MORE ทั้งนี้ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการซื้อหุ้นเพิ่มทุน คือ MORE มีนโยบายจ่ายเงินปันผลไม่ต่ำกว่า 40% ของกำไรสุทธิตามงบการเงินเฉพาะกิจการ โดยผู้ที่ซื้อหุ้นเพิ่มทุนจะมีสิทธิได้รับเงินปันผลจากการดำเนินงานของ MORE เริ่มตั้งแต่มีชื่อปรากฏเป็นผู้ถือหุ้นในทะเบียนผู้ถือหุ้นของ MORE ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ MORE ชี้แจงข้อมูลดังนี้ ความคืบหน้าและโอกาสความสำเร็จในการดำเนินโครงการ Grand Ratchada รวมถึงผลกระทบต่อฐานะการเงินและสภาพคล่องของ MORE อันเนื่องมาจากความล่าช้าของโครงการ การประเมินผลตอบแทนจากการลงทุน รวมทั้งมีการพิจารณาบันทึกด้อยค่ารายการดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร สรุปความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการ Loud Club โดยให้ระบุกรอบระยะเวลาที่คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและ เริ่มดำเนินการเพื่อสร้างรายได้เชิงพาณิชย์ มูลค่าโครงการ การประเมินผลตอบแทนจากการลงทุน รวมทั้งชี้แจงว่าเงื่อนไขการโอนกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ให้แก่คู่สัญญาและเจ้าของพื้นที่ภายหลังสิ้นสุดอายุสัญญาเป็นเงื่อนไขการค้าทั่วไปในธุรกิจประเภทนี้หรือไม่ ทั้งนี้ การทำโครงการ Loud Club เข้าข่ายเป็นรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์ และ/หรือ รายการที่เกี่ยวโยงกันหรือไม่ รวมทั้งมีการดำเนินการเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องแล้วหรือไม่ อย่างไร สาเหตุของการให้เงินกู้ยืมระยะสั้นแก่บริษัทร่วมเพิ่มเติมในปี 2567 จำนวนสุทธิ 176 ล้านบาท และการตั้งค่าเผื่อ ผลขาดทุนด้านเครดิตทั้งจำนวนในปีเดียวกัน ความคืบหน้าในการติดตามหนี้ การกำหนดหลักประกันในการให้เงินกู้ยืม  มาตรการกำกับดูแลความเสี่ยงในการให้เงินกู้ยืม รวมทั้งระบุชื่อบริษัทร่วมที่ได้รับเงินกู้ยืมและความสามารถในการชำระหนี้ดังกล่าวของบริษัทร่วม ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบ ในประเด็นต่อไปนี้ มาตรการกำกับดูแลความเสี่ยงจากการให้เงินกู้ยืม การลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ การลงทุนในหลักทรัพย์ การขายทรัพย์สิน ซึ่งส่งผลให้ผลการดำเนินงานปี 2567 เป็นขาดทุนสุทธิ รวมถึงหากมีการลงทุนหรือทำธุรกรรมใด ๆ ในอนาคตด้วย การพิจารณาอนุมัติการเพิ่มทุนแบบ General Mandate เหตุผลและความสมเหตุสมผลที่ MORE เลือกขายหุ้นของบริษัท มอร์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด โดยไม่เรียกชำระค่าหุ้นทั้งจำนวนในคราวเดียว ซึ่งหาก MORE เรียกชำระค่าหุ้นทั้งจำนวนอาจทำให้ MORE มีสภาพคล่องเพียงพอ โดยอาจไม่จำเป็นต้องดำเนินการเพิ่มทุน ทั้งนี้ MORE ได้มีการประเมินความสามารถ    ในการชำระค่าหุ้นของผู้ซื้อในปัจจุบันหรือไม่ อย่างไร การเพิ่มทุนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การใช้เงินที่เกี่ยวข้องกับแผนเพิ่มทุนเมื่อเดือนธันวาคม 2566 หรือไม่ อย่างไร หากมีความเกี่ยวข้อง ขอให้อธิบายเหตุผลในการเปลี่ยนรูปแบบการเพิ่มทุนเป็นแบบ General Mandate รวมทั้งชี้แจงว่ามีแผนการเพิ่มทุนเพิ่มเติมในอนาคต (1 - 3 ปี) หรือไม่ อย่างไร หลักเกณฑ์และเหตุผลในการพิจารณาเลือกรูปแบบการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนแต่ละประเภท รวมถึงปัจจัย ที่จะนำมาพิจารณาในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดสรรจากรูปแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ตามที่บริษัทได้แจ้งกำหนดกรอบราคากรณีจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนให้กับบุคคลในวงจำกัด (Private Placement) หรือประชาชนทั่วไป (Public Offering) ว่าเป็นราคาตลาดตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยยังไม่ได้ระบุราคากรณีที่เป็น การจัดสรรให้ผู้ถือหุ้นเดิมนั้น หากคณะกรรมการ MORE จะมีมติจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิม ตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering) ขอทราบกรอบการพิจารณากำหนดราคาเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนและ    แนวทางการคุ้มครองสิทธิของผู้ถือหุ้นที่ถูกอายัดหุ้นอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งข้อจำกัดในการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนของผู้ถือหุ้นดังกล่าว (หากมี) ความเป็นไปได้ในการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้จองซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามที่ MORE ได้แจ้งไว้ เนื่องจากงบการเงิน ปี 2567 (งบเฉพาะกิจการ) MORE ได้มีผลขาดทุนสุทธิสูงถึง 293 ล้านบาท ประกอบกับ MORE ยังมีผลขาดทุนสะสมอีก 1,086 ล้านบาท

จับตา

จับตา"ซื้อหนี้ประชาชน" คัด 3 หุ้น Top Pick

            หุ้นวิชั่น - บล.กรุงศรี จับตาข่าวซื้อหนี้ของประชาชน โดยฝ่ายวิจัยมีมุมมองเป็น slightly positive sentiment ต่อกลุ่ม ธนาคาร และ การเงินผู้บริโภค ต่อข่าวการซื้อหนี้ของประชาชนในกลุ่มสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันและบัตรเครดิตที่มีมูลหนี้ต่ำกว่า 1 แสนบาท เพราะเป็นการเพิ่มทางเลือกในการจัดการหนี้เสีย (NPL) ให้กับสถาบันการเงิน             เบื้องต้นเราประเมินเงินลงทุนที่ใช้ในการซื้อหนี้ภายใต้สมมติฐาน 1) 35% ของมูลหนี้ทั้งหมด 1.2 ล้านล้านบาท 2) เงินลงทุนซื้อหนี้ไม่มีหลักประกันเฉลี่ยของ AMC ราว 5-10% ของมูลค่าหนี้ คิดเป็นทั้งหมด 2.1-4.2 หมื่นล้านบาท เราคาดว่าการระดมทุนเม็ดเงินดังกล่าวพอเป็นไปได้ ฝ่ายวิจัยเรียงลำดับสถาบันการเงินที่มีสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันและบัตรเครดิตมากไปน้อย ดังนี้ กลุ่ม ธนาคาร: KTB (26%) > KBANK, TTB (6%) > SCB (5%) > KKP (4%) สำหรับ BBL ไม่มีการชี้แจงรายละเอียด และ TISCO ไม่มีสินเชื่อประเภทดังกล่าวกลุ่ม การเงินผู้บริโภค: KTC (98%) > AEONTS (92%) > MTC (10%) > SAWAD (3%) สำหรับ THANI และ MICRO ไม่มีสินเชื่อประเภทดังกล่าว แม้ว่า KTC จะมีสัดส่วนสินเชื่อประเภทดังกล่าวสูงสุดในกลุ่ม การเงินผู้บริโภค แต่ KTC ไม่มีนโยบายการขายหนี้             สำหรับประเด็นเรื่องการให้ลูกหนี้ NPL หลุดจากการติดแบล็คลิสต์เครดิตบูโร เรามองว่ามีโอกาสเกิดได้น้อย เพราะจะทำให้เกิด Moral Hazard และประโยชน์ของข้อมูลเครดิตบูโรลดลง เรามองว่าโอกาสที่เป็นไปได้คือ การติดรหัสพิเศษให้กับลูกหนี้กลุ่มนี้ เหมือนกับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ฝ่ายวิจัยคงน้ำหนักการลงทุน NEUTRAL สำหรับกลุ่มธนาคาร และคง KBANK (BUY, TP 178 บ.) และ KTB (BUY, TP 27 บ.) เป็น Top Pick ฝ่ายวิจัยคงน้ำหนักการลงทุน BULLISH สำหรับกลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ และคง MTC (BUY, TP 58 บ.) เป็น Top Pick

โอเปกจ่อลดการผลิตน้ำมัน  SPRC-PTTEP-TOP มีเฮ!

โอเปกจ่อลดการผลิตน้ำมัน SPRC-PTTEP-TOP มีเฮ!

               หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล. ดาโอระบุว่า วานนี้ สำนักเลขาธิการโอเปก (OPEC Secretariat) ได้รับแผนชดเชยกำลังการผลิตน้ำมันอัพเดตจาก 7 ประเทศสมาชิก (กลุ่มประเทศ (กลุ่มประเทศสมาชิกที่ตกลงจะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน ยกเว้น แอลจีเรีย) โดยแผนใหม่นี้จะแสดงการปรับลดกำลังการผลิตรายเดือนระหว่าง 189-435 พันบาร์เรลต่อวัน (kbd) โดยการปรับลดกำลังการผลิตนี้ตามกำหนดจะคงอยู่จนถึงเดือน มิ.ย.2026 โดยประเทศที่ตกลงจะปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันมากสุดตามแผนนี้ในช่วงเดือน มี.ค.2025-มิ.ย.2026 (เรียงจากมากไปน้อย) คือ อิรัก 1,954 kbd, คาซัคสถาน (908 kbd), รัสเซีย (706 kbd), สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (365 kbd), คูเวต (141 kbd), โอมาน (99 kbd), และซาอุดิอาระเบีย (30 kbd)                ทั้งนี้ สังเกตได้ว่าคาซัคสถานได้ผลิตที่ระดับสูงสุดใหม่ในช่วงที่ผ่านมาจากการขยายกำลังการผลิตของ Chevron โดยคาซัคสถานผลิตน้ำมันรวม 1.767 ล้านบาร์เรลต่อวัน (mbd) ในเดือน ก.พ.2025 สูงขึ้นจาก 1.570 mbd ในเดือน ม.ค.2025 และโควตาการผลิตของ OPEC+ ที่ 1.468 mbd                US ออกมาตรการคว่ำบาตรที่เกี่ยวกับอิหร่านเพิ่มเติม วานนี้ รัฐบาลสหรัฐอเมริกา (US) ประกาศคว่ำบาตร (sanction) ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมน้ำมันอิหร่านเพิ่มเติมโดยคราวนี้ตั้งเป้าไปที่ โรงกลั่นขนาดเล็กของจีน (teapot refineries) ซึ่งรวมถึง โรงกลั่น Shandong Shouguang Luqing Petrochemical Co., Ltd. นอกจากนี้ กระทรวงการคลังของ US ยังบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรกับ เรือขนส่งน้ำมัน 8 ลำ ซึ่งระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของกองเรือเงา (shadow fleet) ของอิหร่านที่เป็นเรือบรรทุกน้ำมันที่จัดหาให้กับโรงกลั่นเอกชนของจีน (ที่มา: Reuters, Bloomberg)                บล.ดาโอ มีมุมมองเป็นบวกต่อแนวโน้มราคาน้ำมันดิบ โดยเรามองว่าการประกาศแผนลดกำลังการผลิตน้ำมันเพื่อชดเชยการผลิตส่วนเกินของ OPEC และการ sanction อุตสาหกรรมน้ำมันของอิหร่านเพิ่มเติม น่าจะส่งผลกระทบให้ตลาดน้ำมันโลกมีความตึงตัวมากขึ้นและอาจทำให้ภาวะอุปทานล้นตลาด (oversupply) ที่น่าจะเกิดขึ้นในปี 2025E ผ่อนคลายลงมาได้ ทั้งนี้ วานนี้ราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ปรับตัวสูงขึ้น 1.7% เป็น USD72.0/bbl โดยเรายังสมมติฐานราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ยปีนี้ที่ USD73.0/bbl เรายังคงน้ำหนักการลงทุน “เท่ากับตลาด” สำหรับกลุ่มพลังงาน และคาดส่งผลบวกต่อหุ้นโรงกลั่นและหุ้นน้ำมันต้นน้ำ                โดยชอบหุ้น SPRC (ซื้อ/เป้า 6.50 บาท), PTTEP (ซื้อ/เป้า 160.00 บาท) และ TOP (ซื้อ/เป้า 36.00 บาท) โดยเราคาดว่าจะได้ประโยชน์จากแนวโน้มราคาน้ำมันที่น่าจะปรับตัวสูงขึ้น

จับตาข่าว KTB ควบ TTB บล.ดาโอ มองยังไง เช็กได้!

จับตาข่าว KTB ควบ TTB บล.ดาโอ มองยังไง เช็กได้!

              หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล. ดาโอระบุว่า จับตาแวดวงแบงก์ กำลังจะมี "บิ๊กดีล" ควบรวมกิจการระหว่าง "กรุงไทย-ทีทีบี" เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย "ผนึก" สร้างความแข็งแกร่ง จ่อขึ้นแท่นเบอร์ 1 กลุ่มแบงก์ หลังควบรวมเสร็จในด้าน "สินทรัพย์รวม" กว่า 5.36 ล้านล้าน และฐานลูกค้า และยังสามารถ "ลดต้นทุนธุรกิจ-สร้างโอกาสการเติบโต" ครั้งใหม่ พร้อมปูทางสร้างความแข็งแกร่งบน "ดิจิทัลแบงกิ้ง" (ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ)               บล. ดาโอ มีมุมมองเป็นกลางต่อประเด็นข่าวดังกล่าว เพราะยังไม่มีความชัดเจนกับดีลดังกล่าว แต่หากการควบรวม KTB และ TTB เกิดขึ้นจริง มองว่า จะกลายเป็นธนาคารที่มีสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มที่ราว 5.5 ล้านล้านบาท และคาดว่าจะเกิดผลดีในระยะยาวจากการเกิด synergy ในการขยายพอร์ตสินเชื่อได้ดี เพราะทั้งสองธนาคารมีกลุ่มลูกค้าที่ค่อนข้างแตกต่างกัน ทั้งนี้ ข่าวดังกล่าวเคยออกมาแล้วช่วงกลางเดือน เม.ย. 2018 โดย TTB มีการปรับตัวขึ้นก่อนมีข่าว +10% ส่วน KTB +5% แต่หลังจากนั้นราคาหุ้นปรับลงมา เพราะนักลงทุนคิดว่า ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้จริง อย่างไรก็ดี เบื้องต้นวันนี้คาดว่าราคาหุ้นของ KTB และ TTB จะตอบรับเชิงบวกต่อประเด็นข่าวดังกล่าว โดยยังคงแนะนำ “ซื้อ” ทั้ง KTB และ TTB ราคาเป้าหมายที่ 27.50 บาท และ 2.22 บาท ตามลำดับ

โผ “หุ้นอสังหาฯ” รับอานิสงส์ปลดล็อก LTV

โผ “หุ้นอสังหาฯ” รับอานิสงส์ปลดล็อก LTV

            หุ้นวิชั่น - บล.อเซียพลัส จับตาประเด็นจากวานนี้ ธปท ประกาศผ่อนคลายเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อ อื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) เป็นการชั่วคราว ฝ่ายวิจัยมีมุมมองเชิงบวกต่อการผ่อนคลายเกณฑ์ข้างต้น ย่อมส่งผลดีต่อทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ทั้งนี้ ประเมินกลุ่มบริษัทที่ได้ประโยชน์มากสุด ได้แก่ 1) กลุ่มบริษัทที่มี BACKLOG (รวม JV) ระดับสูง ได้แก่ AP, ORI, NOBLE, ASW, SC, SIRI และ SPALI เป็นต้น 2) กลุ่มที่มีสต๊อกคอนโดฯ สร้างเสร็จพร้อมโอนฯสูง ได้แก่ SPALI, ORI, AP และ ANAN ทั้งหมดมีเกินระดับ 1 หมื่นล้านบาท และ3) กลุ่มที่มีแผนโอนคอนโดฯ ใหม่ปีนี้ เช่น ORI, AP, SIRI,ASW, NOBLE , SPALI, PSH และ ANAN เป็นต้น

KSS คาด SET วันนี้ “Rebound” เคาะ PTT-PTTEP-KTB เด่น

KSS คาด SET วันนี้ “Rebound” เคาะ PTT-PTTEP-KTB เด่น

              หุ้นวิชั่น - บล.กรุงศรี คาด SET วันนี้ “Rebound” ต้าน 1195/1202จุด รับ 1175/1165 จุด ประเด็นสำคัญวันนี้ค่อนทางบวกต่อ SET 1.) ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นเฉลี่ย +1.7% หลังสหรัฐฯประกาศคว่ำบาตรอิหร่านเพิ่ม เป็นบวกต่อ SET ที่มีหุ้นพลังงานราว 10-11% ของมูลค่าตลาด               ผสาน 2.) ภายใน การประกาศซื้อหุ้นคืน PTT จำนวนไม่เกิน 470 ล้านหุ้น (1.65% ของหุ้นทั้งหมด) วงเงิน 1.6 หมื่นล้านบาท น่าจะทำให้ตลาด เก็งภาพอาจจะเห็นหุ้นอื่นในกลุ่มดำเนินการคล้ายกัน อาทิ BCP, PTTGC, TOP ดังที่เกิดขึ้นภาพทยอยปรับเพิ่ม Payout Ratio ในกลุ่มธนาคาร               3.) กลุ่มธนาคาร+เช่าซื้อ มีภาพบวกแนวทางกระทรวงการคลังซื้อหนี้คืนที่ชัดเจนขึ้น เน้นหนี้ไม่มีหลักประกัน ยอดค้าง < 1 แสนบาทต่อคน (35% ของหนี้ NPLs ทั้งระบบ 1.2 ล้านล้านบาท) ประเมินเงินที่ใช้2.1-4.2 หมื่นล้านบาท อยู่ในกรอบที่ระดมทุนเอกชนได้4.) BOT กลับมาผ่อนคลาย มาตรการ LTV อีกครั้งบวกต่อหุ้นอสังหา+ธนาคาร 5.) วันนี้ FTSE Rebalance ราคาปิดเป็น Net inflows +40 ล้านเหรียญฯ ประเมินหนุน               SET Rebound หุ้นนำ คือ หุ้นกลุ่มพลังงาน ธนาคาร เช่าซื้อ และอสังหา ผสาน 10 หุ้น Deep Value วันนี้แนะนำ PTT, PTTEP, KTB

เช็กด่วน! PTTแจงเหตุ “ซื้อหุ้นคืน”  ใช้ราคาเฉลี่ยเท่าไร ก่อนตัดสินใจ  

เช็กด่วน! PTTแจงเหตุ “ซื้อหุ้นคืน” ใช้ราคาเฉลี่ยเท่าไร ก่อนตัดสินใจ  

               หุ้นวิชั่น- วิเคราะห์เบื้องหลัง PTT ซื้อหุ้นคืน ที่ประชุมเปิดข้อมูลราคาซื้อขายเฉลี่ยย้อนหลัง 30 วัน ที่ 30.33 บาทต่อหุ้น เพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจ ก่อนกำหนดวงเงิน 16,000 ล้าน รวมถึงเหตุผล 3 ข้อ ในการซื้อหุ้นครั้งนี้                 นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ("ปตท.") หรือ PTT แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ("ตลท.") ว่า  ที่ประชุมคณะกรรมการ ปตท. ครั้งที่ 3/2568 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 ได้มีมติอนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารทางการเงิน (Treasury Stock) ภายในวงเงินสูงสุดไม่เกิน 16,000 ล้านบาท และจำนวนหุ้นที่จะซื้อคืนไม่เกิน 470 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 1.65 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด โดยวิธีจับคู่อัตโนมัติผ่านระบบการซื้อขายของ ตลท. (Automatic Order Matching: AOM) และมีกำหนดระยะเวลาซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2568 ถึงวันที่ 23 กันยายน 2568 กรอบราคาซื้อคืน                ทั้งนี้ ราคาหุ้นที่จะซื้อหุ้นคืนจะไม่เกินราคาปิดของหุ้นเฉลี่ย 5 วันทำการซื้อขายก่อนหน้าวันที่ทำการซื้อขายแต่ละครั้ง บวกด้วย 15% ของราคาปิดเฉลี่ยดังกล่าว และเพื่อประกอบการพิจารณาราคาหุ้นเฉลี่ยย้อนหลัง 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 18 ก.พ. 2568 ถึง 19 มี.ค. 2568 เท่ากับ 30.33 บาทต่อหุ้น (ราคาปิดเฉลี่ยย้อนหลัง 30 วัน) เหตุผลซื้อหุ้นคืน                นายคงกระพันระบุว่า เหตุผลในการซื้อหุ้นคืนครั้งนี้ 1. เพื่อเป็นการบริหารสภาพคล่องส่วนเกินของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพ  2. เพิ่มอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE)  และอัตรากำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) และ 3. เป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ลงทุน และผู้ถือหุ้นถึงสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง และความสามารถในการทำกำไรของบริษัท

หุ้นได้-เสีย ผ่อนกฎ LTV

หุ้นได้-เสีย ผ่อนกฎ LTV

          หุ้นวิชั่น - บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นไทยยามนี้ ต้องยอมรับว่า นักลงทุนยังกล้าๆกลัวๆ ข่าวดีน้อย มีแต่ข่าวร้ายท่วมตลาด วานนี้ (20 มี.ค.2568) แบงก์ชาติปล่อยผี  ยอมผ่อนเกณฑ์ LTV เป็นการชั่วคราว ถือว่าเป็นการต่อลมหายใจธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้ในระดับหนึ่ง ดีกว่าไม่มีมาตรการกระตุ้นอะไรเลย           สาระสำคัญ มีดังนี้ 1.กำหนดให้เพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกันเป็น 100% สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ทั้งกรณี(1) มูลค่าหลักประกันต่ำกว่า 10 ล้านบาท ตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 2 เป็นต้นไป(2) มูลค่าหลักประกันตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 1 เป็นต้นไป  2.การผ่อนคลายนี้ให้เป็นการชั่วคราว สำหรับสัญญาเงินกู้ที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.2568 ถึง 30 มิ.ย.2569           ด้าน บล.ดาโอ มองเป็นบวก โดยการผ่อนเกณฑ์ LTV จะเป็นผลดีต่อกลุ่ม property ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการซื้อให้กับลูกค้าได้มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการช่วยระบายสต็อกที่อยู่อาศัยได้เร็วขึ้น และส่งผลให้ภาพรวมกลุ่มที่อยู่อาศัยมีการฟื้นตัวได้ดีขึ้น           สำหรับหุ้นที่ประเมินว่า จะได้ประโยชน์มากสุด ได้แก่ SPALI, SIRI, ORI เนื่องจากมี backlog รอโอน และยังมี inventory ค่อนข้างมาก           ส่วนกลุ่มธนาคารก็รับอานิสงส์ไม่น้อยเช่นกัน  เพราะจะช่วยให้คนเข้าถึงสินเชื่อบ้านได้มากขึ้น โดยธนาคารที่มีสัดส่วนสินเชื่อบ้านจากมากไปน้อย คือ SCB 32%, TTB 26%, KTB 19%, KBANK 17% ทั้งนี้ ยังคงน้ำหนักการลงทุนลงเป็น “มากกว่าตลาด” โดยเลือก KTB (ซื้อ/เป้า 27.50 บาท), TTB (ซื้อ/เป้า 2.22 บาท) และ BBL (ซื้อ/เป้า 186.00 บาท) เป็นหัวหอก           กลับมาที่ บล.เอเซีย พลัส ได้วิเคราะห์ประเด็นยอดฮิต กรณี GULF ขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับ 5 ที่สัดส่วน 3.25% ใน KBANK และจะจ่ายปันผลรวม 10.5 บาท/หุ้น (ประกอบด้วยปันผลประจำปี 8.0 บาท/หุ้น XD 17 เม.ย.2568 และปันผลพิเศษ 2.5 บาท/หุ้น XD 15 พ.ค.68) ในวันที่ 6 มิ.ย.2568           ทั้งนี้หาก  GULF ถือหุ้นจนถึงวันขึ้นเครื่องหมาย XD จะได้รับเงินปันผลราว 808.5 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 3.8% ของคาดการณ์กำไรปกติปี 2568 ของ GULF ล่าสุด GULF ชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถือหุ้นว่า  เป็นการลงทุนทั่วไปตามนโยบายของบริษัทฯ ซึ่งโดยปกติจะมีportfolio การลงทุนอยู่แล้ว โดยเห็นว่า KBANK เป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง, P/BV และ P/E อยู่ในระดับต่ำ, และมีการจ่ายปันผลต่อเนื่องที่ให้dividend yield ราว 7-8%/ปี           ดังนั้น การเข้าลงทุนดังกล่าวจึงมุ่งหวังผลตอบแทนจากปันผล และ upside จากราคาหุ้น KBANK ในอนาคต ทั้งนี้ GULF ได้ทยอยซื้อสะสม KBANK ตั้งแต่ช่วง4Q67 ส่วนของนโยบายการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน KBANK รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดโอกาส synergy ร่วมกันระหว่าง GULF และ KBANK ในอนาคต ปัจจุบัน GULF ยังไม่สามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าวได้ จึงถือเป็นประเด็นที่ยังคงต้องติดตาม           วกเข้ามาที่ กลุ่มหุ้นแบงก์ขนาดใหญ่อีกครั้ง  หลังมีการคงดอกเบี้ยของธนาคารกลางต่างประเทศ บล .เอเซียพลัส มองเป็นกลางต่อพอร์ตสินเชื่อ ในต่างประเทศของ BBL (สัดส่วนสินเชื่อต่างประเทศ 25% แบ่งเป็น 10% ในอินโดฯ และ ประเทศอื่นๆ อีก 15%) ส่วนทิศทางดอกเบี้ยนโยบายไทย มองว่าในช่วงครึ่งปีแรกปี2568 มีโอกาสลดได้อีก 1 ครั้ง อย่างไรก็ดีหากการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ช้ากว่าคาด อาจเห็นการลง ดอกเบี้ยนโยบายได้มากกว่านั้น (เริ่มมีมองไปที่ 1.00% -1.25%)           ส่วนแบงก์ใหญ่ 3 อันดับแรก ที่มีสัดส่วนสินเชื่อ Floating rate สูง จะรับผลจากการเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากกว่ากลุ่มฯ ได้แก่ BBL ตามด้วย KTB และ KBANK โดย BBL จะมีความสัมพันธ์กับทิศทางอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศ ในขณะที่ KTB และ KBANK มีความสัมพันธ์กับดอกเบี้ยนโยบายไทยมากสุดในกลุ่มและในทางตรงข้ามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทย ที่ลดลงจะดีต่อ KKP และ TISCO รวมถึง Non – Bank(Bond yield ลง) อย่าง MTC SAWAD และ TIDLOR               ขณะที่ แบงก์ใหญ่ ยังมีความน่าสนใจเชิง PBV ต่ำและ Div Yield ราว 6% -9% เน้นตั้งรับ KTB, BBLและ TTB มองว่าการจัดการคุณภาพสินทรัพย์ของ 3 ธนาคาร ทำได้ดีกว่ากลุ่ม ช่วยให้การตั้งสำรองลดลง ชดเชยผลจากรายได้ที่อ่อนแอ ตามวัฎจักรดอกเบี้ย ด้านแบงก์เล็ก ชอบ TISCO มากกว่า KKP ในขณะที่ Non – Bank เลือก MTC มากกว่า TIDLOR (อยู่ระหว่างปรับเป็น Holding ราคาหุ้นอาจผันผวนระหว่างดำเนินการ) การลงทุน มีความเสี่ยง ผู้ลงทุน ควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ ลงทุน ข่าวหัวม่วง by ทีมงานหุ้นวิชั่น

[Vision Exclusive] AP-SPALI ยืนหนึ่ง ตรงทาเก็ทกรุ๊ปผ่อนปรน LTV

[Vision Exclusive] AP-SPALI ยืนหนึ่ง ตรงทาเก็ทกรุ๊ปผ่อนปรน LTV

          นักวิเคราะห์ฯ มองธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผ่อนคลายเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (เกณฑ์ LTV) ชั่วคราว สำหรับสัญญาเงินกู้ที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569 เป็น Sentiment บวกต่อหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะ AP และ SPALI เนื่องจากมีฐานะการเงินแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับกลุ่ม และมองเกณฑ์ดังกล่าวจะหนุนกำลังซื้อกลุ่มชนชั้นกลาง ที่ต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพิ่ม โดย AP และ SPALI ถือว่ามีการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่เจาะกลุ่มเป้าหมายลูกค้าระดับกลางมากที่สุด             นายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า จากการที่ธปท.ได้ผ่อนคลายเกณฑ์ LTV ชั่วคราว คาดเป็น Sentiment บวกต่อกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะ บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) (AP) และ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) (SPALI) เนื่องจากมองเกณฑ์ดังกล่าวจะส่งผลดีต่อกลุ่มคนที่มีรายได้ปานกลาง ที่ต้องการจะมีอสังหาริมทรัพย์เพิ่ม ซึ่งสองบริษัทนี้มีการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ตรงกับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวมากที่สุด           อย่างไรก็ตามในแง่ของการรับรู้รายได้ หรือยอดขาย ที่จะมาจากการผ่อนเกณฑ์ LTV คาดว่าคงไม่เร็ว เนื่องจากมองธนาคารน่าจะไม่รีบอนุมัติสินเชื่อ ซึ่งก็ต้องมาพิจารณาอีกว่า ผู้กู้มีความสามารถในการผ่อนหรือไม่ และเศรษฐกิจเอื้อหรือไม่           “เราเห็นด้วยกับธปท. ที่ผ่อนคลายเกณฑ์ LTV แม้จะชั่วคราว โดยมองเป็น Sentiment บวกต่อหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ อย่าง AP และ SPALI ขณะที่การรับรู้รายได้คงไม่เร็วขนาดนั้น และธนาคารน่าจะไม่รีบร้อนอนุมัติสินเชื่อ”  นายธนเดช กล่าว           บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) มองอสังหาฯ ประเภทคอนโดมิเนียมจะได้ประโยชน์เป็นหลัก และการไม่มีเงินดาวน์จะทำให้เกิดการเก็งกำไรคอนโดเพิ่มมากขึ้น เป็นดีมานด์ที่บวกเพิ่มขึ้นมามากกว่าแนวราบ           ทางฝ่ายฯแนะนำ "ซื้อ" ORI ราคาพื้นฐาน   3.58 บาท, SPALI ราคาพื้นฐาน 19.50 บาท, SIRI ราคาพื้นฐาน   1.98 บาท AP ราคาพื้นฐาน 10.50 บาท           ทางด้านกลุ่มธนาคารถึงแม้ว่า ธปท. อาจจะมีการผ่อนเกณฑ์ LTV แต่ทางธนาคารอาจจะยังปล่อยกู้อย่างระมัดระวังอยู่เนื่องจาก NPL ยังคงอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตามน่าจะกระตุ้นความต้องการสินเชื่อเพิ่มมากขึ้นได้ มองว่าธนาคารที่มีสัดส่วนสินเชื่อบ้านสูง อย่าง SCB ราคาพื้นฐาน 124 บาท,  TTB ราคาพื้นฐาน 2.18 บาท, KTB ราคาพื้นฐาน 22.50 บาท และ KBANK ราคาพื้นฐาน 166 บาท จะเป็นธนาคารที่ได้ประโยชน์มากที่สุด           บล.กสิกรไทย มอง AP เป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ที่สร้างยอดขายรอโอน (presales) สูงสุด โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการในมือมากกว่า 180 โครงการ ในทำเลที่ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึงหัวเมืองหลักในทุกประเภทผลิตภัณฑ์และทุกกลุ่มลูกค้า อีกทั้งมีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง           สำหรับปี 2568 AP มีแผนเปิดตัวโครงการมูลค่าราว 65,000 ล้านบาท และตั้งเป้าหมาย presale ที่ระดับ 55,000 ล้านบาท เติบโตประมาณ 17.6%           บริษัทมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนต่ำเพียง 0.7 เท่า สร้างความได้เปรียบด้านต้นทุนการพัฒนาและสภาพคล่อง           ผู้บริหารมีประสบการณ์สูง มีการบริหารงานที่ดี ปรับตัวได้เร็ว และสามารถสร้างความได้เปรียบเมื่อมีโอกาสและลดความเสี่ยงเมื่อตลาดผันผวน           ปัจจุบันราคาหุ้นซื้อขายที่อัตราส่วนราคาต่อกำไรและราคาต่อมูลค่าทางบัญชีที่ไม่สูง พร้อมให้ผลตอบแทนเงินปันผลที่ดี สำหรับสาระสำคัญของการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV มีดังนี้ กำหนดให้เพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกันเป็นร้อยละ 100 สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ทั้งกรณี (1) มูลค่าหลักประกันต่ำกว่า 10 ล้านบาท ตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 2 เป็นต้นไป และ (2) มูลค่าหลักประกันตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 1 เป็นต้นไป การผ่อนคลายนี้ให้เป็นการชั่วคราว สำหรับสัญญาเงินกู้ที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569

[Vision Exclusive] SVR เชื่อผ่อนคลาย LTV หนุนตลาดอสังหาฯคึกคัก

[Vision Exclusive] SVR เชื่อผ่อนคลาย LTV หนุนตลาดอสังหาฯคึกคัก

          หุ้นวิชั่น - SVR มองมาตรการผ่อนคลาย LTV เป็นปัจจัยบวก หนุนกำลังซื้อบ้านทั้งหลังแรกและหลังที่สอง ด้านผู้บริหาร "รณฤทธิ์ ฐิติสุริยารักษ์" จ่อบุ๊กเงินขายอสังหาริมทรัพย์ 8 โครงการ มูลค่ารวมเกือบ 4 พันล้านบาท พร้อมปรับกลยุทธ์รับมือเศรษฐกิจชะลอตัว           นายรณฤทธิ์ ฐิติสุริยารักษ์ ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงินอาวุโส บริษัท สิวารมณ์ เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ SVR เปิดเผยกับ หุ้นวิชั่น ว่า การผ่อนคลายเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) โดยคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) คาดว่าจะเป็นปัจจัยบวกต่อผู้ที่ต้องการซื้อบ้านทั้งหลังแรกและหลังที่สอง           ทั้งนี้ การผ่อนคลายมาตรการดังกล่าวจะช่วยให้เม็ดเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบมากขึ้น และลดอัตราการปฏิเสธสินเชื่อของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถประเมินได้ชัดเจนว่าการปฏิเสธสินเชื่อจะลดลงมากน้อยเพียงใด แต่จากสถิติที่ผ่านมา พบว่ามีอัตราการปฏิเสธสินเชื่อในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญ           บริษัท มองว่า การผ่อนคลายมาตรการ LTV จะช่วยให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ส่งผลบวกต่อบรรยากาศการซื้อขายและกำลังซื้อของผู้บริโภคในอนาคต           ด้าน สาระสำคัญของการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV มีดังนี้ กำหนดให้เพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกันเป็นร้อยละ 100 สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ทั้งกรณี (1) มูลค่าหลักประกันต่ำกว่า 10 ล้านบาท ตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 2 เป็นต้นไป และ (2) มูลค่าหลักประกันตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 1 เป็นต้นไป           และการผ่อนคลายนี้ให้เป็นการชั่วคราว สำหรับสัญญาเงินกู้ที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569           สำหรับแผนธุรกิจปี 2568 SVR ได้เปิดตัวโครงการใหม่ไปแล้วในช่วงต้นปี ส่งผลให้ปัจจุบันบริษัทมีโครงการรวม 8 แห่ง มูลค่ารวมเกือบ 4,000 ล้านบาท โดยโครงการที่เปิดตัวประกอบด้วย สิวารมณ์ แกรนด์ (สุขุมวิท-บางปู), สิวารมณ์ วิลเลจ (สุขุมวิท-บางปู 58), สิวารมณ์ เนเจอร์พลัส (อัสสัมชัญ-ศรีราชา), สิวารมณ์ เนเจอร์พลัส 2 (สุขุมวิท-บางปู), สิวารมณ์ ปาร์ค (วงแหวน-ประชาอุทิศ 76), สิวารมณ์ วิลเลจ (วงแหวน-ชัยพฤกษ์) และสิวารมณ์ ไฮด์ (บางแค-สาทร)           SVR ยังคงเดินหน้าโอนกรรมสิทธิ์ พร้อมรุกตลาดอสังหาริมทรัพย์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่อยู่อาศัยในทำเลศักยภาพ           คาดว่าการเติบโตในปี 2568 อาจไม่ได้ขยายตัวในระดับสูงเช่นปีก่อนหน้า เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจน ทั้งนี้ที่ผ่านมา SVR มีอัตราการเติบโตโดดเด่นถึง 50% อย่างไรก็ตาม บริษัทจะยังคงเดินหน้าขยายโครงการใหม่ และปรับกลยุทธ์เพื่อรองรับสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงต่อไป           อนึ่ง ปี 2567 บริษัทมีรายได้อยู่ที่ 862.94 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 27.38 ล้านบาท รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

เกณฑ์ใหม่ปลุกตลาด IPO ต้นปีระดมทุนแล้ว 540 ล.

เกณฑ์ใหม่ปลุกตลาด IPO ต้นปีระดมทุนแล้ว 540 ล.

          หุ้นวิชั่น - นักวิเคราะห์ ชี้หลักเกณฑ์ใหม่ IPO ปี68 ดันตลาดคึกคักขึ้น อานิสงส์มาตรการคัดกรองบริษัทคุณภาพ ลดความเสี่ยงนักลงทุน  ด้านสำนักงานก.ล.ต.เผยตั้งแต่ต้นปี มี IPO ระดมทุน 2 หลักทรัพย์ มูลค่ารวม 540.40 ล้านบาท ขณะที่คำขอ IPO ที่ได้รับอนุมัติแล้วมี 10 บริษัท และอยู่ระหว่างพิจารณาอีก 16 บริษัท พร้อมกันนี้ ตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนยังร้อนแรง ออกตราสารหนี้ระยะยาวกว่า6.5หมื่นลบ.           สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ สำนักงาน ก.ล.ต. รายงานสรุป ภาวะตลาดทุนเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2568 มีการระดมทุนเสนอขาย IPO จำนวน 2 หลักทรัพย์ มูลค่ารวม 540.40 ล้านบาทโดยมีคำขอที่ได้รับอนุญาตและพร้อมเสนอขาย 10 หลักทรัพย์ อยู่ระหว่างการพิจารณาคำขอ 16 หลักทรัพย์และอยู่ระหว่าง Pre-consult 56 หลักทรัพย์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการระดมทุนผ่านตลาดทุนต่อเนื่องสำหรับการระดมทุนผ่านสินทรัพย์ดิจิทัล มีคำขออนุญาต จำนวน 1 บริษัท และอยู่ระหว่างการพิจารณา 2 บริษัทและมีคำขอ ICO อยู่ระหว่าง Pre-consult 5 บริษัท (ผลรวมสะสมการระดมทุนผ่านสินทรัพย์ดิจิทัลทั้งสิ้น 3 บริษัท มูลค่า 5,065.23 ล้านบาท)           การระดมทุนผ่าน Crowdfunding ในปี 2567 (1 ม.ค. - 31 ม.ค. 68) มีบริษัทที่ดำเนินการสำเร็จแล้ว 32 บริษัท มูลค่ารวม 146.38 ล้านบาท (ผลรวมสะสมการระดมทุนผ่าน Crowdfunding มูลค่า 16,404.02 ล้านบาท) การเสนอขายหลักทรัพย์วงแคบของ SME (1 ม.ค. - 31 ม.ค. 68) มีผลรวมสะสมจนถึงปัจจุบัน 29 บริษัท มูลค่า 1,303.24 ล้านบาทและการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ของ SME จำนวน 1 บริษัท โดยมีมูลค่าเสนอขาย 12.80 ล้านบาท (มีผลรวมสะสมจนถึงปัจจุบัน 7 บริษัท มูลค่าเสนอขายรวม 287.50 ล้านบาท) สำหรับตราสารหนี้ภาคเอกชน มีการออกตราสารหนี้ระยะยาวมูลค่า 65,244.60 ล้านบาทแบ่งเป็นตราสาร Investment Grade 60,605.80 ล้านบาท และ High Yield Bond 4,638.80 ล้านบาท (1 ม.ค. - 31 ม.ค. 68) ตั้งแต่ต้นปี 67 มีการออกเสนอขายตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนแล้ว (1 ม.ค. - 31 ธ.ค. 67)จำนวน 15 บริษัท มูลค่า 184,550.32 ล้านบาท (ผลรวมสะสม 39 บริษัท มูลค่า 901,013.58 ล้านบาท) สำหรับกองทุนรวม (ม.ค. - ก.พ. 2568) มีการเสนอขาย IPO จำนวน 133 กองทุน มูลค่ารวม 271,045 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการเสนอขายกองทุนรวมประเภทตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนในประเทศสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย           ทั้งนี้ ปัจจุบันมีบริษัทที่อยู่ระหว่างการพิจารณา IPO จำนวน 16 บริษัท ได้แก่ หมวดเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร บมจ. สยาม ดีเสิร์ท ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า TENG1 บมจ. แพลททินัม ฟรุ๊ต ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า  PTF หมวดบริการ บมจ. จีเอ็มเอ็ม มิวสิค ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า GMM บมจ.พี เอ อี เทคนิคอล เซอร์วิส ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า PTS บมจ. ออนเซ็น รีทรีต แอนด์ สปา กรุ๊ป ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า ONSENS หมวดสินค้าอุตสาหกรรม  บมจ. สมาร์ททีทีซี ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า  STTC บมจ. แมสเทค ลิ้งค์ ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า  MASTEC หมวดทรัพยากร บมจ. บริษัท แอตลาส เอ็นเนอยี ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า  ATLAS บมจ. บริษัท วัน พาวเวอร์ ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า ONE หมวดอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง  บมจ. เอ็มเอ็มเอ็ม แคปปิตอล ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า  MMM บมจ. ไทยประเสริฐกรุ๊ป เอ็นเตอร์ไพรส์ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า TPG หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค บมจ.แกรนด์ คอส กรุ๊ป ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า MER บมจ. นูทริชั่น โปรเฟส NUT บมจ. 88(ไทยแลนด์) ใช้ชื่อย่อหุ้นยว่า 88TH หมวดธุรกิจการเงิน บมจ. ซิลค์สแปน ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า SILK   หมวดเทคโนโลยี บมจ. อินดิจี ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า IDG ส่วนบริษัทที่ อนุมัติคำขอIPO แล้ว มี 10 บริษัท ได้แก่ หมวดบริการ บมจ. มิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย. โฮลติ้ง (ประเทศไทย) ใช้ชื่อย่อว่า MRDIYT บมจ. สกิลเลน เทคโนโลยี ใช้ชื่อย่อว่า SKILL บมจ. โรงพยาบาลมุกดาหาร อินเตอร์เนชั่นแนล ใช้ชื่อย่อว่า HANN บมจ. แอลทีเอ็มเอช ใช้ชื่อย่อว่า LTMH หมวดสินค้าอุตสาหกรรม บมจ. วาย.เอส.เอส. (ประเทศไทย) ใชชื่อย่อหุ้นว่า YSS หมวดอสังหาริมทรัพย์ และก่อสร้าง บมจ. บางกอก แอสเซท อินเตอร์กรู๊ป ใช้ชื่อย่อว่า BKA หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค บมจ.พีเคเอ็น อินเตอร์โฮลดิ้ง ใช้ชื่อย่อว่า IGNITE บมจ. สกิน ลาบอราทอรี่ ใช้ชื่อย่อว่า SKIN หมวดธุรกิจการเงิน บมจ. เงินเทอร์โบ ใช้ชื่อย่อว่า TURBO หมวดเทคโนโลยี  บมจ. บลู โซลูชั่น ใช้ชื่อย่อว่า BLUE           นายมงคล พ่วงเภตรา รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า มองว่า ปี 2568 จะเป็นปีแห่งการฟื้นตัวของตลาด IPO  หลังจากตลาดหลักทรัพย์ปรับปรุงหลักเกณฑ์การเข้าจดทะเบียนทั้งใน SET และ mai ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพของบริษัทจดทะเบียน           หลักเกณฑ์ใหม่ที่เข้มงวดขึ้นจะทำหน้าที่คัดกรองให้เฉพาะบริษัทที่มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่งและมีผลประกอบการที่ดีเข้าสู่ตลาด ส่งผลให้คุณภาพโดยรวมของบริษัทจดทะเบียนสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุน เนื่องจากที่ผ่านมา การลงทุนในหุ้น IPO หลายกรณีไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่ดี หรือราคาหุ้นหลังเข้าตลาดต่ำกว่าราคาจองซื้อ ส่งผลให้ภาวะการซื้อขายหุ้น IPO ลดความคึกคักลง           สำหรับบริษัทจดทะเบียน นายมงคลระบุว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จำนวนบริษัทที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่ในปีนี้ คาดว่าตลาด IPO จะกลับมาเปิดโอกาสอีกครั้ง เนื่องจากบริษัทที่ต้องการเข้าตลาดต้องมีคุณภาพสูงขึ้น ขณะที่หลักเกณฑ์ที่เข้มงวดขึ้นจะทำให้การกำหนดราคา IPO เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยุติธรรมมากขึ้น           "ที่ผ่านมา มีบางบริษัทที่เข้าตลาดเพื่อ Exit หรือจดทะเบียนแล้วไม่มีความเคลื่อนไหวมากนัก แต่ด้วยหลักเกณฑ์ใหม่ การเข้าตลาดหลักทรัพย์จะเป็นไปเพื่อการเติบโตอย่างแท้จริงของบริษัท และสร้างประโยชน์ให้แก่นักลงทุนมากขึ้น" นายมงคลกล่าว รายงานโดย : ณัฏฐ์ชญา ปุริมปรัชญ์ภัทร บรรณาธิการ Hoon vision

FVC ส่งซิก Q1 เข้าเป้า ผุดศูนย์ไตเทียมรับทรัพย์

FVC ส่งซิก Q1 เข้าเป้า ผุดศูนย์ไตเทียมรับทรัพย์

          หุ้นวิชั่น - FVC ตั้งเป้ารายได้ปี 2568 โต 25% ฟากบอสใหญ่ "วิจิตร เตชะเกษม" ชู 3 ธุรกิจโตต่อ ทุ่มงบ 300 ล้าน ผุดศูนย์ไตเทียมใหม่รับทรัพย์ ส่งซิกผลงานโค้งแรกมาตามนัด พร้อมปักหมุดโรงเรียนการดูแลทางการแพทย์ใน 3 ปี ปูพรมบริการภาคอีสานเต็มสูบ           ดร.วิจิตร เตชะเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลเตอร์ วิชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ FVC เปิดเผยว่า แนวโน้มธุรกิจในไตรมาส 1/2568 ยังเป็นไปตามแผน โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจบริการทางการแพทย์ (B3) ที่ดำเนินการโดย บริษัท เคที เมดิคอล เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ KTMS ซึ่งคาดว่าจะเติบโตตามแผนที่ตั้งไว้ ขณะที่ภาพรวมของปี 2568 บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโต 25% จากปี 2567 ที่มีรายได้ 1,052.51 ล้านบาท           สำหรับกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการด้านระบบน้ำ (B1) บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโต 13-14% พร้อมแผนการบุกตลาดภูมิภาคมากขึ้นและเสริมพลังงานสีเขียว โดยมีแผนการลงทุนปรับปรุงห้อง WORKSHOP ใหม่ ด้วยงบลงทุนขั้นต่ำ 3 ล้านบาท คาดว่าจะใช้งบลงทุนไม่เกิน 10 ล้านบาท           ด้านกลุ่มธุรกิจพาณิชย์และที่พักอาศัย (B2) บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโต 12-15% โดยมีแผนการออกแบบอาคารและร้านค้าใหม่ให้กับลูกค้าประเภทร้านอาหาร แต่ไม่ได้วางแผนลงทุนขนาดใหญ่ในกลุ่มนี้ และอาจมีการปรับปรุงพื้นที่เล็กน้อย           สำหรับกลุ่มธุรกิจบริการทางการแพทย์ (B3) บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโตมากกว่า 30% ในปีนี้ โดยมีแผนขยายธุรกิจท่อลม และขยายการผลิตน้ำยาไตเทียม โดยมีแผนลงทุน 200-300 ล้านบาท เพื่อขยายหน่วยไตเทียมเพิ่มเติม           ในระยะยาว (ปี 2568-2570) FVC มีแผนขยายบริการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตั้งเป้าจัดตั้งโรงเรียนการดูแลทางการแพทย์และเทคนิค (Medical Care & Technical School) ภายใน 3 ปี รวมถึงการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Neutral for Carbon Footprint) โดยกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมจะมุ่งเน้นพัฒนาเสริมสร้างธุรกิจพลังงานสะอาด

BLC ธุรกิจติดไฮสปีด ออนไลน์จุด New S-Curve

BLC ธุรกิจติดไฮสปีด ออนไลน์จุด New S-Curve

           หุ้นวิชั่น - BLC ดึง AI ดิจิทัลอีคอมเมิร์ซรุกการตลาด คาด "BKD Viva" จุดชนวน New S-Curve หนุนธุรกิจโตอย่างยั่งยืน ด้านบิ๊กบอส "สุวิทย์ งามภูพันธ์" เผยกลยุทธ์ O2O เสริมแกร่งช่องทางขายทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ ชี้ฐานการเติบโตแกร่ง ปี 67 รายได้โต 10.7% สูงกว่าอุตสาหกรรมที่ระดับ 6%            ภก.สุวิทย์ งามภูพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด (มหาชน) หรือ BLC ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบัน ยาสามัญ ยาสามัญใหม่ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยาสำหรับสัตว์ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพครบวงจร เปิดเผยว่า แนวโน้มผลประกอบการปี 2568 คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อน โดยในปี 2567 บริษัทมีรายได้เติบโต 10.7% หรือคิดเป็น 1,578.99 ล้านบาท สูงกว่าอุตสาหกรรมที่เติบโตเฉลี่ย 6% ขณะที่มีกำไรสุทธิ 171.35 ล้านบาท            จุดเด่นของ BLC คือการมีโรงงานผลิตยาของตนเอง พร้อมทีมฝ่ายขายที่ครอบคลุมตลาดผ่านบริษัทในเครือ 6 แห่ง ล่าสุดบริษัทได้เปิดตัว BKD Viva เพื่อใช้เทคโนโลยี AI และกลยุทธ์การตลาด (Marketing) ในการขยายตลาดในประเทศผ่านช่องทางร้านขายยาและโรงพยาบาล            สำหรับแผนธุรกิจปี 2568-2573 บริษัทให้ความสำคัญกับการผลิตและจำหน่ายยาสำหรับโรคอัลไซเมอร์ หัวใจ หลอดเลือด เบาหวาน และกระดูกข้อ รวมถึงการเปิดตัวยาใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและแนวโน้ม New S-Curve โดยเน้นคัดเลือกยาที่มีศักยภาพสูง            ด้านกลยุทธ์ขยายตลาดต่างประเทศ BLC เตรียมรุกเข้าสู่ระบบกระจายสินค้าผ่านการหาพันธมิตรใหม่ และวางแผนทำตลาดร่วมกับพาร์ทเนอร์ต่างประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพการเติบโตในระยะยาว และเสริมความแข็งแกร่งของธุรกิจในระดับสากล            บริษัทเชื่อว่า "BKD Viva" จะเป็นแรงขับเคลื่อนใหม่ (New S-Curve) โดยนำ AI มาใช้เป็นกลยุทธ์หลัก พร้อมผลักดัน ดิจิทัลอีคอมเมิร์ซ เป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม Shopee และ TikTok Shop นอกจากนี้ ยังนำ AI มาวิเคราะห์ข้อมูลการขายและแนวโน้มตลาดในอนาคต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน            สำหรับปี 2568 บริษัทมีแผนเชื่อมต่อช่องทาง ออฟไลน์และออนไลน์ (O2O) โดยเตรียมออกบูธตามโรงพยาบาลประมาณ 10 บูธ เพื่อขยายฐานลูกค้า และสร้างประสบการณ์การขายแบบครบวงจร ทั้งช่องทางดิจิทัลและการตลาดแบบดั้งเดิม            และคาดว่า "BKD Viva" จะเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนและเร่งการเติบโตของบริษัท โดยการนำเทคโนโลยี AI และกลยุทธ์ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งเข้ามาช่วยปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของตลาด อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่ได้มองการเติบโตในธุรกิจยาเพียงอย่างเดียว แต่ยังมองไปยังโอกาสการขยายตลาดในกลุ่ม อาหารเสริม และการพัฒนา โปรดักส์ใหม่ โดยจะใช้ ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง เพื่อสนับสนุนทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์การขายให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในอนาคต

PTT พุ่ง 4.20% ยืน 31 บ. รับ yield เกิน 7%

PTT พุ่ง 4.20% ยืน 31 บ. รับ yield เกิน 7%

          หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน นายเบญจพล สุทธิ์วนิช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ราคาหุ้นของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (PTT) ที่ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 31 บาท/หุ้น +4.20% คาดเป็นเรื่องของ Yield เป็นหลัก โดย Bond Yield สหรัฐปรับลดลงจากธนาคารกลางสหรัฐ หรือ Fed ลดดอกเบี้ย 2 ครั้งตามคาดการณ์ ส่งผลให้ PTT ที่ราคาหุ้นปรับตัวลงไปต่ำกว่า 30 บาท yield จึงมากกว่า 7%

PJW รุก New S-curve เพิ่มพอร์ตเฮลธ์แคร์ โกยมาร์จิ้น l Hoon Vision Talk Online

PJW รุก New S-curve เพิ่มพอร์ตเฮลธ์แคร์ โกยมาร์จิ้น l Hoon Vision Talk Online

https://youtu.be/NpeG57hGO0c?si=RSk5T4-Mpv7xM4Se PJW รุก New S-curve เพิ่มพอร์ตเฮลธ์แคร์ โกยมาร์จิ้น l Hoon Vision Talk Online . #หุ้นวิชั่น #HoonVision #หุ้นไทย #PJW

TRUE จับมือ ททท. กระตุ้นการใช้จ่ายนทท.  ชูแคมเปญ “Grand Songkran Grand Privileges”

TRUE จับมือ ททท. กระตุ้นการใช้จ่ายนทท. ชูแคมเปญ “Grand Songkran Grand Privileges”

          หุ้นวิชั่น - กรุงเทพฯ 20 มีนาคม 2568 – เพื่อต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ ปี 2568 ที่กำลังจะมาถึง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE โดย  นางสรรค์พิจิตร เอี่ยมชีรางกูร หัวหน้าสายงานบริหารความสัมพันธ์และผสานสิทธิประโยชน์ลูกค้า ขานรับ นโยบาย ททท. โดยนางสาวภัทรอนงค์ ณ เชียงใหม่ รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชีย และแปซิฟิกใต้ ร่วมยกระดับประสบการณ์นักท่องเที่ยวช่วงสงกรานต์ กระตุ้นการเดินทางและการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ไปกับแคมเปญพิเศษ “Grand Songkran Grand Privileges” มอบประสบการณ์การเดินทางที่สะดวกสบาย เชื่อมต่อไร้รอยต่อ พร้อมสิทธิประโยชน์สุดเอ็กซ์คลูซีฟ ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ อาทิ การเดินทาง ที่พัก อาหาร แฟชั่น และความบันเทิง สามารถลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษเพื่อเก็บดีลจาก Splash Box ผ่านเว็บไซต์ www.grandsongkrangrandprivilege.com โดยจะเปิดให้บริการในวันที่ 20 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป และสามารถใช้ดีลสิทธิพิเศษได้ตั้งแต่วันที่ 1 – 30 เมษายน 2568           นางสรรค์พิจิตร เอี่ยมชีรางกูร หัวหน้าสายงานบริหารความสัมพันธ์และผสานสิทธิประโยชน์ลูกค้า บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า เพื่อส่งมอบความสุขให้ลูกค้าทรูและดีแทคทุกพื้นที่ทั่วไทย ให้ทั่วถึง ทุกคน ทรูจึงเดินหน้ายกระดับประสบการณ์ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง พัฒนาเครือข่าย 5G ทั่วประเทศไทย เพิ่มประสบการณ์ใช้งานของลูกค้าทุกพื้นที่สู่ระดับเวิลด์คลาส สำหรับเทศกาลสงกรานต์ซึ่งถือเป็นปีใหม่ของคนไทย และเป็นเทศกาลที่นักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมเดินทางมาร่วมฉลองประเพณีไทยและร่วมเล่นน้ำสงกรานต์ ซึ่งทรู ไม่เพียงแต่มอบเครือข่ายที่ดีที่สุดให้กับนักท่องเที่ยว แต่ยังเข้าใจไลฟ์สไตล์ของนักเดินทางยุคใหม่ ที่ต้องการความสะดวกสบายและความต่อเนื่องในการใช้ชีวิตดิจิทัล 5G ครอบคลุมทั่วประเทศ รองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ทั้งในสนามบิน สถานีขนส่ง และจุดท่องเที่ยวสำคัญ  โดยมีทีมวิศวกรเน็ตเวิร์ก   standby ประจำศูนย์ปฏิบัติการเครือข่ายอัจฉริยะ (BNIC) พร้อม AI และหน่วยปฏิบัติการเฉพาะกิจ (War Room) เพิ่มประสิทธิภาพความเชื่อมั่นเครือข่าย 5G, 4G และอินเทอร์เน็ตบ้าน พร้อมดูแลและบริหารเครือข่ายครอบคลุมทุกบริการ 24 ชั่วโมง  เราต้องการให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนได้สัมผัสประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการเที่ยวเมืองไทย’ ด้วยเครือข่าย และสิทธิพิเศษที่ออกแบบมาให้ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์  ครั้งนี้ร่วมมือกับ ททท. มอบสิทธิประโยชน์ให้กับนักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นสายเที่ยว สายชิล สายกิน หรือสายดิจิทัล ทรูพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำให้กับทุกคน  โดยทรู มอบสิทธิพิเศษ ในโครงการ ‘Grand Songkran Grand Privileges’ ดังนี้ รับฟรีซิมทัวริสต์ เพียงแสดง Promo Code จากโครงการฯ เพื่อรับซิมฟรีหรือส่วนลดค่าซิมมูลค่า 49 บาท (จำกัด 1 สิทธิ์/ 1 หนังสือเดินทาง/ 1 Promo Code) รับฟรีชุดเสื้อกางเกงลายช้าง เมื่อซื้อซิมนักท่องเที่ยวมูลค่า 699 บาทขึ้นไป และแสดง Promo Code ที่เคาน์เตอร์ทรูหรือดีแทคที่ร่วมรายการ รับฟรีซองกันน้ำ เมื่อซื้อซิมนักท่องเที่ยวมูลค่า 349 บาทขึ้นไป และแสดง Promo Code มาพร้อมสิทธิพิเศษหลังเปิดใช้งานซิม โบนัสโทรฟรีมูลค่า 100 บาท สำหรับโทรไปยัง 7 ประเทศ ได้แก่ จีน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน อินเดีย เกาหลีใต้ และเวียดนาม ส่วนลดพิเศษจากพันธมิตร สำหรับลูกค้าซิมทรูและดีแทคทัวริสต์ อาทิ ส่วนลดเครื่องดื่มเต่าบินสูงสุด 25% ส่วนลด 50% สำหรับเครื่องดื่มและไอศกรีมที่ร้าน Burger King และ Bonchon ในสนามบินที่ร่วมรายการ ส่วนลดบริการ Grab สูงสุด 1,050 บาท ส่วนลด 300 บาท เมื่อซื้อสินค้าที่ Lotus’s ครบ 1,000 บาท เป็นต้น           ทั้งนี้ลูกค้าทรูและดีแทคยังสามารถรับของขวัญและสิทธิพิเศษเพิ่มเติมตลอดช่วงเทศกาลสงกรานต์ ไม่ว่าจะเป็นดีลพิเศษ กล่องสุ่ม และกิจกรรมลุ้นโชค ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางแอปทรูไอดี ดีแทคแอป หรือ https://ttid.co/OiLl/SplashTogether           เตรียมสุขสุดแกรนด์ไปด้วยกัน Let’s Splash Together!

THANA ปักหมุด Luxury เปิด THANA RESIDENCE

THANA ปักหมุด Luxury เปิด THANA RESIDENCE

          22 – 23 มี.ค. นี้ ธนาสิริ กรุ๊ป (THANA) รุกตลาด Luxury อย่างต่อเนื่อง เปิดโครงการรอบ VVIP กับแบรนด์หรู THANA RESIDENCE กาญจนาภิเษก-พระราม 9 ราคาเริ่ม 18-30 ล้านบาท ภายใต้แนวคิด A NEW LUXURY: Simply Natural Heritage นิยามใหม่ของบ้านหรู เรียบง่าย ที่เป็นหนึ่งเดียวกับมรดกทางธรรมชาติ สะท้อนผ่านแรงบันดาลใจของธรรมชาติจากผืนป่า เพื่อสร้างความรู้สึกเหมือนพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติโอบล้อมรอบตัวทุกพื้นที่ในโครงการ           THANA RESIDENCE กาญจนาภิเษก-พระราม 9 ที่สุดแห่งการอยู่อาศัย เติมเต็มความสมบูรณ์ของการใช้ชีวิตได้อย่างลงตัวบนทำเลศักยภาพ สะดวกในการเดินทาง ตั้งอยู่บนถนนกาญจนาภิเษก และถนนสุขาภิบาล 2 ทั้งยังใกล้จุดขึ้นสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ นอกจากนี้ เพียงใช้เวลาแค่ 15 นาที ก็ถึงสนามบินสุวรรณภูมิแล้ว แวดล้อมด้วย Living Solutions ครบถ้วน ใกล้กับห้างสรรพสินค้าชั้นนำ โรงเรียนนานาชาติชื่อดัง โรงพยาบาลที่มีชื่อเสียง ตลอดจนสาธารณูปโภคต่างๆ มากมาย และยังสามารถเดินทางเข้าเมืองไปยัง สุขุมวิท ทองหล่อ พระรามเก้า อโศก ราชดำริ สีลม และสาธร ได้อย่างสะดวก           ขณะเดียวกัน THANA RESIDENCE กาญจนาภิเษก-พระราม 9 ยังออกแบบอย่างพิถีพิถันครบถ้วนทั้งตัวบ้าน และสันทนาการส่วนกลาง ในแนวคิด In the Wood ตอบโจทย์การอยู่อาศัย เพื่อความคุ้มค่า น่าอยู่ โดยรอบ VVIP นี้ พิเศษสุดกับการส่งบ้านหลังใหญ่ 3 แบบบ้าน ที่มีขนาดพื้นที่สูงสุด 474 ตร.ม. ประกอบด้วย 4 ห้องนอน 5 ห้องน้ำ 4 ที่จอดรถ 2 ห้องแม่บ้าน พร้อมนวัตกรรมที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้ใช้เวลาอยู่ กับคนในครอบครัว กับความสุขง่าย ๆ ที่เป็นความภาคภูมิใจในบ้านหลังใหญ่ ภายใต้แนวคิด “ธนาสิริ ... เราดูแล”

[ภาพข่าว] D เปิด “Smile Signature” สาขาสุขุมวิท

[ภาพข่าว] D เปิด “Smile Signature” สาขาสุขุมวิท

          นายพรศักดิ์ ตันตาปกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดนทัล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ D  เป็นประธานเปิดสาขาใหม่  คลินิกทันตกรรม สไมล์ซิกเนเจอร์  หรือ Smile Signature สาขาสุขุมวิท  พร้อมด้วยนายณัฐสิทธิ์ สุรพันธ์ไพโรจน์  ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีและการเงิน  และทีมบุคลากร  ซึ่งสาขาสุขุมวิท จะ รองรับกลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นหลัก  ตามแผนการตลาดในเชิงรุกของกลุ่มบริษัท  เปิดสาขาใหม่ในแหล่งท่องเที่ยว           คลินิกทันตกรรม Smile Signature สาขาสุขุมวิท ตั้งอยู่บนทำเลแหล่งท่องเที่ยว และแหล่งที่พักอาศัยของชาวต่างชาติ  เป็นสาขาที่เปิดเพื่อรองรับกลุ่ม medical tourism ที่เป็นลูกค้าชาวต่างชาติ 100%  มีพื้นที่ให้บริการกว่า 300 ตารางเมตร  เป็นสาขาที่มีการตกแต่งสวยงามทันสมัย มีพื้นที่ให้ลูกค้านั่งรอรับบริการ กว้างขวางและสะดวกสบาย มีห้องให้บริการทันตกรรมจำนวน 6 ห้อง สามารถรองรับลูกค้าได้วันละประมาณ 100 คน

CHOW ติดสปีดธุรกิจสีเขียว คว้าใบรับรอง “คาร์บอนฟุตพริ้นท์”

CHOW ติดสปีดธุรกิจสีเขียว คว้าใบรับรอง “คาร์บอนฟุตพริ้นท์”

             หุ้นวิชั่น - CHOW ได้รับใบรับรองฉลาก “คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน” และ “คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์” จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ประจำปี 2567 ตอกย้ำแนวคิดธุรกิจ Circular Economy เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาด พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนองค์กรสู่การเติบโตควบคู่การดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน              นายปรมัตถ์ จุฬวนิช ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน บริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ CHOW ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็กแท่งยาว (Steel Billet) รายใหญ่ของประเทศ เปิดเผยว่า CHOW ได้รับการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ และได้รับฉลากรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product: CFP) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ซึ่งเป็นไปตามแผนการดำเนินงานการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ CHOW ในการควบคุมตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตไปจนถึงขั้นตอนการจัดจำหน่าย เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ ซึ่งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) เป็นองค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อวิเคราะห์ กลั่นกรองและทำความเห็นเกี่ยวกับการให้คำรับรองโครงการที่ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม การลงทุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม “CHOW ให้ความสำคัญในเรื่องการใส่ใจดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนในทุกขั้นตอน ยึดมั่นในแนวคิดธุรกิจ Circular Economy หรือระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของการนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ ด้วยการเลือกวัสดุคุณภาพที่มีแนวคิดรักษ์โลกและรีไซเคิลได้ 100% ซึ่งไม่เพียงสนับสนุนแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ CHOW ให้เป็นไปตามเป้าหมาย แต่ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยในครั้งนี้ CHOW ได้รับใบรับรองสำหรับผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 รายการ ได้แก่ RB6, RB8 และ RB9 ถือเป็นการเสริมสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ องค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่หันมาสนใจเรื่องการใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้นร่วมกับการตัดสินใจซื้อสินค้า การได้รับฉลากรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของ CHOW นับเป็นการเพิ่มขีดความสามารถอีกทางหนึ่งสำหรับการแข่งขันในตลาดเหล็กปัจจุบันอีกด้วย และคาดว่าจะทำให้ยอดขายเหล็กในปีนี้เพิ่มขึ้น 2 หลัก ” นายปรมัตถ์ กล่าวสรุป              คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product) คือ ฉลากที่แสดงถึงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการผลิตผลิตภัณฑ์นั้น ๆ โดยจะคำนวณตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ จนเข้าสู่กระบวนการผลิต การขนส่ง การนำไปใช้และการกำจัดซาก โดย CHOW คาดหวังให้ผู้บริโภคทราบถึงความใส่ใจต่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปัญหาโลกร้อน ช่วยสร้างความตระหนักและทำให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจก หากเลือกใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ให้ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ของไทยให้มุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียวได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย

[ภาพข่าว] “JPARK” ต้อนรับนักลงทุนสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย

[ภาพข่าว] “JPARK” ต้อนรับนักลงทุนสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย

          นายสันติพล เจนวัฒนไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสุดวิณ ปัญญาวงศ์ขันติ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินและบัญชี  บริษัท เจนก้องไกล จำกัด (มหาชน) “JPARK” ให้การต้อนรับคณะนักลงทุนสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย อาสาฯ Visit  เนื่องในโอกาสเข้ารับฟังการบรรยายข้อมูล และเปิดโอกาสให้นักลงทุนได้ซักถามถึงผลการดำเนินงานและข้อมูลธุรกิจของบริษัทฯ อย่างใกล้ชิดและเป็นกันเอง ณ ห้องประชุม The Mitr-ting Room Samyan Mitrtown Hall ชั้น 5

ธปท.ผ่อนปรนเกณฑ์ LTV ชั่วคราว ช่วยภาคอสังหาฯ

ธปท.ผ่อนปรนเกณฑ์ LTV ชั่วคราว ช่วยภาคอสังหาฯ

         นายสมชาย เลิศลาภวศิน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันชะลอตัวต่อเนื่องและยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวชัดเจน สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้รับจากการหารือกับทั้งผู้ประกอบการในธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและสถาบันการเงิน คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) จึงเห็นควรให้ผ่อนคลายเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (เกณฑ์ LTV) โดยประเมินว่าการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV จะช่วยประคับประคองภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยบรรเทาปัญหาอุปทานคงค้างที่อยู่ในระดับสูงได้บ้าง จึงอาจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมได้จำกัด ขณะที่การผ่อนคลายเกณฑ์ LTV ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินมากนัก เนื่องจากในปัจจุบันภาวะการเงินตึงตัวและสถาบันการเงินระมัดระวังในการให้สินเชื่อ          ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ผ่อนคลายเกณฑ์ LTV เป็นการชั่วคราว เนื่องจากเกณฑ์ LTV ของไทยผ่อนคลายมากอยู่แล้วเมื่อเทียบกับต่างประเทศ และการบังคับใช้เกณฑ์ LTV ยังมีความสำคัญเพื่อดูแลมาตรฐานการให้สินเชื่อของระบบสถาบันการเงิน ช่วยลดความเสี่ยงที่ผู้กู้จะได้รับสินเชื่อที่ไม่สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ รวมถึงลดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินที่จะมาจากการเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์ สาระสำคัญของการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV มีดังนี้ 1. กำหนดให้เพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกันเป็นร้อยละ 100 สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ทั้งกรณี (1) มูลค่าหลักประกันต่ำกว่า 10 ล้านบาท ตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 2 เป็นต้นไป และ (2) มูลค่าหลักประกันตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 1 เป็นต้นไป 2. การผ่อนคลายนี้ให้เป็นการชั่วคราว สำหรับสัญญาเงินกู้ที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569

ตลท. ผนึกเฟทโก้ และ กสศ. ชวนภาคธุรกิจบริจาคคอมพิวเตอร์

ตลท. ผนึกเฟทโก้ และ กสศ. ชวนภาคธุรกิจบริจาคคอมพิวเตอร์

          หุ้นวิชั่น - ในโอกาสครบรอบการดำเนินงาน 50 ปี ในปี 2568 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดำเนิน “โครงการ 50 ปี ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชวนทำความดีเพื่อสังคม” ผ่าน 3 โครงการเพื่อประโยชน์แก่สังคม โดยหนึ่งใน 3 โครงการดังกล่าว คือ “โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อเด็กไทย ใส่ใจเรื่องการเงิน” ซึ่งโครงการนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ดำเนินการร่วมกับ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดยมุ่งหวังที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาพร้อมปลูกฝังความรู้ด้านการเงินแก่เยาวชนไทย           นายอัสสเดช คงสิริ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการ 50 ปี ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชวนทำความดีเพื่อสังคม เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่เพียงมุ่งมั่นพัฒนาตลาดทุน แต่ยังดูแลรับผิดชอบการพัฒนาเพื่อสังคม ส่งเสริมให้มีรากฐานและคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านการดำเนิน “โครงการ คอมพิวเตอร์เพื่อเด็กไทย ใส่ใจเรื่องการเงิน” โดยมุ่งหวังที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าถึงสื่อดิจิทัลและแหล่งความรู้ออนไลน์เพื่อการพัฒนาตนเอง ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเป็นตัวกลางเชื่อมโยงภาคธุรกิจให้มาร่วมกันบริจาคคอมพิวเตอร์ โดยมีเป้าหมาย 5,000 เครื่อง ภายใน 5 ปี อีกทั้ง ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังจะสนับสนุนข้อมูลความรู้  ด้านการเงินด้วยการติดตั้งลงในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะส่งมอบให้แก่โรงเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การออมการลงทุน ปลูกฝังความรู้ด้านการเงินให้แก่นักเรียน ครู และผู้ปกครอง           นายพิเชษฐ สิทธิอำนวย รองประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า ในฐานะตัวแทนองค์กรภาคตลาดทุนมีความยินดีที่จะร่วมสนับสนุน “โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อเด็กไทย ใส่ใจเรื่องการเงิน” เนื่องด้วยประเทศไทย จะสามารถก้าวหน้าและพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ สิ่งสำคัญคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ ความสามารถ มีความคิดสร้างสรรค์ และเข้าใจในโลกยุคใหม่ ดังนั้น เยาวชนไทยจึงจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะด้านดิจิทัลอย่างเพียงพอเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เป็นบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะที่หลากหลาย เพื่อเข้ามาเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาตลาดทุนไทย รวมไปถึงเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน โครงการนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพให้กับภาคตลาดทุนและประเทศชาติในอนาคตต่อไป           ดร. ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า การขาดแคลนทรัพยากรในโรงเรียนขนาดเล็ก พื้นที่ห่างไกล ทุรกันดารส่งผลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน การสำรวจขององค์การ OECD พบว่าโรงเรียนที่มีปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน มีแนวโน้มที่นักเรียนจะทำคะแนน PISA ได้น้อย กสศ.ยังสำรวจในช่วงโควิด-19 พบว่า เด็กเยาวชนยากจนในชนบท ใช้อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือของพ่อแม่  ไม่มีแท็บเล็ต คอมพิวเตอร์  ช่องว่างนี้เมื่อเทียบกับประชากรทั่วไป ห่างกันถึง  10 เท่า  โอกาสเดียวที่เด็กเหล่านี้จะได้ใช้ทรัพยากรเพื่อเรียนรู้ พัฒนาทักษะต่างๆ คือ ที่โรงเรียน โดยการทำงานของ กสศ. มุ่งระดมความร่วมมือทุกภาคส่วนสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา  โดยมีระบบฐานข้อมูลสารสนเทศที่เข้าใจความขาดแคลนของโรงเรียน เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของครู ผู้บริหารโรงเรียน เครือข่ายชมรมนักจัดการศึกษาบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร  และสพฐ. สามารถตรวจสอบได้ และยังประมวลเป็นแผนที่ชี้เป้าให้กับภาคส่วนต่างๆ ในระยะแรกจะสนับสนุนโรงเรียนที่มีความต้องการเร่งด่วนราว 200 แห่ง โครงการนี้จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณอย่างเสมอภาคจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้แก่โรงเรียนเล็ก ห่างไกล ทุรกันดาร  ซึ่งเป็นแนวทางเพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนที่ กสศ. ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง           ภาคตลาดทุนและภาคธุรกิจรวมถึงผู้ที่สนใจจะร่วม “โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อเด็กไทย ใส่ใจเรื่องการเงิน” สามารถสนับสนุนได้ผ่าน 3 รูปแบบ คือ 1) บริจาคคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานแล้วและยังมีคุณภาพดี 2) บริจาคคอมพิวเตอร์ใหม่ (มือ 1) หรือ 3) สนับสนุนองค์ความรู้ตามความเชี่ยวชาญหรือตามศักยภาพของธุรกิจ (In kind Support)           สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กสศ. Call Center โทร. 0 2079 5475 ติดตามความคืบหน้าโครงการได้ที่ www.eef.or.th/donate/ และ https://pinhelppoint.com/

SPCG ขยายฐานโซลาร์รูฟ รักษาระดับปันผล 0.8-1.2 บ.

SPCG ขยายฐานโซลาร์รูฟ รักษาระดับปันผล 0.8-1.2 บ.

          หุ้นวิชั่น - SPCG ประมาณการรายได้ ปี68 ที่ 1,000-1,500 ล้านบาท ยอมรับหมด Adder กระทบรายได้ เตรียมเสริมศักยภาพธุรกิจใหม่ เน้นขยายฐานลูกค้าในธุรกิจ โซลาร์รูฟ โอกาสโตต่อเนื่อง ทั้งลูกค้าอุตสาหกรรมและอาคารพาณิชย์ หวังรักษาระดับจ่ายปันผล ที่ 0.8-1.2 บาท / หุ้น แม้มีปัจจัยลบกดดัน           นายพิพัฒน์ วิริยธรานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) หรือ SPCG เปิดเผยว่าบริษัทประมาณการรายได้ปี 2568 ที่ระดับ 1,000 - 1,500 ล้านบาท จากปีก่อนที่ทำได้ 2,166.64 ล้านบาท โดยโครงการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 36 แห่ง ที่หมดสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในรูป Adder ลงทำให้รายได้ของบริษัทลดลงไปบ้าง รวมถึงปัจจัยด้านค่าอัตราไฟฟ้าผันแปร (FT) ที่ทางภาครัฐได้มีการกำหนดใหม่มีแนวโน้มลดลง คาดว่าส่งผลโดยตรงต่อภาพรวมรายได้           ทั้งนี้ กลยุทธ์สำหรับปี 2568 บริษัทมีแผนการเพิ่มศักยภาพของธุรกิจ โดยจะเสริมสร้างเทรนด์ธุรกิจใหม่ๆ รักษาคุณภาพสินค้าและการบริการ ความร่วมมือกับพันธมิตรที่แข็งแกร่ง เพิ่มสิทธิประโยชน์ในด้านอื่นๆ โดยจะไม่ลดต้นทุนเพื่อการแข่งขัน และเน้นขยายฐานลูกค้าในธุรกิจ โซลาร์รูฟ ซึ่งปัจจุบันมีภาคเอกชนเป็นหลัก โดยเฉพาะ โรงงานอุตสาหกรรม และ อาคารพาณิชย์ ที่มีการติดตั้งเพื่อกักเก็บพลังงานในช่วงค่าไฟปรับขึ้น           "สำหรับการแข่งขันอนาคตด้านธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบโซลาร์ฟาร์มนั้น การทำโซลาร์ฟาร์มในประเทศไทย เป็นธุรกิจที่ต้องรับการอนุมัติจากภาครัฐ การทำธุรกิจจึงต้องร่วมกับภาครัฐเป็นหลัก โดยบริษัทยังคงติดตามโครงการใหม่ๆ ของภาครัฐ หากมีโครงการใหม่ก็พร้อมร่วมมือ รวมถึงในส่วนธุรกิจต่างประเทศนั้นอยู่ระหว่างการศึกษา โดยบริษัทเน้นการลงทุนในประเทศที่มีความคุ้มค่า หากยังไม่แน่ใจจะยังไม่ลงทุนในประเทศนั้น แต่ที่บริษัทลงทุนในญี่ปุ่นเพราะที่ญี่ปุ่นมีความคุ้มค่าทั้งทางนโยบายภาครัฐและพาร์ทเนอร์ที่แข็งแกร่ง" นายพิพัฒน์ กล่าว           ด้านการจ่ายเงินปันผลนั้นขึ้นอยู่กับผลการประกอบการในอนาคต โดยพยายามให้คงระดับที่ 0.8-1.2 บาท / หุ้น เนื่องจากมีหลายปัจจัย ทั้งด้านอุปกรณ์ที่ใช้มานาน ที่ต้องมีค่าดูแลเพิ่ม ในส่วนนี้บริษัทสามารถควบคุมได้ อีกทั้งยังมีเรื่องค่าอัตราไฟฟ้าผันแปร (FT) ที่ทางรัฐเป็นผู้กำหนด ซึ่งบริษัทไม่สามารถควบคุมได้ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อรายได้           ด้านกรณีพิพาทกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในการฟ้องศาลแพ่งเรียก 3.7 พันล้าน กฟภ. ฐานละเมิดสัญญาซื้อขายไฟโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ EEC หลังยกเลิกการให้ความยินยอมโอนสิทธิหน้าที่ตามสัญญา โดย มูลค่าของความเสียหายยังคงต้องติดตาม โดยเบื้องต้นบริษัทมีค่าใช้จ่ายในการระดมทุน การจัดซื้อและพัฒนาจัดซื้อที่ดิน และมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ พอสมควร

เจาะกลยุทธ์ลงทุนบ่าย คัด 3 หุ้นเด่น!

เจาะกลยุทธ์ลงทุนบ่าย คัด 3 หุ้นเด่น!

            หุ้นวิชั่น - บล.กรุงศรี คาด SET Index บ่ายนี้ผันผวนในกรอบ 1,190 -1,200 จุด upside ระยะสั้นอาจจะจํากัดที่ระดับ 1,200 จุด จากการระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ ในสัปดาห์หน้า รวมถึง การปรับขึ้นภาษี Reciprocal Tax ของสหรัฐในช่วงต้น เดือน เม.ย. กลยุทธ์ยังเน้นหุ้น Big Cap ที่ปัจจัยพื้นฐานดี และ มีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว (รองรับเงิน ในช่วงที่ INTUCH +GULF หยุดซื้อขาย) Top Pick บ่ายนี้ คือ ADVANC, PTTEP และ VGI ด้านตลาดหุ้นภาคเช้า  SET Index ปิดตลาดภาคเช้าเพิ่มขึ้น 5 จุด ปรับขึ้นในทิศทางเดียวกับ ตลาดหุ้นสหรัฐรับผลประชุมเฟดโทนเป็นกลางตามที่ตลาดคาด หุ้น Big cap ยังเด่นคาดหวัง Fund flow ไหลเข้าหลังโบรกต่างชาติเพิ่มน้ําหนักตลาดหุ้นไทยเป็น overweight หุ้นที่ปรับ ขึ้นนําตลาดเช้านี้ คือ PTT, PTTEP, GULF, ADVANC และ KBANK

PROUD ตุน Backlog 10,935 ล. ลุ้น New High

PROUD ตุน Backlog 10,935 ล. ลุ้น New High

          PROUD มองภาพรวมตลาดอสังหาฯ ยังคงเผชิญความท้าทาย ด้านที่อยู่อาศัยลักชัวรี ยังมีโอกาสขยายตัว ความต้องการที่อยู่อาศัยทำเลศักยภาพจากกลุ่มลูกค้าเรียลดีมานด์และต่างชาติระดับไฮเอนด์เพิ่มขึ้น ดันมูลค่ายอดขายที่รอรับรู้รายได้ (Backlog) รวมประมาณ 10,935 ล้านบาทคาด Q2-Q3/2568 เป็นต้นไปยอดขายโตเด่น พร้อมเร่งโอนกรรมสิทธิ์โครงการ VEHHA Hua Hin (เวหา หัวหิน) โครงการ NUE District R9 (นิว ดิสทริค อาร์ 9) โครงการ นิว ครอส คูคต สเตชัน (Nue Cross Khu Khot Station) โครงการ VI Ari (วี อารีย์) ทยอยรับรู้รายได้ในปีนี้ ขณะที่ผลประกอบการปี 2567 รายได้ 2,268 ล้านบาท โต 48% กำไรสุทธิ 57 ล้านบาท           นายพสุ ลิปตพัลลภ กรรมการบริหาร บริษัท พราว เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ PROUD  เปิดเผยถึงภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงเผชิญกับความท้าทาย แต่ในส่วนของตลาดที่อยู่อาศัยระดับลักชัวรีมีโอกาสขยายตัวอย่างโดดเด่น ปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการที่อยู่อาศัยในทำเลศักยภาพที่ดีสุดใจกลาง CBD ตอบโจทย์ความต้องการกลุ่มลูกค้าเรียลดีมานด์และชาวต่างชาติระดับไฮเอนด์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวโดยเฉพาะในหัวเมืองท่องเที่ยว อาทิ ภูเก็ต หัวหิน ยังคงได้รับความนิยมส่งผลเชิงบวกต่อภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยรวมและทิศทางการดำเนินธุรกิจของ พราว เรียล เอสเตท อย่างมาก           ปัจจุบันโครงการที่อยู่ระหว่างการขายของบริษัท มีกระแสตอบรับที่ดีต่อเนื่อง โดยมียอดขายที่รอรับรู้รายได้ (Backlog) รวม 10,935 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการ "VEHHA Hua Hin" (เวหา หัวหิน) จำนวน 1,560 ล้านบาท อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ความคืบหน้าการก่อสร้าง 81% โครงการ "ROMM Convent" (รมย์ คอนแวนต์) จำนวน 2,763 ล้านบาท อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ความคืบหน้าการก่อสร้าง 25% โครงการ "NUE District R9" (นิว ดิสทริค อาร์ 9) จำนวน 6,418 ล้านบาท อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ความคืบหน้าการก่อสร้าง 100% โครงการ นิว ครอส คูคต สเตชัน (Nue Cross Khu Khot Station) จำนวน 114 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเข้าอยู่ และโครงการ "VI Ari" (วี อารีย์) จำนวน 81 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเข้าอยู่ คาดว่ายอดขายจะปรับเพิ่มขึ้นอีกในไตรมาส 2/2568 เป็นต้นไป           ทั้งนี้ บริษัทเร่งโอนกรรมสิทธิ์โครงการ VEHHA Hua Hin (เวหา หัวหิน) โครงการ NUE District R9 (นิว ดิสทริค อาร์ 9) โครงการ นิว ครอส คูคต สเตชัน (Nue Cross Khu Khot Station) โครงการ VI Ari (วี อารีย์) เพื่อทยอยรับรู้เป็นรายได้เพิ่มเติมในปีนี้ สร้างการเติบโตต่อเนื่อง           นอกจากนี้ บริษัทฯ เดินหน้ากลยุทธ์การตลาดเชิงรุกอย่างเข้มข้น เพื่อกระตุ้นยอดขายและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นการนำเสนอการดูแลการอยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตที่ดีมาตรฐานระดับโลก ภายใต้แนวคิด  'ALL IS WELL เพื่อชีวิตดีที่ยั่งยืน' พร้อมข้อเสนอโปรโมชันที่หลากหลายและตรงใจลูกค้า ควบคู่ไปกับการสื่อสารภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่เน้นความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนและคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อให้ลูกค้าไม่เพียงแต่ได้รับความคุ้มค่าจากโปรโมชัน แต่ยังตระหนักถึงคุณค่าของการอยู่อาศัยในโครงการที่ใส่ใจทุกมิติของชีวิต อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ที่เหนือระดับให้กับลูกค้า โดยการจับมือกับพันธมิตรชั้นนำ เพื่อมอบบริการระดับลักชัวรีที่ตอบโจทย์ความต้องการเพื่อการอยู่อาศัยและการลงทุน           สำหรับผลประกอบการในปี 2567 บริษัทฯ มีรายได้รวม 2,268 ล้านบาท เติบโตขึ้น 48% และมีกำไรสุทธิ 57 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของบริษัทฯ ในการดำเนินธุรกิจท่ามกลางความท้าทายของตลาด [PR News]

ถอดรหัสหุ้นแบงก์-นอนแบงก์  หลัง FED คงดอกเบี้ย

ถอดรหัสหุ้นแบงก์-นอนแบงก์ หลัง FED คงดอกเบี้ย

              หุ้นวิชั่น - บล.เอเซียพลัส เปิดมุมมองหลังการคงดอกเบี้ยของธนาคารกลางต่างประเทศข้างต้น มองเป็นกลางต่อพอร์ตสินเชื่อ ในต่างประเทศของ BBL (สัดส่วนสินเชื่อต่างประเทศ 25% แบ่งเป็น 10% ในอินโดฯ และ ประเทศอื่นๆ อีก 15%)               ส่วนทิศทางดอกเบี้ยนโยบายไทย ในมุมฝ่ายวิจัยมองว่าในช่วง 2H68 มีโอกาสลดได้อีก 1 ครั้ง อย่างไรก็ดีหากการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ช้ากว่าคาด อาจเห็นการลง ดอกเบี้ยนโยบายได้มากกว่านั้น (ตลาดเริ่มมีมองไปที่ 1.00% -1.25%)               โดยตามความเห็นของฝ่ายวิจัย ปัจจัยที่จะเปิด Downside ต่อเศรษฐกิจไทย มาจากความเสี่ยงจากสงครามการค้า และการเดินทางเข้าไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ (สัดส่วน ราว 12% ของ GDP ไทย) มาน้อยกว่าคาดการณ์ อันเป็นผลกระทบจากการชะลอตัว ของนักท่องเที่ยวจีน หลังเกิดเหตุ ซิง ซิง (จีนมาไทย 2M68 ลบ 13% YoY)               ทั้งนี้ ธ.พ. ใหญ่ 3 อันดับแรก ที่มีสัดส่วนสินเชื่อ Floating rate สูง จะรับผลจากการเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากกว่ากลุ่มฯ ได้แก่ BBL ตามด้วย KTB และ KBANK โดย BBL จะมีความสัมพันธ์กับทิศทางอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศ ในขณะที่ KTB และ KBANK มีความสัมพันธ์กับดอกเบี้ยนโยบายไทยมากสุดในกลุ่มฯ และในทางตรงข้ามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทย ที่ลดลงจะดีต่อ KKP และ TISCO รวมถึง Non – Bank(Bond yield ลง) อย่าง MTC SAWAD และ TIDLOR               ส่วน ธ.พ. ใหญ่ ยังมีความน่าสนใจเชิง PBV ต่ำและ Div Yield ราว 6% -9% เน้นตั้งรับ KTB, BBLและ TTB มองว่าการจัดการคุณภาพสินทรัพย์ของ 3 ธนาคาร ทำได้ดีกว่ากลุ่มฯ ช่วยให้การตั้งสำรองลดลง ชดเชยผลจากรายได้ที่อ่อนแอ ตามวัฎจักรดอกเบี้ย               ด้าน ธ.พ. เล็ก ชอบ TISCO มากกว่า KKP ในขณะที่ Non – Bank เลือก MTC > TIDLOR (อยู่ระหว่างปรับเป็น Holding ราคาหุ้นอาจผันผวนระหว่างดำเนินการ) > SAWAD

GULF โบรกชี้จังหวะน่าสะสม เคาะเป้า 70.25 บ.

GULF โบรกชี้จังหวะน่าสะสม เคาะเป้า 70.25 บ.

              หุ้นวิชั่น - บล.เอเซียพลัส ส่องประเด็น ขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับ 5 ที่สัดส่วน 3.25% ใน KBANK และจะจ่ายปันผลรวม 10.5 บาท/หุ้น (ประกอบด้วยปันผลประจำปี 8.0 บาท/หุ้น XD 17 เม.ย.2568 และปันผลพิเศษ 2.5 บาท/หุ้น XD 15 พ.ค.68) ในวันที่ 6 มิ.ย.2568               ฝ่ายวิจัยมองว่าจากกรณีที่ GULF ถือหุ้นจนถึงวันขึ้นเครื่องหมาย XD จะได้รับเงินปันผลราว 808.5 ล้าน บาท หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 3.8% ของคาดการณ์กำไรปกติปี 2568 ของ GULF               ทั้งนี้ GULF ชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถือหุ้นดังกล่าว โดยระบุว่าเป็น การลงทุนทั่วไปตามนโยบายของบริษัทฯ ซึ่งโดยปกติจะมีportfolio การลงทุนอยู่แล้ว โดยเห็นว่า KBANK เป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง, P/BV และ P/E อยู่ในระดับต่ำ, และมีการจ่ายปันผลต่อเนื่องที่ให้dividend yield ราว 7-8%/ปีดังนั้น การเข้าลงทุนดังกล่าวจึงมุ่งหวังผลตอบแทนจากปันผล และ upside จากราคาหุ้น KBANK ในอนาคต ทั้งนี้ GULF ได้ทยอยซื้อสะสม KBANK ตั้งแต่ช่วง4Q67               นอกจากนี้ ในส่วนของนโยบายการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน KBANK รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดโอกาส synergy ร่วมกันระหว่าง GULF และ KBANK ในอนาคต ปัจจุบัน GULF ยังไม่สามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าวได้ จึงถือเป็นประเด็นที่ยังคงต้องติดตาม               ฝ่ายวิจัยคงมูลค่าพื้นฐาน ปี 2568 ของ GULF ที่สะท้อนการควบรวมเป็น NewCo แล้ว อยู่ที่ 70.25 บาท ช่วงสั้น 1Q68 คาดกำไร ทำ New High ได้ต่อเนื่อง และระยะยาวที่เห็นการเติบโตที่แข็งแกร่ง ปัจจุบันราคาหุ้นปรับฐานลง มองเป็นจังหวะเข้าสะสมลงทุนระยะยาว               ด้านความเสี่ยงด้านนโยบายลดค่าไฟ คาดส่งผลกระทบต่อ GULF ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากมีสัดส่วนขายไฟฟ้าให้ลูกค้าอุตสาหกรรมอยู่ในระดับต่ำ ไม่ถึง 10% ของ รายได้ขายไฟฟ้าโดยรวม ทั้งนี้ GULF จะหยุดซื้อขายวันที่21 มี.ค.-2 เม.ย. 2568 และจะเปลี่ยนเป็น NEWCO โดยใช้ ชื่อเดิมว่า GULF ในวันที่ 3 เม.ย. 2568 เป็นต้นไป

ขึ้นอีกแล้ว! ราคาทองเช้าวันนี้ ทองรูปพรรณ ขายออก 49,300 บ.

ขึ้นอีกแล้ว! ราคาทองเช้าวันนี้ ทองรูปพรรณ ขายออก 49,300 บ.

           หุ้นวิชั่น – เช้าวันที่  20 มีนาคม 2568 สมาคมค้าทองคำ ได้แจ้งราคาทองคำซึ่ง ราคาปรับขึ้นลงจำนวน 4 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 ราคาปรับขึ้น 200 บาท ,ครั้งที่ 2 ราคาปรับลง 50 บาท ,ครั้งที่ 3 ราคาปรับขึ้น 50 บาท และครั้งที่ 4 ราคาปรับขึ้น 50 บาท            รวมเช้าวันนี้ "ราคาปรับขึ้น 300 บาท" โดยราคาทองแท่ง ปัจจุบันรับซื้ออยู่ที่ 48,400.00 บาท ราคาขายออกอยู่ที่ 48,500.00 บาท ส่วนราคาทองรูปพรรณ รับซื้ออยู่ที่ 47,526.60 บาท และราคาขายออกอยู่ที่ 49,300.00 บาท

GABLE ดึงเทคโนโลยี HCM เสริมแกร่ง

GABLE ดึงเทคโนโลยี HCM เสริมแกร่ง

          หุ้นวิชั่น - บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) หรือ G-Able ผู้นำด้าน Tech Enabler ของประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย หรือ PMAT จัดงานสุดเอ็กคูลซีฟ ภายใต้หัวข้อ “HR as a Growth Engine: Unlocking Business Potential Through People” ณ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก โดยมีผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรชั้นนำกว่า 20 แห่ง ร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดการขับเคลื่อนธุรกิจผ่านกลยุทธ์ด้านทรัพยากรบุคคลในครั้งนี้ ซึ่งภายในงาน ดร. ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัท จีเอเบิล ผู้นำด้าน “Tech Enabler” ของไทย ที่มีความเชี่ยวชาญด้านโครงสร้างพื้นฐานไอทีและดิจิทัลโซลูชันที่หลากหลาย รวมถึง Business Applications ที่ครบวงจรแบบ End-to-end ได้ร่วมเผยข้อมูลที่น่าสนใจ ภายใต้หัวข้อ “Driving Business Transformation through HR Leadership” ไว้ว่า “สำหรับผู้บริหารระดับสูง หัวเรือใหญ่ของแผนก HR คือ พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรและผลักดันให้เกิดการเติบโตทางธุรกิจผ่านส่วนงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการวางกลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายองค์กร การคัดสรร Talent เข้ามาร่วมงาน การสร้างคนเก่ง ไปจนถึงการสร้างทีมที่มีความคล่องตัวให้พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจอยู่ตลอดเวลา พร้อมเน้นย้ำว่า การที่ธุรกิจองค์กรสามารถพัฒนาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นกุญแจสำคัญ ในการช่วยองค์กรปรับตัวให้พร้อมรับกับคลื่นแห่งความเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจที่กำลังเข้าสู่โลกดิจิทัล (Business Transformation) ดังนั้น ฝ่ายทรัพยากรบุคคล จึงไม่ใช่เป็นเพียงแค่หน่วยสนับสนุนของธุรกิจองค์กร แต่เป็น Growth Engine สำคัญที่ช่วยสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ ซึ่งในมุมของการสร้าง Competitive Advantage ให้กับธุรกิจองค์กร การเลือกใช้ Business Application ด้าน HCM ที่มีการผสานแนวคิดเชิงกลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลภายใต้โครงสร้างองค์กรที่ซับซ้อน เข้ากับเทคโนโลยี AI, ระบบ HR Analytics รวมถึงโซลูชันต่างๆ ไว้ด้วยกัน จะเป็นการวางรากฐานที่แข็งแกร่งในการสร้างการเติบโตให้ธุรกิจในระยะยาวได้อย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล” ซึ่งงานนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการยกระดับมาตรฐานการบริหารทรัพยากรบุคคลในประเทศไทย โดย จีเอเบิล พร้อมเดินหน้าสร้างเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีที่ครอบคลุมทุกมิติความต้องการของธุรกิจองค์กรต่างๆ ในการสร้างการเติบโต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจอย่างยั่งยืนต่อไป [PR News]

ฟินันเซีย ชู 'MTC' เด่น แนะ

ฟินันเซีย ชู 'MTC' เด่น แนะ "ซื้อ" เป้าหมาย 56 บ.

                หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) คาดแนวโน้มตลาดวันนี้จะมีโอกาสแกว่ง Sideways to Sideways Up ต่อเนื่อง เข้าหาแนวต้านโซน 1,200+- จุด โดยได้รับแรงหนุนจากผลการประชุม Fed ที่นักลงทุนตอบรับในเชิงบวก โดยอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ยังคงอยู่ที่ 4.25-4.50% แต่ Dot Plot ยังสะท้อนมุมมองของ Fed ว่ายังเห็นโอกาสลดดอกเบี้ยในปีนี้อีก 2 ครั้ง แม้ประมาณการเศรษฐกิจใหม่จะปรับลดคาดการณ์การเติบโตของ GDP ลง 0.4%/0.2%/0.1% เหลือ +1.7%/+1.8%/+1.8% ในปี 2025-27 และปรับเพิ่ม Core PCE ปี 2025 ขึ้นจาก 2.5% เป็น 2.8% จากผลกระทบของนโยบายภาษีการค้าของทรัมป์ แต่ตลาดประเมินว่าอาจกระทบเพียงชั่วคราวในช่วงเปลี่ยนผ่าน และอาจไม่นำไปสู่ Recession อย่างที่กังวลในช่วงก่อนหน้า นอกจากนี้ Fed ยังปรับลดขนาด QT ลงจาก US$60,000 ล้านเหลือ US$40,000 ล้านต่อเดือน ส่งผลให้เม็ดเงินไหลกลับเข้าสินทรัพย์เสี่ยงระยะสั้น ขณะที่ Bond Yield ปรับตัวลดลง                 ส่วนปัจจัยในประเทศประเด็นหลักที่ตลาดจับตาคือ มาตรการซื้อหนี้เสียของรัฐบาลว่าจะมีรายละเอียดและความชัดเจนเมื่อไร ซึ่งหากทำได้จริงอาจทำให้เกิด Upside ต่อกำไรและ ROE ของกลุ่มธนาคาร ซึ่งจะเป็นผลดีต่อ SET ในภาพรวม เรายังคงมองว่า SET Index ที่ปรับตัวร่วงแรงราว 20% จาก High เดือน ต.ค. 24 ทำให้ Valuation ระยะกลาง-ยาวน่าสนใจ โดยเทรด PER และ PBV เพียง 12.5 เท่าและ 1.14 เท่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยช่วงก่อนโควิดอย่างมีนัยยะ ทำให้ยังมองเป็นจังหวะในการทยอยสะสม โดยยังคงชอบกลุ่ม Domestic Play ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่ากลุ่ม Global-Related Play ที่อาจถูกกระทบจากความไม่แน่นอนของประเด็นการค้าและเศรษฐกิจโลก กลยุทธ์: ยังเน้น Selective Buy หุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว ที่มีแนวโน้มกำไร 1Q25-2025 แข็งแกร่งและ Valuation ต่ำกว่าช่วงก่อนโควิดอย่างมีนัยยะ หุ้นเด่นเดือนมี.ค.: BA, BTG, CPALL, MTC, PR9 FSSIA Portfolio: BA, BBL, BTG, CPALL, MTC, NSL, PR9, SEAFCO, SHR หุ้นเด่นวันนี้: MTC แนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 56 บาท ยังคงมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มการเติบโตของกำไรปี 2025 แม้การประหยัด Funding Cost จะน้อยกว่าที่เคยประเมิน แต่การเติบโตของสินเชื่อและคุณภาพสินทรัพย์ยังสามารถจัดการได้ดีต่อเนื่อง เราคาดกำไรปกติปี 2025 ที่ 7.1 พันล้านบาท +21% y-y                 ระยะสั้นได้ Sentiment หนุนจาก Bond Yield สหรัฐฯที่ปรับตัวลดลง นอกจากนี้หาก กนง. ปรับลดดอกเบี้ยลงจาก 2% ในปัจจุบันในช่วงที่เหลือของปีนี้ จะเป็นอีก Catalyst บวกและหนุนราคาหุ้นได้ต่อเนื่อง แนวรับ 42-41.50 บาท แนวต้าน 44-44.50//46 บาท                 Fund Flow: วานนี้กระแสเงินทุนต่างชาติไหลออกจากภูมิภาคสุทธิหนาแน่นกว่าคาดที่ US$1,160 ล้าน โดยกระจุกตัวที่ไต้หวัน US$1,124 ล้าน ส่วนเกาหลีใต้ยังคงไหลเข้า US$88 ล้าน ส่วนฝั่งอาเซียนเม็ดเงินไหลออกเช่นกัน นำโดยอินโดนีเซียและเวียดนาม ประเทศละ US$55 ล้าน และมีเพียงฟิลิปปินส์ที่ไหลเข้าเล็กน้อย แนวโน้มกระแสเงินทุนคาดมีโอกาสพลิกมาไหลเข้า หลังผลการประชุม FED โดยรวมลดความกังวลเรื่อง Recession ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยังเปิดช่องลดดอกเบี้ยได้อีก 2 ครั้งปีนี้                 ประเด็นสำคัญวันนี้: (-) กลุ่มยานยนต์ ยอดผลิตรถยนต์เดือนม.ค. 2025 อยู่ที่ 1.07 แสนคัน หดตัว 24.6% y-y และคิดเป็นเพียง 7% ของประมาณการทั้งปี 2025 ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ส่วนยอดขายในประเทศลดลง 12.3% y-y หลักๆ มาจากรถกะบะ pickup และรถเพื่อการพาณิชย์ที่หดตัวอย่างมาก สะท้อนความเชื่อมั่นธุรกิจที่อ่อนแอ เรายังให้น้ำหนักการลงทุนกลุ่มนี้เป็น Underweight แม้ Valuation จะถูกก็ตาม                 (-) AH จากยอดผลิตรถยนต์เดือนม.ค. 2025 อยู่ที่ 1.07 แสนคัน หดตัว 24.6% y-y คิดเป็นเพียง 7% ของประมาณการทั้งปี 2025 คาดผลประกอบการ 1Q25 ยังชะลอตัวทั้ง q-q, y-y และคาดหวังว่าจะค่อยๆ ฟื้นตัวใน 2H25 เราปรับลดประมาณการกำไรปกติปี 2025 ลง 52% เป็นกำไรปกติปี 2025 ที่ 804 ล้านบาท +11.6% y-y ราคาเป้าหมายใหม่ 13.50 บาท ลดคำแนะนำเป็น "ถือ"                 (0) กลุ่มเครื่องดื่มชูกำลัง มาร์เก็ตแชร์เดือน ก.พ. เพิ่มขึ้น m-m ทั้งคู่ แต่ 2MTD OSP +0.3% ส่วน CBG -0.3% ดูเหมือน OSP สามารถแย่ง share จาก CBG ได้เล็กน้อย แต่ส่วนหนึ่งเพราะ CBG ยังไม่ได้ทำโปรในช่องทาง modern trade และได้กลับมาทำในเดือน มี.ค. ต้องติดตามต่อว่าจะปรับขึ้นได้ต่อหรือไม่ แม้ OSP จะมี market share ปรับขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ถือเป็นสัญญาณที่ดี แต่ยังไม่ชัดเจนว่าผลตอบรับของ M150 ฝาเหลือง 10 บาท จะเป็นเช่นไรเพราะเพิ่งทยอยกระจายสินค้าเดือน ก.พ. ดังนั้นยังต้องตามต่อในเดือน มี.ค. และ 2Q25                 (+) NSL Beef steak sandwich ได้รับการตอบรับดีมาก ปัจจุบันขายอยู่ที่ 2.5-3.0 หมื่นชิ้น/วัน ขณะที่คาดความต้องการน่าจะอยู่ที่ 5-6 หมื่นชิ้น/วัน บริษัทมีแผนจะเพิ่มกำลังการผลิตใน 1-2 เดือนข้างหน้า และตั้งเป้ารายได้ปี 2025 +16% y-y จากทุกธุรกิจ ส่วนการเข้าซื้อกิจการ PNF อาจแล้วเสร็จใน 2Q25 คาดรายได้ 1Q25 เติบโตทั้ง q-q, y-y ดีกว่าปกติและดีกว่าประมาณการของเรา ขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบทรงตัวและยังล็อกราคาซื้อชีสและเนยล่วงหน้าไว้แล้ว คงคาดกำไรสุทธิปี 2025 +11% y-y บนสมมติฐานที่ต่ำกว่าเป้าหมายของบริษัท ทำให้ประมาณการของเรามี upside ราคาเป้าหมาย 43 บาท ยังแนะนำ "ซื้อ"

KKP เปิดตัว KKP Lifecare Saving ตอบโจทย์การเงิน-ด้านสุขภาพ

KKP เปิดตัว KKP Lifecare Saving ตอบโจทย์การเงิน-ด้านสุขภาพ

                หุ้นวิชั่น -ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) จับมือ บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ "KKP Lifecare Saving" บัญชีเงินฝากที่มาพร้อมประกันโรคร้ายแรง ตอบโจทย์คนที่ต้องการทั้งผลตอบแทนทางการเงินและความอุ่นใจด้านสุขภาพในบัญชีเดียว ด้วยจุดเด่นที่ให้ความคุ้มครอง 40 โรคร้ายแรง ทุนประกันภัยสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมข้อเสนอพิเศษจากธนาคารเกียรตินาคินภัทร รับดอกเบี้ยเงินฝากสูงถึง 0.75% ต่อปี (วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 – 31 พฤษภาคม 2568)                 นายกัมพล จันทวิบูลย์  กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร กล่าวว่า “ปัจจุบันอัตราการป่วยด้วยโรคร้ายแรงของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นมะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ความเครียดและมลภาวะที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวัน โดยเฉพาะคนวัยทำงานที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้ ธนาคารจึงได้ร่วมมือกับเจนเนอราลี่ ประกันชีวิต พัฒนาผลิตภัณฑ์ KKP Lifecare Saving ขึ้นมาเพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการด้านการเงินและลดภาระทางการเงินในกรณีที่เกิดโรคร้ายแรง”                 บัญชีเงินฝากพร้อมประกันโรคร้ายแรง KKP Lifecare Saving ได้รับการออกแบบให้ตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการทั้งการออมเงินและการคุ้มครองสุขภาพ โดยการผสานข้อดีของบัญชีเงินฝากและแผนประกันสุขภาพเข้าด้วยกัน ด้วยจุดเด่น ดังนี้ คุ้มครองการเสียชีวิตทุกกรณี ตลอด 24 ชั่วโมง จำนวนเงินเอาประกันภัย 50,000 บาท คุ้มครอง 40 โรคร้ายแรง ครอบคลุมโรคที่พบบ่อย เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะไตวายเรื้อรัง วงเงินคุ้มครองสูงสุดถึง 1,000,000 บาท รับดอกเบี้ยเงินฝากสูงถึง 0.75% ต่อปี (ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 – 31 พฤษภาคม 2568 ) ไม่ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยรายปีเพิ่มเติม เพียงรักษายอดเงินฝากขั้นต่ำ 50,000 บาท วงเงินเอาประกันภัยสูงถึง 125% ของยอดเงินฝากเฉลี่ย 2 เดือน ก่อนเดือนที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคร้ายแรง สะสมดอกเบี้ยเงินฝากทุกวัน ช่วยให้เงินเติบโตโดยไม่ปล่อยเงินให้อยู่เฉย ๆ                 “KKP Lifecare Saving เป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าสำหรับผู้ที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการเงินและต้องการเพิ่มหลักประกันด้านสุขภาพ โดยเฉพาะในยุคที่ค่ารักษาพยาบาลมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การมีบัญชีเงินฝากที่ให้ดอกเบี้ยดี พร้อมกับการคุ้มครองโรคร้ายแรง จะช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจขึ้น ปลอดภัย และไร้กังวล ทั้งในวันนี้และอนาคต” นายกัมพลกล่าว                 นายอาร์ช คอลมิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ กล่าวว่า “เจนเนอราลี่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยตามความต้องการและสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดย KKP Lifecare Saving เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าธนาคารเกียรตินาคินภัทรที่ให้ความสำคัญในการวางแผนทางการเงินอย่างครอบคลุม ทั้งการออมทรัพย์และการป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพ  ธนาคารเกียตินาคินภัทรถือได้ว่าเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่สำคัญของเจนเนอราลี่ เราจึงมุ่งมั่นที่จะเสริมความแข็งแกร่งด้วยการนำเสนอประกันภัยที่ตอบโจทย์ ผ่านการคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม โดดเด่น และให้ประโยชน์ที่คุ้มค่าสำหรับลูกค้า ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักของบริษัทฯ” นายอาร์ชกล่าว                 ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารเกียรตินาคินภัทรทุกสาขา หรือ โทร. 02 165 5555

BA คาดกำไรปี 68-69 โต 27%-31% โบรกแนะซื้อปรับเป้าที่ 29.75 บาท

BA คาดกำไรปี 68-69 โต 27%-31% โบรกแนะซื้อปรับเป้าที่ 29.75 บาท

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.กสิกรไทย ระบุ BA คงคำแนะนำ Buy และปรับเพิ่มราคาเป้าหมาย (TP25F) เป็น 29.75 บาท (เดิม 28.75 บาท) จากการปรับเพิ่มกำไรปี 2025F-26F สะท้อนแนวโน้มราคาตั๋วเฉลี่ยและอัตราบรรทุกผู้โดยสารสูงกว่าคาด คาดกำไรสุทธิปี 2025F-26F โตต่อเนื่อง +10% y-y และ +8% y-y ตามลำดับ โดย BA มีจุดเด่นจากการครองเส้นทางบินหลัก (เข้า-ออกสมุย) และพึ่งพานักท่องเที่ยวจีนต่ำ ปรับกำไรปี 2025F-2026F ขึ้น 27% ถึง 31%            เราปรับเพิ่มกำไรสุทธิปี 2025F-2026F ของ BA ขึ้น 27% ถึง 31% จาก (1) ค่าใช้จ่าย SG&A ต่ำกว่าคาด และ (2) ราคาตั๋วโดยสารและอัตราบรรทุกผู้โดยสารมีแนวโน้มสูงกว่าคาด            เราปรับลดค่าใช้จ่าย SG&A ลงจากเดิม -7-8% ปรับราคาตั๋วโดยสารเฉลี่ยขึ้น 2-3% เป็น 4,186 บาท และปรับอัตราบรรทุกผู้โดยสารขึ้น 2% เป็น 82% หนุนกำไรสุทธิปี 2025F-2026F เพิ่มขึ้นเป็น 4,155 ลบ. (+10% y-y) และ 4,482 ลบ. (+8% y-y) ตามลำดับ คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้นที่ 1.98 บาท และ 2.13 บาท ตามลำดับ ประสิทธิภาพการดำเนินงานดีกว่าช่วง Pre-COVID            BA ใช้ประสิทธิภาพสินทรัพย์ดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วง Pre-COVID อัตราผลตอบแทน ROA เพิ่มจาก 0.6% (ปี 2019) เป็น 6.7% (ปี 2024) อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มจาก 7.5% (ปี 2019) เป็น 27.9% (ปี 2024)            จากกลยุทธ์ลดขนาดฝูงบินและเลือกบินเฉพาะเส้นทางบินที่มีอัตรากำไรดีเท่านั้น โดยฝูงบินลดจาก 40 ลำ (ปี 2019) เหลือ 25 ลำ (ปี 2024) หนุนอัตราบรรทุกผู้โดยสารเพิ่มจาก 68.5% (ปี 2019) เป็น 82.1% (ปี 2024) ซึ่งเราคาดว่าสถานการณ์ปี 2025F ไม่ต่างจากปี 2024 จากปัญหา Capacity Constraint ในธุรกิจการบินยังคงอยู่ คาด ROA 7.3% อัตรากำไรขั้นต้น 28.4% ราคาตั๋วเฉลี่ย 4,186 บาท และอัตราบรรทุกผู้โดยสาร 82%            เราคาดว่ากลยุทธ์บริหารสินทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นข้างต้นเป็นบวกต่อผลประกอบการ BA ในระยะยาว ฐานะการเงินแข็งแกร่ง และพึ่งพาจีนไม่มาก            BA เป็นหุ้นธุรกิจการบินที่มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง สิ้นปี 2024 อัตราหนี้สินที่มีดอกเบี้ย (หลังหักหนี้สัญญาเช่าเครื่องบิน) อยู่ที่ 0.7 เท่า มีเงินสดและเงินฝากประจำรวมกว่า 13,000 ลบ. มีเงินลงทุนในตราสารทุน (BDMS, BFS) รวมมูลค่า 18,000 ลบ.            และ BA พึ่งพานักท่องเที่ยวจีนไม่มาก โดยรายงานปี 2024 มีรายได้จากการขายตั๋วโดยสารผ่านช่องทางขายในประเทศจีน คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 5% ของรายได้จากธุรกิจสายการบิน คงคำแนะนำ Buy            เราคงคำแนะนำ Buy และปรับเพิ่มราคาเป้าหมายปี 25F เป็น 29.75 บาท (เดิม 28.75 บาท) ประเมินด้วยวิธี SOTPs ประกอบด้วย (1) ธุรกิจหลัก BA มูลค่า 17.99 บาท (2) เงินลงทุนใน BDMS 10.48 บาท (3) เงินลงทุนใน BAFS 0.24 บาท (4) เงินลงทุนใน BAREIT 1.15 บาท เทียบเท่า P/E’25F ที่ 15 เท่า (ใกล้เคียง -0.75SD ของค่าเฉลี่ยอดีต)            ปัญหา Capacity Constraint ในอุตสาหกรรมการบินยังคงอยู่ในปี 2025F หนุนราคาตั๋วโดยสารเฉลี่ยและอัตราบรรทุกผู้โดยสารสูงต่อเนื่อง และเส้นทางบินหลัก เข้า-ออกสมุย ยังมี Catalyst บวกจากการออกอากาศซีรีส์ดัง The White Lotus ของ HBO ที่มีการถ่ายทำที่เกาะสมุย รวมถึงความคืบหน้าของโครงการลงทุนพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา            อย่างไรก็ตาม BA มีข้อจำกัดในการเพิ่มกำลังการให้บริการ (เพิ่มฝูงบิน) เนื่องจากได้รับผลกระทบเชิงลบจากปัญหา Capacity Constraint ในธุรกิจการบินเช่นกัน ความเสี่ยง การแข่งขันในธุรกิจสายการบินกลับมาเร็วกว่าคาด ทำให้ราคาตั๋วโดยสารและอัตราบรรทุกผู้โดยสารต่ำกว่าคาด การเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันและอัตราแลกเปลี่ยน แผนการปรับฝูงบินใหม่ (BA อยู่ระหว่างศึกษาการปรับเปลี่ยนรุ่นเครื่องบินเพื่อรองรับนโยบายการลดการปล่อยคาร์บอนของอุตสาหกรรมการบิน) อาจทำให้ต้นทุนค่าเช่าเครื่องบินสูงกว่าคาด การลงทุนในโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ มูลค่ากว่า 290,000 ลบ.

“เที่ยวคนละครึ่ง” กระตุ้นยอด CENTEL ติดปีกรับประโยชน์

“เที่ยวคนละครึ่ง” กระตุ้นยอด CENTEL ติดปีกรับประโยชน์

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุว่า สถานการณ์อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยล่าสุด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ TAT รายงานจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในไทยสะสมระหว่างวันที่ 1 ม.ค.-9 มี.ค. 68 อยู่ที่ 7.66 ล้านคน โดยนักท่องเที่ยว 5 อันดับแรก คือ จีน มาเลเซีย รัสเซีย เกาหลีใต้ และอินเดีย (Figure 1) สร้างรายได้เข้าประเทศไปแล้ว 375,035 ล้านบาท จากตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในไทย จะเห็นว่าจีนเป็นอันดับ 1 แต่หากมองย้อนกลับไปตั้งแต่เดือน ม.ค. 67 - ก.พ. 68 จะเห็นว่านักท่องเที่ยวจีนหดตัวลง (Figure 2) ทางฝ่ายคาดในปี 68 นักท่องเที่ยวจีนมีแนวโน้มเข้ามาเที่ยวไทยน้อยลง เนื่องจาก 1)ความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยน้อยลง จากข้อมูลของสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว หรือ แอตต้า กล่าวว่าคนจีนบางส่วนยังมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินทางมาเที่ยวไทย ซึ่งอาจเกิดจากข่าวอาชญากรรม การฉ้อโกงนักท่องเที่ยว หรือความไม่มั่นใจในระบบกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายในประเทศ 2) แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน เหตุจาก 1) อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) จีน ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อ ในเดือน ก.พ. ลดลง 0.7% y-y โดยเป็นการหดตัวลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 68 ตามข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) ฉบับล่าสุด ทางฝ่ายมองว่าบ่งชี้ถึงความเสี่ยงด้านเงินฝืดที่ยังคงกดดันเศรษฐกิจจีน หากแยกองค์ประกอบอัตราเงินเฟ้อของจีน ด้านบริการลดลง 0.4% y-y การบริโภคสินค้าลดลง 0.9% y-y และ ด้านอาหารลดลง 3.3% y-y จากตัวเลขดังกล่าวจะเห็นว่าหดตัวลงในทุกด้าน สะท้อนว่าในปัจจุบันผู้บริโภคชาวจีนยังคงระมัดระวังการใช้จ่ายและมีแนวโน้มการเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศน้อยลง 3) ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีนและประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐฯ อาจทำให้เศรษฐกิจจีนได้รับผลกระทบต่อเนื่อง ส่งผลให้คนจีนลดงบประมาณการท่องเที่ยวต่างประเทศ 4) นโยบายของรัฐบาลจีนที่ต้องการกระตุ้นให้ประชาชนท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น ทำให้การเดินทางออกนอกประเทศลดลง 5) การแข่งขันจากประเทศอื่น เช่น ญี่ปุ่น เวียดนาม และจีน โดยเห็นได้จากนักท่องเที่ยวจีนที่ ก่อนหน้านี้เคยเดินทางมาไทย อาจเลือกประเทศอื่นที่ให้ประสบการณ์ใหม่ๆ แทน 6) ไทยขาดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ตอบโจทย์นักท่องเที่ยว ปัจจัยพื้นฐาน เช่น ห้องน้ำสะอาด ระบบขนส่งที่สะดวก ยังคงเป็นจุดที่ต้องปรับปรุง และ 7) พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจีนเปลี่ยนไป ซึ่งนักท่องเที่ยวจีนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับการเดินทางแบบพรีเมียมและประสบการณ์ที่มีคุณภาพมากขึ้น มากกว่าการมาท่องเที่ยวแบบกลุ่มทัวร์ราคาถูก ซึ่งไทยอาจยังไม่ได้ตอบโจทย์กลุ่มนี้ได้ดีพอ คาดปี 68 ท่องเที่ยวโต แต่ยังมีความท้าทาย          ทางฝ่ายคาดในปี 68 อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยสดใสมากกว่าปี 67 หนุนจาก 1) โครงการฟรีวีซ่า 2)การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) 3) การขยายตัวของธุรกิจ MICE (Meetings, Incentive Travel, Conventions, Exhibitions) รับแรงหนุนจากการที่บริษัทต่างชาติ กลับมาจัดงานสัมมนาและอีเวนต์ในประเทศไทยมากขึ้น 4) โครงการ “เที่ยวคนละครึ่ง” ของ TAT ที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วง 2Q68 เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในช่วงโลว์ซีซั่นระหว่างเดือน พ.ค. - ก.ย. 68 โดยมีรูปแบบคล้ายโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” แต่ภาครัฐจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพิ่มเป็น 50% และนักท่องเที่ยวจ่ายเองอีก 50% ทั้งนี้ TAT แจ้งงบประมาณราว 3,500 ล้านบาท ซึ่งในระยะแรกจะเปิดให้จอง 1 ล้านสิทธิ์เพื่อใช้ประโยชน์ในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งสามารถใช้สิทธิ์ในการจ่ายค่าโรงแรมที่พักและร้านอาหาร ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่า สามารถใช้สิทธิ์จองตั๋วเครื่องบินได้หรือไม่ และอาจมีการพัฒนาแพลตฟอร์มกลางร่วมกับบริษัทท่องเที่ยวออนไลน์ (OTA) เพื่อรองรับการจองสินค้าและบริการท่องเที่ยว รวมถึงการจองห้องพักโดยตรงจากโรงแรม คาดว่าโครงการจะเริ่มใช้งานได้ปลาย 2Q68 ถึง 3Q68 อย่างไรก็ตามทางฝ่ายมองว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยยังคงมีปัจจัยกังวลจากแนวโน้มการแข่งขันในตลาดท่องเที่ยวรุนแรงขึ้นตามความต้องการขายห้องพักของผู้ประกอบการมีเพิ่มขึ้น รวมถึงแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ตลอดจนประเด็นความไม่ปลอดภัยเรื่องการเที่ยวในไทย ทางฝ่ายคาดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในไทยในปี 68 อยู่ที่ราว 37 ล้านคน (Figure 3) ซึ่งเป็นตัวเลขที่ยังไม่ครอบคลุมจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีก่อนการระบาดของไวรัส COVID-19 แนะนำ CENTEL เป็น Top Pick ของกลุ่ม          ทางฝ่ายแนะนำ CENTEL เป็น Top Pick ของกลุ่ม ราคาพื้นฐานปี 68 ที่ 37.75 บาท หนุนจากการมีสัดส่วนรายได้จากประเทศไทยราว 80% ของรายได้ธุรกิจโรงแรม จากสัดส่วนดังกล่าวทางฝ่ายมองว่าCENTEL มีแนวโน้มรับประโยชน์จากโครงการ “เที่ยวคนละครึ่ง” ของ TAT ที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วง 2Q68 รวมถึงปัจจัยบวกจากการเปิดโรงแรมใหม่ในมัลดีฟส์เพิ่มเติม และแนวโน้มการเร่งตัวขึ้นของ อัตราการเข้าพัก (OCC) และรายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก (RevPAR) ในปีนี้ หนุนจากงาน World Expo (เดือนเม.ย. - ต.ค. 68) สำหรับรายได้จากธุรกิจร้านอาหาร ทางฝ่ายคาดเร่งตัวขึ้น y-y หนุนจากการขยายสาขาของแบรนด์หลักและการขยายแบรนด์ใหม่

กกพ. เปิดระบบออนไลน์ ให้ติดตามสถานะคำขออนุญาต พค.2

กกพ. เปิดระบบออนไลน์ ให้ติดตามสถานะคำขออนุญาต พค.2

          ดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.)ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน กกพ. ยกระดับการให้บริการโปร่งใสตามขั้นตอน ขอเชิญชวนผู้ประกอบการที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม (ใบอนุญาต พค.2) สำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ (Solar Cells) และ โซลาร์ รูฟท็อป (Solar Rooftops) เพื่อใช้สำหรับการผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ 200 – 1,000 กิโลโวลต์แอมแปร์ (kVA) สามารถใช้บริการติดตามสถานะและความคืบหน้าในการพิจารณาคำขออนุญาตผ่านช่องทางออนไลน์แบบเรียลไทม์           “ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2568  สำนักงาน กกพ. ได้เปิดช่องออนไลน์เพื่อให้บริการติดตามสถานะคำขออนุญาต พค. 2 ให้แก่ ผู้ประกอบการที่ได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาต พค.2 ต่อสำนักงาน กกพ. ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทั้งกระบวนการขออนุญาตในความรับผิดชอบสำนักงาน กกพ. และในส่วนความรับผิดชอบของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ ณ จุดๆ เดียว ” ดร.พูลพัฒน์ กล่าว           สำหรับช่องทางและขั้นตอนการตรวจสอบสถานะ สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงาน กกพ. ที่ www.erc.or.th  และเข้าไปตรวจสอบได้ที่เมนู “ติดตามสถานะ พค.2” และคลิกไปที่ “ติดตามสถานะรายโครงการ” เพื่อค้นหาสถานะโครงการ โดยจะมีข้อมูลประกอบด้วย ชื่อผู้ขอรับใบอนุญาต (ชื่อโครงการ), ที่ตั้งสถานประกอบกิจการ, ประเภทเชื้อเพลิงหรือเทคโนโลยี, ประเภทการติดตั้ง, ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง และสถานะการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนนับตั้งแต่ยื่นคำขอ           ทั้งนี้ ล่าสุด ณ วันที่ 19 มีนาคม 2568 สำนักงาน กกพ. ได้รับคำขอที่มีเอกสารครบถ้วนแล้ว รวมจำนวน 1,085 โครงการ โดย พพ. อยู่ระหว่างพิจารณาให้ความเห็น จำนวน 958 โครงการ และสำนักงาน กกพ. ได้รับความเห็นจาก พพ. แล้ว อยู่ระหว่างเสนอ กกพ. พิจารณา จำนวน 127 โครงการ

SIRI ลุ้น Q1/68 ยอดพรีเซลล์แตะ 1 หมื่นล. โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 2.34 บาท

SIRI ลุ้น Q1/68 ยอดพรีเซลล์แตะ 1 หมื่นล. โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 2.34 บาท

              หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.กสิกรไทย มีมุมมอง SIRI slightly positive ต่อ average take-up rate โครงการ condo เปิดใหม่ 8 โครงการ มูลค่ารวม 10.7 พันลบ. ที่ทำไป 38% ซึ่งถือว่าค่อนข้างดี โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า โครงการที่มี demand ต่างชาติ เช่น ภูเก็ต, พัทยา และโครงการกลุ่ม ready to move ยังมี take-up rate ที่สูงกว่าโครงการอื่น สำหรับเป้า 1Q25F presale ที่ 10.0 พันลบ. คาดทำได้ตามเป้า / มากกว่าเป้า ในขณะที่เป้า 1Q25F transfer ที่ 7.5 พันลบ. น่าจะทำได้เช่นกัน เรามอง 1Q25F เด่นที่ presale               ในขณะที่กำไรสุทธิคาดเด่นใน 2Q25F เป็นต้นไป โดยคง Norm. profit 2025F ที่ 5.25 พันลบ. (+6% y-y) ซึ่งมีโอกาสทำ record high เราคง TP25F ที่ 2.34 บาท คง BUY และเป็น top pick จากจุดเด่นเรื่องการเป็น first mover ทั้งด้าน product design, จับ trend ตลาดที่เปลี่ยนแปลงไวได้ดี และกลยุทธ์สร้าง value-added ในทำเลที่มีการโตสูง ซึ่งเป็นส่วนผลักดันให้ 2025F Norm. profit มีโอกาสทำ record high ได้ Slightly Positive view จาก average take-up rate condo ใหม่ ที่ค่อนข้างดี • Average take-up rate ของ 8 condo ใหม่ เท่ากับ 38% • 1Q25 มีแผนเปิด 8 โครงการ condo ใหม่ มูลค่ารวม 10.7 พันลบ. โดยเปิดครบแล้ว และมี average take-up rate ที่ 38% ถือว่าค่อนข้างดี ทั้งนี้บางโครงการยังเป็น เพียงเปิดแบบ soft launch ซึ่งภายหลัง official launch คาด take-up rate เพิ่มขึ้น • โครงการ condo ที่เป็น highlight ใน 1Q25 คือ The Base Chaengtalay (1.4 พัน ลบ.) และ PTY Residence Sai 1 (2.9 พันลบ.) ทำยอดขายไปที่ 71% และ 60% ตามลำดับ ซึ่งดีกว่าเป้า ทั้งนี้ PTY Residence Sai 1 ซึ่งจะมี official launch ในวันที่ 29-30 มี.ค. นี้ น่าจะมีโอกาสที่ take-up rate จะทำได้ระดับ > 80% • เป็นที่น่าสังเกตว่าโครงการที่มี take-up rate สูง จะเป็นโครงการที่มี demand ของต่างชาติ โดย The Base Chaengtalay อยู่ในภูเก็ต และ PTY Residence Sai 1 อยู่ในพัทยา ซึ่งเป็น tourist destination ที่ต่างชาติสนใจซื้อ สำหรับ down payment ของต่างชาติจะอยู่ที่ 20-30% ของมูลค่าห้อง ทำให้โอกาสทิ้ง down ค่อนข้างน้อย • ในขณะที่ 2 ใน 8 โครงการที่เปิดขายเป็นกลุ่ม ready to move คือ Vay Pothisan 2(0.4 พันลบ.) และ The Muve Pradipat (0.6 พันลบ.) โดยมี take-up rate ที่ 77% และ 46% สะท้อนว่าสินค้าแบบพร้อมอยู่ในตลาดล่าง ยังเป็นที่ต้องการของตลาด • YTD presale (as of 2 March) = 6.7 พันลบ. (15% of full-year target), YTD transfer = 3.3 พันลบ. (8% of full-year target) โดย presale ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาทำได้ดีเพราะ feedback เปิดโครงการใหม่กลุ่ม condo ทำได้ดี ในขณะที่ transfer ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมายังทำได้ค่อนข้างช้า ส่วนหนึ่งเพราะ backlog รอโอนไม่มาก และ speed การขายกลุ่ม low-rise ยังชะลอตัวต่อเนื่องมาจาก 4Q24 • เป้า 1Q25F presale ที่ 10.0 พันลบ. และเป้า 1Q25F transfer ที่ 7.5 พันลบ. โดยมีโอกาสที่ 1Q25F presale ทำได้ตามเป้า / มากกว่าเป้า ในขณะที่ 1Q25F transfer target ต่ำกว่าปกติ เพราะโอนไปมากใน 4Q24 ทั้งนี้แนวโน้ม Norm. profit 1Q25F คาดลดลง y-y, q-q แต่ extra gain ที่อาจเกิดขึ้นจากการขายที่ดินเข้าโครงการ JV น่าจะสนับสนุนให้ 1Q25F กำไรสุทธิยังอยู่ที่ราว 800-900 ลบ. ได้ • ตั้งเป้า presale ที่ 46.0 พันลบ. (+13% y-y) สัดส่วน low-rise : condo ที่ 63% : 37% ซึ่งโตทั้ง low-rise และ condo ระดับใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ในเป้า condo presale ที่ราว 17.0 พันลบ. คาดหวัง presale จากต่างชาติสูง 7.0 พันลบ. หรือราว 40% ของ condo presale target • ตั้งเป้า transfer ที่ 46.0 พันลบ. (+5% y-y) ถึงแม้ growth ต่ำเพราะฐานสูงแต่เป็นตัวเลขที่น่าจะเป็นไปได้โดยน้ำหนักการโอนคาด 1H : 2H ที่ 40% : 60% • แผนเปิดโครงการใหม่ 52.0 พันลบ. (+12% y-y) จำนวน 29 โครงการ เป็นสัดส่วน low-rise : condo ที่ 60% : 40% และเป็นกลุ่ม luxury สูงถึง 56% ทั้งนี้แผนเปิดโครงการใหม่กระจายตัว 1Q : 2Q : 3Q : 4Q ที่ 26% : 31% : 25% : 18% • เป้า % residential GPM ที่ 31.0-32.0% (Vs. KSS estimate ที่ 31.3%, Vs. 2024 % GPM ที่ 31.6%) โดย SIRI คาดว่ายังใช้ price promotion ที่มาก ตามการแข่งขันที่ยังสูง อย่างไรก็ตาม sensitivity หาก % GPM ต่ำกว่าคาดทุก 50 bps กระทบกำไรปกติลดลง 3% • Backlog ณ Feb 25 อยู่ที่ 18.1 พันลบ. (Incl. JV) โดยราว 10.2 พันลบ. มีแผนโอนใน 2025F ทำให้ secured เป้าโอนปี 2025F ที่ 24% • ปัจจุบัน SIRI มี finished stock ราว 14.7 พันลบ. ซึ่งเทียบยอดขาย / ยอดโอน ที่เฉลี่ยเดือนละ 3.4 พันลบ.+- เทียบเท่าการใช้เวลาระบาย stock 4-5 เดือน ซึ่งเป็นระดับที่ไม่น่ากังวล • Debt Capacity คาดยังบริหารจัดการได้ถึงแม้เปิดโครงการมาก โดย IBD/E ณ Dec-24 อยู่ที่ 1.5x (ลดลงจาก Dec-23 ที่ 1.7x) ในขณะที่ IBD/E ใน 2025F คาดลงมาที่ 1.4x ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการ The Standard Hotel ออกไป ซึ่งได้เงินสดกลับมาชำระคืนหนี้ ทั้งนี้ internal control ของ IBD/E อยู่ที่ 2.0x และ bank control ที่ 2.5x สำหรับ cost of debt คาดทรงตัวจากปี 2024 ที่ 4.15%-4.20% ในปี 2025F ความเห็นและคำแนะนำ • แนวโน้ม average take-up rate condo เปิดใหม่ที่ค่อนข้างดีน่าจะสนับสนุนให้ 1Q25F presale เด่น ในขณะที่ด้านกำไรสุทธิคาดเด่นใน 2Q25F เป็นต้นไป โดย i) แผนเปิดโครงการใหม่ 1Q25F มากในกลุ่ม condo ทำให้แนวโน้ม presale ดี ในขณะที่ด้านกำไรสุทธิคาด 1Q25F น่าจะเป็นไตรมาสที่กำไรสุทธิต่ำสุดรายไตรมาสของปีนี้ แต่จะทยอยดีขึ้นใน 2Q25F เป็นต้นไป ภายหลังโครงการ highlight กลุ่ม low-rise (ทำเลบางนา, กรุงเทพกรีฑา) ทยอยเปิดพร้อมโอนมากขึ้นใน 2Q25F • คงประมาณการ Norm. profit 2025F ที่ 5.25 พันลบ. (+6% y-y) ซึ่งมีโอกาสทำ record high โดยคาดตัวสนับสนุนการโตหลักมาจากแนวโน้มการโอนที่คาดโตได้ y-y • คง TP25F ที่ 2.34 บาท/หุ้น คงคำแนะนำ BUY และเป็น top pick โดยให้น้ำหนัก 1H25F ยังเด่นกว่าบริษัทอื่น ทั้งด้าน presale, transfer ในขณะที่ business direction ยัง aggressive เป็นโอกาสของเพิ่ม market share ซึ่งเป็นผลดีในระยะยาว ราคาปัจจุบัน trade ที่ PER เพียง 5.5x และมี dividend yield สูง 9.9% มองผลตอบแทนน่าสนใจ

เอเซียพลัส คัด 3 หุ้นเด่น คลิก!

เอเซียพลัส คัด 3 หุ้นเด่น คลิก!

         หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล. เอเซียพลัส ระบุว่า ติดสปริงเล็กๆ ให้ SET INDEX FED ไม่เซอร์ไพร์ส คงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 4.5% ตามตลาดคาดการณ์ นอกจากนี้ FED ชะลอการทำ QT หวังลดผลกระทบต่อตลาดการเงิน ขณะที่ทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ ในระยะถัดไป DOT PLOT คาดว่าจะเห็น FED ลด ดอกเบี้ยในปี 2568 ราว 2 ครั้ง (ลง 0.5% สู่ระดับ 4.0%) ความคาดหวังทิศทางดอกเบี้ยขาลงในปีนี้ หนุนให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงมาก ขึ้นในช่วงสั้น แต่ในระยะยาวยังต้องระวังความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะ STAGFLATION จากผลกระทบนโยบายการค้าสหัฐฯ ที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ซึ่งอาจผลักให้เงินเฟ้อขยับตัวสูงขึ้น พร้อมกับกดดันเศรษฐกิจชะลอตัวลงได้ INTERNAL FACTOR 5 เดือนแห่งความสูญสลาย          โดย SET INDEX ลงเร็วและแรงกว่า 21% จาก 1506 จุด (18/10/24) ปัจจุบันเหลือ 1189 จุด และถ้าตัด DELTA ออกเหลือ 1118 จุด แรงขายหลักๆ มาจาก PROGRAM TRADING สูงถึง -7.1 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตามเริ่มเห็นการชะลอการลดลงของ SET จากต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิในบางวัน มีโบรกเกอร์ต่างชาติเริ่มมีมุมมองบวกกับหุ้นไทยมากขึ้น และในเชิง TECHNICAL เห็น SET ตัดเส้น EMA 10 วัน ที่ชัดเจนในรอบ 3 เดือน อาจทำให้ PROGRAM TRADING ชะลอการขาย และกลับมาซื้อเพิ่มขึ้นได้ TOP PICK เลือก CCET, PLANB และ JMART

บล.กรุงไทยฯ แนะ XIAOMI80 ผลงาน Q4/67 น่าประทับใจ

บล.กรุงไทยฯ แนะ XIAOMI80 ผลงาน Q4/67 น่าประทับใจ

               หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.กรุงไทย เอ็กซ์ สปริง ระบุ Xiaomi (XIAOMI80) ผลประกอบการ Q4 ออกมาน่าประทับใจ ขณะที่มองแนวโน้มยอดขาย smartphone และ EV เติบโตได้ต่อเนื่องจากมาตรการ Trade-In ของรัฐ และการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ อย่างไรก็ตาม แนะนำเพียงซื้อเก็งกำไร หลังราคาปรับขึ้นมาซื้อขายที่ Forward PE 42x                Xiaomi เผยรายได้รวม 4Q67 เติบโต 49% YoY เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนและดีกว่าคาดโดยแบ่งเป็นรายได้ Smartphone เติบโต 16% YoY ซึ่งมาจากยอดส่งมอบสมาร์ทโฟนที่ 42.7 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 5% YoY ด้าน IoT และ Lifestyle เติบโต 52% YoY ขณะที่ EV โตมาที่ 1.67 หมื่นล้านหยวนจาก 9.7 พันล้านหยวน ในไตรมาสก่อนและดีกว่าคาด ด้านอัตรากำไรขั้นต้นปรับลดลงเป็น 20.6% แต่ดีกว่าคาด ส่งผลให้กำไรปกติเติบโต 69% YoY มาที่ 8.32 พันล้านหยวน ซึ่งดีกว่าคาด                ทั้งนี้ บริษัทปรับเป้ายอดขาย EV ปี 68 ขึ้นเป็น 350,000 คัน จาก 300,000 คัน ภายหลังผลตอบรับที่ดีจาก Xiaomi SU7 Ultra ที่เปิดตัวช่วงเดือน ก.พ.

PRM ขยายกองเรือ แนะ “ซื้อ” เป้า 10.20 บ.

PRM ขยายกองเรือ แนะ “ซื้อ” เป้า 10.20 บ.

                      หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง PRM ว่า สรุปสาระสำคัญจากประชุมนักวิเคราะห์ PRM เหตุการณ์สำคัญ ► เรือ 3 ลำที่เข้าซ่อมแซมใน Drydocking ช่วง 4Q24 ได้แก่ 1) เรือขนส่งน้ำมันขนาดใหญ่ VLCC 2) เรือกักเก็บน้ำมันดิบ FSU และ 3) เรือขนส่งและที่พักอาศัยสำหรับพนักงาน AWB ซึ่งได้ทยอยกลับมาให้บริการในช่วงเดือน ก.พ. – มี.ค. แล้ว ► PRM ได้ปลดระวางเรือ FSU ที่มีอายุการใช้งานสูงออก 1 ลำในเดือน มี.ค. ทำให้บริษัทจะรับรู้กำไรพิเศษใน 1Q25 ► บริษัทมีแผนรับเรือ FSU ใหม่ในเดือน พ.ค. 2025 และ Crew Boat ใหม่ในเดือน มิ.ย. 2025 หากเป็นไปตามแผน PRM จะมีกองเรือทั้งหมด 68 ลำ ณ สิ้นปี 2025 ► PRM มีแผนซ่อมบำรุงเรือทั้งหมด 19 ลำในปี 2025 โดยส่วนใหญ่จะเป็นเรือขนส่งน้ำมันในประเทศและเรือบริกรนอกชายฝั่ง (OSV) ► บริษัทตั้งเป้า CAPEX ปี 2025 ระหว่าง 3.0-4.5 พันล้านบาท เพื่อขยายธุรกิจขนส่งน้ำมันในประเทศและ OSV โดยจะศึกษาการลงทุนในเรือประเภทใหม่ในช่วง 2H25 แนวโน้มและการประเมิน ► คาดกำไรปกติ 1Q25 ฟื้นตัว QoQ จากการขนส่งน้ำมันในประเทศที่เร่งตัวขึ้นตามฤดูกาลท่องเที่ยวและทรงตัว YoY โดยคาดผลประกอบการจะกลับมาขยายตัวตั้งแต่ 2Q25 เป็นต้นไปจากการเพิ่มเรือใหม่ ► คาดกำไรปกติปี 2025 เติบโต 16% YoY จากการขยายกองเรือเชิงรุก คาดกำไรกลับมาขยายตัวทั้ง QoQ และ YoY ตั้งแต่ 2Q25 เป็นต้นไป ► ราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายบน PER 25 ที่ 7.0x ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี โดยคาด Dividend Yield ปี 2025 สูงถึง 7.9% ► แนะนำ "ซื้อ" ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2025 ที่ 10.20 บาท/หุ้น

ทยอยสะสม 'DUSIT' 2H25 โตเด่น - เป้า 14.50 บ.

ทยอยสะสม 'DUSIT' 2H25 โตเด่น - เป้า 14.50 บ.

              หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง DUSIT ว่า ทยอยสะสมรอการเติบโตเด่นช่วง 2H25 บริษัทคงเป้าหมายปี 2025 คาดรายได้ทั้งกลุ่มเติบโต 30-35% YoY (ฐานปี 2024 ไม่รวมรายได้จากการส่งมอบงานก่อสร้างพื้นที่ค้าปลีกของโครงการดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค (DCP) ให้กับ CPN จำนวน 3.8 พันล้านบาท) และตั้งเป้าหมาย Ebitda Margin ที่ 16-18% เป้าหมายการเติบโตของรายได้ปี 2025 แบ่งตามธุรกิจดังนี้ ธุรกิจโรงแรมคาดรายได้ +15-18% YoY จากการเติบโตของ RevPar ของกลุ่มโรงแรมเดิม โดยไม่นับรวมการเปิดให้บริการเต็มปีของโรงแรมดุสิตธานีกรุงเทพฯ ธุรกิจการศึกษาคาดรายได้ +10-12% YoY จากการเพิ่มหลักสูตรระยะสั้นและหลักสูตรที่เกี่ยวกับการโรงแรมมากขึ้น ธุรกิจอาหารคาดรายได้ +20-25% YoY เติบโตจากธุรกิจให้บริการ Catering และร้าน Bakery ธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ การก่อสร้างส่วนที่เหลือของโครงการ DCP คืบหน้าตามแผน ส่วนโครงการ Residence ตั้งเป้าหมายการขาย 95% และเริ่มโอนกรรมสิทธิ์ช่วงปลายปี 2025 ปัจจุบันโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ในโครงการ DCP เปิดให้บริการ 90% ของพื้นที่ (สิ้นปี 2024 เปิด 70%) บริษัทตั้งเป้าหมายแบบอนุรักษ์นิยมทั้งปี 2025 Occ. Rate อยู่ที่ 56% และ ADR เฉลี่ยที่ 1.2 หมื่นบาท/คืน (+8-10% YoY) หรือคิดเป็น RevPar ราว 6.6 พันบาท/คืน ต่ำกว่าประมาณการของเราราว 8% อัพเดทการก่อสร้างโครงการ DCP ปัจจุบันเป็นไปตามแผน               Residence ขายไปแล้วกว่า 88% คาดจะขาย 95% และเริ่มโอนกรรมสิทธิ์ได้ภายในสิ้นปี 2025 พื้นที่ค้าปลีกและอาคารสำนักงานคาดเปิดให้บริการในเดือน ส.ค. 2025 (ยอดจองล่วงหน้า 80% และ 40% ตามลำดับ) บริษัทแจ้งตลาดเรื่องการพัฒนาโครงการ Residences แห่งใหม่เป็น Segment ระดับ High-end มูลค่าโครงการราว 2 พันล้านบาท บนที่ดินติดกับโรงแรมดุสิตธานีหัวหิน โดยจะเริ่มขาย 2Q25 ก่อสร้างภายในปี 2026 และเริ่มรับรู้รายได้ 1Q28 Our Take               เรามีมุมมองเป็นกลางหลังการประชุม Guidance ปี 2025 ของบริษัทและพัฒนาการของโครงการ DCP ยังเป็นไปตามคาดการณ์ก่อนหน้า ทำให้เราคงคาดการณ์กำไรปกติปี 2568-2569 ที่ 520 ล้านบาท และ 1.8 พันล้านบาท (+244% YoY) ตามลำดับ การเติบโตหนุนจาก 1) การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และ 2) ผลบวกของโครงการ DCP โดยเฉพาะใน 2H25 หลังผ่านช่วง Ramp-up โรงแรมใหม่ การเปิดโครงการ DCP เต็มรูปแบบ และการเริ่มโอนกรรมสิทธิ์ Residence ช่วงปลายปี               เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” และคงราคาเหมาะสม 14.50 บาทต่อหุ้น ราคาหุ้น YTD ปรับตัวลง 17% ใกล้เคียงกับการปรับฐานของ SET Index -16% ปัจจุบันหุ้นซื้อขายบน PER 25 ที่ 14x เราประเมินว่า Valuation ไม่แพงแล้ว แนะนำสะสมสำหรับนักลงทุนที่สามารถลงทุนในระยะกลาง-ยาว ความน่าสนใจของหุ้นจะอยู่ในช่วง 2H25 ตามการ Turnaround จากการรับรู้รายได้รอบใหญ่จากโครงการ DCP

บล.หยวนต้า แนะ TENCENT80 ผลงาน Q4/67 ดีเกินคาด-กำไรปี 68 โตต่อ

บล.หยวนต้า แนะ TENCENT80 ผลงาน Q4/67 ดีเกินคาด-กำไรปี 68 โตต่อ

                หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.หยวนต้า ระบุ Tencent รายงานผลประกอบการไตรมาส 4/67 โดยรายได้เติบโตขึ้น 11% YoY สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 66 เป็นจำนวน 1.72 แสนล้านหยวน (2.38 หมื่นล้านเหรียญ) ดีกว่าที่ตลาดคาด 1.69 แสนล้านหยวน ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 5.13 หมื่นล้านหยวน (+90% YoY) ดีกว่าคาดที่ 4.63 หมื่นล้านหยวน โดยหลักได้แรงหนุนจากธุรกิจเกมภายในประเทศที่เติบโตเด่น 23% YoY เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการเล่นเกมในจีนเมื่อปีที่แล้ว ขณะที่ธุรกิจเกมในต่างประเทศก็เติบโตได้ดีที่ระดับ 15% YoY                 ส่วนธุรกิจอื่นๆ เช่น ธุรกิจโฆษณาออนไลน์เติบโต 17% YoY และธุรกิจคลาวด์เติบโต 3% YoY หลังจากรายงานผลประกอบการออกมาดี บริษัทก็ได้ประกาศแผนซื้อหุ้นคืนมูลค่า 8 หมื่นล้านฮ่องกงดอลลาร์ หรือประมาณ 1 หมื่นล้านเหรียญ                 ค่าใช้จ่ายลงทุน (CapEx) ของ Tencent ในปี 67 อยู่ที่ 7.68 หมื่นล้านหยวน เพิ่มขึ้นถึง 3.2 เท่าจากปีก่อนหน้านี้ ซึ่งบริษัทระบุว่าส่วนหนึ่งนำไปใช้กับเซิร์ฟเวอร์และหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) สะท้อนการลงทุนในด้าน AI ของบริษัทที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก และน่าจะเป็น Growth Driver ที่สำคัญในอนาคต                 แนวโน้มปี 68 Bloomberg Consensus คาดกำไรสุทธิเติบโตต่อ 7% YoY หนุนจากการเติบโตในทุกธุรกิจหลัก โดยแม้ Bloomberg จะประเมินราคาเป้าหมาย ณ สิ้นปีที่ 540 ฮ่องกงดอลลาร์ต่อหุ้น ทำให้ไม่มี Upside แล้วเมื่อเทียบกับราคาปิดที่ผ่านมา แต่ยังมีโอกาสถูกปรับเพิ่มประมาณการได้อีกหลังจากที่รายงานผลประกอบการดีเกินคาด

KTC ยอดช็อปโค้งแรกโตสนั่น Easy E-Receipt หนุน - เป้า 50 บ.

KTC ยอดช็อปโค้งแรกโตสนั่น Easy E-Receipt หนุน - เป้า 50 บ.

               หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด ระบุถึง KTC ว่า KTC รายงานกำไรสุทธิปี 24 เท่ากับ 7.39 พันล้านบาท +2%YoY หนุนจากการโอนกลับหนี้สงสัยจะสูญภายในปีที่ 1.8 พันล้านบาท (เทียบกับปีก่อนที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายราว 970 ล้านบาท) แต่ทั้งนี้ภาพรวมของผลขาดทุนทางด้านเครดิต +15%YoY จากการเพิ่มขึ้นใน ECL ของสินเชื่อบุคคล จาก 9.9% เป็น 11.5% ของรายได้รวม จากการขยายตัวของสินเชื่อบุคคล โดยเฉพาะสินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ที่ +31.8%YoY ส่วนสินเชื่อบัตรเครดิต -0.7%YoY ลดลงเล็กน้อยจากอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้น และการหยุดปล่อยสินเชื่อลูกหนี้สัญญาเช่า -33.8%YoY ส่งผลให้สินเชื่อทั้งปี -1.1%YoY จากความต้องการสินเชื่อที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าและหนี้ภาคครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ด้าน NPLs ratio อยู่ที่ 1.95% และมี NPL coverage อยู่ในระดับสูงที่ 369.3% โดยลูกหนี้ S2 และ S3 ลดลง ขณะที่ credit cost ปรับตัวขึ้นเป็น 6.1% จากปีก่อนที่ 5.2% ตามนโยบายการตัดหนี้สูญเพิ่มขึ้น ประกาศจ่ายปันผล 1.32 บาท คิดเป็น Div. yield ที่ 2.8% ขึ้น XD 17 เม.ย. แนวโน้ม 1Q25F เติบโตแข็งแกร่ง                แนวโน้ม 1Q25F คาดว่าจะขยายตัวทั้ง QoQ และ YoY โดยได้ประโยชน์จากมาตรการ Easy E-Receipt ช่วยเพิ่มยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต โดยหมวดที่มียอดการใช้จ่ายปรับตัวขึ้นได้แก่หมวดวาไรตี้สโตร์ เช่น การช้อปปิ้งผ่านช่องทางออนไลน์, บริการสั่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึงรับอาสงค์จากสิทธิพิเศษของร้านค้าที่มีการผ่อน 0% เช่นในหมวดเทเลคอม หรือ โทรศัพท์มือถือ ส่งผลให้ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเป็นไปตามเป้าทั้งปีที่ +10% ส่วนพอร์ตสินเชื่อทั้งหมดจะขยายตัว 4-5% ได้แรงหนุนจาก KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ส่วน NPLs ratio ตั้งเป้าให้ไม่เกิน 2% พร้อมแนวโน้มการตั้งสำรองและค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่ลดลงพันล้านบาท +7%YoY                โดยในปี 25F เราคาดสินเชื่อจะขยายตัว 4% ผ่านยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต +10% สินเชื่อ KTC Proud +3% และสินเชื่อพี่เบิ้ม รถแลกเงิน ปล่อยใหม่ราว 3 พันล้านบาท ด้าน NIM คาดว่าจะทรงตัวจากปีก่อนที่ 13% จากการปรับสัดส่วนสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อจดทะเบียนมากขึ้น ช่วยชดเชย CoF ที่สูงขึ้น                ด้านคุณภาพลูกหนี้คาดว่าจะควบคุมได้ดีขึ้นจากการเน้นกลุ่มลูกค้าบัตรเครดิตระดับบนที่มีวินัยการชำระหนี้ดี โดยคาด NPLs ratio ที่ 1.9% และ Credit cost ที่ 5% ลดลงจากปีก่อนที่ 6.1% ขณะที่ C/I มีโอกาสปรับขึ้นสู่ระดับ 37.5% (ปีก่อนที่ระดับ 35%) เนื่องจากมีการลงทุนในระบบ IT เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน                เราขอแนะนำ “ถือ” โดยมีราคาเป้าหมายเท่ากับ 50.00 บาท อิง PBV 2.95 เท่า ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี – 1 SD โดย upside ปัจจุบันเริ่มจำกัดจาก ROE ที่ยังอยู่ในแนวโน้มขาลงจากการเพิ่มขึ้นของ Equity ที่มากกว่ากำไรสุทธิ ซึ่งเราคาดการณ์กำไรสุทธิในปี 25-27F มีการเติบโตเพียง 5% CAGR แต่ทั้งนี้ตลาดติดตามผลบวกจากมาตรการคุณสู้เราช่วย และ sentiment บวกจากแนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย ปัจจัยเสี่ยง: ภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบาง, คุณภาพลูกหนี้ที่อ่อนแอ, แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาลง, มาตรการจากทางการ ประเด็นที่มีนัยยะสำคัญด้านความยั่งยืน: การต่อต้านการคอร์รัปชั่นและการติเสินบน (G), นวัตกรรมดิจิทัล (G), การกำกับดูแลกิจการ (G)

BH ราคาน่าสะสม - เช็กเลย!

BH ราคาน่าสะสม - เช็กเลย!

                 หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด ระบุถึง BH ว่า การดำเนินงานปีนี้มีความเสี่ยงไม่ฟื้นตัว แต่ราคาน่าสะสม ► ผู้บริหารมองแนวโน้มรายได้จากผู้ป่วยต่างชาติชะลอลง แต่จะได้รับปัจจัยบวกจากการปรับค่าบริการขึ้นเฉลี่ยทั้งปีที่ 4% ขณะที่แผนการเปิดโรงพยาบาลที่ภูเก็ตถูกเลื่อนไปเป็นช่วง 1H70 จากความล่าช้าของการขออนุมัติ EIA ► คาดรายได้จากกิจการโรงพยาบาลปีนี้ที่ 25,448 ล้านบาท (-1.1%) และระดับ GPM ที่ 51.0% ลดลงจากปีก่อนที่ 51.4% ขณะที่กำไรสุทธิคาดว่าจะอยู่ที่ 7,596 ล้านบาท (-2.3%) ► แนวโน้ม 1Q68 คาดรายได้มีโอกาสปรับตัวลงทั้ง QoQ จากปัจจัยฤดูกาล และ YoY จากการชะลอลงของรายได้ผู้ป่วยต่างชาติ โดยเฉพาะรายได้จากผู้ป่วยชาวคูเวตและ UAE และการเข้าสู่ช่วงรอมฎอนที่เร็วกว่าปีก่อนราว 10 วัน ► เราแนะนำ "ซื้อ" สำหรับ BH ที่ราคาเหมาะสม 215 บาท/หุ้น อิง PER ที่ 22.5 เท่า ซึ่งเป็นระดับ PER เฉลี่ยของปีนี้ Earning review                  บริษัทรายงานงบ 4Q67 เท่ากับ 1,903 ล้านบาท (+10.6% YoY) โดยมีรายได้จากกิจการโรงพยาบาลเท่ากับ 6,452 ล้านบาท (-0.7% YoY) โดยการลดลงของรายได้จากผู้ป่วยต่างชาติ 5.8% และรายได้จากผู้ป่วยไทยเพิ่มขึ้น 10.2% ส่งผลให้สัดส่วนรายได้ผู้ป่วยต่างชาติต่อผู้ป่วยไทยอยู่ที่ 64.5 : 35.5 เทียบกับงวดเดียวกันปีก่อนที่ 68.0 : 32.0 ด้านต้นทุนกิจการโรงพยาบาลอยู่ที่ระดับ 50.5% ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 51.3% ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้น 0.9% YoY โดยหลักมาจากค่าใช้จ่ายการตลาดที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ทั้งปีรายงานกำไรสุทธิ 7,775 ล้านบาท (+11.0% YoY) และรายได้กิจการโรงพยาบาล 25,634 ล้านบาท (+1.3% YoY) Outlook                  แนวโน้มปีนี้คาดว่าจะมีความท้าทายจากรายได้ผู้ป่วยต่างชาติที่ชะลอลง โดยยังไม่เห็นสัญญาณการกลับมาของผู้ป่วยชาวคูเวตและ UAE ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะได้รับปัจจัยบวกจากการปรับค่าบริการขึ้นเฉลี่ย 4% ขณะที่แผนการเปิดโรงพยาบาลที่ภูเก็ตจะล่าช้าไปอีก 6 เดือนจากเดิม                  คาดรายได้จากกิจการโรงพยาบาลปีนี้จะอยู่ที่ 25,448 ล้านบาท (-1.1%) และกำไรสุทธิจะอยู่ที่ 7,596 ล้านบาท (-2.3%) ขณะที่แนวโน้มใน 1Q68 คาดรายได้จะปรับตัวลงทั้ง QoQ และ YoY จากการชะลอลงของรายได้ผู้ป่วยต่างชาติ โดยเฉพาะการลดลงของรายได้จากผู้ป่วยชาวคูเวตและ UAE และผลกระทบจากการเข้าสู่ช่วงรอมฎอนที่เร็วกว่าปีก่อนราว 10 วัน                  เราแนะนำ “ซื้อ” สำหรับ BH ที่ราคาเหมาะสม 215 บาท/หุ้น อิง PER ที่ 22.5 เท่า ซึ่งเป็นระดับ PER เฉลี่ยของปีนี้ (หรือเท่ากับ PER ย้อนหลัง 1 ปี – 1.50 s.d.) ซึ่งสะท้อนมุมมองต่อภาวะเศรษฐกิจที่ค่อนข้างมีความอ่อนไหวและปัจจัยลบต่อรายได้ผู้ป่วยต่างชาติไปพอสมควรแล้ว ทั้งนี้ แม้ว่าปีนี้ผลการดำเนินงานมีโอกาสไม่เติบโตต่อจากปีก่อน แต่ด้านราคามองว่ายังน่าซื้อสะสม ปัจจัยเสี่ยง ความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ และการชะลอตัวลงของผู้ป่วยชาวคูเวตและ UAE ประเด็นที่มีนัยยะสำคัญด้านความยั่งยืน การกำกับดูแลองค์กร, คุณภาพการให้บริการและความปลอดภัยของผู้ป่วย, และการพัฒนาศักยภาพและรักษาทรัพยากรบุคคล

'BAM' ผลงานเกินคาด - เช็กเป้าด่วน!

'BAM' ผลงานเกินคาด - เช็กเป้าด่วน!

              หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด คาด แนวโน้ม SET Index แกว่งตัว Sideway ในกรอบ 1,180-1,200 จุด โดยขานรับเฟดคงดอกเบี้ยที่ระดับ 4.25% - 4.50% ส่วนในการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) เจ้าหน้าที่เฟดส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% รวม 0.50% ในปีนี้ ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากรายงาน Dot Plot เมื่อ 3 เดือนที่แล้ว นอกจากนี้ยังได้ปรับคาดการณ์ GDP ลงเป็น +1.7% (เดิม +2.1%) และปรับเพิ่มเงินเฟ้อเป็น +2.8% (เดิม +2.5%) ขณะเดียวกันเฟดยังคงประเมินผลกระทบของมาตรการภาษีศุลกากรของทรัมป์ ที่จะมีต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ด้านถ้อยแถลงของพาวเวลได้สร้างความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ หนุนให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้น ทั้งนี้จับตาการใช้มาตรการภาษีศุลกากรของทรัมป์ หลังจากที่เขาประกาศว่าจะบังคับใช้มาตรการภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) ในวันที่ 2 เม.ย.นี้ ด้าน BoJ คงดอกเบี้ยตามคาด โดยกำลังประเมินผลกระทบของมาตรการตอบโต้ทางภาษี               ด้านปัจจัยในประเทศ คาดหวังนักลงทุนสถาบันโอกาสที่จะเข้ามาทำ Window Dressing จาก performance ของ SET Index ที่ปรับตัวลงกว่า 15% YTD รวมถึงเป็นโอกาสในการเข้าซื้อสะสมหุ้นเพื่อรับปันผลในช่วงเม.ย.-พ.ค. ส่วนในเชิง valuation ราคาปัจจุบันซื้อขายบน PBV ที่ 1.12 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง -2.5 SD และ EYG สูงกว่า 6% ใกล้เคียงช่วงโควิด-19 ทำให้ดาวน์ไซด์จำกัดแล้ว แนะนำทยอยสะสมหุ้นใน SET50 เราชอบ AOT, BEM, CPALL, CPAXT, CRC, PTT, OSP, WHA ติดตาม : การประชุม BoE (คาดคงดอกเบี้ย)               Stock pick : BAM มีแนวโน้มเติบโตมากกว่าตลาดคาด เป้าเชิงกลยุทธ์ที่ 7.20 บาท               BAM รายงานกำไรสุทธิในไตรมาส 4 ปี 2564 (4Q24) เท่ากับ 523 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 162.8% QoQ และ 13.9% YoY โดยบริษัทสามารถจัดเก็บหนี้ NPLs ได้สูงสุดในปีที่ 2.3 พันล้านบาท (+7.6% QoQ) จากการฟื้นตัวของภาคธุรกิจและการลงทุนภาครัฐ ส่วนเงินรับจากการขาย NPAs เท่ากับ 1.9 พันล้านบาท (+53.4% QoQ) โดยเฉพาะยอดขายประเภทที่อยู่อาศัย จากแคมเปญการตลาดที่คึกคักเช่น "BAM โปรผ่อนที่ร้อนแรงที่สุดแห่งปีดอกเบี้ย 0% 2 ปีแรก" และ "BAM for Thai Heroes" แม้ว่าราคาขายต่อราคาประเมินทรัพย์เฉลี่ยลดลงจาก 88.6% มาเป็น 84.3% แต่บริษัทก็ยังมีผลประกอบการที่แข็งแกร่ง               ทั้งนี้ BAM ยังรับอานิสงส์จากการลดลงของค่าใช้จ่ายการตั้งสำรอง ในขณะที่กำไรสุทธิทั้งปี 2564 อยู่ที่ 1.6 พันล้านบาท (+4.4% YoY) ดีขึ้นจากการเร่งติดตามลูกหนี้และการบังคับคดี นอกจากนี้ บริษัทประกาศจ่ายปันผล 0.35 บาท/หุ้น คิดเป็น Div. yield 5.4% ขึ้น XD วันที่ 25 เมษายน 2568               ในเชิงคาดการณ์ เป้าหมายปี 2565 คาดว่าจะมี Cash collection ที่ 1.78 หมื่นล้านบาท (+13% YoY) โดยมีการตั้งเป้าหมายเพิ่มการขายในกลุ่ม NPAs ส่วนในเชิง sentiment บริษัทจะได้รับประโยชน์จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท.ลง 0.25% สู่ระดับ 2% ซึ่งหนุนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์               การประเมินมูลค่า: บริษัทซื้อขายบน PE ที่ 12.3 เท่า ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยย้อนหลัง (20.2 เท่า) – 1.0 SD โดย Bloomberg consensus คาดกำไรสุทธิปี 2565-2566 ที่ 1.68 พันล้านบาท (+1% YoY) และ 1.88 พันล้านบาท (+13% YoY) ตามลำดับ โดยมีราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 6.74 บาท แนวรับ: 6.50/6.15 ไม่ควรต่ำกว่าลงมา แนวต้าน: 6.80/7.20/8.00

CPAXT เด่นสุดในกลุ่ม Commerce รับอานิสงส์ควบรวม-แจกเงินสด

CPAXT เด่นสุดในกลุ่ม Commerce รับอานิสงส์ควบรวม-แจกเงินสด

                 หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุว่า เข้าสู่เฟสที่กำไรกลับมาโตในระดับปกติ Event: อัปเดตแนวโน้มกลุ่ม Commerce Impact: ภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย                  ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยอาจทำให้กำลังซื้อลดลง แม้ว่าภาวะการจับจ่ายใช้สอยจะดีขึ้น จากข้อมูลของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สี่แตะ 59.0 ในเดือนมกราคม แต่ลดลงมาอยู่ที่ 57.8 ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 66.9 ขณะเดียวกัน นักเศรษฐศาสตร์ของ KGI คาดว่า GDP ของประเทศไทยและการบริโภคจะยังขยายตัวต่อเนื่อง แม้จะโตในอัตราที่ชะลอลง โดยคาดว่า GDP ปี 2568F จะขยายตัว 2.6% YoY (จาก 2.5% YoY ในปี 2567) ในขณะที่คาดว่าการบริโภคจะขยายตัว 2.7% YoY (จาก 4.4% YoY ในปี 2567) ทั้งนี้ ประมาณการของเราได้รวมผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดล่าสุดของรัฐบาล เช่น Easy e-Receipts และ การแจกเงินเฟส 3 ไว้แล้ว การแข่งขันเพิ่มขึ้น และภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้อทำให้กำไรกลับมาโตในระดับปกติ                  เราคาดว่ากำไรของบริษัทในกลุ่ม Commerce ที่เราศึกษา ได้แก่ CPALL, CPAXT, CRC, DOHOME, GLOBAL และ HMPRO จะเติบโตในระดับเลขตัวเดียวสูง ๆ เนื่องจาก                  ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย (SSSGs เป็นเลขตัวเดียวระดับกลางถึงต่ำ)ประสิทธิภาพในการดำเนินงานลดลงจากฐานกำไรความเสี่ยงจากการแข่งขันที่อาจรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะในหมวดสินค้าฟุ่มเฟือยจากการมีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาในตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาจมีการขยับช่วง PER ลง                  เนื่องจากกำไรมีแนวโน้มกลับมาเติบโตในระดับปกติ อาจทำให้เกิดการ de-rate PER โดยปัจจุบันช่วง PER ยังคงสูง เนื่องจากอิงกับอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งในอดีต รายได้ของหุ้นกลุ่มนี้ในภูมิภาคน่าจะโตระดับเลขตัวเดียวกลาง ๆ ขณะที่กำไรสุทธิคาดว่าจะโตในระดับเลขตัวเดียวสูง ๆ หรือสิบต้น ๆ                  QTD SSSG ของ กลุ่มสินค้าจำเป็น (consumer staple) อยู่ที่ บวกเลขตัวเดียวต่ำ ๆ ในขณะที่ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย (consumer discretionary) มี SSSG ติดลบระดับเลขตัวเดียวต่ำ ๆ ถึงกลาง ๆ (ยกเว้น DOHOME ที่มี SSSG บวกเลขตัวเดียวต่ำ ๆ) เราให้ premium เล็กน้อยกับหุ้นที่ขายสินค้าจำเป็น เนื่องจากมีผู้เล่นในตลาดน้อย โดยกำหนดช่วง PER ดังนี้ CPALL: 25x (ค่าเฉลี่ยในอดีตของหุ้นกลุ่มนี้ในตลาดโลก +0.25 S.D.) เพื่อสะท้อนสถานะผู้นำธุรกิจร้านสะดวกซื้อ CPAXT: 28x (ค่าเฉลี่ยในอดีตของหุ้นกลุ่มนี้ในตลาดโลก +1.0 S.D.) เพื่อสะท้อนอานิสงส์จากการควบรวม HMPRO: 18x (ค่าเฉลี่ยในอดีตของหุ้นกลุ่มนี้ในตลาดโลก) เพื่อสะท้อนกำไรที่คาดว่าจะโตในระดับปกติและความเสี่ยงจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น CRC: PER เฉลี่ย 23x (22.0x สำหรับหมวดแฟชั่น, 26.0x สำหรับหมวดอาหาร, และ 18.0x สำหรับหมวด Hardline) DOHOME และ GLOBAL: ใช้ช่วง PER เฉลี่ยของทั้งสองบริษัท เนื่องจากรูปแบบกำไรผันผวน โดย DOHOME ใช้ PER 30x และ GLOBAL ใช้ PER 21x Valuation & Action                  แม้จะมีการปรับลดช่วง PER เพื่อสะท้อนแนวโน้มกำไรที่โตในระดับปกติ แต่ราคาหุ้นยังคงมี upside อยู่ นอกจากนี้ ผู้เล่นในกลุ่มสินค้าจำเป็นน่าจะได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เรายังคงให้น้ำหนักหุ้นกลุ่ม Commerce ที่ "มากกว่าตลาด" โดยเลือก CPAXT เป็นหุ้นเด่นในกลุ่ม เนื่องจากได้อานิสงส์จากการควบรวม มีโอกาสได้รับผลบวกจากมาตรการ “แจกเงินสด” ของรัฐบาล เราจึงแนะนำ "ซื้อ" CPAXT พร้อมให้ราคาเป้าหมายสิ้นปี 2568F ที่ 32.50 บาท

UOBKH แนะนำ ‘ซื้อ’ OKJ เป้า 10.50 บ. - กำไรโต 27%

UOBKH แนะนำ ‘ซื้อ’ OKJ เป้า 10.50 บ. - กำไรโต 27%

               หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น บริษทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์ เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุว่า UOBKH : OKJ (Initial BUY, [email protected])_ฝ่ายวิจัยเริ่มต้น coverage OKJ ด้วยคำแนะนำ ซื้อ                ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกต่อหุ้น OKJ โดยคาดราคาหุ้นที่ปรับฐานเป็นโอกาสในการเข้าลงทุน หนุนจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ 1) ราคาหุ้น OKJ ปรับตัวลดลง 45% YTD จากความกังวลกำไร 4Q24 ที่หดตัว กดดันจากทั้ง SSSG drop 1.1% yoy และ NPM ลดลงมาเพียงระดับ 5.7% (VS ปี 2023-24 ที่ 8-8.5%) และดูตลาดยังไม่ buy idea core profit ที่ OKJ ชี้แจง (one-off จากน้ำท่วม, IPO, marketing, Pre-opening expenses) อย่างไรก็ตาม จากที่เรา channel check ช่วง Jan - Feb 25 เรามองเห็น momentum ที่ฟื้นตัวดีขึ้น SSSG กลับมาเป็นบวก low single และ GPM ที่จะกลับมายืนเหนือ 45% ได้ (GPM +1-2% qoq) คาดหนุน NPM กลับสู่ระดับเดิมได้ +/-9% คาดกำไรราว 55-60 ลบ. ในงวด 1Q25                2) คาดกำไรปี 2025 ยังเติบโตแข็งแกร่ง ระดับ 27% yoy (และประเมิน CAGR 2025-27 ที่ 23% ต่อปี) หนุนจากแนวโน้ม SSSG ที่กลับเติบโต และการขยายสาขาใหม่ต่อเนื่อง ของทั้ง OKJ และ Oh! juice ประกอบกับ NPM ที่ฟื้นตัวดีขึ้น จากทั้ง GPM ฟื้นตัว และค่าใช้จ่าย Brand admirer ที่รับรู้ไปแล้ว นอกจากนี้ จะมีสีสันเพิ่มเติมในช่วง 2Q25 จากเตรียมเปิดตัวร้านไก่ทอด แตกไลน์จากเมนูฮิตในร้าน (leverage จากฐานร้าน OKJ เดิม)                3) Strong Brand position ต้องยอมรับว่าถ้าพูดถึงร้านอาหารเพื่อสุขภาพ เราประเมิน OKJ position ปัจจุบันถือเป็นหนึ่งใน Top of mind ที่เหนือกว่าคู่แข่งในอุตสาหกรรม Healthy restaurants จึงเชื่อว่าจากแนวโน้มกระแสรักสุขภาพ + สังคมสูงวัย จะเป็นลมหนุนต่อการขยายธุรกิจของ OKJ ได้ในระยะยาว                ภาพรวมจากกำไร 1Q25 ที่เห็นการฟืันตัวสู่ระดับความคาดหวังเดิม ประกอบกับ แนวโน้มกำไรปี 2025 คาดยังเติบโตสูง 27% พร้อม Valuation ที่ถูกลง PE'25 19.7x, PEG'25 0.7x เรามองการปรับฐานที่ผ่านถือเป็น healthy correction และยังมองราคาปัจจุบันน่าสนใจเข้าลงทุน จึงเริ่มต้นบทวิเคราะห์ OKJ ด้วยคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 10.5 บาท

เศรษฐกิจดิจิทัล 4.85 ล้านล้านบาท หุ้นสื่อสาร - Digital Tech บูม

เศรษฐกิจดิจิทัล 4.85 ล้านล้านบาท หุ้นสื่อสาร - Digital Tech บูม

            หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) ระบุว่า รมว.ดิจิทัลเผย คาดการณ์เศรษฐกิจดิจิทัลปี 2568 จะมีมูลค่ารวม 4.85 ล้านล้านบาท เติบโต 7.3% y-y โดยการลงทุนขยายตัว 9.9% y-y นำโดยภาคเอกชนที่เติบโต 10.3% y-y ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนในด้านดิจิทัลคาดว่าจะขยายตัว 7.6% y-y ส่วนการบริโภคภาครัฐในด้านดิจิทัลคาดโต 4.3% y-y ปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจากกระแส Digital Transformation และการนำ AI เข้ามาต่อยอดนวัตกรรมทางธุรกิจ ประเมินว่าข้อมูลดังกล่าวส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มสื่อสาร เช่น ADVANC, TRUE รวมถึงหุ้นกลุ่ม Digital Tech Consult เช่น BE8, BBIK

SCB คาดค่าเงินบาทวันนี้ กรอบ 33.45-33.70 บ./ดอลลาร์

SCB คาดค่าเงินบาทวันนี้ กรอบ 33.45-33.70 บ./ดอลลาร์

            หุ้นวิชั่น - กลุ่มงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 33.45-33.70 บาท/ดอลลาร์ ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หลังธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 25-4.50% ตามคาด คงระดับ Median dot plot ไว้เท่าเดิม ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจลง เงินเฟ้อขึ้น ทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ธนาคารกลางญี่ปุ่นคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 50% และส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยอีกภายในครึ่งแรกของปีนี้ รายงานการประชุม กนง. ชี้ว่าเศรษฐกิจไทยโตต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้ แต่การลดดอกเบี้ยไม่ใช่จุดเริ่มต้นของวัฐจักรการผ่อนคลายนโยบาย และสามารถรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าได้

หนี้ลดแต่ยังน่าห่วง!  พาณิชย์เผยหนี้ประชาชนลดลงเล็กน้อย

หนี้ลดแต่ยังน่าห่วง! พาณิชย์เผยหนี้ประชาชนลดลงเล็กน้อย

                นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เดือนกุมภาพันธ์ 2568 จำนวน 6,291 ราย ซึ่งครอบคลุมประชาชนทั่วประเทศ เกี่ยวกับภาระหนี้สินของประชาชน ผลการสำรวจพบว่า สถานการณ์หนี้สิน ของประชาชนดีขึ้นเล็กน้อยจากผลสำรวจปี 2566 และมีการลดลงของภาระหนี้นอกระบบ อย่างไรก็ตาม จากผลการสำรวจพบว่า กลุ่มอาชีพพนักงานของรัฐ เกษตรกร และพนักงานเอกชน ยังเป็นกลุ่มอาชีพหลักที่มีสัดส่วนกลุ่มที่มีภาระหนี้มากที่สุดเช่นเดียวกับการสำรวจในรอบก่อนหน้า และผู้ตอบแบบสอบถามมีสัดส่วนความต้องการ ให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือในการลดอัตราดอกเบี้ยมากที่สุด โดยมีรายละเอียดผลการสำรวจ ดังนี้ ภาพรวมภาระหนี้สินของประชาชน จากการสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 50.99 มีภาระหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งลดลงจากผลสำรวจปี 2566 (ที่ร้อยละ 62.52) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มอาชีพ พบว่า พนักงานของรัฐ เกษตรกร และพนักงานเอกชน เป็นกลุ่มอาชีพที่มีสัดส่วนการมีภาระหนี้มากที่สุดที่ร้อยละ 68.18 ร้อยละ 57.16 และ ร้อยละ 53.15 ตามลำดับ สอดคล้องกับผลการสำรวจของปี 2566 ขณะที่กลุ่มนักศึกษาและผู้ไม่ได้ทำงานและเกษียณอายุมีสัดส่วนการมีภาระหนี้น้อยที่สุด ที่ร้อยละ 20.51 และ ร้อยละ 26.74 ตามลำดับ การจำแนกตามกลุ่มรายได้ พบว่า กลุ่มผู้มีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีสัดส่วน การมีภาระหนี้สินมากที่สุดที่ร้อยละ 81.25 รองลงมาคือ กลุ่มรายได้ระหว่าง 50,001 – 100,000 บาท ที่ร้อยละ 76.15 และกลุ่มรายได้ระหว่าง 40,001 – 50,000 บาท ที่ร้อยละ 62.96 ทั้งนี้ จากผลสำรวจมีข้อสังเกตว่ารายได้มีลักษณะแปรผันตรงกับสัดส่วนการมีภาระหนี้ หรือกล่าวคือกลุ่มที่มีรายได้สูงขึ้นจะมีสัดส่วนของผู้ที่มีภาระหนี้มากขึ้น สาเหตุของการเกิดหนี้ ในภาพรวมพบว่า การซื้อและผ่อนอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย และ ยานพาหนะเป็นสาเหตุการเกิดภาระหนี้มากที่สุดที่ร้อยละ 27.47 รองลงมาคือ การเกิดภาระหนี้จากค่าใช้จ่ายประจำ ที่เพิ่มสูงขึ้น ที่ร้อยละ 25.56 และการเกิดภาระหนี้เพื่อการลงทุน ที่ร้อยละ 11.94 และเมื่อพิจารณาจำแนก ตามกลุ่มอาชีพ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่ได้ทำงานและเกษียณอายุมีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่เพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาระหนี้มากที่สุด ซึ่งอาจสะท้อนถึงสถานการณ์เศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน ประเภทของหนี้สิน ในภาพรวมพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีภาระหนี้ มีสัดส่วนเป็นภาระหนี้ ในระบบมากที่สุด ที่ร้อยละ 79.89 รองลงมาด้วยการมีภาระหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ ที่ร้อยละ 13.53 และสัดส่วนภาระหนี้นอกระบบ ที่ร้อยละ 6.58 ซึ่งลดลงเล็กน้อยจากผลการสำรวจในปี 2566 (ที่ร้อยละ 7.19) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มอาชีพ พบว่า พนักงานของรัฐเป็นผู้มีสัดส่วนภาระหนี้ในระบบมากที่สุดที่ร้อยละ 90.37 รองลงมาคือ เจ้าของกิจการ และนักศึกษา ขณะที่เกษตรกรถือเป็นอาชีพที่มีสัดส่วนการมีหนี้ทั้งในระบบ และนอกระบบมากที่สุด ที่ร้อยละ 22.20 และอาชีพรับจ้างอิสระเป็นอาชีพที่มีสัดส่วนการมีภาระหนี้นอกระบบ มากที่สุด ที่ร้อยละ 15.59 ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของกลุ่มอาชีพที่ไม่มีรายได้ที่ชัดเจน และแน่นอน และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มรายได้ พบว่า กลุ่มที่มีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 20,000 บาท เป็นกลุ่ม ที่มีสัดส่วนการมีภาระหนี้นอกระบบและภาระหนี้ในทั้งสองระบบมากที่สุด ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่ากึ่งหนึ่ง ของผู้ตอบแบบสอบถาม อาจสะท้อนถึงปัญหาภาระหนี้ที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้มีรายได้ไม่สูงมากนัก ซึ่งจำเป็น ต้องหาแนวทางแก้ไขเพื่อบรรเทาภาระหนี้ของประชาชนกลุ่มดังกล่าว                   สำหรับรูปแบบหนี้สิน ในภาพรวมพบว่า มีรูปแบบหนี้จากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินมากที่สุดที่ร้อยละ 28.90 ลดลงจากการสำรวจครั้งก่อน (ที่ร้อยละ 48.44) ตามมาด้วยหนี้บัตรเครดิต ที่ร้อยละ 24.45 และ หนี้จากการกู้ยืมสหกรณ์ที่ร้อยละ 15.63 ขณะที่พนักงานเอกชนและกลุ่มผู้มีรายได้ต่อเดือน 40,001 – 50,000 บาท เป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนหนี้จากบัตรเครดิตมากที่สุด และพนักงานของรัฐและผู้ไม่ได้ทำงานและเกษียณอายุมีสัดส่วนหนี้สินจากการกู้สหกรณ์มากที่สุด การชำระหนี้รายเดือน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีหนี้ในระบบที่ต้องชำระ ไม่เกิน 10,000 บาท มากที่สุด ที่ร้อยละ 56.79 รองลงมาคือ ชำระหนี้ 10,001 – 30,000 บาท ที่ร้อยละ 28.58 และชำระหนี้ 30,001 – 50,000 บาท ที่ร้อยละ 4.70 และในส่วนการชำระหนี้นอกระบบ มีผลการสำรวจสอดคล้องกัน กล่าวคือ ผู้ที่มีหนี้สินนอกระบบ มีการชำระหนี้รายเดือนไม่เกิน 10,000 มากที่สุด ที่ร้อยละ 23.69 รองลงมาคือ การชำระหนี้นอกระบบ 10,001 – 30,000 บาท และ 30,001 – 50,000 บาท ตามลำดับ พฤติกรรมการปรับตัวจากผลกระทบของหนี้สิน ในภาพรวมพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามปรับตัว จากผลกระทบของหนี้ โดยวิธีการลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมากที่สุด ที่ร้อยละ 27.83 รองลงมาคือ การหารายได้เพิ่ม ที่ร้อยละ 22.23 และการไม่ก่อหนี้สินเพิ่มเติม ที่ร้อยละ 18.47 ความช่วยเหลือที่ต้องการจากภาครัฐ ในภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามที่มีภาระหนี้มีความต้องการ ให้ภาครัฐออกมาตรการและนโยบายเพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินของประชาชนโดยการลดอัตราดอกเบี้ยมากที่สุด ที่ร้อยละ 46.57 และรองลงมาคือ การพักหรือขยายเวลาการชำระหนี้ ที่ร้อยละ 33.21 ซึ่งสอดคล้อง กับความต้องการของผู้ตอบแบบสอบถามในทุกกลุ่มอาชีพ อายุ และภูมิภาค ขณะที่ความต้องการลำดับถัดมา คือ การสร้างและส่งเสริมอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ ที่ร้อยละ 15.21 โดยกลุ่มนักศึกษาและกลุ่มผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี มีสัดส่วนความต้องการให้มีการสร้างและส่งเสริมอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้มากที่สุด ที่ร้อยละ 45.45 และ ร้อยละ 31.17 ตามลำดับ                 นายพูนพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายถึงผลการสำรวจครั้งนี้ว่า แม้สถานการณ์หนี้สินของประชาชนจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย จากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐที่อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาภาระหนี้สิน  ของประชาชน อย่างไรก็ตาม ภาครัฐยังคงติดตามและดูแลปัญหาภาระหนี้สินของประชาชนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การดำเนินนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน                 นอกจากนี้เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 2.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยบรรเทาภาระหนี้สิน ด้วยอีกทางหนึ่ง                 ทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ยังคงดำเนินมาตรการช่วยเหลือลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดปัญหาการเกิดหนี้อันเนื่องมาจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ผ่านการกำกับดูแลราคาสินค้าและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเพิ่มช่องทางการเลือกซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภคในราคาที่เหมาะสม อาทิ งานธงฟ้าราคาประหยัด การจัดจำหน่ายน้ำมันปาล์มบรรจุขวดในราคาประหยัด และการลดราคาช่วงเทศกาล ตลอดจนมีกิจกรรมส่งเสริมการตลาดเพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตร ซึ่งช่วยดูดซับผลผลิตส่วนเกิน และเพิ่มรายได้เกษตรกร พร้อมทั้งกระจายสินค้าตามฤดูกาลในราคาที่เหมาะสมสู่ประชาชนต่อไป

สภาไฟเขียว พ.ร.บ. แอลกอฮอล์ หนุนหุ้น BJC - CBG เป็นบวก

สภาไฟเขียว พ.ร.บ. แอลกอฮอล์ หนุนหุ้น BJC - CBG เป็นบวก

              หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) ระบุว่า ที่ประชุมสภาโหวตผ่านร่าง พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื้อหาสำคัญ คือ การยกเลิกมาตรา 32 ที่ห้ามผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม               ประเมินเป็นบวก ต่อโอกาสเห็นเม็ดเงินโฆษณาจากกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวเพิ่มขึ้น แต่แนะนำเน้นลงทุนในหุ้นสื่อที่มีความเสี่ยงถูก Disrupt ต่ำ เช่น PLANB นอกจากนี้ จิตวิทยาบวกต่อหุ้นที่มีการขายสินค้า/ให้บริการเชื่อมโยงกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น BJC, CBG

“สงกรานต์สนามหลวง” หุ้นไหนรับอานิสงส์ - เช็ก!

“สงกรานต์สนามหลวง” หุ้นไหนรับอานิสงส์ - เช็ก!

                            หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) ระบุว่า รัฐทุ่ม 180 ล้าน จัดงานมหกรรม “สงกรานต์สนามหลวง” ระหว่างวันที่ 12-16 เม.ย. คาดหวังเงินสะพัด 4.6 หมื่นล้านบาท ประเมินว่ามีโอกาสช่วยให้นักท่องเที่ยวในเดือน เม.ย. 2025 มีโมเมนตัมดีขึ้น หลังจากสัปดาห์ล่าสุดเริ่มเห็นฐานที่มีการฟื้นตัว โดยจำนวนนักท่องเที่ยวรวมทรงตัว ขณะที่นักท่องเที่ยวหลักๆ ฟื้นตัวได้ w-w แล้วจิตวิทยาบวกต่อหุ้นท่องเที่ยวและหุ้นอิงภาคบริการ เน้นหุ้น Deep Value อาทิ AOT, CPALL, CPAXT, MINT

KSS คาด SET “Sideways Up” คัดหุ้นเด่น วันนี้ KBANK, BA, CBG

KSS คาด SET “Sideways Up” คัดหุ้นเด่น วันนี้ KBANK, BA, CBG

            หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) คาด SET วันนี้ “Sideways Up” ต้าน 1202/1210 จุด รับ 1182/1175 จุด ประเด็นสำคัญวันนี้ 1.) ผลประชุม Fed “Neutral to Slightly Dovish” แม้คงดอกเบี้ย และคง Dot Plot ลดดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้งในปี 2025-2026 และ 1 ครั้งในปี 2027 แต่มีภาพบวกจาก Fed ประกาศชะลอ Quantitative Tightening (QT) เหลือ 4 หมื่นล้านเหรียญต่อเดือน ซึ่งดีกว่าตลาดคาด ส่วนเงินเฟ้อปี 2025F แม้เพิ่มสู่ 2.8% (เดิม 2.5%) แต่ Fed มองเป็นเรื่องชั่วคราว และให้น้ำหนักต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอลงเป็น Soft Landing เล็กๆ ลด GDP ปี 2025F เหลือ 1.7% (-0.4%) ต่ำกว่าศักยภาพที่ 2% เล็กน้อย พร้อมทั้งถ้อยแถลงเอียงมาให้น้ำหนักดูแลเศรษฐกิจ เป็นจิตวิทยาบวกสินทรัพย์เสี่ยงโลกโดยเฉพาะตลาด Laggard ขณะที่จีนมีแรงหนุนจาก TENCENT กำไรดีกว่าคาด 2.) เงินเฟ้อ CPI ยุโรป ก.พ. 2025 (ครั้งสุดท้าย) ลดลงเร็วกว่าคาด +2.3% y-y vs prev. +2.4% สร้างความยืดหยุ่นนโยบายการเงิน 3.) ปัจจัยภายในประเทศ หลังชัดเจนนโยบายกีดกันการค้าของคุณ Trump ชุดท้ายๆ ในส่วนภาษีเท่าเทียมต้น เม.ย. จากนี้เราคาดว่าจะมีการใช้นโยบายการเงินที่ยืดหยุ่นขึ้น หนุน SET แกว่งขึ้นต่อ หุ้นนำ หุ้นวงจรดอกเบี้ยขาลงหนุน หุ้นได้ประโยชน์จากการเปิดให้โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (PLANB, CBG, BJC) หุ้นอิงยุโรปและจีน ผสาน 10 Deep Value หุ้นแนะนำวันนี้ KBANK, BA, CBG

ผู้ถือหุ้น GULF ต้องทำตัวอย่างไร

ผู้ถือหุ้น GULF ต้องทำตัวอย่างไร

          วันนี้ เป็นวันซื้อขายสุดท้าย ของ GULF และ INTUCH หลังจากนั้นตลาดหลักทรัพย์ฯ จะขึ้นเครื่องหมายพักการซื้อขายชั่วคราว (SP) ตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค. – 2 เม.ย. 2568 และในช่วงพักการซื้อขาย จะเปลี่ยนแปลงชื่อหลักทรัพย์ GULF เป็น GULFI เพื่อควบรวม GULFI และ INTUCH เป็นบริษัทใหม่ (NewCo)   หลังจากนั้น วันที่ 3 เม.ย. 2568 กลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ภายใต้ชื่อเดิมคือ  GULF           นักลงทุนสามารถ เลือกกระทำการได้ ดังนี้ 1. กรณีต้องการซื้อหรือขาย  ก็ดำเนินการได้ถึงวันที่ 20 มี.ค. ทั้ง GULF และ INTUCH หรือ 2. กรณีต้องการถือครองหลักทรัพย์ต่อ  ก็ไม่ต้องดำเนินการใด ๆ หุ้นจะกลับมาซื้อขายได้ใหม่ในวันที่ 3 เม.ย.2568  สำหรับผู้ถือหุ้นของ GULF (เดิม) และ INTUCH จะได้รับหลักทรัพย์ GULF (ใหม่) ในอัตราส่วนดังนี้ 1 หุ้นเดิมใน GULF (เดิม) ต่อ 1.02974 หุ้น GULF (ใหม่) และ 1 หุ้นเดิมใน INTUCH ต่อ 1.69335 หุ้น GULF (ใหม่)           ขณะที่ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย)  ประเมินราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2568 ของ NewCo ที่ 53.25 บาท/หุ้น โดยใช้วิธี Sum of the Part (SOTP) โดยประเมินธุรกิจโรงไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานด้วยวิธี DCF บน WACC 6.4% และ Terminal Growth ที่ 0% และประเมินมูลค่าเงินลงทุนในส่วนของ ADVANC และ THCOM โดยใช้ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2025 ที่ 296.00 บาท/หุ้น และ 16.50 บาท/หุ้น ตามลำดับ และหักลดด้วย Discount 10% โดยหากอิงราคาปิดของ GULF และ INTUCH ณ วันที่ 18 มี.ค. ที่ 49.50 บาท/หุ้น และ 80 บาท/หุ้น ตามลำดับ จะคิดเป็นราคา NewCo ที่ราว 47.80 บาท           ฟ้าเริ่มสว่างแล้ว สำหรับ WHA สัญญาณราคาเริ่มฟื้นตัว หลังถูกกระหน่ำขายอย่างหนัก จากประเด็นจะนำ WHAID เข้าจดทะเบียนตลาดหุ้น แต่ท้ายสุดผู้บริหารต้องยอมถอย พับแผนไปก่อน และเลื่อน WHAID  ไปอย่างน้อย 2-3 ปี โดยไม่กระทบกับแผนการลงทุนที่ตั้งไว้ ซึ่งผู้บริหารให้เหตุผลว่า เงินที่ได้จากการ spin off ส่วนหนึ่งเตรียมไว้สำหรับการ M&A กิจการที่มองว่า มีโอกาสเสริมธุรกิจของ WHA ส่วนแผนการเพิ่มพื้นที่เช่าอีก 200,000 ตร.ม. ทางผู้บริหารมีความมั่นใจ เพราะจะมีการตั้งโรงงานเพิ่มที่เวียดนามหลายที่  บล.พาย เคาะพื้นฐาน 5.20 บาท           ย้อนมาเกาะติด KBANK อีกที ใกล้เข้ามาแล้ว การจ่ายปันผลรอบแรก หุ้นละ 8 บาท ที่จ่อขึ้น XD วันที่ 8 เม.ย. 2568 และงวดที่2 ปันผลพิเศษอีก 2.50 บาทต่อหุ้น  ขึ้น XD  วันที่ 15 พ.ค. 2568  รวมเป็นเงินปันผลจ่ายทั้งสิ้น 28,431,931,116  บาท ที่สำคัญ เงินปันผลจ่ายจากกำไรสะสมที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 20 ผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดาสามารถ ขอเครดิตภาษีเงินปันผลคืนได้ ในอัตรา 20/80 ของเงินปันผลที่ได้รับ           เริ่มคลายกังวลกันเสียที กรณี  BEM  กับสะพานทรุดตัว พระราม 2 เพราะล่าสุดพบว่า ผู้บริหารยืนยันไม่กระทบการดำเนินงาน  เหตุปริมาณการจราจรที่ด่านมีแค่ 0.03% ของการจราจรรวม บล.กสิกรไทยชี้ BEM มีประกัน Business interruption ที่สามารถ claim ได้   แนะ ซื้อสะสม ราคาเป้าหมาย 10.85 บาท           ด้าน บล.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ส่องหุ้น PTTGC คาดไตรมาส1 ปี 2568 ฟื้นตัว แม้อาจมีผลขาดทุนปกติอยู่จากโรงกลั่นกลับมาเดินเครื่องปกติ  แต่มีสัดส่วนอีเทนเป็นวัตถุดิบเพิ่มขึ้น 20% ช่วยให้มาร์จิ้นเพิ่มขึ้น  และกำไรของ allnex เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล ทำให้กำไรปีนี้ฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญจากปีก่อนมีตั้งด้อยค่าก้อนใหญ่  รวมรับรู้ประโยชน์จากการใช้อีเทนเป็นวัตถุดิบเพิ่มขึ้นเต็มปี อีกทั้งกลยุทธ์ลดค่าใช้จ่าย   การหยุดผลิต PTTAC และ Vencorex ช่วยให้ค่าใช้จ่ายคงที่ลดลง ราคาหุ้นซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าบัญชีมาก  แนะซื้อ ราคาเป้าหมาย 27.5 บาท           วกมาที่ บล.ธนชาต  ระบุว่า เริ่มเห็น Sentiment เชิง บวก ขณะที่โบรกต่างชาติ UBS ได้ปรับคำแนะนำหุ้นไทยเป็น “Overweight” จาก “Neutral ” โดยมองว่า Valuation อยู่ในระดับที่น่าสนใจ ใกล้เคียงกับระดับช่วงเกิดโควิด และเชื่อว่าราคาที่ปรับลดลงได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว           นอกจากนี้ การออก Thai ESG Extra ช่วยชดเชยกับเงินที่จะครบกำหนดของ LTF ซึ่งถ้าเทียบหุ้นที่ Valuation น่าสนใจ กำไรเติบโตดี และเริ่มเห็นสัญญาณต่างชาติสะสม แนะนำ “ซื้อ”   กลุ่มแรก ที่เห็น Fund Flow ไหลเข้า ชอบ CENTEL- CBG- MINT- CKP และกลุ่มที่ Fund Flow ไหลออก แต่พื้นฐานดี มีโอกาสเห็น Fund flow ไหลเข้าอีกครั้ง ชอบ KBANK- CPALL- TRUE -BDMS -CPN – WHA การลงทุน มีความเสี่ยง ผู้ลงทุน ควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ ลงทุน [วิพากษ์หุ้นไทย]

[Vision Exclusive] GULF ถือหุ้น KBANK รับปันผล Q2 ที่ 808 ลบ.

[Vision Exclusive] GULF ถือหุ้น KBANK รับปันผล Q2 ที่ 808 ลบ.

           หุ้นวิชั่น – GULF เสริมพอร์ตลงทุน! เข้าถือหุ้น KBANK จำนวน 77 ล้านหุ้น คิดเป็น 3.25% ชี้เป็นหุ้นที่มี P/BV และ P/E ต่ำ สภาพคล่องสูง จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ พร้อมรับรู้เงินปันผลไตรมาส 2/2568 จำนวน 808.5 ล้านบาท มุ่งหวังผลตอบแทนจากปันผลและ Upside ของราคาหุ้นในอนาคต โบรกมองเป็นการตัดสินใจที่ดีในการบริหารเงินสดในมือ การลงทุนใน KBANK มีอนาคต และถือเป็นโอกาสที่น่าสนใจ            นางสาวยุพาพิน วังวิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF เปิดเผยว่า บริษัทได้เข้าลงทุนใน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ตั้งแต่ไตรมาส 4/2567 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ปัจจุบันมีสัดส่วนการถือหุ้นใน KBANK จำนวน 77,000,000 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 3.25% (รวมข้อมูลผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 13 มีนาคม 2568)            ทั้งนี้ การลงทุนในหุ้น KBANK ถือเป็นการลงทุนทั่วไป เนื่องจาก GULF มี Portfolio การลงทุนป็นปกติอยู่แล้ว โดย KBANK เป็นหุ้นที่มี สภาพคล่องสูง มีอัตราส่วน P/BV (Price to Book Value Ratio) และ P/E (Price to Earnings Ratio) อยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งยังมีประวัติการ จ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 โดยให้อัตราผลตอบแทนเงินปันผล (Dividend Yield) อยู่ที่ 7-8% ดังนั้น GULF จึงเข้าลงทุนในหุ้น KBANK โดยมุ่งหวัง ผลตอบแทนจากเงินปันผลและ Upside จากราคาหุ้น ในอนาคต ทั้งนี้ บริษัทจะรับรู้เงินปันผลใน ไตรมาส 2/2568 จำนวน 808.5 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยต่อยอดศักยภาพการลงทุนและบริหารกระแสเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพ            นายมงคล พ่วงเภตรา รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การตัดสินใจเข้าลงทุนในหุ้น KBANK ของ GULF ถือเป็นกลยุทธ์การบริหารเงินสดที่ชาญฉลาด โดยหลังจากที่ GULF เปิดดำเนินการผลิตไฟฟ้าในโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ประเภท IPP ส่งผลให้บริษัทมีกระแสเงินสดไหลเข้าจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีการบริหารสภาพคล่องอย่างมีประสิทธิภาพ            ทั้งนี้ ที่ผ่านมา GULF ได้แสดงให้เห็นถึง วิสัยทัศน์ที่เฉียบคม ในการลงทุน และ การเข้าลงทุนใน KBANK ครั้งนี้ก็มองว่าจะสร้างผลตอบแทนที่มีนัยสำคัญให้แก่บริษัท เนื่องจาก KBANK เป็นธนาคารที่มี แนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีประวัติ การจ่ายเงินปันผลที่มั่นคง และมีศักยภาพในการสร้าง ผลตอบแทนระยะยาว ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการบริหารพอร์ตการลงทุนของ GULF ที่มุ่งเน้น การสร้างมูลค่าเพิ่มจากสินทรัพย์ที่มีศักยภาพ รายงานโดย : ณัฏฐ์ชญา ปุริมปรัชญ์ภัทร บรรณาธิการ HoonVision

AU - TPS โตแรง 3 ปีซ้อน! เดินหน้าขยายธุรกิจปี 68

AU - TPS โตแรง 3 ปีซ้อน! เดินหน้าขยายธุรกิจปี 68

           หุ้นวิชั่น –  เปิดโผหุ้น บจ. mai "อาฟเตอร์ ยู" หรือ AU และ "เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น" หรือ TPS โชว์ผลงานเด่น รายได้-กำไรเติบโตมากกว่า 10% ติดต่อกัน 3 ปีซ้อน AU เดินหน้าขยายสาขาทั้งในและต่างประเทศ พร้อมจับมือ 7-Eleven ขยายช่องทางจำหน่าย ส่วน TPS ตั้งเป้าเป็นผู้นำไอทีโซลูชั่นครบวงจร ดันรายได้โต 20-25% สร้างสถิติใหม่ต่อเนื่อง            ผู้สื่อข่าวรายงานจากตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่า บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ที่มีอัตราการเติบโตของรายได้และกำไรสุทธิเกิน 10% ติดต่อกัน 3 ปีซ้อน ได้แก่ บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) หรือ AU และ บริษัท เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TPS ซึ่งทั้งสองบริษัทมีแผนขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องในปี 2568 บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) หรือ AU ผู้ประกอบธุรกิจ 1. ร้านขนมหวาน 2. การขายสินค้าและวัตถุดิบ 3. การขายและการจัดงานนอกสถานที่ 4. แฟรนไชส์ AU เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีการเติบโตของรายได้รวมและกำไรสุทธิอย่างต่อเนื่องมากกว่า 10% ติดต่อกัน 3 ปีซ้อน โดยมีผลประกอบการย้อนหลังดังนี้: กำไรสุทธิ: 118.48 ล้านบาท (ปี 2565), 178.17 ล้านบาท (ปี 2566), และ 296.20 ล้านบาท (ปี 2567) ปี 2565 เติบโต 2,564.67% จากปี 2564 ปี 2566 เติบโต 50.38% จากปี 2565 ปี 2567 เติบโต 66.25% จากปี 2566 รายได้รวม: 954.47 ล้านบาท (ปี 2565), 1,233.76 ล้านบาท (ปี 2566), และ 1,603.14 ล้านบาท (ปี 2567) ปี 2565 เติบโต 51.78% จากปี 2564 ปี 2566 เติบโต 29.26% จากปี 2565 ปี 2567 เติบโต 29.94% จากปี 2566 จำนวนสาขา: สิ้นปี 2564 มี 40 สาขา และเพิ่มขึ้นเป็น 62 สาขาในสิ้นปี 2567 (เพิ่มขึ้น 22 สาขา)            สำหรับทิศทางในการดำเนินธุรกิจในปี 2568 บริษัทมีแผนขยายแฟรนไชส์ร้านขนมหวาน อาฟเตอร์ ยู ไปยัง ประเทศอินโดนีเซีย และเมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ พร้อมทั้งมีแผนขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่าน ผู้แทนจำหน่าย (Distributor) ใน ประเทศมาเลเซีย และเวียดนาม นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคงมองหาโอกาสเติบโตในต่างประเทศเพิ่มเติม เพื่อกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพารายได้จากในประเทศเพียงอย่างเดียว รวมถึงเพื่อสร้างการเติบโตในระยะยาว            บริษัทจะมุ่งเน้นขยายสาขาร้านอาฟเตอร์ ยู และแบรนด์ลูกต่างๆ ในปี 2568 บริษัทมีแผนขยายสาขาเพิ่มเติม ได้แก่ ร้านขนมหวาน อาฟเตอร์ ยู จำนวน 8 สาขา ร้านผลไม้ ลูกก๊อ จำนวน 5 สาขา ร้านกาแฟ มิกก้า จำนวน 3 สาขา โดยมุ่งเน้นการขยายสาขาไปยังพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางของนักท่องเที่ยว และย่านที่พักอาศัยที่มีกำลังซื้อและมีลูกค้าจำนวนมาก เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และขยายการขายสินค้าผ่านช่องทางโมเดิร์นเทรด โดยวางขายสินค้าผ่านร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven            ในปี 2568 บริษัทมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้ากลุ่มขนมปังไปยังสาขาร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ให้ครอบคลุมทุกสาขาทั่วประเทศ พร้อมทั้งเพิ่มความหลากหลายของรสชาติสินค้าในแต่ละสาขา นอกจากนี้ บริษัท ยังมีแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นเพื่อจำหน่ายผ่านช่องทางโมเดิร์นเทรด            บริษัท เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TPS ผู้ประกอบธุรกิจ เป็นผู้ให้คำปรึกษา ออกแบบ จัดหา ติดตั้ง และจำหน่ายผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology Solutions Provider : ITP ) TPS มีการเติบโตต่อเนื่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ดังนี้: กำไรสุทธิ: 75.83 ล้านบาท (ปี 2565), 116.37 ล้านบาท (ปี 2566), และ 135.47 ล้านบาท (ปี 2567) ปี 2565 เติบโต 95.73% จากปี 2564 ปี 2566 เติบโต 53.46% จากปี 2565 ปี 2567 เติบโต 16.42% จากปี 2566 รายได้รวม: 986.86 ล้านบาท (ปี 2565), 1,362.81 ล้านบาท (ปี 2566), และ 1,606.31 ล้านบาท (ปี 2567) ปี 2565 เติบโต 67.48% จากปี 2564 ปี 2566 เติบโต 38.10% จากปี 2565 ปี 2567 เติบโต 17.87% จากปี 2566            สำหรับปี 2568  บริษัทจะมุ่งสู่การเป็นผู้นำให้บริการไอทีโซลูชั่นครบวงจร ตั้งเป้าหมายรายได้เติบโต 20-25% สร้างสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นพัฒนา 4 กลุ่มงานหลัก ทั้ง  1. Network Infrastructure ได้แก่ ระบบ LAN, Wi-Fi Network และระบบภายในห้อง Datacenter ซึ่งเป็นกลุ่มงานหลักที่ TPS มีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่ง 2.งาน Cyber Security ซึ่ง TPS ยังคงให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นระบบที่ช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กร            และ TPS มุ่งสู่การเป็นผู้นำในการให้บริการโซลูชั่นในด้าน Cybersecurity พร้อมกับพัฒนาทีมงานให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น 3.ระบบ System ได้แก่ เทคโนโลยี AI, Cloud, Compute, Storage และระบบ Virtual Machine ต่างๆ และ 4.งานด้าน Customer Service โดยมุ่งเน้นเป็นหนึ่งในผู้นำการให้บริการหลังการขายแบบครบวงจร สรุปภาพรวม            ทั้ง AU และ TPS เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai ที่มีการเติบโตของรายได้และกำไรสุทธิอย่างต่อเนื่อง โดย AU ขยายธุรกิจด้านขนมหวานและเครื่องดื่มไปยังต่างประเทศ พร้อมขยายสาขาภายในประเทศ ขณะที่ TPS มุ่งพัฒนาโซลูชั่นด้านไอทีและระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยตั้งเป้าหมายสร้างสถิติรายได้ใหม่ในปี 2568 ที่มา https://www.settrade.com และ https://www.set.or.th/ รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

ORI ปี68 เล็งยอดขายรวม 30,000 ลบ. ชูกลยุทธ์ Resilience Leads To Sustainable Growth

ORI ปี68 เล็งยอดขายรวม 30,000 ลบ. ชูกลยุทธ์ Resilience Leads To Sustainable Growth

          ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ เผยแผนธุรกิจปี 2568 ชูกลยุทธ์ Resilience Leads To Sustainable Growth ผ่านกุญแจ 7 ข้อ แห่งความสำเร็จ สร้างโอกาสการเติบโตอย่างยั่งยืน เปิด 11 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 20,000 ล้านบาท ตั้งเป้ายอดขายรวม 30,000 ล้านบาท และรายได้รวม 14,000 ล้านบาท มุ่งสร้าง รายได้และกำไร ระยะยาว เสริมความแข็งแกร่งทางการเงินจากกลุ่มธุรกิจใหม่ที่มีแนวโน้มเติบโต           นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI ผู้พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้จัดโครงสร้างธุรกิจให้ชัดเจนขึ้นในลักษณะ Holding Company โดยจะเป็นการลงทุนถือหุ้นใน 5 กลุ่มธุรกิจหลักในบริษัทย่อย บริษัทร่วมค้า ทั้งบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ และนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ (1) กลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายประเภทคอนโดมิเนียม ภายใต้ ออริจิ้น เวอร์ติเคิล, (2) ในกลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายประเภทบ้านจัดสรร ภายใต้บริทาเนีย หรือ BRI, (3) กลุ่มธุรกิจบริการ ภายใต้พรีโม่ เซอร์วิส โซลูชั่น หรือ PRI, (4) กลุ่มธุรกิจ Hospitality and Tourism & Service ภายใต้ออริจิ้น โฮเทล และ (5) กลุ่มธุรกิจ Logistics and Warehouse ภายใต้ แอลฟา อินดัสเทรียล โซลูชั่น  รวมโครงการกว่า 198 โครงการ เตรียมแผนการเติบโตในอนาคตสำหรับที่ดินบนทำเลศักยภาพในการเปิดโครงการใหม่ 11 โครงการ มูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท รวมถึงมี Backlog  กว่า 44,562 ล้านบาท หนุนการรับรู้รายได้ต่อเนื่อง 4 ปี           โดยปี 2568 บริษัทจะเดินหน้าขับเคลื่อนองค์กรภายใต้กลยุทธ์ “Resilience Leads To Sustainable Growth” สร้างความยืดหยุ่นในการบริหารองค์กร พร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง สู่การเป็นผู้นำและการเติบโตอย่างยั่งยืนบนโอกาสใหม่ เพื่อสร้างความสมดุลในระยะยาวอย่างมีเสถียรภาพทั้งด้านธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ด้วย 7 กลยุทธ์แห่งความสำเร็จ (7 KEYS TO SUCCESS ) 1. FOCUS ON MAINSTREAM REVENUE, 2. UNIQUE VALUE PROPOSITION, 3. MARKET EXPANSION, 4. DIGITAL TRANSFORMATION, 5. FINANCIAL STRUCTURE MANAGEMENT, 6. CUSTOMER FINANCIAL SUPPORT, 7. ESG & GREEN REVOLUTION แผนเปิดโครงการใหม่และเป้าหมายปี 2568 -เปิดโครงการใหม่ (New Project Launch) ทั้งพื้นที่ในกรุงเทพและต่างจังหวัดจำนวน 11 โครงการ มูลค่ารวม 20,000 ล้านบาท เป็นคอนโดจาก ORIGIN VERTICAL จำนวน 5 โครงการ มูลค่ารวม 12,500 ล้านบาท และเป็น บ้านจาก BRITANIA จำนวน 6 โครงการ มูลค่ารวม 7,500 ล้านบาท -เป้ายอดขาย (Presales) รวม 30,000 ล้านบาท และเป้ารายได้รวม (Total Revenue) 14,000 ล้านบาท -ยอดการโอนกรรมสิทธิ์ (Transfer Activities) ห้องชุดคอนโดและบ้านจัดสรร จำนวน 22,000 ล้านบาท           จากโครงการที่เปิดขายใหม่และอยู่ระหว่างดำเนินการ (Ongoing) บวกกับการทำการตลาดในเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศต่อเนื่อง มั่นใจว่ายอดขายจะเป็นไปตามเป้า คือที่ 30,000 ล้านบาท ตลาดในประเทศไฮไลท์ปีนี้ ORI ได้ดึง “ณเดชน์ คูกิมิยะ” ร่วมเป็นแอมบาสเดอร์อีกครั้งหลังจากที่ร่วมงานกันมาเมื่อ 8 ปีก่อน มาเป็นครอบครัวคอนโดออริจิ้นและบ้านบริทาเนียกับ ‘ณเดชน์’ ”เพื่อสร้าง Brand Awareness และตอกย้ำภาพลักษณ์ที่ชัดเจนขององค์กร โดยจะเห็นการ Collab ร่วมกันผ่านแคมเปญทางการตลาดตลอดปี 2568 ขณะที่ตลาดต่างประเทศนอกจากแต่งตั้ง Master agent เป็นตัวแทนขาย การเดินสายโรดโชว์ไปยังตลาดประเทศใหม่ๆ แล้ว ยังสร้างกลยุทธ์เชิงรุกด้วยการคว้าตัวศิลปิน ดารา เซเลป ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมาเป็นพรีเซนเตอร์ ล่าสุดได้นักแสดงชื่อดังชาวจีน-ฮ่องกง “Irene Wan(เวินปี้เสีย)” เป็นพรีเซ็นเตอร์นำคอนโดมิเนียม       แบรนด์ Park Origin Collection บุกตลาดเอเชีย สร้าง “รายได้-กำไร” กลุ่มธุรกิจใหม่           ORI ยังเดินหน้าองค์กรเพื่อสร้าง “รายได้และกำไร” ระยะยาว จาก New Business Model ส่วนอื่นที่มีการขยายการลงทุนไปก่อนหน้า สำหรับธุรกิจโรงแรม 9 แห่ง ที่เปิดดำเนินการแล้ว รวมทั้งโครงการที่อยู่ในบริษัทร่วมทุนและไม่ใช่บริษัทร่วมทุน ในปี 2567 มีรายได้โรงแรม กว่า 1,472 ล้านบาท และ EBITDA กว่า 514 ล้านบาท           “ธุรกิจโรงแรมเราพัฒนาแบบครบวงจร โดยแผนปี 2568 จะเปิดโรงแรมใหม่ 3 แห่ง ได้แก่ 1 แห่งในกรุงเทพฯ ภายใต้รูปแบบ Dual Brand และ 2 แห่งเป็นการ Re-opening จากที่ acquire มาในปี 2566 ซึ่งเป็นโรงแรมในแหล่งท่องเที่ยวหลักอย่างภูเก็ตและเชียงใหม่ จะส่งผลให้พอร์ตโฟลิโอของบริษัทมีการขยายตัวมากขึ้น ทั้งในแง่ของจำนวนห้องพักและโอกาสในการเติบโตของรายได้จากการดำเนินงานโรงแรมในทำเลที่มีศักยภาพสูง” นายพีระพงศ์  กล่าว พร้อมยังกล่าวอีกว่าอีก 1 เครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนคือ บริษัท แอลฟา อินดัสเทรียล โซลูชั่น ที่ประกอบธุรกิจด้านคลังสินค้า (Warehouse) ปัจจุบันมีอัตราการเช่าสูงถึง 97.6% “ทั้งนี้ คลังสินค้าทั้ง 9 แห่งอยู่ในทำเลยุทธ์ศาสตร์สำคัญๆได้แก่ ทำเลรังสิต, บางนา กม.22, บางนา กม.19, บางนา กม.23, แหลมฉบัง, พานทอง และเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวมพื้นที่กว่า 400,000 ตารางเมตร ตั้งเป้าขยายเพิ่มเป็น 1 ล้านตารางเมตร ในอีก 5 ปี ข้างหน้า” นายพีระพงศ์ กล่าว สำหรับ บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI มีโครงสร้างธุรกิจหลากหลาย ภายใต้ 4 กลุ่มธุรกิจ 1.กลุ่มธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อการขาย (Residential Development Business) พัฒนาคอนโดมิเนียมและบ้านจัดสรรมาแล้ว 166 โครงการ (ณ สิ้นไตรมาส 4/2567) เช่น แบรนด์ พาร์ค ออริจิ้น (Park Origin), โซ ออริจิ้น (So Origin), ออริจิ้น ปลั๊ก แอนด์ เพลย์ (Origin Plug & Play), ไนท์บริดจ์ (Knightsbridge), นอตติ้ง ฮิลล์ (Notting Hill), ออริจิ้น เพลส (Origin Place), ดิ ออริจิ้น (The Origin), เคนซิงตัน (Kensington), แฮมป์ตัน (Hampton), ออริจิ้น เพลย์ (Origin Play), บริกซ์ตัน (Brixton) และ บริทาเนีย (Britania) เป็นต้น รวมมูลค่าโครงการทั้งสิ้นกว่า 254,967 ล้านบาท โดยกลุ่มโครงการบ้านจัดสรร หรือที่อยู่อาศัยแนวราบ ดำเนินการภายใต้บริษัท บริทาเนีย จำกัด (มหาชน) หรือ BRI เน้นกลุ่มบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ส่วนกลุ่มโครงการแนวสูงหรือคอนโดมิเนียม ดำเนินการภายใต้บริษัท ออริจิ้น เวอร์ติเคิล คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ ORIGIN VERTICAL 2.กลุ่มธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำ (Recurring Income Business) เช่น โรงแรม เซอร์วิสอพาร์ตเมนท์ ค้าปลีก 3.กลุ่มธุรกิจบริการ (Service Business) เช่น ธุรกิจให้บริการลูกบ้าน ธุรกิจการจัดการอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจตัวแทนซื้อ ขาย เช่า อสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ และ 4.กลุ่มธุรกิจเมกะเทรนด์ระยะยาว (Mega Trends) เป็นกลุ่มธุรกิจใหม่ที่มีแนวโน้มเติบโตในระยะยาว เช่น ธุรกิจโลจิสติกส์ ธุรกิจเฮลท์แคร์ ธุรกิจพลังงาน ธุรกิจด้านการเงิน ธุรกิจเอนเตอร์เทนเมนท์ ฯลฯ เพื่อยกระดับคุณภาพการใช้ชีวิตของผู้บริโภคแบบครบวงจร

บล.กรุงไทยฯ แนะ TENCENT80 กำไร Q4 ดีกว่าคาด หนุนรายได้โต

บล.กรุงไทยฯ แนะ TENCENT80 กำไร Q4 ดีกว่าคาด หนุนรายได้โต

          หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ระบุ Tencent (TENCENT80) กำไร Q4 ออกมาดีกว่าคาด 8% หนุนจากรายได้รวมกลับมาโต double digit - รายได้รวมอยู่ที่ 1.72 แสนล้านหยวนเติบโต 11%YoY เร่งตัวขึ้นเป็นไตรมาสที่สามและออกมาดีกว่าคาด - รายได้เกมในประเทศ (สัดส่วน 19%) เติบโต 23%YoY เร่งตัวขึ้นเป็นไตรมาสที่สามมาที่ 3.32 หมื่นล้านหยวนและดีกว่าคาดจาก HoK, Peacekeeper Elite และ Valorant รวมถึงเกมใหม่อย่าง Dungeon and Fighter และ Delta Force - รายได้เกมต่างประเทศ (สัดส่วน 9%) เติบโตเร่งตัวขึ้น 15%YoY มาที่ 1.60 หมื่นล้านหยวนและดีกว่าคาด จาก Brawl Stars และ PUBG Mobile รวมถึงการตอบรับการเปิดตัวเกม Path of Exile 2 ช่วง ธ.ค. - รายได้ Social Network หรือ WeChat (สัดส่วน 17%) เติบโต 6%YoY ตามคาดมาที่ 2.98 หมื่นล้านหยวน ตามรายได้ app based game, การเปิดตัวฟีเจอร์ส่งของขวัญ และ music subscription - รายได้ Marketing services หรือ Online Ads เดิม (สัดส่วน 18%) เติบโต 18%YoY มาที่ 3.50 หมื่นล้านหยวน ตามประสิทธิภาพการยิงโฆษณาด้วยการใช้ AI - รายได้ Fintech & Business Service (สัดส่วน 31%) เติบโต 3%YoY มาที่ 5.61 หมื่นล้านหยวน จากปริมาณการทำธุรกรรม และบริการ Cloud โดยมีจำนวนผู้ใช้งานต่อเดือน WeChat และ Weixin โต 3%YoY มาที่ 1.39 พันล้านบัญชี ซึ่งดีกว่าคาดเล็กน้อย กำไรปกติ (non-IFRS) เติบโตกว่า 30%YoY มาที่ 5.53 หมื่นล้านหยวนซึ่งดีกว่าคาด - Tencent ประกาศจ่ายปันผล HKD 4.5 ต่อหุ้นเพิ่มขึ้น 32%YoY

KTMS ชูธงรายได้แตะพันล. ใส่เกียร์ผุดศูนย์ไตเทียมเร่งโต

KTMS ชูธงรายได้แตะพันล. ใส่เกียร์ผุดศูนย์ไตเทียมเร่งโต

              หุ้นวิชั่น - KTMS ตั้งเป้ารายได้แตะ 1 พันล้านบาทในปี 70 จากปีนี้ปักธงรายได้ 800 ล้านบาท หรือโตเฉลี่ย 20-30% ต่อปี เดินหน้าผุดศูนย์ไตเทียมทำเงิน กางแผนธุรกิจ วางงบลงทุนที่ 200-250 ล้านบาท เชื่อดีมานด์ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมสูง สยายปีกภาคตะวันออกเฉียงเหนือเต็มสูบ               นางสาวกาญจนา พงศ์พัฒนะเดชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคที เมดิคอล เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ KTMS เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 2568 แตะ 800 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเติบโต 20-30% ต่อปี โดยปัจจุบันบริษัทครองส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจนี้ประมาณ 1 ใน 3 หรือคิดเป็น 3-5% ของตลาดรวม               สำหรับไตรมาส 1/2568 บริษัทคาดว่ารายได้จะเติบโตจากการขยายสาขาและหน่วยไตเทียมเพิ่มขึ้น ปัจจุบัน KTMS มีสาขาทั้งหมด 36 แห่ง และมีเครื่องฟอกไตเทียมจำนวน 495 เครื่อง โดยในปีนี้มีแผนเพิ่มเครื่องฟอกไตอีก 70-90 เครื่อง รองรับจำนวนผู้ป่วยที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง               ขณะที่อัตรากำไร (มาร์จิ้น) ของหน่วยไตเทียมในโรงพยาบาล (Outsource) จะมีอัตรากำไรอยู่ที่ 10-20% ขณะที่คลินิกเวชกรรมไตเทียมแบบ Stand-Alone คาดว่าจะสร้างอัตรากำไรที่ 15-30% โดยบริษัทมีแผนขยายาขาทั้งรูปแบบ Outsource และ Stand-Alone โดยบริษัทตั้งงบไว้ที่ 200-250 ล้านบาท เพื่อขยายหน่วยไตเทียมเป็นหลัก               ในส่วนของค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ใช้สิทธิ์ประกันสังคมและบัตรทอง บริษัทไม่มีนโยบายลดรายจ่ายในส่วนนี้ และยังคงใช้นโยบายเดิม แม้ว่าสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะมีแนวทางผลักดันการล้างไตทางช่องท้อง (PD First) บริษัทมั่นใจว่ายังสามารถรักษารายได้จากฐานผู้ป่วยเดิม ซึ่งมีจำนวนกว่า 3,000 คนในปัจจุบัน               สำหรับงบลงทุนปี 2568 นอกจากการขยายหน่วยไตเทียมแล้ว บริษัทยังมีแผนขยายโรงงานผลิตน้ำยาฟอกไตแห่งใหม่ ปัจจุบันอยู่ระหว่างมองหาโลเคชั่น โดยบริษัทวางเงินลงทุนไว้ที่ 80-100 ล้านบาท (ไม่รวมที่ดิน) แต่คาดว่าจะใช้จริงประมาณ 50 ล้านบาท               สำหรับแผนระยะยาว ปี 2568-2570 บริษัทตั้งเป้ารายได้แตะ 1,000 ล้านบาท ภายในปี 2570 โดยเตรียมขยายกำลังการผลิตน้ำยาไตเทียม และขยายการให้บริการลูกค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ ยังมีแผนนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ นอกเหนือจากการฟอกเลือด พร้อมเดินหน้าพัฒนาระบบน้ำสำหรับฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และเพิ่มการติดตั้งท่อลมให้กับโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน

จับตาราคาทองพุ่งไม่หยุด 51,000 บ. มาแน่!

จับตาราคาทองพุ่งไม่หยุด 51,000 บ. มาแน่!

               หุ้นวิชั่น - ราคาทองคำยังคงทำสถิติสูงสุดใหม่ (All Time High) อย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และยังมีลุ้นปรับตัวขึ้นต่อ คาดปีนี้เห็นราคาทองคำแตะ 51,000 บาทแน่นอน จากแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว สงครามทั้งในยูเครนและตะวันออกกลาง ส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำมากขึ้นในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ขณะเดียวกันติดตามถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในคืนวันนี้ ถึงแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ และดอกเบี้ย โดยนักลงทุนคาดว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยมากกว่า 2 ครั้งในปีนี้ หนุนราคาทองคำพุ่งขึ้นต่อ                  นายจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ เปิดเผยกับ ทีมข่าวหุ้นวิชั่น ถึงทิศทางราคาทองคำ ว่า ราคาทองคำจากนี้ยังมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ต่อ หลังจากล่าสุด ราคาทองคำแท่งในประเทศ 96.5% ตามประกาศ สมาคมค้าทองคำ พุ่งขึ้นมาแตะ 48,350 บาท และทองรูปพรรณ 96.5% ขายออกอยู่ราว 49,200 บาท เนื่องจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นผลจากนโยบายกีดกันทางการค้าของรัฐบาลทรัมป์ที่เพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากหลายประเทศ และภาวะสงครามทั้งในยูเครนและตะวันออกกลาง ส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย สนับสนุนราคาทองมีแนวโน้มเป็นขาขึ้น ทั้งนี้มองราคาทองคำต่อจากนี้ อาจเห็นการปรับฐานลงมาก่อน แล้วค่อยปรับตัวขึ้นได้ต่ออีกครั้ง โดยคาดว่าระดับราคาทองคำราว 50,000 บาท จะเห็นได้ภายในปีนี้อย่างแน่นอน                นายวรุต รุ่งขํา ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จํากัด (YLG) กล่าวว่า ทิศทางราคาทองคำเป็นขาขึ้นอย่างชัดเจน สอดคล้องกับทองคำในตลาดโลก โดยทองคำไทย ทำ All Time High ที่ 48,400 บาท ทั้งนี้ทองคำได้แรงหนุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย จากสงครามการค้าของสหรัฐ มีความรุนแรงมากขึ้น ล่าสุด นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ประกาศเก็บภาษีนำเข้าในอัตราสูง วันที่ 2 เม.ย.นี้ รวมถึงความตึงเครียดในตะวันออกกลาง โดย ล่าสุด อิสราเอล ได้โจมตีฉนวนกาซาครั้งใหญ่                นอกจากนี้องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของสหรัฐลง ส่งผลให้นักลงทุนคาดว่าการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในคืนนี้ (19 มี.ค.68) อาจเห็นการปรับลดคาดการณ์ GDP ลง จากเดิมคาดเติบโตได้ราว 2.1% และมองว่าจะเป็นการเปิดทางส่งสัญญาณปรับลดดอกเบี้ยปีนี้มากกว่า 2 ครั้ง จากเดิมที่คาดว่าจะปรับลดแค่ 2 ครั้ง กระตุ้นให้ราคาทองคำในช่วงสั้นปรับตัวขึ้น เกาะติดประชุมเฟดคืนนี้ ชี้ชะตาทองคำ พุ่งหรือร่วง?                สำหรับกลยุทธ์การลงทุน มองราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ต่อเนื่อง โดยแนะติดตามผลประชุมเฟด หากออกมาตามคาด หรือปรับลดดอกเบี้ยมากกว่า 2 ครั้ง จะเป็นบวกต่อราคาทองคำแท่งขยับขึ้นแตะระดับ 48,600 บาท ส่วน Gold spot แตะ 3,047 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์  แต่หากผ่านแนวต้านไปได้คาดราคาทองคำจะปรับขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 3,060 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ หรือคิดเป็นราคาทองคำไทยที่ 48,800 บาท                อย่างไรก็ตามถ้าไม่เป็นไปตามคาดการณ์ หรือยืนยันที่จะลดดอกเบี้ยที่ 2 ครั้ง อาจมีแรงขายทำกำไรสลับออกมา ให้แนวรับไว้ที่ 3,000-2,977 เหรียญสหรัฐ/ออนซ์ คิดเป็นทองคำไทยที่ 47,850-47,500 บาท  แนะเข้าซื้อเมื่ออ่อนตัวลง เนื่องจากยังมีปัจจัยหนุนจากสงครามการค้า และสงครามในตะวันออกกลาง YLG จ่อปรับเป้าราคาทองคำขึ้น หากเฟดหั่นดอกเบี้ยมากกว่า 2 ครั้ง                ปัจจุบัน YLG ยังคงเป้าหมายราคาทองคำในปีนี้ที่ 49,450 บาท หรือ 3,100 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์  ในขณะที่วาณิชธนกิจอื่น ปรับเป้าหมายราคาทองคำขึ้นแตะระดับ 3,200-3,500 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ หรือคิดเป็นราว 51,000 บาท กันแล้ว โดย YLG ยังรอดูผลการประชุมเฟดคืนนี้ก่อนว่าจะมีการปรับลดดอกเบี้ยมากกว่า 2 ครั้ง รวมถึงแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอยหรือไม่ หากออกมาตามนี้ ก็จะพิจารณาปรับเป้าหมายขึ้นตามไปด้วย

เปิดสถิติการจ่ายปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ปี 2567

เปิดสถิติการจ่ายปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ปี 2567

           หุ้นวิชั่น - เปิดสถิติการจ่ายปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ปี 2567  พบว่า ริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นรวมกว่า 593,610 ล้านบาท จากการจ่าย เงินปันผล 864 ครั้ง จากบริษัทจดทะเบียน 590 บริษัท Key Findings: • ในปี 2567 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ) จำนวน 590 บริษัท มีการจ่ายเงินปันผลรวม 864 ครั้ง รวมเงินปันผลจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นรวมกว่า 593,610 ล้านบาท • ในช่วงเทศกาลจ่ายเงินปันผล คือ ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2567 บริษัทจดทะเบียนจ่ายเงินปันผลรวม 538 ครั้ง หรือคิดเป็น 62.3% ของจำนวนการจ่ายเงินปันผลทั้งหมดในปี 2567 โดยเดือนพฤษภาคมมีการจ่ายเงินปันผลมากที่สุดทั้งจากจำนวนครั้งและมูลค่าเงินปันผลจ่าย • หมวดธุรกิจที่มีการจ่ายเงินปันผลมูลค่าสูงสุด 3 อันดับแรก ในปี 2567 ยังคงเป็นหมวดเดียวกันกับปี 2566 ได้แก่ หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค หมวดธนาคาร และหมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยบริษัทจดทะเบียนในหมวดพลังงานและสาธารณูปโภค (Energy and utilities sector) จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นด้วยมูลค่ามากที่สุดมีมูลค่ารวมกว่า 170,148 ล้านบาท • หากพิจารณาความสามารถในการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนจากผลประกอบการ ประจำปี 2567 พบว่า บริษัทจดทะเบียนไทย 925 บริษัท ที่รายงานผลประกอบการ มีกำไรสุทธิลดลงจากปีก่อน แต่ก็อยู่ในระดับสูง โดยมีกำไรสุทธิรวมกว่า 869,000 ล้านบาท และพบว่า 67.8% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด (627 บริษัท) ยังคงมีกำไรสุทธิจากการดำเนินธุรกิจ • อย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินปันผลในปี 2568 นอกจากจะขึ้นอยู่กับผลประกอบการปี 2567 ก็ยังขึ้นอยู่กับผลประกอบการที่เกิดขึ้นในปี 2568 ที่อาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ รวมทั้งนโยบายการจ่ายเงินปันผลและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัทอีกด้วย • จากข้อมูลสถิติการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย เป็นข้อมูลเบื้องต้นให้นักลงทุนได้ทราบช่วงเวลาในการจ่ายเงินปันผล เพื่อใช้ประกอบการวางแผนคัดเลือกหุ้นปันผลและเลือกจังหวะเวลาในการเข้าซื้อหุ้นปันผลเข้าพอร์ตการลงทุน            จากข้อมูลสถิติการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (ตลาดหุ้นไทย) พบว่า ในปี 2567 มีการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นรวมสูงถึง 593,610 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 เล็กน้อย และหากพิจารณาการจ่ายเงินปันในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยเติบโตเฉลี่ยปีละ 4.01% (ภาพที่ 1) ด้วยปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในปี 2566 - 2567 ที่มีรายได้รวมสูงปีละกว่า 18 ล้านล้านบาท และมีกำไรสุทธิอยู่ถึง 941,000 ล้านบาทและ 870,000 ล้านบาท (ภาพที่ 2) ตามลำดับ            โดยการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวเป็นการจ่ายปันผล 864 ครั้ง จากบริษัทจดทะเบียน 590 บริษัท (บริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่จ่ายเงินปันผลปีละครั้ง บางบริษัทจ่าย 2 - 4 ครั้งในแต่ละปี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายการจ่ายเงินปันผลของแต่ละบริษัท) ตามตารางที่ 1 ในช่วงเทศกาลจ่ายเงินปันผล คือ ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2567 บริษัท จดทะเบียนจ่ายเงินปันผลรวม 538 ครั้ง หรือคิดเป็น 62.3% ของจำนวนการจ่าย เงินปันผลทั้งหมดในปี 2567 โดยเดือนพฤษภาคมมีการจ่ายเงินปันผลมากที่สุดทั้งจากจำนวนครั้งและมูลค่าเงินปันผลจ่าย            ในช่วงเทศกาลจ่ายเงินปันผล พบว่า ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2567 มีการจ่ายเงินปันผลรวม 538 ครั้ง คิดเป็น 62.3% ของจำนวนการจ่ายเงินปันผลทั้งหมดในปี 2567 โดยในเดือนพฤษภาคม 2657 เป็นเดือนที่การจ่ายเงินปันผลมากที่สุดรวม 464 ครั้ง คิดเป็น 53.7% ของจำนวนการจ่ายเงินปันผลทั้งหมดในปี 2567            ในแต่ละปีจะมีเทศกาลจ่ายเงินปันผลอีกหนึ่งรอบในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายนของทุกปี พบว่า ในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีการจ่ายเงินปันผลรวม 210 ครั้ง หรือประมาณ 24.3% ของจำนวนการจ่ายเงินปันผลในปี 2567 (ภาพที่ 3)            หากพิจารณามูลค่าเงินปันผลที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ในปี 2567 (ภาพที่ 4) พบว่า ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2567 มีการจ่ายเงินปันผลรวม 366,148 ล้านบาท คิดเป็น 61.7% ของมูลค่าเงินปันผลทั้งหมดที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้นในปี 2567 โดยเดือนที่มีการจ่ายเงินปันผลสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เดือนพฤษภาคม 2567 ที่มีการจ่ายเงินปันผลด้วยมูลค่าสูงสุด 216,566 ล้านบาท คิดเป็น 36.5% ของมูลค่าเงินปันผลทั้งหมดที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้นในปี 2567 ตามมาด้วยเดือนเมษายน 2567 ที่มีการจ่ายเงินปันผลด้วยมูลค่าสูงสุด 145,256 ล้านบาท คิดเป็น 24.5% และเดือนกันยายน 2567 มีการจ่ายเงินปันผลด้วยมูลค่าสูงสุด 145,100 ล้านบาท คิดเป็น 24.4% ตามลำดับ 3 หมวดธุรกิจที่มีการจ่ายเงินปันผลด้วยมูลค่าสูงสุดในปี 2567 ได้แก่ หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค หมวดธนาคาร และหมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร            เมื่อพิจารณาการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียน ในปี 2567 จำแนกตามหมวดธุรกิจ พบว่า 3 หมวดธุรกิจที่มีการจ่ายเงินปันผลด้วยมูลค่าสูงสุด ยังคงเป็นหมวดธุรกิจเดียวกันกับปี 2566 ได้แก่ หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค หมวดธนาคาร หมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ตารางที่ 2)            โดยบริษัทจดทะเบียนในหมวดพลังงานและสาธารณูปโภค (Energy and utilities sector) จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นด้วยมูลค่ามากที่สุด รวมกว่า 170,148 ล้านบาท ตามมาด้วยบริษัทจดทะเบียนในหมวดธนาคาร (Banking sector) ที่จ่ายเงินปันผลด้วยมูลค่ารวม 107,093 ล้านบาท และหมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information & Communication Technology sector) ที่จ่ายเงินปันผลด้วยมูลค่ารวม 53,594 ล้านบาท แม้ว่า ในปี 2567 บริษัทจดทะเบียนมีกำไรสุทธิรวมน้อยกว่าปี 2566 แต่ก็อยู่ในระดับสูงถึง 869,000 ล้านบาท ขณะที่ SET Index ลดลงไปอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า SET Index อาจลงมาอยู่ในระดับต่ำ อาจเป็นโอกาสของนักลงทุนในการเข้ามาเลือกซื้อหุ้นเพื่อรับเงินปันผล            สถิติการจ่ายเงินปันผลที่กล่าวมาข้างต้น อาจสรุปได้ว่า การลงทุนในหุ้นปันผลก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนและผู้มีเงินออมที่เน้นการลงทุนระยะยาว ที่สำคัญคือ การคัดเลือกหุ้นปันผล และจังหวะเวลาในการเข้าซื้อหุ้นปันผล ซึ่งโดยปกติราคาหุ้นจะสูงหรือต่ำ ก็ขึ้นอยู่ปัจจัยพื้นฐาน (อาทิ ทิศทางเศรษฐกิจ ภาวะอุตสาหกรรม และผลประกอบการ เป็นต้น) และปัจจัยด้านจิตวิทยา ที่เกี่ยวข้องกับความคาดหวังของนักลงทุนและปริมาณความต้องการหุ้นของนักลงทุน จากการเคลื่อนไหวของ SET Index ตั้งแต่ตลาดเปิดทำการซื้อขายในปี 2518 ถึงปัจจุบัน พบว่า มีช่วงที่ SET Index แตะที่ระดับ 1,000 จุด ขึ้นไป อยู่ 3 ช่วงเวลา กล่าวคือ ในปี 2533 ที่ SET Index ทำสถิติสูงสุดระหว่างที่แตะ 1,143 จุดในวันที่ 25 กรกฎาคม 2533 ก่อนลดลงมาปิดสิ้นปีที่ 612.86 จุด และในช่วงที่ 2 ในช่วงปี 2538 - 2539 ช่วงก่อนวิกฤติต้มยำกุ้ง และในช่วงที่ 3 ตั้งแต่ปี 2554 ถึงปัจจุบัน (ภาพที่ 5) ที่ SET Index มีการเคลื่อนไหวอยู่ในระดับสูงกว่า 1,000 จุด ต่อเนื่องกว่า 15 ปี (ภาพที่ 5)            หากเปรียบเทียบผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นในไทย (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ) พบว่า ข้อสังเกตที่น่าสนใจ กล่าวคือ 1) ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 คือ ในปี 2563 ที่กำไรสุทธิบริษัทจดทะเบียนลดลงค่อนข้างเยอะเหลือเพียง 399,000 ล้านบาท ขณะที่ SET Index เคลื่อนไหวในช่วงกว้างอยู่ในช่วง 1,024.46 - 1,600.48 จุด และปิดที่ 1,449.35 จุด ก่อนที่กำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนก็ฟื้นตัวมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาด 2) ในปี 2567 แม้ว่าบริษัทจดทะเบียนมีกำไรสุทธิรวมลดลงน้อยกว่าปี 2566 แต่ก็อยู่ในระดับสูงถึง 869,000 ล้านบาท ขณะที่ SET Index ลดลงไปอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า SET Index อาจลงมาอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งอาจเป็นโอกาสของนักลงทุนในการเข้ามาเลือกซื้อหุ้นเพื่อรับเงินปันผล            หากพิจารณาผลประกอบการปี 2567 ของบริษัทจดทะเบียน พบว่า ส่วนใหญ่ (627 บริษัท) หรือ 67.8% ของบริษัท     จดทะเบียนทั้งหมดยังคงมีกำไรสุทธิจากการดำเนินธุรกิจในปี 2567 อย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินปันผลนอกจากจะขึ้นอยู่กับผลประกอบการปี 2567 ก็ยังขึ้นอยู่กับผลประกอบการที่เกิดขึ้นในปี 2568 ที่อาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ รวมทั้งนโยบายการจ่ายเงินปันผล ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัทอีกด้วย            ดังนั้น จากข้อมูลสถิติการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย เป็นข้อมูลเบื้องต้นให้นักลงทุนได้ทราบช่วงเวลาในการจ่ายเงินปันผล เพื่อใช้ประกอบการวางแผนคัดเลือกหุ้นปันผลและเลือกจังหวะเวลาในการเข้าซื้อหุ้นปันผลเข้าพอร์ตการลงทุน

ASW ปี68 ชู “Growing Success, Growing Happiness” ตุน Backlog ที่ 25,413 ลบ.

ASW ปี68 ชู “Growing Success, Growing Happiness” ตุน Backlog ที่ 25,413 ลบ.

           เจาะแผน “แอสเซทไวส์” ก้าวต่ออย่างมั่นคง มุ่งรักษาสภาพคล่อง ทยอยโอนคอนโดต่อเนื่อง พร้อมขยายทำเลหลักใกล้สถานศึกษาและภูเก็ต สร้างการเติบโตระยะยาว            หุ้นวิชั่น - แม้เป็น “บริษัทมหาชน” ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เพียง 4 ปี แต่บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ASW สามารถยืนหยัดฝ่าความผันผวนของตลาดในปี 2567 รักษาอันดับ Top 10 ของอุตสาหกรรม และทำผลงาน New High สร้างสถิติสูงที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา 20 ปี ด้วยรายได้รวม 9,987 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 1,457 ล้านบาท จากการรักษาวินัยทางการเงิน การขยายทำเลไปภูเก็ต และเดินหน้ากลยุทธ์ Lifestyle Marketing ทำให้ ASW เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้บริษัทพร้อมเดินหน้าต่อในปี 2568 อีกหนึ่งปีแห่งความท้าทายของตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย            กลยุทธ์หลักที่ “กรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) ประกาศใช้ในปี 2568 คือ “Growing Success, Growing Happiness” มุ่งสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคง พร้อมตั้งเป้าหมายยอดขาย 19,500 ล้านบาท และเป้าหมายรายได้ 10,500 ล้านบาท โดยมี Backlog อยู่ 25,413 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะรับรู้รายได้ภายในปีนี้ราว 11,699 ล้านบาท และทยอยรับรู้รายได้ไปจนถึงปี 2570            “การรักษาสภาพคล่อง” ยังเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจในปีนี้ ASW จึงเตรียมทยอยโอนกรรมสิทธิ์รับรู้รายได้ในโครงการคอนโดมิเนียมสร้างเสร็จใหม่ 7 โครงการ มูลค่ารวม 14,050 ล้านบาท เช่น โครงการเคฟ โคโค่ บางแสน (Kave Coco Bangsaen) มูลค่า 2,000 ล้านบาท โครงการเคฟ วันเดอร์แลนด์ (Kave Wonderland) ตรงข้าม ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต มูลค่า 2,550 ล้านบาท และโครงการเดอะ ไทเทิล เลเจนดารี บางเทา (THE TITLE Legendary Bang-Tao) Leisure Residences ในภูเก็ต มูลค่า 4,500 ล้านบาท เป็นต้น ที่จะเป็นแรงส่งหลักในการสร้างการรับรู้รายได้ในปี 2568 นี้            “Growing Success คือสร้างการเติบโตให้กับบริษัทด้วยการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในทำเลที่เราถนัดและมีดีมานด์สูง โดยปีนี้ ASW มีแผนเปิดโครงการใหม่ 10 โครงการ มูลค่ารวม 22,000 ล้านบาท ส่วน Growing Happiness คือเราจะสร้างความสุขให้กับลูกค้า พนักงาน พันธมิตร และสังคม ผ่านธุรกิจใหม่ของ ASW ที่เชื่อมโยงกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มลูกค้า และกิจกรรมต่างๆ ที่เราสนับสนุนหรือจัดขึ้นตลอดทั้งปี ซึ่งทั้งสองแนวทางนี้เป็นการสะท้อนตัวตนของ ASW บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นผู้นำด้านไลฟ์สไตล์” กรมเชษฐ์ อธิบาย            หากเจาะแผนของ ASW จะพบว่าพอร์ตคอนโดมิเนียมยังเป็น Key Engine ในการขับเคลื่อนยอดขายและรายได้ของบริษัท จากการเปิดโครงการใหม่ครบทั้ง 3 แบรนด์หลัก คือ Kave, Atmoz และ Modiz ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล รวม 5 โครงการ มูลค่าทั้งหมด 9,800 ล้านบาท โดยเฉพาะ “ทำเลถนัด” ใกล้มหาวิทยาลัย หรือกลุ่มแคมปัสคอนโดที่กระแสตอบรับดีในหลายทำเลที่เปิดตัว เช่น ย่านรังสิตทั้งฝั่ง ม.กรุงเทพ และ ม.ธรรมศาสตร์ ปีนี้ ASW ยังขยายมาทำเล “พรีแคมปัส” หน้าโรงเรียนดัง รร.บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) รองรับความต้องการของผู้ปกครองที่มีลูกเรียนมัธยมศึกษาด้วย            อีก Strategic Location สำคัญอย่าง “ภูเก็ต” มีกลุ่ม Leisure Residences ที่พัฒนาโดยบริษัท ร่มโพธิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ TITLE บริษัทย่อยในเครือ เป็นเรือธงสำคัญ ซึ่งปีนี้มีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดใหม่ 3 โครงการ มูลค่ารวม 10,700 ล้านบาท ล่าสุด ด้วยความอลังการของ “สระว่ายน้ำและส่วนกลาง” ของ โครงการเดอะ คาตาเบลโล (THE KATABELLO) โครงการแรกของ THE TITLE ในกะตะ มูลค่า 5,500 ล้านบาท และโครงการอะดอร่า ราไวย์ (ADORA RAWAI) มูลค่า 1,400 ล้านบาท ทั้ง 2 โครงการกวาดยอดจองไปแล้วกว่า 50% ส่วนโครงการเดอะ ไทเทิล บาลโคนี ในยาง (THE TITLE Balcony Naiyang) มูลค่า 3,800 ล้านบาท จะเปิดตัวในไฮซีซั่นถัดไป            นอกจากขยายทำเลเพิ่มแล้ว THE TITLE ยังนำความเชี่ยวชาญในภูเก็ต และความเข้าใจ Insight ที่สั่งสมมากว่า 12 ปี มาต่อยอดสู่โครงการ “Luxury Villa” เป็นครั้งแรกอีก 2 โครงการ เริ่มจากโครงการเดอะ ไทเทิล วิลล่า เอสเตลลา ในยาง (THE TITLE Villa Estella Naiyang) วิลล่าพร้อมสระว่ายน้ำส่วนตัว จำนวน 26 ยูนิต มีพื้นที่ส่วนกลางและสวนสีเขียวกว่า 1 ไร่ ใกล้หาดในยางเพียง 600 ม. มูลค่า 500 ล้านบาท ปัจจุบันมียอดขายแล้วกว่า 70% หลังเปิดขายเพียง 1 สัปดาห์ และโครงการเดอะ ไทเทิล วิลล่า เชิงทะเล (THE TITLE Villa Cherngtalay) ทำเลฮอตใจกลางเกาะภูเก็ต มูลค่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งจะเปิดตัวในไฮซีซั่นถัดไปเช่นกัน ทำให้ปีนี้พอร์ตภูเก็ตมีโครงการเปิดใหม่ทั้งสิ้น 5 โครงการ รวมมูลค่า 12,200 ล้านบาท หรือคิดเป็นราว 55% ของมูลค่าโครงการใหม่ทั้งหมดในพอร์ตปีนี้            “ดีเอ็นเอของ ASW คือส่วนกลางขนาดใหญ่ รองรับการใช้งานได้หลากหลายฟังก์ชัน ซึ่งถือเป็นจุดเด่นที่ทำให้ผู้บริโภคเลือกโครงการของเรา เมื่อร่วมกับ TITLE ที่โดดเด่นด้านทำเลและคุณภาพอยู่แล้ว เราจึงนำดีเอ็นเอนี้ใส่ในโครงการ THE TITLE ด้วย เพราะเราเชื่อว่าลูกค้ากลุ่ม Leisure Residences ไม่ได้แค่ซื้อที่อยู่อาศัย แต่กำลังลงทุนในคุณภาพชีวิตและไลฟ์สไตล์การพักผ่อน ซึ่งกระแสตอบรับจากลูกค้าชาวไทยและชาวต่างชาติในปีที่ผ่านมา ทำให้เรามั่นใจในการเดินหน้าตลาดภูเก็ตอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นอีกหนึ่ง Key Engine ที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับ ASW ในระยะยาว” กรมเชษฐ์ กล่าว            ทั้งนี้ ด้านความน่าเชื่อถือ ASW ติดอันดับหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ระดับ “AA” จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) พร้อมผลประเมินการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนไทย (CGR) ระดับ 5 ดาว “ดีเลิศ” (Excellent) เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน และมีอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทที่ระดับ “BBB-” แนวโน้ม “Positive” จากทริสเรทติ้ง เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2567 ล่าสุด บริษัทได้เสนอขายหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2568 เป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ต่อผู้ลงทุนสถาบันและ/หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ จำนวน 2 รุ่น ได้แก่ หุ้นกู้อายุ 2 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.30-5.40% ต่อปี และหุ้นกู้อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.90-6.00% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน จองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท และทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท เพื่อใช้ในการซื้อทรัพย์สิน ลงทุน หรือใช้จ่ายในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน และใช้หมุนเวียนระยะสั้นในกิจการ โดยจะเปิดให้จองซื้อหุ้นกู้วันที่ 1-3 เม.ย. 2568 ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ทั้งหมด 14 แห่ง            สำหรับบริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ASW ดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยมุ่งพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวสูงและแนวราบบนทำเลศักยภาพ ภายใต้แนวคิด “ความสุขที่ออกแบบมาเพื่อคุณ” หรือ “We Build Happiness” ปัจจุบันได้พัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมและโครงการบ้านจัดสรรมาแล้วกว่า 75 โครงการ ภายใต้แบรนด์ในเครือที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความสุขให้เหมาะกับทุกไลฟ์สไตล์ ได้แก่ แบรนด์ เคฟ (KAVE), แบรนด์ แอทโมซ (ATMOZ), แบรนด์ โมดิซ (MODIZ), แบรนด์ เอสต้า (ESTA), แบรนด์ ดิ อาเบอร์ (THE ARBOR), แบรนด์ ดิ ออเนอร์ (THE HONOR) รวมถึงแบรนด์ภายใต้ บริษัท ร่มโพธิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ “TITLE” ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ รวมมูลค่าโครงการกว่า 121,731 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและโครงการพร้อมอยู่ 22 โครงการ และโครงการที่กำลังเปิดขายและอยู่ระหว่างการพัฒนา 19 โครงการ และ ณ สิ้นปี 2567 มียอดขายรอรับรู้รายได้ (Backlog) มูลค่ารวมกว่า 25,413 ล้านบาท [PR News]

TBN เป้ารายได้โต 30-35% แบ็คล็อกแน่น 400 ลบ.

TBN เป้ารายได้โต 30-35% แบ็คล็อกแน่น 400 ลบ.

          “บมจ.ทีบีเอ็น คอร์ปอเรชั่น หรือ TBN” พร้อมคัมแบ็ค เติบโตต่อเนื่อง ตั้งธงรายได้ปี 68 เติบโตราว 30-35% จากปีก่อน ผันตัวเป็น Intelligent Digital Solutions Accelerator และตุน Backlog แข็งแกร่งเฉียด 400 ลบ. โดยเบื้องต้นบริษัทมีรายได้ที่เป็น Recurring Income แล้วมากกว่า 200 ลบ. ชูกลยุทธ์การเติบโตในปีนี้เตรียมเพิ่มผลิตภัณฑ์และการบริการ โซลูชั่น AI ต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กรลูกค้า รวมถึงโซลูชั่น Cybersecurity           นายปนายุ ศิริกระจ่างศรี  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีบีเอ็น คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TBN ผู้นำด้าน Intelligent Digital Platform เปิดเผยว่าแผนธุรกิจในปี 2568  บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 68 เติบโตราว 30-35% จากปีก่อนที่มีรายได้ราว 349.30 ล้านบาท โดยเบื้องต้นบริษัทประเมินว่ามีรายได้ประจำ (Recurring Income)  แล้วกว่า 200 ล้านบาท โดย ณ สิ้นปีที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้ที่เป็น Recurring Income เพิ่มขึ้นแตะที่ 60% ของรายได้รวม เทียบกับปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ราว 50% กว่าๆ และเชื่อว่าปีนี้จะเติบโตต่อเนื่อง โดยปีที่ผ่านมาบริษัทได้ขยายตลาดกลุ่มลูกค้าไปยัง Sector อื่นๆ ได้แก่ กลุ่มโรงพยาบาลและกลุ่มพลังงาน           นอกจากนี้ บริษัทยังมีแบ็คล็อกแข็งแกร่งอยู่ที่ราว 389 ล้านบาท โดยจะรับรู้รายได้ปีนี้ 263 ล้านบาท และส่วนที่เหลือ 126 ล้านบาท ทยอยรับในปีถัดไป ซึ่งปีนี้บริษัทยังเดินหน้ารับงานต่อเนื่องทั้งงานรัฐและเอกชน รวมทั้งงานที่อยู่ในเทรนด์การเติบโต อาทิ กลุ่ม AI, Cybersecurity และ คลาวด์ ซึ่งบริษัทมีความเชี่ยวชาญ           อย่างไรก็ตาม ปี 2568 นี้ บริษัทคาดหวังว่างานโครงการขนาดใหญ่ที่เลื่อนรับรู้จากปีก่อนจะทยอยรับรู้แล้วเสร็จภายในปีนี้ นอกจากนี้บริษัทยังเน้นงานภาครัฐเพิ่มขึ้น พร้อมกับการเพิ่มความเข้มงวดในการบริหารโครงการ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากต้นทุนส่วนเกินที่อาจไม่สามารถเรียกเก็บคืนได้ในอนาคต           โดยกลยุทธ์การเติบโตในปี 2568 บริษัทเตรียมเพิ่มผลิตภัณฑ์และการบริการ โซลูชั่น AI ต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถนำ AI ไปใช้ในหลายๆส่วนในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการบริหารความรู้ (knowledge management) รวมถึงการสื่อสาร AI communications platform นอกจากนั้น TBN ยังมีโซลูชั่นด้าน Cybersecurity สำหรับองค์กรขนาดใหญ่และ mobile application อีกด้วย           “TBN ยังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการนำเสนอเทคโนโลยีที่ช่วยให้องค์กรไทยก้าวสู่อนาคตได้อย่างมั่นคงและมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมสร้างความแข็งแกร่งและความยั่งยืนในระยะยาว พัฒนาการ ของ Mendix สู่การเป็น AI Low-Code Platform เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการพัฒนาแอปพลิเคชัน และใช้ AI เพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงานให้ ตอบโจทย์ธุรกิจที่ต้องการความยืดหยุ่นและความเร็วในการปรับตัว” นายปนายุ กล่าว