#หุ้น


แนวคิด “ซื้อลูกหนี้ประชาชน”  ทำไม JMT ถึงได้ประโยชน์?

แนวคิด “ซื้อลูกหนี้ประชาชน” ทำไม JMT ถึงได้ประโยชน์?

          หุ้นวิชั่น - จับตา “ซื้อลูกหนี้ประชาชน” ออกจากระบบธนาคาร ซึ่งหากโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ให้น้ำหนักกรณีที่รัฐบาลเปิดโอกาสในการซื้อหนี้เพิ่มเติม หรือว่าจ้างเอกชนในการบริหาร เนื่องจากการสนับสนุนในรูปแบบดังกล่าว มีความเสี่ยงที่รัฐได้รับและต้นทุนด้านนโยบายสูงกว่ากรณีที่รัฐบริหารเอง โดยปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนในแง่ของนโยบาย จึงต้องติดตามในระยะถัดไป คงน้ำหนัก Neutral กลุ่มบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และเลือก JMT (Trading Buy, TP 15.60 บาท) เป็นหุ้นเด่น ประเด็น           บทวิเคราะห์ บล. กรุงศรี ระบุว่า แนวคิด “ซื้อลูกหนี้ประชาชน” ออกจากระบบธนาคาร จากภาครัฐเสนอให้มีการซื้อหนี้ของประชาชนทั้งหมดออกจากระบบธนาคาร แล้วให้ประชาชนค่อยๆ ผ่อนชำระในอัตราที่ลดลง พร้อมล้างประวัติเครดิตบูโร โดยอาศัยการลงทุนจากภาคเอกชน เพื่อลดการใช้งบประมาณของรัฐ           ปัจจุบันมีแนวทางที่อาจเป็นไปได้ 3 กรณี i) ให้ภาคเอกชนที่สนใจเข้ามาร่วมลงทุนและบริหาร NPLs ii) อาศัยรัฐวิสาหกิจเป็นหน่วยงานกลาง (อาทิ BAM หรือ SAM) ในการซื้อหนี้เสีย โดยบริหารหนี้ Secured NPLs เอง และว่าจ้างบริษัทเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญติดตามหนี้ Unsecured NPLs (เนื่องจาก BAM และ SAM ไม่มีความชำนาญในธุรกิจดังกล่าว) iii) จัดตั้งหน่วยบริหาร NPLs ขึ้นมาโดยเฉพาะซึ่งจะดำเนินการร่วมกันระหว่างสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นเจ้าของหนี้ และรัฐบาลช่วยในการบริหาร           บล. กรุงศรี มองเป็น Sentiment บวกเล็กน้อยต่อกลุ่ม AMC เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนในแง่ของนโยบาย แต่จากทั้ง 3 กรณีมองได้ในลักษณะ           กรณีที่ 1 เปิดโอกาสในการซื้อหนี้เพิ่มเตมแก่เอกชน โดยให้การสนับสนุนอาทิ ซื้อหนี้ Unsecured NPLs ได้ในราคาต่ำที่ 5% ของมูลหนี้ หรือให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับการซื้อหนี้เพื่อเป็น Incentive ในการซื้อหนี้ที่อาจเก็บยากกว่าปกติเนื่องจากเป็น NPLs คงค้างในระบบมานาน            กรณีที่ 2 รัฐว่าจ้าง AMC ที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารหนี้เสีย จะเป็นบวกกับกลุ่ม AMC โดยเฉพาะกลุ่มติดตามทวงถามหนี้ Unsecured NPLs (JMT, CHAYO) เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีรัฐวิสาหกิจที่เชี่ยวชาญด้านนี้ เนื่องจาก BAM และ SAM เน้นหนี้ Secured NPLs ซึ่งหากอิงบนยอดหนี้กลุ่มคนที่มีหนี้ไม่มีหลักประกันต่อคน < 1 แสนบาทที่ 35% ของหนี้ NPLs ราว 1.2 ล้านล้านบาท (ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ, NESDC) คิดเป็นมูลค่า 4.2 แสนล้านบาท และโดยทั่วไปธุรกิจติดตามทวงถามหนี้ Unsecured จะได้รับค่า Commission ราว 5-10% ของหนี้ที่ติดตามได้            กรณีที่ 3 รัฐบริหารเองหรือตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่เพื่อบริหารหนี้ดังกล่าว คาดเป็นผลลบจากการเพิ่มการแข่งขันในกลุ่ม AMC ซึ่งอาจทำให้ปริมาณ NPL ที่ซื้อได้มีโอกาสลดลง           หากโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นจริง เรามองน้ำหนักกรณีที่ 1 > กรณีที่ 2 > กรณีที่ 3 เนื่องจากกรณีที่ 1 รัฐได้รับความเสี่ยงต่ำกว่าอีก 2 กรณีซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากรัฐวิสาหกิจ และรัฐต้องร่วมแบกความเสี่ยงในการบริหารหนี้เสียเอง           คงน้ำหนัก Neutral กลุ่มบริหารสินทรัพย์ ระยะสั้นยังคงชอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์ซึ่งมีสัดส่วนรายได้จากหนี้ Unsecured NPLs เป็นหลักจากแนวโน้ม Cash collection ที่ฟื้นตัวต่อเนื่องติดต่อกัน 2 ไตรมาส และคงมุมมองระมัดระวังต่อกลุ่มบริหารหนี้ที่มีสัดส่วนรายได้จาก Secured NPLs            เลือก JMT (Trading Buy, TP 15.60 บาท) เป็นหุ้น Top pick กลุ่มฯ โดยปัจจุบันหุ้นซื้อขายบน PBV 0.7x ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง -1.5SD จึงเป็นโอกาสเก็งกำไรจากปัจจัยบวกข้างต้น

อภิปรายรัฐบาลประทุ เขย่าหุ้นไทยแค่ไหน? โผ 5 บจ.ซื้อหุ้นคืน- จับตา 10 หุ้น Deep Value เช็กได้!

อภิปรายรัฐบาลประทุ เขย่าหุ้นไทยแค่ไหน? โผ 5 บจ.ซื้อหุ้นคืน- จับตา 10 หุ้น Deep Value เช็กได้!

           หุ้นวิชั่น – โหมโรงศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ที่พุ่งเป้าไปที่ตัว นายกรัฐมนตรี วันที่ 24-25 มี.ค.นี้ เขย่าหุ้นกลุ่มการเมืองอะไรบ้าง นักลงทุนควรทำตัวอย่าไร หุ้นอะไรได้ประโยชน์ หุ้นอะไรได้รับผลกระทบ ต้องติดตาม ทีมงานหุ้นวิชั่น พร้อมรายงาน            จับตา 10 หุ้น Deep Value ประกอบด้วย CPALL, BDMS, MINT, BH, GPSC, SCGP, HMPRO, KBANK, BBL, AOT            เกาะติด 5 หุ้น ที่มีโอกาส ซื้อหุ้นคืน ตาม PTT นั่นคือ PTTEP, PTTGC, BCP, TOP, SCGP            บทวิเคราะห์ บล .กรุงศรี ประเมินทิศทางการลงทุนตลาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้า(24-29 มี.ค.2568) ว่า มีโอกาส “ฟื้นตัว” ตลาดจับตา การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล & นายกรัฐมนตรี 24-25 มี.ค. เพื่อประเมินเสถียรภาพรัฐบาล แต่กรณี Base Case ประเมิน รัฐบาลขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจได้ต่อ และน่าจะหนุนเม็ดเงินลงทุนชะลอดูความชัดเจน ทยอยกลับมาลงทุน SET ที่อยู่ในโซนลงทุน Current Equity Risk Premium ปัจจุบัน 4.8% +/- > AVG. +1.5 S.D.            โดยมีหุ้นเด่น กลุ่มที่มาตรการรัฐฯหนุน (ธนาคาร เช่าซื้อ อสังหา) หุ้นสื่อสาร คาดกระแสงาน AI Revolution รวมถึงคาดมี Preview งบ 1Q25F ที่ยังมีแนวโน้มดีหนุนกลุ่มที่ตลาดเก็งมีศักยภาพทำ และ 10 หุ้น Deep Value (CPALL, BDMS, MINT, BH, GPSC, SCGP, HMPRO, KBANK, BBL, AOT)            และ 10 หุ้น Deep Value (CPALL, BDMS, MINT, BH, GPSC, SCGP, HMPRO, KBANK, BBL, AOT)            หุ้นเด่นสัปดาห์นี้ : แนะนำ PTT, TRUE, KTB ส่วนสัปดาห์ก่อน BDMS, BCH, SCGP ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย -6.22% vs. ดัชนีฯที่ให้ผลตอบแทน 1.09% • PTT (TP Con-34.9): คาดโมเมนตัมการประกาศโครงการ Treasury Stock หนุนต่อ • TRUE(TP25F-15): กระแสงาน AI Revolution + ใกล้ Preview คาดกำไร 1Q25F ดีต่อ • KTB(TP25F-27): ได้ประโยชน์มาตรการซื้อหนี้ธนาคาร + ผ่อนคลาย LTV สูงลำดับต้น •            Investment Theme: • March25 Best Picks: AMATA, AP, BA, BH, BTS, CPALL, MTC • 1Q25F Stock Picks: ADVANC, AWC, BJC, BTS, CPALL, HMPRO, IVL, KBANK, KTB, TRUE Mid-Small Cap Play: INSET, JMT, MALEE, MOSHI            ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดหุ้นไทย • (*) US Econ: 24 มี.ค. ดัชนี Flash PMI ภาคผลิตและบริการ มี.ค. 25 ไม่มีคาด prev. 52.7 และ 51.0 จุด, 25 มี.ค. ความเชื่อมั่นผู้บริโภค Conf. Board มี.ค. คาด 94.0 จุด vs prev. 98.3 จุด • (*) US PCE: 29 มี.ค. เงินเฟ้อ PCE ก.พ.25 คาด +2.5%y-y, +0.3%m-m prev. +2.5% +0.3% • (*) CH Rate: 26 มี.ค. ติดตามอัตราดอกเบี้ย Facility Rate อายุ 1 ปี คาดคงที่ระดับ 2.0% • (*) TH Politic: 24-25 มี.ค. ติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล • (*) Tech Seminar: 27 มี.ค. ติดตามงานสัมมนา AI Revolution “a New Paradigm of New World Economy” บจ.หลักๆ ที่ร่วมงาน ได้แก่ ADVANC, BBIK, KBANK, WHA •             Treasury Stock: คาดกระแสเก็งหุ้นที่มีโอกาสทำ Treasury Stock เพิ่มขึ้น ประเมินหุ้นที่มีฐานะการเงินรองรับได้เป็นเป้า ได้แก่ หุ้นกลุ่มธนาคาร PTTEP, PTTGC, BCP, TOP, SCGP •            สัปดาห์นี้ วันที่ 24 – 29 มี.ค. ต่างประเทศ ติดตามรายงาน GDP และ Core PCE สหรัฐฯ ดัชนี Flash PMI ประเทศเศรษฐกิจสำคัญ ภายในประเทศ ติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจ สัปดาห์หน้า เรื่องหลักที่กำหนดทิศทางตลาดคาดอยู่ที่ภายใน ติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล 24-25 มี.ค. ตลาดน่าจะติดตามสัญญาณบ่งชี้ถึงเสถียรภาพรัฐบาล            ส่วนปัจจัยภายนอก ติดตามแนวโน้มดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะ Flash PMI ภาคผลิตและภาคบริการ มี.ค. 25 และความเชื่อมั่นผู้บริโภค ทั้งของ ม.มิชิแกน และ Conf Board หลังจากตลาดกังวลต่อความเสี่ยงเศรษฐกิจสหรัฐฯ มากขึ้น จากสัญญาณชี้นำในส่วน Inverted Yield Curve ที่เกิดขึ้นระยะหลัง ก่อนปลายสัปดาห์ รวมถึงการรายงานเงินเฟ้อ Core PCE ซึ่งคณะกรรมการ Fed ให้น้ำหนัก โดยมองมีความเสี่ยงด้านสูงสะท้อนจากโครงสร้างของ CPI และ PPI ที่รายงานออกมาก่อนหน้า

อ่านเกมส์ ศึกกลุ่มรับเหมาก่อสร้างไทย พร้อมโอกาสเติบโต [HoonVision x FynnCorp]

อ่านเกมส์ ศึกกลุ่มรับเหมาก่อสร้างไทย พร้อมโอกาสเติบโต [HoonVision x FynnCorp]

Key Highlights: แนวโน้มกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง ยังมีปัจจัยหนุนจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐที่เติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ผู้รับเหมารายใหญ่ ยังคงได้เปรียบในการแข่งขัน ในด้านผู้เล่นใหญ่ในอุตสาหกรรม ช.การช่าง (CK) ครองมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap) ถึง 80% และเป็นบริษัทที่ทำกำไรสุทธิได้สูงสุดของกลุ่ม ขณะที่ อิตาเลียนไทยฯ (ITD) ทำรายได้สูงสุด ในกลุ่มก่อสร้างโครงการภาครัฐ CK ถือเป็นผู้เล่นที่โดดเด่นในกลุ่ม และ ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง (UNIQ) โดดเด่นเรื่อง Dividend Yield สูง กลุ่มธุรกิจก่อสร้างยังมีแนวโน้มขยายตัว เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2568 เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้อนุมัติการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 4 โครงการใหญ่ รวมมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ของบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และโครงการ Data Center 3 โครงการจากบริษัทในไทย จีน และสิงคโปร์ สะท้อนการเติบโตของเทคโนโลยี AI และส่งเสริมการก้าวเข้าสู่การเป็นดิจิทัลฮับของไทย นอกจากนี้ ยังส่งผลดีต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ ธุรกิจก่อสร้าง ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC) ประเมินการก่อสร้างภาครัฐในปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัว 3% จากการได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นของหน่วยงานหลักที่ลงทุนภาคก่อสร้าง ได้แก่ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง และการเปิดประมูล การเริ่มก่อสร้างโครงการเมกะโปรเจกต์ต่างๆ ขณะที่ SCB EIC คาดการก่อสร้างภาคเอกชนจะขยายตัวเล็กน้อย จากแรงกดดันของตลาดที่อยู่อาศัยฟื้นตัวช้า โดยเฉพาะตลาดโครงการระดับราคาปานกลาง - ล่าง ท่ามกลางภาวะ Oversupply ของอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นรายใหญ่ในอุตสาหกรรม ยังคงได้รับปัจจัยบวกเนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความสามารถในการเข้าประมูลรับงานก่อสร้างจากโครงการภาครัฐ ซึ่งมีมูลค่าสูง มีสัดส่วนมากกว่าการก่อสร้างภาคเอกชน และเป็นโครงการลงทุนต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟฟ้า มอเตอร์เวย์ รวมถึง Megaprojects ด้านการคมนาคมที่จะเปิดประมูลในปี 2568 นี้ รวมมูลค่าโครงการกว่า 4 แสนล้านบาท CK ครองส่วนแบ่งตลาดใหญ่ ในกลุ่มผู้เล่นในอุตสาหกรรมก่อสร้าง สามารถแบ่งได้ตามกุล่มที่รับงานก่อสร้างโครงการภาครัฐเป็นหลัก กลุ่มที่รับงานภาคเอกชนเป็นหลัก กลุ่มที่รับงานก่อสร้างอื่นๆ กลุ่มควบคุมงานก่อสร้าง รวมไปถึงรับงานเฉพาะด้าน หากพิจารณาผู้เล่นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่รับงานโครงการภาครัฐเป็นหลัก ได้แก่ ITD, CK, NWR, RT, UNIQ, CIVIL, SQ ซึ่งจากข้อมูล มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) ในปัจจุบัน พบว่า CK ครองตลาดถึง 80% ตามมาด้วย UNIQ (6%), ITD (5%), CIVIL (4%), SQ (3%) ขณะที่บริษัทขนาดเล็กอย่าง RT และ NWR มีสัดส่วน 1% ITD ทำรายได้สูงสุด แต่ CK ทำกำไรนำโด่ง แม้ว่า ITD มีรายได้รวมในปี 2567 สูงสุดที่ 72,454.98 ล้านบาท ตามมาด้วย CK (38,763.91 ล้านบาท) และ UNIQ (10,448.46 ล้านบาท) ซึ่ง ITD และ CK เป็นกลุ่มผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มีประสบการณ์ มีเป้าหมายการรับงานโครงการขนาดใหญ่ รวมถึงในต่างประเทศ และการลงทุนสร้างงานในลักษณะสัมปทานโครงการ จึงส่งผลให้มีโอกาสในการทำรายได้มากกว่าผู้เล่นในกลุ่ม แต่เมื่อดูที่กำไรสุทธิ พบว่า CK มีกำไรส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสูงสุด มูลค่า 1,445.50 ล้านบาท ตามมาด้วย UNIQ (183.04 ล้านบาท), CIVIL (114.88 ล้านบาท) และ RT (71.15 ล้านบาท) CIVIL - RT ใช้เงินทุนคุ้มค่า, UNIQ แจกปันผลสูงสุด เมื่อดูอัตราส่วนผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) และผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) พบว่า CIVIL และ RT มี ROE สูงสุดที่ 6.2% และ 6.02% ตามลำดับในปี 2567 สะท้อนถึงประสิทธิภาพการใช้เงินทุนในการสร้างผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นได้ดีเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ส่วน RT, UNIQ และ CK เด่นในด้าน ROA สะท้อนว่าบริษัทใช้สินทรัพย์ที่มีในการสร้างกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าผู้เล่นในกลุ่ม ส่วนในแง่ของเงินปันผล UNIQ มี Dividend Yield สูงสุดที่ 3.95% ตามมาด้วย CK (2.09%) และ CIVIL (1.26%) สะท้อนว่าบริษัทเหล่านี้จ่ายเงินปันผลสูงในกลุ่มเมื่อเทียบกับราคาหุ้นในปัจจุบัน กล่าวโดยสรุป CK ถือว่าเป็นผู้เล่นที่โดดเด่นในภาพรวม โดยติดสามอันดับแรก ทั้งในแง่ผลการดำเนินงาน การสร้างผลตอบแทน และการจ่ายปันผล จากการที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ในกลุ่ม ส่วน UNIQ อาจดึงดูดนักลงทุนที่ต้องการรายได้จากเงินปันผล และแม้ไม่ได้เป็นผู้เล่นใหญ่สุดในกลุ่ม แต่บริษัทมีความสามารถในการบริหาร ควบคุมต้นทุนดีขึ้นต่อเนื่องจากการซื้อเป็นจำนวนมาก ปัจจัยเสี่ยง การแข่งขันที่รุนแรงจากผู้รับเหมาก่อสร้างจากจีน ส่งผลให้ผู้เล่นของไทยเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น และอาจเป็นแบบนี้ต่อไปในอนาคต นอกจากนั้น ยังเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้สินค้าวัสดุก่อสร้างจากจีน จึงส่งผลกระทบต่อเนื่องทั้ง Supply Chain ของธุรกิจก่อสร้างในประเทศ การฟื้นตัวช้าของตลาดที่อยู่อาศัย จากอุปสงค์ที่มีการโอนกรรมสิทธฺ์ทั่วประเทศยังคงลดลงในปีที่ผ่านมาแม้จะมีแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ในการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง อย่างไรก็ตาม REIC คาดการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2568 จะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านปริมาณและมูลค่าที่ 1.6% และ 1.4% ตามลำดับ ความล่าช้าของการเปิดประมูลโครงการก่อสร้างของภาครัฐ ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อรายได้ กระแสเงินสด และต้นทุนของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรม หมายเหตุ: การวิเคราะห์ข้างต้นเป็นการดูอัตราส่วนทางการเงินเบื้องต้นเทียบกับคู่แข่งในช่วงระยะเวลาเดียว (2024) ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน อ่านรายละเอียดเพิ่ม ที่ https://app.visible.vc/shared-update/458bb195-88b7-4a0c-8827-d715d087bcb1

EGCO ทุ่มงบ 3 หมื่นลบ. รุกขยายพลังงานในปท.-ตปท.

EGCO ทุ่มงบ 3 หมื่นลบ. รุกขยายพลังงานในปท.-ตปท.

           หุ้นวิชั่น - EGCO รุกขยายธุรกิจพลังงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยวางงบลงทุนไว้ที่ 30,000 ล้านบาท พร้อมแสวงหาแนวทางธุรกิจใหม่ เพิ่มรายได้-กำไร            นางสาวจิราพร ศิริคำ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO เปิดเผยว่า ปี 2568 บริษัทตั้งเป้างบลงทุนไว้ที่ 30,000 ล้านบาท รองรับการขยายธุรกิจโรงไฟฟ้า และธุรกิจพลังงานที่เกี่ยวเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง จากปี 2567 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 10,587 ล้านบาท            ทั้งนี้บริษัทฯ ยังมีโครงการสำคัญ ที่จะเข้ามาหนุนการเติบโตของรายได้ ได้แก่ โครงการ APEX ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมี 6 โครงการ กำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 841 เมกะวัตต์ โดยคาดว่าจะสามารถ COD ได้ในไตรมาส 1/68 จำนวน 5 โครงการ และไตรมาส 4/68 จำนวน 1 โครงการ             โครงการธุรกิจสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน CDI ในอินโดนีเซีย ซึ่งบริษัทได้ร่วมลงทุน 30% โดย CDI มีหลายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะธุรกิจด้านโลจิสติกส์ที่มีโอกาสขยายตัวสูง คาดว่าจะมีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต             โครงการ Yunlin ในไต้หวัน ซึ่งปัจจุบันสามารถเดินเครื่องเต็มกำลัง และสามารถรับรู้รายได้เต็มปี            โครงการ QPL ในฟิลิปปินส์ ที่กำลังดำเนินการต่อสัญญาในไตรมาสนี้ คาดว่าจะสามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง            ปัจจุบันบริษัทมีโรงไฟฟ้าจำนวน 42 แห่ง กำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 6,608 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น 6,461 เมกะวัตต์ที่จ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) แล้ว และอีกอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ราว 147 เมกะวัตต์            นอกจากนี้ บริษัทยังมองหาโอกาสในการร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อพัฒนาพลังงานทางเลือกและเพิ่มประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้า            สำหรับเป้าหมายในปี 2568-2560 กลยุทธ์ Triple P ยังคงเป็นแนวทางสำคัญของ EGCO GROUP โดยมีเป้าหมายหลัก คือ การลดการปล่อยคาร์บอนภายในปี 2573  ซึ่งเป็นเป้าหมายที่บริษัทดำเนินการอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ บริษัทยังคงแสวงหาแนวทางธุรกิจใหม่ เพิ่มรายได้อย่างสม่ำเสมอ และรักษากำไรให้คงที่  โดยบริษัทจะให้ความสำคัญกับการปรับปรุงโครงสร้างองค์กร การพัฒนาบุคลากร และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้มากขึ้น  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

KKP หั่น GDP เหลือ 2.3% ชี้ไทยเสี่ยงโตต่ำ นทท.จีนหด-นโยบาย Trump กดดัน

KKP หั่น GDP เหลือ 2.3% ชี้ไทยเสี่ยงโตต่ำ นทท.จีนหด-นโยบาย Trump กดดัน

          KKP Research ประเมินเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มโตต่ำและเผชิญความไม่แน่นอนสูงจากนโยบายการค้าของสหรัฐ ฯ โดยพิจารณาจากข้อมูลเศรษฐกิจปี 2024 ที่เติบโตได้ค่อนข้างต่ำเพียง 2.5% แม้ว่าการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวได้ดีและมีมาตรการแจกเงินขนาดใหญ่จากภาครัฐแล้วก็ตาม บ่งชี้ถึงความอ่อนแอในภาคส่วนอื่นๆ ของเศรษฐกิจไทยอย่างชัดเจนจากปัญหาเชิงโครงสร้างโดยเฉพาะการผลิตภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีขนาดประมาณ 25% ของ GDP แต่หดตัวต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาจากการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในหลายอุตสาหกรรม  ทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเปราะบางและกระจุกตัวมากขึ้น จากการพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวเป็นหลัก ซึ่งอาจไม่เพียงพอที่จะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตในระยะยาวได้ อีกทั้งการเข้าสู่สังคมสูงอายุ ยังจะทำให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง และหากไม่มีการเปลี่ยนแปลง มีแนวโน้มที่อาจต่ำกว่า 2.0% ภายในปี 2035           สำหรับปี 2025 KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026 ท่องเที่ยวจีนไม่มา ชั่วคราวหรือถาวร ?           จำนวนนักท่องเที่ยวจีนตั้งแต่ช่วงหลังตรุษจีนมาเติบโตได้ต่ำกว่าที่ประเมินไว้มาก โดยจำนวนนักท่องเที่ยวจีนปรับตัวลดลงจากประมาน 6 แสนคนต่อเดือน หรือ 60% ของช่วงก่อนโควิด ลงมาที่ระดับต่ำกว่า 4 แสนคน หรือ 35% ของช่วงก่อนโควิดซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2023 ประเด็นที่น่ากังวล คือ สัญญาณการฟื้นตัวที่ช้าของนักท่องเที่ยวจีนบางส่วนไม่ได้เกิดจากปัจจัยชั่วคราวและอาจทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้าลงในระยะยาว นักท่องเที่ยวจีนมีความนิยมเที่ยวในประเทศมากขึ้น ข้อมูลในช่วงที่ผ่านมาสะท้อนว่าการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในต่างประเทศของชาวจีนฟื้นตัวช้ากว่าการท่องเที่ยวในประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยการท่องเที่ยวต่างประเทศต่ำกว่าช่วงก่อนโควิดประมาณ 13.5% ในขณะที่การท่องเที่ยวในประเทศต่ำกว่าช่วงก่อนโควิดประมาณ 6.4% ซึ่งอาจสะท้อนว่านักท่องเที่ยวจีนมีความชื่นชอบในการท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น การแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นจากประเทศญี่ปุ่นและมาเลเซีย โดยจำนวนเที่ยวบินจากจีนไปยังญี่ปุ่นและมาเลเซียมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 อย่างชัดเจน นอกจากนี้เหตุการณ์ลักพาตัวนักแสดงจีนในไทยยังเพิ่มความกังวลกับนักท่องเที่ยวจีนที่จะมาเที่ยวไทย กรุ๊ปทัวร์จีนคือกลุ่มหลักที่ไม่กลับมา โดยแม้นักท่องเที่ยวทั่วไป (Free Individual Traveler) จะเริ่มฟื้นตัวกลับมาได้กว่า 77% ของช่วงก่อนโควิด แต่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนแบบกรุ๊ปทัวร์ยังคงไม่กลับมาในระดับเดิม โดยอยู่เพียงระดับประมาณ 45% ของจำนวนช่วงก่อนโควิดเท่านั้น           KKP Research ประเมินว่าหากนักท่องเที่ยวจีนไม่กลับมาฟื้นตัวจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยอาจไม่สามารถกลับไปแตะระดับ 40 ล้านคนเท่ากับช่วงก่อนโควิดได้เร็วตามคาด เนื่องจากนักท่องเที่ยวจีนคิดเป็นสัดส่วนกว่า 30% ของภาคการท่องเที่ยวทั้งหมด โดย KKP Research ปรับประมาณการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวปี 2025 เป็น 37.2 ล้านคน จาก 38.1 ล้านคน และปี 2026 เป็น 39.9 ล้านคนจาก 40.6 ล้านคน เศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญหน้ากับความเสี่ยงจากนโยบายการค้าสหรัฐ ฯ           KKP Research ประเมินว่าประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่เผชิญความเสี่ยงจากนโยบายการค้าสหรัฐ ฯ เป็นลำดับต้น ๆ ของภูมิภาค โดยมีโอกาสสูงที่ไทยจะอยู่ในรายชื่อกลุ่มแรกของการเรียกเก็บภาษี reciprocal tariffs ซึ่งสะท้อนจากข้อมูลสองส่วน คือ 1) การเกินดุลการค้ากับสหรัฐ ฯ ในระดับสูง ซึ่งไทยถือเป็นประเทศลำดับที่ 11 ของโลกที่มีการเกินดุลการค้ากับสหรัฐ ฯ มากที่สุด 2) ส่วนต่างระหว่างอัตราภาษีเฉลี่ยตามน้ำหนักการค้าที่ไทยคิดกับสหรัฐ ฯ และสหรัฐ ฯ คิดกับไทยถือว่าสูงเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศกลุ่ม Emerging Markets และสูงที่สุดใน ASEAN และไทยยังมีมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีอีกด้วย           KKP Research ประเมินว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากนโยบายการค้าสหรัฐฯ มีความไม่แน่นอนสูงมากและยังไม่ได้รวมผลกระทบไว้ในการประเมินตัวเลข GDP โดยมี 4 ปัจจัยหลักที่ต้องประเมินผลกระทบจากการขึ้นภาษี คือ 1) ขนาดของภาษีที่สหรัฐ ฯ จะขึ้นกับไทย 2) ผลต่อการชะลอตัวของการส่งออกของไทยจากการขึ้นภาษี 3) มูลค่าเพิ่มที่ไทยสร้างได้จากการส่งออกไปยังสหรัฐ ฯ และ 4) ระยะเวลาที่ไทยจะถูกขึ้นภาษี โดยประเมินว่า           1) อัตราภาษีที่ไทยจะถูกเรียกเก็บจากสหรัฐฯ จะอยู่ในช่วง 10% - 20% โดยคำนวณจากส่วนต่างของอัตราภาษีที่ไทยคิดกับสหรัฐ ฯ และสหรัฐ ฯ คิดกับไทย อย่างไรก็ตามอัตรานี้ยังมีความไม่แน่นอนสูง           2) มูลค่าเพิ่มที่ไทยสร้างได้ในประเทศจากสินค้าส่งออกไปยังสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับ 30% - 40%  ในช่วงก่อนปี 2020 สินค้าส่งออกไทยไปสหรัฐฯ มีมูลค่าเพิ่มค่อนข้างสูงที่ประมาน 50% - 60% อย่างไรก็ตามตั้งแต่หลังปี 2020 การเติบโตของการส่งออกเกิดจากการนำเข้าจากจีนเพื่อส่งต่อไปยังสหรัฐฯ ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มในประเทศในระดับต่ำมาก ทำให้มูลค่าเพิ่มของสินค้าส่งออกไทยในปัจจุบันลดต่ำลง           จากสองปัจจัยสำคัญ KKP Research คาดการว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในภาพรวมจะอยู่ในช่วง 0.2 – 0.4ppt หากมีการประกาศขึ้นภาษีจริงและอัตราภาษีคงไว้ทั้งปี ผลกระทบดังกล่าวไม่รวมถึงผลจากข้อเสนอที่ไทยอาจต้องเจรจาเพื่อให้สหรัฐปรับลดอัตราภาษีนำเข้าลงมา ปัจจัยเหล่านี้อาจเป็นปัจจัยลบเพิ่มเติมโดยต้องจับตาช่วงต้นเดือนเมษายน ที่สหรัฐฯ จะมีการประกาศเกี่ยวกับนโยบายภาษีนำเข้าเพิ่มเติม นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐมีแนวโน้มให้ผลจำกัด           มาตรการแจกเงินผ่านนโยบาย Digital Wallet เป็นความหวังของภาครัฐว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ส่งผลบวกน้อยกว่าที่ประเมินไว้ โดยมาตรการแจกเงินใน 2 ระยะแรกคิดเป็นเงินมูลค่ารวมกว่า 1.77 แสนล้านบาท แต่การบริโภคภาคเอกชนในช่วงไตรมาส 4 ปรับตัวดีขึ้นเพียงเล็กน้อย และอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีโดยเฉพาะเมื่อไม่รวมการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว ทำให้แม้ว่าภาครัฐมีการอนุมัติงบกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมผ่านการแจกเงินระยะที่สามซึ่งจะแจกคนเป็นจำนวน 2.7 ล้านคนอายุระหว่าง 16-20 คิดเป็นเงิน 2.7 หมื่นล้านบาทและจะเริ่มแจกช่วงไตรมาส 2 ของปี และการแจกเงินระยะสุดท้ายน่าจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี แต่จากขนาดของการแจกเงินที่เล็กลง KKP Research ประเมินว่าผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมจะมีจำกัดโดยคาดว่าการบริโภคจะขยายตัวได้ใกล้เคียงกับระดับที่เคยประเมินไว้ คาด ธปท. ลดดอกเบี้ยถึง 1.25% ในปี 2026           ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในเดือนตุลาคมและเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ลงมาที่ระดับ 2% ซึ่งมีทิศทางสอดคล้องกับที่ KKP Research ประเมินไว้ว่ามีโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะปรับลดลงเหลือ 1.5% ในปีนี้ อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังคงอ่อนแอต่อเนื่อง ความไม่แน่นอนด้านการค้าโลก ภาวะทางการเงินที่ตึงตัวจากการหดตัวของสินเชื่อ และคุณภาพสินเชื่อที่ยังคงแย่ ส่งผลให้ KKP Research คาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีการปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มอีก 2 ครั้งในปี 2025 และอีก 1 ครั้งในปี 2026 และทำให้อัตราดอกเบี้ยสุดท้าย (Terminal rate) ในรอบการลดดอกเบี้ยนี้จะอยู่ที่ 1.25% เหตุผลสำคัญที่เชื่อว่าดอกเบี้ยควรลดลงเพิ่มเติม คือ ปัญหาด้านความเสี่ยงเสถียรภาพระบบการเงินลดน้อยลงมาก จากสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่ธนาคารระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และสินเชื่อภาคธนาคารหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณหนี้ต่อ GDP ของไทยเริ่มปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการสื่อสารของ ธปท. ในช่วงที่ผ่านมาที่กล่าวว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้จะไม่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงด้านเสถียรภาพของระบบการเงิน สัญญาณในตลาดการเงินหลายส่วนสะท้อนว่านโยบายการเงินในปัจจุบันอาจตึงตัวมากเกินไป อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มอยู่ต่ำกว่าระดับศักยภาพในอดีต นอกจากนี้สัญญาณของตลาดการเงินทั้งเงินบาทที่แข็งค่า อัตราดอกเบี้ยดอกเบี้ยระยะยาวที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง อาจส่งสัญญาณว่านโยบายการเงินในปัจจุบันมีแนวโน้มตึงตัวเกินไป

TRUE เสนอขายหุ้นกู้อายุ 3 - 10 ปี ชูดอกเบี้ยคงที่ 3.00-3.95%

TRUE เสนอขายหุ้นกู้อายุ 3 - 10 ปี ชูดอกเบี้ยคงที่ 3.00-3.95%

          หุ้นวิชั่น - กรุงเทพฯ : 21 มีนาคม 2568 - บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE บริษัทโทรคมนาคมเทคโนโลยีชั้นนำอันดับ 1 ของไทย และอันดับ 1 ของโลกด้านความยั่งยืน ด้วยคะแนน DJSI 2024 สูงสุดในกลุ่มอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเป็นปีที่ 7 ติดต่อกัน เตรียมเสนอขายหุ้นกู้ชุดใหม่ให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป จำนวน    5 ชุด อายุตั้งแต่ 3 ปี ถึง 10 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ระหว่าง [3.00 – 3.95]% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน ด้วยอันดับความน่าเชื่อถือ “A+” แนวโน้ม “คงที่” (Stable) จากทริสเรทติ้ง สะท้อนถึงความแข็งแกร่งของ ทรู คอร์ปอเรชั่น ในธุรกิจโทรคมนาคมและธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัล คาดเปิดให้จองซื้อระหว่าง วันที่ 2 และวันที่ 6-7 พฤษภาคม 2568 ผ่าน 7 สถาบันการเงินชั้นนำได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ กสิกรไทย ไทยพาณิชย์ ซีไอเอ็มบี ยูโอบี บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคินภัทร และบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส รวมถึงการขายผ่านแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet โดยมีธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นนายทะเบียนหุ้นกู้และผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้           นางสาวยุภา ลีวงศ์เจริญ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน (ร่วม) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ทรู คอร์ปอเรชั่น ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีของไทย สำหรับการควบรวมกิจการระหว่างทรูและดีแทคซึ่งดำเนินมาครบ 2 ปีในขณะนี้ ได้เสริมสร้างศักยภาพและความแข็งแกร่งของบริษัทฯ ส่งผลให้บริษัทฯ เติบโตอย่างยั่งยืน โดยในปี 2567 ที่ผ่านมา บริษัทฯ มีรายได้จากการให้บริการ (ไม่รวมรายได้ค่าเชื่อมต่อโครงข่าย หรือ IC)  1.66 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4.6% มี EBITDA 9.81 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน และมีกำไรสุทธิ (ภายหลังการปรับปรุง) 9.9 พันล้านบาท โดย EBITDA เติบโตต่อเนื่อง 8 ไตรมาสติดต่อกัน สำหรับปี 2568 คาดว่าจะเป็นปีที่บริษัทเริ่มมีผลกำไรสุทธิหลังหักภาษี”           นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้ประกาศปรับโครงสร้างผู้บริหารเพื่อเสริม         ความแข็งแกร่งของทีมผู้นำและร่วมขับเคลื่อนบริษัทให้เติบโตทัดเทียมบริษัทชั้นนำระดับโลก โดยแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญ 3 ตำแหน่ง ได้แก่ Group CEO  ดูแลบริหารงานขับเคลื่อนด้านยุทธศาสตร์ภาพรวมของบริษัท     President/CEO – Enterprise & Data Business ดูแลสายงานในกลุ่มธุรกิจดิจิทัล ออนไลน์ ทรูวิชั่นส์ ดาต้าและ     กลุ่มลูกค้าองค์กร เพื่อปรับโฉมด้านดิจิทัลของทรูให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต  ส่วน President/CEO – Consumer Business รับผิดชอบกลุ่มธุรกิจโมบายล์และงานบริการลูกค้า การปรับโครงสร้างครั้งนี้สะท้อนวิสัยทัศน์ในการเตรียมพร้อมรับความท้าทายในอนาคตและเสริมสร้างสถานะทางการเงินให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น           บริษัทฯ และหุ้นกู้ที่จะเสนอขายในครั้งนี้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ “A+” แนวโน้ม “คงที่” (Stable) จากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 สะท้อนถึงสถานะความเป็นผู้นำในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ เสริมทัพด้วยโครงข่ายทั่วประเทศ ชุดคลื่นความถี่ที่ครอบคลุม และชื่อแบรนด์ที่ผู้บริโภคคุ้นเคย  อีกทั้งปัจจัยบวกจากประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการควบรวม รวมถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทฯ ที่คาดว่าน่าจะปรับตัวดีขึ้นในอนาคตอีกด้วย           ทางด้านผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้กล่าวเพิ่มเติมว่า “หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา และมีการคาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมวันที่ 25 มิถุนายน 2568 ทำให้ช่วงเวลานี้เป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนในการสะสมหุ้นกู้ เพื่อล็อคผลตอบแทนไว้ก่อนที่จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยลงอีก โดยเฉพาะนักลงทุนที่นิยมลงทุนในหุ้นกู้ที่มีคุณภาพสูง และด้วยอันดับความน่าเชื่อถือสูงที่ระดับ “A+” แนวโน้ม “คงที่” ของทรู หุ้นกู้ทรูจึงเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนในช่วงนี้”           หุ้นกู้ครั้งนี้จะเสนอขายแก่ผู้ลงทุนทั่วไป (Public Offering) จำนวน 5 ชุด โดยมีอายุหุ้นกู้ให้เลือกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 10 ปี ครอบคลุมผู้ลงทุนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ต้องการลงทุนระยะสั้น ระยะกลาง หรือระยะยาว วัตถุประสงค์ในการ     ออกหุ้นกู้ครั้งนี้เพื่อชำระคืนหนี้จากการออกตราสารหนี้ โดยเป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ จ่ายดอกเบี้ยทุกๆ 6 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ และคาดว่าจะเปิดให้จองซื้อระหว่างวันที่ 2 และ    วันที่ 6-7 พฤษภาคม 2568 สำหรับผู้ลงทุนทั่วไป มูลค่าจองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท และทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท บริษัทฯ เชื่อว่าหุ้นกู้ที่เสนอขายในครั้งนี้จะได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดีเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา โดยหุ้นกู้ทั้ง 5 ชุดที่เสนอขาย มีรายละเอียดดังนี้ หุ้นกู้ชุดที่ 1 อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ [3.00 - 3.15]% ต่อปี หุ้นกู้ชุดที่ 2 อายุ 4 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ [3.30 - 3.45]% ต่อปี หุ้นกู้ชุดที่ 3 อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ [3.45 - 3.60]% ต่อปี หุ้นกู้ชุดที่ 4 อายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ [3.65 - 3.80]% ต่อปี หุ้นกู้ชุดที่ 5 อายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ [3.80 - 3.95]% ต่อปี และผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนวันครบกำหนดได้ตั้งแต่หุ้นกู้ครบปีที่ 5 เป็นต้นไป           ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยที่แน่นอนจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง โดยบริษัทฯ อยู่ระหว่างการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ และร่างหนังสือชี้ชวนซึ่งยังไม่มีผลบังคับใช้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงาน ก.ล.ต. ผู้ลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ และร่างหนังสือชี้ชวนที่ www.sec.or.th หรือ สอบถามรายละเอียดที่ผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ทั้ง 7 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา (ยกเว้นสาขาไมโคร) หรือ โทร. 1333 หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่าน Bangkok Bank Mobile Banking ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา โทร. 02 888 8888 กด 869 หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่าน https://www.kasikornbank.com/kmyinvest (ยกเว้นบุคคลสัญชาติต่างด้าว และนิติบุคคล สามารถจองซื้อผ่านสำนักงานใหญ่และสาขา) และรวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะหน่วยงานขายของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา หรือ โทร. 02 777 6784 หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่านแอป SCB EASY และรวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด ในฐานะหน่วยงานขายของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา หรือ โทร. 02 626 7777 หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่าน แอป CIMB Thai ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา หรือ โทร. 02 285 1555 บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด โทร. 02 680 4004 บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) โทร. 02 165 5555 หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่านแอปฯ Dime! และรวมถึง ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ในฐานะหน่วยงานขายของบริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)           สำหรับผู้สนใจจองซื้อหุ้นกู้ผ่านแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.truemoney.com หรือติดต่อขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของ บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด โทร. 1240 กด 6

4 หุ้นแบงก์ เฮ! รับมาตรการค้ำประกันสินเชื่อเช่าซื้อ ‘รถกระบะ’

4 หุ้นแบงก์ เฮ! รับมาตรการค้ำประกันสินเชื่อเช่าซื้อ ‘รถกระบะ’

          หุ้นวิชั่น – ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.ธนชาต ระบุ กระทรวงการคลัง ออกมาตรการ “กระบะพี่ มีคลังค้ำ” ค้ำประกันสินเชื่อเช่าซื้อรถกระบะ วงเงิน 5 พันล้านบาท โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จะค้ำประกันและจ่ายส่วนต่างของภาระหนี้กับราคาขายทอดตลาดให้กับสถาบันการเงินตามเงื่อนไข และรัฐจะเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมค้ำประกันให้ 3 ปีแรก ส่วนปีที่ 4-7 คิดค่าธรรมเนียมเพียง 1.5% ต่อปี           สำหรับเงื่อนไข วงเงินค้ำประกันต่อรายสูงสุดจะอยู่ที่ 1.5 ล้านบาท เริ่มเปิดรับคำขอ 1 เม.ย. – 30 ธ.ค. 2568 คาดกระตุ้นยอดขายเพิ่ม 6,250 คัน           มองเป็น “บวก” ต่อกลุ่มธนาคารที่มีสัดส่วนสินเชื่อเช่าซื้อ อย่าง TISCO (32%), KKP (43%), TTB (29%), SCB (6%)           สำหรับ THANI ASK TIDLOR จะได้ประโยชน์ไม่มากเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นรถบรรทุกที่ไม่ใช่ รถกระบะปิคอัพ

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

EA ดึงพาสเนอร์ร่วมทุนฟื้นธุรกิจ-ศึกษา Green Data Center

EA ดึงพาสเนอร์ร่วมทุนฟื้นธุรกิจ-ศึกษา Green Data Center

          หุ้นวิชั่น - นายวสุ กลมกลี้ยง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) เปิดเผยว่า สำหรับผลการดำเนินงานในปีนี้ บริษัทฯ คาดว่ากำไรควรดีขึ้นกว่าปีก่อน โดยเฉพาะในแง่ของกำไรสุทธิจากการดำเนินงานที่คาดเติบโตต่อเนื่อง โดยในปีนี้จะไม่มีการปรับปรุงทางบัญชีที่ไม่ใช่เงินสด (one-time non-cash accounting write-off) เหมือนในไตรมาส 4/67 แล้ว และการเร่งระบายสต็อก หรือขายรถ EV ให้เร็วขึ้นจะช่วยสนับสนุนผลงาน            ทั้งนี้ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน  (Renewable Energy) ยังเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจอยู่ โดยอยู่ระหว่างติดตามงานประมูลพลังงานหนุมเวียนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม ราว 7 โครงการ กำลังการผลิตรวม 630 เมกะวัตต์ และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 2 โครงการ กำลังการผลิตรวม 150 เมกะวัตต์ โดย EA ก็คาดหวังจะชนะประมูลดังกล่าว เนื่องด้วยบริษัทฯ ถือว่ามีประสบการณ์ด้านพลังงานหมุนเวียนอย่างมากในประเทศไทย           ธุรกิจ EV Ecosystem นอกจากการเร่งดำเนินการขายรถแล้ว ยังมีการจับมือกับ “เฉิงหลี่” จากจีน ซึ่งเป็นบริษัทผลิตรถ Special vehicle เช่น รถขยะ เป็นต้น คาดว่าความร่วมมือดังกล่าวจะต่อยอดการผลิตรถไปสู่ Special Ev vehicle ได้ ประกอบกับบริษัทฯ ต้องการมุ่งเน้นลดเงินลงทุนลงให้น้อยที่สุด ผ่านการร่วมมือกับบริษัทต่างชาติ ซึ่งโรงงานของ EA ตั้งอยู่ใน Free Zone ก็พร้อมรับจ้างผลิต (OEM) ให้กับบริษัทรถต่างๆ โดยเริ่มมีการเจรจากับบริษัทจีนในหลายบริษัทแล้ว           ธุรกิจการผลิตแบตเตอรี่ บริษัทฯ จะร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่ในจีน ในการผลิตโปรดักซ์ และเจาะตลาดใหม่ๆ เพื่อพลิกฟื้นธุรกิจให้กลับมา โดยมองว่าจากนโยบายการค้าของสหรัฐ จะทำให้บริษัทแบตเตอรี่ในจีนเริ่มมองหาการขยายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศ เพื่อส่งออกไปยังสหรัฐได้ตามเดิม ซึ่งโรงงานอมิตาฯ ถือว่ามีจุดเด่นในแง่ของสิ่งอำนวยความสะดวก และสามารถขยายเป็น 4 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี จากปัจจุบันใช้พื้นที่ไปเพียงครึ่งเดียว  และในด้านของโครงสร้างพื้นฐาน ก็พร้อมให้บริษัทจีน พร้อมเข้ามาดำเนินการได้ทันที รวมถึงตัวโรงงานตั้งอยู่ใน Free Zone หาก EA มีการร่วมมือกับบริษัทจีน คาดจะใช้เวลาไม่ถึง 1 ปี จะสามารถผลิตโปรดักซ์ชั่นออกมาได้           ธุรกิจ Bio Fuel บริษัทฯ มีแผนเปิดดำเนินการโรงงาน Sustainable Aviation Fuel (SAF) ในช่วงปลายปีนี้ กำลังการผลิตราว 1 แสนลิตรต่อวัน โดยได้มีการร่วมมือกับ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT) แล้ว ในการทำเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานในสนามบินต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ EA เข้าสู่ตลาด SAF ได้ง่ายขึ้น           International Investment โดย EA ได้เข้าไปบริหารจัดการโครงการพลังงานในสปป.ลาวทั้งหมด และถือหุ้นในสัดส่วน 35% ใน Super Holding Company (SHC) ซึ่งแรกเริ่มจะบริหารจัดการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ กำลังการผลิตราว 2 กิกะวัตต์ และจะขยายไปสู่ 7 กิกะวัตต์ได้ในอนาคต และหากเทียบเป็นพลังงานไฟฟ้า (Electricity Outputs) จะเป็น 9,400 กิกะวัตต์ต่อชั่วโมง และจะเติบโตไปได้ถึง 30,000 กิกะวัตต์ต่อชั่วโมง ประกอบกับหากลาวจะส่งออกไฟฟ้าขายในต่างประเทศ SHC จะเป็นตัวแทนในการดำเนินงานด้วย รวมถึงการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าก็จะส่งผลต่อ SHC เช่นกัน เป็นต้น           ธุรกิจใหม่ บริษัทฯ ก็มองโอกาสขยายธุรกิจไปสู่ Green Data Center โดยรูปแบบจะร่วมมือกับบริษัทชั้นนำ และโซลาร์ลอยน้ำ EA จะเป็นผู้ดำเนินการเอง เนื่องจากเป็นสิ่งที่บริษัทมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว “เราพยายามแก้ไขปัญหาหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นในบริษัท คงเป็นเฟสแรกที่เราจะเดิน ขณะที่เงินลงทุนในปีนี้คงไม่ได้เยอะมาก เน้นลงทุนใน waste to energy เป็นหลัก ส่วนธุรกิจอื่นๆ ยังอยู่ในช่วงของการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน และการหาผู้ร่วมทุนเข้ามาลงทุน” นายวสุ กล่าว           สำหรับความคืบหน้าการตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้มีการว่าจ้างที่ปรึกษาตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ เพื่อตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในการดำเนินงานโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของบริษัท อีเอ โซล่า นครสวรรค์ จำกัด (ESN) และบริษัท อีเอ โซล่า ลำปาง จำกัด (ESL) ตามการกล่าวโทษของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ต่ออดีตผู้บริหารของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ได้ดำเนินการว่าจ้างบริษัท แกรนท์ ธอนตัน สเปเชียลิสท์ แอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จำกัด เป็นที่ปรึกษาตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (Special Audit) เมื่อเดือนสิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา           ทั้งนี้จากการตรวจสอบ ไม่พบความผิดปกติในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่สามารถยืนยันได้ว่าตัวบริษัทฯ ดำเนินการตาม Corporate Governance ที่ดี สะท้อนต่อ ESG Ratings ในตลาดโลก อย่างไรก็ตามก.ล.ต. ยังไม่มีการอัปเดตกลับมายังบริษัทฯ           พร้อมกันนี้บริษัทฯ ได้มีการเจรจากับทางทริสเรทติ้งอย่างสม่ำเสมอ จากความกังวลในเรื่องของหุ้นกู้ฯ จะถูกชำระได้หรือไม่ และจะทำอย่างไรต่อไป โดยมองว่าจากการอัปเดตกับทริสเรทติ้ง ก็คาดว่าจะมีการอัพเกรดเครดิตเรทติ้งของ EA ในขณะที่แผนการออกหุ้นกู้ บริษัทฯ ก็มองโอกาสทดลองออกหุ้นกู้ในช่วงปลายปีนี้ มูลค่าราว 1 หมื่นล้านบาท หากมีการอัพเกรดจากทริสเรทติ้ง และสภาวะตลาดต้องเอื้ออำนวยด้วย           นายวสุ กล่าวว่า แผนการชำระคืนหนี้หุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนที่ถูกเลื่อนออกมา ทั้ง EA248A และ EA249A บริษัทฯ ได้เตรียมวงเงินจากการเพิ่มทุนล่าสุด ที่ได้รับมา 7,600 ล้านบาท และยังมีความแข็งแกร่งจากเงินสดจากการดำเนินงาน ทำให้มั่นใจว่ามีสภาพคล่องเพียงพอที่จะชำระคืนหุ้นกู้ดังกล่าวได้ ขณะเดียวกันยังเจรจากับสถาบันทางการเงิน และอยู่ระหว่างดำเนินการขายสินทรัพย์เพิ่มติม           นอกจากนี้บริษัทฯ จะรักษาสิทธิ์ในการเพิ่มทุน หลังคณะกรรมการบริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) (NEX) มีมติให้จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (RO) โดยเชื่อว่า NEX ยังเป็นเรือธง ที่จะผลักดันเข้าสู่ EV Ecosystem ต่อไป           ด้านราคาหุ้นของ EA วันนี้ค่อนข้างปรับตัวลงมาค่อนข้างมาก โดยระดับ 2.50 บาท มองว่าน่าจะสะท้อนปัจจัยลบต่างๆ ไปหมดแล้ว

เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 3 รางวัล จาก Future Trends Awards 2025

เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 3 รางวัล จาก Future Trends Awards 2025

           เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 3 รางวัลจากงาน Future Trends Awards 2025  ทั้งรางวัลสำหรับบุคคลซึ่งเป็นผู้นำองค์กรที่โดดเด่นและมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางอนาคต และ รางวัลการบริหารองค์กรมีความโดดเด่นในด้านวิสัยทัศน์และการสร้างสรรค์นวัตกรรม  โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ พิจารณาคัดเลือกด้วยหลักเกณฑ์ข้อกำหนดที่เป็นมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ              บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) คว้ารางวัลเกียรติยศจากงาน Future Trends Awards 2025  ภายใต้แนวคิด Knowing the Future, Be the Winners of Tomorrow เวทีสำคัญของการมอบรางวัลเพื่อยกย่องบุคคลและองค์กรที่โดดเด่นในการนำเทรนด์และนวัตกรรมมาใช้อย่างสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ สร้างคุณค่าต่อการพัฒนาของทุกภาคส่วน พร้อมเป็นต้นแบบและเป็นแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนการเติบโตของวันนี้และอนาคตอย่างยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งด้านคุณภาพชีวิต สังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม  โดยสามารถคว้ารางวัลสำคัญถึง  3  ประเภท ได้แก่ รางวัล Leader of Business มอบให้แก่นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ได้รับต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เป็นเครื่องยืนยันถึงบทบาทของผู้นำที่สามารถขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าอย่างแข็งแกร่ง ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ โดยอาศัยกลยุทธ์การเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาปรับใช้ในทุกกระบวนการของการดำเนินงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างโอกาสใหม่ให้กับบริษัทฯ นอกจากนี้ รางวัลนี้ยังสะท้อนถึงแนวทางการบริหารที่คำนึงถึง ความคุ้มค่าและประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า ควบคู่ไปกับการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมในวงกว้าง ผ่านโครงการต่างที่ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืน รางวัล Leader of Leader มอบให้แก่ นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซึ่งได้รับต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ถือเป็นรางวัลที่แสดงถึง วิสัยทัศน์และภาวะผู้นำ ที่ได้รับการยอมรับในระดับสูงสุด ตอกย้ำถึงศักยภาพในการบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ รางวัลนี้สะท้อนถึงบทบาทในการ สร้างความร่วมมือระหว่างพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partnerships) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรให้สามารถแข่งขันและเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งในระดับสากล นอกจากนี้ ยังแสดงถึงความสามารถในการ เป็นแรงบันดาลใจ ให้กับบุคลากรในทุกระดับขององค์กร กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นความเป็นผู้นำนวัตกรรม ตลอดจนการทำงานร่วมกันเพื่อความสำเร็จของธุรกิจ โดยรางวัลนี้เป็นข้อพิสูจน์ถึงบทบาทในฐานะผู้นำที่ไม่เพียงแต่สร้างความสำเร็จให้กับบริษัทฯ เพียงอย่างเดียวแต่ยังช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมประกันชีวิตให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน รางวัล The Most Attractive Employer (Student 18-22 Years Old) เป็นเครื่องยืนยันถึงความสำเร็จของเมืองไทยประกันชีวิตในการดึงดูดและสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มนักศึกษาที่กำลังเตรียมตัวก้าวสู่ตลาดแรงงาน สะท้อนให้เห็นถึง วัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้าง ทันสมัย และส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทฯ เป็นที่ต้องการของคนรุ่นใหม่ บริษัทฯ มุ่งมั่นในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เอื้อต่อการพัฒนา เช่น การทำงานข้ามสายงาน (Cross-Functional Team) การหมุนเวียนเพื่อเรียนรู้งานอื่น ๆ (Internal Rotation) และ กิจกรรมเสริมสร้างทักษะเพื่อให้พนักงานได้มีโอกาสเรียนรู้อย่างมืออาชีพและเติบโตไปพร้อมกับองค์กร โดยมุ่งเน้นความสมดุลในชีวิตและการทำงาน รวมถึงการทำงานแบบยืดหยุ่น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการโอกาสทางอาชีพและคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีโครงการ “Young MTL Internship” ซึ่งเป็นโครงการนักศึกษาฝึกงานที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สัมผัสเเละรับประสบการณ์จากการฝึกงานที่ได้คิดและลงมือทำจริง เพื่อเตรียมความพร้อม สำหรับการทำงาน รวมถึงยังมีโอกาสร่วมงานกับบริษัทฯ ในอนาคตอีกด้วย            สำหรับการได้รับรางวัลทั้ง 3 ประเภทนี้ เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่บุคลากรและผู้นำรุ่นใหม่ บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี เพื่อส่งเสริมศักยภาพของพนักงานและสร้างอนาคตที่มั่นคงให้กับทุกภาคส่วนต่อไป บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลผ่านการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งและเปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมให้สูงขึ้นอีกทั้งยังขยายความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตของทุกฝ่ายอย่างสมดุลและยั่งยืน

“กรุงศรี” คัด 7 หุ้น โอกาสซื้อหุ้นคืน ตาม PTT

“กรุงศรี” คัด 7 หุ้น โอกาสซื้อหุ้นคืน ตาม PTT

               หุ้นวิชั่น - บล.กรุงศรี จับตากระแสการซื้อหุ้นซื้อคืนกลับมาคึกคักขึ้น หลัง PTT ประกาศโครงการซื้อหุ้น คืนเพื่อบริหารทางการเงิน (Treasury Stock) วงเงินสูงสุดไม่เกิน 16,000 ลบ. และจำนวนหุ้นซื้อคืน ไม่เกิน 470 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกิน 1.65% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด (implied ราคาหุ้น ซื้อคืนราว 34 บาท/หุ้น)                หลังจากนี้ คาดตลาดมีโอกาสเก็งกำไรหุ้น Big Cap ที่มีศักยภาพดำเนินการได้ อิงรายงานกลยุทธ์ “โอกาสลงทุนจากกระแสหุ้นทุนซื้อคืน” ที่ฝ่ายวิจัยออกวันที่ 29 ม.ค. 25 ซึ่งพบว่า มีหุ้น Big Cap หลักๆในกลุ่มพลังงาน ธนาคาร ปิโตรเคมีที่มีโอกาสเห็นการซื้อคืนระยะถัดไป อาทิ SCB, KBANK, KTB , BBL, PTTGC, TOP, BCP                นอกจาก PTT, TTB ที่ประกาศ โครงการดังกล่าว รวมถึงหุ้นธนาคารส่วนใหญ่ที่ปรับเพิ่มอัตราจ่ายเงินปันผลไปแล้ว รอติดตามหุ้นที่ยังประกาศในส่วน BCP, PTTGC, TOP

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

จับตาศึก

จับตาศึก "เครื่องดื่มชูกำลัง" ชู CBG เด่นสุด

          หุ้นวิชั่น - บล.ดาโอ จับตาหุ้นเครื่องดื่มชูกำลัง โดยฝ่ายวิจัย คงน้ำหนักการลงทุนกลุ่ม Food & Beverage (Energy Drink) ที่ “เท่ากับตลาด”           ฝ่ายวิจัยคาดมูลค่าตลาดเครื่องดื่มชูกำลังปี 2025E จะอยู่ที่ 23,850 ล้านบาท ขยายตัว +3% YoY (ปี 2024 โต +6.1%) สำหรับเดือน ก.พ. 2025 ตลาดเครื่องดื่มชูกำลังในประเทศเดือน ก.พ. (by % sales volume) เติบโต +2.7% YoY, -4% MoM โดย OSP มี market share อยู่ที่ 43.6% (-190 bps YoY, ทรงตัว MoM), CBG อยู่ที่ 25.8% (+150 bps YoY, +10 bps MoM) และ TCP อยู่ที่ 19.4% (+20 bps YoY, +20 bps MoM)           โดยเดือน ก.พ. OSP และ TCP จัดโปรโมชั่นใน CVS อีกทั้ง OSP เริ่มกระจายสินค้า M-150 (Yellow) ราคา 10 บาท สู่ Traditional Trade และ Makro ทั่วประเทศเป็นเดือนแรก โดยจะครบทั้งหมดในเดือน มี.ค. ด้าน CBG ยังไม่ได้จัดโปรโมชั่น โดยมีแผนที่จะจัดในปลาย มี.ค. - ต้น เม.ย. ฝ่ายวิจัยอยู่ระหว่างรอดูผลตอบรับของผู้บริโภคและ market share หลัง OSP กระจายสินค้า M-150 (10 บาท – Yellow) ครบทั่วประเทศ และ CBG จัดโปรโมชั่นใน CVS ในช่วงปลายมี.ค.           สำหรับภาษีน้ำตาลที่จะปรับขึ้นระยะที่ 4 ตั้งแต่ 1 เม.ย. ปัจจุบัน OSP และ TCP ไม่ต้องเสียภาษีน้ำตาล ด้าน CBG เสียภาษีน้ำตาลที่ 0.045 บาทต่อขวด           อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ปรับสูตรลดน้ำตาลเรียบร้อยแล้ว โดยสูตรใหม่จะไม่ต้องเสียภาษีน้ำตาล (0 บาท/ขวด) ทั้งนี้ หากกรมสรรพสามิตเลื่อนการปรับขึ้นภาษีน้ำตาล บริษัทฯ จะใช้เครื่องดื่มชูกำลังสูตรปัจจุบันต่อไปคาดกำไรปกติกลุ่มใน 1Q25E โต YoY, QoQ จากรายได้และ GPM ขยายตัว หนุนโดยต้นทุนวัตถุดิบและ packaging ที่ปรับตัวลดลง           ฝ่ายวิจัยคงประมาณการกำไรสุทธิกลุ่มปี 2025E ที่ 6,413 ล้านบาท (+9% YoY) จากรายได้รวมที่ขยายตัวต่อเนื่องจากรายได้ทั้งในและต่างประเทศขยายตัวจากการบริโภคฟื้นตัว           ราคาหุ้นกลุ่ม Food & Beverage (Energy Drink) ทรงตัวเมื่อเทียบกับ SET ใน 1 เดือนที่ผ่านมา ฝ่ายวิจัยเลือก CBG (ซื้อ/เป้า 95.00 บาท) เป็น Top Pick กลุ่ม           จาก 1) market share เครื่องดื่มคาราบาวแดงซึ่งอยู่ในทิศทางขาขึ้น เราคาดปิดปีที่ 28% (บริษัทคาด 29%), 2) valuation ไม่แพง ปัจจุบัน CBG เทรดอยู่ที่ 2025E PER 17.7x ยังไม่สะท้อน 2024-26E EPS CAGR +19% และมี upside จากการปรับ packaging, เปิดโรงงานพม่าและเขมร และ 3) มี short term catalyst จากกำไร 1Q25E ที่จะสูงสุดในรอบ 15 ไตรมาส

[Gossip] BLC ร่วมนำเสนอผลงานใน Opportunity Day

[Gossip] BLC ร่วมนำเสนอผลงานใน Opportunity Day

            หุ้นวิชั่น - นับเป็นหุ้น Health Care ที่น่าจับตามองอย่างมากจากการมีผลการดำเนินงานที่เติบโตต่อเนื่องมาโดยตลอด สำหรับ บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด (มหาชน) หรือ BLC ล่าสุด ภก. สุวิทย์ งามภูพันธ์ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BLC พร้อมคณะผู้บริหาร ร่วมนำเสนอข้อมูลผลการดำเนินงานปี 2567 แก่นักลงทุนใน Opportunity Day จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งบริษัทฯ ทำผลการดำเนินงานได้อย่างยอดเยี่ยม โดยมีรายได้ 1,557 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 176.1 ล้านบาท เติบโต 10.7% และ 16.8% ตามลำดับ ด้านบอร์ดเตรียมขออนุมัติจ่ายเงินปันผลงวดผลการดำเนินงานในปี 2567 จากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ในอัตรา 0.09 บาทต่อหุ้น โดยจะกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ์ได้รับเงินปันผล ในวันที่ 11 เมษายน 2568 และจ่ายเงินปันผลในวันที่ 30 เมษายน 2568 ทั้งนี้ ในปี 2568 BLC วางแผนขยายขอบเขตความร่วมมือเพื่อสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยาไทยให้เติบโต พร้อมทั้งสร้างความมั่นคงทางด้านสุขภาพ และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน รวมทั้ง มุ่งผลักดันรายได้เติบโตเฉลี่ย 200 ล้านบาทต่อปีตามเป้าหมาย งานนี้ผู้ถือหุ้นสบายใจหายห่วง! ทั้งนี้ สามารถรับชมเทปบันทึกย้อนหลังได้ที่ https://listed-company-presentation.setgroup.or.th/th/vdo/8131

วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล เก็บหุ้น WARRIX เพิ่ม 17.8602% รวมถือ 45.9848%

วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล เก็บหุ้น WARRIX เพิ่ม 17.8602% รวมถือ 45.9848%

            หุ้นวิชั่น - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับรายงานการได้มา หุ้นของ บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด (มหาชน) (WARRIX) โดย นาย วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล ซึ่งเป็นการได้มา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2568 จำนวนหลักทรัพย์ที่ได้มา คิดเป็น 17.8602% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการได้มา คิดเป็น 45.9848% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ที่ได้มา ของกลุ่มคิดเป็น 17.8602% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการได้มา ของกลุ่มคิดเป็น 45.9848% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ

abs

ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารอย่างครบวงจร

จับตา KCG กำไรโค้งแรกยังโต เป้า 12.20 บ. - ราคาหุ้นถูก ปันผลดี

จับตา KCG กำไรโค้งแรกยังโต เป้า 12.20 บ. - ราคาหุ้นถูก ปันผลดี

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง KCG ว่า แนวโน้มกำไรใน 1Q25 ยังเติบโตได้ที่ระดับ 10% YoY ยอดขาย 2 เดือนแรกของปี 2025 เติบโตในระดับ 10% YoY ยอดขายเดือน ม.ค.-ก.พ. 2025 ชะลอตัวลง QoQ จากการผ่านพ้นช่วง High season แต่ยังสามารถเติบโตได้ที่ระดับ 10% YoY หนุนจาก 1) ธุรกิจ B2C ที่สามารถโต 10% YoY จากการเร่งออกสินค้าใหม่ต่อเนื่องเพื่อไปชดเชยสินค้าที่ถูกยกเลิกจำหน่ายไป จากการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ (Product Rationalization) ในปีก่อน 2) ธุรกิจ B2B โตระดับ 10% YoY เช่นกัน ตามการขยายตัวของธุรกิจร้านเบเกอรี่ และร้านอาหารตะวันตก ส่วนลูกค้ากลุ่มโรงแรมยังทรงตัว-เพิ่มขึ้นเล็กน้อย YoY ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยังเติบโตได้ค่อนข้างจำกัด ขณะที่ราคาต้นทุนไขมันเนย ปัจจุบันเราเริ่มเห็นราคาปรับตัวลง QoQ เป็นไตรมาสแรก แต่ยังสูงกว่าในปีก่อน ซึ่งคาดจะชดเชยได้จาก U-rate ที่สูงขึ้น รวมถึง Product Mix ที่ดีขึ้น ทำให้ GPM คาดว่ายังทรงตัว YoY ได้ที่ 30.5% ทำให้เราคาดกำไรสุทธิใน 1Q25 ลดลง QoQ แต่เติบโตในระดับ 10% YoY บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตในปี 2025 ที่ระดับ 8% YoY บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตของรายได้ปี 2025 ที่ระดับไม่ต่ำกว่าปี 2024 ที่ 8% YoY หนุนจาก แนวโน้มตลาดเนยและชีสที่ยังขยายตัวระดับ 5% และ 7% ต่อปี ตามการเติบโตของกระแสนิยมอาหารตะวันตก การออกสินค้าใหม่ไม่ต่ำกว่า 100 SKUs เพื่อชดเชยสินค้าที่ถูกยกเลิกจำหน่ายไปในปีก่อน การรับรู้กำลังการผลิตใหม่ในช่วง 4Q25 ที่จะทำให้บริษัทสามารถรองรับการผลิตในช่วง High season ได้ หลังจากที่ใน 4Q24 บริษัทได้ใช้เครื่องจักรเต็มประสิทธิภาพแล้ว การส่งออกที่กลับมาเติบโตจากการรับรู้ผลของการปรับทีมขายใหม่เต็มปี ส่วน GPM บริษัทตั้งเป้าหมายที่ทรงตัว YoY แม้ราคาต้นทุนไขมันเนยจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ทางผู้บริหารมองว่าจะชดเชยได้จาก Product Mix ที่ดีขึ้น จากการรับรู้ผลของการยกเลิกจำหน่ายสินค้าที่ไม่ทำกำไรออกเต็มปี ปรับประมาณการกำไรปี 2025-2026 ขึ้น 8.2% และ 6.4% ตามลำดับ จากยอดขายใน 2 เดือนแรก ที่ยังเติบโตได้ในระดับ 10% ทำให้เรามั่นใจว่าบริษัทจะสามารถผลักดันยอดขายให้เติบโตได้ระดับ 8% YoY รวมถึงประมาณการ SG&A เดิมของเราที่ยังไม่รวมปัจจัยบวกจากการเปิดใช้งาน KCG Logistic Park ทั้ง 6 ตึกเต็มปี ที่คาดว่าจะสามารถประหยัดค่าเช่าคลังสินค้าได้ราว 20 ลบ./ปี ทำให้เราปรับประมาณการกำไรปี 2025-2026 ขึ้น 8.2% และ 6.4% เป็น 447 ลบ. (+10.4% YoY) และ 501 ลบ. (+12.0% YoY) ตามลำดับ จากการปรับสมมติฐานรายได้ขึ้น และปรับ SG&A/Sales ลง คงราคาเหมาะสมที่ 12.20 บาท ราคาหุ้นถูก ปันผลดี แนะนำ “ซื้อ” เราปรับไปใช้วิธี PER Multiple ในการประเมินมูลค่า เพื่อให้สอดคล้องกับการประเมินมูลค่าของหุ้นกลุ่มขนมขบเคี้ยวของเราทั้ง SNNP / NSL / CHAO ซึ่งแม้เราจะปรับประมาณการขึ้น แต่เรายังคงราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2025 ที่ 12.20 บาท หรือคิดเป็น PE ในการประเมินมูลค่าที่ 14.9 เท่า เพื่อเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น จากสภาวะตลาดที่ผันผวน โดยราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายบน PER25 เพียง 10.1 เท่า ต่ำสุดในกลุ่ม คิดเป็น -1 SD ของ PE Band ย้อนหลังนับตั้งแต่ IPO รวมถึงยังมี Div. Yield ที่ระดับ 4.9% (ขึ้น XD วันที่ 6 พ.ค. 2025) ช่วยจำกัด Downside risk ของราคาหุ้นในระยะสั้น คงคำแนะนำ “ซื้อ”

จับตา

จับตา"ซื้อหนี้ประชาชน" คัด 3 หุ้น Top Pick

            หุ้นวิชั่น - บล.กรุงศรี จับตาข่าวซื้อหนี้ของประชาชน โดยฝ่ายวิจัยมีมุมมองเป็น slightly positive sentiment ต่อกลุ่ม ธนาคาร และ การเงินผู้บริโภค ต่อข่าวการซื้อหนี้ของประชาชนในกลุ่มสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันและบัตรเครดิตที่มีมูลหนี้ต่ำกว่า 1 แสนบาท เพราะเป็นการเพิ่มทางเลือกในการจัดการหนี้เสีย (NPL) ให้กับสถาบันการเงิน             เบื้องต้นเราประเมินเงินลงทุนที่ใช้ในการซื้อหนี้ภายใต้สมมติฐาน 1) 35% ของมูลหนี้ทั้งหมด 1.2 ล้านล้านบาท 2) เงินลงทุนซื้อหนี้ไม่มีหลักประกันเฉลี่ยของ AMC ราว 5-10% ของมูลค่าหนี้ คิดเป็นทั้งหมด 2.1-4.2 หมื่นล้านบาท เราคาดว่าการระดมทุนเม็ดเงินดังกล่าวพอเป็นไปได้ ฝ่ายวิจัยเรียงลำดับสถาบันการเงินที่มีสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันและบัตรเครดิตมากไปน้อย ดังนี้ กลุ่ม ธนาคาร: KTB (26%) > KBANK, TTB (6%) > SCB (5%) > KKP (4%) สำหรับ BBL ไม่มีการชี้แจงรายละเอียด และ TISCO ไม่มีสินเชื่อประเภทดังกล่าวกลุ่ม การเงินผู้บริโภค: KTC (98%) > AEONTS (92%) > MTC (10%) > SAWAD (3%) สำหรับ THANI และ MICRO ไม่มีสินเชื่อประเภทดังกล่าว แม้ว่า KTC จะมีสัดส่วนสินเชื่อประเภทดังกล่าวสูงสุดในกลุ่ม การเงินผู้บริโภค แต่ KTC ไม่มีนโยบายการขายหนี้             สำหรับประเด็นเรื่องการให้ลูกหนี้ NPL หลุดจากการติดแบล็คลิสต์เครดิตบูโร เรามองว่ามีโอกาสเกิดได้น้อย เพราะจะทำให้เกิด Moral Hazard และประโยชน์ของข้อมูลเครดิตบูโรลดลง เรามองว่าโอกาสที่เป็นไปได้คือ การติดรหัสพิเศษให้กับลูกหนี้กลุ่มนี้ เหมือนกับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ฝ่ายวิจัยคงน้ำหนักการลงทุน NEUTRAL สำหรับกลุ่มธนาคาร และคง KBANK (BUY, TP 178 บ.) และ KTB (BUY, TP 27 บ.) เป็น Top Pick ฝ่ายวิจัยคงน้ำหนักการลงทุน BULLISH สำหรับกลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ และคง MTC (BUY, TP 58 บ.) เป็น Top Pick

KSS คาด SET วันนี้ “Rebound” เคาะ PTT-PTTEP-KTB เด่น

KSS คาด SET วันนี้ “Rebound” เคาะ PTT-PTTEP-KTB เด่น

              หุ้นวิชั่น - บล.กรุงศรี คาด SET วันนี้ “Rebound” ต้าน 1195/1202จุด รับ 1175/1165 จุด ประเด็นสำคัญวันนี้ค่อนทางบวกต่อ SET 1.) ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นเฉลี่ย +1.7% หลังสหรัฐฯประกาศคว่ำบาตรอิหร่านเพิ่ม เป็นบวกต่อ SET ที่มีหุ้นพลังงานราว 10-11% ของมูลค่าตลาด               ผสาน 2.) ภายใน การประกาศซื้อหุ้นคืน PTT จำนวนไม่เกิน 470 ล้านหุ้น (1.65% ของหุ้นทั้งหมด) วงเงิน 1.6 หมื่นล้านบาท น่าจะทำให้ตลาด เก็งภาพอาจจะเห็นหุ้นอื่นในกลุ่มดำเนินการคล้ายกัน อาทิ BCP, PTTGC, TOP ดังที่เกิดขึ้นภาพทยอยปรับเพิ่ม Payout Ratio ในกลุ่มธนาคาร               3.) กลุ่มธนาคาร+เช่าซื้อ มีภาพบวกแนวทางกระทรวงการคลังซื้อหนี้คืนที่ชัดเจนขึ้น เน้นหนี้ไม่มีหลักประกัน ยอดค้าง < 1 แสนบาทต่อคน (35% ของหนี้ NPLs ทั้งระบบ 1.2 ล้านล้านบาท) ประเมินเงินที่ใช้2.1-4.2 หมื่นล้านบาท อยู่ในกรอบที่ระดมทุนเอกชนได้4.) BOT กลับมาผ่อนคลาย มาตรการ LTV อีกครั้งบวกต่อหุ้นอสังหา+ธนาคาร 5.) วันนี้ FTSE Rebalance ราคาปิดเป็น Net inflows +40 ล้านเหรียญฯ ประเมินหนุน               SET Rebound หุ้นนำ คือ หุ้นกลุ่มพลังงาน ธนาคาร เช่าซื้อ และอสังหา ผสาน 10 หุ้น Deep Value วันนี้แนะนำ PTT, PTTEP, KTB

abs

Hoonvision

หุ้นได้-เสีย ผ่อนกฎ LTV

หุ้นได้-เสีย ผ่อนกฎ LTV

          หุ้นวิชั่น - บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นไทยยามนี้ ต้องยอมรับว่า นักลงทุนยังกล้าๆกลัวๆ ข่าวดีน้อย มีแต่ข่าวร้ายท่วมตลาด วานนี้ (20 มี.ค.2568) แบงก์ชาติปล่อยผี  ยอมผ่อนเกณฑ์ LTV เป็นการชั่วคราว ถือว่าเป็นการต่อลมหายใจธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้ในระดับหนึ่ง ดีกว่าไม่มีมาตรการกระตุ้นอะไรเลย           สาระสำคัญ มีดังนี้ 1.กำหนดให้เพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกันเป็น 100% สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ทั้งกรณี(1) มูลค่าหลักประกันต่ำกว่า 10 ล้านบาท ตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 2 เป็นต้นไป(2) มูลค่าหลักประกันตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 1 เป็นต้นไป  2.การผ่อนคลายนี้ให้เป็นการชั่วคราว สำหรับสัญญาเงินกู้ที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.2568 ถึง 30 มิ.ย.2569           ด้าน บล.ดาโอ มองเป็นบวก โดยการผ่อนเกณฑ์ LTV จะเป็นผลดีต่อกลุ่ม property ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการซื้อให้กับลูกค้าได้มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการช่วยระบายสต็อกที่อยู่อาศัยได้เร็วขึ้น และส่งผลให้ภาพรวมกลุ่มที่อยู่อาศัยมีการฟื้นตัวได้ดีขึ้น           สำหรับหุ้นที่ประเมินว่า จะได้ประโยชน์มากสุด ได้แก่ SPALI, SIRI, ORI เนื่องจากมี backlog รอโอน และยังมี inventory ค่อนข้างมาก           ส่วนกลุ่มธนาคารก็รับอานิสงส์ไม่น้อยเช่นกัน  เพราะจะช่วยให้คนเข้าถึงสินเชื่อบ้านได้มากขึ้น โดยธนาคารที่มีสัดส่วนสินเชื่อบ้านจากมากไปน้อย คือ SCB 32%, TTB 26%, KTB 19%, KBANK 17% ทั้งนี้ ยังคงน้ำหนักการลงทุนลงเป็น “มากกว่าตลาด” โดยเลือก KTB (ซื้อ/เป้า 27.50 บาท), TTB (ซื้อ/เป้า 2.22 บาท) และ BBL (ซื้อ/เป้า 186.00 บาท) เป็นหัวหอก           กลับมาที่ บล.เอเซีย พลัส ได้วิเคราะห์ประเด็นยอดฮิต กรณี GULF ขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับ 5 ที่สัดส่วน 3.25% ใน KBANK และจะจ่ายปันผลรวม 10.5 บาท/หุ้น (ประกอบด้วยปันผลประจำปี 8.0 บาท/หุ้น XD 17 เม.ย.2568 และปันผลพิเศษ 2.5 บาท/หุ้น XD 15 พ.ค.68) ในวันที่ 6 มิ.ย.2568           ทั้งนี้หาก  GULF ถือหุ้นจนถึงวันขึ้นเครื่องหมาย XD จะได้รับเงินปันผลราว 808.5 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 3.8% ของคาดการณ์กำไรปกติปี 2568 ของ GULF ล่าสุด GULF ชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถือหุ้นว่า  เป็นการลงทุนทั่วไปตามนโยบายของบริษัทฯ ซึ่งโดยปกติจะมีportfolio การลงทุนอยู่แล้ว โดยเห็นว่า KBANK เป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง, P/BV และ P/E อยู่ในระดับต่ำ, และมีการจ่ายปันผลต่อเนื่องที่ให้dividend yield ราว 7-8%/ปี           ดังนั้น การเข้าลงทุนดังกล่าวจึงมุ่งหวังผลตอบแทนจากปันผล และ upside จากราคาหุ้น KBANK ในอนาคต ทั้งนี้ GULF ได้ทยอยซื้อสะสม KBANK ตั้งแต่ช่วง4Q67 ส่วนของนโยบายการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน KBANK รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดโอกาส synergy ร่วมกันระหว่าง GULF และ KBANK ในอนาคต ปัจจุบัน GULF ยังไม่สามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าวได้ จึงถือเป็นประเด็นที่ยังคงต้องติดตาม           วกเข้ามาที่ กลุ่มหุ้นแบงก์ขนาดใหญ่อีกครั้ง  หลังมีการคงดอกเบี้ยของธนาคารกลางต่างประเทศ บล .เอเซียพลัส มองเป็นกลางต่อพอร์ตสินเชื่อ ในต่างประเทศของ BBL (สัดส่วนสินเชื่อต่างประเทศ 25% แบ่งเป็น 10% ในอินโดฯ และ ประเทศอื่นๆ อีก 15%) ส่วนทิศทางดอกเบี้ยนโยบายไทย มองว่าในช่วงครึ่งปีแรกปี2568 มีโอกาสลดได้อีก 1 ครั้ง อย่างไรก็ดีหากการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ช้ากว่าคาด อาจเห็นการลง ดอกเบี้ยนโยบายได้มากกว่านั้น (เริ่มมีมองไปที่ 1.00% -1.25%)           ส่วนแบงก์ใหญ่ 3 อันดับแรก ที่มีสัดส่วนสินเชื่อ Floating rate สูง จะรับผลจากการเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากกว่ากลุ่มฯ ได้แก่ BBL ตามด้วย KTB และ KBANK โดย BBL จะมีความสัมพันธ์กับทิศทางอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศ ในขณะที่ KTB และ KBANK มีความสัมพันธ์กับดอกเบี้ยนโยบายไทยมากสุดในกลุ่มและในทางตรงข้ามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทย ที่ลดลงจะดีต่อ KKP และ TISCO รวมถึง Non – Bank(Bond yield ลง) อย่าง MTC SAWAD และ TIDLOR               ขณะที่ แบงก์ใหญ่ ยังมีความน่าสนใจเชิง PBV ต่ำและ Div Yield ราว 6% -9% เน้นตั้งรับ KTB, BBLและ TTB มองว่าการจัดการคุณภาพสินทรัพย์ของ 3 ธนาคาร ทำได้ดีกว่ากลุ่ม ช่วยให้การตั้งสำรองลดลง ชดเชยผลจากรายได้ที่อ่อนแอ ตามวัฎจักรดอกเบี้ย ด้านแบงก์เล็ก ชอบ TISCO มากกว่า KKP ในขณะที่ Non – Bank เลือก MTC มากกว่า TIDLOR (อยู่ระหว่างปรับเป็น Holding ราคาหุ้นอาจผันผวนระหว่างดำเนินการ) การลงทุน มีความเสี่ยง ผู้ลงทุน ควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ ลงทุน ข่าวหัวม่วง by ทีมงานหุ้นวิชั่น

[Vision Exclusive] AP-SPALI ยืนหนึ่ง ตรงทาเก็ทกรุ๊ปผ่อนปรน LTV

[Vision Exclusive] AP-SPALI ยืนหนึ่ง ตรงทาเก็ทกรุ๊ปผ่อนปรน LTV

          นักวิเคราะห์ฯ มองธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผ่อนคลายเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (เกณฑ์ LTV) ชั่วคราว สำหรับสัญญาเงินกู้ที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569 เป็น Sentiment บวกต่อหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะ AP และ SPALI เนื่องจากมีฐานะการเงินแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับกลุ่ม และมองเกณฑ์ดังกล่าวจะหนุนกำลังซื้อกลุ่มชนชั้นกลาง ที่ต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพิ่ม โดย AP และ SPALI ถือว่ามีการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่เจาะกลุ่มเป้าหมายลูกค้าระดับกลางมากที่สุด             นายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า จากการที่ธปท.ได้ผ่อนคลายเกณฑ์ LTV ชั่วคราว คาดเป็น Sentiment บวกต่อกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะ บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) (AP) และ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) (SPALI) เนื่องจากมองเกณฑ์ดังกล่าวจะส่งผลดีต่อกลุ่มคนที่มีรายได้ปานกลาง ที่ต้องการจะมีอสังหาริมทรัพย์เพิ่ม ซึ่งสองบริษัทนี้มีการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ตรงกับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวมากที่สุด           อย่างไรก็ตามในแง่ของการรับรู้รายได้ หรือยอดขาย ที่จะมาจากการผ่อนเกณฑ์ LTV คาดว่าคงไม่เร็ว เนื่องจากมองธนาคารน่าจะไม่รีบอนุมัติสินเชื่อ ซึ่งก็ต้องมาพิจารณาอีกว่า ผู้กู้มีความสามารถในการผ่อนหรือไม่ และเศรษฐกิจเอื้อหรือไม่           “เราเห็นด้วยกับธปท. ที่ผ่อนคลายเกณฑ์ LTV แม้จะชั่วคราว โดยมองเป็น Sentiment บวกต่อหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ อย่าง AP และ SPALI ขณะที่การรับรู้รายได้คงไม่เร็วขนาดนั้น และธนาคารน่าจะไม่รีบร้อนอนุมัติสินเชื่อ”  นายธนเดช กล่าว           บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) มองอสังหาฯ ประเภทคอนโดมิเนียมจะได้ประโยชน์เป็นหลัก และการไม่มีเงินดาวน์จะทำให้เกิดการเก็งกำไรคอนโดเพิ่มมากขึ้น เป็นดีมานด์ที่บวกเพิ่มขึ้นมามากกว่าแนวราบ           ทางฝ่ายฯแนะนำ "ซื้อ" ORI ราคาพื้นฐาน   3.58 บาท, SPALI ราคาพื้นฐาน 19.50 บาท, SIRI ราคาพื้นฐาน   1.98 บาท AP ราคาพื้นฐาน 10.50 บาท           ทางด้านกลุ่มธนาคารถึงแม้ว่า ธปท. อาจจะมีการผ่อนเกณฑ์ LTV แต่ทางธนาคารอาจจะยังปล่อยกู้อย่างระมัดระวังอยู่เนื่องจาก NPL ยังคงอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตามน่าจะกระตุ้นความต้องการสินเชื่อเพิ่มมากขึ้นได้ มองว่าธนาคารที่มีสัดส่วนสินเชื่อบ้านสูง อย่าง SCB ราคาพื้นฐาน 124 บาท,  TTB ราคาพื้นฐาน 2.18 บาท, KTB ราคาพื้นฐาน 22.50 บาท และ KBANK ราคาพื้นฐาน 166 บาท จะเป็นธนาคารที่ได้ประโยชน์มากที่สุด           บล.กสิกรไทย มอง AP เป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ที่สร้างยอดขายรอโอน (presales) สูงสุด โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการในมือมากกว่า 180 โครงการ ในทำเลที่ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึงหัวเมืองหลักในทุกประเภทผลิตภัณฑ์และทุกกลุ่มลูกค้า อีกทั้งมีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง           สำหรับปี 2568 AP มีแผนเปิดตัวโครงการมูลค่าราว 65,000 ล้านบาท และตั้งเป้าหมาย presale ที่ระดับ 55,000 ล้านบาท เติบโตประมาณ 17.6%           บริษัทมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนต่ำเพียง 0.7 เท่า สร้างความได้เปรียบด้านต้นทุนการพัฒนาและสภาพคล่อง           ผู้บริหารมีประสบการณ์สูง มีการบริหารงานที่ดี ปรับตัวได้เร็ว และสามารถสร้างความได้เปรียบเมื่อมีโอกาสและลดความเสี่ยงเมื่อตลาดผันผวน           ปัจจุบันราคาหุ้นซื้อขายที่อัตราส่วนราคาต่อกำไรและราคาต่อมูลค่าทางบัญชีที่ไม่สูง พร้อมให้ผลตอบแทนเงินปันผลที่ดี สำหรับสาระสำคัญของการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV มีดังนี้ กำหนดให้เพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกันเป็นร้อยละ 100 สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ทั้งกรณี (1) มูลค่าหลักประกันต่ำกว่า 10 ล้านบาท ตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 2 เป็นต้นไป และ (2) มูลค่าหลักประกันตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 1 เป็นต้นไป การผ่อนคลายนี้ให้เป็นการชั่วคราว สำหรับสัญญาเงินกู้ที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569

[Vision Exclusive] SVR เชื่อผ่อนคลาย LTV หนุนตลาดอสังหาฯคึกคัก

[Vision Exclusive] SVR เชื่อผ่อนคลาย LTV หนุนตลาดอสังหาฯคึกคัก

          หุ้นวิชั่น - SVR มองมาตรการผ่อนคลาย LTV เป็นปัจจัยบวก หนุนกำลังซื้อบ้านทั้งหลังแรกและหลังที่สอง ด้านผู้บริหาร "รณฤทธิ์ ฐิติสุริยารักษ์" จ่อบุ๊กเงินขายอสังหาริมทรัพย์ 8 โครงการ มูลค่ารวมเกือบ 4 พันล้านบาท พร้อมปรับกลยุทธ์รับมือเศรษฐกิจชะลอตัว           นายรณฤทธิ์ ฐิติสุริยารักษ์ ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงินอาวุโส บริษัท สิวารมณ์ เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ SVR เปิดเผยกับ หุ้นวิชั่น ว่า การผ่อนคลายเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) โดยคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) คาดว่าจะเป็นปัจจัยบวกต่อผู้ที่ต้องการซื้อบ้านทั้งหลังแรกและหลังที่สอง           ทั้งนี้ การผ่อนคลายมาตรการดังกล่าวจะช่วยให้เม็ดเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบมากขึ้น และลดอัตราการปฏิเสธสินเชื่อของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถประเมินได้ชัดเจนว่าการปฏิเสธสินเชื่อจะลดลงมากน้อยเพียงใด แต่จากสถิติที่ผ่านมา พบว่ามีอัตราการปฏิเสธสินเชื่อในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญ           บริษัท มองว่า การผ่อนคลายมาตรการ LTV จะช่วยให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ส่งผลบวกต่อบรรยากาศการซื้อขายและกำลังซื้อของผู้บริโภคในอนาคต           ด้าน สาระสำคัญของการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV มีดังนี้ กำหนดให้เพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกันเป็นร้อยละ 100 สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ทั้งกรณี (1) มูลค่าหลักประกันต่ำกว่า 10 ล้านบาท ตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 2 เป็นต้นไป และ (2) มูลค่าหลักประกันตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 1 เป็นต้นไป           และการผ่อนคลายนี้ให้เป็นการชั่วคราว สำหรับสัญญาเงินกู้ที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569           สำหรับแผนธุรกิจปี 2568 SVR ได้เปิดตัวโครงการใหม่ไปแล้วในช่วงต้นปี ส่งผลให้ปัจจุบันบริษัทมีโครงการรวม 8 แห่ง มูลค่ารวมเกือบ 4,000 ล้านบาท โดยโครงการที่เปิดตัวประกอบด้วย สิวารมณ์ แกรนด์ (สุขุมวิท-บางปู), สิวารมณ์ วิลเลจ (สุขุมวิท-บางปู 58), สิวารมณ์ เนเจอร์พลัส (อัสสัมชัญ-ศรีราชา), สิวารมณ์ เนเจอร์พลัส 2 (สุขุมวิท-บางปู), สิวารมณ์ ปาร์ค (วงแหวน-ประชาอุทิศ 76), สิวารมณ์ วิลเลจ (วงแหวน-ชัยพฤกษ์) และสิวารมณ์ ไฮด์ (บางแค-สาทร)           SVR ยังคงเดินหน้าโอนกรรมสิทธิ์ พร้อมรุกตลาดอสังหาริมทรัพย์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่อยู่อาศัยในทำเลศักยภาพ           คาดว่าการเติบโตในปี 2568 อาจไม่ได้ขยายตัวในระดับสูงเช่นปีก่อนหน้า เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจน ทั้งนี้ที่ผ่านมา SVR มีอัตราการเติบโตโดดเด่นถึง 50% อย่างไรก็ตาม บริษัทจะยังคงเดินหน้าขยายโครงการใหม่ และปรับกลยุทธ์เพื่อรองรับสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงต่อไป           อนึ่ง ปี 2567 บริษัทมีรายได้อยู่ที่ 862.94 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 27.38 ล้านบาท รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

เกณฑ์ใหม่ปลุกตลาด IPO ต้นปีระดมทุนแล้ว 540 ล.

เกณฑ์ใหม่ปลุกตลาด IPO ต้นปีระดมทุนแล้ว 540 ล.

          หุ้นวิชั่น - นักวิเคราะห์ ชี้หลักเกณฑ์ใหม่ IPO ปี68 ดันตลาดคึกคักขึ้น อานิสงส์มาตรการคัดกรองบริษัทคุณภาพ ลดความเสี่ยงนักลงทุน  ด้านสำนักงานก.ล.ต.เผยตั้งแต่ต้นปี มี IPO ระดมทุน 2 หลักทรัพย์ มูลค่ารวม 540.40 ล้านบาท ขณะที่คำขอ IPO ที่ได้รับอนุมัติแล้วมี 10 บริษัท และอยู่ระหว่างพิจารณาอีก 16 บริษัท พร้อมกันนี้ ตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนยังร้อนแรง ออกตราสารหนี้ระยะยาวกว่า6.5หมื่นลบ.           สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ สำนักงาน ก.ล.ต. รายงานสรุป ภาวะตลาดทุนเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2568 มีการระดมทุนเสนอขาย IPO จำนวน 2 หลักทรัพย์ มูลค่ารวม 540.40 ล้านบาทโดยมีคำขอที่ได้รับอนุญาตและพร้อมเสนอขาย 10 หลักทรัพย์ อยู่ระหว่างการพิจารณาคำขอ 16 หลักทรัพย์และอยู่ระหว่าง Pre-consult 56 หลักทรัพย์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการระดมทุนผ่านตลาดทุนต่อเนื่องสำหรับการระดมทุนผ่านสินทรัพย์ดิจิทัล มีคำขออนุญาต จำนวน 1 บริษัท และอยู่ระหว่างการพิจารณา 2 บริษัทและมีคำขอ ICO อยู่ระหว่าง Pre-consult 5 บริษัท (ผลรวมสะสมการระดมทุนผ่านสินทรัพย์ดิจิทัลทั้งสิ้น 3 บริษัท มูลค่า 5,065.23 ล้านบาท)           การระดมทุนผ่าน Crowdfunding ในปี 2567 (1 ม.ค. - 31 ม.ค. 68) มีบริษัทที่ดำเนินการสำเร็จแล้ว 32 บริษัท มูลค่ารวม 146.38 ล้านบาท (ผลรวมสะสมการระดมทุนผ่าน Crowdfunding มูลค่า 16,404.02 ล้านบาท) การเสนอขายหลักทรัพย์วงแคบของ SME (1 ม.ค. - 31 ม.ค. 68) มีผลรวมสะสมจนถึงปัจจุบัน 29 บริษัท มูลค่า 1,303.24 ล้านบาทและการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ของ SME จำนวน 1 บริษัท โดยมีมูลค่าเสนอขาย 12.80 ล้านบาท (มีผลรวมสะสมจนถึงปัจจุบัน 7 บริษัท มูลค่าเสนอขายรวม 287.50 ล้านบาท) สำหรับตราสารหนี้ภาคเอกชน มีการออกตราสารหนี้ระยะยาวมูลค่า 65,244.60 ล้านบาทแบ่งเป็นตราสาร Investment Grade 60,605.80 ล้านบาท และ High Yield Bond 4,638.80 ล้านบาท (1 ม.ค. - 31 ม.ค. 68) ตั้งแต่ต้นปี 67 มีการออกเสนอขายตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนแล้ว (1 ม.ค. - 31 ธ.ค. 67)จำนวน 15 บริษัท มูลค่า 184,550.32 ล้านบาท (ผลรวมสะสม 39 บริษัท มูลค่า 901,013.58 ล้านบาท) สำหรับกองทุนรวม (ม.ค. - ก.พ. 2568) มีการเสนอขาย IPO จำนวน 133 กองทุน มูลค่ารวม 271,045 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการเสนอขายกองทุนรวมประเภทตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนในประเทศสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย           ทั้งนี้ ปัจจุบันมีบริษัทที่อยู่ระหว่างการพิจารณา IPO จำนวน 16 บริษัท ได้แก่ หมวดเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร บมจ. สยาม ดีเสิร์ท ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า TENG1 บมจ. แพลททินัม ฟรุ๊ต ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า  PTF หมวดบริการ บมจ. จีเอ็มเอ็ม มิวสิค ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า GMM บมจ.พี เอ อี เทคนิคอล เซอร์วิส ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า PTS บมจ. ออนเซ็น รีทรีต แอนด์ สปา กรุ๊ป ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า ONSENS หมวดสินค้าอุตสาหกรรม  บมจ. สมาร์ททีทีซี ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า  STTC บมจ. แมสเทค ลิ้งค์ ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า  MASTEC หมวดทรัพยากร บมจ. บริษัท แอตลาส เอ็นเนอยี ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า  ATLAS บมจ. บริษัท วัน พาวเวอร์ ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า ONE หมวดอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง  บมจ. เอ็มเอ็มเอ็ม แคปปิตอล ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า  MMM บมจ. ไทยประเสริฐกรุ๊ป เอ็นเตอร์ไพรส์ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า TPG หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค บมจ.แกรนด์ คอส กรุ๊ป ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า MER บมจ. นูทริชั่น โปรเฟส NUT บมจ. 88(ไทยแลนด์) ใช้ชื่อย่อหุ้นยว่า 88TH หมวดธุรกิจการเงิน บมจ. ซิลค์สแปน ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า SILK   หมวดเทคโนโลยี บมจ. อินดิจี ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า IDG ส่วนบริษัทที่ อนุมัติคำขอIPO แล้ว มี 10 บริษัท ได้แก่ หมวดบริการ บมจ. มิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย. โฮลติ้ง (ประเทศไทย) ใช้ชื่อย่อว่า MRDIYT บมจ. สกิลเลน เทคโนโลยี ใช้ชื่อย่อว่า SKILL บมจ. โรงพยาบาลมุกดาหาร อินเตอร์เนชั่นแนล ใช้ชื่อย่อว่า HANN บมจ. แอลทีเอ็มเอช ใช้ชื่อย่อว่า LTMH หมวดสินค้าอุตสาหกรรม บมจ. วาย.เอส.เอส. (ประเทศไทย) ใชชื่อย่อหุ้นว่า YSS หมวดอสังหาริมทรัพย์ และก่อสร้าง บมจ. บางกอก แอสเซท อินเตอร์กรู๊ป ใช้ชื่อย่อว่า BKA หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค บมจ.พีเคเอ็น อินเตอร์โฮลดิ้ง ใช้ชื่อย่อว่า IGNITE บมจ. สกิน ลาบอราทอรี่ ใช้ชื่อย่อว่า SKIN หมวดธุรกิจการเงิน บมจ. เงินเทอร์โบ ใช้ชื่อย่อว่า TURBO หมวดเทคโนโลยี  บมจ. บลู โซลูชั่น ใช้ชื่อย่อว่า BLUE           นายมงคล พ่วงเภตรา รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า มองว่า ปี 2568 จะเป็นปีแห่งการฟื้นตัวของตลาด IPO  หลังจากตลาดหลักทรัพย์ปรับปรุงหลักเกณฑ์การเข้าจดทะเบียนทั้งใน SET และ mai ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพของบริษัทจดทะเบียน           หลักเกณฑ์ใหม่ที่เข้มงวดขึ้นจะทำหน้าที่คัดกรองให้เฉพาะบริษัทที่มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่งและมีผลประกอบการที่ดีเข้าสู่ตลาด ส่งผลให้คุณภาพโดยรวมของบริษัทจดทะเบียนสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุน เนื่องจากที่ผ่านมา การลงทุนในหุ้น IPO หลายกรณีไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่ดี หรือราคาหุ้นหลังเข้าตลาดต่ำกว่าราคาจองซื้อ ส่งผลให้ภาวะการซื้อขายหุ้น IPO ลดความคึกคักลง           สำหรับบริษัทจดทะเบียน นายมงคลระบุว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จำนวนบริษัทที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่ในปีนี้ คาดว่าตลาด IPO จะกลับมาเปิดโอกาสอีกครั้ง เนื่องจากบริษัทที่ต้องการเข้าตลาดต้องมีคุณภาพสูงขึ้น ขณะที่หลักเกณฑ์ที่เข้มงวดขึ้นจะทำให้การกำหนดราคา IPO เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยุติธรรมมากขึ้น           "ที่ผ่านมา มีบางบริษัทที่เข้าตลาดเพื่อ Exit หรือจดทะเบียนแล้วไม่มีความเคลื่อนไหวมากนัก แต่ด้วยหลักเกณฑ์ใหม่ การเข้าตลาดหลักทรัพย์จะเป็นไปเพื่อการเติบโตอย่างแท้จริงของบริษัท และสร้างประโยชน์ให้แก่นักลงทุนมากขึ้น" นายมงคลกล่าว รายงานโดย : ณัฏฐ์ชญา ปุริมปรัชญ์ภัทร บรรณาธิการ Hoon vision

FVC ส่งซิก Q1 เข้าเป้า ผุดศูนย์ไตเทียมรับทรัพย์

FVC ส่งซิก Q1 เข้าเป้า ผุดศูนย์ไตเทียมรับทรัพย์

          หุ้นวิชั่น - FVC ตั้งเป้ารายได้ปี 2568 โต 25% ฟากบอสใหญ่ "วิจิตร เตชะเกษม" ชู 3 ธุรกิจโตต่อ ทุ่มงบ 300 ล้าน ผุดศูนย์ไตเทียมใหม่รับทรัพย์ ส่งซิกผลงานโค้งแรกมาตามนัด พร้อมปักหมุดโรงเรียนการดูแลทางการแพทย์ใน 3 ปี ปูพรมบริการภาคอีสานเต็มสูบ           ดร.วิจิตร เตชะเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลเตอร์ วิชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ FVC เปิดเผยว่า แนวโน้มธุรกิจในไตรมาส 1/2568 ยังเป็นไปตามแผน โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจบริการทางการแพทย์ (B3) ที่ดำเนินการโดย บริษัท เคที เมดิคอล เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ KTMS ซึ่งคาดว่าจะเติบโตตามแผนที่ตั้งไว้ ขณะที่ภาพรวมของปี 2568 บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโต 25% จากปี 2567 ที่มีรายได้ 1,052.51 ล้านบาท           สำหรับกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการด้านระบบน้ำ (B1) บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโต 13-14% พร้อมแผนการบุกตลาดภูมิภาคมากขึ้นและเสริมพลังงานสีเขียว โดยมีแผนการลงทุนปรับปรุงห้อง WORKSHOP ใหม่ ด้วยงบลงทุนขั้นต่ำ 3 ล้านบาท คาดว่าจะใช้งบลงทุนไม่เกิน 10 ล้านบาท           ด้านกลุ่มธุรกิจพาณิชย์และที่พักอาศัย (B2) บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโต 12-15% โดยมีแผนการออกแบบอาคารและร้านค้าใหม่ให้กับลูกค้าประเภทร้านอาหาร แต่ไม่ได้วางแผนลงทุนขนาดใหญ่ในกลุ่มนี้ และอาจมีการปรับปรุงพื้นที่เล็กน้อย           สำหรับกลุ่มธุรกิจบริการทางการแพทย์ (B3) บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโตมากกว่า 30% ในปีนี้ โดยมีแผนขยายธุรกิจท่อลม และขยายการผลิตน้ำยาไตเทียม โดยมีแผนลงทุน 200-300 ล้านบาท เพื่อขยายหน่วยไตเทียมเพิ่มเติม           ในระยะยาว (ปี 2568-2570) FVC มีแผนขยายบริการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตั้งเป้าจัดตั้งโรงเรียนการดูแลทางการแพทย์และเทคนิค (Medical Care & Technical School) ภายใน 3 ปี รวมถึงการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Neutral for Carbon Footprint) โดยกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมจะมุ่งเน้นพัฒนาเสริมสร้างธุรกิจพลังงานสะอาด

BLC ธุรกิจติดไฮสปีด ออนไลน์จุด New S-Curve

BLC ธุรกิจติดไฮสปีด ออนไลน์จุด New S-Curve

           หุ้นวิชั่น - BLC ดึง AI ดิจิทัลอีคอมเมิร์ซรุกการตลาด คาด "BKD Viva" จุดชนวน New S-Curve หนุนธุรกิจโตอย่างยั่งยืน ด้านบิ๊กบอส "สุวิทย์ งามภูพันธ์" เผยกลยุทธ์ O2O เสริมแกร่งช่องทางขายทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ ชี้ฐานการเติบโตแกร่ง ปี 67 รายได้โต 10.7% สูงกว่าอุตสาหกรรมที่ระดับ 6%            ภก.สุวิทย์ งามภูพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด (มหาชน) หรือ BLC ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบัน ยาสามัญ ยาสามัญใหม่ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยาสำหรับสัตว์ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพครบวงจร เปิดเผยว่า แนวโน้มผลประกอบการปี 2568 คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อน โดยในปี 2567 บริษัทมีรายได้เติบโต 10.7% หรือคิดเป็น 1,578.99 ล้านบาท สูงกว่าอุตสาหกรรมที่เติบโตเฉลี่ย 6% ขณะที่มีกำไรสุทธิ 171.35 ล้านบาท            จุดเด่นของ BLC คือการมีโรงงานผลิตยาของตนเอง พร้อมทีมฝ่ายขายที่ครอบคลุมตลาดผ่านบริษัทในเครือ 6 แห่ง ล่าสุดบริษัทได้เปิดตัว BKD Viva เพื่อใช้เทคโนโลยี AI และกลยุทธ์การตลาด (Marketing) ในการขยายตลาดในประเทศผ่านช่องทางร้านขายยาและโรงพยาบาล            สำหรับแผนธุรกิจปี 2568-2573 บริษัทให้ความสำคัญกับการผลิตและจำหน่ายยาสำหรับโรคอัลไซเมอร์ หัวใจ หลอดเลือด เบาหวาน และกระดูกข้อ รวมถึงการเปิดตัวยาใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและแนวโน้ม New S-Curve โดยเน้นคัดเลือกยาที่มีศักยภาพสูง            ด้านกลยุทธ์ขยายตลาดต่างประเทศ BLC เตรียมรุกเข้าสู่ระบบกระจายสินค้าผ่านการหาพันธมิตรใหม่ และวางแผนทำตลาดร่วมกับพาร์ทเนอร์ต่างประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพการเติบโตในระยะยาว และเสริมความแข็งแกร่งของธุรกิจในระดับสากล            บริษัทเชื่อว่า "BKD Viva" จะเป็นแรงขับเคลื่อนใหม่ (New S-Curve) โดยนำ AI มาใช้เป็นกลยุทธ์หลัก พร้อมผลักดัน ดิจิทัลอีคอมเมิร์ซ เป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม Shopee และ TikTok Shop นอกจากนี้ ยังนำ AI มาวิเคราะห์ข้อมูลการขายและแนวโน้มตลาดในอนาคต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน            สำหรับปี 2568 บริษัทมีแผนเชื่อมต่อช่องทาง ออฟไลน์และออนไลน์ (O2O) โดยเตรียมออกบูธตามโรงพยาบาลประมาณ 10 บูธ เพื่อขยายฐานลูกค้า และสร้างประสบการณ์การขายแบบครบวงจร ทั้งช่องทางดิจิทัลและการตลาดแบบดั้งเดิม            และคาดว่า "BKD Viva" จะเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนและเร่งการเติบโตของบริษัท โดยการนำเทคโนโลยี AI และกลยุทธ์ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งเข้ามาช่วยปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของตลาด อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่ได้มองการเติบโตในธุรกิจยาเพียงอย่างเดียว แต่ยังมองไปยังโอกาสการขยายตลาดในกลุ่ม อาหารเสริม และการพัฒนา โปรดักส์ใหม่ โดยจะใช้ ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง เพื่อสนับสนุนทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์การขายให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในอนาคต

PTT พุ่ง 4.20% ยืน 31 บ. รับ yield เกิน 7%

PTT พุ่ง 4.20% ยืน 31 บ. รับ yield เกิน 7%

          หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน นายเบญจพล สุทธิ์วนิช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ราคาหุ้นของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (PTT) ที่ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 31 บาท/หุ้น +4.20% คาดเป็นเรื่องของ Yield เป็นหลัก โดย Bond Yield สหรัฐปรับลดลงจากธนาคารกลางสหรัฐ หรือ Fed ลดดอกเบี้ย 2 ครั้งตามคาดการณ์ ส่งผลให้ PTT ที่ราคาหุ้นปรับตัวลงไปต่ำกว่า 30 บาท yield จึงมากกว่า 7%

TRUE จับมือ ททท. กระตุ้นการใช้จ่ายนทท.  ชูแคมเปญ “Grand Songkran Grand Privileges”

TRUE จับมือ ททท. กระตุ้นการใช้จ่ายนทท. ชูแคมเปญ “Grand Songkran Grand Privileges”

          หุ้นวิชั่น - กรุงเทพฯ 20 มีนาคม 2568 – เพื่อต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ ปี 2568 ที่กำลังจะมาถึง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE โดย  นางสรรค์พิจิตร เอี่ยมชีรางกูร หัวหน้าสายงานบริหารความสัมพันธ์และผสานสิทธิประโยชน์ลูกค้า ขานรับ นโยบาย ททท. โดยนางสาวภัทรอนงค์ ณ เชียงใหม่ รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชีย และแปซิฟิกใต้ ร่วมยกระดับประสบการณ์นักท่องเที่ยวช่วงสงกรานต์ กระตุ้นการเดินทางและการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ไปกับแคมเปญพิเศษ “Grand Songkran Grand Privileges” มอบประสบการณ์การเดินทางที่สะดวกสบาย เชื่อมต่อไร้รอยต่อ พร้อมสิทธิประโยชน์สุดเอ็กซ์คลูซีฟ ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ อาทิ การเดินทาง ที่พัก อาหาร แฟชั่น และความบันเทิง สามารถลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษเพื่อเก็บดีลจาก Splash Box ผ่านเว็บไซต์ www.grandsongkrangrandprivilege.com โดยจะเปิดให้บริการในวันที่ 20 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป และสามารถใช้ดีลสิทธิพิเศษได้ตั้งแต่วันที่ 1 – 30 เมษายน 2568           นางสรรค์พิจิตร เอี่ยมชีรางกูร หัวหน้าสายงานบริหารความสัมพันธ์และผสานสิทธิประโยชน์ลูกค้า บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า เพื่อส่งมอบความสุขให้ลูกค้าทรูและดีแทคทุกพื้นที่ทั่วไทย ให้ทั่วถึง ทุกคน ทรูจึงเดินหน้ายกระดับประสบการณ์ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง พัฒนาเครือข่าย 5G ทั่วประเทศไทย เพิ่มประสบการณ์ใช้งานของลูกค้าทุกพื้นที่สู่ระดับเวิลด์คลาส สำหรับเทศกาลสงกรานต์ซึ่งถือเป็นปีใหม่ของคนไทย และเป็นเทศกาลที่นักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมเดินทางมาร่วมฉลองประเพณีไทยและร่วมเล่นน้ำสงกรานต์ ซึ่งทรู ไม่เพียงแต่มอบเครือข่ายที่ดีที่สุดให้กับนักท่องเที่ยว แต่ยังเข้าใจไลฟ์สไตล์ของนักเดินทางยุคใหม่ ที่ต้องการความสะดวกสบายและความต่อเนื่องในการใช้ชีวิตดิจิทัล 5G ครอบคลุมทั่วประเทศ รองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ทั้งในสนามบิน สถานีขนส่ง และจุดท่องเที่ยวสำคัญ  โดยมีทีมวิศวกรเน็ตเวิร์ก   standby ประจำศูนย์ปฏิบัติการเครือข่ายอัจฉริยะ (BNIC) พร้อม AI และหน่วยปฏิบัติการเฉพาะกิจ (War Room) เพิ่มประสิทธิภาพความเชื่อมั่นเครือข่าย 5G, 4G และอินเทอร์เน็ตบ้าน พร้อมดูแลและบริหารเครือข่ายครอบคลุมทุกบริการ 24 ชั่วโมง  เราต้องการให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนได้สัมผัสประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการเที่ยวเมืองไทย’ ด้วยเครือข่าย และสิทธิพิเศษที่ออกแบบมาให้ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์  ครั้งนี้ร่วมมือกับ ททท. มอบสิทธิประโยชน์ให้กับนักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นสายเที่ยว สายชิล สายกิน หรือสายดิจิทัล ทรูพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำให้กับทุกคน  โดยทรู มอบสิทธิพิเศษ ในโครงการ ‘Grand Songkran Grand Privileges’ ดังนี้ รับฟรีซิมทัวริสต์ เพียงแสดง Promo Code จากโครงการฯ เพื่อรับซิมฟรีหรือส่วนลดค่าซิมมูลค่า 49 บาท (จำกัด 1 สิทธิ์/ 1 หนังสือเดินทาง/ 1 Promo Code) รับฟรีชุดเสื้อกางเกงลายช้าง เมื่อซื้อซิมนักท่องเที่ยวมูลค่า 699 บาทขึ้นไป และแสดง Promo Code ที่เคาน์เตอร์ทรูหรือดีแทคที่ร่วมรายการ รับฟรีซองกันน้ำ เมื่อซื้อซิมนักท่องเที่ยวมูลค่า 349 บาทขึ้นไป และแสดง Promo Code มาพร้อมสิทธิพิเศษหลังเปิดใช้งานซิม โบนัสโทรฟรีมูลค่า 100 บาท สำหรับโทรไปยัง 7 ประเทศ ได้แก่ จีน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน อินเดีย เกาหลีใต้ และเวียดนาม ส่วนลดพิเศษจากพันธมิตร สำหรับลูกค้าซิมทรูและดีแทคทัวริสต์ อาทิ ส่วนลดเครื่องดื่มเต่าบินสูงสุด 25% ส่วนลด 50% สำหรับเครื่องดื่มและไอศกรีมที่ร้าน Burger King และ Bonchon ในสนามบินที่ร่วมรายการ ส่วนลดบริการ Grab สูงสุด 1,050 บาท ส่วนลด 300 บาท เมื่อซื้อสินค้าที่ Lotus’s ครบ 1,000 บาท เป็นต้น           ทั้งนี้ลูกค้าทรูและดีแทคยังสามารถรับของขวัญและสิทธิพิเศษเพิ่มเติมตลอดช่วงเทศกาลสงกรานต์ ไม่ว่าจะเป็นดีลพิเศษ กล่องสุ่ม และกิจกรรมลุ้นโชค ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางแอปทรูไอดี ดีแทคแอป หรือ https://ttid.co/OiLl/SplashTogether           เตรียมสุขสุดแกรนด์ไปด้วยกัน Let’s Splash Together!

THANA ปักหมุด Luxury เปิด THANA RESIDENCE

THANA ปักหมุด Luxury เปิด THANA RESIDENCE

          22 – 23 มี.ค. นี้ ธนาสิริ กรุ๊ป (THANA) รุกตลาด Luxury อย่างต่อเนื่อง เปิดโครงการรอบ VVIP กับแบรนด์หรู THANA RESIDENCE กาญจนาภิเษก-พระราม 9 ราคาเริ่ม 18-30 ล้านบาท ภายใต้แนวคิด A NEW LUXURY: Simply Natural Heritage นิยามใหม่ของบ้านหรู เรียบง่าย ที่เป็นหนึ่งเดียวกับมรดกทางธรรมชาติ สะท้อนผ่านแรงบันดาลใจของธรรมชาติจากผืนป่า เพื่อสร้างความรู้สึกเหมือนพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติโอบล้อมรอบตัวทุกพื้นที่ในโครงการ           THANA RESIDENCE กาญจนาภิเษก-พระราม 9 ที่สุดแห่งการอยู่อาศัย เติมเต็มความสมบูรณ์ของการใช้ชีวิตได้อย่างลงตัวบนทำเลศักยภาพ สะดวกในการเดินทาง ตั้งอยู่บนถนนกาญจนาภิเษก และถนนสุขาภิบาล 2 ทั้งยังใกล้จุดขึ้นสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ นอกจากนี้ เพียงใช้เวลาแค่ 15 นาที ก็ถึงสนามบินสุวรรณภูมิแล้ว แวดล้อมด้วย Living Solutions ครบถ้วน ใกล้กับห้างสรรพสินค้าชั้นนำ โรงเรียนนานาชาติชื่อดัง โรงพยาบาลที่มีชื่อเสียง ตลอดจนสาธารณูปโภคต่างๆ มากมาย และยังสามารถเดินทางเข้าเมืองไปยัง สุขุมวิท ทองหล่อ พระรามเก้า อโศก ราชดำริ สีลม และสาธร ได้อย่างสะดวก           ขณะเดียวกัน THANA RESIDENCE กาญจนาภิเษก-พระราม 9 ยังออกแบบอย่างพิถีพิถันครบถ้วนทั้งตัวบ้าน และสันทนาการส่วนกลาง ในแนวคิด In the Wood ตอบโจทย์การอยู่อาศัย เพื่อความคุ้มค่า น่าอยู่ โดยรอบ VVIP นี้ พิเศษสุดกับการส่งบ้านหลังใหญ่ 3 แบบบ้าน ที่มีขนาดพื้นที่สูงสุด 474 ตร.ม. ประกอบด้วย 4 ห้องนอน 5 ห้องน้ำ 4 ที่จอดรถ 2 ห้องแม่บ้าน พร้อมนวัตกรรมที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้ใช้เวลาอยู่ กับคนในครอบครัว กับความสุขง่าย ๆ ที่เป็นความภาคภูมิใจในบ้านหลังใหญ่ ภายใต้แนวคิด “ธนาสิริ ... เราดูแล”

[ภาพข่าว] D เปิด “Smile Signature” สาขาสุขุมวิท

[ภาพข่าว] D เปิด “Smile Signature” สาขาสุขุมวิท

          นายพรศักดิ์ ตันตาปกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดนทัล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ D  เป็นประธานเปิดสาขาใหม่  คลินิกทันตกรรม สไมล์ซิกเนเจอร์  หรือ Smile Signature สาขาสุขุมวิท  พร้อมด้วยนายณัฐสิทธิ์ สุรพันธ์ไพโรจน์  ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีและการเงิน  และทีมบุคลากร  ซึ่งสาขาสุขุมวิท จะ รองรับกลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นหลัก  ตามแผนการตลาดในเชิงรุกของกลุ่มบริษัท  เปิดสาขาใหม่ในแหล่งท่องเที่ยว           คลินิกทันตกรรม Smile Signature สาขาสุขุมวิท ตั้งอยู่บนทำเลแหล่งท่องเที่ยว และแหล่งที่พักอาศัยของชาวต่างชาติ  เป็นสาขาที่เปิดเพื่อรองรับกลุ่ม medical tourism ที่เป็นลูกค้าชาวต่างชาติ 100%  มีพื้นที่ให้บริการกว่า 300 ตารางเมตร  เป็นสาขาที่มีการตกแต่งสวยงามทันสมัย มีพื้นที่ให้ลูกค้านั่งรอรับบริการ กว้างขวางและสะดวกสบาย มีห้องให้บริการทันตกรรมจำนวน 6 ห้อง สามารถรองรับลูกค้าได้วันละประมาณ 100 คน

[ภาพข่าว] “JPARK” ต้อนรับนักลงทุนสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย

[ภาพข่าว] “JPARK” ต้อนรับนักลงทุนสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย

          นายสันติพล เจนวัฒนไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสุดวิณ ปัญญาวงศ์ขันติ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินและบัญชี  บริษัท เจนก้องไกล จำกัด (มหาชน) “JPARK” ให้การต้อนรับคณะนักลงทุนสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย อาสาฯ Visit  เนื่องในโอกาสเข้ารับฟังการบรรยายข้อมูล และเปิดโอกาสให้นักลงทุนได้ซักถามถึงผลการดำเนินงานและข้อมูลธุรกิจของบริษัทฯ อย่างใกล้ชิดและเป็นกันเอง ณ ห้องประชุม The Mitr-ting Room Samyan Mitrtown Hall ชั้น 5

SPCG ขยายฐานโซลาร์รูฟ รักษาระดับปันผล 0.8-1.2 บ.

SPCG ขยายฐานโซลาร์รูฟ รักษาระดับปันผล 0.8-1.2 บ.

          หุ้นวิชั่น - SPCG ประมาณการรายได้ ปี68 ที่ 1,000-1,500 ล้านบาท ยอมรับหมด Adder กระทบรายได้ เตรียมเสริมศักยภาพธุรกิจใหม่ เน้นขยายฐานลูกค้าในธุรกิจ โซลาร์รูฟ โอกาสโตต่อเนื่อง ทั้งลูกค้าอุตสาหกรรมและอาคารพาณิชย์ หวังรักษาระดับจ่ายปันผล ที่ 0.8-1.2 บาท / หุ้น แม้มีปัจจัยลบกดดัน           นายพิพัฒน์ วิริยธรานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) หรือ SPCG เปิดเผยว่าบริษัทประมาณการรายได้ปี 2568 ที่ระดับ 1,000 - 1,500 ล้านบาท จากปีก่อนที่ทำได้ 2,166.64 ล้านบาท โดยโครงการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 36 แห่ง ที่หมดสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในรูป Adder ลงทำให้รายได้ของบริษัทลดลงไปบ้าง รวมถึงปัจจัยด้านค่าอัตราไฟฟ้าผันแปร (FT) ที่ทางภาครัฐได้มีการกำหนดใหม่มีแนวโน้มลดลง คาดว่าส่งผลโดยตรงต่อภาพรวมรายได้           ทั้งนี้ กลยุทธ์สำหรับปี 2568 บริษัทมีแผนการเพิ่มศักยภาพของธุรกิจ โดยจะเสริมสร้างเทรนด์ธุรกิจใหม่ๆ รักษาคุณภาพสินค้าและการบริการ ความร่วมมือกับพันธมิตรที่แข็งแกร่ง เพิ่มสิทธิประโยชน์ในด้านอื่นๆ โดยจะไม่ลดต้นทุนเพื่อการแข่งขัน และเน้นขยายฐานลูกค้าในธุรกิจ โซลาร์รูฟ ซึ่งปัจจุบันมีภาคเอกชนเป็นหลัก โดยเฉพาะ โรงงานอุตสาหกรรม และ อาคารพาณิชย์ ที่มีการติดตั้งเพื่อกักเก็บพลังงานในช่วงค่าไฟปรับขึ้น           "สำหรับการแข่งขันอนาคตด้านธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบโซลาร์ฟาร์มนั้น การทำโซลาร์ฟาร์มในประเทศไทย เป็นธุรกิจที่ต้องรับการอนุมัติจากภาครัฐ การทำธุรกิจจึงต้องร่วมกับภาครัฐเป็นหลัก โดยบริษัทยังคงติดตามโครงการใหม่ๆ ของภาครัฐ หากมีโครงการใหม่ก็พร้อมร่วมมือ รวมถึงในส่วนธุรกิจต่างประเทศนั้นอยู่ระหว่างการศึกษา โดยบริษัทเน้นการลงทุนในประเทศที่มีความคุ้มค่า หากยังไม่แน่ใจจะยังไม่ลงทุนในประเทศนั้น แต่ที่บริษัทลงทุนในญี่ปุ่นเพราะที่ญี่ปุ่นมีความคุ้มค่าทั้งทางนโยบายภาครัฐและพาร์ทเนอร์ที่แข็งแกร่ง" นายพิพัฒน์ กล่าว           ด้านการจ่ายเงินปันผลนั้นขึ้นอยู่กับผลการประกอบการในอนาคต โดยพยายามให้คงระดับที่ 0.8-1.2 บาท / หุ้น เนื่องจากมีหลายปัจจัย ทั้งด้านอุปกรณ์ที่ใช้มานาน ที่ต้องมีค่าดูแลเพิ่ม ในส่วนนี้บริษัทสามารถควบคุมได้ อีกทั้งยังมีเรื่องค่าอัตราไฟฟ้าผันแปร (FT) ที่ทางรัฐเป็นผู้กำหนด ซึ่งบริษัทไม่สามารถควบคุมได้ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อรายได้           ด้านกรณีพิพาทกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในการฟ้องศาลแพ่งเรียก 3.7 พันล้าน กฟภ. ฐานละเมิดสัญญาซื้อขายไฟโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ EEC หลังยกเลิกการให้ความยินยอมโอนสิทธิหน้าที่ตามสัญญา โดย มูลค่าของความเสียหายยังคงต้องติดตาม โดยเบื้องต้นบริษัทมีค่าใช้จ่ายในการระดมทุน การจัดซื้อและพัฒนาจัดซื้อที่ดิน และมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ พอสมควร

PROUD ตุน Backlog 10,935 ล. ลุ้น New High

PROUD ตุน Backlog 10,935 ล. ลุ้น New High

          PROUD มองภาพรวมตลาดอสังหาฯ ยังคงเผชิญความท้าทาย ด้านที่อยู่อาศัยลักชัวรี ยังมีโอกาสขยายตัว ความต้องการที่อยู่อาศัยทำเลศักยภาพจากกลุ่มลูกค้าเรียลดีมานด์และต่างชาติระดับไฮเอนด์เพิ่มขึ้น ดันมูลค่ายอดขายที่รอรับรู้รายได้ (Backlog) รวมประมาณ 10,935 ล้านบาทคาด Q2-Q3/2568 เป็นต้นไปยอดขายโตเด่น พร้อมเร่งโอนกรรมสิทธิ์โครงการ VEHHA Hua Hin (เวหา หัวหิน) โครงการ NUE District R9 (นิว ดิสทริค อาร์ 9) โครงการ นิว ครอส คูคต สเตชัน (Nue Cross Khu Khot Station) โครงการ VI Ari (วี อารีย์) ทยอยรับรู้รายได้ในปีนี้ ขณะที่ผลประกอบการปี 2567 รายได้ 2,268 ล้านบาท โต 48% กำไรสุทธิ 57 ล้านบาท           นายพสุ ลิปตพัลลภ กรรมการบริหาร บริษัท พราว เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ PROUD  เปิดเผยถึงภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงเผชิญกับความท้าทาย แต่ในส่วนของตลาดที่อยู่อาศัยระดับลักชัวรีมีโอกาสขยายตัวอย่างโดดเด่น ปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการที่อยู่อาศัยในทำเลศักยภาพที่ดีสุดใจกลาง CBD ตอบโจทย์ความต้องการกลุ่มลูกค้าเรียลดีมานด์และชาวต่างชาติระดับไฮเอนด์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวโดยเฉพาะในหัวเมืองท่องเที่ยว อาทิ ภูเก็ต หัวหิน ยังคงได้รับความนิยมส่งผลเชิงบวกต่อภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยรวมและทิศทางการดำเนินธุรกิจของ พราว เรียล เอสเตท อย่างมาก           ปัจจุบันโครงการที่อยู่ระหว่างการขายของบริษัท มีกระแสตอบรับที่ดีต่อเนื่อง โดยมียอดขายที่รอรับรู้รายได้ (Backlog) รวม 10,935 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการ "VEHHA Hua Hin" (เวหา หัวหิน) จำนวน 1,560 ล้านบาท อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ความคืบหน้าการก่อสร้าง 81% โครงการ "ROMM Convent" (รมย์ คอนแวนต์) จำนวน 2,763 ล้านบาท อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ความคืบหน้าการก่อสร้าง 25% โครงการ "NUE District R9" (นิว ดิสทริค อาร์ 9) จำนวน 6,418 ล้านบาท อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ความคืบหน้าการก่อสร้าง 100% โครงการ นิว ครอส คูคต สเตชัน (Nue Cross Khu Khot Station) จำนวน 114 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเข้าอยู่ และโครงการ "VI Ari" (วี อารีย์) จำนวน 81 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเข้าอยู่ คาดว่ายอดขายจะปรับเพิ่มขึ้นอีกในไตรมาส 2/2568 เป็นต้นไป           ทั้งนี้ บริษัทเร่งโอนกรรมสิทธิ์โครงการ VEHHA Hua Hin (เวหา หัวหิน) โครงการ NUE District R9 (นิว ดิสทริค อาร์ 9) โครงการ นิว ครอส คูคต สเตชัน (Nue Cross Khu Khot Station) โครงการ VI Ari (วี อารีย์) เพื่อทยอยรับรู้เป็นรายได้เพิ่มเติมในปีนี้ สร้างการเติบโตต่อเนื่อง           นอกจากนี้ บริษัทฯ เดินหน้ากลยุทธ์การตลาดเชิงรุกอย่างเข้มข้น เพื่อกระตุ้นยอดขายและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นการนำเสนอการดูแลการอยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตที่ดีมาตรฐานระดับโลก ภายใต้แนวคิด  'ALL IS WELL เพื่อชีวิตดีที่ยั่งยืน' พร้อมข้อเสนอโปรโมชันที่หลากหลายและตรงใจลูกค้า ควบคู่ไปกับการสื่อสารภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่เน้นความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนและคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อให้ลูกค้าไม่เพียงแต่ได้รับความคุ้มค่าจากโปรโมชัน แต่ยังตระหนักถึงคุณค่าของการอยู่อาศัยในโครงการที่ใส่ใจทุกมิติของชีวิต อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ที่เหนือระดับให้กับลูกค้า โดยการจับมือกับพันธมิตรชั้นนำ เพื่อมอบบริการระดับลักชัวรีที่ตอบโจทย์ความต้องการเพื่อการอยู่อาศัยและการลงทุน           สำหรับผลประกอบการในปี 2567 บริษัทฯ มีรายได้รวม 2,268 ล้านบาท เติบโตขึ้น 48% และมีกำไรสุทธิ 57 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของบริษัทฯ ในการดำเนินธุรกิจท่ามกลางความท้าทายของตลาด [PR News]

BA คาดกำไรปี 68-69 โต 27%-31% โบรกแนะซื้อปรับเป้าที่ 29.75 บาท

BA คาดกำไรปี 68-69 โต 27%-31% โบรกแนะซื้อปรับเป้าที่ 29.75 บาท

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.กสิกรไทย ระบุ BA คงคำแนะนำ Buy และปรับเพิ่มราคาเป้าหมาย (TP25F) เป็น 29.75 บาท (เดิม 28.75 บาท) จากการปรับเพิ่มกำไรปี 2025F-26F สะท้อนแนวโน้มราคาตั๋วเฉลี่ยและอัตราบรรทุกผู้โดยสารสูงกว่าคาด คาดกำไรสุทธิปี 2025F-26F โตต่อเนื่อง +10% y-y และ +8% y-y ตามลำดับ โดย BA มีจุดเด่นจากการครองเส้นทางบินหลัก (เข้า-ออกสมุย) และพึ่งพานักท่องเที่ยวจีนต่ำ ปรับกำไรปี 2025F-2026F ขึ้น 27% ถึง 31%            เราปรับเพิ่มกำไรสุทธิปี 2025F-2026F ของ BA ขึ้น 27% ถึง 31% จาก (1) ค่าใช้จ่าย SG&A ต่ำกว่าคาด และ (2) ราคาตั๋วโดยสารและอัตราบรรทุกผู้โดยสารมีแนวโน้มสูงกว่าคาด            เราปรับลดค่าใช้จ่าย SG&A ลงจากเดิม -7-8% ปรับราคาตั๋วโดยสารเฉลี่ยขึ้น 2-3% เป็น 4,186 บาท และปรับอัตราบรรทุกผู้โดยสารขึ้น 2% เป็น 82% หนุนกำไรสุทธิปี 2025F-2026F เพิ่มขึ้นเป็น 4,155 ลบ. (+10% y-y) และ 4,482 ลบ. (+8% y-y) ตามลำดับ คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้นที่ 1.98 บาท และ 2.13 บาท ตามลำดับ ประสิทธิภาพการดำเนินงานดีกว่าช่วง Pre-COVID            BA ใช้ประสิทธิภาพสินทรัพย์ดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วง Pre-COVID อัตราผลตอบแทน ROA เพิ่มจาก 0.6% (ปี 2019) เป็น 6.7% (ปี 2024) อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มจาก 7.5% (ปี 2019) เป็น 27.9% (ปี 2024)            จากกลยุทธ์ลดขนาดฝูงบินและเลือกบินเฉพาะเส้นทางบินที่มีอัตรากำไรดีเท่านั้น โดยฝูงบินลดจาก 40 ลำ (ปี 2019) เหลือ 25 ลำ (ปี 2024) หนุนอัตราบรรทุกผู้โดยสารเพิ่มจาก 68.5% (ปี 2019) เป็น 82.1% (ปี 2024) ซึ่งเราคาดว่าสถานการณ์ปี 2025F ไม่ต่างจากปี 2024 จากปัญหา Capacity Constraint ในธุรกิจการบินยังคงอยู่ คาด ROA 7.3% อัตรากำไรขั้นต้น 28.4% ราคาตั๋วเฉลี่ย 4,186 บาท และอัตราบรรทุกผู้โดยสาร 82%            เราคาดว่ากลยุทธ์บริหารสินทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นข้างต้นเป็นบวกต่อผลประกอบการ BA ในระยะยาว ฐานะการเงินแข็งแกร่ง และพึ่งพาจีนไม่มาก            BA เป็นหุ้นธุรกิจการบินที่มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง สิ้นปี 2024 อัตราหนี้สินที่มีดอกเบี้ย (หลังหักหนี้สัญญาเช่าเครื่องบิน) อยู่ที่ 0.7 เท่า มีเงินสดและเงินฝากประจำรวมกว่า 13,000 ลบ. มีเงินลงทุนในตราสารทุน (BDMS, BFS) รวมมูลค่า 18,000 ลบ.            และ BA พึ่งพานักท่องเที่ยวจีนไม่มาก โดยรายงานปี 2024 มีรายได้จากการขายตั๋วโดยสารผ่านช่องทางขายในประเทศจีน คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 5% ของรายได้จากธุรกิจสายการบิน คงคำแนะนำ Buy            เราคงคำแนะนำ Buy และปรับเพิ่มราคาเป้าหมายปี 25F เป็น 29.75 บาท (เดิม 28.75 บาท) ประเมินด้วยวิธี SOTPs ประกอบด้วย (1) ธุรกิจหลัก BA มูลค่า 17.99 บาท (2) เงินลงทุนใน BDMS 10.48 บาท (3) เงินลงทุนใน BAFS 0.24 บาท (4) เงินลงทุนใน BAREIT 1.15 บาท เทียบเท่า P/E’25F ที่ 15 เท่า (ใกล้เคียง -0.75SD ของค่าเฉลี่ยอดีต)            ปัญหา Capacity Constraint ในอุตสาหกรรมการบินยังคงอยู่ในปี 2025F หนุนราคาตั๋วโดยสารเฉลี่ยและอัตราบรรทุกผู้โดยสารสูงต่อเนื่อง และเส้นทางบินหลัก เข้า-ออกสมุย ยังมี Catalyst บวกจากการออกอากาศซีรีส์ดัง The White Lotus ของ HBO ที่มีการถ่ายทำที่เกาะสมุย รวมถึงความคืบหน้าของโครงการลงทุนพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา            อย่างไรก็ตาม BA มีข้อจำกัดในการเพิ่มกำลังการให้บริการ (เพิ่มฝูงบิน) เนื่องจากได้รับผลกระทบเชิงลบจากปัญหา Capacity Constraint ในธุรกิจการบินเช่นกัน ความเสี่ยง การแข่งขันในธุรกิจสายการบินกลับมาเร็วกว่าคาด ทำให้ราคาตั๋วโดยสารและอัตราบรรทุกผู้โดยสารต่ำกว่าคาด การเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันและอัตราแลกเปลี่ยน แผนการปรับฝูงบินใหม่ (BA อยู่ระหว่างศึกษาการปรับเปลี่ยนรุ่นเครื่องบินเพื่อรองรับนโยบายการลดการปล่อยคาร์บอนของอุตสาหกรรมการบิน) อาจทำให้ต้นทุนค่าเช่าเครื่องบินสูงกว่าคาด การลงทุนในโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ มูลค่ากว่า 290,000 ลบ.

“เที่ยวคนละครึ่ง” กระตุ้นยอด CENTEL ติดปีกรับประโยชน์

“เที่ยวคนละครึ่ง” กระตุ้นยอด CENTEL ติดปีกรับประโยชน์

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุว่า สถานการณ์อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยล่าสุด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ TAT รายงานจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในไทยสะสมระหว่างวันที่ 1 ม.ค.-9 มี.ค. 68 อยู่ที่ 7.66 ล้านคน โดยนักท่องเที่ยว 5 อันดับแรก คือ จีน มาเลเซีย รัสเซีย เกาหลีใต้ และอินเดีย (Figure 1) สร้างรายได้เข้าประเทศไปแล้ว 375,035 ล้านบาท จากตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในไทย จะเห็นว่าจีนเป็นอันดับ 1 แต่หากมองย้อนกลับไปตั้งแต่เดือน ม.ค. 67 - ก.พ. 68 จะเห็นว่านักท่องเที่ยวจีนหดตัวลง (Figure 2) ทางฝ่ายคาดในปี 68 นักท่องเที่ยวจีนมีแนวโน้มเข้ามาเที่ยวไทยน้อยลง เนื่องจาก 1)ความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยน้อยลง จากข้อมูลของสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว หรือ แอตต้า กล่าวว่าคนจีนบางส่วนยังมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินทางมาเที่ยวไทย ซึ่งอาจเกิดจากข่าวอาชญากรรม การฉ้อโกงนักท่องเที่ยว หรือความไม่มั่นใจในระบบกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายในประเทศ 2) แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน เหตุจาก 1) อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) จีน ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อ ในเดือน ก.พ. ลดลง 0.7% y-y โดยเป็นการหดตัวลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 68 ตามข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) ฉบับล่าสุด ทางฝ่ายมองว่าบ่งชี้ถึงความเสี่ยงด้านเงินฝืดที่ยังคงกดดันเศรษฐกิจจีน หากแยกองค์ประกอบอัตราเงินเฟ้อของจีน ด้านบริการลดลง 0.4% y-y การบริโภคสินค้าลดลง 0.9% y-y และ ด้านอาหารลดลง 3.3% y-y จากตัวเลขดังกล่าวจะเห็นว่าหดตัวลงในทุกด้าน สะท้อนว่าในปัจจุบันผู้บริโภคชาวจีนยังคงระมัดระวังการใช้จ่ายและมีแนวโน้มการเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศน้อยลง 3) ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีนและประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐฯ อาจทำให้เศรษฐกิจจีนได้รับผลกระทบต่อเนื่อง ส่งผลให้คนจีนลดงบประมาณการท่องเที่ยวต่างประเทศ 4) นโยบายของรัฐบาลจีนที่ต้องการกระตุ้นให้ประชาชนท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น ทำให้การเดินทางออกนอกประเทศลดลง 5) การแข่งขันจากประเทศอื่น เช่น ญี่ปุ่น เวียดนาม และจีน โดยเห็นได้จากนักท่องเที่ยวจีนที่ ก่อนหน้านี้เคยเดินทางมาไทย อาจเลือกประเทศอื่นที่ให้ประสบการณ์ใหม่ๆ แทน 6) ไทยขาดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ตอบโจทย์นักท่องเที่ยว ปัจจัยพื้นฐาน เช่น ห้องน้ำสะอาด ระบบขนส่งที่สะดวก ยังคงเป็นจุดที่ต้องปรับปรุง และ 7) พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจีนเปลี่ยนไป ซึ่งนักท่องเที่ยวจีนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับการเดินทางแบบพรีเมียมและประสบการณ์ที่มีคุณภาพมากขึ้น มากกว่าการมาท่องเที่ยวแบบกลุ่มทัวร์ราคาถูก ซึ่งไทยอาจยังไม่ได้ตอบโจทย์กลุ่มนี้ได้ดีพอ คาดปี 68 ท่องเที่ยวโต แต่ยังมีความท้าทาย          ทางฝ่ายคาดในปี 68 อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยสดใสมากกว่าปี 67 หนุนจาก 1) โครงการฟรีวีซ่า 2)การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) 3) การขยายตัวของธุรกิจ MICE (Meetings, Incentive Travel, Conventions, Exhibitions) รับแรงหนุนจากการที่บริษัทต่างชาติ กลับมาจัดงานสัมมนาและอีเวนต์ในประเทศไทยมากขึ้น 4) โครงการ “เที่ยวคนละครึ่ง” ของ TAT ที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วง 2Q68 เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในช่วงโลว์ซีซั่นระหว่างเดือน พ.ค. - ก.ย. 68 โดยมีรูปแบบคล้ายโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” แต่ภาครัฐจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพิ่มเป็น 50% และนักท่องเที่ยวจ่ายเองอีก 50% ทั้งนี้ TAT แจ้งงบประมาณราว 3,500 ล้านบาท ซึ่งในระยะแรกจะเปิดให้จอง 1 ล้านสิทธิ์เพื่อใช้ประโยชน์ในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งสามารถใช้สิทธิ์ในการจ่ายค่าโรงแรมที่พักและร้านอาหาร ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่า สามารถใช้สิทธิ์จองตั๋วเครื่องบินได้หรือไม่ และอาจมีการพัฒนาแพลตฟอร์มกลางร่วมกับบริษัทท่องเที่ยวออนไลน์ (OTA) เพื่อรองรับการจองสินค้าและบริการท่องเที่ยว รวมถึงการจองห้องพักโดยตรงจากโรงแรม คาดว่าโครงการจะเริ่มใช้งานได้ปลาย 2Q68 ถึง 3Q68 อย่างไรก็ตามทางฝ่ายมองว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยยังคงมีปัจจัยกังวลจากแนวโน้มการแข่งขันในตลาดท่องเที่ยวรุนแรงขึ้นตามความต้องการขายห้องพักของผู้ประกอบการมีเพิ่มขึ้น รวมถึงแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ตลอดจนประเด็นความไม่ปลอดภัยเรื่องการเที่ยวในไทย ทางฝ่ายคาดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในไทยในปี 68 อยู่ที่ราว 37 ล้านคน (Figure 3) ซึ่งเป็นตัวเลขที่ยังไม่ครอบคลุมจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีก่อนการระบาดของไวรัส COVID-19 แนะนำ CENTEL เป็น Top Pick ของกลุ่ม          ทางฝ่ายแนะนำ CENTEL เป็น Top Pick ของกลุ่ม ราคาพื้นฐานปี 68 ที่ 37.75 บาท หนุนจากการมีสัดส่วนรายได้จากประเทศไทยราว 80% ของรายได้ธุรกิจโรงแรม จากสัดส่วนดังกล่าวทางฝ่ายมองว่าCENTEL มีแนวโน้มรับประโยชน์จากโครงการ “เที่ยวคนละครึ่ง” ของ TAT ที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วง 2Q68 รวมถึงปัจจัยบวกจากการเปิดโรงแรมใหม่ในมัลดีฟส์เพิ่มเติม และแนวโน้มการเร่งตัวขึ้นของ อัตราการเข้าพัก (OCC) และรายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก (RevPAR) ในปีนี้ หนุนจากงาน World Expo (เดือนเม.ย. - ต.ค. 68) สำหรับรายได้จากธุรกิจร้านอาหาร ทางฝ่ายคาดเร่งตัวขึ้น y-y หนุนจากการขยายสาขาของแบรนด์หลักและการขยายแบรนด์ใหม่

เอเซียพลัส คัด 3 หุ้นเด่น คลิก!

เอเซียพลัส คัด 3 หุ้นเด่น คลิก!

         หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล. เอเซียพลัส ระบุว่า ติดสปริงเล็กๆ ให้ SET INDEX FED ไม่เซอร์ไพร์ส คงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 4.5% ตามตลาดคาดการณ์ นอกจากนี้ FED ชะลอการทำ QT หวังลดผลกระทบต่อตลาดการเงิน ขณะที่ทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ ในระยะถัดไป DOT PLOT คาดว่าจะเห็น FED ลด ดอกเบี้ยในปี 2568 ราว 2 ครั้ง (ลง 0.5% สู่ระดับ 4.0%) ความคาดหวังทิศทางดอกเบี้ยขาลงในปีนี้ หนุนให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงมาก ขึ้นในช่วงสั้น แต่ในระยะยาวยังต้องระวังความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะ STAGFLATION จากผลกระทบนโยบายการค้าสหัฐฯ ที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ซึ่งอาจผลักให้เงินเฟ้อขยับตัวสูงขึ้น พร้อมกับกดดันเศรษฐกิจชะลอตัวลงได้ INTERNAL FACTOR 5 เดือนแห่งความสูญสลาย          โดย SET INDEX ลงเร็วและแรงกว่า 21% จาก 1506 จุด (18/10/24) ปัจจุบันเหลือ 1189 จุด และถ้าตัด DELTA ออกเหลือ 1118 จุด แรงขายหลักๆ มาจาก PROGRAM TRADING สูงถึง -7.1 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตามเริ่มเห็นการชะลอการลดลงของ SET จากต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิในบางวัน มีโบรกเกอร์ต่างชาติเริ่มมีมุมมองบวกกับหุ้นไทยมากขึ้น และในเชิง TECHNICAL เห็น SET ตัดเส้น EMA 10 วัน ที่ชัดเจนในรอบ 3 เดือน อาจทำให้ PROGRAM TRADING ชะลอการขาย และกลับมาซื้อเพิ่มขึ้นได้ TOP PICK เลือก CCET, PLANB และ JMART

ผู้ถือหุ้น GULF ต้องทำตัวอย่างไร

ผู้ถือหุ้น GULF ต้องทำตัวอย่างไร

          วันนี้ เป็นวันซื้อขายสุดท้าย ของ GULF และ INTUCH หลังจากนั้นตลาดหลักทรัพย์ฯ จะขึ้นเครื่องหมายพักการซื้อขายชั่วคราว (SP) ตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค. – 2 เม.ย. 2568 และในช่วงพักการซื้อขาย จะเปลี่ยนแปลงชื่อหลักทรัพย์ GULF เป็น GULFI เพื่อควบรวม GULFI และ INTUCH เป็นบริษัทใหม่ (NewCo)   หลังจากนั้น วันที่ 3 เม.ย. 2568 กลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ภายใต้ชื่อเดิมคือ  GULF           นักลงทุนสามารถ เลือกกระทำการได้ ดังนี้ 1. กรณีต้องการซื้อหรือขาย  ก็ดำเนินการได้ถึงวันที่ 20 มี.ค. ทั้ง GULF และ INTUCH หรือ 2. กรณีต้องการถือครองหลักทรัพย์ต่อ  ก็ไม่ต้องดำเนินการใด ๆ หุ้นจะกลับมาซื้อขายได้ใหม่ในวันที่ 3 เม.ย.2568  สำหรับผู้ถือหุ้นของ GULF (เดิม) และ INTUCH จะได้รับหลักทรัพย์ GULF (ใหม่) ในอัตราส่วนดังนี้ 1 หุ้นเดิมใน GULF (เดิม) ต่อ 1.02974 หุ้น GULF (ใหม่) และ 1 หุ้นเดิมใน INTUCH ต่อ 1.69335 หุ้น GULF (ใหม่)           ขณะที่ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย)  ประเมินราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2568 ของ NewCo ที่ 53.25 บาท/หุ้น โดยใช้วิธี Sum of the Part (SOTP) โดยประเมินธุรกิจโรงไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานด้วยวิธี DCF บน WACC 6.4% และ Terminal Growth ที่ 0% และประเมินมูลค่าเงินลงทุนในส่วนของ ADVANC และ THCOM โดยใช้ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2025 ที่ 296.00 บาท/หุ้น และ 16.50 บาท/หุ้น ตามลำดับ และหักลดด้วย Discount 10% โดยหากอิงราคาปิดของ GULF และ INTUCH ณ วันที่ 18 มี.ค. ที่ 49.50 บาท/หุ้น และ 80 บาท/หุ้น ตามลำดับ จะคิดเป็นราคา NewCo ที่ราว 47.80 บาท           ฟ้าเริ่มสว่างแล้ว สำหรับ WHA สัญญาณราคาเริ่มฟื้นตัว หลังถูกกระหน่ำขายอย่างหนัก จากประเด็นจะนำ WHAID เข้าจดทะเบียนตลาดหุ้น แต่ท้ายสุดผู้บริหารต้องยอมถอย พับแผนไปก่อน และเลื่อน WHAID  ไปอย่างน้อย 2-3 ปี โดยไม่กระทบกับแผนการลงทุนที่ตั้งไว้ ซึ่งผู้บริหารให้เหตุผลว่า เงินที่ได้จากการ spin off ส่วนหนึ่งเตรียมไว้สำหรับการ M&A กิจการที่มองว่า มีโอกาสเสริมธุรกิจของ WHA ส่วนแผนการเพิ่มพื้นที่เช่าอีก 200,000 ตร.ม. ทางผู้บริหารมีความมั่นใจ เพราะจะมีการตั้งโรงงานเพิ่มที่เวียดนามหลายที่  บล.พาย เคาะพื้นฐาน 5.20 บาท           ย้อนมาเกาะติด KBANK อีกที ใกล้เข้ามาแล้ว การจ่ายปันผลรอบแรก หุ้นละ 8 บาท ที่จ่อขึ้น XD วันที่ 8 เม.ย. 2568 และงวดที่2 ปันผลพิเศษอีก 2.50 บาทต่อหุ้น  ขึ้น XD  วันที่ 15 พ.ค. 2568  รวมเป็นเงินปันผลจ่ายทั้งสิ้น 28,431,931,116  บาท ที่สำคัญ เงินปันผลจ่ายจากกำไรสะสมที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 20 ผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดาสามารถ ขอเครดิตภาษีเงินปันผลคืนได้ ในอัตรา 20/80 ของเงินปันผลที่ได้รับ           เริ่มคลายกังวลกันเสียที กรณี  BEM  กับสะพานทรุดตัว พระราม 2 เพราะล่าสุดพบว่า ผู้บริหารยืนยันไม่กระทบการดำเนินงาน  เหตุปริมาณการจราจรที่ด่านมีแค่ 0.03% ของการจราจรรวม บล.กสิกรไทยชี้ BEM มีประกัน Business interruption ที่สามารถ claim ได้   แนะ ซื้อสะสม ราคาเป้าหมาย 10.85 บาท           ด้าน บล.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ส่องหุ้น PTTGC คาดไตรมาส1 ปี 2568 ฟื้นตัว แม้อาจมีผลขาดทุนปกติอยู่จากโรงกลั่นกลับมาเดินเครื่องปกติ  แต่มีสัดส่วนอีเทนเป็นวัตถุดิบเพิ่มขึ้น 20% ช่วยให้มาร์จิ้นเพิ่มขึ้น  และกำไรของ allnex เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล ทำให้กำไรปีนี้ฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญจากปีก่อนมีตั้งด้อยค่าก้อนใหญ่  รวมรับรู้ประโยชน์จากการใช้อีเทนเป็นวัตถุดิบเพิ่มขึ้นเต็มปี อีกทั้งกลยุทธ์ลดค่าใช้จ่าย   การหยุดผลิต PTTAC และ Vencorex ช่วยให้ค่าใช้จ่ายคงที่ลดลง ราคาหุ้นซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าบัญชีมาก  แนะซื้อ ราคาเป้าหมาย 27.5 บาท           วกมาที่ บล.ธนชาต  ระบุว่า เริ่มเห็น Sentiment เชิง บวก ขณะที่โบรกต่างชาติ UBS ได้ปรับคำแนะนำหุ้นไทยเป็น “Overweight” จาก “Neutral ” โดยมองว่า Valuation อยู่ในระดับที่น่าสนใจ ใกล้เคียงกับระดับช่วงเกิดโควิด และเชื่อว่าราคาที่ปรับลดลงได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว           นอกจากนี้ การออก Thai ESG Extra ช่วยชดเชยกับเงินที่จะครบกำหนดของ LTF ซึ่งถ้าเทียบหุ้นที่ Valuation น่าสนใจ กำไรเติบโตดี และเริ่มเห็นสัญญาณต่างชาติสะสม แนะนำ “ซื้อ”   กลุ่มแรก ที่เห็น Fund Flow ไหลเข้า ชอบ CENTEL- CBG- MINT- CKP และกลุ่มที่ Fund Flow ไหลออก แต่พื้นฐานดี มีโอกาสเห็น Fund flow ไหลเข้าอีกครั้ง ชอบ KBANK- CPALL- TRUE -BDMS -CPN – WHA การลงทุน มีความเสี่ยง ผู้ลงทุน ควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ ลงทุน [วิพากษ์หุ้นไทย]

[Vision Exclusive] GULF ถือหุ้น KBANK รับปันผล Q2 ที่ 808 ลบ.

[Vision Exclusive] GULF ถือหุ้น KBANK รับปันผล Q2 ที่ 808 ลบ.

           หุ้นวิชั่น – GULF เสริมพอร์ตลงทุน! เข้าถือหุ้น KBANK จำนวน 77 ล้านหุ้น คิดเป็น 3.25% ชี้เป็นหุ้นที่มี P/BV และ P/E ต่ำ สภาพคล่องสูง จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ พร้อมรับรู้เงินปันผลไตรมาส 2/2568 จำนวน 808.5 ล้านบาท มุ่งหวังผลตอบแทนจากปันผลและ Upside ของราคาหุ้นในอนาคต โบรกมองเป็นการตัดสินใจที่ดีในการบริหารเงินสดในมือ การลงทุนใน KBANK มีอนาคต และถือเป็นโอกาสที่น่าสนใจ            นางสาวยุพาพิน วังวิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF เปิดเผยว่า บริษัทได้เข้าลงทุนใน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ตั้งแต่ไตรมาส 4/2567 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ปัจจุบันมีสัดส่วนการถือหุ้นใน KBANK จำนวน 77,000,000 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 3.25% (รวมข้อมูลผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 13 มีนาคม 2568)            ทั้งนี้ การลงทุนในหุ้น KBANK ถือเป็นการลงทุนทั่วไป เนื่องจาก GULF มี Portfolio การลงทุนป็นปกติอยู่แล้ว โดย KBANK เป็นหุ้นที่มี สภาพคล่องสูง มีอัตราส่วน P/BV (Price to Book Value Ratio) และ P/E (Price to Earnings Ratio) อยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งยังมีประวัติการ จ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 โดยให้อัตราผลตอบแทนเงินปันผล (Dividend Yield) อยู่ที่ 7-8% ดังนั้น GULF จึงเข้าลงทุนในหุ้น KBANK โดยมุ่งหวัง ผลตอบแทนจากเงินปันผลและ Upside จากราคาหุ้น ในอนาคต ทั้งนี้ บริษัทจะรับรู้เงินปันผลใน ไตรมาส 2/2568 จำนวน 808.5 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยต่อยอดศักยภาพการลงทุนและบริหารกระแสเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพ            นายมงคล พ่วงเภตรา รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การตัดสินใจเข้าลงทุนในหุ้น KBANK ของ GULF ถือเป็นกลยุทธ์การบริหารเงินสดที่ชาญฉลาด โดยหลังจากที่ GULF เปิดดำเนินการผลิตไฟฟ้าในโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ประเภท IPP ส่งผลให้บริษัทมีกระแสเงินสดไหลเข้าจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีการบริหารสภาพคล่องอย่างมีประสิทธิภาพ            ทั้งนี้ ที่ผ่านมา GULF ได้แสดงให้เห็นถึง วิสัยทัศน์ที่เฉียบคม ในการลงทุน และ การเข้าลงทุนใน KBANK ครั้งนี้ก็มองว่าจะสร้างผลตอบแทนที่มีนัยสำคัญให้แก่บริษัท เนื่องจาก KBANK เป็นธนาคารที่มี แนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีประวัติ การจ่ายเงินปันผลที่มั่นคง และมีศักยภาพในการสร้าง ผลตอบแทนระยะยาว ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการบริหารพอร์ตการลงทุนของ GULF ที่มุ่งเน้น การสร้างมูลค่าเพิ่มจากสินทรัพย์ที่มีศักยภาพ รายงานโดย : ณัฏฐ์ชญา ปุริมปรัชญ์ภัทร บรรณาธิการ HoonVision

ORI ปี68 เล็งยอดขายรวม 30,000 ลบ. ชูกลยุทธ์ Resilience Leads To Sustainable Growth

ORI ปี68 เล็งยอดขายรวม 30,000 ลบ. ชูกลยุทธ์ Resilience Leads To Sustainable Growth

          ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ เผยแผนธุรกิจปี 2568 ชูกลยุทธ์ Resilience Leads To Sustainable Growth ผ่านกุญแจ 7 ข้อ แห่งความสำเร็จ สร้างโอกาสการเติบโตอย่างยั่งยืน เปิด 11 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 20,000 ล้านบาท ตั้งเป้ายอดขายรวม 30,000 ล้านบาท และรายได้รวม 14,000 ล้านบาท มุ่งสร้าง รายได้และกำไร ระยะยาว เสริมความแข็งแกร่งทางการเงินจากกลุ่มธุรกิจใหม่ที่มีแนวโน้มเติบโต           นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI ผู้พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้จัดโครงสร้างธุรกิจให้ชัดเจนขึ้นในลักษณะ Holding Company โดยจะเป็นการลงทุนถือหุ้นใน 5 กลุ่มธุรกิจหลักในบริษัทย่อย บริษัทร่วมค้า ทั้งบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ และนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ (1) กลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายประเภทคอนโดมิเนียม ภายใต้ ออริจิ้น เวอร์ติเคิล, (2) ในกลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายประเภทบ้านจัดสรร ภายใต้บริทาเนีย หรือ BRI, (3) กลุ่มธุรกิจบริการ ภายใต้พรีโม่ เซอร์วิส โซลูชั่น หรือ PRI, (4) กลุ่มธุรกิจ Hospitality and Tourism & Service ภายใต้ออริจิ้น โฮเทล และ (5) กลุ่มธุรกิจ Logistics and Warehouse ภายใต้ แอลฟา อินดัสเทรียล โซลูชั่น  รวมโครงการกว่า 198 โครงการ เตรียมแผนการเติบโตในอนาคตสำหรับที่ดินบนทำเลศักยภาพในการเปิดโครงการใหม่ 11 โครงการ มูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท รวมถึงมี Backlog  กว่า 44,562 ล้านบาท หนุนการรับรู้รายได้ต่อเนื่อง 4 ปี           โดยปี 2568 บริษัทจะเดินหน้าขับเคลื่อนองค์กรภายใต้กลยุทธ์ “Resilience Leads To Sustainable Growth” สร้างความยืดหยุ่นในการบริหารองค์กร พร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง สู่การเป็นผู้นำและการเติบโตอย่างยั่งยืนบนโอกาสใหม่ เพื่อสร้างความสมดุลในระยะยาวอย่างมีเสถียรภาพทั้งด้านธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ด้วย 7 กลยุทธ์แห่งความสำเร็จ (7 KEYS TO SUCCESS ) 1. FOCUS ON MAINSTREAM REVENUE, 2. UNIQUE VALUE PROPOSITION, 3. MARKET EXPANSION, 4. DIGITAL TRANSFORMATION, 5. FINANCIAL STRUCTURE MANAGEMENT, 6. CUSTOMER FINANCIAL SUPPORT, 7. ESG & GREEN REVOLUTION แผนเปิดโครงการใหม่และเป้าหมายปี 2568 -เปิดโครงการใหม่ (New Project Launch) ทั้งพื้นที่ในกรุงเทพและต่างจังหวัดจำนวน 11 โครงการ มูลค่ารวม 20,000 ล้านบาท เป็นคอนโดจาก ORIGIN VERTICAL จำนวน 5 โครงการ มูลค่ารวม 12,500 ล้านบาท และเป็น บ้านจาก BRITANIA จำนวน 6 โครงการ มูลค่ารวม 7,500 ล้านบาท -เป้ายอดขาย (Presales) รวม 30,000 ล้านบาท และเป้ารายได้รวม (Total Revenue) 14,000 ล้านบาท -ยอดการโอนกรรมสิทธิ์ (Transfer Activities) ห้องชุดคอนโดและบ้านจัดสรร จำนวน 22,000 ล้านบาท           จากโครงการที่เปิดขายใหม่และอยู่ระหว่างดำเนินการ (Ongoing) บวกกับการทำการตลาดในเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศต่อเนื่อง มั่นใจว่ายอดขายจะเป็นไปตามเป้า คือที่ 30,000 ล้านบาท ตลาดในประเทศไฮไลท์ปีนี้ ORI ได้ดึง “ณเดชน์ คูกิมิยะ” ร่วมเป็นแอมบาสเดอร์อีกครั้งหลังจากที่ร่วมงานกันมาเมื่อ 8 ปีก่อน มาเป็นครอบครัวคอนโดออริจิ้นและบ้านบริทาเนียกับ ‘ณเดชน์’ ”เพื่อสร้าง Brand Awareness และตอกย้ำภาพลักษณ์ที่ชัดเจนขององค์กร โดยจะเห็นการ Collab ร่วมกันผ่านแคมเปญทางการตลาดตลอดปี 2568 ขณะที่ตลาดต่างประเทศนอกจากแต่งตั้ง Master agent เป็นตัวแทนขาย การเดินสายโรดโชว์ไปยังตลาดประเทศใหม่ๆ แล้ว ยังสร้างกลยุทธ์เชิงรุกด้วยการคว้าตัวศิลปิน ดารา เซเลป ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมาเป็นพรีเซนเตอร์ ล่าสุดได้นักแสดงชื่อดังชาวจีน-ฮ่องกง “Irene Wan(เวินปี้เสีย)” เป็นพรีเซ็นเตอร์นำคอนโดมิเนียม       แบรนด์ Park Origin Collection บุกตลาดเอเชีย สร้าง “รายได้-กำไร” กลุ่มธุรกิจใหม่           ORI ยังเดินหน้าองค์กรเพื่อสร้าง “รายได้และกำไร” ระยะยาว จาก New Business Model ส่วนอื่นที่มีการขยายการลงทุนไปก่อนหน้า สำหรับธุรกิจโรงแรม 9 แห่ง ที่เปิดดำเนินการแล้ว รวมทั้งโครงการที่อยู่ในบริษัทร่วมทุนและไม่ใช่บริษัทร่วมทุน ในปี 2567 มีรายได้โรงแรม กว่า 1,472 ล้านบาท และ EBITDA กว่า 514 ล้านบาท           “ธุรกิจโรงแรมเราพัฒนาแบบครบวงจร โดยแผนปี 2568 จะเปิดโรงแรมใหม่ 3 แห่ง ได้แก่ 1 แห่งในกรุงเทพฯ ภายใต้รูปแบบ Dual Brand และ 2 แห่งเป็นการ Re-opening จากที่ acquire มาในปี 2566 ซึ่งเป็นโรงแรมในแหล่งท่องเที่ยวหลักอย่างภูเก็ตและเชียงใหม่ จะส่งผลให้พอร์ตโฟลิโอของบริษัทมีการขยายตัวมากขึ้น ทั้งในแง่ของจำนวนห้องพักและโอกาสในการเติบโตของรายได้จากการดำเนินงานโรงแรมในทำเลที่มีศักยภาพสูง” นายพีระพงศ์  กล่าว พร้อมยังกล่าวอีกว่าอีก 1 เครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนคือ บริษัท แอลฟา อินดัสเทรียล โซลูชั่น ที่ประกอบธุรกิจด้านคลังสินค้า (Warehouse) ปัจจุบันมีอัตราการเช่าสูงถึง 97.6% “ทั้งนี้ คลังสินค้าทั้ง 9 แห่งอยู่ในทำเลยุทธ์ศาสตร์สำคัญๆได้แก่ ทำเลรังสิต, บางนา กม.22, บางนา กม.19, บางนา กม.23, แหลมฉบัง, พานทอง และเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวมพื้นที่กว่า 400,000 ตารางเมตร ตั้งเป้าขยายเพิ่มเป็น 1 ล้านตารางเมตร ในอีก 5 ปี ข้างหน้า” นายพีระพงศ์ กล่าว สำหรับ บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI มีโครงสร้างธุรกิจหลากหลาย ภายใต้ 4 กลุ่มธุรกิจ 1.กลุ่มธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อการขาย (Residential Development Business) พัฒนาคอนโดมิเนียมและบ้านจัดสรรมาแล้ว 166 โครงการ (ณ สิ้นไตรมาส 4/2567) เช่น แบรนด์ พาร์ค ออริจิ้น (Park Origin), โซ ออริจิ้น (So Origin), ออริจิ้น ปลั๊ก แอนด์ เพลย์ (Origin Plug & Play), ไนท์บริดจ์ (Knightsbridge), นอตติ้ง ฮิลล์ (Notting Hill), ออริจิ้น เพลส (Origin Place), ดิ ออริจิ้น (The Origin), เคนซิงตัน (Kensington), แฮมป์ตัน (Hampton), ออริจิ้น เพลย์ (Origin Play), บริกซ์ตัน (Brixton) และ บริทาเนีย (Britania) เป็นต้น รวมมูลค่าโครงการทั้งสิ้นกว่า 254,967 ล้านบาท โดยกลุ่มโครงการบ้านจัดสรร หรือที่อยู่อาศัยแนวราบ ดำเนินการภายใต้บริษัท บริทาเนีย จำกัด (มหาชน) หรือ BRI เน้นกลุ่มบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ส่วนกลุ่มโครงการแนวสูงหรือคอนโดมิเนียม ดำเนินการภายใต้บริษัท ออริจิ้น เวอร์ติเคิล คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ ORIGIN VERTICAL 2.กลุ่มธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำ (Recurring Income Business) เช่น โรงแรม เซอร์วิสอพาร์ตเมนท์ ค้าปลีก 3.กลุ่มธุรกิจบริการ (Service Business) เช่น ธุรกิจให้บริการลูกบ้าน ธุรกิจการจัดการอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจตัวแทนซื้อ ขาย เช่า อสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ และ 4.กลุ่มธุรกิจเมกะเทรนด์ระยะยาว (Mega Trends) เป็นกลุ่มธุรกิจใหม่ที่มีแนวโน้มเติบโตในระยะยาว เช่น ธุรกิจโลจิสติกส์ ธุรกิจเฮลท์แคร์ ธุรกิจพลังงาน ธุรกิจด้านการเงิน ธุรกิจเอนเตอร์เทนเมนท์ ฯลฯ เพื่อยกระดับคุณภาพการใช้ชีวิตของผู้บริโภคแบบครบวงจร

บล.กรุงไทยฯ แนะ TENCENT80 กำไร Q4 ดีกว่าคาด หนุนรายได้โต

บล.กรุงไทยฯ แนะ TENCENT80 กำไร Q4 ดีกว่าคาด หนุนรายได้โต

          หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ระบุ Tencent (TENCENT80) กำไร Q4 ออกมาดีกว่าคาด 8% หนุนจากรายได้รวมกลับมาโต double digit - รายได้รวมอยู่ที่ 1.72 แสนล้านหยวนเติบโต 11%YoY เร่งตัวขึ้นเป็นไตรมาสที่สามและออกมาดีกว่าคาด - รายได้เกมในประเทศ (สัดส่วน 19%) เติบโต 23%YoY เร่งตัวขึ้นเป็นไตรมาสที่สามมาที่ 3.32 หมื่นล้านหยวนและดีกว่าคาดจาก HoK, Peacekeeper Elite และ Valorant รวมถึงเกมใหม่อย่าง Dungeon and Fighter และ Delta Force - รายได้เกมต่างประเทศ (สัดส่วน 9%) เติบโตเร่งตัวขึ้น 15%YoY มาที่ 1.60 หมื่นล้านหยวนและดีกว่าคาด จาก Brawl Stars และ PUBG Mobile รวมถึงการตอบรับการเปิดตัวเกม Path of Exile 2 ช่วง ธ.ค. - รายได้ Social Network หรือ WeChat (สัดส่วน 17%) เติบโต 6%YoY ตามคาดมาที่ 2.98 หมื่นล้านหยวน ตามรายได้ app based game, การเปิดตัวฟีเจอร์ส่งของขวัญ และ music subscription - รายได้ Marketing services หรือ Online Ads เดิม (สัดส่วน 18%) เติบโต 18%YoY มาที่ 3.50 หมื่นล้านหยวน ตามประสิทธิภาพการยิงโฆษณาด้วยการใช้ AI - รายได้ Fintech & Business Service (สัดส่วน 31%) เติบโต 3%YoY มาที่ 5.61 หมื่นล้านหยวน จากปริมาณการทำธุรกรรม และบริการ Cloud โดยมีจำนวนผู้ใช้งานต่อเดือน WeChat และ Weixin โต 3%YoY มาที่ 1.39 พันล้านบัญชี ซึ่งดีกว่าคาดเล็กน้อย กำไรปกติ (non-IFRS) เติบโตกว่า 30%YoY มาที่ 5.53 หมื่นล้านหยวนซึ่งดีกว่าคาด - Tencent ประกาศจ่ายปันผล HKD 4.5 ต่อหุ้นเพิ่มขึ้น 32%YoY

เปิดสถิติการจ่ายปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ปี 2567

เปิดสถิติการจ่ายปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ปี 2567

           หุ้นวิชั่น - เปิดสถิติการจ่ายปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ปี 2567  พบว่า ริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นรวมกว่า 593,610 ล้านบาท จากการจ่าย เงินปันผล 864 ครั้ง จากบริษัทจดทะเบียน 590 บริษัท Key Findings: • ในปี 2567 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ) จำนวน 590 บริษัท มีการจ่ายเงินปันผลรวม 864 ครั้ง รวมเงินปันผลจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นรวมกว่า 593,610 ล้านบาท • ในช่วงเทศกาลจ่ายเงินปันผล คือ ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2567 บริษัทจดทะเบียนจ่ายเงินปันผลรวม 538 ครั้ง หรือคิดเป็น 62.3% ของจำนวนการจ่ายเงินปันผลทั้งหมดในปี 2567 โดยเดือนพฤษภาคมมีการจ่ายเงินปันผลมากที่สุดทั้งจากจำนวนครั้งและมูลค่าเงินปันผลจ่าย • หมวดธุรกิจที่มีการจ่ายเงินปันผลมูลค่าสูงสุด 3 อันดับแรก ในปี 2567 ยังคงเป็นหมวดเดียวกันกับปี 2566 ได้แก่ หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค หมวดธนาคาร และหมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยบริษัทจดทะเบียนในหมวดพลังงานและสาธารณูปโภค (Energy and utilities sector) จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นด้วยมูลค่ามากที่สุดมีมูลค่ารวมกว่า 170,148 ล้านบาท • หากพิจารณาความสามารถในการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนจากผลประกอบการ ประจำปี 2567 พบว่า บริษัทจดทะเบียนไทย 925 บริษัท ที่รายงานผลประกอบการ มีกำไรสุทธิลดลงจากปีก่อน แต่ก็อยู่ในระดับสูง โดยมีกำไรสุทธิรวมกว่า 869,000 ล้านบาท และพบว่า 67.8% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด (627 บริษัท) ยังคงมีกำไรสุทธิจากการดำเนินธุรกิจ • อย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินปันผลในปี 2568 นอกจากจะขึ้นอยู่กับผลประกอบการปี 2567 ก็ยังขึ้นอยู่กับผลประกอบการที่เกิดขึ้นในปี 2568 ที่อาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ รวมทั้งนโยบายการจ่ายเงินปันผลและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัทอีกด้วย • จากข้อมูลสถิติการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย เป็นข้อมูลเบื้องต้นให้นักลงทุนได้ทราบช่วงเวลาในการจ่ายเงินปันผล เพื่อใช้ประกอบการวางแผนคัดเลือกหุ้นปันผลและเลือกจังหวะเวลาในการเข้าซื้อหุ้นปันผลเข้าพอร์ตการลงทุน            จากข้อมูลสถิติการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (ตลาดหุ้นไทย) พบว่า ในปี 2567 มีการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นรวมสูงถึง 593,610 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 เล็กน้อย และหากพิจารณาการจ่ายเงินปันในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยเติบโตเฉลี่ยปีละ 4.01% (ภาพที่ 1) ด้วยปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในปี 2566 - 2567 ที่มีรายได้รวมสูงปีละกว่า 18 ล้านล้านบาท และมีกำไรสุทธิอยู่ถึง 941,000 ล้านบาทและ 870,000 ล้านบาท (ภาพที่ 2) ตามลำดับ            โดยการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวเป็นการจ่ายปันผล 864 ครั้ง จากบริษัทจดทะเบียน 590 บริษัท (บริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่จ่ายเงินปันผลปีละครั้ง บางบริษัทจ่าย 2 - 4 ครั้งในแต่ละปี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายการจ่ายเงินปันผลของแต่ละบริษัท) ตามตารางที่ 1 ในช่วงเทศกาลจ่ายเงินปันผล คือ ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2567 บริษัท จดทะเบียนจ่ายเงินปันผลรวม 538 ครั้ง หรือคิดเป็น 62.3% ของจำนวนการจ่าย เงินปันผลทั้งหมดในปี 2567 โดยเดือนพฤษภาคมมีการจ่ายเงินปันผลมากที่สุดทั้งจากจำนวนครั้งและมูลค่าเงินปันผลจ่าย            ในช่วงเทศกาลจ่ายเงินปันผล พบว่า ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2567 มีการจ่ายเงินปันผลรวม 538 ครั้ง คิดเป็น 62.3% ของจำนวนการจ่ายเงินปันผลทั้งหมดในปี 2567 โดยในเดือนพฤษภาคม 2657 เป็นเดือนที่การจ่ายเงินปันผลมากที่สุดรวม 464 ครั้ง คิดเป็น 53.7% ของจำนวนการจ่ายเงินปันผลทั้งหมดในปี 2567            ในแต่ละปีจะมีเทศกาลจ่ายเงินปันผลอีกหนึ่งรอบในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายนของทุกปี พบว่า ในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีการจ่ายเงินปันผลรวม 210 ครั้ง หรือประมาณ 24.3% ของจำนวนการจ่ายเงินปันผลในปี 2567 (ภาพที่ 3)            หากพิจารณามูลค่าเงินปันผลที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ในปี 2567 (ภาพที่ 4) พบว่า ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2567 มีการจ่ายเงินปันผลรวม 366,148 ล้านบาท คิดเป็น 61.7% ของมูลค่าเงินปันผลทั้งหมดที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้นในปี 2567 โดยเดือนที่มีการจ่ายเงินปันผลสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เดือนพฤษภาคม 2567 ที่มีการจ่ายเงินปันผลด้วยมูลค่าสูงสุด 216,566 ล้านบาท คิดเป็น 36.5% ของมูลค่าเงินปันผลทั้งหมดที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้นในปี 2567 ตามมาด้วยเดือนเมษายน 2567 ที่มีการจ่ายเงินปันผลด้วยมูลค่าสูงสุด 145,256 ล้านบาท คิดเป็น 24.5% และเดือนกันยายน 2567 มีการจ่ายเงินปันผลด้วยมูลค่าสูงสุด 145,100 ล้านบาท คิดเป็น 24.4% ตามลำดับ 3 หมวดธุรกิจที่มีการจ่ายเงินปันผลด้วยมูลค่าสูงสุดในปี 2567 ได้แก่ หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค หมวดธนาคาร และหมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร            เมื่อพิจารณาการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียน ในปี 2567 จำแนกตามหมวดธุรกิจ พบว่า 3 หมวดธุรกิจที่มีการจ่ายเงินปันผลด้วยมูลค่าสูงสุด ยังคงเป็นหมวดธุรกิจเดียวกันกับปี 2566 ได้แก่ หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค หมวดธนาคาร หมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ตารางที่ 2)            โดยบริษัทจดทะเบียนในหมวดพลังงานและสาธารณูปโภค (Energy and utilities sector) จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นด้วยมูลค่ามากที่สุด รวมกว่า 170,148 ล้านบาท ตามมาด้วยบริษัทจดทะเบียนในหมวดธนาคาร (Banking sector) ที่จ่ายเงินปันผลด้วยมูลค่ารวม 107,093 ล้านบาท และหมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information & Communication Technology sector) ที่จ่ายเงินปันผลด้วยมูลค่ารวม 53,594 ล้านบาท แม้ว่า ในปี 2567 บริษัทจดทะเบียนมีกำไรสุทธิรวมน้อยกว่าปี 2566 แต่ก็อยู่ในระดับสูงถึง 869,000 ล้านบาท ขณะที่ SET Index ลดลงไปอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า SET Index อาจลงมาอยู่ในระดับต่ำ อาจเป็นโอกาสของนักลงทุนในการเข้ามาเลือกซื้อหุ้นเพื่อรับเงินปันผล            สถิติการจ่ายเงินปันผลที่กล่าวมาข้างต้น อาจสรุปได้ว่า การลงทุนในหุ้นปันผลก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนและผู้มีเงินออมที่เน้นการลงทุนระยะยาว ที่สำคัญคือ การคัดเลือกหุ้นปันผล และจังหวะเวลาในการเข้าซื้อหุ้นปันผล ซึ่งโดยปกติราคาหุ้นจะสูงหรือต่ำ ก็ขึ้นอยู่ปัจจัยพื้นฐาน (อาทิ ทิศทางเศรษฐกิจ ภาวะอุตสาหกรรม และผลประกอบการ เป็นต้น) และปัจจัยด้านจิตวิทยา ที่เกี่ยวข้องกับความคาดหวังของนักลงทุนและปริมาณความต้องการหุ้นของนักลงทุน จากการเคลื่อนไหวของ SET Index ตั้งแต่ตลาดเปิดทำการซื้อขายในปี 2518 ถึงปัจจุบัน พบว่า มีช่วงที่ SET Index แตะที่ระดับ 1,000 จุด ขึ้นไป อยู่ 3 ช่วงเวลา กล่าวคือ ในปี 2533 ที่ SET Index ทำสถิติสูงสุดระหว่างที่แตะ 1,143 จุดในวันที่ 25 กรกฎาคม 2533 ก่อนลดลงมาปิดสิ้นปีที่ 612.86 จุด และในช่วงที่ 2 ในช่วงปี 2538 - 2539 ช่วงก่อนวิกฤติต้มยำกุ้ง และในช่วงที่ 3 ตั้งแต่ปี 2554 ถึงปัจจุบัน (ภาพที่ 5) ที่ SET Index มีการเคลื่อนไหวอยู่ในระดับสูงกว่า 1,000 จุด ต่อเนื่องกว่า 15 ปี (ภาพที่ 5)            หากเปรียบเทียบผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นในไทย (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ) พบว่า ข้อสังเกตที่น่าสนใจ กล่าวคือ 1) ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 คือ ในปี 2563 ที่กำไรสุทธิบริษัทจดทะเบียนลดลงค่อนข้างเยอะเหลือเพียง 399,000 ล้านบาท ขณะที่ SET Index เคลื่อนไหวในช่วงกว้างอยู่ในช่วง 1,024.46 - 1,600.48 จุด และปิดที่ 1,449.35 จุด ก่อนที่กำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนก็ฟื้นตัวมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาด 2) ในปี 2567 แม้ว่าบริษัทจดทะเบียนมีกำไรสุทธิรวมลดลงน้อยกว่าปี 2566 แต่ก็อยู่ในระดับสูงถึง 869,000 ล้านบาท ขณะที่ SET Index ลดลงไปอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า SET Index อาจลงมาอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งอาจเป็นโอกาสของนักลงทุนในการเข้ามาเลือกซื้อหุ้นเพื่อรับเงินปันผล            หากพิจารณาผลประกอบการปี 2567 ของบริษัทจดทะเบียน พบว่า ส่วนใหญ่ (627 บริษัท) หรือ 67.8% ของบริษัท     จดทะเบียนทั้งหมดยังคงมีกำไรสุทธิจากการดำเนินธุรกิจในปี 2567 อย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินปันผลนอกจากจะขึ้นอยู่กับผลประกอบการปี 2567 ก็ยังขึ้นอยู่กับผลประกอบการที่เกิดขึ้นในปี 2568 ที่อาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ รวมทั้งนโยบายการจ่ายเงินปันผล ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัทอีกด้วย            ดังนั้น จากข้อมูลสถิติการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย เป็นข้อมูลเบื้องต้นให้นักลงทุนได้ทราบช่วงเวลาในการจ่ายเงินปันผล เพื่อใช้ประกอบการวางแผนคัดเลือกหุ้นปันผลและเลือกจังหวะเวลาในการเข้าซื้อหุ้นปันผลเข้าพอร์ตการลงทุน

ASW ปี68 ชู “Growing Success, Growing Happiness” ตุน Backlog ที่ 25,413 ลบ.

ASW ปี68 ชู “Growing Success, Growing Happiness” ตุน Backlog ที่ 25,413 ลบ.

           เจาะแผน “แอสเซทไวส์” ก้าวต่ออย่างมั่นคง มุ่งรักษาสภาพคล่อง ทยอยโอนคอนโดต่อเนื่อง พร้อมขยายทำเลหลักใกล้สถานศึกษาและภูเก็ต สร้างการเติบโตระยะยาว            หุ้นวิชั่น - แม้เป็น “บริษัทมหาชน” ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เพียง 4 ปี แต่บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ASW สามารถยืนหยัดฝ่าความผันผวนของตลาดในปี 2567 รักษาอันดับ Top 10 ของอุตสาหกรรม และทำผลงาน New High สร้างสถิติสูงที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา 20 ปี ด้วยรายได้รวม 9,987 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 1,457 ล้านบาท จากการรักษาวินัยทางการเงิน การขยายทำเลไปภูเก็ต และเดินหน้ากลยุทธ์ Lifestyle Marketing ทำให้ ASW เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้บริษัทพร้อมเดินหน้าต่อในปี 2568 อีกหนึ่งปีแห่งความท้าทายของตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย            กลยุทธ์หลักที่ “กรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) ประกาศใช้ในปี 2568 คือ “Growing Success, Growing Happiness” มุ่งสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคง พร้อมตั้งเป้าหมายยอดขาย 19,500 ล้านบาท และเป้าหมายรายได้ 10,500 ล้านบาท โดยมี Backlog อยู่ 25,413 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะรับรู้รายได้ภายในปีนี้ราว 11,699 ล้านบาท และทยอยรับรู้รายได้ไปจนถึงปี 2570            “การรักษาสภาพคล่อง” ยังเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจในปีนี้ ASW จึงเตรียมทยอยโอนกรรมสิทธิ์รับรู้รายได้ในโครงการคอนโดมิเนียมสร้างเสร็จใหม่ 7 โครงการ มูลค่ารวม 14,050 ล้านบาท เช่น โครงการเคฟ โคโค่ บางแสน (Kave Coco Bangsaen) มูลค่า 2,000 ล้านบาท โครงการเคฟ วันเดอร์แลนด์ (Kave Wonderland) ตรงข้าม ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต มูลค่า 2,550 ล้านบาท และโครงการเดอะ ไทเทิล เลเจนดารี บางเทา (THE TITLE Legendary Bang-Tao) Leisure Residences ในภูเก็ต มูลค่า 4,500 ล้านบาท เป็นต้น ที่จะเป็นแรงส่งหลักในการสร้างการรับรู้รายได้ในปี 2568 นี้            “Growing Success คือสร้างการเติบโตให้กับบริษัทด้วยการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในทำเลที่เราถนัดและมีดีมานด์สูง โดยปีนี้ ASW มีแผนเปิดโครงการใหม่ 10 โครงการ มูลค่ารวม 22,000 ล้านบาท ส่วน Growing Happiness คือเราจะสร้างความสุขให้กับลูกค้า พนักงาน พันธมิตร และสังคม ผ่านธุรกิจใหม่ของ ASW ที่เชื่อมโยงกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มลูกค้า และกิจกรรมต่างๆ ที่เราสนับสนุนหรือจัดขึ้นตลอดทั้งปี ซึ่งทั้งสองแนวทางนี้เป็นการสะท้อนตัวตนของ ASW บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นผู้นำด้านไลฟ์สไตล์” กรมเชษฐ์ อธิบาย            หากเจาะแผนของ ASW จะพบว่าพอร์ตคอนโดมิเนียมยังเป็น Key Engine ในการขับเคลื่อนยอดขายและรายได้ของบริษัท จากการเปิดโครงการใหม่ครบทั้ง 3 แบรนด์หลัก คือ Kave, Atmoz และ Modiz ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล รวม 5 โครงการ มูลค่าทั้งหมด 9,800 ล้านบาท โดยเฉพาะ “ทำเลถนัด” ใกล้มหาวิทยาลัย หรือกลุ่มแคมปัสคอนโดที่กระแสตอบรับดีในหลายทำเลที่เปิดตัว เช่น ย่านรังสิตทั้งฝั่ง ม.กรุงเทพ และ ม.ธรรมศาสตร์ ปีนี้ ASW ยังขยายมาทำเล “พรีแคมปัส” หน้าโรงเรียนดัง รร.บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) รองรับความต้องการของผู้ปกครองที่มีลูกเรียนมัธยมศึกษาด้วย            อีก Strategic Location สำคัญอย่าง “ภูเก็ต” มีกลุ่ม Leisure Residences ที่พัฒนาโดยบริษัท ร่มโพธิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ TITLE บริษัทย่อยในเครือ เป็นเรือธงสำคัญ ซึ่งปีนี้มีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดใหม่ 3 โครงการ มูลค่ารวม 10,700 ล้านบาท ล่าสุด ด้วยความอลังการของ “สระว่ายน้ำและส่วนกลาง” ของ โครงการเดอะ คาตาเบลโล (THE KATABELLO) โครงการแรกของ THE TITLE ในกะตะ มูลค่า 5,500 ล้านบาท และโครงการอะดอร่า ราไวย์ (ADORA RAWAI) มูลค่า 1,400 ล้านบาท ทั้ง 2 โครงการกวาดยอดจองไปแล้วกว่า 50% ส่วนโครงการเดอะ ไทเทิล บาลโคนี ในยาง (THE TITLE Balcony Naiyang) มูลค่า 3,800 ล้านบาท จะเปิดตัวในไฮซีซั่นถัดไป            นอกจากขยายทำเลเพิ่มแล้ว THE TITLE ยังนำความเชี่ยวชาญในภูเก็ต และความเข้าใจ Insight ที่สั่งสมมากว่า 12 ปี มาต่อยอดสู่โครงการ “Luxury Villa” เป็นครั้งแรกอีก 2 โครงการ เริ่มจากโครงการเดอะ ไทเทิล วิลล่า เอสเตลลา ในยาง (THE TITLE Villa Estella Naiyang) วิลล่าพร้อมสระว่ายน้ำส่วนตัว จำนวน 26 ยูนิต มีพื้นที่ส่วนกลางและสวนสีเขียวกว่า 1 ไร่ ใกล้หาดในยางเพียง 600 ม. มูลค่า 500 ล้านบาท ปัจจุบันมียอดขายแล้วกว่า 70% หลังเปิดขายเพียง 1 สัปดาห์ และโครงการเดอะ ไทเทิล วิลล่า เชิงทะเล (THE TITLE Villa Cherngtalay) ทำเลฮอตใจกลางเกาะภูเก็ต มูลค่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งจะเปิดตัวในไฮซีซั่นถัดไปเช่นกัน ทำให้ปีนี้พอร์ตภูเก็ตมีโครงการเปิดใหม่ทั้งสิ้น 5 โครงการ รวมมูลค่า 12,200 ล้านบาท หรือคิดเป็นราว 55% ของมูลค่าโครงการใหม่ทั้งหมดในพอร์ตปีนี้            “ดีเอ็นเอของ ASW คือส่วนกลางขนาดใหญ่ รองรับการใช้งานได้หลากหลายฟังก์ชัน ซึ่งถือเป็นจุดเด่นที่ทำให้ผู้บริโภคเลือกโครงการของเรา เมื่อร่วมกับ TITLE ที่โดดเด่นด้านทำเลและคุณภาพอยู่แล้ว เราจึงนำดีเอ็นเอนี้ใส่ในโครงการ THE TITLE ด้วย เพราะเราเชื่อว่าลูกค้ากลุ่ม Leisure Residences ไม่ได้แค่ซื้อที่อยู่อาศัย แต่กำลังลงทุนในคุณภาพชีวิตและไลฟ์สไตล์การพักผ่อน ซึ่งกระแสตอบรับจากลูกค้าชาวไทยและชาวต่างชาติในปีที่ผ่านมา ทำให้เรามั่นใจในการเดินหน้าตลาดภูเก็ตอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นอีกหนึ่ง Key Engine ที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับ ASW ในระยะยาว” กรมเชษฐ์ กล่าว            ทั้งนี้ ด้านความน่าเชื่อถือ ASW ติดอันดับหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ระดับ “AA” จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) พร้อมผลประเมินการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนไทย (CGR) ระดับ 5 ดาว “ดีเลิศ” (Excellent) เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน และมีอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทที่ระดับ “BBB-” แนวโน้ม “Positive” จากทริสเรทติ้ง เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2567 ล่าสุด บริษัทได้เสนอขายหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2568 เป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ต่อผู้ลงทุนสถาบันและ/หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ จำนวน 2 รุ่น ได้แก่ หุ้นกู้อายุ 2 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.30-5.40% ต่อปี และหุ้นกู้อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.90-6.00% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน จองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท และทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท เพื่อใช้ในการซื้อทรัพย์สิน ลงทุน หรือใช้จ่ายในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน และใช้หมุนเวียนระยะสั้นในกิจการ โดยจะเปิดให้จองซื้อหุ้นกู้วันที่ 1-3 เม.ย. 2568 ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ทั้งหมด 14 แห่ง            สำหรับบริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ASW ดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยมุ่งพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวสูงและแนวราบบนทำเลศักยภาพ ภายใต้แนวคิด “ความสุขที่ออกแบบมาเพื่อคุณ” หรือ “We Build Happiness” ปัจจุบันได้พัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมและโครงการบ้านจัดสรรมาแล้วกว่า 75 โครงการ ภายใต้แบรนด์ในเครือที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความสุขให้เหมาะกับทุกไลฟ์สไตล์ ได้แก่ แบรนด์ เคฟ (KAVE), แบรนด์ แอทโมซ (ATMOZ), แบรนด์ โมดิซ (MODIZ), แบรนด์ เอสต้า (ESTA), แบรนด์ ดิ อาเบอร์ (THE ARBOR), แบรนด์ ดิ ออเนอร์ (THE HONOR) รวมถึงแบรนด์ภายใต้ บริษัท ร่มโพธิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ “TITLE” ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ รวมมูลค่าโครงการกว่า 121,731 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและโครงการพร้อมอยู่ 22 โครงการ และโครงการที่กำลังเปิดขายและอยู่ระหว่างการพัฒนา 19 โครงการ และ ณ สิ้นปี 2567 มียอดขายรอรับรู้รายได้ (Backlog) มูลค่ารวมกว่า 25,413 ล้านบาท [PR News]

TBN เป้ารายได้โต 30-35% แบ็คล็อกแน่น 400 ลบ.

TBN เป้ารายได้โต 30-35% แบ็คล็อกแน่น 400 ลบ.

          “บมจ.ทีบีเอ็น คอร์ปอเรชั่น หรือ TBN” พร้อมคัมแบ็ค เติบโตต่อเนื่อง ตั้งธงรายได้ปี 68 เติบโตราว 30-35% จากปีก่อน ผันตัวเป็น Intelligent Digital Solutions Accelerator และตุน Backlog แข็งแกร่งเฉียด 400 ลบ. โดยเบื้องต้นบริษัทมีรายได้ที่เป็น Recurring Income แล้วมากกว่า 200 ลบ. ชูกลยุทธ์การเติบโตในปีนี้เตรียมเพิ่มผลิตภัณฑ์และการบริการ โซลูชั่น AI ต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กรลูกค้า รวมถึงโซลูชั่น Cybersecurity           นายปนายุ ศิริกระจ่างศรี  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีบีเอ็น คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TBN ผู้นำด้าน Intelligent Digital Platform เปิดเผยว่าแผนธุรกิจในปี 2568  บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 68 เติบโตราว 30-35% จากปีก่อนที่มีรายได้ราว 349.30 ล้านบาท โดยเบื้องต้นบริษัทประเมินว่ามีรายได้ประจำ (Recurring Income)  แล้วกว่า 200 ล้านบาท โดย ณ สิ้นปีที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้ที่เป็น Recurring Income เพิ่มขึ้นแตะที่ 60% ของรายได้รวม เทียบกับปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ราว 50% กว่าๆ และเชื่อว่าปีนี้จะเติบโตต่อเนื่อง โดยปีที่ผ่านมาบริษัทได้ขยายตลาดกลุ่มลูกค้าไปยัง Sector อื่นๆ ได้แก่ กลุ่มโรงพยาบาลและกลุ่มพลังงาน           นอกจากนี้ บริษัทยังมีแบ็คล็อกแข็งแกร่งอยู่ที่ราว 389 ล้านบาท โดยจะรับรู้รายได้ปีนี้ 263 ล้านบาท และส่วนที่เหลือ 126 ล้านบาท ทยอยรับในปีถัดไป ซึ่งปีนี้บริษัทยังเดินหน้ารับงานต่อเนื่องทั้งงานรัฐและเอกชน รวมทั้งงานที่อยู่ในเทรนด์การเติบโต อาทิ กลุ่ม AI, Cybersecurity และ คลาวด์ ซึ่งบริษัทมีความเชี่ยวชาญ           อย่างไรก็ตาม ปี 2568 นี้ บริษัทคาดหวังว่างานโครงการขนาดใหญ่ที่เลื่อนรับรู้จากปีก่อนจะทยอยรับรู้แล้วเสร็จภายในปีนี้ นอกจากนี้บริษัทยังเน้นงานภาครัฐเพิ่มขึ้น พร้อมกับการเพิ่มความเข้มงวดในการบริหารโครงการ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากต้นทุนส่วนเกินที่อาจไม่สามารถเรียกเก็บคืนได้ในอนาคต           โดยกลยุทธ์การเติบโตในปี 2568 บริษัทเตรียมเพิ่มผลิตภัณฑ์และการบริการ โซลูชั่น AI ต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถนำ AI ไปใช้ในหลายๆส่วนในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการบริหารความรู้ (knowledge management) รวมถึงการสื่อสาร AI communications platform นอกจากนั้น TBN ยังมีโซลูชั่นด้าน Cybersecurity สำหรับองค์กรขนาดใหญ่และ mobile application อีกด้วย           “TBN ยังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการนำเสนอเทคโนโลยีที่ช่วยให้องค์กรไทยก้าวสู่อนาคตได้อย่างมั่นคงและมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมสร้างความแข็งแกร่งและความยั่งยืนในระยะยาว พัฒนาการ ของ Mendix สู่การเป็น AI Low-Code Platform เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการพัฒนาแอปพลิเคชัน และใช้ AI เพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงานให้ ตอบโจทย์ธุรกิจที่ต้องการความยืดหยุ่นและความเร็วในการปรับตัว” นายปนายุ กล่าว

GULF ยุคใหม่ ไฉไลกว่าเดิม l Hoon Vision Talk Online

GULF ยุคใหม่ ไฉไลกว่าเดิม l Hoon Vision Talk Online

https://youtu.be/MaiMv3c5vQ4?si=gnH607SvYfGaI6Ob GULF ยุคใหม่ ไฉไลกว่าเดิม l Hoon Vision Talk #หุ้นวิชั่น #GULF #ตลาดหุ้น #หุ้นไทย

[ภาพข่าว] TQR อัปเดตแผนธุรกิจปี 68 ในงาน Analyst meeting

[ภาพข่าว] TQR อัปเดตแผนธุรกิจปี 68 ในงาน Analyst meeting

          คุณชนะพันธุ์ พิริยะพันธุ์ (ที่ 2 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ที คิว อาร์ จำกัด (มหาชน) (TQR) ร่วมนำเสนอข้อมูลแผนการดำเนินธุรกิจปี 2568 ในงานประชุมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Analyst meeting) ซึ่งจัดโดย บริษัท ทีคิวเอ็ม อัลฟา จำกัด (มหาชน) (TQM) โดยระบุว่า ทิศทางการดำเนินธุรกิจในปีนี้ มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยี มาพัฒนาแพลตฟอร์มและผลิตภัณฑ์ประกันภัยต่อรูปแบบใหม่ร่วมกัน TQM อย่างต่อเนื่อง  คาดว่า ในปีนี้ จะได้เห็นผลิตภัณฑ์ประกันภัยต่อรูปแบบใหม่เกิดขึ้น นอกจากนี้ ประกันภัยต่อไซเบอร์ (Cyber), ประกันภัยต่อสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Personal Accident and Health),ประกันภัยต่อความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร (Directors and Officers), ประกันภัยต่อการก่อการร้ายและภัยทางการเมือง (Political Violence) รวมถึงประกันภัยต่อที่เกี่ยวข้องกับ ESG เช่น โครงการพลังงานแสงอาทิตย์และรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ยังมีความต้องการที่สูงขึ้น จึงมั่นใจว่า ในปี 2568 จะสามารถสร้างรายได้ให้เติบโตที่ระดับ 5-10% สร้างสถิติสูงสุดใหม่ตามแผน งานดังกล่าวจัดขึ้น ณ HOW ชั้น 12 โรงแรมโซ แบงคอก กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้

โบรกประสานเสียงแนะ “ซื้อ” PTG  เคาะราคาสูงสุด 10.5 บ./หุ้น

โบรกประสานเสียงแนะ “ซื้อ” PTG เคาะราคาสูงสุด 10.5 บ./หุ้น

          หุ้นวิชั่น - เซียนหุ้นพร้อมใจแนะ “ซื้อ” หุ้น PTG ให้กรอบราคา 9.00-10.5 บาทต่อหุ้น โดย บล.เอเซีย พลัส คาดกำไรปี 68 เติบโตต่อเนื่อง ประเมิน Dividend Yield เฉลี่ย 5-6% ต่อปี ให้ราคาเป้าหมาย 9.50 บาทต่อหุ้น บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) คาดกำไรปีนี้อยู่ที่ 1.3 พันล้านบาท เพิ่ม 27% จากปีก่อน รับแรงหนุนจากการขยายจำนวน Touchpoint, การเติบโตของธุรกิจ Non-Oil, กลยุทธ์บัตรสมาชิก, อุปสงค์น้ำมันฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวในประเทศ คงราคาเหมาะสม 9 บาทต่อหุ้น บล. กรุงศรี ประมาณการกำไรสุทธิไว้ที่ราว 1.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 39% รับอานิสงส์ธุรกิจ Oil ที่คาดว่าค่าการตลาดน้ำมันจะเพิ่มขึ้น 5% จากปีก่อน เป็นราว 1.73 บาท/ลิตร และรายได้จากพันธุ์ไทย เพิ่มขึ้น 35% ตามการขยายสาขาหนุนรายได้โต           บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด เผยแพร่บทวิเคราะห์หุ้น บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) (PTG) โดยคงคำแนะนำ Outperform จากแนวโน้มกำไรปกติปี 2568 ที่เห็นการเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อน และภาพระยะยาวยังมีความโดดเด่นด้านการเติบโตที่สูงในกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ให้บริการสถานีบริการน้ำมัน พร้อมคาดหวังปันผลในระดับดี Dividend Yield เฉลี่ย 5-6% ต่อปี ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 9.50 บาทต่อหุ้น           สำหรับประเด็นที่น่าสนใจของ PTG คือ ปี 2568 ยังคงมุ่งเน้นการเติบโตทั้งในส่วนของธุรกิจ Oil และ Non-Oil  ซึ่งธุรกิจน้ำมันตั้งเป้าขยายสถานีบริการน้ำมันเพิ่ม 50 สถานี มาอยู่ที่ 2,279 สถานี ยอดขายเติบโต 5-10% มาอยู่ราว 7.0-7.4 พันล้านลิตร, ธุรกิจ Non-Oil ที่ยังมีกาแฟพันธุ์ไทยเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก โดยจะขยายเพิ่มอีก 600 สาขา ไปสู่ 1,947 สาขา และสัดส่วนกำไรขั้นต้นขึ้นมาอยู่ที่ 30-35% จากปัจจุบันที่ 25%           รวมถึงยังตั้งเป้างบลงทุนปี 2568 ที่ 3.0-4.0 พันล้านบาท เพื่อขยายธุรกิจ Oil, กาแฟพันธุ์ไทย และอื่นๆ อีกทั้งปีนี้จะมุ่งเน้นการปรับปรุงรูปโฉมสถานีบริการน้ำมันเดิม ให้มีรูปแบบใหม่ที่ทันสมัย และมีผลิตภัณฑ์ครบครันต่อความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มยอดขายต่อสาขาเดิมให้เติบโต 20-30% ซึ่งยังมีส่วนช่วยเพิ่มรายได้กลุ่ม Non-Oil และแม้ว่าสภาวะการแข่งขันของกลุ่มสถานีบริการน้ำมันยังรุนแรง แต่ผู้บริหารมั่นใจจะมีส่วนแบ่งการตลาดเติบโต จากปัจจุบันที่ 21.9% โดยใช้เครือข่าย Max Card และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย           ทั้งนี้แม้ปัจจุบัน PTG ยังไม่ได้รับการจัดอันดับใน SET ESG Rating แต่อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทฯ ได้มีการเผยแพร่รายงานความยั่งยืน และกำหนดดัชนีชี้วัดในแต่ละด้าน ซึ่งฝ่ายวิจัยมีความเห็นว่า การดำเนินงานด้าน ESG ของ PTG ช่วยให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนในด้านการสร้างรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ รวมถึงยังมีการให้ความสำคัญทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยสามารถบรรลุกรอบเป้าหมายได้บางหัวข้อ ซึ่งคาดว่าจะช่วยส่งเสริมให้ PTG ได้รับการจัดอันดับ ESG ในอนาคต           ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ประเมินผลประกอบการปี 2568 ของ PTG จะสามารถเติบโตจากปีก่อนจากการขยายจำนวน Touchpoint, การเติบโตของธุรกิจ Non-Oil, กลยุทธ์บัตรสมาชิก, อุปสงค์น้ำมันฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวในประเทศ คงประมาณการกำไรปกติปี 2568 ที่ 1.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 27% จากปีก่อน คงราคาเหมาะสม 9 บาทต่อหุ้น แนะนำ ซื้อ จาก Valuation ไม่แพง ปัจจุบันซื้อขายบน PER 9.6 เท่า           ด้านบริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) มอง slightly negative ในประเด็นค่าการตลาดน้ำมันของ PTG ที่ฟื้นตัวช้า โดยช่วงเดือนมกราคม 2568 มีแนวโน้มคงที่จากไตรมาส 4/2567 ที่ราว 1.65 บาท/ลิตร และผู้บริหารประเมินว่าการแข่งขันในตลาดและนโยบายรัฐอาจทำให้ค่าการตลาดน้ำมันไปเร่งในไตรมาส 2/2568 แทน สะท้อนแนวโน้ม Downside ของกำไรปี 2568  ทั้งนี้จากสภาวะที่ราคาน้ำมันดิบลดลงจากปีก่อน และภาครัฐลดภาระขาดทุนกองทุนน้ำมันได้ต่อเนื่อง           ฝ่ายวิจัยประมาณการกำไรสุทธิปี 2568 ราว 1.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 39% จากปีก่อน รับอานิสงส์จากฝั่ง Oil ที่คาดค่าการตลาดน้ำมันเพิ่มขึ้น 5% เป็นราว 1.73 บาท/ลิตร และ รายได้จากพันธุ์ไทยเพิ่มขึ้น 35% ตามการเร่งขยายสาขาส่งผลให้รายได้โตเฉลี่ย 28% CAGR ในช่วง 2568-2569 คาดว่ากำไรปกติโตสูงต่อเนื่องเฉลี่ย 31% CAGR ในช่วงเดียวกัน           ดังนั้นจึงแนะนำ ซื้อ ที่ราคาเป้าหมายปี 2568 ที่ 10.5 บาท/หุ้น หากรับความเสี่ยงกฎหมายคุมราคาน้ำมันได้ มอง PTG น่าสนใจ บนแนวโน้มการเติบโตทั้งธุรกิจ Oil ที่ค่าการตลาดน้ำมันมีแนวโน้มฟื้นตัวในระยะยาวจากแรงกดดันด้านต้นทุนที่ทยอยลดลง และ Non-Oil ที่ PunThai / Max Mart / Autobacs เติบโตต่อเนื่อง และทำได้ดีกว่าเป้า [PR news]

UAC ตั้งเป้ารายได้โต 15% ธุรกิจขุดเจาะน้ำมันทำเงิน

UAC ตั้งเป้ารายได้โต 15% ธุรกิจขุดเจาะน้ำมันทำเงิน

         หุ้นวิชั่น – UAC ตั้งเป้ารายได้ปี 68 เติบโต 15% มองธุรกิจขุดเจาะน้ำมันสร้างโอกาสเติบโต ปีนี้คาดสร้างรายได้ที่ 250-300 ล้านบาท ย้ำกระแสเงินสดแข็งแกร่ง วางงบลงทุน 200 ล้านบาท มุ่งพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน          นางสาวอลิสา ชีวะเกตุ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) หรือ UAC เปิดเผยว่า ในปี 2568 บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโตมากกว่า 15% จากปีก่อนที่มีรายได้รวม 2,566.11 ล้านบาท โดยคาดว่ารายได้ไตรมาสแรกของปีนี้จะเป็นไปตามเป้า และคาดรายได้จากการขุดเจาะน้ำมันอยู่ที่ 250-300 ล้านบาท คิดเป็นมาร์จิ้น 15%          "ส่วน 3-5 ปีข้างหน้าในเรื่องการจุดเจาะน้ำมันที่จะลดหรือไม่นั้น บริษัทยังคงมีประสิทธิภาพในการผลิตน้ำมัน พร้อมวางแผนขุดเจาะแหล่งใหม่ในช่วงปลายปีนี้หรือปีหน้า ขึ้นอยู่กับการทดสอบหลุมที่ยังไม่เจาะ ซึ่งตอนนี้บริษัทยังมีหลายหลุมที่รอการขุดเจาะ ซึ่งปัจจุบันปริมาณการขุดเจาะอยู่ประมาณ 250-300 บาร์เรลต่อวัน" นางสาวอลิษา กล่าว          ด้านแผนการลงทุน ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายตลาดสู่ภูมิภาค โดยตั้งกรอบเงินลงทุน 200 ล้านบาท ขณะที่โครงการ RDF3 ในลาวและอินโดนีเซีย นั้นสามารถสร้างรายได้ประมาณปีละ 100-120 ล้านบาท          สำหรับกลุ่มธุรกิจหลักของบริษัทจะยังคงอยู่ใน Trading – Energy พร้อมเดินหน้าติดตามความคืบหน้าของเปิดโครงการโรงไฟฟ้าภูผาม่าน (PPM) เฟส 2 ซึ่งอยู่ระหว่างกระบวนการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ(COD) รวมถึงโครงการ PT Cahaya Yasa Cipta (CYC) ที่เตรียม COD เพิ่มเติม นอกจากนี้ บริษัทยังอยู่ระหว่างศึกษาธุรกิจ BCP Green Business เพื่อขยายโอกาสการเติบโตในอนาคต          สำหรับแผนการออกหุ้นกู้ในปีนี้ บริษัทยังไม่มีแผนดำเนินการ เนื่องจากกระแสเงินสดของบริษัทอยู่ในระดับแข็งแกร่งเพียงพอสำหรับการดำเนินธุรกิจ และสามารถชำระหุ้นกู้ได้ตามแผนที่กำหนด ทั้งนี้ บริษัทยังคงมุ่งเป้าการเติบโตควบคู่ไปกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เดินหน้าขยายศักยภาพธุรกิจให้แข็งแกร่งต่อเนื่อง

TEGH รายได้โต 30% อานิสงส์ยางแท่งเกรด EUDR

TEGH รายได้โต 30% อานิสงส์ยางแท่งเกรด EUDR

           หุ้นวิชั่น - บมจ.ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (TEGH) ตั้งเป้ารายได้ปี 68 เติบโต 30% แตะระดับ 22,000 ล้านบาท อานิสงส์ยางแท่งเกรด EUDR มีแนวโน้มเติบโตสวย ฟากแม่ทัพหญิง “สินีนุช โกกนุทาภรณ์” ระบุยอดขายยางปีนี้มีลุ้น All Time High ขณะที่เดินหน้านำบริษัทย่อย “TEBP” ระดมทุนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เตรียมจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นอัตรา 0.21 บาทต่อหุ้น พร้อมจ่ายเป็นเงินสดในวันที่ 23 พฤษภาคมนี้            นางสาวสินีนุช โกกนุทาภรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TEGH ผู้ผลิตและจำหน่ายยางธรรมชาติ และน้ำมันปาล์มดิบรายใหญ่ในภาคตะวันออก และผู้นำด้านการผลิตพลังงานทดแทนและรับบริหารจัดการกากอินทรีย์แบบครบวงจร ที่นำพลังงานสะอาดมาใช้ในกระบวนการผลิต เปิดเผยว่า ในปี 2568 บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้รวมเติบโต 30% แตะระดับ 22,000 ล้านบาท จากทุกกลุ่มธุรกิจ ทั้งยางธรรมชาติ น้ำมันปาล์ม และพลังงานทดแทนและรับบริหารจัดการกากอินทรีย์ โดยเฉพาะธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางแท่ง มีโอกาสที่ยอดขายจะทำสถิติสูงสุดใหม่ (All Time High) จากปริมาณขายที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 250,000-280,000 ตัน และราคายางธรรมชาติปรับตัวสูงขึ้น            โดยปีนี้มีแนวโน้มว่ายอดขายยางแท่งเกรด EUDR จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อนที่มียอดขายทั้งหมด 51,743 ตัน คิดเป็นสัดส่วน 45.11% ของปริมาณการส่งออกยางแท่งทั้งหมดในครึ่งปีหลัง สะท้อนถึงความสามารถในการขยายฐานลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ และความต้องการสินค้ายางแท่งเกรด EUDR โดยเฉพาะตลาดยุโรป ที่ถึงแม้จะมีการเลื่อนการบังคับใช้กฎหมาย EUDR ออกไปอีก 1 ปี (เริ่มบังคับใช้ 31 ธันวาคม 2568) ก็ตาม            สำหรับแผน Spin-Off ของบริษัทย่อย คือ บริษัท ไทยอีสเทิร์น ไบโอ พาวเวอร์ จำกัด (TEBP) ในการออกและเสนอขายหุ้นสามัญที่ออกใหม่ต่อประชาชนครั้งแรก (IPO) และแผนการนำหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ในปีนี้ ปัจจุบันมีความคืบหน้าตามลำดับ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินและสร้างการเติบโตทางธุรกิจในอนาคต ซึ่งภายใต้แผน Spin-Off นั้น TEBP จะเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) เท่ากับหุ้นละ 1 บาท โดยจะออกและเสนอขายหุ้นสามัญที่ออกใหม่จำนวนไม่เกิน 75 ล้านหุ้น และ TEGH จะขายหุ้นเดิมจำนวนไม่เกิน 15 ล้านหุ้น รวมจำนวนหุ้นที่จะ IPO ทั้งหมดไม่เกิน 90 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 30.00% ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของ TEBP โดยภายหลังการ IPO TEGH ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ TEBP และ TEBP จะยังคงมีสถานะเป็นบริษัทย่อยของ TEGH ภายหลังการ IPO            สำหรับภาพรวมผลการดำเนินงานงวดปี 2567 (สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2567) บริษัทฯ มีรายได้ 16,843.70 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38.36% ถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่บริษัทฯ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางธรรมชาติ 14,774 ล้านบาท ธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบ 1,907 ล้านบาท และธุรกิจพลังงานทดแทนและบริหารจัดการกากอินทรีย์ 139 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 88%, 11%, 1% ของรายได้ทั้งหมดตามลำดับ และมีกำไรสุทธิ 556.49 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 158.86% หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้น 202.60% ก่อนหักรายการพิเศษบันทึกค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ถาวรของบริษัทย่อย จำนวน 94.05 ล้านบาท            พร้อมกันนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 ได้มีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานงวดวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567 ในอัตราหุ้นละ 0.21 บาท โดยกำหนดวันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผล (Record Date) ในวันที่ 20 มีนาคม 2568 และจ่ายเงินปันผลวันที่ 23 พฤษภาคม 2568 ทั้งนี้จะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งมีกำหนดจัดประชุมในวันที่ 25 เมษายน 2568

KBANK หุ้นจ่ายปันผลสุดปัง  โบรกแนะซื้อ ราคาเป้าหมาย 171 บ.

KBANK หุ้นจ่ายปันผลสุดปัง โบรกแนะซื้อ ราคาเป้าหมาย 171 บ.

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ระบุว่า KBANK มีกำไร 4Q67 +12% YoY ผลหลักจากสำรอง ECL ลดตามคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้นช่วยหนุน ส่งผลกำไรทั้งปี 67 โตสูง +15% YoY           คุณภาพสินทรัพย์เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้น หลัง clean up balance sheet มาตลอด พร้อมตั้งเป้าปี 68 กลับมาตั้งสำรองปกติ 140-160 bps. ของสินเชื่อ หนุนกำไร พร้อมตั้งเป้า ROE double digit ในปี 69           ยังเป็นหุ้นที่จ่ายปันผลจูงใจและสม่ำเสมอ ประกาศจ่ายปันผลงวด 2H67 อีก @8.- ล่าสุดแถมปันผลพิเศษอีก @2.50 บ. รวม @10.5 บ. คิดเป็นอัตราเงินปันผลตอบแทนสูงถึง 6.6%           แนวรับ = 155.5/156.5 แนวต้าน = 163.5/164.5           KBANK | ซื้อ | TP=171 บ.

PTTGC คาดกำไรปีนี้ฟื้น  ใช้อีเทนเป็นวัตถุดิบหนุน เป้า 27.5 บ.

PTTGC คาดกำไรปีนี้ฟื้น ใช้อีเทนเป็นวัตถุดิบหนุน เป้า 27.5 บ.

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ คาด PTTGC ไตรมาส1 ปี 68 ฟื้นตัว แม้อาจมีผลขาดทุนปกติอยู่จากโรงกลั่นกลับมาเดินเครื่องปกติ + สัดส่วนอีเทนเป็นวัตถุดิบเพิ่มขึ้น 20% ช่วยให้มาร์จิ้นเพิ่มขึ้น + กำไรของ allnex เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล           คาดกำไรปีนี้ฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญจากปีก่อนมีตั้งด้อยค่าก้อนใหญ่ + รับรู้ประโยชน์จากการใช้อีเทนเป็นวัตถุดิบเพิ่มขึ้นเต็มปี + กลยุทธ์ลดค่าใช้จ่าย + การหยุดผลิต PTTAC และ Vencorex ช่วยให้ค่าใช้จ่ายคงที่ลดลง           ราคาหุ้นซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าบัญชีมาก P/B 0.3x           แนวรับ = 18.5/18.7 แนวต้าน = 19.8/20           PTTGC | ซื้อ | TP=27.5 บ.

บล.กรุงไทยฯ แนะซื้อเก็งกำไร “BIDU80” รับเปิดตัว AI Ernie X1

บล.กรุงไทยฯ แนะซื้อเก็งกำไร “BIDU80” รับเปิดตัว AI Ernie X1

          หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ระบุ Baidu เปิดตัวโมเดล AI Ernie X1 ที่มีความสามารถโดดเด่นในด้านการสนทนาเชิงตรรกะ และอัพเดตโมเดลหลักของบริษัทเป็น Ernie 4.5 ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ฟรีทันที - มองการอัพเดต AI และเปิดให้ใช้บริการได้ฟรี เป็นปัจจัยบวกต่อธุรกิจ AI ของบริษัท และเพิ่มโอกาสการแย่งส่วนแบ่งตลาดคืน ขณะที่ราคาหุ้นปรับขึ้นช้ากว่าตลาดและมี risk reward น่าสนใจซื้อเก็งกำไร - Baidu เผยรายได้รวม 4Q67 ลดลง 2% YoY ซึ่งออกมาดีกว่าคาด โดยรายได้ธุรกิจหลักอย่าง online marketing หดตัว 7% YoY แต่ดีกว่าคาด ด้านรายได้ non-marketing เช่น AI เติบโตเร่งตัวขึ้นเป็น 18% YoY จาก 12% YoY ใน ไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายด้าน SG&A เพิ่มขึ้น 14% YoY ส่งผลให้ Adjusted EBITDA หดตัว 23% YoY และต่ำกว่าคาด Target: 105.7 HKD

SET เช้าปิดพุ่ง 14.69 จุด ยืนแกร่งสวนภูมิภาค โบรกต่างชาติอัพเกรดหุ้นไทย

SET เช้าปิดพุ่ง 14.69 จุด ยืนแกร่งสวนภูมิภาค โบรกต่างชาติอัพเกรดหุ้นไทย

          หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน ตลาดหุ้นไทย เช้าวันนี้ ปิดที่ระดับ 1,190.86 จุด เพิ่มขึ้น 14.69 จุด (+1.25%) ทำระดับสูงสุดที่ 1,195.56 จุด และทำระดับต่ำสุดที่ 1,174.62 ด้วยมูลค่าซื้อขาย 22,674.57 ล้านบาท           นายวทัญ จิตต์สมนึก ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.พาย กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวันนี้ปรับตัวขึ้นได้อย่างแข็งแกร่ง สวนทางกับตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชีย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ Broker ต่างชาติปรับเพิ่มคำแนะนำเป็นมากกว่าตลาด จากเดิมกลางๆ โดยให้เหตุผลว่าหุ้นไทยเริ่มถูกแล้ว และก่อนหน้าก็สะท้อนปัจจัยกดดันต่างๆ ไปมากแล้ว โดยจะมีแรงหนุนจากกองทุน Thai ESGX มาเป็นตัวเพิ่มสภาพคล่อง           สำหรับมุมมองของฝ่ายวิเคราะห์เห็นคล้ายๆ กัน คือ หุ้นไทยถูกมากแล้ว หลายๆ ตัว ปันผลอยู่ในจุดที่น่าสนใจ แต่การฟื้นตัวจะไปได้ไกลมากน้อยแค่ไหน ยังเชื่อว่า Upside ไม่ได้เยอะมาก จากความเสี่ยงทั้งเศรษฐกิจสหรัฐฯ, Trump กับนโยบายการค้า เป็นต้น           ให้แนวรับที่ 1,185 จุด และแนวต้าน 1,200 จุด

SINO ขยาย Air Freight  เป้ารายได้โตกว่า 16%

SINO ขยาย Air Freight เป้ารายได้โตกว่า 16%

          หุ้นวิชั่น  - “บมจ.ไซโน โลจิสติกส์ คอร์ปอเรชั่น” หรือ SINO กางแผนธุรกิจปี 68 รุกใหญ่เพิ่มศักยภาพผู้นำให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศครบวงจร ตั้งเป้าหมายรายได้รวมปีนี้ 4,300 ล้านบาท เติบโตกว่า 16% เตรียมรุกขยายธุรกิจบริการ Air Freight ส่วนธุรกิจบริการ Sea Freight เตรียมเปิดบริการเส้นทางเวียดนาม-สหรัฐฯ และจากเวียดนามไปยังภูมิภาคอื่นๆ เพื่อขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน ขณะที่ธุรกิจบริการให้เช่าคลังสินค้าอยู่ระหว่างศึกษาแผนขยายการลงทุนรองรับดีมานด์ที่เพิ่มขึ้น ชูฐานะทางการเงินแข็งแกร่งพร้อมขยายการลงทุนตามแผนงาน           นายนันท์มนัส วิทยศักดิ์พันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไซโน โลจิสติกส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SINO เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานปี 2568 จะมุ่งขยายธุรกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพการเป็นผู้นำให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศอย่างครบวงจร จากปัจจุบันแบ่งพอร์ตธุรกิจหลักเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) บริการขนส่งสินค้าทางทะเล (Sea Freight) ที่เป็นสัดส่วนรายได้หลัก โดยบริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางทะเลเส้นทางไทย-สหรัฐฯ ที่มีปริมาณสินค้าสูงสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก และอันดับ 1 ในประเทศไทย 2) บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Freight) 3) บริการสนับสนุนงานบริการโลจิสติกส์ และ 4) บริการให้เช่าคลังสินค้า โดย ณ สิ้นปี 2567 มีสัดส่วนรายได้มาจาก Sea Freight 96% Air Freight 1% และ Logistics Support 3% ของรายได้รวม           ขณะที่ปี 2568 บริษัทฯ วางเป้าหมายรายได้รวม 4,300 ล้านบาท เติบโตกว่า 16% จากปีที่ผ่านมา และมีปริมาณการขนส่งสินค้ารวม 53,000 ตู้ เพิ่มขึ้นเกือบ 8% จากปีก่อน  โดยบริษัทฯ เดินหน้าขยายธุรกิจบริการ Air Freight ด้วย กลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถและขยายฐานลูกค้า เพื่อกระจายความเสี่ยงและลดการพึ่งพารายได้ในระยะยาวจากกลุ่มธุรกิจบริการ Sea Freight ที่เป็นสัดส่วนรายได้หลักในปัจจุบัน           ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าขยายธุรกิจบริการ Sea Freight ให้ครอบคลุมภูมิภาคอาเซียน ล่าสุดได้ร่วมมือกับกับพาร์ทเนอร์ในประเทศเวียดนาม จัดตั้งบริษัทร่วมทุนและสำนักงานในเวียดนามเป็นที่เรียบร้อย คาดว่าจะเริ่มให้บริการขนส่งสินค้าทางทะเลในเส้นทางเวียดนาม – สหรัฐอเมริกา และจากเวียดนามไปยังภูมิภาคอื่นๆ ได้ในเร็วๆ นี้ คาดว่าจะมีปริมาณขนส่งสินค้าในปีแรกประมาณ 900 ตู้ โดยเวียดนามเป็นประเทศที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตและมีศักยภาพด้านการส่งออก อย่างไรก็ตาม หากสหรัฐฯ ปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากเวียดนาม มองว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้ามากนัก เนื่องจากประเมินว่าสหรัฐฯ ยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าจากเวียดนามที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า           นอกจากนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายธุรกิจบริการให้เช่าคลังสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการโลจิสติกส์แบบครบวงจร โดยแผนดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาด้านทำเลที่ตั้งและความคุ้มค่าในการลงทุน คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้ จากปัจจุบันที่มีบริการให้เช่าคลังสินค้า 2 แห่ง ในพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง มีพื้นที่รวมประมาณ 20,000 ตารางเมตร           “ภาพรวมธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ แม้มีปัจจัยความไม่แน่นอนของภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่อาจกระทบกับธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าจากจีนและประเทศในภูมิภาคอาเซียนไปยังสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ มองว่าแม้สหรัฐฯ ปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนและประเทศอื่นๆ ที่เกินดุลการค้า  แต่ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าบางรายการที่ไม่สามารถผลิตได้เอง และต้นทุนการผลิตสินค้าบางประเภทก็ยังคงสูงกว่าการนำเข้าภายใต้อัตราภาษีใหม่ ขณะที่การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในช่วง 2 เดือนแรกที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่น่าพอใจ” นายนันท์มนัส กล่าว           นายกวิล กฤษเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บริษัทไซโน โลจิสติกส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SINO กล่าวว่า ภาพรวมผลการดำเนินงานปี 2567 มีรายได้รวม 3,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 104% จากปีก่อนที่มีรายได้รวม 1,810 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 88 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 66% จากปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 53 ล้านบาท จากการวางกลยุทธ์ขยายธุรกิจ และการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนในมาเลเซียเมื่อปีที่ผ่านมาเพื่อขยายธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางทะเลแก่ลูกค้า รวมถึงค่าระวางเรือที่เพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมา ส่วนธุรกิจบริการสนับสนุนงานบริการโลจิสติกส์ บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ และบริการให้เช่าคลังสินค้า มีรายได้อยู่ในระดับที่ดี           ขณะที่ฐานะทางการเงินของบริษัทฯ ยังคงแข็งแกร่ง มีอัตราหนี้สินต่อทุนที่มีภาระดอกเบี้ย 0.56 เท่า และมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ณ สิ้นปี 2567 อยู่ที่ 311 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีความพร้อมด้านเงินทุนจากการเสนอขายหุ้น IPO และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อปลายปี 2566 พร้อมรองรับแผนงานขยายธุรกิจ [PR news]

UBS overwieghts หุ้นไทย

UBS overwieghts หุ้นไทย

          หุ้นวิชั่น - UBS Global Research ออกบทวิเคราะห์วันที่ 18 มีนาคม 2568 ได้ปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในประเทศไทยเป็น overweight เนื่องจากปัจจัยสำคัญ อาทิ นโยบายรัฐบาล (เช่น มาตรการกระตุ้นทางการคลัง) การฟื้นตัวของการท่องเที่ยว และการฟื้นตัวของการบริโภคแบบ K-shaped จะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับตลาด รวมถึงการไถ่ถอนกองทุน LTF ที่หมดอายุในปี 2568 จะถูกชดเชยด้วยโครงการสิทธิประโยชน์ทางภาษีใหม่ ดังนั้น ความเสี่ยงด้านลบดูเหมือนได้ถูกสะท้อนในราคาไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ โดยมองมูลค่าหุ้นไทยใกล้กับระดับต่ำสุดในช่วงโควิด

SENA ปิดขายหุ้นกู้ ยอดจองเกินเป้าหมาย

SENA ปิดขายหุ้นกู้ ยอดจองเกินเป้าหมาย

                หุ้นวิชั่น - บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (SENA) ขอบคุณนักลงทุนที่ให้ความเชื่อมั่น ตอกย้ำความสำเร็จปิดการเสนอขายหุ้นกู้ชุดใหม่ 1/2568 อายุ 2 ปี 6 เดือน ด้วยอัตราดอกเบี้ย 5.70% มูลค่าเสนอขายรวม 1,500 ล้านบาท โดยได้รับความสนใจและการตอบรับอย่างดีมากจากนักลงทุนทั่วไปและนักลงทุนสถาบัน (PO) ด้วยยอดจองเกินเป้าหมายที่เสนอขายอย่างรวดเร็ว สะท้อนความมั่นใจในศักยภาพธุรกิจและแผนการเติบโตของบริษัท                 นางสาวอธิกา บุญรอดชู ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดสรรเงินและการลงทุน บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA เปิดเผยว่า ตามที่บริษัทฯ ได้เสนอขายหุ้นกู้ของบริษัท ครั้งที่ 1/2568 อายุ 2 ปี 6 เดือน อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.70% ต่อปี ระหว่างวันที่ 14 และ 17 ถึง 18 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา มูลค่าเสนอขาย 1,500 ล้านบาท เพื่อนำเงินไปใช้ชำระคืนหุ้นกู้เดิมที่ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนมีนาคมนี้ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี นักลงทุนให้ความสนใจจองซื้อหุ้นกู้ จนยอดจองเกินกว่าเป้าที่บริษัทวางไว้ ส่งผลให้ยอดจองซื้อเต็มจำนวนอย่างรวดเร็ว สะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนจำนวนมากมีความเชื่อมั่นในผลการดำเนินงานของบริษัท และศักยภาพการเติบโตของบริษัทในอนาคต                 “บริษัทขอขอบคุณนักลงทุนทุกท่านที่ให้ความสนใจและไว้วางใจลงทุนในหุ้นกู้ของ SENA เป็นอย่างดีเสมอมา ตลอดจนขอขอบคุณบริษัทหลักทรัพย์ผู้จัดจำหน่ายหุ้นกู้ทั้ง 12 แห่ง ได้แก่ บล. เอเซีย พลัส, บล. หยวนต้า (ประเทศไทย),  บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง, บล. โกลเบล็ก, บล.พาย, บล.ดาโอ (ประเทศไทย), บล.ยอนด์, บล. เมย์แบงก์ (ประเทศไทย), บล.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์, บล.ทรีนีตี้, บล.บลูเบลล์ และบล. เอเอสแอล ที่ให้การสนับสนุนบริษัทเป็นอย่างดี ตอกย้ำถึงความเชื่อมั่นที่นักลงทุนมีต่อบริษัท”                 SENA ยังคงมุ่งมั่นเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ด้วยประสบการณ์ยาวนานในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการมีวินัยทางการเงินที่แข็งแกร่ง ตอกย้ำความเป็นผู้นำการอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน (Sustainable Living Leader) โดยมุ่งเน้นตลาด Affordable ที่ยังมีความต้องการสูง พร้อมผลักดันโครงการ LivNex เช่าออมบ้าน เปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดี และยอดขายจากโครงการนี้จะสามารถทยอยรับรู้เป็นรายได้ภายใน 3 ปี ตอกย้ำความแข็งแกร่งของ SENA ในฐานะผู้นำอสังหาริมทรัพย์ที่พร้อมขับเคลื่อนการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

TACC ปันผล 10.9% เยอะสุดในกลุ่มเครื่องดื่ม

TACC ปันผล 10.9% เยอะสุดในกลุ่มเครื่องดื่ม

            หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) ระบุว่า การประชุมโทนเป็นกลางของ TACC ใน Opportunity Day เป็นไปในทิศทางกลาง โดยฝ่ายบริหารเน้นย้ำถึงการเติบโตของรายได้ 10% ในปี 2025F ซึ่งจะมาจากทั้งร้านสะดวกซื้อ 7-11 (คิดเป็น 93% ของยอดขายในปี 2024) และจากแบรนด์ของตัวเอง (น้ำเชื่อมและชา – คิดเป็น 7% ของยอดขายในปี 2024) เราคาดว่ากำไรหลักจะเติบโต 10% สอดคล้องกับยอดขาย จึงคงคำแนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 6 บาท โดยเชื่อว่า TACC สามารถรักษาอัตราการจ่ายเงินปันผล 96% (เท่ากับปี 2024) ซึ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลอยู่ที่ 10.9% ในปี 2025F ณ ราคาหุ้นปัจจุบัน อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่สูงนี้ทำให้หุ้นนี้มีความน่าสนใจท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ สาระสำคัญของการประชุม:             ฝ่ายบริหารเน้นย้ำว่า ยอดขาย อาจเติบโต 10% ในปี 2025F จากทั้ง B2B (ยอดขายที่ร้านสะดวกซื้อ 7-11) และ B2C (ยอดขายแบรนด์ของตัวเอง ซึ่งประกอบด้วยน้ำเชื่อมและชา) ยอดขาย B2B อาจเติบโตไปพร้อมกับยอดขายของร้านสะดวกซื้อ และบริษัทมีแผนจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ (เช่น ชาแอปเปิ้ล) มากขึ้นในปีนี้เพื่อกระตุ้นยอดขาย บริษัทกำลังพิจารณาข้อตกลงการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ แต่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดใดๆ ด้วยราคากาแฟที่สูงขึ้น อาจกดดันอัตรากำไรขั้นต้นของบริษัท แต่ TACC พยายามจัดการโดยล็อกราคาผ่านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงใช้กาแฟที่ราคาถูกกว่า TACC อาจปรับขึ้นราคาขายเพื่อชดเชยต้นทุนสินค้าที่เพิ่มขึ้น หากจำเป็น คงคำแนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 6.00 บาท             TACC ซื้อขายที่ 8.8 เท่าของ P/E ปี 2025 และมองว่าอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ 10.9% ซึ่งสูงที่สุดในกลุ่มเครื่องดื่มนั้นน่าสนใจ ความเสี่ยงหลัก คือการกระจุกตัวของรายได้ (93% ของรายได้รวม) มาจากร้านสะดวกซื้อ 7-11 โดยคาดว่าจะมีการต่อสัญญาทุก สามปี

เปิดโผ 15 หุ้นโดดเด่น โบรกแนะช่วงเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว

เปิดโผ 15 หุ้นโดดเด่น โบรกแนะช่วงเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.พาย ระบุว่า รอติดตามประชุม FED คืนนี้ ด้วยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่เริ่มมีสัญญาณชะลอตัว อาจเห็นถ้อยแถลงผ่อนคลาย หนุนสินทรัพย์เสี่ยง           ตลาดหุ้น Dow Jones เมื่อคืนปิดลบ 260 จุด (-0.6%) ท่ามกลางการซื้อขายที่เป็นไปอย่างระมัดระวังก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐฯจะแถลงผลประชุมในคืนนี้ตามเวลาประเทศไทย ด้านราคาน้ำมันดิบ BRT ปิดลบ 0.72% หลังจากทรัมป์และรัสเซียเจรจากันเกี่ยวกับการยุติสงครามในยูเครน           เมื่อคืนที่ผ่านมาฝั่งสหรัฐฯมิได้มีตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ ทำให้การเคลื่อนไหวของ US Bond Yield ค่อนข้างทรงตัว เพราะนักลงทุนรอติดตามผลประชุม FED ที่จะทราบทางการในคืนนี้ตามเวลาประเทศไทย หรือทราบผลทางการช่วงเช้าวันพฤหัสบดีของประเทศไทย สำหรับผลประชุมครั้งนี้ CME FED Watch ให้น้ำหนักอย่างเป็นทางการว่า FED จะคงดอกเบี้ยระดับเดิม แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญอาจไม่ใช่เรื่องดอกเบี้ยแต่เป็นปัจจัยเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯจากนี้รวมไปถึงการส่งสัญญาณต่อดอกเบี้ยเพราะปัจจุบันเศรษฐกิจสหรัฐฯเผชิญกับตัวเลขเศรษฐกิจที่เริ่มต่ำกว่านักวิเคราะห์ประเมินไว้ประกอบกับมีความเสี่ยงไปทาง Downside Risk จากนโยบายกีดกันการค้า ทำให้อาจเปิดช่องทางในการดำเนินนโยบายที่ผ่อนคลายมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามด้วยการกีดกันการค้าจะเป็นตัวเร่งเงินเฟ้อ จึงต้องรอติดตามว่าจะมีสัญญาณผ่อนคลายหรือไม่ หากส่งสัญญาณก็มองเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นทั่วโลก           ด้านปัจจัยในประเทศเมื่อวานที่ผ่านมากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้รายงานจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยในช่วง 1 ม.ค. – 16 มี.ค. สะสมที่ 8.29 ล้านคน (+3.9%YoY) นับว่าขยายตัวค่อนข้างต่ำและสอดคล้องกับตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วง 1 – 16 มี.ค. ที่ทรงตัว (-0.2%YoY) และหากเทียบกับช่วงปี 19 พบว่า (-14%YoY) ซึ่งอาจสร้างแรงกดดันระยะสั้นต่อกลุ่มท่องเที่ยว           ส่วนการปรับลงของตลาดหุ้นอินโดนีเซียวานนี้ปรับลงไปลึกสุด -7% ก่อนจะฟื้นตัวมาปิดราว -3.8% Bloomberg ประเมินว่าเกิดจากการใช้จ่ายผู้บริโภคที่อ่อนแอและมาตรการประชานิยมของงผู้นำประเทศ รวมไปถึงกระแสเปลี่ยนรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง โดยหุ้นไทยที่มีรายได้จากอินโดนีเซียประกอบไปด้วย BBL SCGP SCC แต่อย่างไรก็ตามเป็นเพียงปัจจัยกดดันระยะสั้นต่อหุ้นข้างต้นเท่านั้น           คืนนี้นอกเหนือประชุม FED รอติดตามสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ Bloomberg Consensus ประเมินไว้ที่ 0.8 ล้านบาร์เรล           วันนี้ประเมิน SET INDEX เคลื่อนไหวในกรอบ 1165 – 1190 ในเชิงกลยุทธ์การลงทุน Valuation หุ้นไทยอาจไม่แพงแต่ถึงอย่างนั้นกลยุทธ์การลงทุนยังคงสำคัญท่ามกลางการเติบโตหลังจากนี้ที่อาจมิได้โดดเด่นเท่าใดนัก หุ้นที่ควรให้ความสนใจยังเป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่มีความสามารถในการแข่งขันที่สูง เป็นผู้นำอุตสาหกรรม อำนาจต่อรองกับลูกค้าสูง อาทิ โรงพยาบาล (BDMS) ท่องเที่ยว (CENTEL MINT) ศูนย์การค้า (CPN) ค้าปลีก (BJC CPALL HMPRO) ธนาคารพาณิชย์ (BBL KBANK KTB SCB) ส่งออก (ITC TU) นิคมอุตสาหกรรม (AMATA WHA) CPN (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 87.00 บาท) กำไรสุทธิ 4Q24 3,898 ล้านบาท แต่ถ้าไม่รวมรายการพิเศษที่เป็นการปรับปรุงบัญชีจากการถือหุ้นใน Grab Thailand กว่า 497 ล้านบาท จะมีกำไรปกติถึง 4,392 ล้านบาท (+11%YoY,+7%QoQ) ดีกว่าที่เราคาดไว้เพราะค่าใช้จ่ายการบริหารมีเพียง 2,706 ล้านบาท (เราคาดไว้ที่ 3,000 ล้านบาท) สำหรับรายได้ยังเห็นการเติบโตดีทั้งจากธุรกิจให้เช่าพื้นที่และโรงแรม ส่วนอสังหาโตดีจาก 3Q24 แต่ลดลงจาก 4Q23 แนวโน้มในปี 25 คาดว่าจะยังเติบโตได้ดี จากการเปิดศูนย์ใหม่ 2 แห่ง และออฟฟิศ 1 แห่ง WHA (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 5.20 บาท) การนำ WHAID เข้าจดทะเบียนเลื่อนไปอย่างน้อย 2-3 ปี โดยไม่กระทบกับแผนการลงทุนที่ตั้งไว้ ซึ่งผู้บริหารให้เหตุผลว่า เงินที่ได้จากการ spin off ส่วนหนึ่งเตรียมไว้สำหรับการ M&A กิจการที่มองว่ามีโอกาสเสริมธุรกิจของ WHA ส่วนแผนการเพิ่มพื้นที่เช่าอีก 200000 ตร.ม. ทางผู้บริหารมีความมั่นใจเพราะจะมีการตั้งโรงงานเพิ่มที่เวียดนามหลายที่

ชี้เป้า 10 หุ้นน่าสนใจ ต่างชาติทยอยเก็บ

ชี้เป้า 10 หุ้นน่าสนใจ ต่างชาติทยอยเก็บ

             หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.ธนชาต ระบุ เริ่มเห็น Sentiment “บวก” หลังต่างชาติกลับมาซื้อหุ้นไทยเมื่อวานนี้ 886 ล้านหลังจากที่ขายติดต่อกัน 6 วัน ขณะที่โบรคต่างชาติ UBS ได้ปรับคำแนะนำหุ้นไทยเป็น “Overweight” จาก “Neutral ” โดยมองว่า Valuation อยู่ในระดับที่น่าสนใจ ใกล้เคียงกับระดับช่วงเกิดโควิด และเชื่อว่าราคาที่ปรับลดลงได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว นอกจากนี้การออก Thai ESG Extra ช่วยชดเชยกับเงินที่จะครบกำหนดของ LTF              ซึ่งถ้าเทียบหุ้นที่ Valuation น่าสนใจ กำไรเติบโตดี และเริ่มเห็นสัญญาณต่างชาติสะสม แนะนำ “ซื้อ” 1. กลุ่มที่เห็น Fund Flow ไหลเข้า ชอบ CENTEL CBG MINT CKP 2. กลุ่มที่ Fund Flow ไหลออก แต่พื้นฐานดี มีโอกาสเห็น Fund flow ไหลเข้าอีกครั้ง ชอบ KBANK CPALL TRUE BDMS CPN WHA

GULF-INTUCH นับถอยหลังควบรวม ซื้อขายวันสุดท้ายพรุ่งนี้ 20 มี.ค. หนุนกำไร แตะ 25,504 ลบ.โต 15%

GULF-INTUCH นับถอยหลังควบรวม ซื้อขายวันสุดท้ายพรุ่งนี้ 20 มี.ค. หนุนกำไร แตะ 25,504 ลบ.โต 15%

                หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง GULF ว่า โค้งสุดท้ายก่อนการควบรวมกิจการ ซื้อขายวันสุดท้ายวันที่ 20 มี.ค. 68 ก่อนหยุดพักการซื้อขาย 9 วัน NewCo ผสานพลังธุรกิจโรงไฟฟ้า-ICT คาดกำไรปี 2025 โต 15% แตะ 25,504 ล้านบาท พร้อมศักยภาพขยายตัวต่อเนื่อง ราคาเหมาะสม 53.25 บาท เริ่มต้นคำแนะนำ “TRADING” จับตาอัปไซด์จากคลื่น กสทช. หนุนต้นทุนลด                 การควบรวมกิจการระหว่าง GULF-INTUCH เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายคือ การจัดประชุมผู้ถือหุ้นร่วมในวันที่ 25 มี.ค. 2025 ทั้งนี้หุ้น GULF และ INTUCH จะหยุดพักการซื้อขายหุ้นเป็นระยะเวลา 9 วันทำการ ตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค. 2025 ถึงวันที่ 2 เม.ย. 2025 ดังนั้นนักลงทุนต้องถือหุ้นในวันที่ 20 มี.ค. ซึ่งเป็นวันซื้อขายวันสุดท้ายหากจะแปลงเป็น NewCo โดยระบบจะเปลี่ยนเป็น NewCo ให้โดยอัตโนมัติภายใต้ Ratio 1 หุ้น GULF ต่อ 1.0297                 หุ้นในบริษัทใหม่และ 1 หุ้น INTUCH ต่อ 1.6934 หุ้นในบริษัทใหม่ ระยะสั้นยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมาก...รอดูความชัดเจนหลังการควบรวม ภายหลังการควบรวม NewCo จะเป็นบริษัทฯ ที่มีธุรกิจหลัก 2 ธุรกิจ คือ ธุรกิจโรงไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐาน                 ธุรกิจ ICT ภายใต้ ADVANC ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีความคล้ายคลึงกับโครงสร้างเดิมก่อนการควบรวมกิจการ                 ทั้งนี้เรามองว่าในระยะยาวบริษัทฯ จะมีการนำองค์ความรู้ของแต่ละธุรกิจมาเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล อย่างไรก็ตามในระยะสั้นคาดยังไม่เห็น Synergy ที่มีนัยสำคัญระหว่างทั้ง 2 บริษัทฯ (คาดยังเน้นไปที่การลงทุนตามแผนเดิมก่อนการควบรวม)                 ทั้งนี้เรามองว่าภายหลังกระบวนการควบรวมเสร็จสิ้นบริษัทฯ จะมีการเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเติบโตของ NewCo ในระยะยาว หลังคาด Net IBD/E ของ NewCo จะอยู่ที่เพียง 0.9 เท่า เทียบกับ GULF ที่ราว 1.9 เท่า (มีความสามารถในการกู้ยืมที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการควบรวม)คาดกำไรปกติของ NewCo เติบโตต่อเนื่อง เนื่องจากทั้งธุรกิจไฟฟ้าและ ICT                 เบื้องต้นคาดกำไรปกติปี 2025 ของ NewCo ที่ 25,504 ล้านบาท เติบโต 15% YoY (อิงกำไรจากงบเสมือนปี 2024 ที่ 22,240 ล้านบาท) หนุนจากการเริ่มรับรู้รายได้และส่วนแบ่งกำไรจากโครงการใหม่ที่ COD ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และส่วนแบ่งกำไรจาก ADVANC ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงการเริ่มรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากธุรกิจ Data Center และหากมองไปปี 2026-27 คาดกำไรปกติของ NewCo จะยังสามารถเติบโต YoY ได้ต่อเนื่องจากการ COD โครงการใหม่ของธุรกิจโรงไฟฟ้าและ ARPU ของธุรกิจมือถือและ Broadband ที่เพิ่มขึ้น                 นอกจากนี้ประมาณการของเรายังมี Upside เพิ่มเติมจากการเปิดประมูลคลื่นรอบใหม่ของ กสทช. ในช่วง 2Q-3Q25 ที่มีโอกาสส่งผลให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายของ ADVANC ลดลงได้ราว 1.0-2.0 พันล้านบาท/ปี (เป็น Upside ให้กับราคาเหมาะสมของ NewCo ได้ราว 0.25-0.75 บาท/หุ้น) เริ่มต้นคำแนะนำ “TRADING” อิงราคาเหมาะสม 53.25 บาท/หุ้น                 เราประเมินราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2025 ของ NewCo ที่ 53.25 บาท/หุ้น โดยใช้วิธี Sum of the Part (SOTP) โดยเราประเมินธุรกิจโรงไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานด้วยวิธี DCF บน WACC 6.4% และ Terminal Growth ที่ 0% และเราประเมินมูลค่าเงินลงทุนในส่วนของ ADVANC และ THCOM โดยใช้ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2025 ที่ 296.00 บาท/หุ้น และ 16.50 บาท/หุ้น ตามลำดับ และหักลดด้วย Discount 10% โดยหากอิงราคาปิดของ GULF และ INTUCH ณ วันที่ 18 มี.ค. ที่ 49.50 บาท/หุ้น และ 80.00 บาท/หุ้น ตามลำดับ จะคิดเป็นราคา NewCo ที่ราว 47.80 บาท/หุ้น มี Upside เพียง 11.4% จึงเริ่มต้นคำแนะนำ “TRADING”                 ความเสี่ยงที่สำคัญ: การปรับสัญญาซื้อขายไฟฟ้าของภาครัฐ การปรับแผน PDP ของภาครัฐ การแข่งขันในอุตสาหกรรม ICT ที่รุนแรงกว่าคาดความต้องการใช้งาน Data Center ที่น้อยกว่าคาดขั้นตอนการควบรวมกิจการโค้งสุดท้าย                 การควบรวมกิจการระหว่าง GULF-INTUCH กำลังจะเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย คือการจัดประชุมผู้ถือหุ้นร่วมระหว่างผู้ถือหุ้น GULF และ INTUCH เพื่อพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการควบรวมบริษัท เช่น ชื่อของ NewCo (“Gulf Development”) และการอนุมัติทุนจดทะเบียน เป็นต้น โดยการประชุมดังกล่าวจะเกิดขึ้นในวันที่ 25 มี.ค. 2025 เวลา 15.30 น. โดยจะเป็นการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ทั้ง GULF และ INTUCH ได้มีการกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวไปแล้วเมื่อวันที่ 22 ก.พ. ที่ผ่านมา)                 ทั้งนี้หุ้น GULF และ INTUCH จะหยุดพักการซื้อขายหุ้นเป็นระยะเวลา 9 วันทำการ ตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค. 2025 จนถึง วันที่ 2 เม.ย. 2025 ดังนั้นนักลงทุนจะต้องมีหุ้นในวันที่ 20 มี.ค. 2025 ซึ่งจะเป็นวันซื้อขายวันสุดท้ายหากจะแปลงเป็น NewCo โดยนักลงทุนที่ถือหุ้นถึงสิ้นวันที่ 20 มี.ค. 2025 ระบบจะเปลี่ยนเป็น NewCo ให้ภายใต้อัตราส่วน 1 หุ้น GULF ต่อ 1.0297 หุ้นในบริษัทใหม่ และ 1 หุ้น INTUCH ต่อ 1.6934 หุ้นในบริษัทใหม่ หรือคิดเป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบ (Swap Ratio) ระหว่าง GULF-INTUCH ที่ 1.6444 ทั้งนี้หุ้นของ NewCo จะเริ่มซื้อขายในวันที่ 3 เม.ย. 2025 (กลับมาซื้อขายในกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค)

“MMM” จ่อขาย PO 64.20 ล้านหุ้น  นำร่อง LiVEx ยกชั้นเทรด mai

“MMM” จ่อขาย PO 64.20 ล้านหุ้น นำร่อง LiVEx ยกชั้นเทรด mai

             หุ้นวิชั่น - ก.ล.ต.นับหนึ่งไฟลิ่ง บมจ. เอ็มเอ็มเอ็ม แคปปิตอล หรือ MMM หนึ่งในผู้นำด้านตัวแทนการขายอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้การให้บริการที่ปรึกษาด้านการขายและการตลาดแก่ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาฯ และซื้อขายอสังหาฯ เตรียมเสนอขายหุ้น PO จำนวน 64.20 ล้านหุ้น พร้อมระบุ MMM จะเป็นบริษัทแรกใน LiVEx ที่ก้าวสู่การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) เล็งนำเม็ดเงินจากการระดมทุน สยายปีกเพื่อสร้างโอกาสการเติบโต ก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านการเป็นที่ปรึกษาด้านการขายและการตลาดเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร              นางสาวเดือนพรรณ ลีลาวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไพโอเนีย แอดไวเซอรี่ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของ บริษัท เอ็มเอ็มเอ็ม แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ MMM  เปิดเผยว่า หลังจากที่ MMM ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (แบบไฟลิ่ง) และแบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่วไป (PO) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. โดยล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต.นับหนึ่งแบบไฟลิ่ง MMM เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2568 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเพื่อเสนอขายหุ้น PO จำนวนไม่เกิน 64,200,000 หุ้น หรือคิดเป็น 21.40% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 0.50 บาท เพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) หมวดอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง              สำหรับหุ้นที่เสนอขายในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) หุ้นสามัญเพิ่มทุนไม่เกิน 52,200,000 หุ้น คิดเป็นไม่เกิน 17.40% และ 2) หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย บริษัท ณัชชา โฮลดิ้ง จำกัด ไม่เกิน 12,000,000 หุ้น คิดเป็นไม่เกิน 4.00% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้              ปัจจุบัน MMM ดำเนินธุรกิจเป็นตัวแทนการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยทุกประเภท                ให้กับเจ้าของโครงการ ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม รวมถึงการวางแผนกลยุทธ์       ทางการตลาดและการขายผ่านเครือข่ายนายหน้าอิสระ นอกจากนี้ บริษัทฯ ทำธุรกิจซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ โดยการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีสภาพดีนำมาปรับปรุงเพื่อจำหน่าย ธุรกิจของ MMM สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ที่ปรึกษางานขายโครงการ (BU1) โดยเป็นตัวแทนขายอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงผู้เดียว ให้กับเจ้าของโครงการ เพื่อให้บริการแนะนำติดต่อผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย ตลอดจนประสานงานเพื่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาฯ ระหว่างผู้ซื้อและเจ้าของโครงการจนกว่าแล้วเสร็จ การบริหารงานขายโครงการ (BU2) เป็นตัวแทนขายและรับประกันการขายแต่เพียงผู้เดียว เพื่อให้บริการ แนะนำ ติดต่อผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย ตลอดจนประสานงานเพื่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ระหว่างผู้ซื้อและเจ้าของโครงการจนกว่าแล้วเสร็จ นอกจากนี้ MMM ให้บริการบริหารงานขายแบบวางหลักประกันการซื้อ (Hybrid) ซึ่งเป็นการรวมรูปแบบการให้บริการที่ปรึกษางานขายโครงการ (BU1) ในช่วงแรก และสิทธิในการเลือกเป็นการบริหารงานขายโครงการแบบรับประกันการขาย (BU2) ในช่วงที่สอง การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ (BU3) เป็นการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีสภาพดีนำมาปรับปรุงเพื่อจำหน่าย “MMM มีศักยภาพความโดดเด่น ด้านความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการวางแผนการตลาดที่สามารถตอบโจทย์ทุกความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้ครบทุกมิติ ส่งผลให้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 บริษัทฯ มีโครงการอสังหาฯ ภายใต้สัญญาให้บริการและรอการขายสำหรับ BU1  BU2 และ BU3 รวมจำนวน 25 โครงการ  848 ยูนิต ซึ่งกระจายในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี ชลบุรี ระยอง และจังหวัดอื่นๆ ครอบคลุมทั้งบ้านเดี่ยว  บ้านแฝด ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม”              นางสาวณิชา โรจน์วัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็มเอ็มเอ็ม แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ MMM เปิดเผยว่า MMM ถือว่าเป็นบริษัทแรกที่ย้ายจากตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ (LiVEx) เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ ดังนั้น การเข้าระดมทุนในครั้งนี้ ถือเป็นอีกก้าวที่สำคัญของบริษัทฯ   ที่จะเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว รวมถึงยังเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสในการดำเนินธุรกิจสู่การต่อยอดการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนในอนาคต สอดรับกับแนวคิดภายใต้               การเป็น “เพื่อนคู่คิด นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์”              สำหรับเม็ดเงินจากการระดมทุนในครั้งนี้ บริษัทฯ นำไปขยายธุรกิจ โดยใช้ในการวางเป็นเงินประกันสัญญาในธุรกิจการให้บริการที่ปรึกษางานขายโครงการ (BU1) และสัญญาการให้บริการบริหารงานขายโครงการ (BU2) รวมทั้งสัญญาการให้บริการบริหารงานขายแบบวางหลักประกันการซื้อ (Hybrid) อีกทั้งยังใช้เพื่อการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในธุรกิจการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ (BU3) และส่วนที่เหลือเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรองรับการขยายธุรกิจ เพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้นำในด้านการเป็นที่ปรึกษาด้านการขายและการตลาดเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร ตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ ควบคู่กับการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนและสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น ภายใต้นโยบายการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิจากงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทฯ ภายหลังการหักภาษีเงินได้นิติบุคคล และการจัดสรรเงินทุนสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทฯ              อย่างไรก็ตาม จากความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจ สะท้อนถึงผลการดำเนินงานในปี 2565 - 2567 โดยบริษัทฯ มีรายได้จากการขายและบริการเท่ากับ 168.08 ล้านบาท 255.66 ล้านบาท และ 357.88 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่กำไรสุทธิ และอัตรากำไรสุทธิเท่ากับ 35.09 ล้านบาท 47.74 ล้านบาท และ 80.76 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิร้อยละ 20.62 ร้อยละ 18.49 และร้อยละ 22.39 ตามลำดับ              จากการเติบโตดังกล่าว บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายที่จะขยายธุรกิจให้เติบโตและสามารถสร้างผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ผ่านการเพิ่มเครือข่ายนายหน้าอิสระเพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ขยายฐานการเข้าถึงผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อเพิ่มยอดขาย รวมถึงการรักษามาตรฐานและคุณภาพในการให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าปัจจุบันพร้อมกับการขยายการให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าใหม่ เพื่อการเติบโตของรายได้ในอนาคต

AH ต้องฝ่ามรสุม ผลิตรถยนต์เหนื่อย

AH ต้องฝ่ามรสุม ผลิตรถยนต์เหนื่อย

            หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง AH ว่า สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์วันที่ 18 มี.ค. 2025 ► บริษัทให้ข้อมูลแนวโน้มผลประกอบการใน 1Q25 ยังมีโอกาสชะลอตัว QoQ, YoY ตามอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์จากตัวเลขยอดผลิตรถของประเทศไทยในเดือน ม.ค. ตามที่ส.อ.ท. รายงาน -25% YoY ► บริษัทให้มุมมองต่อแนวโน้มอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ปีนี้ ยังไม่สดใสนัก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ระดับสูงทำให้สถาบันเข้มงวดปล่อยสินเชื่อ และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง นอกจากนี้ยังถูกดึงส่วนแบ่งตลาดจาก EV ที่ช่วงแรกยังเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงตลาดรถมือ 2 ที่ราคาตกต่ำ ทำให้ยอดซื้อรถใหม่ลดลง ซึ่งต้องรอติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐในการช่วยเหลือผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีหลายฝ่ายเสนอ เช่น มาตรการสนับสนุนสินเชื่อรถกระบะ และรถเก่าแลกรถใหม่ ► การฟื้นตัวของผลประกอบการ AH จะค่อยเป็นค่อยไป ปี 2025 ตั้งเป้ารายได้ใกล้เคียงปีก่อน แต่คาดอัตรากำไรจะดีกว่าปีก่อน โดยกลยุทธ์การลงทุนในปีนี้ยังเน้นการควบคุมต้นทุนที่เข้มงวดมาก ขณะที่ธุรกิจตัวแทนจำหน่าย (dealership) มีการปรับแบรนด์ใหม่ส่งผลให้อัตรากำไรดีขึ้น ► ปัจจุบันธุรกิจ EV ทำรายได้ราว 5% ของรายได้รวม สำหรับปีนี้มีคำสั่งซื้อจากค่าย CHANGAN และ BYD คาดจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยรับรู้รายได้ปีนี้เต็มปี และจำนวนยอดผลิตรถ EV ที่ค่ายรถยนต์จากจีนต้องผลิต EV มากกว่าปีก่อนตามเงื่อนไขที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาล Our Take ► แนวโน้ม 1Q25 คาดผลประกอบการยังชะลอตัวต่อเนื่อง YoY ตามที่สภาอุตสาหกรรมรายงานตัวเลขผลิตรถยนต์ในเดือน ม.ค. -25% YoY เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้น ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงทำให้สถาบันเข้มงวดปล่อยสินเชื่อและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง นอกจากนี้ยังถูกดึงส่วนแบ่งตลาดจาก EV ที่ช่วงแรกยังเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงตลาดรถมือ 2 ที่ราคาตกต่ำส่งผลให้ยอดซื้อรถใหม่ลดลง ทำให้ค่ายรถยนต์ยังคงปรับลดกำลังการผลิตลง ► ปี 2025 ภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ยังเผชิญความท้าทาย เรามองการลงทุนที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่และกำลังซื้อภายในประเทศที่ยังเปราะบาง เรามองว่าเป้ายอดผลิตรถยนต์ในปีนี้ที่ 1.5 ล้านคันเติบโต 2% มี downside risk ส่วนตลาด EV สำหรับค่ายรถยนต์จีนที่มาตั้งฐานการผลิตในไทย จะเริ่มเดินหน้าผลิต EV มากขึ้นตามมาตรการสนับสนุนการลงทุนจากภาครัฐ แต่ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ามาจำหน่าย อย่างไรก็ตามด้วยค่ายรถจีนส่วนใหญ่มีซัพพลายเออร์ของตัวเองตามมาด้วย มูลค่าคำสั่งซื้อที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยได้รับจึงไม่สูงมากนัก AH มีคำสั่งซื้อจากค่ายรถยนต์ BYD และ CHANGAN แต่มูลค่าไม่สูงมากนัก เราคงประมาณการกำไรปกติปี 2025 ที่ 885 ล้านบาท (+3% YoY) ► เราปรับคำแนะนำจาก “Trading” เป็น “ซื้อ” เราคาดผลประกอบการจะเข้าช่วงต่ำสุดใน 2Q25 ก่อนที่จะฟื้นตัวใน 2H25 จากฐานต่ำ ราคาหุ้นปรับลดลงสะท้อนผลประกอบการที่อ่อนแอ และเพิ่งขึ้นเครื่องหมาย XD ไปเมื่อ 13 มี.ค. 2025 ที่ผ่านมา ซึ่งลงมาซื้อขายที่ PER เพียง 5.0X ซึ่งสะท้อนปัจจัยลบไปพอสมควร เราคงมูลค่าพื้นฐานปี 2025 ที่ 15.50 บาท อิง PER เฉลี่ย 3 ปี -0.50 SD ที่ 6.20x

ฟิลลิป คาด SET Sideways down 1,160 – 1,180 จุด - ล็อคเป้าลงทุน เช็ก!

ฟิลลิป คาด SET Sideways down 1,160 – 1,180 จุด - ล็อคเป้าลงทุน เช็ก!

                 หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงานว่า บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) คาดว่า SET Index จะแกว่งตัวในลักษณะ Sideways down ระหว่าง 1,160 – 1,180 จุด ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในตะวันออกกลางและสงครามการค้า รวมถึงการลดสถานะเสี่ยงก่อนทราบผลการประชุม FOMC แต่ก็ยังมีแรงพยุงจากสัญญาณเชิงบวกในสมรภูมิรัสเซีย-ยูเครน กลยุทธ์การลงทุน Thai ESGX: BTG, CPALL, GULF, KBANK, KTB, SCB, TISCO Commodity: BCP, NER, PSL, PTTEP, TOP Defensive: BCH, BDMS Selective: ASIAN, CENTEL, INTUCH, MINT, PT, SEAFCO, STEC, TFG กังวลสงครามอาวุธและการค้า                  หนีสินทรัพย์เสี่ยง เข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัย: คาดว่าการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึง SET Index จะถูกกดดันจากการลดสถานะเพื่อเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัย โดยสอดคล้องกับราคาทองคำ COMEX ที่ปรับตัวขึ้น 1.15% ปิดที่ $3,040.8 ต่อออนซ์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ท่ามกลางสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง หลังอิสราเอลกลับมาใช้ปฏิบัติการทางอากาศโจมตีฉนวนกาซาอีกครั้งเมื่อวานนี้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 400 ราย และบาดเจ็บหลายร้อยราย ถือเป็นการยุติข้อตกลงหยุดยิงระยะเวลา 2 เดือนกับกลุ่มฮามาส นอกจากนี้ ปธน.ทรัมป์ยังขู่ว่าจะเดินหน้าโจมตีกลุ่มฮูตีจนกว่าจะยอมยุติการโจมตีเรือสินค้าในทะเลแดง และเตือนว่าอิหร่านต้องรับผิดชอบต่อการโจมตีใด ๆ ที่เกิดจากกลุ่มฮูตี ความกังวลผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกจากมาตรการภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ: ปธน.ทรัมป์เตรียมใช้มาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ในวันที่ 2 เม.ย. 68 ติดตามการประชุม FOMC และ BoJ                  คาดว่า SET Index จะเผชิญแรงขายลดสถานะเสี่ยงก่อนทราบผลการประชุม FOMC ในคืนนี้ โดยตลาดคาดการณ์ว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ 4.25-4.50% สิ่งสำคัญที่ต้องติดตามคือ Dot Plot ซึ่งจะบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด รวมถึง Economic Projection ที่จะบ่งชี้ทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังต้องติดตามการประชุม BoJ โดยคาดว่า BoJ จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ 0.50% แต่ก็อาจมีการส่งสัญญาณ Hawkish หรือการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต คลายกังวลไปหนึ่งสมรภูมิ                  การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึง SET Index ยังพอมีแรงพยุงเบา ๆ จากความคลายกังวลสงครามรัสเซีย-ยูเครน หลังปธน.ทรัมป์และปธน.ปูตินเห็นพ้องกันที่จะให้มีการหยุดยิงเป็นเวลา 30 วัน โดยจะเน้นเป้าหมายด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานในการทำสงครามยูเครน และจะเริ่มต้นเจรจาหยุดยิงในวงกว้าง แม้ปัจจัยข้างต้นจะเป็น Sentiment เชิงลบต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน ซึ่งสอดคล้องกับราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวลง 1.01% ปิดที่ $66.90 ต่อบาร์เรล แต่ก็ยังมองว่าเป็นโอกาสในการเก็งกำไร ท่ามกลางสถานการณ์ตะวันออกกลางที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ อาจมีแรงเก็งกำไรในหุ้น GULF และ INTUCH จากนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง ก่อนที่จะขึ้น SP ในวันพรุ่งนี้ ปัจจัยเพิ่มเติม (+) กรมธุรกิจพลังงาน เผยภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเดือน ม.ค. 68 อยู่ที่ 157.56 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้น 2.8% y-y เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวและบริการ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (+) กระทรวงท่องเที่ยวฯ เผยตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 16 มี.ค. 68 ไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศแล้วทั้งสิ้น 8.3 ล้านคน สร้างรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 4.06 แสนล้านบาท (-) สื่อของรัฐบาลจีน เตือนว่าภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เนื่องจากประเทศอื่น ๆ ตอบโต้ด้วยการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ในอัตราสูง ซึ่งอาจเปิดโอกาสให้จีนมีมาตรการเพิ่มเติม

[Vision Exclusive] GULF ดาต้าเซ็นเตอร์โตแรง เดินหน้าสู่เป้าหมาย 200MW

[Vision Exclusive] GULF ดาต้าเซ็นเตอร์โตแรง เดินหน้าสู่เป้าหมาย 200MW

          หุ้นวิชั่น - GULF ธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์โตแรง ดีมานด์ดีต่อเนื่อง เปิดเฟสแรก 25 MW ที่สมุทรปราการ เม.ย. นี้ พร้อมล่าสุด BOI อนุมัติอีก โครงการขนาด 35 MW เงินลงทุนกว่า 1.34 หมื่นล้านบาท เดินหน้าขยายสู่ ถึง 100-200 เมกะวัตต์ ใน 3-5 ปี ส่วนการควบรวม INTUCH จะหยุดพักการซื้อขายตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค. 68 – 2 เม.ย. 68 จะใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ “GULF” ในการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.68 เป็นต้นไป           นางสาวยุพาพิน วังวิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF เปิดเผยว่า GULF เดินหน้าธุรกิจศูนย์ข้อมูล (data center) มีแผนที่จะทยอยเปิดให้บริการเฟสแรกขนาด 25 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ที่สมุทรปราการ ในเดือนเมษายนปีนี้ นอกจากนี้ล่าสุด มคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนโครงการ Data Center 3 โครงการจากประเทศไทย จีน และสิงคโปร์ ได้แก่ บริษัท จีเอสเอ ดาต้า เซนเตอร์ 02 จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างกลุ่ม Gulf, Singapore Telecommunications และ AIS เงินลงทุน 13,480 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี , บริษัท Beijing Haoyang Cloud Data Technology จากประเทศจีน เงินลงทุน 72,670 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง และบริษัทในเครือ Empyrion Digital จากประเทศสิงคโปร์ เงินลงทุน 4,720 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โดยบริษัท จีเอสเอ ดาต้า เซนเตอร์ 02 จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างกลุ่ม Gulf, Singapore Telecommunications และ AIS เงินลงทุน 13,480 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี เป็นโครงการร่วมทุนของบริษัท ขนาด 35 เมกะวัตต์ โดยอยู่ระหว่างการพัฒนา คาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ในปลายปี 2026 ซึ่งบริษัทเชื่อว่าธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ จะเติบโตต่อเนื่อง มั่นใจว่าธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์จะมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลในประเทศไทย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) และการใช้งานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทั้งในภาคเอกชนและภาครัฐ โดยบริษัทฯ มีแผนที่จะขยายขนาดการให้บริการเพิ่มขึ้นเป็น 100-200 เมกะวัตต์ ภายใน 3-5 ปีข้างหน้า เพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านการประมวลผลข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ           นอกจากนี้ ในปี 2568 บริษัทฯ คาดว่ารายได้จะเติบโตขึ้น 20-25% โดยโครงการโรงไฟฟ้าต่าง ๆ ของบริษัทฯ จะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เพิ่มอีกประมาณ 1,500 เมกะวัตต์ในปีนี้ สำหรับธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค โครงการต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการพัฒนายังคงเป็นไปตามแผน โดยโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางใหญ่-กาญจนบุรี (M81) มีกำหนดจะเปิดดำเนินการในปี 2568 ขณะที่สายบางปะอิน-นครราชสีมา (M6) มีกำหนดจะเปิดดำเนินการในปี 2569 ในส่วนของโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดเฟส 3 ณ ปัจจุบัน ได้ดำเนินการถมทะเลเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย และมีแผนที่จะเริ่มก่อสร้างสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG terminal) ในช่วงกลางปีนี้ อีกทั้งโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 มีกำหนดรับมอบพื้นที่จากการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อเริ่มก่อสร้างท่าเทียบเรือในช่วงปลายปี 2568           ส่วนการควบบริษัทระหว่างบริษัทฯ และ INTUCH โดย GULF จะหยุดพักการซื้อขายหุ้นของบริษัทฯ เป็นระยะเวลา 9 วันทำการ ต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2568 ถึงวันที่ 2 เมษายน 2568           ภายหลังการประชุมผู้ถือหุ้นร่วมและการจดทะเบียนการควบบริษัทแล้วเสร็จ บริษัทฯ และ INTUCH จะสิ้นสภาพจากการเป็นนิติบุคคล และเกิดเป็นบริษัทมหาชนจำกัดขึ้นใหม่ (“NewCo”) โดย NewCo จะยื่นคำขอต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้รับหุ้นของ NewCo เข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แทนที่หุ้นของบริษัทฯ และ INTUCH ซึ่งจะถูกเพิกถอนออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดย NewCo จะใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์คือ GULF ในการนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังกล่าว           ดังนั้น เพื่อให้ NewCo สามารถใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ “GULF” ได้ บริษัทฯ จึงขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงชื่อย่อหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ในระหว่างหยุดพักการซื้อขายคือตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2568 – 2 เมษายน 2568 เป็น GULFI และ NewCo จะใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ “GULF” ในการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2568 เป็นต้นไป รายงานโดย : ณัฏฐ์ชญา ปุริมปรัชญ์ภัทร บรรณาธิการข่าว Hoonvision

BEM ตระหนกเกินเหตุ เปิดบริการ-พื้นฐานไม่เปลี่ยน

BEM ตระหนกเกินเหตุ เปิดบริการ-พื้นฐานไม่เปลี่ยน

          หุ้นวิชั่น – วิตกมากเกินไป  BEM แจง สะพานทรุดตัว พระราม 2 ไม่กระทบการดำเนินงาน  เหตุปริมาณการจราจรที่ด่านแค่ 0.03% ของการจราจรรวม โบรกมอง BEM มีประกัน Business interruption ที่สามารถ claim ได้  ล่าสุดเริ่มเปิดด่านให้บริการ หรือใช้ด่านใกล้เคียงแทนแล้ว แนะ ซื้อสะสม เคาะพื้นฐาน 10.85 บาท           ดร.สมบัติ  กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM กล่าวว่า ขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์สะพานก่อสร้างทรุดตัวช่วงหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษดาวคะนอง เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต และส่งผลกระทบด้านการจราจรกับผู้ใช้ทาง  บริษัทเชื่อมั่นว่าภาครัฐจะสามารถแก้ไขปัญหาเพื่อบรรเทาผลกระทบได้อย่างรวดเร็ว สำหรับทางพิเศษศรีรัชเชื่อมต่อกับทางพิเศษเฉลิมมหานครบริเวณต่างระดับบางโคล่ ที่ BEM ดูแลยังสามารถสัญจรได้ตามปกติ           “ทั้งนี้ ในส่วนของนักลงทุนที่อาจเกิดความกังวล BEM ขอชี้แจงว่าเหตุการณ์ดังกล่าวมีผลกระทบต่อบริษัทเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากปริมาณจราจรที่ด่านดังกล่าวคิดเป็นเพียง 0.03% ของปริมาณจราจรรวม อีกทั้งปัจจุบันการทางพิเศษแห่งประเทศไทยก็เริ่มเปิดด่านให้บริการแล้ว และมีทางเลือกให้เข้าทางด่วนที่ด่านใกล้เคียงอื่นๆ แทน ขอให้มั่นใจว่าจะไม่มีผลต่อการดำเนินงานของบริษัท” ดร.สมบัติกล่าว BEM เคลมประกันได้           บล.กสิกรไทย ระบุ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) รายได้ที่ลดลงจากการปิดทางด่วน สามารถเคลมประกันได้ จากกรณีเกิดเหตุคานสะพานพระราม 2 ถล่ม ทำให้ ทางด่วนเฉลิมมหานคร บริเวณด่านดาวคะนองขาเข้าและขาออกไม่สามารถใช้งานได้ เบื้องต้นผู้ว่าการทางพิเศษ (กทพ.) คาดว่าจะใช้เวลาเคลียร์พื้นที่ไม่เกิน 1 สัปดาห์สำหรับด่านขาเข้าและ ใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือนสำหรับด่านขาออก           ฝ่ายวิเคราะห์มีมุมมองเชิงลบกับ sentiment แต่เป็นกลางกับปัจจัยพื้นฐาน เนื่องจาก BEM มีประกัน Business interruption ที่สามารถ claim ได้ คาดว่าจะเคลมได้เช่นเดียวกับเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2011 (ปี 2554)           ปัจจุบันทางด่วนเฉลิมมหานครมีผู้เดินทางประมาณ 3.2 แสนคนต่อวัน ในกรณีร้ายแรงที่สุดหากสมมติ ให้จำนวนผู้โดยสารหายไปทั้งเส้นเป็นเวลา 1 เดือนจะกระทบประมาณการณ์รายได้ปี 2568 ของฝ่ายวิเคราะห์ที่ -1% กำไรปกติ -2.6% และคิดเป็นผลกระทบกับราคาเป้าหมาย 0.06 บาทต่อหุ้น (0.6% ของราคาเป้าหมายที่ 10.85 บาท)           มุมมอง KS Valuation and Recommendation คงคำแนะนำ ”ซื้อ” BEM ที่ราคาเป้าหมาย 10.85 บาท มีมุมมองเชิงลบกับ sentiment แต่เป็นกลางกับปัจจัยพื้นฐานเนื่องจากบริษัทสามารถเคลมประกันได้ และคาดว่าทาง กทพ. และผู้รับเหมาก็มีประกันเช่นกัน จึงไม่กระทบกับประมาณการณ์กำไรของเรา แต่หากกรณีร้ายแรงที่สุดก็มีผลกระทบจำกัด           บล.หยวนต้า ระบุ ราคาหุ้นที่อ่อนตัวลงเป็นจังหวะ “ซื้อสะสม” โดยจากกรณีเหตุคานสะพานพระราม 2 ถล่ม ส่งผลกระทบทำให้ไม่สามารถใช้ทางพิเศษเฉลิมมหานครบริเวณด่านดาวคะนองได้ ทั้งนี้ฝ่ายวิเคราะห์ตรวจสอบกับทางบริษัทแล้วไม่ได้มีผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญกับบริษัท เนื่องจากผู้ใช้ทางด่วนสามารถเปลี่ยนไปใช้ทางด่วนเส้นทางอื่นแทนได้และ BEM สามารถเคลมค่าเสียหายทั้งหมดกับประกันได้

[Vision Exclusive] AKR 'หม้อแปลงใหม่' ลดต้นทุน - หนุนมาร์จิ้นฟู

[Vision Exclusive] AKR 'หม้อแปลงใหม่' ลดต้นทุน - หนุนมาร์จิ้นฟู

           หุ้นวิชั่น - AKR เดินเกมเจาะตลาดเอกชน เปิดตัว'หม้อแปลงไฟฟ้าแห้ง' ลุยผลิตในประเทศ กดต้นทุน กระบวนการผลิตลด หนุนมาร์จิ้นฟู ด้านแม่ทัพหญิง "ร่มพิศม์ศรี น้อยใจบุญ" เชื่อดีมานด์ใช้หม้อแปลงไฟฟ้าในปี 68 ขยายตัว 2.5% ตามปริมาณการใช้ไฟ จ้องชิงงานใหม่ 3 พันล้านบาท ประกาศจ่ายปันผล 0.10 บาทต่อหุ้น เตรียม XD 13 พ.ค.นี้            นางสาวร่มพิศม์ศรี น้อยใจบุญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) หรือ AKR เปิดเผยกับทีมข่าวหุ้นวิชั่นว่า กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจปี 2568 บริษัทมุ่งเน้นการขยายตลาดภาคเอกชนมากขึ้น เนื่องจากงบประมาณการลงทุนของหน่วยงานไฟฟ้าภาครัฐปีนี้มีแนวโน้มลดลงถึง 40% ปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนรายได้จากลูกค้าภาครัฐ 30% และภาคเอกชน 70% อย่างไรก็ตาม คาดว่าสัดส่วนรายได้จากภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตามแผนการส่งมอบหม้อแปลงไฟฟ้าให้แก่ลูกค้าภาคเอกชน            สำหรับแผนการดำเนินงานปี 2568 บริษัทเตรียมผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าแห้ง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยมีต้นทุนการผลิตที่ลดลง เนื่องจากบริษัทสามารถนำวัตถุดิบคอยล์ภายในประเทศมาประกอบและผลิตเพื่อจำหน่าย แทนการนำเข้าคอยล์จากต่างประเทศ ส่งผลให้ต้นทุนต่ำลง นอกจากนี้การใช้คอยล์ภายในประเทศยังช่วยลดระยะเวลาการผลิตจากเดิม 6-8 เดือน เหลือเพียง 2-3 เดือน ทำให้สามารถส่งมอบสินค้าได้รวดเร็วยิ่งขึ้น บริษัทคาดว่าหม้อแปลงไฟฟ้าแบบแห้งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันอัตราการทำกำไร (มาร์จิ้น) ของ AKR ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง            ทั้งนี้ กลุ่มลูกค้าหลักของหม้อแปลงไฟฟ้าแบบแห้ง ได้แก่ กลุ่มอาคารสูง โดยหม้อแปลงไฟฟ้าแบบแห้งมีความปลอดภัยสูงกว่าหม้อแปลงไฟฟ้าแบบน้ำมันหรือรูปแบบอื่น ๆ ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างทำการตลาด เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าอาคารสูง โดยตั้งเป้าขายหม้อแปลงแบบแห้งปีแรกที่ 60 ลูก            สำหรับอุตสาหกรรมหม้อแปลงไฟฟ้าในปี 2568 คาดว่าความต้องการใช้หม้อแปลงไฟฟ้าจะเติบโตตามการใช้ไฟฟ้าที่ขยายตัวราว 2.5% ขณะที่การประมูลจากการไฟฟ้าในปีนี้ คาดว่าจะมีมูลค่ารวมประมาณ 3,000 ล้านบาท โดย AKR ประเมินว่าจะสามารถคว้างานได้ประมาณ 10-15% ของมูลค่างานประมูลใหม่            ด้านการเติบโตของ AKR ในปี 2568 คาดว่าจะมาจากธุรกิจจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้าให้กับลูกค้าหน่วยงานรัฐและเอกชน ซึ่งคิดเป็น 80% ของรายได้รวม ขณะที่สัดส่วนรายได้รองลงมาคือ ธุรกิจรับจ้างติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ คิดเป็น 12% ของรายได้รวม ส่วนที่เหลือมาจากบริการซ่อมบำรุงและงานอื่น ๆ รวมกัน คิดเป็น 8% ของรายได้รวม            ปัจจุบันบริษัทมีงานในมือ (Backlog) มูลค่า 500 ล้านบาท คาดว่าจะทยอยรับรู้รายได้ทั้งหมดภายในไตรมาส 2/2568 ขณะเดียวกัน คาดว่าในปีนี้จะมีงานใหม่เข้ามาเติมพอร์ต Backlog อย่างต่อเนื่อง            นางสาวร่มพิศม์ศรี กล่าวต่อว่า สำหรับผลประกอบการปี 2567 ที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้รวมอยู่ที่ 2,587.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.71% หรือคิดเป็น 291.83 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้ 2,295.43 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิเท่ากับ 280.95 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.31% หรือคิดเป็น 220.68 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 220.68 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นผลประกอบการที่เติบโตเกินคาด เนื่องจากในปี 2567 งบประมาณการไฟฟ้าปรับปรุงและเปลี่ยนหม้อแปลงใหม่แทนหม้อแปลงเก่า พร้อมใช้งบประมาณจำนวนมาก ส่งผลให้บริษัทมีงานเพิ่มขึ้นตามโครงการดังกล่าว            พร้อมกันนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการมีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสดให้แก่ผู้ถือหุ้น สำหรับผลการดำเนินงานงวดวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2567 ในอัตรา 0.10 บาทต่อหุ้น โดยจะกำหนดวันขึ้นเครื่องหมาย XD ซึ่งเป็นวันที่ผู้ซื้อหุ้นจะไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินปันผล ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2568 และกำหนดวันรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผล (Record Date) ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2568 โดยจะดำเนินการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในวันที่ 26 พฤษภาคม 2568

[Vision Exclusive] ATP30 วิ่งรถบัสอีวีใหม่ 20 คัน  โค้งแรก Utilization ดีด 10%

[Vision Exclusive] ATP30 วิ่งรถบัสอีวีใหม่ 20 คัน โค้งแรก Utilization ดีด 10%

           หุ้นวิชั่น - ATP30 ส่งสัญญาณโค้งแรกสดใส รับลูกค้าเพิ่ม Utilization โต 10% บิ๊กบอส ‘ปิยะ เตชากูล’ คุมต้นทุนอยู่หมัด เตรียมเซ็นสัญญาให้บริการรถบัสไฟฟ้าใหม่ 20 คัน คาดใช้เงินลงทุน 90 ล้านบาท จากงบรวม 130 ล้านบาท มั่นใจหนุนมาร์จิ้นดีดแซงรายได้ ลุ้นผลงานปีนี้ทำ All Time High             นายปิยะ เตชากูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอทีพี 30 จำกัด (มหาชน) หรือ ATP30 เปิดเผยกับ ทีมข่าวหุ้นวิชั่น ว่า แนวโน้มธุรกิจในไตรมาส 1/2568 อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อเนื่อง โดยได้รับปัจจัยหนุนจากจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น รวมถึงอัตราการใช้บริการ (Utilization) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 10% ปัจจัยหลักมาจากการนำรถใหม่เข้ามาให้บริการเพิ่มเติม รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้รถเดิม ส่งผลให้ภาพรวมการดำเนินงานของบริษัทในไตรมาสแรกปีนี้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง            บริษัทสามารถควบคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญคือการนำรถโดยสารไฟฟ้ามาให้บริการ ซึ่งช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานได้มากกว่าการใช้รถน้ำมัน ส่งผลให้แนวโน้มอัตรากำไร (มาร์จิ้น) มีโอกาสเติบโตมากกว่ารายได้            นอกจากนี้ บริษัทคาดว่าไตรมาส 1/2568 จะเป็นฐานการเติบโตที่สำคัญสำหรับไตรมาส 2-4/2568 ตามจำนวนลูกค้าใหม่ที่ทยอยเข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี            ในไตรมาส 1/2568 บริษัทมีลูกค้าใหม่เริ่มใช้บริการเพิ่มขึ้น 2 ราย ขณะเดียวกัน ยังเห็นสัญญาณความต้องการใช้บริการรถรับส่งพนักงานในหลายอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น            ทั้งนี้ ในไตรมาส 1/2568 บริษัทได้เพิ่มจำนวนรถให้บริการอีกกว่า 10 คัน จากเดิมที่ ณ สิ้นปี 2567 มีรถให้บริการรวม 729 คัน แบ่งเป็น รถบัส 277 คัน, รถมินิบัส 51 คัน, รถตู้ 383 คัน, รถกระบะ 2 คัน และ รถไฟฟ้า 16 คัน ซึ่งในจำนวนรถไฟฟ้าดังกล่าว ประกอบด้วย รถตู้มินิแวนไฟฟ้า 3 คัน, รถบัสไฟฟ้า 3 คัน และ รถมินิบัสไฟฟ้า 10 คัน            นอกจากนี้ ATP30 มี Backlog มูลค่ารวม 1,943 ล้านบาท และ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 บริษัทให้บริการลูกค้าจำนวน 65 ราย โดยยังคงเดินหน้าขยายฐานลูกค้าและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการอย่างต่อเนื่อง            ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับลูกค้ารายใหม่ เพื่อให้บริการรับส่งพนักงานด้วยรถไฟฟ้า พร้อมเตรียมเซ็นสัญญาเพิ่มอีกประมาณ 20 คัน โดยคาดว่าจะใช้เงินลงทุนราว 90 ล้านบาท จากงบลงทุนทั้งหมด 130 ล้านบาท ในปี 2568            อย่างไรก็ตาม หากสามารถเพิ่มจำนวนรถบัสรับส่งพนักงานได้ตามแผน บริษัทคาดว่ารายได้จะเติบโตเฉลี่ย เดือนละ 10% และจะสามารถรับรู้รายได้จากลูกค้าใหม่เต็มปีในปี 2569            นายปิยะ กล่าวต่อว่า บริษัทมั่นใจทิศทางรายได้ปี 2568 รายได้จะทุบสถิติใหม่ หรือทำ All time high จากปี 2567 ที่มีรายได้ อยู่ที่ 728.71 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.89% และมีกำไรสุทธิปี 2567 อยู่ที่ 45.53 ล้านบาท เติบโต 57.11% รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

บล.กรุงไทยฯ แนะ XIAOMI80 กำไร Q4 โตดีกว่าคาด

บล.กรุงไทยฯ แนะ XIAOMI80 กำไร Q4 โตดีกว่าคาด

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ระบุ Xiaomi (XIAOMI80) กำไร Q4 โต 69%YoY ดีกว่าคาด 27% จากรายได้โต 49%YoY หนุนจากทั้งยอดขายรถ EV และ smartphone ที่ดีกว่าคาด            รายได้รวม 4Q67 อยู่ที่ 1.09 แสนล้านหยวน เติบโต 49%YoY เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนและดีกว่าคาด โดยแบ่งเป็นรายได้ Smartphone ที่ 5.13 หมื่นล้านหยวน เติบโต 16%YoY และดีกว่าคาด ซึ่งมาจากยอดส่งมอบสมาร์ทโฟนที่ 42.7 ล้านเครื่องเพิ่มขึ้น 5%YoY, IoT และ Lifestyle ที่ 3.09 หมื่นล้านหยวน เติบโต 52%YoY และดีกว่าคาด เมื่อรวมทั้งปี 67 ยอดขายเครื่องปรับอากาศโต 50%YoY ตู้เย็นโต 30% และเครื่องซักผ้าโต 45% , Internet service (Ads) ที่ 9.34 พันล้านหยวนเติบโต 18%YoY และดีกว่าคาด จากยอด MAUs ทั่วโลกกว่า 702.3 ล้านจุดเติบโต 9.5%YoY, EV และอื่นๆ ที่ 1.67 หมื่นล้านหยวนจาก 9.7 พันล้านหยวนในไตรมาสก่อนและดีกว่าคาด            อัตรากำไรขั้นต้นปรับลดลงเป็น 20.6% แต่ดีกว่าคาด ซึ่งธุรกิจ EV มีอัตรากำไรขั้นต้น 20.4 เพิ่มขึ้น QoQ จาก 17.1% ขณะที่ Smartphone และ IoT มีอัตรากำไรขั้นต้นลดลงเป็น 20.6% จาก 20.8% ในไตรมาสก่อน            กำไรปกติเติบโต 69%YoY มาที่ 8.32 พันล้านหยวนซึ่งดีกว่าคาด            บริษัทปรับเป้ายอดขาย EV ปี 68 ขึ้นเป็น 350,000 คันจาก 300,000 คัน ภายหลังผลตอบรับที่ดีจาก Xiaomi SU7 Ultra ที่เปิดตัวช่วง ก.พ.

TERA ปูพรมเจาะงานรัฐ โชว์แบ็กล็อก 315 ล้าน

TERA ปูพรมเจาะงานรัฐ โชว์แบ็กล็อก 315 ล้าน

          หุ้นวิชั่น – TERA ปักธงเป้ารายได้ ปี 68 แตะ 626 ล้านบาท จากปีก่อนที่ 505.50 ล้านบาท โชว์งานในมือ (Backlog) 315.65 ล้านบาท ปูพรมเจาะงานรัฐ เล็งประมูลโปรเจ็กต์ใหม่ 120 ล้านบาท เสริมแกร่ง           นายสุรสิทธิ์ คิวประสบศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เทอร์ราไบท์ พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ TERA เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 2568 แตะ 626 ล้านบาท จากรายได้รวมปีที่ผ่านมา 505.50 ล้านบาท คาดรายได้หลักมาจากบริการ Recurring ที่ทางบริษัทได้พัฒนาตอบสนองลูกค้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกค้าเอกชน และบริษัทวางแผนจะขยายการให้บริการลูกค้าภาครัฐมากขึ้น           สำหรับรายได้ที่ตั้งเป้าไว้ที่ 626 ล้านบาทนั้น แบ่งเป็น บริการด้านการขาย 45% และส่วนที่เหลือจะมาจากธุรกิจบริการอื่นๆ และคาดธุรกิจบริการมีโอกาสเติบโตเพิ่มขึ้นตามการให้บริการ ในส่วนงานในมือ หรือ Backlog ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ 315.65 ล้านบาท (ไม่รวมรายได้ที่รับรู้ไปแล้ว ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. – 9 มี.ค. 68) และบริษัทอยู่ระหว่างรอเข้าประมูลงานใหม่ของภาครัฐอีก 120 ล้านบาท           "ปีนี้ได้มีกลุ่มธุรกิจใหม่ 2 ธุรกิจ ที่คาดว่าจะช่วยให้รายได้ในปีนี้เพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจาก PROJECT BASE และบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่ต้องเข้าตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากบริษัทมีความเชี่ยวชาญด้านไอที และการส่งเสริมอุตสาหกรรมด้านเอไอในประเทศไทย โดยเฉพาะตอนนี้ได้มีโครงการ Data Center จึงคาดว่าจะส่งผลดีต่อบริษัทในภาพรวม" นายสุรสิทธิ์ กล่าว ทั้งนี้ บริการแอพพลิเคชั่น SKYFROG นั้น มีการเติบโตสูงจากกลุ่มลูกค้าโลจิสติกส์ ซึ่งตอนนี้ได้ทยอยรับรู้รายได้แล้ว ส่วนบริการ T.Cloud Gen3 ที่มีการลงทุนตั้งเป้าไว้ 60 ล้านบาทนั้น บริษัทได้ลงทุนจริง 40 ล้านบาท โดยพัฒนาด้านซอฟต์แวร์, ฮาร์ดแวร์ และเช่า Data Center โดยไม่ได้ใช้เงินเต็มจำนวน แต่ลงทุนแบบระมัดระวัง

BTG เลิกกิจการ 3 บริษัท รื้อผู้ถือหุ้นบริษัทย่อยทางอ้อม

BTG เลิกกิจการ 3 บริษัท รื้อผู้ถือหุ้นบริษัทย่อยทางอ้อม

           บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) (BTG) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 2/2568 เมื่อวันอังคารที่ 18 มีนาคม 2568 เกี่ยวกับการเลิกกิจการของบริษัทย่อยทางอ้อม และการปรับโครงสร้างในบริษัทย่อยทางอ้อม โดยมีรายละเอียดดังนี้ มีมติอนุมัติให้ปรับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัท เบทาโกร ฟู้ดส์ (สิงคโปร์) จำกัด (เบทาโกร ฟู้ดส์) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยโดยตรงที่บริษัทถือหุ้นอยู่ร้อยละ 75 โดยเลิกกิจการของบริษัทย่อยทางอ้อม จำนวน 3 บริษัท ได้แก่ 1. Eggriculture Foods Limited 2. Alliance Glory Ventures Limited 3. New Global Alliance Pte. Ltd. ทำให้บริษัทดังกล่าวสิ้นสภาพการเป็นบริษัทย่อยทางอ้อมของบริษัท เนื่องจากจะปรับโครงสร้างในบริษัทย่อยทางอ้อม            ทั้งนี้การเลิกกิจการดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานหรือฐานะการเงินของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ และบริษัทจะดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนเลิกบริษัทภายในปี 2568 และชำระบัญชี ให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดต่อไป มีมติอนุมัติการเพิ่มทุนและปรับโครงสร้างการถือหุ้นใน BlossomsFood Pte. Ltd. (BF) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ทางอ้อมของบริษัท ถือหุ้นผ่านบริษัท N&N (ถือหุ้นทั้งหมดโดยเบทาโกร ฟู้ดส์ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นใน สัดส่วนร้อยละ 75) ประกอบธุรกิจจัดหาสินค้าและบริการ เกี่ยวกับอาหารและอุปกรณ์สำหรับศูนย์ดูแลเด็กใน ประเทศสิงคโปร์เพิ่มทุนจากทุนจดทะเบียนเดิม 200,000 หุ้น เป็น 500,000 หุ้น โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 300,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 000005 SGD คิดเป็นมูลค่า 1.5 SGD เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้น โดย Mr. Ma Chin Chew ซึ่งไม่เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัท จะเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวทั้งหมด ภายหลังการเข้าทำรายการจะทำให้ BF ถือหุ้นลดลงจากเดิม ร้อยละ 100 เป็นร้อยละ 40 และเปลี่ยนสถานะของ BF เป็นบริษัทร่วมทางอ้อมของบริษัท

HEALTH ปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น “วาสนา อินทะแสง”ขายหุ้น ให้ ‘เฉลิมพงษ์’ สัดส่วน 11.83%

HEALTH ปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น “วาสนา อินทะแสง”ขายหุ้น ให้ ‘เฉลิมพงษ์’ สัดส่วน 11.83%

          หุ้นวิชั่น - ตามที่ บริษัท เฮลท์ เอ็มไพร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (“บริษัท/HEALTH”) ทราบจากแบบรายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ (“แบบ 246-2”) เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่รายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“ก.ล.ต.”) ดังนี้           เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2568 นาย เฉลิมพงษ์ มหาวาณิชย์วงศ์ ได้ยื่นแบบ 246-2 ต่อ ก.ล.ต. เพื่อแจ้งการได้มาซึ่งหุ้นสามัญของ HEALTH จาก น.ส. วาสนา อินทะแสง โดยมีการซื้อขายกันโดยตรงเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2568 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 50,000,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 11.83% ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายและชำระแล้ว           ทั้งนี้ บริษัทขอเรียนว่า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างคณะกรรมการบริษัท โครงสร้าง

‘ซีพี แอ็กซ์ตร้า’ x ‘กลุ่ม ปตท.’  เปิดตัว “AXTRA Green Together”

‘ซีพี แอ็กซ์ตร้า’ x ‘กลุ่ม ปตท.’ เปิดตัว “AXTRA Green Together”

           บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) หรือ CPAXT ผู้ดำเนินธุรกิจ “แม็คโคร-โลตัส” ร่วมกับ กลุ่ม ปตท. นำโดย บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  หรือ PTT โดยโครงการบริหารการสร้างประโยชน์ร่วมธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น (Petrochemical and Refining Integrated Synergy Management ; PRISM) เปิดตัวโครงการ “AXTRA Green Together” ขับเคลื่อนการจัดการขยะและส่งเสริมให้คนไทยมีส่วนร่วมในการลดปัญหาขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน ตอกย้ำความมุ่งมั่นสู่ผู้นำด้านการจัดการขยะในประเทศไทย โดยจัดตั้งจุดรับขวดพลาสติกใช้แล้ว (PET) ที่แม็คโครและโลตัส ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งจะนำขวดพลาสติก PET เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและอัพไซคลิ่งด้วยระบบบริหารจัดการแบบครบวงจรผ่าน GC YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม เพื่อสร้างคุณค่าเปลี่ยนเป็นเสื้อกีฬา และมอบให้กับเยาวชนในโรงเรียนทั่วไทย โครงการนี้ไม่เพียงช่วยลดปริมาณขยะพลาสติก ยังเป็นการร่วมเฉลิมฉลอง  วันรีไซเคิลโลก พร้อมปลุกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม สอดคล้องเป้าหมายของ ซีพี แอ็กซ์ตร้า ในการลดขยะสู่หลุมฝังกลบให้เป็นศูนย์ภายในปี 2573 และเป้าหมายของกลุ่ม ปตท. ในการมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission)            นางศิริพร เดชสิงห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบภายใต้หลัก ESG “ที่ ซีพี แอ็กซ์ตร้า เราให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ ครอบคลุมทั้งสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล โดยหนึ่งในเป้าหมายหลักของเรา คือ การส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ผ่านการลดการทิ้งขยะสู่หลุมฝังกลบ ซึ่งรวมถึงบรรจุภัณฑ์พลาสติก สำหรับโครงการ ‘AXTRA Green Together’ เราตั้งเป้ารวบรวมขวดพลาสติกให้ได้ 1,400,000 ขวด เพื่อนำมาสร้างมูลค่าเพิ่ม และนำกลับมาเป็นเสื้อกีฬา อัพไซเคิล มอบให้กับเยาวชนทั่วประเทศ เราเชื่อว่าความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจะเป็นพลังสำคัญในการลดปริมาณขยะ บรรเทาภาวะโลกร้อน และสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อโลกที่ยั่งยืน”            นางชนัญชิดา วิบูลคณารักษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกลยุทธ์องค์กร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC กล่าวว่า  “GC มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้ามาสนับสนุนโครงการ “AXTRA Green Together” นับเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือสำคัญในการสร้างจิตสำนึก ส่งเสริมพฤติกรรมคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง ช่วยลดปริมาณขยะจากต้นทาง ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) กิจกรรมครั้งนี้ ได้นำ GC YOUเทิร์น ระบบการบริหารจัดการพลาสติกใช้แล้วครบวงจรเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ AXTRA Green Together ในการส่งขวดพลาสติก PET ใช้แล้ว เข้าสู่ระบบรีไซเคิลอย่างถูกวิธี ซึ่งการขนส่งนั้น ได้ความร่วมมือจาก บริษัท เวสท์บาย เดลิเวอรี่ จำกัด (WasteBuy Delivery) ผู้ดำเนินธุรกิจด้าน            โลจิสติกส์จัดการขยะรีไซเคิล หนึ่งในพันธมิตรของ GC YOUเทิร์น เข้ามามีส่วนร่วมในการขนส่งขวดพลาสติก PET ใช้แล้วจากสาขาแม็คโครและโลตัส ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลมาตรฐานสูงผ่านบริษัท เอ็นวิคโค จำกัด ผู้ผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล rPET และ rHDPE มาตรฐานโลกของ GC” โครงการ AXTRA Green Together สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ ซีพี แอ็กซ์ตร้า ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ ชุมชน และประชาชนทั่วไป เพื่อร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อมและผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ง่ายๆ เพียงนำขวดพลาสติก PET ใช้แล้วมาทิ้งที่จุดรับขวดที่แม็คโครและโลตัส ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป [PR News]

BEM ปิดทางด่วนไม่กระทบ โบรกมองเคลมประกันได้

BEM ปิดทางด่วนไม่กระทบ โบรกมองเคลมประกันได้

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.กสิกรไทย ระบุ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) รายได้ที่ลดลงจากการปิดทางด่วน สามารถเคลมประกันได้           จากกรณีเกิดเหตุคานสะพานพระราม 2 ถล่ม ทำให้ ทางด่วนเฉลิมมหานคร บริเวณด่านดาวคะนองขาเข้าและขาออกไม่สามารถใช้งานได้ เบื้องต้นผู้ว่าการทางพิเศษ (กทพ.) คาดว่าจะใช้เวลาเคลียร์พื้นที่ไม่เกิน 1 สัปดาห์สำหรับด่านขาเข้าและ ใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือนสำหรับด่านขาออก           ฝ่ายวิเคราะห์มีมุมมองเชิงลบกับ sentiment แต่เป็นกลางกับปัจจัยพื้นฐาน เนื่องจาก BEM มีประกัน Business interruption ที่สามารถ claim ได้ คาดว่าจะเคลมได้เช่นเดียวกับเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2011 (ปี 2554)           ปัจจุบันทางด่วนเฉลิมมหานครมีผู้เดินทางประมาณ 3.2 แสนคนต่อวัน ในกรณีร้ายแรงที่สุดหากสมมติ ให้จำนวนผู้โดยสารหายไปทั้งเส้นเป็นเวลา 1 เดือนจะกระทบประมาณการณ์รายได้ปี 2568 ของฝ่ายวิเคราะห์ที่ -1% กำไรปกติ -2.6% และคิดเป็นผลกระทบกับราคาเป้าหมาย 0.06 บาทต่อหุ้น (0.6% ของราคาเป้าหมายที่ 10.85 บาท)           มุมมอง KS Valuation and Recommendation คงคำแนะนำ ”ซื้อ” BEM ที่ราคาเป้าหมาย 10.85 บาท มีมุมมองเชิงลบกับ sentiment แต่เป็นกลางกับปัจจัยพื้นฐานเนื่องจากบริษัทสามารถเคลมประกันได้ และคาดว่าทาง กทพ. และผู้รับเหมาก็มีประกันเช่นกัน จึงไม่กระทบกับประมาณการณ์กำไรของเรา แต่หากกรณีร้ายแรงที่สุดก็มีผลกระทบจำกัด           บล.หยวนต้า ระบุ ราคาหุ้นที่อ่อนตัวลงเป็นจังหวะ “ซื้อสะสม” โดยจากกรณีเหตุคานสะพานพระราม 2 ถล่ม ส่งผลกระทบทำให้ไม่สามารถใช้ทางพิเศษเฉลิมมหานครบริเวณด่านดาวคะนองได้ ทั้งนี้ฝ่ายวิเคราะห์ตรวจสอบกับทางบริษัทแล้วไม่ได้มีผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญกับบริษัท เนื่องจากผู้ใช้ทางด่วนสามารถเปลี่ยนไปใช้ทางด่วนเส้นทางอื่นแทนได้และ BEM สามารถเคลมค่าเสียหายทั้งหมดกับประกันได้

BEM ชี้พระราม 2 ทรุด ไม่กระทบ ล่าสุดเริ่มเปิดทางด่วนบริการแล้ว

BEM ชี้พระราม 2 ทรุด ไม่กระทบ ล่าสุดเริ่มเปิดทางด่วนบริการแล้ว

          ดร.สมบัติ  กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM กล่าวว่า “ขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์สะพานก่อสร้างทรุดตัวช่วงหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษดาวคะนอง เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต และส่งผลกระทบด้านการจราจรกับผู้ใช้ทาง  บริษัทเชื่อมั่นว่าภาครัฐจะสามารถแก้ไขปัญหาเพื่อบรรเทาผลกระทบได้อย่างรวดเร็ว สำหรับทางพิเศษศรีรัชเชื่อมต่อกับทางพิเศษเฉลิมมหานครบริเวณต่างระดับบางโคล่ ที่ BEM ดูแลยังสามารถสัญจรได้ตามปกติ”           “ทั้งนี้ ในส่วนของนักลงทุนที่อาจเกิดความกังวล BEM ขอชี้แจงว่าเหตุการณ์ดังกล่าวมีผลกระทบต่อบริษัทเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากปริมาณจราจรที่ด่านดังกล่าวคิดเป็นเพียง 0.03% ของปริมาณจราจรรวม อีกทั้งปัจจุบันการทางพิเศษแห่งประเทศไทยก็เริ่มเปิดด่านให้บริการแล้ว และมีทางเลือกให้เข้าทางด่วนที่ด่านใกล้เคียงอื่นๆ แทน ขอให้มั่นใจว่าจะไม่มีผลต่อการดำเนินงานของบริษัท” ดร.สมบัติ กล่าวทิ้งท้าย [PR news]

MTC รับอานิสงส์ดอกเบี้ยลด โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 55 บาท

MTC รับอานิสงส์ดอกเบี้ยลด โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 55 บาท

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.เอเอสแอล ระบุว่า MTC ตั้งเป้าพอร์ตสินเชื่อเติบโต 10-15% พร้อมคุม NPL ไม่เกิน 2.70% ควบคู่ไปกับการปล่อยสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ NIM อาจชะลอตัวลงเล็กน้อยจากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น แต่ได้แรงหนุนจากสินเชื่อที่เติบโตดีและ Credit cost ที่ลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มรถมือสอง แนวโน้มต้นทุนทางการเงินคาดว่าจะผ่อนคลายช่วง 2H25F จากแผน refinance หุ้นกู้ และการได้รับ Credit rating ระดับ A- จาก Fitch           1Q25F คาดว่ากำไรทรงตัว QoQ แต่ดีขึ้น YoY จากแนวโน้มสินเชื่อที่ชะลอตัวลงตามปัจจัยฤดูกาลและภาระหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น เราประเมินกำไรสุทธิปี 25-26F ที่ 6.59 พันล้านบาท (+12% YoY) และ 7.76 พันล้านบาท (+18% YoY) ตามลำดับ แนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 50 บาท อิง PBV 2.45 เท่า โดยมองว่าการเติบโตของธุรกิจยังโดดเด่นกว่าตลาด โดยเฉพาะสินเชื่อจำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์           หุ้นได้รับอันดับ SET ESG rating ระดับ AAA ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อกระแสการลงทุนในกองทุน ThaiESG X นอกจากนี้ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่เหลือของปี เป็นปัจจัยสนับสนุนเชิงบวกต่อแนวโน้มของบริษัทในระยะต่อไป Earning Review           MTC รายงานงบ 4Q24 เท่ากับ 1.54 พันล้านบาท +3.5%QoQ, +9.1%YoY เป็นไปตามที่ตลาดคาด ขณะที่งบปี 24 มีกำไรสุทธิเท่ากับ 5.87 พันล้านบาท +19.6%YoY โดยพอร์ตสินเชื่ออยู่ที่ 164,242 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.6%YoY ส่วนคุณภาพลูกหนี้ดีขึ้นมี NPLs ratio อยู่ที่ 2.75% ลดลงต่อเนื่องจากปี 2566 ซึ่งอยู่ที่ 3.11% เป็นผลมาจากมาตรการในการปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวัง และการติดตามหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับ NIM ชะลอตัวลงเหลือ 13.3% จาก 13.9% ในปีก่อนตาม Loan yield ที่ลดลง และต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากช่วงต้น 4Q มีการออกหุ้นกู้ราว 4 พันล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 3.5-4.0% แต่ทั้งนี้ได้แรงหนุนจาก Credit cost ที่ลดลง จากลูกหนี้ใน Stage2 และ3 ที่ลดลง           ประกาศจ่ายปันผลหุ้นละ 0.25 บาท คิดเป็น Div. yield ที่ 0.6% ขึ้น XD 28 เม.ย. Outlook ลดความ aggressive ลง แต่ยังเติบโต           ผู้บริหารตั้งเป้าพอร์ตสินเชื่อเติบโตระหว่าง 10-15% พร้อมคุม NPL ให้ไม่เกิน 2.70% ควบคู่การปล่อยสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบและเป็นธรรม ส่วน NIM มีแนวโน้มชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากรับรู้ต้นทุนทางการเงินของหุ้นกู้ชุดใหม่ในระดับสูงเต็มปี แต่คาดว่าจะได้แรงหนุนจาก 1. การเติบโตของสินเชื่อที่ขยายตัวดี 2. Credit cost ที่ลดลง โดยเฉพาะกลุ่มรถมือสองที่ปัจจุบันผลขาดทุนเริ่มลดลง ช่วยพยุงผลประกอบการปี 25F ให้เติบโต ส่วนด้านแรงกดดันจากต้นทุนทางการเงินมองว่าจะเริ่มผ่อนยคลายลงช่วง 2H25F หลังจะมีแผน refinance หุ้นกู้ และได้รับ Credit rating ระดับ A- จาก Fitch           แนวโน้ม 1Q25F คาดทรงตัว QoQ แต่ดีขึ้น YoY จากแนวโน้มสินเชื่อชะลอตัวลง QoQ ตามปัจจัยฤดูกาล รวมถึงสินเชื่อที่ขยายตัวในปีที่แล้วส่วนหนึ่งเป็น top up loan กับลูกค้าเดิม ส่งผลต่อภาระหนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และส่งผลต่อการควบคุมคุณภาพหนี้ เป็นความเสี่ยงต่อการตั้งสำรองที่สูงขึ้นและอาจสูงกว่าเป้าที่ไม่เกิน 3% ส่วน YoY ดีขึ้นตามฐานสินเชื่อ และแนวโน้ม CoF ลดลงหลังมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ประเมินกำไรสุทธิปีนี้ขยายตัวเด่น +20% YoY แนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมาย 55 บาท           ประเมินกำไรสุทธิปี 25-26F เท่ากับ 6.59 พันล้านบาท +12%YoY และ 7.76 พันล้านบาท +18%YoY ตามลำดับ แนะนำ “ซื้อ” มีราคาเป้าหมายที่ 50 บาท อิง PBV 2.45 เท่า ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยย้อนหลังระยะยาว (6.33 เท่า) – 1.5 SD สูงกว่า SET FIN ที่  1.20 เท่า แต่เรามองว่าเหมาะสมเนื่องจากการเติบโตของธุรกิจโดดเด่นกว่าอุตสาหกรรมโดยเฉพาะสินเชื่อจำนำจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ ทั้งการขยายสาขา (เราคาด +185 สาขา) สินเชื่อ (เราคาด +12%) และฐานลูกค้า รวมถึงสามารถควบคุมคุณภาพลูกหนี้ได้ดี (NPLs ratio > 2.7%) และ Credit cost ที่คาดว่ากำลังผ่านจุดพีคไปแล้ว ขณะที่แนวโน้ม CoF คาดว่าจะผ่อนคลายลงในช่วง 2H25F           สำหรับในเชิง sentiment ปัจจุบันมีอันดับ SET ESG rating ที่ AA จึงเป็นหุ้นที่น่าสนใจจากประเด็นการปรับเงื่อนไขของกองทุน LTF เป็น ThaiESG X รวมถึงผลของนโยบายเศรษฐกิจที่กระตุ้นกำลังซื้อฐานราก และแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่เหลือของปีนี้ เป็น sentiment เชิงบวก           ปัจจัยเสี่ยง : ภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบาง กระทบต่อกำลังซื้อของลูกค้าฐานราก และคุณภาพลูกหนี้, แรงกดดันจากการออกหุ้นกู้, แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาลง           ประเด็นที่มีนัยยะสำคัญด้านความยั่งยืน: การกำกับดูแลกิจการที่ดี (G), การบริหารจัดการความเสี่ยง (G), การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น (G), มลพิษอากาศ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (E) และ ความพึงพอใจของลูกค้า (S)

ICHI เล็งเป้ารายได้ที่ 9,500 ลบ. ดึง หลิง-ออม ดันสินค้าสู่ผู้บริโภครุ่นใหม่

ICHI เล็งเป้ารายได้ที่ 9,500 ลบ. ดึง หลิง-ออม ดันสินค้าสู่ผู้บริโภครุ่นใหม่

          บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ICHI ผู้ผลิตชาพร้อมดื่มชั้นนำของประเทศไทย เปิดตัว "อิชิตันเก๊กฮวยน้ำผึ้ง กรีนที" มูฟเมนต์สำคัญของการชิงชัยในตลาดชาพร้อมดื่มที่กำลังเติบโตของประเทศไทย ที่มีมูลค่า 18,577 ล้านบาท ด้วยการร่วมงานกับคู่ซุปเปอร์สตาร์ที่ฮอตที่สุดในเวลานี้ หลิง-ศิริลักษณ์ คอง และ ออม-กรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์ ขึ้นแท่นพรีเซนเตอร์ เพื่อผลักดันสินค้าเข้ากลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ ตอบรับการขยายตัวของตลาดชาพร้อมดื่มในประเทศไทยที่เพิ่มขึ้น 13.3% โตมากสุดในกลุ่มนอนแอลกอฮอล์ดริ้งค์ของไทย           "หน้าร้อนเป็นช่วงเวลาคึกคักสำหรับธุรกิจเครื่องดื่ม การผลักดันอิชิตัน กรีนที ซึ่งเป็นสินค้าหลักของบริษัทจึงใส่พลังเต็มที่ด้วยการส่ง “อิชิตันเก๊กฮวยน้ำผึ้ง กรีนที” มาเป็นกำลังหลักในการสร้างสถิติใหม่ให้อิชิตันเติบโตทั้งยอดขายและกำไร ตั้งเป้าปี 2568 ยอดขายจะไปถึง 9,500 ล้านบาท” ตัน ภาสกรนที กรรมการ ผู้อำนวยการ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าว           โดยกลยุทธ์ปีนี้ อิชิตัน เปิดเกมรุกตลาดเครื่องดื่มรับหน้าร้อนอย่างร้อนแรง เปิดตัวคู่ฮอตเกิรล์เลิฟ เบอร์ 1 หลิง-ศิริลักษ์ คอง และ ออม-กรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์ กับ "อิชิตันเก๊กฮวยน้ำผึ้ง กรีนที" มั่นใจรสชาติที่ใช่ และพรีเซนเตอร์ระดับเมกะแมกเน็ต ที่มีคาแรคเตอร์สดใส น่ารัก และเป็นกันเองของทั้งคู่ จะช่วยสร้างสีสันและความสนุกสนาน พร้อมดึงดูดเหล่าแฟนคลับและคนรุ่นใหม่ทั่วประเทศให้หันมาดื่มอิชิตันมาก ยิ่งขึ้น สามารถสร้างกระแสให้เกิดปรากฏการณ์ Sold Out ได้อย่างแน่นอน พร้อมอัดกิจกรรมออนไลน์เต็มที่ รวมถึงจัดหนักสื่อป้ายบิลบอร์ดแสดงพลังความสดชื่นของทั้งคู่ เสิร์ฟให้ด้อมเจ้าความรักไปตามทำคอนเท้นต์ในกิจกรรม “บอกรักผู้หญิงคนนี้ผ่านอิชิตัน” เพื่อโชว์พลังความรักต่อหลิงออมได้อย่างเต็มที่           สัมผัสความหอมสดชื่น อร่อย..Sold Out ของอิชิตันเก๊กฮวยน้ำผึ้ง กรีนที ขนาด 500 มล.ในราคา 25 บาท ได้แล้ววันนี้ ที่ 7-Eleven, 7Delivery และร้านค้าชั้นนำทั่วประเทศ พร้อมกิจกรรมสุดพิเศษให้แฟนๆ  ได้แสดงความรักถึงหลิง-ออม บนช่องทางออนไลน์ ภายใต้ #IchitanxLingOrmอร่อยSoldOut#อิชิตัน ติดตามรายละเอียดได้ที่ Facebook Fanpage: Ichitan และ Tiktok : ichitandrinkth

SNNP ดันยอดขายปี68 รุก Gen Z คว้า ซี-นุนิว พรีเซนเตอร์

SNNP ดันยอดขายปี68 รุก Gen Z คว้า ซี-นุนิว พรีเซนเตอร์

          หุ้นวิชั่น - บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง (SNNP) เสิร์ฟความอร่อย เยลลี่ดูด นุ่ม หนึบ กับ Jele Chewy มาใน 3 รสชาติอร่อยโดนใจ ได้แก่ องุ่นเคียวโฮแอปเปิ้ลเขียว ลิ้นจี่พีช และ มิกซ์เบอร์รี่ พร้อมส่งพรีเซนเตอร์สุดฮอต ซี-นุนิว มากระชับความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค เพื่อขยายฐานลูกค้ากลุ่ม Gen Z ฟากผู้บริหาร “วิโรจน์ วชิรเดชกุล” มั่นใจช่วยเพิ่มอัตราการบริโภคเยลลี่ให้เติบโตมากขึ้น ดันยอดขายปี 68 เติบโตอย่างแข็งแกร่ง           นายวิโรจน์ วชิรเดชกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายงานธุรกิจในประเทศ บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) (SNNP) เปิดเผยว่า การเปิดตัว Jele Chewy 3 รสชาติใหม่ ได้แก่ องุ่นเคียวโฮแอปเปิ้ลเขียว, ลิ้นจี่พีช และมิกซ์เบอร์รี่ ด้วยกลยุทธ์ที่แข็งแกร่งและการใช้พรีเซนเตอร์ที่โดนใจกลุ่มเป้าหมาย Gen Z ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มวัยรุ่นและคนรุ่นใหม่ เพิ่มอัตราการบริโภคเยลลี่ให้เติบโตขึ้น ตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดเยลลี่ของ SNNP อย่างต่อเนื่อง           สำหรับแผนการการตลาด บริษัทฯเดินหน้าสร้างการรับรู้ด้วยกลยุทธ์การตลาดครบวงจร ภายใต้แนวคิด "อร่อย เยลลี่นุ่มหนึบ" โดยเน้นการสร้างกระแสผ่าน TVC และ Online VDO รวมถึงใช้พลังของพรีเซนเตอร์ ซี-นุนิว ดึงดูดฐานแฟนคลับให้เข้ามามีส่วนร่วม ทั้งการใช้ภาพพรีเซนเตอร์บนแพ็กเกจจิ้งใหม่ เพิ่มความโดดเด่นบนชั้นวาง และพร้อมกระตุ้นการตัดสินใจซื้อด้วยกลยุทธ์ “Fandom Marketing” ดึงอินฟลูเอนเซอร์และแฟนคลับมาสร้างคอนเทนต์ไวรัล "อร่อย เยลลี่นุ่มหนึบ" บนโซเชียลมีเดีย           นอกจากนี้ ยังเตรียมจัดแคมเปญการตลาด จัดกิจกรรมชิงโชคสุดเซอร์ไพรส์ และ Fan Meeting สุดพิเศษกับซี-นุนิว เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และผู้บริโภคให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น           สำหรับ Jele Chewy เจเล่ ชิววี่ เยลลี่ดูด นุ่ม หนึบ น้ำตาล 0% ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ที่มองหาผลิตภัณฑ์เยลลี่ เคี้ยวเพลินแบบ guilt-free พร้อมสร้างกระแสแรงด้วยพรีเซนเตอร์คู่จิ้นสุดฮอต “ซี-นุนิว” ด้วยยอดผู้ติดตามรวมกว่า 7.7 ล้านคน ตอกย้ำภาพลักษณ์แบรนด์สินค้าทันสมัยและเข้าถึงกลุ่ม Gen Z  ซึ่งรสองุ่นเคียวโฮแอปเปิ้ลเขียว และ ลิ้นจี่พีช มีจำหน่ายก่อนใครที่ 7-Eleven และรสมิกซ์เบอร์รี่ มีจำหน่ายที่ร้านค้าทั่วประเทศ ในราคา 15 บาท           "การออกสินค้าใหม่เพื่อเข้าถึงกลุ่ม Gen Z จะช่วยสร้างกระแสความคึกคักให้กับตลาดเยลลี่เป็นอย่างดี และยังเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์สินค้าหลักอย่าง Jele และในปี 2568 บริษัทฯจะเริ่มทยอยเปิดตัวสินค้าใหม่ๆออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว พร้อมวางกลยุทธ์ทางการตลาดให้ตอบโจทย์กับผู้บริโภคทุกกลุ่ม และจัดแคมเปญที่ดึงดูดใจลูกค้า สนับสนุนยอดขายในปี 68 เติบโตแข็งแกร่ง” นายวิโรจน์ กล่าวในที่สุด [PR news]

AUCT บริการเสริมแกร่ง ยืนหนึ่งผู้นำการประมูล

AUCT บริการเสริมแกร่ง ยืนหนึ่งผู้นำการประมูล

            บมจ.สหการประมูล (AUCT) ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการประมูลครบวงจร ด้วยบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าทั้งผู้ซื้อและผู้ขายผ่านการประมูลหน้าลานและการประมูลออนไลน์ รองรับพฤติกรรมการซื้อ-ขายที่หลากหลาย พร้อมเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าทั่วประเทศสามารถเข้าถึงสินค้าได้อย่างสะดวกและมั่นใจด้านคุณภาพ             นายสุธี สมาธิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สหการประมูล จำกัด (มหาชน) หรือ AUCT เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้พัฒนาแพลตฟอร์มการประมูลเพื่อให้รองรับการซื้อ-ขายรถยนต์และรถจักรยานมือสอง ทั้งช่องทางประมูลหน้าลาน (Onsite Auction) และการประมูลออนไลน์   (Online Auction)  เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายสามารถเลือกประมูลได้ตามความสะดวก ซึ่งที่ผ่านมาลูกค้าส่วนใหญ่ได้รับประสบการณ์ที่ดีจากบริการดังกล่าว ทั้งการเข้าร่วมประมูลซื้อที่ลานประมูลและการประมูลผ่านระบบออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ได้ทั่วประเทศ             “การพัฒนาบริการต่าง ๆ เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับลูกค้าเข้าร่วมประมูลซื้อได้ตามไลฟ์สไตล์ บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายว่าจะให้ความสำคัญกับนโยบายการพัฒนาและปรับปรุงบริการให้สามารถตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้า เห็นได้จากการประมูลหน้าลาน (Onsite Auction) ลูกค้ามีโอกาสได้สัมผัสบรรยากาศการประมูลจากความเป็นมืออาชีพ และมีความสะดวกสบาย นอกจากนี้แล้วยังเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้ตรวจสอบสภาพรถยนต์ก่อนประมูลแบบใกล้ชิด จึงเป็นรูปแบบประมูลที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการชมรถจริงและตรวจสอบสภาพรถก่อนตัดสินใจซื้อ สำหรับการประมูลออนไลน์ (Online Auction) เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าประมูลซื้อรถยนต์ได้จากทุกที่และทุกเวลา ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีความสะดวก เข้าถึงง่าย” นายสุธีกล่าว             กรรมการผู้จัดการ บริษัท สหการประมูล จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยเพิ่มเติมถึงการประมูลออนไลน์ที่มีความหลากหลาย เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม เช่น การประมูลแบบกำหนดราคาล่วงหน้า (PROXY BID) เป็นบริการที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าตั้งราคาซื้อล่วงหน้าผ่านระบบ หากราคาที่เสนอไว้สูงที่สุดในวันประมูลจริงจะได้รับสิทธิ์เป็นผู้ชนะโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้แล้วยังมีการประมูลแบบกำหนดระยะเวลา ( AUCT BID) เป็นบริการที่เปิดให้ลูกค้าแข่งขันราคาในช่วงเวลาที่กำหนด ซึ่งเหมาะสำหรับสินค้าที่ต้องการให้ผู้ซื้อมีเวลาตัดสินใจ และยังมีอีกบริการหนึ่งคือประมูลผ่านภาพถ่าย (PICTURE BID)  เป็นบริการที่ลูกค้าสามารถเลือกซื้อรถจากลานประมูลทั่วประเทศผ่านรูปภาพ  ซึ่งทั้ง 3 บริการเป็นทางเลือกที่มีความหลากหลายที่เพิ่มความสะดวกสบาย ซึ่งบริษัทฯ ได้มุ่งมั่นพัฒนาให้ตอบรับกับทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้า ไม่ว่าจะเลือกเข้าร่วมประมูลที่หน้าลานหรือประมูลผ่านระบบออนไลน์พร้อมให้บริการด้วยระบบที่ครอบคลุม เข้าถึงง่าย และมั่นใจได้ในคุณภาพ  สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมประมูล สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.auct.co.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทรศัพท์ 02-033-6555 [PR News]

TACC รายได้โต Double Digit ลุยออกโปรดักส์ใหม่

TACC รายได้โต Double Digit ลุยออกโปรดักส์ใหม่

            บมจ.ที.เอ.ซี.คอนซูเมอร์ (TACC) เปิดแผนและยุทธศาสตร์ปี 68 มุ่งเน้นการเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจหลัก ผ่านนวัตกรรมที่สร้างประสบการณ์ให้กับกลุ่มลูกค้าควบคู่ไปกับการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ หนุนธุรกิจเติบโตยั่งยืน ฟากผู้บริหาร "ชัชชวี วัฒนสุข"ประกาศเดินหน้าเปิดตัวสินค้าใหม่ในกลุ่ม ธุรกิจ B2B และกลุ่มธุรกิจ B2C สอดรับเทรนด์ผู้บริโภคยุคใหม่ หนุนรายได้ปีนี้ทะลุ 2,000 ล้านบาท ตามแผน พร้อมมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ผ่านดีล  M&A, JV สร้าง New S-Curve              นายชัชชวี วัฒนสุข ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ที.เอ.ซี.คอนซูเมอร์ (TACC) เปิดเผยว่า แผนยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจในปี 2568 มุ่งเน้นการเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจหลัก ผ่านนวัตกรรมที่สร้างประสบการณ์ ให้กับกลุ่มลูกค้ายุคใหม่ อีกทั้งยังเน้นการสร้างกลุ่มธุรกิจผ่านผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของบริษัท ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ การให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านต้นทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างต่อเนื่อง สร้างคุณค่าด้านความเป็นอยู่ที่ดีให้มีคุณภาพ เพื่อความยั่งยืนสู่ทุกด้าน (Compounding Well Being Quality Value) โดยตั้งเป้าหมายรายได้โต Double Digit ทะลุ 2,000 ล้านบาท จากยอดขายที่เพิ่มขึ้น             กลุ่มธุรกิจ B2B (7-Eleven) ในปีนี้ บริษัทฯมุ่งมั่นพัฒนาสินค้า Core Menu และ New Menu รวมทั้งออกสินค้าใหม่ร่วมกับ CPALL ในฐานะ Key Strategic Partner ไม่ว่าเป็นเครื่องดื่มเย็นในโถกด (Jet Spray) และเครื่องดื่ม Non-Coffee Menu ใน All Cafe ล่าสุดได้เปิดตัวเครื่องดื่มรสชาติใหม่ตามฤดูกาล "น้ำผึ้งมะนาว" (Honey Lime) เพื่อต้อนรับอากาศร้อนช่วงซัมเมอร์ ลงในกลุ่มเครื่องดื่มเย็นในโถกด 7-Eleven พร้อมกันทั่วประเทศ ระหว่างวันที่  6 มีนาคม - 30 เมษายน 2568 นี้ หรือสั่งง่ายๆ ผ่าน #7DELIVERY อีกหนึ่งช่องทางความสะดวกสบาย             ขณะที่ 7-Eleven ต่างประเทศ (ประเทศกัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) มีการเติบโตตามการขยายสาขา โดยในส่วนของประเทศกัมพูชา มีการร่วมพัฒนาสินค้าเครื่องดื่มใหม่ๆ ในกลุ่ม Counter drink เพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภค             ส่วนกลุ่มธุรกิจ B2C (Own Brands) บริษัทฯพร้อมพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่ม Cafe Business และการเพิ่มลูกค้ารายใหม่ให้มากขึ้นทั้งในประเทศ และต่างประเทศ             นอกจากนี้ TACC ยังคงมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่มาจากการ M&A, JV เพื่อเป็น New S-Curve ต่อยอดกับธุรกิจเดิม และการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น             อนึ่ง ผลการดำเนินงานในปี 2567 มีรายได้รวม 1,951.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.76% จากปีก่อนมีรายได้รวม 1,715.68 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 240.76 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.60% จากปีก่อนมีกำไรสุทธิ 221.69 ล้านบาท             นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯมีมติอนุมัติจ่ายปันผลสำหรับงวดผลการดำเนินงานในปี 2567 ในอัตรา 0.19 บาท/หุ้น กำหนดขึ้นเครื่องหมาย  XD วันที่ 6 พฤษภาคม 2568 และจ่ายเงินปันผลในวันที่ 21 พฤษภาคม 2568 [PR News]

บล.กรุงศรี แนะชะลอลงทุน 5 หุ้นมีธุรกิจในอินโดฯ หลังตลาดหุ้นร่วงแรง

บล.กรุงศรี แนะชะลอลงทุน 5 หุ้นมีธุรกิจในอินโดฯ หลังตลาดหุ้นร่วงแรง

          หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.กรุงศรี ระบุ ตลาดหุ้นอินโดนีเซียวันนี้ปรับลงแรงกระทบ SET Index จำกัด มองเป็นจิตวิทยาลบระยะสั้นต่อหุ้นที่มีสัดส่วนรายได้ในอินโดนีเซีย SCGP, SCC, PTTGC, BBL, KBANK           ตลาดหุ้นอินโดนีเซียวันนี้ปรับลงแรง - 6.12% ทำให้ระหว่างวันต้องหยุดการซื้อขาย หุ้นกลุ่มที่ปรับลงหลักคือ Technology -11.7%, Basic Materials -7.3%, พลังงาน -4.5%, การเงิน -2.7% สาเหตุคาดเกิดจาก - ความกังวลปัญหาเศรษฐกิจ หลังเริ่มมีผู้ประกอบการผิดนัดชำระหนี้ คือ “PT Wijaya Karya” ผู้รับเหมาก่อสร้างอันดับ 2 ของอินโดนีเซีย ผิดนัดเงินกู้ 61 ล้านดอลลาร์ และพันธบัตร Sukuk mudharabah ที่ออกในปี 2565 - ธุรกิจในอินโดนีเซียเผชิญปัญหาการขู่กรรโชกจากกลุ่มอาชญากรรมที่แอบอ้างเป็นองค์กรพลเมือง ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมการลงทุน - การบริโภคที่ชะลอตัวลงก่อนวันหยุด Eid Holiday เทศกาลอีฎของชาวมุสลิม           สำหรับผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทย คาดจำกัด มองเป็นเพียงจิตวิทยาลบระยะสั้น โดยผลกระทบต่อบริษัทจดทะเบียน กระทบจิตวิทยาหุ้นไทยที่มีธุรกิจในอินโดนีเซีย ระยะสั้น แนะนำชะลอลงทุนไปก่อน อาทิ ▪️SCGP : 14% ของรายได้รวม ▪️SCC : 7%ของรายได้รวม ▪️PTTGC 3%ของรายได้รวม ▪️BBL : 12%ของสินเชื่อรวม ▪️KBANK < 5%ของสินเชื่อรวม

TKS ส่งซิก Q1/68 ผลงานสตรอง หนุนรายได้ปีนี้โต 9%

TKS ส่งซิก Q1/68 ผลงานสตรอง หนุนรายได้ปีนี้โต 9%

           TKS ส่งซิกแนวโน้มผลงานไตรมาสแรกปีนี้เติบโตแข็งแกร่ง หนุนเป้าหมายรายได้โต 9%  พร้อมรักษาอัตรากำไรขั้นต้นให้อยู่ที่ระดับ 30-35%  ชี้กลุ่มบรรจุภัณฑ์และฉลาก และกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีแพลตฟอร์มเติบโตสูง พร้อมเดินหน้าขยายกลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโต (Growth Business) ได้แก่ ธุรกิจเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูง พร้อมชูกลยุทธ์ Tech Ecosystem Builder เผยแนวโน้มธุรกิจของ PTECH ที่ TKS ถือหุ้นอยู่ราว 25% เชื่อว่าปี 2568 นี้ จะเป็นปีที่สดใส หลังเร่งแก้ปัญหาต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง ประเมินการขาดทุนในการลงทุน PTECH ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในปีที่ผ่านมา             นายจุติพันธุ์ มงคลสุธี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ที.เค.เอส.เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ TKS ผู้ประกอบธุรกิจ Security Printing ครบวงจรรายใหญ่ของประเทศ เปิดเผยว่า แนวโน้มผลประกอบการไตรมาสแรกของบริษัทปีนี้ คาดว่า มีการเติบโตที่ดี ยอดขายเริ่มกลับมาและทำได้ดีในสภาวะตลาดปัจจุบัน  สนับสนุนแผนธุรกิจของบริษัทในปี 2568 จะเห็นการเติบโตต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา จากกลุ่มบรรจุภัณฑ์และฉลาก และกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม โดยบริษัทยังคงเดินหน้าขยายกลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโต (Growth Business) ได้แก่ ธุรกิจเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูง โดยตั้งเป้าหมายรายได้เติบโต 9% พร้อมรักษาอัตรากำไรขั้นต้นให้อยู่ที่ระดับ 30-35%            พร้อมกลยุทธ์ Tech Ecosystem Builder โดยมุ่งเน้นการปรับแผนธุรกิจของบริษัทฯมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัล โดยการพัฒนานวัตกรรมด้านระบบสารสนเทศ และได้ปรับโครงสร้างองค์กรในกลุ่มบริษัทฯให้เกิดผลผนึกทั้งด้านการพัฒนาตลาดและผลิตภัณฑ์ และด้านการลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันโดยรวมสำหรับรักษาฐานธุรกิจเดิมควบคู่ไปกับการหาพันธมิตรทางธุรกิจรายใหม่            ขณะที่ผลประกอบการของ บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SYNEX เชื่อว่าจะเห็นผลประกอบการที่ดีในปีนี้ จากกลยุทธ์การบริหารงานที่มีศักยภาพและปัจจัยบวกที่เป็นโอกาสต่างๆ คาดว่า ในปี 2568 ซินเน็คฯ จะทำรายได้เติบโตกว่าปีที่ผ่านมา            ส่วนแนวโน้มธุรกิจของบริษัท พลัส เทค อินโนเวชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PTECH ที่ TKS ถือหุ้นอยู่ราว 25% เชื่อว่าปี 2568 นี้ จะเป็นปีที่ดีขึ้นหลังจากบริษัทได้พยายามจัดการแก้ปัญหาต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง และประเมินว่าการขาดทุนในการลงทุน PTECH ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในปีที่ผ่านมา ผลกระทบเชิงลบในอนาคตไม่น่าจะเกิดขึ้นแล้ว ประกอบกับในช่วงปลายปี 2567 ที่ผ่านมา มีกลุ่มผู้ลงทุนใหม่ใน SABUY เข้ามาบริหาร PTECH  โดยกลับมาเน้นในธุรกิจบัตรพลาสติกที่เป็นธุรกิจหลักของ PTECH ให้มากขึ้น รวมถึงมีการปรับปรุงเรื่องต้นทุนราคาให้สามารถแข่งขันในตลาด พร้อมรักษาฐานลูกค้าเก่าและเพิ่มลูกค้าใหม่ สร้างความแตกต่างจากจุดแข็งเดิมที่มีมากกว่าคู่แข่งในท้องตลาด เพื่อให้ในปี 2568 นี้ บริษัทกลับมาสู่จุดที่สามารถแข่งขันได้ในตลาด            นายจุติพันธุ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี ของ TKS บริษัทได้เดินหน้าชูกลยุทธ์ Tech Ecosystem Builder โดยมุ่งเน้นการปรับแผนธุรกิจของบริษัทฯมาอย่างต่อเนื่อง และมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งเห็นได้จากการที่บริษัทได้รับการประเมิน CGR ระดับ "ดีเลิศ" (5 ดาว) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) รวมถึงติดอันดับ Top Quartile ในการสำรวจด้านการกำกับดูแลกิจการนอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้รับการประเมินหุ้นยั่งยืนในโครงการ SET ESG Ratings จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในระดับ A ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ซึ่งสะท้อนถึงการปฏิบัติงานที่มุ่งเน้นความโปร่งใส ความรับผิดชอบต่อสังคม และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ [PR news]

SJWD วางกลยุทธ์ต่อยอด Synergy มุ่งขยายธุรกิจดาวรุ่ง

SJWD วางกลยุทธ์ต่อยอด Synergy มุ่งขยายธุรกิจดาวรุ่ง

          “บมจ.เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์” หรือ SJWD มุ่งเติบโตอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานที่แข็งแกร่ง จากการต่อยอด Synergy ของกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ และพาร์ทเนอร์ ให้ความมั่นใจฐานะการเงินแข็งแกร่ง อัตราหนี้สินต่อทุนต่ำ และมีฐานลูกค้าในเครือ SCG ช่วยเพิ่มความมั่นคงแก่รายได้และมีโอกาสขยายการให้บริการได้อีกในอนาคต ปี 2568 มุ่งขยายธุรกิจดาวรุ่งที่มีศักยภาพ โฟกัส “คลังสินค้าห้องเย็น รับฝากและบริหารยานยนต์ ตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ธุรกิจในต่างประเทศ” ขับเคลื่อนการเติบโต วางแผนเสนอขายคลังสินค้าทั่วไปภายใต้บริษัทร่วมทุนเข้ากองรีท           นายบรรณ เกษมทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SJWD ผู้ให้บริการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนแบบครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน เปิดเผยว่า บริษัทฯ มุ่งสร้างการเติบโตอย่างเนื่องเพื่อบรรลุเป้าหมายเพิ่มมาร์เก็ตแคปเป็น 1 แสนล้านบาท และเพิ่มสัดส่วนกำไรจากต่างประเทศเป็น 40% ภายในปี 2573 รวมถึงมุ่งสู่ Net Zero ภายในปี 2593 ผ่านการให้บริการ Green Logistics และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนใน Scope 1 Scope 2 และ Scope 3 โดยปัจจุบันบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจในอาเซียน 9 ประเทศ และจีนตอนใต้ มีพื้นที่คลังสินค้าทั่วไป คลังสินค้าอันตราย ลานจอดยานยนต์ สินค้าควบคุมอุณหภูมิ รวมทั้งสิ้นกว่า 2.3 ล้านตารางเมตร มีเครือข่ายรถขนส่งกว่า 14,000 คัน เครือข่ายเรือบรรทุกสินค้ากว่า 220 ลำ และฐานลูกค้ากว่า 2,400 ราย รวมถึงมีพาร์ทเนอร์ชั้นนำในธุรกิจโลจิสติกส์และซัพพลายเชน           ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้ขยายธุรกิจและการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ อาทิ เข้าถือหุ้น 20.12% ใน บมจ.เอเชีย เน็ตเวิร์ค อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ ANI ผู้นำธุรกิจตัวแทนขายระวางสินค้าสายการบินหรือ GSA ในไทย, เข้าถือหุ้น 20.48% ใน Swift Haulage Berhad หรือ SWIFT (สวิฟท์) ผู้ดำเนินธุรกิจ Integrated Logistics ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย, จัดตั้งบริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี เฟรท จำกัด เพื่อปรับโครงสร้างและเพิ่มศักยภาพให้บริการตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ได้ก่อสร้างคลังสินค้าห้องเย็นแห่งใหม่ที่เชียงใหม่แล้วเสร็จ มีพื้นที่ 2,700 ตารางเมตร เปิดบริการคลังสินค้าทั่วไป 2 แห่ง ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี มีพื้นที่รวมกว่า 54,000 ตารางเมตร ภายใต้บริษัท แอลฟา อินดัสเตรียล โซลูชั่นส์ จำกัด ที่ร่วมทุนกับ บมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ หรือ ORI ฯลฯ และได้ขยายบริการแก่ลูกค้ารายใหญ่ บมจ. ปตท.น้ำมันและค้าปลีก หรือ OR โดยนำเสนอ Green Logistics Solution เพื่อให้บริการขนส่งอาหารและเบเกอรี่แก่ร้านคาเฟ่อเมซอน รวมถึงได้รับรางวัล Highly Commended Supply Chain Management Awards จาก SET Awards 2024 และการประเมิน SET ESG Rating 2024 ระดับ AAA           ขณะที่ฐานะทางการเงินของบริษัทฯ มีความแข็งแกร่ง โดย ณ สิ้นปี 2567 มีอัตราหนี้สินต่อทุนที่มีภาระดอกเบี้ย 0.67 เท่า มีเงินสดคงเหลือ (Cashflow Surplus) ณ สิ้นปี 2567 กว่า 2,400 ล้านบาท และการเสนอขายหุ้นกู้เดือนกันยายนปีที่ผ่านมาวงเงินไม่เกิน 4,200 ล้านบาท มีนักลงทุนต้องการจองซื้อมากกว่ามูลค่าที่เสนอขาย นอกจากนี้ บริษัทฯ มีฐานลูกค้าในเครือ SCG ช่วยเพิ่มความมั่นคงแก่รายได้และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันบริษัทฯ มีสัดส่วนให้บริการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนประมาณ50% ของเครือ SCG เท่านั้น จึงมีโอกาสขยายฐานการให้บริการได้อีกในอนาคต ประกอบกับ SCG ปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจอยู่ตลอด จึงมั่นใจว่าปริมาณการขนส่งสินค้าแก่เครือ SCG จะไม่ลดลงในปีนี้           นายชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม SJWD กล่าวว่า ปี 2568 บริษัทฯ มุ่งสร้างเติบโตผ่านการต่อยอดการ Synergy ของกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ และพันธมิตรธุรกิจ โดยมุ่งขยายธุรกิจดาวรุ่งที่มีศักยภาพ ได้แก่ “ธุรกิจคลังสินค้าห้องเย็น” จะเปิดบริการห้องเย็นใหม่อีก 4 แห่งในปีนี้ พื้นที่รวมกว่า 37,000 ตารางเมตร ได้แก่ เชียงใหม่ (ก่อสร้างเสร็จปลายปีที่ผ่านมา) 2,700 ตารางเมตร, สระบุรี (เฟส 2) 3,400 ตารางเมตร, รังสิต 14,595 ตารางเมตร และห้องเย็น (เฟส 3) ของบริษัท เอสซีจี นิชิเร พื้นที่ 17,091 ตารางเมตร ที่จังหวัดปทุมธานี รวมถึงจะขยายบริการคลังสินค้าห้องเย็นแก่กลุ่มอุตสาหกรรมยาและเฮลท์แคร์ วางแผนร่วมทุนกับลูกค้าสร้างคลังสินค้าห้องเย็นแห่งใหม่ ศึกษาดีลกับพาร์ทเนอร์ ตลอดจนขยายเครือข่ายขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ           “ธุรกิจรับฝากและบริหารยานยนต์” บริษัทฯ ให้บริการแก่รถยนต์กว่า 5 แสนคันในปีที่ผ่านมา คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนรถยนต์ที่ผลิตในประเทศรวมกว่า 1.46 ล้านคัน แผนงานปีนี้จะขยายการให้บริการแก่รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น และขยายบริการนำเข้าและส่งออกวัตถุดิบและชิ้นส่วนยานยนต์ “ธุรกิจ Freight” หรือตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ จะเพิ่มรายได้เป็น 2,500 ล้านบาทภายในปี 2572 จากปีที่ผ่านมามีรายได้ 1,500 ล้านบาท ล่าสุด ได้จัดตั้งบริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี เฟรท จำกัด เพื่อเพิ่มศักยภาพให้บริการ รวมถึงจะรุกสร้าง New S-Curve จากการเป็นผู้ให้บริการโลจิสติสก์ครบวงจรรายแรกที่มีบริการดิจิทัลแพลตฟอร์ม สำหรับเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ NSW Service Provider (NSP) ซึ่งเป็นระบบบริการจัดส่งข้อมูลที่เชื่อมต่อหน่วยงานภาครัฐ (กรมศุลกากร) และภาคธุรกิจ สำหรับการนำเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์และจะผสานความร่วมมือกับ ANI และ บมจ.ไซไน โลจิสติกส์ คอร์ปอเรชั่น หรือ SINO ในฐานะพาร์ทเนอร์ เชื่อมโครงข่ายบริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ           ส่วน “ธุรกิจต่างประเทศ” จะโฟกัสการขยายธุรกิจในจีน เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยในจีนจะร่วมมือกับ JUSDA ให้บริการขนส่งสินค้าข้ามแดน คลังสินค้า และนำเข้า-ส่งออก จากจีนมาไทยและภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอกนิกส์ และเครื่องจักร เพื่อเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าระหว่างจีน เวียดนาม สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งมีมูลค่าตลาดถึง 26,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีที่ผ่านมา และร่วมกับ Ruiyun Logistics ศึกษาโอกาสทางธุรกิจบริการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิข้ามแดนระหว่างไทย เวียดนาม และจีน ส่วนในเวียดนามจะเริ่มรับรู้รายได้เต็มปีจากการถือหุ้น 100% ใน SCGJWD Logistics (Vietnam) Co., Ltd. (เดิมชื่อ SCG International Vietnam) และปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ดังกล่าวได้รับงานจาก VIETNAM CONSTRUCTION MATERIALS JOINT STOCK COMPANY (VCM) ในเครือเอสซีจี ผู้ผลิตซีเมนต์ในเวียดนาม เพื่อให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจรแบบ End-to-End Supply Chain Solution ขณะที่มาเลเซียได้ร่วมกับ SWIFT จัดตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อรุกธุรกิจคลังสินค้าห้องเย็นในมาเลเซีย 3 แห่ง พื้นที่รวมกันกว่า 31,000 ตารางเมตร คาดว่าจะทยอยเปิดบริการไตรมาส 1/2569 รวมถึงจะใช้ความเชี่ยวชาญขยายธุรกิจในธุรกิจรับฝากและบริหารยานยนต์ในอินโดนีเซีย และรุกขยายธุรกิจคลังสินค้าห้องเย็นในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ที่มีศักยภาพเติบโตสูง           นอกจากนี้ ธุรกิจคลังสินค้าทั่วไปที่ดำเนินการก่อสร้างโดยบริษัทแอลฟา อินดัสเทรียล โซลูชั่น จำกัด มีแผนเสนอขายสินทรัพย์บางส่วน มูลค่าประมาณ 4,000 ล้านบาท แก่กองรีทที่เป็นพาร์ทเนอร์เพื่อนำมาขยายการลงทุนต่อเนื่อง และในเดือนกันยายนนี้คาดว่าจะเริ่มรับรู้รายได้จากการเปิดดำเนินการและรับบริหารคลังสินค้าแห่งใหม่ในย่านนิคมอุตสาหกรรมบางกระดีแก่บริษัท บี.กริม แคเรียร์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท แคเรียร์ (ประเทศไทย) จำกัด รวมถึงให้บริการด้านโลจิสติกส์และ Fulfillment  ซึ่งจะสนับสนุนการเติบโตและตอกย้ำศักยภาพธุรกิจที่แข็งแกร่งของบริษัทฯ

KEX เดินหน้ายกระดับบริการขนส่ง เชื่อมทั่วโลกแบบไร้รอยต่อ

KEX เดินหน้ายกระดับบริการขนส่ง เชื่อมทั่วโลกแบบไร้รอยต่อ

          หุ้นวิชั่น - กรุงเทพฯ, 17 มีนาคม 2568 - บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านธุรกิจจัดส่งพัสดุด่วนทั่วไทย ประกาศพร้อมเดินหน้าเต็มที่ ใช้ชื่อ และโลโก้ “KEX” ทั่วประเทศ  โดยขณะนี้ได้ดำเนินการเปลี่ยนป้ายชื่อที่หน้าร้าน และศูนย์กระจายสินค้าทั่วประเทศเรียบร้อยแล้ว ภายหลังจากที่เริ่มทยอยเปลี่ยนมาใช้ชื่อ และโลโก้ KEX ตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาส 3 ปี 2567 ที่ผ่านมา           ภายใต้เครื่องหมายการค้า KEX  ยังสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น  อีกทั้งยังมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพบริการและสร้างความแข็งแกร่งในตลาด ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม จากการสนับสนุนของ SF Express เพื่อเสริมศักยภาพทางธุรกิจและความสามารถในการแข่งขันท่ามกลางสภาพแวดล้อมปัจจุบัน           KEX ยังคงมุ่งมั่นเติบโตอย่างมั่นคงในประเทศไทย พร้อมเดินหน้าสร้างมาตรฐานใหม่ของการจัดส่งพัสดุด่วน ตอกย้ำวิสัยทัศน์ใหม่ในการเชื่อมต่อโลกด้วยบริการจัดส่งที่รวดเร็ว เชื่อถือได้ และเต็มเปี่ยมด้วยนวัตกรรม ภายใต้แนวคิด "GLOBAL CONNECTIONS, LOCAL DELIVERIES" การเชื่อมต่อทั่วโลกแบบไร้รอยต่อ และจัดส่งถึงทุกคนในทุกพื้นที่มุ่งมั่นพัฒนาบริการอย่างไม่หยุดยั้ง ด้วยเครือข่ายจุดบริการและศูนย์กระจายสินค้าที่ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้าอย่างดีที่สุด [PR News]    

บล.กรุงไทยฯ แนะเก็งกำไร POPMART80 รับจีนหนุนสินค้าลิขสิทธิ์

บล.กรุงไทยฯ แนะเก็งกำไร POPMART80 รับจีนหนุนสินค้าลิขสิทธิ์

          หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ระบุ มอง Pop Mart เป็นหนึ่งในผู้ได้ประโยชน์มาตรการกระตุ้นการบริโภค ในส่วนของการสนับสนุนสินค้าลิขสิทธิ์จีน และสอดคล้องกับนโยบายรัฐในการเผยแผ่วัฒนธรรมจีนไปต่างประเทศ           อย่างไรก็ตาม แนะนำเพียงเก็งกำไร เนื่องจากปัจจุบันหุ้นซื้อขายที่ Forward PE 41x ซึ่งสะท้อนว่าการเติบโตได้ถูกรับรู้ไปแล้ว แนะนำติดตามการรายงานงบ 26 มี.ค.นี้           รายได้ 1H24 เติบโต 62% YoY และกำไรโต 93% YoY ขณะที่ Consensus คาด 2H24 รายได้โตเร่งตัวขึ้นเป็น 118% YoY และกำไรโต 162% YoY นอกจากนี้ คาดกำไรปี 2025 โต 40% และปี 2026 โตต่อ 24%

EA ผนึก TMHWST  พัฒนาพลังงานสะอาด โลจิสติกส์ไทย

EA ผนึก TMHWST พัฒนาพลังงานสะอาด โลจิสติกส์ไทย

          หุ้นวิชั่น - 18 กุมภาพันธ์ 2568 - บมจ. พลังงานบริสุทธิ์ หรือ EA ส่งบริษัทย่อย “อมิตา” ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) ร่วมกับ บริษัท โตโยต้า แมททีเรียล แฮนด์ลิ่ง แวร์เฮ้าส์ โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ TMHWST เปิดตัวผลิตภัณฑ์แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคุณภาพสูง ภายใต้แบรนด์ TerraXell สำหรับรถฟอร์คลิฟต์ไฟฟ้า ยกระดับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ มุ่งเน้นการใช้พลังงานสะอาด           นายฉัตรพล ศรีประทุม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA เปิดเผยว่า บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ อมิตา ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ EA ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) กับ บริษัท โตโยต้า แมททีเรียล แฮนด์ลิ่ง แวร์เฮ้าส์ โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ TMHWST เพื่อร่วมมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ (Business Partner)           โดยอมิตาดำเนินการพัฒนาแบตเตอรี่ต้นแบบ (Battery Prototype) พร้อมกับการออกแบบ การประกอบ การทดสอบแบตเตอรี่และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการศึกษาด้านเครื่องชาร์จประจุไฟฟ้า (Battery Charger) และระบบจัดการแบตเตอรี่ (BMS) สำหรับใช้งานกับรถฟอร์คลิฟต์ไฟฟ้า นำไปสู่การใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ทดแทนการใช้แบตเตอรี่ตะกั่วกรดแบบดั้งเดิม           TMHWST เป็นผู้พัฒนาตลาดสำหรับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ภายใต้แบรนด์ TerraXell เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และคลังสินค้าที่ต้องการเพิ่มผลิตภาพ ลดต้นทุนการใช้พลังงาน และเพิ่มความปลอดภัยในกระบวนการขนย้ายสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีกำหนดส่งมอบ       ลอตแรกกว่า 100 ลูก ภายในเดือนมีนาคม 2568 พร้อมจำหน่าย-ให้เช่า และบริการหลังการขาย ด้วยแนวคิด "Lithium-ion Battery: The Key to More Productive Operations”           นายจามีกร เผือกสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โตโยต้า แมททีเรียล แฮนด์ลิ่ง แวร์เฮ้าส์ โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด (TMHWST) กล่าวว่า ปัจจุบัน พลังงานสะอาดไม่ได้เป็นเพียงทางเลือก แต่เป็นพันธกิจ           สำคัญที่บริษัทชั้นนำให้ความสำคัญ เพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม TMHWST ในฐานะผู้นำด้านโซลูชันอินทราโลจิสติกส์และการจัดการคลังสินค้า ได้นำเสนอแบรนด์แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน TerraXell เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมที่ต้องการทั้งประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และความคุ้มค่าระยะยาว เสริมศักยภาพให้เครือข่ายธุรกิจเดินหน้าสู่อนาคตอย่างมั่นคง           นายฉัตรพล ศรีประทุม กล่าวเพิ่มเติมว่า “เราภูมิใจที่ได้ร่วมมือกับบริษัทชั้นนำอย่าง บริษัท โตโยต้า แมททีเรียล แฮนด์ลิ่ง แวร์เฮ้าส์ โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด ความร่วมมือครั้งนี้เป็นเครื่องยืนยันถึงคุณภาพที่มีมาตรฐานระดับโลกของแบตเตอรี่ Amita ที่สามารถตอบโจทย์สำคัญในการขับเคลื่อนการ    ใช้พลังงานสะอาดในอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ พร้อมความเป็นไปได้ในการรีไซเคิลแบตเตอรี่      และการเตรียมความพร้อมด้านคาร์บอนเครดิต” [PR news]

BGRIM เซ็น MOU ภูฏาน ชูหลักการ GNH ปรับใช้ในองค์กร

BGRIM เซ็น MOU ภูฏาน ชูหลักการ GNH ปรับใช้ในองค์กร

          เจ้าหญิงเคเซง โชเดน วังชุก แห่งศูนย์ความสุขมวลรวมประชาชาติ ประเทศภูฏาน (Gross National Happiness Centre Bhutan) ร่วมกับ ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี.กริม (BGRIM) และ คุณคาโรลีน ลิงค์ ประธานกรรมการ บริษัท บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ต่อยอดความร่วมมือเพื่อส่งเสริมและสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการนำหลักการของความสุขมวลรวมประชาชาติมาปรับใช้ในวัฒนธรรมองค์กร เสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดี และสนับสนุนการมีส่วนร่วมที่มีคุณค่า เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2568           ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี.กริม เปิดเผยว่า บี.กริม องค์กรที่รับใช้และเติบโตเคียงข้างประเทศไทย มายาวนานกว่า 147 ปี ภายใต้วิสัยทัศน์ การดำเนินธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี มีความมุ่งมั่นในการนำแนวทาง“ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness - GNH) มาปรับใช้ในวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งสอดคล้องกับค่านิยมด้านความโอบอ้อมอารี รวมถึง “หลักเศรษฐกิจพอเพียง” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงส่งเสริม โดยนำมาบูรณาการให้เข้ากับบริบททางธุรกิจ พร้อมมุ่งสู่การดำเนินธุรกิจและพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน           ภายใต้ความร่วมมือในครั้งนี้ ซึ่งมีกำหนดระยะเวลา 2 ปี บี.กริม มุ่งมั่นในการแลกเปลี่ยนความรู้ พัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับค่านิยมของ GNH พร้อมดำเนินโครงการที่ส่งเสริมการพัฒนาตนเองทั้งในด้านอาชีพและชีวิตส่วนตัว โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือ สร้างผลกระทบเชิงบวกภายในองค์กร และขยายผลไปสู่สังคมในวงกว้าง ในการเป็นผู้นำด้วยความโอบอ้อมอารี และการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม           ตลอดเวลากว่า 147 ปี บี.กริม ยึดหลักการดำเนินธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี ความร่วมมือนี้เป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นดังกล่าว เพื่อสร้างความตระหนักรู้คุณค่าและความสุขของพนักงาน และสร้างประโยชน์ที่ยั่งยืนให้แก่สังคม

LEO ตั้ง “บ.ลีโอ จี๋ทู่ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี” รุก EV Bike ผ่าน App

LEO ตั้ง “บ.ลีโอ จี๋ทู่ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี” รุก EV Bike ผ่าน App

          บมจ.ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ (LEO) ไฟแรง! ส่งบริษัทย่อย ลีโอ ซอร์สซิ่ง ซัพพลายเซน (LSSC) ผนึกกำลัง Yunnan Xiaomaolv Information Technology เปิดบริษัทใหม่ “ลีโอ จี๋ทู่ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี” ลุยให้บริการให้เช่า-จำหน่าย Power Bank โทรศัพท์มือถือ / รถจักรยานไฟฟ้า ผ่าน Application รวมถึงบริการเทคโนโลยีสื่อสารและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ คาดจะเริ่มดำเนินงานได้ภายในไตรมาส 2/68 ฟาก “เกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์” มั่นใจสามารถต่อยอดธุรกิจ Non Freight ที่จะช่วยส่งเสริมให้ทำรายได้สูงขึ้นตามแผนงานที่วางไว้           นายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) (LEO)  เปิดเผยว่าบริษัทฯ ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านการลงทุน (Investment Cooperation Agreement) ระหว่าง บริษัท ลีโอ ชอร์สซิ่ง แอนด์ ซัพพลายเชน จำกัด (LSSC) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ LEO กับ Yunnan Xiaomaolv Information Technology Co., Ltd. จัดตั้งบริษัทร่วมทุน ภายใต้ชื่อ บริษัท ลีโอ จี๋ทู่ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท โดย LSSC ลงทุน 2,550,000 บาท คิดเป็นสัดส่วน 51% ส่วน Yunnan Xiaomaolv Information Technology Co., Ltd. ลงทุน 2,450,000 บาท คิดเป็นสัดส่วน 49% เพื่อประกอบธุรกิจให้เช่า และจำหน่าย Power Bank โทรศัพท์มือถือ / รถจักรยานไฟฟ้า ให้บริการโซลูชั่นแก่ลูกค้าผ่าน Application คาดว่าจะ           สามารถจะเริ่มดำเนินงานได้ภายในไตรมาส 2/ 2568 โดยการลงนามในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายเหอ เจี่ยน ประธานกรรมการ และ นายพัน ไป๋หลิ่ง กรรมการผู้จัดการ Yunnan Xiaomaolv Information Technology Co., Ltd. ร่วมลงนาม           สำหรับความร่วมมือทางธุรกิจ ระหว่าง LEO และ Yunnan Xiaomaolv ในครั้งนี้ ถือเป็นอีกก้าวที่สำคัญของทั้งสองฝ่ายที่จะเพิ่มความแข็งแกร่งทางด้านการให้บริการในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบัน Yunnan Xiaomaolv เป็นบริษัทชั้นนำในประเทศจีน ดำเนินธุรกิจให้เช่าจักรยานไฟฟ้า (EV Bike) ผ่านแอปพลิเคชั่น   มีจักรยานไฟฟ้าให้บริการเช่า รวมทั้งสิ้น 80,000 คันในเมืองทางตอนใต้ของประเทศจีน 28 แห่ง เช่น มณฑลเจ้อเจียง หูหนาน กวางโจว ฝูเจี้ยน ยูนนาน กวางสี อีกทั้งบริษัทฯ ยังมีทีมพัฒนาเทคนิคระดับแนวหน้า  ด้วยจุดแข็งที่มีความสามารถด้านการพัฒนาระบบนวัตกรรมนี้ ทางบริษัทฯ สามารถนำมาขยายการให้บริการให้เช่า Power Bank  ต่อในประเทศไทย คาดว่าจะตอบโจทย์ให้ลูกค้าชาวไทย และนักท่องเที่ยวต่างชาติ หมดกังวลเรื่องแบตเตอรี่มือถือหมดอีกต่อไป           “LEO มั่นใจว่าความร่วมมือระหว่าง LSSC กับ Yunnan Xiaomaolv  ในธุรกิจให้เช่าแบตเตอรี่สำรองหรือ Power Bank สำหรับโทรศัพท์มือถือในครั้งนี้ จะเป็นการเปิดตลาดธุรกิจใหม่ที่เป็น Sharing Economy  โดยเฉพาะลูกค้าเป้าหมายหลักของบริษัทฯ ที่เป็นกลุ่ม Millennials และ Generation Z ซึ่งมีการใช้งานสมาร์ทโฟนสูง และสนใจใช้ผลิตภัณฑ์ Sharing Economy  เนื่องจากพวกเขามีการใช้งานสมาร์ทโฟนมาก และยินดีที่จะจ่ายค่าบริการเช่า power bank รวมทั้งลูกค้าหลักอีกกลุ่ม จะเป็นนักท่องเที่ยวจีน ญี่ปุ่น และฮ่องกง ที่คุ้นเคยกับ Sharing Economy ของ Power Bank เป็นอย่างดี” นายเกตติวิทย์ กล่าว           สำหรับแนวโน้มตลาด และโมเดลความสำเร็จของธุรกิจให้เช่า Power Bank ตามผลวิจัยจาก xResearch ตลาดเช่า power bank ทั่วโลก คาดว่าจะมีมูลค่า 9,378.5 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปีพ.ศ. 2073 โดยอุตสาหกรรม Power Bank Rental (PBR) นี้ ประกอบด้วยบริษัทที่ให้บริการเช่าหรือให้ยืม power bank ในระยะเวลาต่างๆ เช่น รายชั่วโมง, รายวัน หรือแบบเช่าเพื่อเป็นเจ้าของ   จำนวนบริษัท PBR  เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สะท้อนถึงความสนใจของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2560 และคาดว่าจะขยายตัวมากกว่า 600 ล้านคน ในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดยได้รับแรงสนับสนุนหลักจากกลุ่ม Millennials ที่เป็นกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี ปี พ.ศ. 2523 – 2539 และ Generation Z  ที่เป็นประชากรที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2540 – 2552  ซึ่งมีความสนใจในการใช้ผลิตภัณฑ์ Sharing Economy แทนการเป็นเจ้าของ ธุรกิจนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในตลาด Sharing Economy  ประกอบกับการนำเทคโนโลยี           สมาร์ทโฟนใหม่ๆ เช่น 5G และการใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ความต้องการใช้บริการเช่า power bank เพิ่มขึ้นด้วย           สำหรับในประเทศไทย จำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในไตรมาส 3 ปี 2567  จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ  พบว่า ประชาชนอายุ 6 ปี ขึ้นไปทั่วประเทศ มีประมาณ 66.0 ล้านคน เป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 59.2 ล้านคน (89.7%) และเป็นผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 62.9 ล้านคน (95.2%) มีระยะเวลาการท่องโซเชียลสูงเป็นอันดับต้นๆ  ทางบริษัทฯ เชื่อว่าคนไทยหลายคนอาจพบปัญหาเกี่ยวกับแบตเตอรีไม่เพียงพอและไม่ต้องการพกพาอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติม           ทั้งนี้ บริษัท ลีโอ จี๋ทู่ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด จะเริ่มธุรกิจจากให้บริการเช่ายืม power bank โดยจัดทำเป็นตู้เช่า คิดค่าบริการรายชั่วโมง เมื่อใช้เสร็จสามารถนำมาคืนที่จุดบริการไหนก็ได้ ตอบโจทย์ผู้ใช้ที่ไม่สะดวกพกพาพาวเวอร์แบงค์ตลอดเวลา หรือไม่ต้องใช้เวลานานๆ ตามจุดบริการปลั๊กไฟสาธารณะที่ค่อนข้างหายาก ให้สามารถเช่าและชาร์จแบตโทรศัพท์ได้ทันที และสามารถพกพาไปกับการเดินทางได้ตลอดเวลา หมดกังวลแบตโทรศัพท์มือถือหมดระหว่างวัน  โดยจะเปิดให้บริการด้วยสถานีเช่า power bank จำนวน 3,000 แห่งในกรุงเทพฯ ภายในไตรมาส 2 ของปี 2568 และมีแผนที่จะขยายไปถึง 10,000 แห่งภายในปลายปี 2568 โดยมีเป้าหมายที่จะขยายถึง 25,000 สถานีในปี 2569  และจะสามารถสร้างรายได้กว่าปีละ 100 ล้านบาท ภายในปี 2569           “ข้อได้เปรียบที่เรามี คือแอปพลิเคชันที่ใช้งานง่าย ( User Friendly) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้ของเราสามารถเช่า power bank ในสถานที่หนึ่งและคืนในอีกสถานที่หนึ่งได้ทั่วประเทศไทย ทำให้การเดินทางสะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องพกพา power bank ส่วนตัว  รวมถึงบริการให้เช่ารถจักรยานไฟฟ้าหรือ EV Bike  ซึ่งเป็นแผนงานที่ทางบริษัทฯ จะให้บริการในอนาคต    ในประเทศไทยมีโอกาสที่จะเติบโตสูง โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่มีปัญหาจราจรและมลพิษสูง การที่ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับการเดินทางที่สะดวก และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะช่วยสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจ” นายเกตติวิทย์ กล่าว [PR News]

บล.หยวนต้า แนะ VNM19 คาดเวียดนามกระตุ้นบริโภคเพิ่ม

บล.หยวนต้า แนะ VNM19 คาดเวียดนามกระตุ้นบริโภคเพิ่ม

           หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.หยวนต้า ระบุ เศรษฐกิจเวียดนามยังเติบโตดีในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นการบริโภค การผลิต รวมไปถึงการส่งออก ขณะที่ในระยะถัดไปเรามองว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะยังมีแรงหนุนต่อเนื่องจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในปีนี้ เนื่องจากรัฐบาลตั้งเป้าหมาย GDP เติบโตถึง 8% ในปีนี้ ซึ่งมาตรการกระตุ้นที่ประกาศออกมาแล้วส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน จึงคาดว่าจะมีมาตรการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศออกมาเพิ่มขึ้นอีกในปีนี้            VNM ถือเป็นหุ้นขนาดใหญ่ในเวียดนาม จึงมีโอกาสที่จะได้รับ Fund Flow จากนักลงทุนสถาบันต่างชาติค่อนข้างมากจากการยกระดับดัชนีจาก FTSE Frontier Market เป็น FTSE Emerging Market            Bloomberg Consensus คาดรายได้ปีนี้เติบโต 5% YoY จากทั้งยอดขายในประเทศ (82% ของยอดขายรวม) และยอดขายต่างประเทศ (18% ของยอดขายรวม)            ราคาหุ้นปัจจุบันยังถือว่าแพง โดยซื้อขายบน PER ปี 2025 เพียง 14.4 เท่า ใกล้เคียงกับระดับ -1.5SD ของค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี            Consensus ประเมินราคาเป้าหมายปี 2025 อยู่ที่ 76,811 ดองต่อหุ้น คิดเป็น 10.10 บาทต่อ DR หรือมี Upside ราว 19% อีกทั้งยังมีคาดการณ์เงินปันผลทั้งปี 2025 สูงถึง 6%            สำหรับ VNM19 หรือ Vietnam Dairy Products JSC (VNM.VN) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม ที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม สินค้าหลักของ Vinamilk คือ นมข้น นมผง นมสด นมถั่วเหลือง โยเกิร์ต ไอศกรีม ชีส น้ำผลไม้ กาแฟ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มาจากนม

บล.กรุงศรี แนะ BYDCOM80 ขายรถ EV โต-จ่อเปิดตัวเทคฯ ขับเคลื่อนอัตโนมัติ

บล.กรุงศรี แนะ BYDCOM80 ขายรถ EV โต-จ่อเปิดตัวเทคฯ ขับเคลื่อนอัตโนมัติ

          หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.กรุงศรี ระบุ BYD Company Limited (BYDCOM80) “ยอดขายรถ EV เติบโต บวกกับเตรียมเปิดตัวเทคโนโลยีขับเคลื่อนอัตโนมัติใหม่” ตลาดหุ้นจีนอยู่ในแนวโน้มฟื้นตัวตั้งแต่เริ่มต้นปี 68 ภายใต้แรงขับเคลื่อนเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นบริโภค และการฟื้นตัวของตัวเลขเศรษฐกิจ คาดส่งผลบวกสร้าง Upside ต่อหุ้น BYD Company Limited เพิ่มจาก ฐานที่ตลาดคาดว่าในปี 68 จะมีกำไรเติบโต 30.0% และ ยอดขายเติบโต 22.5% มีแรงหนุนจาก 1. ช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค.ของทุกปีจะเป็นฤดูกาลเปิดตัวรถยนต์ใหม่ ซึ่ง BYD มีแผนจะเปิดตัวรุ่นที่อัปเกรดเทคโนโลยี L2+AD เช่นเดียวกับคู่แข่งขัน ให้กับรถทุกรุ่นใหม่หลังจากนี้ (เพิ่มระบบจอดอัตโนมัติ, ระบบขับขี่อัตโนมัติบนทางหลวง, ระบบขับขี่อัตโนมัติในเมือง) ประเมินเป็นการช่วยปิดจุดอ่อน 2. โมเมนตัมยอดขายรถยนต์แบบ Wholesale ซึ่งเป็นรายได้หลักยังเป็นบวก ก.พ.68 อยู่ที่ 322,846 คัน เติบโต 7% m-m และ 164% y-y โดยยอดขายต่างประเทศสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 67,025 คัน (+1%m-m, +188%y-y) Bloomberg คาดว่าในปี 68 สัดส่วนยอดขายต่างประเทศจะเพิ่มเป็น 12% จาก 10% ของทั้งหมด ขณะที่ฐานยอดหลักจากในจีนมีปัจจัยเร่งจากการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐฯ เพิ่มเติม 3. ราคาหุ้น BYD-H (1211 HK) เพิ่มขึ้น 36% ตั้งแต่ต้นปี เทียบกับดัชนี HSI ที่ขึ้น 16% ทำให้บริษัทเลือกใช้โอกาสนี้ระดมทุน 5.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเงินที่ได้รับจากการระดมทุนนี้จะถูกนำไปใช้ใน 3 ด้านหลัก คือ การขยายธุรกิจต่างประเทศ, การลงทุนในสายงานวิจัยและพัฒนา (R&D), การเสริมสภาพคล่อง           ชอบแนวทางการลงทุน R&D เพิ่มเติม เพราะช่วยรักษาความสามารถการแข่งขันและรองรับการเติบโตในอนาคต อิงจาก Bloomberg Consensus ให้ราคาเป้าหมายปี 68 ที่ 415.14 HKD คิดเป็น Upside +8.1%           สำหรับภาพทางเทคนิค BYD แนวโน้มหลักเป็นขาขึ้น กำลังขึ้นทดสอบจุดยอดเดิมที่ +/- 408 (สำหรับ 1211 HK) กรณีผ่านขึ้นไปได้มองแนวต้าน 430 จะเป็นเป้าหมายหลักของการขึ้นขาใหม่ แนะนำ “ซื้อเก็งกำไร”

BH บวก 3.16% กองทุนรัฐบาลสิงคโปร์เก็บหุ้นเพิ่ม

BH บวก 3.16% กองทุนรัฐบาลสิงคโปร์เก็บหุ้นเพิ่ม

           หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รายงานการได้มาหุ้นของ บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) (BH) โดย GIC PRIVATE LIMITED หรือ กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของรัฐบาลสิงคโปร์ ซึ่งเป็นการได้มา เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2568 จำนวนหลักทรัพย์ที่ได้มา คิดเป็น 0.1216% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการได้มา คิดเป็น 5.0365% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ที่ได้มา ของกลุ่มคิดเป็น 0.1216% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการได้มา ของกลุ่มคิดเป็น 5.0365% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ

เอเซียพลัส คัด 3 หุ้นเด่น เช็ก!

เอเซียพลัส คัด 3 หุ้นเด่น เช็ก!

           ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล. เอเซียพลัส ระบุ วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวราว +0.3% ถึง +1.2% โดยตลาดฯ ให้น้ำหนักกับประเด็นเศรษฐกิจสหัฐฯ ส่งสัญญาณแข็งแกร่ง หลังสหรัฐเผย RETAIL CONTROL เดือน ก.พ. 68 ดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 1.0% ซึ่งสูงกว่าตลาดคาดที่ 0.2%MOM อย่างไรก็ตาม หากมองถึงความกังวลในระยะข้างหน้า คงหนีไม่พ้นความเสี่ยง TRADE WAR หลัง ปธน. TRUMP เรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศต่างๆ และอาจกดดันภาพรวมเศรษฐกิจตามมา พร้อมกับเงินเฟ้อมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น ภาวะดังกล่าว อาจเพิ่มความเสี่ยง “STAGFLATION” ซึ่งสิ่งที่ต้องติดตามในระยะถัดไป อาจทำให้การคาดเดาทิศทางดอกเบี้ยยากขึ้น ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงมาแรง 11.87%YTD สาเหตุหนึ่งมาจากการโยกย้ายเม็ดเงินเข้าตลาดตราสารหนี้โดยปีล่าสุด MARKET CAP SET น้อยกว่ามูลค่าคงค้างตราสารหนี้ถึง 2.5 ล้านล้านบาท ฝ่ายวิจัยฯคาดว่าเม็ดเงินดังกล่าวมีโอกาสโยกย้ายเข้าฝั่ง            ตลาดหุ้นไทยในระยะถัดไป โดยมี 3 เหตุผลสนับสนุน 1.อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในช่วงขาลงทั่วโลกรวมถึงไทย 2. การออกหุ้นกู้ภาคเอกชนระยะยาวน้อยลง โดยเฉพาะ RATING ต่ำกว่า BBB 3. ระดับ MARKET EARNING YIELD GAP ของไทยดูโดดเด่น TOP PICK เลือก BDMS, SPALI และ BJC

PLANET ชู 6 กลยุทธ์ เจาะ New S Curve มุ่ง Digital go Green

PLANET ชู 6 กลยุทธ์ เจาะ New S Curve มุ่ง Digital go Green

                  หุ้นวิชั่น - PLANET ปักธงปี 68 มุ่งเน้น นำเทคโนโลยีขั้นสูง และเทคโนโลยีดิจิทัลใช้เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Digital Go Green) เต็มตัว ชู 6 กลยุทธ์ รักษาฐานตลาดเดิมและเจาะตลาด New S Curveประกอบด้วย กลุ่มเทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced Technology) กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสำหรับการป้องกันประเทศ (Defense Technology) กลุ่มธุรกิจระบบป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ในระบบปฏิบัติการ (OT Cybersecurity) กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืน (ESG)  กลุ่มธุรกิจศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะสีเขียว (Green AI Data Center) และต่อยอดด้วยกลุ่มธุรกิจบริการ AI และ ข้อมูลขนาดใหญ่ (AI & Big Data Services) บิ๊กบอส "ประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์" ตั้งเป้าปี 68 ผลงานพลิกเป็นกำไร                   นายประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย จำกัด (มหาชน) หรือ PLANET ผู้ให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลแบบครบวงจร เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมา สภาพตลาดได้เปลี่ยนแปลงไป ทั้งทางด้านเทคโนโลยี  ความต้องการของลูกค้าเดิมขยายช้า และการแข่งขันในธุรกิจเดิมที่สูงมาก ทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโตของบริษัทฯ ดังนั้น  เพื่อสร้างโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืนและผลกำไรเพิ่มขึ้น ในปี 2568 บริษัทฯ จึงได้วางแผนการดำเนินธุรกิจ 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 รักษาฐานลูกค้าและเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมเดิม ส่วนที่ 2 มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูงสำหรับตลาดเฉพาะ (New S Curve) รวมทั้งนำเทคโนโลยีดิจิทัลใช้เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Digital Go Green) อย่างเต็มตัว จึงได้กำหนดกลยุทธ์การขับเคลื่อนธุรกิจองค์กรภายใต้ 6 กลยุทธ์ ประกอบด้วย                   1.กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced Technology) ซึ่งบริษัทเริ่มดำเนินธุรกิจนี้มาตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา หลังได้เป็นตัวแทนจำหน่ายบริษัท SAAB Technologies จากประเทศสวีเดน ซึ่งมีความชำนาญทางด้านเทคโนโลยีขั้นสูงทางด้านระบบควบคุมการเดินอากาศที่ใช้กิจการควบคุมการเดินอากาศและสนามบินต่างๆทั่วโลก โดยในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการจำหน่ายระบบติดตามอากาศยานภาคพื้นดินแบบ Multilateration (MLAT) ของ SAAB Technologies ให้แก่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (Aerothai) ตามนโยบายของรัฐบาลเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้เติบโต จึงมีแผนในการปรับปรุงระบบการเดินอากาศของสนามบินทุกแห่ง ให้มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยตามมาตราการบินสากล เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีความมั่นใจในการเดินทางมาประเทศไทยเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายของรัฐบาล “ กลุ่มธุรกิจในส่วนนี้มีแนวโน้มเติบโตทุกปีตามนโยบายของรัฐบาลที่จะปรับปรุงระบบควบคุมการบินของทุกสนามบิน ด้วยภาวะการแข่งขันในตลาดซึ่งอยู่ในระดับต่ำ จึงมีแนวโน้มกำไรขั้นต้นสูง และบริษัทฯ ยังมีความได้เปรียบจากการเป็นพันธมิตรกับ SAAB Technologies ซึ่งเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก จึงเป็นโอกาสสำคัญในการสร้างรายได้ เพื่อผลักดันให้ธุรกิจกลับมาทำกำไรอย่างมั่นคง” นายประพัฒน์กล่าว                   2.กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสำหรับการป้องกันประเทศ (Defense Technology) ในปี 2568 บริษัทฯเล็งเห็นโอกาสในการเพิ่มรายได้ จากนโยบายรัฐบาล ที่ให้ความสำคัญกับการเสริมศักยภาพด้านความมั่นคงของประเทศ และจำนวนคู่แข่งในตลาดไทยที่ยังมีไม่มาก จึงวางแผนขยายธุรกิจ และผลิตภัณฑ์สินค้าเทคโนโลยีใหม่ๆสำหรับตลาดนี้ อาทิ ระบบโครงข่ายสื่อสารแบบเคลื่อนที่เป็นกลุ่ม ,ระบบวิทยุสื่อสารทางการทหาร และ Drone & Anti Drone, Jammers ทั้งนี้ ในฐานะที่บริษัทฯ เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสื่อสารทางการทหาร และได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีป้องกันประเทศ อาทิ DTC, L3Harris, Skydio, IXI, Flyfocus และIAI จึงมองเห็นโอกาสในการขยายตลาด และเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการเติบโตของบริษัทฯ                   3.กลุ่มธุรกิจระบบป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ในระบบการปฏิบัติการ (OT Cybersecurity) ปัจจุบัน เหล่าแฮกเกอร์เริ่มขยายเป้าหมายโจมตีไซเบอร์จากทางด้าน IT ระบบคอมพิวเตอร์ มาเน้นโจมตีระบบปฏิบัติการภายในหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานของประเทศและภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่สามารถสร้างเสียหายได้มากกว่า รวมทั้งมีผลกระทบกับความมั่นคงของประเทศอย่างรุนแรง ซึ่งระบบการปฏิบัติการ OT Cybersecurity ของบริษัทฯเป็นเทคโนโลยีใหม่และมีโอกาสสร้างรายได้ที่มีมูลค่าสูง “ในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ Siemens ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกทางด้านระบบปฎิบัติการของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานของประเทศและภาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีประสบการณ์ในการป้องกันการโจมตีจากภัยคุกคามไซเบอร์ให้หน่วยงานชั้นนำทั่วโลก ในปีที่ผ่านมา จึงได้นำเสนอโซลูชัน OT Cybersecurity  และจัดสัมมนาให้ความรู้แก่หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากกลุ่มเป้าหมาย คาดว่าจะเห็นผลงานภายในปี 2568 นี้“ นายประพัฒน์กล่าว                   4.กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืน (ESG) ในปี 2568 บริษัทฯมีแผนให้บริการโซลูชันบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลการปล่อยคาร์บอนขององค์กร (Carbon Management Platform) พร้อมบันทึกการเกิดลดคาร์บอน (Carbon Footprints)และการลดคาร์บอน (Carbon Credit)  พร้อมเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT กับระบบไฟฟ้า ในการวัดค่าการใช้งานเพื่อใช้การคำณวนแบบ Real Time  รวมทั้งการรับรองผล กับเทคโนโลยี่ทางด้านพลังงานทดแทน อาทิ Solar, รถไฟฟ้า EV, EV Charger, BESS, Wind Turbines, Water Turbines ให้แก่ทุกอุตสาหกรรมโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมภาคการส่งออก ที่ต้องการปรับตัวให้สอดคล้องกับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม และต้องปฏิบัติตามมาตรการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) ซึ่งเป็นกฎระเบียบสำคัญของสหภาพยุโรปในการควบคุมการปล่อยคาร์บอนในห่วงโซ่อุปทาน ในปีปี 2569 นี้ ซึ่งมั่นใจว่ากลุ่มธุรกิจของบริษัทฯในส่วนนี้จะสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโตในปีนี้                   5.กลุ่มธุรกิจศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะสีเขียว (Green AI Data Center) ในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ มุ่งเน้นให้บริการรับฝากวางคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Co-Location Service) สำหรับองค์กรและธุรกิจที่ต้องการพื้นที่วางเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์ไอที และจากความร่วมมือกับ NVIDIA ทำให้ปัจจุบันเริ่มมีลูกค้าจากต่างประเทศ เช่าใช้บริการพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และประสงค์ใช้บริการ GPU Server NVIDIA ซึ่งเป็นจุดเด่น ที่บริษัทฯ มีพร้อมให้บริการ นอกเหนือจาก ความพร้อมด้าน ระบบสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐาน ทำให้มั่นใจว่า ภายในสิ้นปี 2568 มีลูกค้าเข้าใช้บริการเต็มพื้นที่ 124 เซิร์ฟเวอร์ หรือเต็มกำลังผลิตไฟฟ้ารองรับลูกค้า1.3 เมกะวัตต์ ตามเป้าหมาย " บริษัทฯ ยังมีแผนขยายพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อรองรับ Hyperscale Data Center เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด AI และฐานข้อมูลที่ขยายตัวอย่างก้าวกระโดด ซึ่งจะช่วยเสริมศักยภาพของบริษัทฯ ในการเป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI Data Center ที่ครบวงจรและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม" นายประพัฒน์กล่าว                   6.กลุ่มธุรกิจบริการ AI และ ข้อมูลขนาดใหญ่ (AI & Big Data Services) ต่อยอดจากบริการศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะสีเขียว ในปี 2568 บริษัทฯมีแผนขยายบริการ AI และ Big Data เพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรภาครัฐ โดยเฉพาะ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ซึ่งมีการเก็บข้อมูลจำนวนมาก แต่ยังขาดระบบวิเคราะห์และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถ จัดเก็บ วิเคราะห์ และนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อย่างเป็นระบบ โดยเน้นการสนับสนุนด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน                   สำหรับ กลุ่มธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunications Technology) ที่บริษัทดำเนินงานมากว่า 30 ปี  ปัจจุบันมีการจำหน่ายสินค้าและบริการ ให้กับหน่วยงานราชการ หน่วยงานทหารและความมั่นคง บริษัทเอกชนชั้นนำ โรงงานอุตสาหกรรม ประกอบด้วย  ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satcom) ระบบโครงข่ายพื้นฐานโทรคมนาคม (Network Infrastructure) ระบบรวมศูนย์การสื่อสาร ภาพ เสียง ข้อมูล (Unified Communications System) ระบบถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์แบบดิจิทัล (Digital Broadcasting) และ รถสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Mobile Vehicle)                   ในส่วนนี้ เราจะเน้นรักษาฐานลูกค้าเดิม และหาลูกค้าใหม่ที่มีความต้องการและมีกำลังซื้อมาชดเชยยอดขายที่ลดลง พร้อมทั้งการปรับตัวทางด้านการหาสินค้าที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆให้ตรงกับความต้องการของตลาด และหากสินค้าใดไม่สามารถทำผลกำไรได้ บริษัทจะพิจารณาลดบทบาทลงไป                   “ด้วยกลยุทธ์ทั้งหมดในข้างต้น มั่นใจว่าจะทำให้ผลการดำเนินของบริษัทฯ สามารถพลิกกลับมาเป็นมีกำไรและกลับไปอยู่ในจุดที่แข็งแกร่ง สามารถสร้างรายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน พร้อมขยายศักยภาพไปสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในอนาคตต่อไป” นายประพัฒน์กล่าว   [PR News]    

ทรีนีตี้ คัด 10 หุ้นเด่น เช็กด่วน!

ทรีนีตี้ คัด 10 หุ้นเด่น เช็กด่วน!

             หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด คาด SET Index น่าจะยังแกว่งทรงตัวที่บริเวณดัชนี 1,170 จุด ท่ามกลางวอลุ่มการซื้อขายที่เบาบาง ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะนักลงทุนชะลอดูผลการประชุม Fed และ BoJ ที่จะออกมาในวันพรุ่งนี้ ในเชิงกลยุทธ์ คงแนะนำถือครองหุ้นในส่วนเดิม ซึ่ง Top pick ของเราในเดือนนี้ยังคงได้แก่ CPALL, CPAXT, HMPRO, AP, SPALI, TIDLOR, VGI, BDMS, LHHOTEL, 3BBIF              Asia vs. U.S.: สำหรับปัจจัยตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าสนใจที่ออกมาเมื่อวานนี้ได้แก่ รายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและยอดค้าปลีกของจีนประจำเดือนก.พ. ซึ่งต่างออกมาขยายตัวดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ทั้งคู่ ส่งผลให้ล่าสุดดัชนี Economic surprise ของประเทศจีนปรับสูงขึ้นมายืนในแดนบวกได้เป็นครั้งแรกในรอบ 1 เดือนครึ่ง สวนทางกับทิศทางของตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังคงอ่อนแอกว่าที่ตลาดคาดส่วนใหญ่ โดยเมื่อวานนี้ยอดค้าปลีกประจำเดือนก.พ.ขยายตัวเพียง 0.2% ต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 0.6% ส่งผลให้ดัชนี Economic surprise ของสหรัฐฯยังคงยืนในแดนลบต่อเนื่อง (รูปที่ 1) เรามองต่อจากเมื่อวานนี้เช่นเดิมว่า ตลาดหุ้นเอเชียจะสามารถปรับตัวแข็งแกร่งกว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯได้ต่อไปอย่างไม่ยากเย็น              Residential: สำหรับปัจจัยวันนี้ แนะนำติดตามการประชุมครม.ซึ่งอาจมีวาระหารือเกี่ยวกับการพิจารณามาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะมาตรการการต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง 0.01% สำหรับที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท รวมไปถึงความเป็นไปได้ในการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV เป็นการชั่วคราวและเพิ่มวงเงินซอฟต์โลนจากธนาคารอาคารสงเคราะห์              Our take: หากมีความคืบหน้ามาตรการดังกล่าวในวันนี้ ประเมินจะเป็น Sentiment ที่ดีต่อมายังกลุ่มที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นกลุ่ม Domestic ภายในที่เผชิญกับปัญหากำลังซื้อถดถอยในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ จากการคัดกรองของเราไปยังหุ้นในกลุ่มนี้ที่มีคุณลักษณะ Deep value (PBV ต่ำกว่า 1x / PBV ต่ำกว่า -1.5SD / Dividend เกินกว่า 3% / 2025E EPS growth เป็นบวก / มี ESG Rating) จะได้ว่าหุ้นที่น่าสนใจมากที่สุดในกลุ่มยังคงได้แก่ SPALI

WHA นักวิเคราะห์ตัดสินแล้ว! เลื่อน IPO คลายกังวลแค่ไหน?

WHA นักวิเคราะห์ตัดสินแล้ว! เลื่อน IPO คลายกังวลแค่ไหน?

             หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง WHA ว่า เลื่อน IPO ธุรกิจนิคมฯ และการปรับโครงสร้าง              บริษัทฯ เลื่อนการเสนอขายหุ้น IPO ของกลุ่มธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม (WHAID) และการปรับโครงสร้างการถือหุ้นใน WHAUP หลังจากประเมินสภาวะเศรษฐกิจ ความผันผวนของตลาดทุน และการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน โดยคาดว่าจะไม่มีการกำหนดใหม่ในระยะ 2 ปีข้างหน้า เพื่อคลายความกังวลและเร่งพิสูจน์ศักยภาพการเติบโตของธุรกิจใหม่อย่าง Mobilix              แผนการลงทุนปี 2025 ยังคงเดิมที่มูลค่า 20,000 ล้านบาท รวมถึงแผนการขายสินทรัพย์ประจำปีที่ 70,000 ตร.ม. มูลค่า 1,500 ล้านบาท (ลดลงจากค่าเฉลี่ยย้อนหลังที่ 2,000-3,000 ล้านบาท/ปี) โดยยืนยันว่ามีแหล่งเงินทุนเพียงพอต่อการลงทุน และในปัจจุบันธุรกิจนิคมฯ มีการรับรู้รายได้ที่เร็วขึ้น (Cash Cycle สั้นลง) นอกจากนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้าอัตราส่วน Net IBD/Equity ปี 2025 ที่ 1.2 เท่า (จาก 1.04 เท่าในปี 2024)              บริษัทฯ คาดยอดขายที่ดินในไตรมาส 1 ปี 2025 จะมากกว่า 700 ไร่ โดยอุปสงค์ที่ดินปัจจุบันยังคงอยู่ในระดับสูงจากลูกค้ากลุ่ม Electronics, Data center และ ยานยนต์ นอกจากนี้ กำลังเจรจากับลูกค้า High Potential ขนาดที่ดินรวมมากกว่า 1,000 ไร่ หากสำเร็จ คาดว่าจะบันทึกในไตรมาส 2 ปี 2025 และมีโอกาสปรับเป้าขายที่ดินในปี 2025 ขึ้นเป็น 3,000 ไร่ (จากเป้าต้นปี 2025 ที่ 2,350 ไร่ / ปี 2024 ทำได้ 2,565 ไร่) ธุรกิจในเวียดนามเริ่มมีแนวโน้มฟื้นตัว โดยลูกค้าติดต่อเข้ามาเพิ่มขึ้น และกำลังเจรจากับลูกค้ากว่า 1,200 ไร่ มุมมองของเรา              การเลื่อน IPO ของกลุ่มธุรกิจนิคม (WHAID) เป็น Sentiment บวกต่อหุ้นจากการคลายความกังวลในตลาดก่อนหน้า เช่น 1) สัดส่วนการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากธุรกิจนิคมที่เป็นธุรกิจหลักลดลง กดดันแนวโน้มการเติบโตของกำไรสุทธิปี 2026 เป็นต้นไป และ 2) ค่าใช้จ่ายทางภาษีจากการปรับโครงสร้างการถือหุ้น WHAUP ที่เป็นรายการพิเศษกดดันการเติบโตของกำไรสุทธิปี 2025 นอกจากนี้ หากบริษัทฯ สามารถสร้างความเชื่อมั่นในธุรกิจใหม่ Mobilix ได้ในระยะเวลา 2 ปี จะช่วยหนุนการประเมินมูลค่าที่แท้จริงของ WHA ได้อย่างมีนัยสำคัญ              แนวโน้มในไตรมาส 1 ปี 2025 เราคาดว่ายอดขายที่ดินจะเติบโต QoQ และ YoY ตามความต้องการที่ดินจากลูกค้ากลุ่ม Electronics และ Data Center ขณะที่คาดผลประกอบการทรงตัว QoQ จาก GPM ที่สูงกว่าปกติ และทรงตัว YoY จากฐานสูงของการโอนที่ดิน              เราคงประมาณการปี 2025 คาดกำไรปกติที่ 4,908 ล้านบาท (+14% YoY) จาก 1) Backlog แข็งแกร่ง 1,535 ไร่ (+48% YoY) โอนส่งมอบทั้งหมดภายในปี 2) GPM ของธุรกิจนิคมฯ ยังคงอยู่ในระดับสูงจากการปรับราคาขายที่ดินขึ้น 3) รายได้ธุรกิจสาธารณูปโภคเติบโตตามลูกค้านิคมที่เพิ่มขึ้น และ 3) แผนขายสินทรัพย์เข้ากอง REIT มูลค่า 1,500 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจาก 1,100 ล้านบาทในปี 2024)              ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ราคาหุ้นปรับตัวลง 23% จากความกังวลเกี่ยวกับการเตรียม IPO ธุรกิจนิคมฯ (WHAID) เราจึงมองว่าราคาหุ้นมีโอกาสฟื้นตัวจากการคลายความกังวลนี้ คงคำแนะนำ "ซื้อ" โดยตั้งราคาเป้าหมายที่ 5.65 บาท ส่วนระยะสั้นต้องติดตามความผันผวนจากมาตรการการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ

บล.พาย คัด 10 หุ้นผู้นำอุตสาหกรรม อำนาจต่อรองสูง

บล.พาย คัด 10 หุ้นผู้นำอุตสาหกรรม อำนาจต่อรองสูง

              หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.พาย ประเมิน SET INDEX วันนี้ เคลื่อนไหวในกรอบ 1,160 - 1,180 จุด ทั้งนี้กลยุทธ์การลงทุนการเลือกหุ้นมีความจำเป็นค่อนข้างมาก ท่ามกลางกระแสเงินทุนไหลออกและปัจจัยพื้นฐานไม่ได้โดดเด่น ชอบหุ้นที่เป็นผู้นำอุตสาหกรรม มีความสามารถในการแข่งขัน อำนาจต่อรองค่อนข้างสูงทั้งกับลูกค้าและผู้ป้อนวัตถุดิบ อาทิ ศูนย์การค้า (CPN) โรงพยาบาล (BDMS) ธนาคารพาณิชย์ (BBL KBANK KTB SCB) นิคมอุตสาหกรรม (AMATA WHA) ท่องเที่ยว (CENTEL MINT)               วานนี้ Bloomberg นำเสนอมุมมองต่อตลาดหุ้นไทย โดย SET INDEX ปรับลง 16% (YTD) นับเป็นดัชนีที่ให้ผลตอบแทนย่ำแย่สุดในจาก 92 ดัชนีที่ Bloomberg พิจารณาอยู่และนักลงทุนต่างชาติก็ขายสุทธิราว 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา (สูงสุดในอาเซียน อิงข้อมูลจาก Bloomberg) Bloomberg ตั้งข้อสังเกตุว่าเหตุผลหลักที่ต่างชาติขายมาจากปัญหาหนี้ครัวเรือนสูงกดดันเศรษฐกิจ ประกอบกับความไม่แน่นอนทางการเมือง และคดีต่างๆของบริษัทจดทะเบียนไทย นอกจากนี้แล้วเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพิงการท่องเที่ยวมากเกินไป ก็เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจ แม้หุ้นไทยจะไม่แพงแต่ก็ยากที่จะโน้มน้าวให้นักลงทุนกลับเข้ามาลงทุน ขณะที่กองทุนวายุภักษ์ก็ถือว่าล้มเหลวในการพยุงหุ้นไทยเพราะลงทุนไปแล้ว 50-60% แต่ดัชนียังคงปรับลงต่อเนื่อง สิ่งสำคัญที่จะเรียกความเชื่อมั่นได้เห็นทีจะอยู่ที่ภาครัฐบาล จากข้อความข้างต้นทั้งหมดมาจาก               Bloomberg ซึ่งหากมองสิ่งที่กล่าวมาก็ต้องยอมรับว่าประเทศไทยมีความน่าสนใจที่น้อยลงจากปัจจัยพื้นฐาน การลงทุนจึงควรเน้นหาหุ้นที่มีความสามารถในการแข่งขันที่สูง               ตลาดหุ้น Dow Jones เมื่อคืนปิดบวก 353 จุด (+0.85%) โดยดัชนีหลักทั้ง 3 ได้ปัจจัยหนุนจากนักลงทุนช้อนซื้อหุ้นหลังตลาดปรับฐานช่วงก่อนหน้านี้ รวมถึงความหวังว่ารัสเซียและยูเครนมีแนวโน้มสิ้นสุดลง ด้านราคาน้ำมันดิบ BRT ปิดบวก 0.7%               เมื่อคืนที่ผ่านมาสหรัฐฯได้รายงานยอดค้าปลีกขยายตัวเพียง 0.2%MoM ต่ำกว่า Bloomberg Consensus คาดไว้ที่ 0.6%MoM โดยสินค้าเกี่ยวข้องกับยานยนต์หดตัวลง (-0.4%MoM) สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (-0.3%MoM) เสื้อผ้า (-0.6%MoM) สินค้าที่หดตัวสะท้อนถึงความมั่นใจการบริโภคที่ลดลง เพราะส่วนใหญ่เป็นสินค้าคงทนที่จะซื้อก็ต่อเมื่อมั่นใจต่อสภาพการเงินและอนาคตรายได้ที่สดใส การลดลงอาจเป็นเพราะความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงตามคาดการณ์รายได้และเงินเฟ้อที่สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามหลังจากรายงานพบว่า US Bond Yield ปรับขึ้นเล็กน้อย ส่วนนึงที่นักลงทุนไม่ได้กระทำใดมากเพราะอาจรอดูผลประชุม FED ในช่วงคืนวันพุธ

The White Lotus ปลุกกระแสเที่ยว หุ้นไหนรับอานิสงส์ - เช็กเลย!

The White Lotus ปลุกกระแสเที่ยว หุ้นไหนรับอานิสงส์ - เช็กเลย!

              หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) ระบุว่า การท่องเที่ยวไทยมีภาพบวกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย นำโดยยอดผู้ใช้บริการสนามบิน AOT ในช่วงวันที่ 1-16 มี.ค. ซึ่งการเดินทางออกนอกประเทศลดลง -0.2% y-y ปรับตัวดีขึ้นจากช่วง 1-8 มี.ค. ที่ลดลง -1.6% y-y บ่งชี้ว่าระหว่างวันที่ 9-16 มี.ค. ยอดนักท่องเที่ยวอาจกลับมาขยายตัว y-y ได้               อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับระดับ Pre-COVID ในช่วง 1-16 มี.ค. ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปี 2019 ประมาณ -13.6% ทำให้มีแนวโน้มว่านักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2025F อาจอยู่ในกรอบล่างของที่ตลาดคาดการณ์ไว้               แม้ตัวเลขโดยรวมยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ แต่ในบางจุดท่องเที่ยวกลับมีภาพบวก หลังจากที่ซีรีส์ The White Lotus Season 3 ออกอากาศ โดยข้อมูลจาก Expedia ระบุว่าความสนใจในการค้นหาเกี่ยวกับ โฟร์ซีซั่นส์ รีสอร์ท เกาะสมุย (Four Seasons Resort Samui) ซึ่งเป็นสถานที่ถ่ายทำหลักของซีรีส์ เพิ่มขึ้นถึง 370% ในตลาดฮ่องกงเมื่อเทียบกับปีก่อน               ขณะเดียวกัน การค้นหาการเดินทางไป เกาะสมุย โดยรวมเพิ่มขึ้น 115% ในสิงคโปร์, 95% ในสหรัฐอเมริกา และ 70% ในออสเตรเลีย ซึ่งโดยรวมแล้วเป็นปัจจัยบวกทางจิตวิทยาต่อหุ้นกลุ่ม ท่องเที่ยวและภาคบริการ ในระยะสั้น โดยเน้นกลุ่มที่ได้รับกระแสจาก The White Lotus เช่น BA และ MINT

KSS คาด SET Sideways/Up ต้าน 1,195 จุด - คัด 3 หุ้นเด่น เช็ก!

KSS คาด SET Sideways/Up ต้าน 1,195 จุด - คัด 3 หุ้นเด่น เช็ก!

               หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) คาดว่า SET วันนี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ Sideways/Up โดยมีแนวต้านที่ 1,187/1,195 จุด และแนวรับที่ 1,160/1,156 จุด                ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามในวันนี้ ได้แก่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยยอดค้าปลีกเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ฟื้นตัวแต่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ +0.2% m-m เทียบกับครั้งก่อนที่ -1.2% m-m ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐรีบาวด์ได้ เนื่องจากนักลงทุนลดความกังวลด้านเศรษฐกิจและมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีโอกาส Soft Landing ซึ่งช่วยหนุนให้หุ้น Value Stocks ปรับตัวขึ้นนำตลาด ทั้งนี้ ตลาดกำลังรอผลการประชุม Fed ในช่วงกลางสัปดาห์                ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นเล็กน้อยเฉลี่ย +0.6% ได้รับแรงหนุนจากความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ขณะที่ เศรษฐกิจจีนมีพัฒนาการเชิงบวกในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 โดยรัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นการบริโภคเพิ่มเติมมากกว่า 0.3% ของ GDP ซึ่งช่วยหนุนให้เม็ดเงินลงทุนเริ่มไหลเข้าสู่ ตลาดจีนและเอเชีย                สำหรับปัจจัยภายในประเทศ เศรษฐกิจไทยมีพัฒนาการเชิงบวก โดย BOI อนุมัติโครงการ Data Center และโครงการอื่น ๆ เพิ่มเติม ส่งผลให้ปีนี้มีการอนุมัติโครงการรวม 3.7 แสนล้านบาท (เทียบกับปี 2567 ที่ 1.13 ล้านล้านบาท) นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดเสนอรัฐบาลให้แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน โดยระดมทุนจากภาคเอกชนเพื่อซื้อหนี้จากธนาคาร ซึ่งถือเป็นจิตวิทยาเชิงบวกต่อ หุ้น Domestic และหุ้นกลุ่ม BANK                วันนี้ต้องจับตาการประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งคาดว่าจะมีการพิจารณามาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งอาจส่งผลบวกต่อหุ้นในกลุ่มอสังหาฯ                โดยรวมคาดว่า SET วันนี้จะสามารถรีบาวด์ได้ โดยหุ้นที่คาดว่าจะเป็นผู้นำตลาด ได้แก่ หุ้น Domestic Play โดยเฉพาะกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ หุ้น China Plays และหุ้น Deep Value 10 ตัว สำหรับหุ้นเด่นที่แนะนำวันนี้ ได้แก่ AP, IVL และ SCGP

โบรกห่วงหุ้นโรงไฟฟ้า ค่าไฟต่ำกระทบเติบโต

โบรกห่วงหุ้นโรงไฟฟ้า ค่าไฟต่ำกระทบเติบโต

           หุ้นวิชั่น - กลุ่มโรงไฟฟ้า กับการปรับลดค่าไฟฟ้าของไทยให้เหลือ 2.5 บาท/หน่วย ตามแนวคิดของ ทักษิณ ชินวัตร ถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ ท้าทายและอาจไม่เกิดขึ้นในระยะสั้น จากมุมมองนักวิเคราะห์ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคด้านต้นทุนและโครงสร้างพลังงาน ขณะที่หุ้นโรงไฟฟ้ายังคงเผชิญแรงกดดันจากนโยบายรัฐ ส่งผลกระทบต่อการเติบโตและเงินปันผล นักลงทุนแนะ Wait & See รอความชัดเจนของอุตสาหกรรม            อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เปิดวิสัยทัศน์ในเวที ร่วมงาน MFC’s 50th AnniversaryThe World’s Next Opportunities and Beyond เปิดโอกาสลงทุนแห่งอนาคตถึงประเด็นลดค่าไฟฟ้า หวังดึงต่างชาติลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์ในไทย ปัจจุบันต้นทุนพลังงานทั่วโลกอยู่ที่ 0.67 บาท แต่ไทยสูงถึง 3.7 บาท จึงตั้งเป้าลดเหลือ 2.7 บาท (8 เซนต์) ในเบื้องต้น ขณะที่นักลงทุนต่างชาติให้ความเห็นว่าหากค่าไฟไทยอยู่ที่ 2.02-2.35 บาท (6-7 เซนต์) จะสามารถแข่งขันได้ระดับโลก นอกจากนี้ ทักษิณยังระบุว่าอยากเห็นค่าไฟภายในประเทศที่ 2.5 บาท            ด้าน บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ระบุ กรณีที่คุณทักษิณชงลดไฟเหลือ 2.5 บาท ดึง AI-ดาต้าเซ็นเตอร์ลงทุนไทย ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าเป็นเรื่องที่ยากและท้าทายเป็นอย่างมาก จากปัจจัยดังนี้ 1. ต้นทุนปัจจุบันสูงเกินเป้า โดยค่าไฟเฉลี่ยปัจจุบันอยู่ที่ 4.15 บาท/หน่วย ด้าน ต้นทุนผลิตไฟฟ้า (จากก๊าซ) อยู่ที่ 2.4 บาท/หน่วย ส่วนค่าระบบและโครงสร้างพื้นฐาน 1.55 บาท/หน่วย รวมไปถึงค่า Ft อีก 0.20 บาท/หน่วยและ ต้นทุนผูกกับราคาก๊าซและ LNG ที่ผันผวน 2. ต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่ยังผูกกับราคาก๊าซและ LNG ที่ผันผวน ซึ่งถ่านหิน: ต้นทุนต่ำ (2-3 บาท/หน่วย) แต่เผชิญข้อจำกัดทางสิ่งแวดล้อมและการเมือง ราคาก๊าซธรรมชาติ: ก๊าซราคาถูกจากอ่าวไทยมีจำกัด การนำมาใช้มากขึ้นอาจกระทบภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ สำหรับราคา LNG นั้นมีราคาผันผวนสูง ทำให้ควบคุมต้นทุนไฟฟ้ายาก 3. ข้อจำกัดของพลังงานแสงอาทิตย์ โดยต้นทุนผลิตต่ำสุดในประเทศ (2.1-2.2 บาท/หน่วย) แต่ผลิตไฟไม่ต่อเนื่อง และไม่ครอบคลุมช่วง Peak ช่วงกลางคืน อีกทั้งยังต้องใช้แบตเตอรี่ขนาดใหญ่และต้นทุนสูงมาก และต้องใช้เวลานานและพื้นที่มหาศาล สำหรับมุมมองต่อกลุ่มโรงไฟฟ้า หุ้นโรงไฟฟ้าเคยปรับตัวลงแรงเมื่อมีเป้าหมายลดค่าไฟเหลือ 3.7 บาท/หน่วย            รอบนี้อาจไม่กระทบมาก เพราะราคาหุ้นบางส่วนสะท้อนความเสี่ยงไปแล้วข้อเสนอแนะต่อนโยบายค่าไฟถูกไม่ใช่คำตอบเดียวไทยควรเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และบริการเทคโนโลยีขั้นสูงควบคู่ เพื่อดึงดูดดาต้าเซ็นเตอร์และ AI ระดับโลกในระยะยาว            นายมงคล พ่วงเภตรา รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากกำลังเผชิญกับปัจจัยลบหลายด้านที่ส่งผลกระทบต่อเนื่อง ซึ่งเดิมทีหุ้นโรงไฟฟ้ามักถูกมองว่าเป็น Defensive Stock หรือหุ้นที่มีเสถียรภาพสูง สามารถทนทานต่อภาวะตลาดที่ผันผวนได้ดี แต่ปัจจัยลบที่เกิดขึ้นทำให้ความเป็น Growth Stock ของหุ้นกลุ่มนี้ลดลงไป ปัจจัยลบที่กระทบหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า 1. การเติบโตชะลอตัวและการลงทุนในต่างประเทศที่ไม่เป็นไปตามเป้า นักลงทุนเคยมองว่าหุ้นกลุ่มนี้เป็นหุ้นที่เติบโตได้อย่างมั่นคง แต่ในช่วงที่ผ่านมา การขยายธุรกิจไปต่างประเทศของบางบริษัทอาจไม่ได้ประสบความสำเร็จอย่างที่คาด ทำให้ศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนลดลง 2. นโยบายลดค่าไฟของภาครัฐ กดดันอัตราค่าไฟฟ้าโรงไฟฟ้าใหม่ รัฐบาลมีนโยบายปรับลดค่าไฟเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและดึงดูดการลงทุนในประเทศ ส่งผลให้โรงไฟฟ้าที่เข้าประมูลโครงการพลังงานทดแทนได้รับอัตราค่าไฟฟ้าที่ต่ำลง กระทบต่อผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ของบริษัทที่เข้าร่วมประมูล 3. โรงไฟฟ้าที่พึ่งพารายได้จากธุรกิจไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวเผชิญความเสี่ยงสูง บริษัทที่มีธุรกิจโรงไฟฟ้าเป็นรายได้หลัก เช่น RATCH และ EGCO มีความเสี่ยงจากการขาดการกระจายแหล่งรายได้ เมื่อเทียบกับบริษัทที่มีธุรกิจอื่นเข้ามาเสริม ทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง 4. การลดลงของเงินปันผลจากโรงไฟฟ้าเก่า โรงไฟฟ้าหลายแห่งมี สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ที่ผ่านช่วงพีคของผลตอบแทนไปแล้ว ส่งผลให้การจ่ายเงินปันผลลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยที่นักลงทุนต้องพิจารณาในการเลือกหุ้นกลุ่มนี้ แนวโน้มและกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นโรงไฟฟ้า • การกระจายความเสี่ยง เป็นสิ่งจำเป็น บริษัทโรงไฟฟ้าจำเป็นต้องหา ธุรกิจเสริม ที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่ผู้ถือหุ้น แต่การขยายไปสู่อุตสาหกรรมอื่นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องเลือกธุรกิจที่มี ROI สูง และมีความสอดคล้องกับศักยภาพของบริษัท • นักลงทุนควรมองหาหุ้นที่มี เงินปันผลสูงกว่า ถ้าหุ้นตัวนั้นมีการเติบโตเมหือนกัน แต่ปัจจุบันการเติบโตของหุ้นโรงไฟฟ้าอยู่ภายใต้แรงกดดันจากปัจจัยลบหลายด้าน • จากความไม่แน่นอนที่ยังคงอยู่ การลงทุนในหุ้นโรงไฟฟ้าช่วงนี้ยังอยู่ในโหมด Wait & See รอความชัดเจนของอุตสาหกรรมก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสรุป แม้ว่าหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้ายังคงเป็นหุ้นที่มีความมั่นคงในระยะยาว แต่ด้วยปัจจัยลบที่เข้ามากระทบ ทั้งจากนโยบายภาครัฐและแนวโน้มการเติบโตที่ชะลอตัว จึงต้องมีกลยุทธ์ในการลงทุนที่ดี ยังอยู่ในโหมด Wait & See รอความชัดเจน

[Vision Exclusive] ITEL แย้ม Q1/68 โต รอเข้าประมูลงานใหม่-โฟกัส Cloud จ่อเปิดศูนย์ CT scan สุราษฎร์ฯ แห่งแรก

[Vision Exclusive] ITEL แย้ม Q1/68 โต รอเข้าประมูลงานใหม่-โฟกัส Cloud จ่อเปิดศูนย์ CT scan สุราษฎร์ฯ แห่งแรก

           บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จำกัด (มหาชน) (ITEL) คาดผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2568 จะเติบโตตามเป้าหมาย จากงานปัจจุบัน มูลค่ารวม 400 ล้านบาท พร้อมปรับกลยุทธ์มุ่งเน้นธุรกิจ Cloud Implementor รองรับ Hyperscaler คาดสร้างรายได้ 200-300 ล้านบาทในปีนี้ ส่วนธุรกิจ Health Tech เตรียมเปิดศูนย์ CT Scan แห่งแรกที่สุราษฎร์ธานีในเดือนพ.ค.นี้ หนุนเป้ารายได้ปี 2568 เติบโต 30% จากปีก่อน            นายณัฐนัย อนันตรัมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จำกัด (มหาชน) (ITEL) เปิดเผยกับ ทีมข่าวหุ้นวิชั่น ว่า บริษัทฯ คาดผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/2568 จะเติบโต เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ จากปัจจุบันมีงานที่ได้เซ็นสัญญากับภาครัฐและเอกชน เช่น งานเดินสายไฟเบอร์ฯ, การจัดทำระบบคลาวด์, ให้บริการ USO เฟส 1 เป็นต้น มูลค่ารวมราว 400 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มรับรู้รายได้เข้ามา และอยู่ระหว่างรอเข้าประมูลงาน  USO Phase 3 มูลค่าโครงการรวม 5,800 ล้านบาท โดยปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการทำประชาพิจารณ์ คาดจะสามารถเปิดประมูลได้ภายใน 1-2 เดือนนี้            ทั้งนี้บริษัทฯ จะหันมามุ่งเน้นการเป็น Cloud Implementor หรือตัวกลางเชื่อมต่อระหว่าง Data Center กับลูกค้า รองรับความต้องการของ Hyperscaler หรือผู้ให้บริการ Cloud และ Data management ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ คาดว่าจะสร้างรายได้ในปีนี้ราว 200-300 ล้านบาท            ขณะที่ธุรกิจ ดาต้าเซ็นเตอร์ ในปีที่ผ่านมา ITEL ได้มีการขายหุ้นสัดส่วน 33.33% ในบริษัท เอทิกซ์ ไอเทล แบงค็อก จำกัด (บริษัทร่วมค้า) เป็นผู้ดำเนินงานศูนย์ข้อมูล ETIX Bangkok#1 ให้กับพันธมิตร ETIX Everywhere เนื่องจากการแข่งขันสูง จึงหันมามุ่งเน้น Cloud Implementor แทน            ด้านธุรกิจ Health Tech ภายใต้บริษัทย่อย บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เฮลธ์ เทคโนโลยี (IHT) ในปีนี้มีแผนเปิดศูนย์ CT Scan 3 แห่ง วางงบลงทุนไว้ราว 20-30 ล้านบาทต่อแห่ง โดยแห่งแรกจะอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จะใช้ชื่อว่า อินเตอร์ลิ้งค์ ซีที คลินิก สุราษฎร์ธานี (Interlink CT Clinic Suratthani)  คาดว่าจะสามารถ Soft Opening ได้ในสัปดาห์หน้า และ Grand Opening  ในเดือนพ.ค.นี้            ส่วนที่เหลืออีก 2 ศูนย์ อยู่ในช่วงของการพิจารณาพื้นที่ โดยกลุ่มลูกค้าจะมุ่งเน้นไปที่โรงพยาบาลจังหวัด พร้อมกันนี้บริษัทฯ คาดว่าจะสามารถคืนทุนได้ภายในปีครึ่ง วางเป้าหมายรายได้ไว้ที่ 15-20 ล้านบาทต่อศูนย์ต่อปี            นายณัฐนัย กล่าวว่า จากการปรับกลยุทธ์การดำเนินงานดังกล่าว คาดในปี 2568 รายได้จะเติบโต 30% จากปีก่อนที่มีรายได้ 2,517.84 ล้านบาท และกำไรสุทธิจะเติบโตด้วย ซึ่งเป็นการเติบโตแบบ Organic หรือไม่มีการบันทึกกำไรพิเศษ เหมือนในปีก่อนที่มีกำไรพิเศษจากการขายเงินลงทุนธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์

[Vision Exclusive] IHL อัพกำลังผลิตไทย กดต้นทุนลด-หนุนมาร์จิ้นฟู

[Vision Exclusive] IHL อัพกำลังผลิตไทย กดต้นทุนลด-หนุนมาร์จิ้นฟู

           หุ้นวิชั่น - IHL ส่งซิกเดือนมีนาคม ออเดอร์รองเท้าแบรนด์ดังทะลัก ฟากผู้บริหาร "วศิน ดำรงสกุลวงษ์" ติดสปีดดันยอดผลิตภัณฑ์หนังวัว เร่งขยายฐานทำเงิน แย้มแผนย้ายการผลิตกลับไทยเดือน 7 ชี้ลดต้นทุนหนุนมาร์จิ้นครึ่งปีหลัง 68 ฟู ปักหมุดรายได้โต 10-15% ส่งซิกธุรกิจรองเท้า หรืออุตสาหกรรมแฟชั่นขยายตัวต่อ            นายวศิน ดำรงสกุลวงษ์ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินเตอร์ไฮด์ จำกัด (มหาชน) หรือ IHL เปิดเผยกับทีมข่าวหุ้นวิชั่นว่า ทิศทางของบริษัทในไตรมาส 1/2568 คาดว่าจะอยู่ในช่วงการประคองหรือทรงตัว เนื่องจากคำสั่งซื้อ (ออเดอร์) จะถูกบุ๊กกิ้งในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ซึ่งคาดว่าจะมากกว่า 2 เดือนแรกของปี 2567 โดยในช่วงต้นปีมักจะมีวันหยุดปีใหม่และช่วงตรุษจีน ทำให้ออเดอร์บางส่วนถูกเลื่อนมาที่ปลายเดือนกุมภาพันธ์และต้นเดือนมีนาคม            ในเดือนมีนาคม บริษัทมีออเดอร์เข้ามาเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นออเดอร์จากกลุ่มลูกค้ารองเท้าแบรนด์ดังระดับโลก เช่น New Balance, Nike, Adidas, Vans, Timberland และกลุ่มค่ายรถยนต์อย่าง Toyota และ Nissan นอกจากนี้บริษัทยังอยู่ระหว่างการวางแผนขยายฐานลูกค้าและเพิ่มการขายผลิตภัณฑ์หนังวัวให้กับกลุ่มลูกค้าหนังหมู โดยเริ่มเห็นการขยายตัวของลูกค้ากลุ่มนี้อย่างชัดเจน            ในด้านการดำเนินธุรกิจ บริษัทได้รับประโยชน์จากการที่ Wolverine Leather ผู้ผลิตหนังรองเท้าให้กับแบรนด์ระดับโลก เช่น Timberland, Nike, Adidas, New Balance ทำให้บริษัทเริ่มมีออเดอร์ทยอยเข้ามาอย่างต่อเนื่อง            สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2568 โดยจะเน้นการจำหน่ายสินค้าให้กับกลุ่มลูกค้าที่ผลิตรองเท้ายี่ห้อดัง พร้อมทั้งพยายามผลักดันยอดขายผลิตภัณฑ์หนังวัวให้มากขึ้น โดยในปัจจุบันมีผู้ผลิตรองเท้าแบรนด์ดัง 2-3 รายที่อนุมัติการซื้อขายเรียบร้อยแล้ว            นอกจากนี้ บริษัทมีแผนสำคัญในการย้ายกระบวนการผลิตจากต่างประเทศกลับมาผลิตเองในโรงงานที่ประเทศไทย เพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งออกไปยังอเมริกา โดยคาดว่าการย้ายกระบวนการผลิตในครั้งนี้จะช่วยลดต้นทุนและส่งผลให้ อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ในปี 2568 ดีขึ้น            เบื้องต้นคาดว่า กระบวนการย้ายการผลิตจะแล้วเสร็จและเริ่มเห็นการผลิตในประเทศไทยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2568 เป็นต้นไป ทำให้ภาพรวมของอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) จะเริ่มเห็นตัวเลขที่ชัดเจนในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ของปี 2568            บริษัทคาดว่าในปี 2568 จะมีการเติบโตของรายได้ที่ 10-15% โดยมาจากการขยายตัวของธุรกิจรองเท้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมแฟชั่นที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านขนาดและสีที่หลากหลาย รวมถึงรองเท้าที่วางจำหน่ายทั่วโลก ส่งผลให้ความต้องการใช้หนังในการผลิตรองเท้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หนังวัวและหนังหมูสำหรับอุตสาหกรรมรองเท้าจะเติบโตในระดับ 5-10% ขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์คาดว่าไม่แตกต่างจากปีที่ผ่านมา            อนึ่ง ปี 2567 บริษัทมีรายได้อยู่ที่ 2,624.68 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 57.28 ล้านบาท

ตลท. ร่วม ก.ล.ต. และ DSI พบนายกฯ เร่งฟื้นความเชื่อมั่นตลาดทุนไทย

ตลท. ร่วม ก.ล.ต. และ DSI พบนายกฯ เร่งฟื้นความเชื่อมั่นตลาดทุนไทย

                หุ้นวิชั่น - นายอัสสเดช คงสิริ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมด้วย นางพรอนงค์ บุษราตระกูลเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และ พ.ต.ต. ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลวันนี้ (17 มีนาคม 2568) เพื่อรายงานสถานการณ์ตลาดทุนไทยในปัจจุบัน พร้อมนำเสนอความคืบหน้าของมาตรการต่างๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ตลาดทุนไทย                 ในโอกาสนี้ ได้รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินการในคดีต่าง ๆ ในตลาดทุน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ พร้อมกันนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังได้นำเสนอโครงการที่ได้ดำเนินการเพื่อพัฒนาตลาดทุนและบริษัทจดทะเบียน ได้แก่ โครงการ JUMP+ ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัทจดทะเบียน เพื่อสร้างการเติบโตให้กับตลาดทุนไทย และรายงานความคืบหน้าการปรับปรุงมาตรการและเกณฑ์ต่างๆ โดยล่าสุดอยู่ระหว่างเปิดรับฟังความคิดเห็น “การทบทวนการกำกับดูแลการขายชอร์ต และ HFT” เพื่อให้มาตรการกำกับดูแลเหมาะสมกับสภาวะการซื้อขายในปัจจุบัน ซึ่งเปิดให้แสดงความคิดเห็นจนถึง 31 มีนาคม 2568

PF ปีนี้จ่อคืนหุ้นกู้ 3.7 พันล. เป้ายอดขาย 1.1 หมื่นล.

PF ปีนี้จ่อคืนหุ้นกู้ 3.7 พันล. เป้ายอดขาย 1.1 หมื่นล.

          พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค เปิดแผนปี 2568 ตั้งเป้ายอดขาย 11,000 ล้านบาท รายได้ 10,000 ล้านบาท เปิด 7 โครงการใหม่ มูลค่า 9,600 ล้านบาท ต่อยอดความสำเร็จจากโครงการเดิม เพิ่มเติมสินค้าและธุรกิจใหม่ เน้นกลุ่มลูกค้ารายได้ปานกลาง ทั้งบ้านที่สามารถปรับเปลี่ยนวัสดุได้ และรุกสู่ธุรกิจรับสร้างบ้านในเขตกรุงเทพและอีอีซี เตรียมเปิดบ้านริมทะเลสาบคอนเซ็ปท์ใหม่ ลงทุนโรงแรมหรูในโครงการเขาใหญ่ ร่วมมือโรงเรียนนานาชาติ ด้านการเงิน มุ่งปรับโครงสร้างการเงินให้แข็งแกร่ง วางเป้าลดหนี้หุ้นกู้ต่อเนื่องให้เหลือต่ำสุดในรอบ 5 ปี           นายศานิต อรรถญาณสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พร็อพเพอร์ตี้  เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) หรือ PF เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2568 ว่า บริษัทเดินหน้าเสริมความแข็งแกร่งของธุรกิจและสร้างรายได้ให้เติบโต ด้วยความหลากหลายของสินค้าที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคทุกกลุ่ม ทั้งในโครงการที่ดำเนินการอยู่ โครงการใหม่ ตลอดจนธุรกิจใหม่  ปีนี้ตั้งเป้ายอดขายที่ 11,000 ล้านบาท เป็นโครงการแนวราบ 7,500 ล้านบาท คอนโดมิเนียม 1,500 ล้านบาท โครงการร่วมทุน 2,000 ล้านบาท รายได้รวมปีนี้ประมาณการไว้ที่ 10,000 ล้านบาท แยกเป็นรายได้จากโครงการแนวราบ 7,000 ล้านบาท คอนโดมิเนียม 1,500 ล้านบาท และโครงการร่วมทุน 1,500 ล้านบาท โดยมีแผนเปิด 7 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 9,600 ล้านบาท ประกอบด้วย บ้านเดี่ยว 5 โครงการ รวมมูลค่า 7,200 ล้านบาท  ทาวน์โฮม 1 โครงการ มูลค่า 1,200 ล้านบาท และ อาคารพาณิชย์ 1 โครงการ มูลค่า 1,200 ล้านบาท           โครงการใหม่ในปีนี้ ไฮไลท์อยู่ที่การต่อยอดความสำเร็จพร้อมคอนเซ็ปท์ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดโครงการบ้านเดี่ยวแบรนด์ “เพอร์เฟค เพลส” ที่ถือเป็นแฟล็กชิพทำรายได้หลักให้บริษัท ใน 3 ทำเล ราชพฤกษ์ 346, รามอินทรา และ กรุงเทพกรีฑา-ร่มเกล้า  เปิดโครงการ  “มาร์เก็ต อเวนิว แจ้งวัฒนะ 2” ตอบรับการเติบโตของถนนหอการค้าไทย ชุมชนขนาดใหญ่ที่รวมโครงการของ 8 บริษัทอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ มีมูลค่ารวมกันกว่า 30,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นคอมมูนิตี้ที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในโซนแจ้งวัฒนะ นอกจากนี้ยังมีโครงการ “เบลล่า เดล มอนเต้ เขาใหญ่ 2” ที่มีการลงทุนโรงแรมเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับโครงการ โดยจะนำประสบการณ์จากการพัฒนาโครงการในต่างประเทศมาใช้ เพื่อทำให้เขาใหญ่เป็นที่รู้จักของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมากขึ้น รวมถึงการเปิดตัว “บ้านริมทะเลสาบ เลค เลเจ้นด์ บางนา” หลังประสบความสำเร็จทำยอดขายไปแล้วเกือบ 2,000 ล้านบาท ปีนี้จะมีการพัฒนารูปแบบใหม่ให้เป็นที่สุดของบ้านริมทะเลสาบ 100 ไร่ เพื่อรองรับความต้องการของตลาดระดับพรีเมี่ยม           นอกเหนือจากสินค้าพร้อมเข้าอยู่ได้ทันทีทั้งแนวราบและคอนโดมิเนียม บริษัทยังจะเพิ่มสินค้าบ้านแบบพร้อมเข้าอยู่ใน 3-6 เดือน ที่สามารถปรับเปลี่ยนวัสดุบางอย่างได้ สำหรับกลุ่มลูกค้าระดับรายได้ปานกลาง เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ตรงตามไลฟ์สไตล์มากขึ้น  สำหรับกลุ่มสินค้าลักซ์ชัวรี่ จะมีความร่วมมือเพิ่มเติมกับโรงเรียนนานาชาติชื่อดัง ทั้งในทำเลแจ้งวัฒนะ รามคำแหง กรุงเทพกรีฑา และบางนา เพื่อขยายฐานกลุ่มลูกค้าระดับบนที่ต้องการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนนานาชาติ ทั้งผู้ปกครองชาวไทย และ กลุ่ม EXPAT ที่เข้ามาประกอบธุรกิจและทำงานในตำแหน่งระดับสูง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการโยกย้ายเข้ามาพักอาศัยในระยะยาว           ในปีนี้ บริษัทยังจะขยายไปยังธุรกิจรับสร้างบ้านเพิ่มเติม  โดยจะจับกลุ่มที่บริษัทมีความชำนาญ  ได้แก่บ้านระดับ กลางตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป จนถึงกลุ่มลูกค้าระดับบนที่มีกำลังซื้อสูง  มีแผนให้บริการในพื้นที่กรุงเทพ ปริมณฑล และเขตอีอีซี 3 จังหวัดซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีการเติบโตที่ดี โดยจะชูจุดเด่นในด้านประสบการณ์การก่อสร้างที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และรวดเร็วด้วยระบบการก่อสร้างแบบสำเร็จรูปที่ไว้วางใจได้ การรุกเข้าสู่ตลาดรับสร้างบ้าน นอกจากจะเป็นโอกาสในการเพิ่มรายได้จากตลาดรับสร้างบ้าน ซึ่งปีที่ผ่านมามีมูลค่าถึง 211,000 ล้านบาทแล้ว  ยังทำให้บริษัทมีสินค้าที่ครอบคลุมทั้งบ้านในโครงการและบ้านสั่งสร้างบนที่ดินของตนเอง           ด้านโครงสร้างการเงิน บริษัทยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างฐานะการเงินให้แข็งแกร่ง และมีเป้าหมายจะลดภาระหนี้ลง เพื่อให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ที่ระดับ 1 เท่าภายในปีนี้  โดยเฉพาะการลดหนี้หุ้นกู้ ปีที่ผ่านมาบริษัทชำระคืนหุ้นกู้ไปแล้ว 6,600 ล้านบาท  เริ่มไตรมาสแรกของปีนี้มีการชำระคืน 2,650 ล้านบาท และยังมีแผนคืนหุ้นกู้ที่ครบกำหนดภายในปีนี้อีก 3,700 ล้านบาท  ด้วยวงเงินสนับสนุนจากสถาบันการเงิน และการทะยอยปิดการขายโครงการต่างๆ  ทั้ง “ยู คิโรโระ” คอนโดมิเนียมในประเทศญี่ปุ่น ที่ปิดการขายเพนท์เฮ้าส์ 2 ห้องสุดท้าย มูลค่ารวม 1,150 ล้านเยนไปในไตรมาสแรก และยังคาดว่าจะสามารถปิดการขายคอนโดมิเนียมเพิ่มเติมอีก 2 โครงการ ได้แก่ อยู่รวยคอนโด และเมโทร สกาย วุฒากาศในไตรมาสที่ 2  เป้าหมายการลดหนี้หุ้นกู้ต่อเนื่อง จะเป็นผลให้บริษัทมีหนี้หุ้นกู้เหลืออยู่ประมาณ 6,000 ล้านบาท ต่ำสุดในรอบ 5 ปี จากที่เคยมีมูลค่าหุ้นกู้สูงสุดอยู่ที่ 20,000 ล้านบาทเมื่อปี 2563

นายกฯ กำชับ 4 เรื่อง เช็กบิลคดีใหญ่ ฟื้นเชื่อมั่นตลาดทุน

นายกฯ กำชับ 4 เรื่อง เช็กบิลคดีใหญ่ ฟื้นเชื่อมั่นตลาดทุน

          น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความบนโซเชียลมีเดีย ว่า           อีกหนึ่งเรื่องที่รัฐบาลติดตามและให้ความสำคัญมาโดยตลอด คือเรื่องตลาดหุ้นไทย โดยวันนี้ดิฉันได้เชิญคุณพรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต. , คุณอัสสเดช คงสิริ กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ และ พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดี DSI เข้ามาพูดคุยติดตามเรื่องสถานการณ์ในตลาดหุ้น และ คดีทางการเงินที่เป็นปัญหา โดยดิฉันได้เน้นย้ำ 4 เรื่องสำคัญค่ะ 1.กำชับและติดตามคดีที่มีผลกระทบต่อผู้คนเป็นจำนวนมากและกระทบทางเศรษฐกิจ โดยเร่งรัดติดตามให้คดีมีความคืบหน้าโดยเร็ว 2.แก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันการกระทำผิดในตลาดหุ้น โดยปรับปรุงกฎเกณฑ์ ยกระดับไม่ให้มีการกระทำแบบนี้เกิดขึ้นอีก เช่น ปรับปรุงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ 3.กำชับถึงข้อกำหนดที่จะจัดการเรื่อง free float ลงโทษบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่ทำผิดหลักเกณฑ์ได้ โดยการให้ออกจากตลาด 4.เน้นย้ำให้มีการใช้กฎหมายครบทุกมิติ เพื่อฟื้นความมั่นใจอย่างเร่งด่วนและเป็นธรรม เรื่องนี้ถือเป็นภารกิจของรัฐบาลในการสร้างความเชื่อถือและเชื่อมั่น (trust and confidence) ในด้านการใช้กฎหมายเพื่อให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจ เชื่อมั่นในตลาดหุ้นไทย ให้ตลาดหุ้นไทยแข่งขันได้ในเวทีสากลค่ะ ที่มา https://www.facebook.com/ingshin21/posts/pfbid0FfcyQRrETzx2J2hp6JrxnWHKiSBY7ZackmgP8DYz3v1CSazY31pCpeR89zquhSsol

HANA ยันฐานะการเงินแข็งแกร่ง มั่นใจรายได้ 68 โต-จับตาภาษีทรัมป์

HANA ยันฐานะการเงินแข็งแกร่ง มั่นใจรายได้ 68 โต-จับตาภาษีทรัมป์

           หุ้นวิชั่น - HANA ยันฐานการเงินยังแข็งแกร่ง ตลาดกัมพูชาช่วย ยอมรับปีนี้ท้าทาย จับตาภาษีทรัมป์ กระทบมากน้อยแค่ไหน ศึกษาขยายตลาด อินเดีย-ตุรกีต่อยอด เนื่องจากเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีศักยภาพสูง            นายริชาร์ด เดวิด ฮัน ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน) หรือ HANA เปิดเผยว่า ปี 2568 เป็นปีที่บริษัทต้องเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญหลายด้าน แต่บริษัทก็ยังมีความมั่นใจในสถานะทางการเงิน และยังคงสามารถสร้างรายได้ต่อเนื่อง แต่ก็มีในเรื่องมาตรการภาษีที่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด            อย่างไรก็ดี รายได้ในไตรมาส 1/2568 จะดีกว่าไตรมาส 4/2567 แม้ว่าจะยังคงได้รับผลกระทบจากมาตรการทางภาษีของสหรัฐฯโดย ธุรกิจผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร (EMS) ยังคงสร้างรายได้ได้ดี นอกจากนี้ รายได้จากการผลิตแผงวงจรพิมพ์ประกอบ (PCBA) ในกัมพูชาจะเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญ แต่ในส่วนของความต้องการของผลิตภัณฑ์เซมิคอนดักเตอร์แบบบูรณาการ (SI และ SIC) รวมถึงชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า (EV) มีความต้องการลดลง ซึ่งยังคงประสบปัญหาทั่วโลก            สำหรับแผนการขยายตลาดต่างประเทศ บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายตลาดสู่ประเทศอินเดีย เนื่องจากเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีศักยภาพสูง และได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐ นอกจากนี้ บริษัทกำลังพิจารณาโอกาสในการร่วมมือทางธุรกิจกับประเทศตุรกี ซึ่งต้องติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด            สำหรับตลาดเกาหลีใต้ (PMS) บริษัทคาดว่าสถานการณ์จะมีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วงปลายปี 2568 ขณะที่ความร่วมมือกับประเทศจีนยังคงดำเนินไปได้ด้วยดี แม้ว่าผลกระทบจากมาตรการภาษียังคงเป็นปัจจัยที่ต้องพิจารณา            ทั้งนี้บริษัทให้ความสำคัญกับปัจจัยต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะมาตรการภาษีของสหรัฐฯ ซึ่งยังคงมีความไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม บริษัทคาดการณ์ว่าสถานการณ์ต่างๆ จะเริ่มปรับตัวดีขึ้นในปีนี้

GUNKUL พบนักวิเคราะห์  ตอกย้ำธุรกิจ - เป้าไกล 5 บ.

GUNKUL พบนักวิเคราะห์ ตอกย้ำธุรกิจ - เป้าไกล 5 บ.

             หุ้นวิชั่น - GUNKUL ประชุมนักวิเคราะห์เป็นบวก มองเป้ารายได้เติบโตปีละ 10-15% ครบวงจรด้าน พลังงานไฟฟ้า มี PPA เพิ่มรอจ่ายไฟจำนวนมาก มีศักยภาพการเติบโตระดับภูมิภาค และมีธุรกิจ EPC งานไฟฟ้า และธุรกิจโรงงาน ที่มีแบ็คล็อคร่วม 4,000 ล้านบาท และพร้อมเติบโตตามความ ต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้น โดยเฉพาะงานด้าน EPC หรืองานรับเหมาก่อสร้างโรงไฟฟ้า มีโอกาส เข้าร่วมลงทุนและสร้างโรงไฟฟ้าสีเขียว ที่คาดว่าจะมีการลงทุนและก่อสร้างอีกเป็นจำนวนมาก ราคาเป้าหมายที่ 3.51 ถึง 5 บาท มีอัพไซด์มากกว่า 100%              บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL ผู้นำด้านพลังงานสีเขียวแบบครบวงจรใหญ่ที่สุด อันดับ 2 ของไทย โดย นางสาวนฤชล ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทฯ จัดงานประชุม นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Analyst Meeting) นำเสนอแผนงานธุรกิจประจำปี 2568 และแนะนำตัว ในฐานะซีอีโอคนใหม่อย่างเป็นทางการ พร้อมเปิดวิสัยทัศน์ใหม่ “พาร์ตเนอร์ด้านพลังงานสีเขียว และโครงสร้างพื้นฐานแห่งภูมิภาคเอเชีย ที่ได้รับการยอมรับสูงสุด” โดยมีคณะผู้บริหาร นำโดย นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร และนายฐิติพงศ์ เตชะรัตนยืนยง ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการเงินและบัญชี ร่วมให้ข้อมูลและให้การต้อนรับ โดยมีนักวิเคราะห์จากบริษัท หลักทรัพย์ชั้นนำ เข้าร่วมงานคับคั่ง จัดขึ้น ณ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) ชั้น 44 อาคาร วัน ซิตี้ เซ็นเตอร์ (โอซีซี) เมื่อเร็วๆ นี้              ผู้บริหาร GUNKUL มั่นใจตั้งเป้ารายได้เติบโตต่อเนื่อง รวม 3 ปีกว่า 35,000 ล้านบาท เติบโต 10-15% สำหรับแผนธุรกิจปี 2568 นี้ GUNKUL เดินกลยุทธ์ ‘สมการความก้าวหน้า’ ที่สร้างการเติบโตอย่างเป็น ระบบและมีความมั่นคง มุ่งเน้นการเติบโตรายได้ของ 3 กลุ่มธุรกิจหลัก และต่อยอดสู่ธุรกิจในอุตสาหกรรม New S-Curve โดยปัจจุบัน GUNKUL มีโรงไฟฟ้าพลังงานสีเขียวทั้งหมด 1,479 เมกะวัตต์ ซึ่ง 85% เป็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเป็นแบบค่าไฟคงที่ (FIT) จึงไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนของค่าไฟแปรผันหรือ Ft โดยมี 832 เมกะวัตต์ ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการรอรับรู้รายได้ นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีมูลค่างาน รอรับรู้รายได้ (backlog) ร่วม 4,000 ล้านบาท อีกด้วย ด้านนักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำ ที่เข้าร่วมประชุมกับผู้บริหาร GUNKUL มีสรุปประเด็น มุมมองความคิดเห็น ดังนี้              บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโต 10-15% ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าสีเขียวทั้งหมด 1,479 เมกะวัตต์ และ 832 เมกะวัตต์ ที่พึ่งได้รับคัดเลือกจากการประมูลล่าสุดกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ที่อยู่ระหว่างการรอพัฒนาโครงการ ซึ่งประเมินจากศักยภาพของ GUNKUL น่าจะสามารถหาพาร์ตเนอร์เข้าร่วมลงทุนในโครงการเหล่านี้ และเติบโตไปกับ พาร์ตเนอร์ที่มีศักยภาพการเติบโตในธุรกิจไฟฟ้าระดับภูมิภาค              ส่วนประเด็นโรงไฟฟ้า แสงอาทิตย์หมดสัญญา Adder (เงินส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า) ไปหมดแล้ว เหลือเพียงโรงไฟฟ้า พลังงานลม ที่ถือหุ้นรวมกับพาร์ตเนอร์คนละครึ่งในปี 2027 แต่ในช่วงปี 2027 จะมีโรงไฟฟ้าใหม่เข้ามา เพิ่มมากกว่าในส่วนที่ adder ที่หายไป นอกจากนี้บริษัทยังมีอีกสองธุรกิจ ที่พร้อมเติบโตตามความต้องการ ใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้น โดยเฉพาะ งานด้าน EPC หรืองานรับเหมาก่อสร้างโรงไฟฟ้า สถานีไฟฟ้า และวาง สายไฟฟ้า และโทรคมนาคมจากภาครัฐอีกมาก              อีกทั้งมีโอกาสเข้าร่วมลงทุนและสร้างโรงไฟฟ้าสีเขียว เพื่อขายไฟฟ้าให้กับ Data Center ที่คาดว่าจะมีการลงทุนและก่อสร้างอีกเป็นจำนวนมาก ภายใต้สัญญา private PPA (สัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบโซลาร์เซลล์)