Translation not found.


NOVA เปิดตัวโครงการ G1FSO ต่อยอด Offshore service

NOVA เปิดตัวโครงการ G1FSO ต่อยอด Offshore service

            หุ้นวิชั่น - NOVA ส่ง Nova X คู่สัญญากับบริษัท ปตท.สผ. เอนเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ลุยโครงการบริการเช่าเรือกักเก็บน้ำมันและระบบยึดโยงเรือแบบทุ่นลอยน้ำ สำหรับโครงการ G1/61 (G1FSO) ซึ่งเริ่มเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา กำหนดระยะเวลาสัญญา 5 ปี และสามารถขยายระยะเวลาได้สูงสุดอีก 5 ปี             บริษัท โนวา เอมไพร์ จำกัด (มหาชน) (NOVA) ตอกย้ำศักยภาพการเติบโต เดินหน้าธุรกิจการให้บริการนอกชายฝั่ง (Offshore service) ผ่านบริษัท โนว่า เอ็กซ์ จำกัด (Nova X)  ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ NOVA โดยเป็นผู้ให้บริการเรือกักเก็บน้ำมันดิบ (Floating Storage and Offloading Unit หรือ FSO) ในโครงการ G1FSO สำหรับแหล่งปิโตรเลียม G1/61 (แหล่งปลาทอง) ให้แก่บริษัท ปตท.สผ. เอนเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)             นางสาวปาลีรัฐ ปานบุญห้อม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการบริษัท กล่าวว่า “Nova X เป็นผู้ประกอบการไทยรายแรกที่ให้บริการ FSO แบบครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบทางวิศวกรรม การจัดหาอุปกรณ์ ก่อสร้าง การติดตั้ง และการทดสอบ (EPCIC) ไปจนถึงการดำเนินงานและบำรุงรักษาตลอดอายุการใช้งานของโครงการ โดยมุ่งเน้นคุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อสนับสนุนความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ การพัฒนาโครงการ G1FSO ดังกล่าว Nova X เช่าเรือภายใต้สัญญาแบบ Bareboat Charter จากกลุ่มบริษัทในเครือของบริษัท พริมา มารีน จำกัด (มหาชน) โดย Nova X ดำเนินการควบคุม กำกับดูแล ตั้งแต่การออกแบบ รวมถึงการดัดแปลงเรือ และออกแบบและก่อสร้างระบบยึดโยงและขนถ่ายน้ำมันแบบทุ่นจอดแบบจุดเดียว (Single Point Mooring, SPM) รวมถึง สมอเรือ (Anchor) โซ่สมอ (Chain) ท่อใต้น้ำและท่อผิวน้ำ (Riser and Floating Hose) และทุ่นลอยน้ำ (CALM Buoy) พร้อมจัดหาอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานสากล การก่อสร้างและติดตั้งครอบคลุมการก่อสร้างและปรับปรุงโครงสร้างขนาดใหญ่ การเดินท่อมากกว่า 7 กิโลเมตร การเดินสายเคเบิล 40 กิโลเมตร การติดตั้งอุปกรณ์บนเรือที่สำคัญ และการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์เรือ ระบบปั๊ม และเครื่องจักรหลักบนเรือ ซึ่งต้องใช้ความเชี่ยวชาญทางเทคนิค และความพร้อมด้านการลงทุน             สำหรับการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) Nova X และบริษัท วิสต้า โอเชิ่ยน จำกัด ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบริษัทในเครือของ NOVA ให้บริการดูแลระบบ FSO และ SPM รวมถึงการบำรุงรักษาอุปกรณ์ ระบบขนถ่ายน้ำมัน และโครงสร้างทั้งหมด ด้วยขอบเขตงานที่ครอบคลุม  เรือลำนี้สามารถจัดเก็บน้ำมันดิบได้มากกว่า 600,000 บาร์เรล และไม่จำเป็นต้องเข้าท่าเรือเพื่อซ่อมบำรุงตามระยะเวลาปกติ (Drydocking) ช่วยให้เรือสามารถดำเนินการที่แหล่งปลาทองได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด โครงการ G1FSO จะเป็นโครงการนำร่องที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับผลประกอบการของ NOVA ในปีนี้ ความสำเร็จของโครงการ G1FSO แสดงให้เห็นศักยภาพของผู้ประกอบการไทยในการพัฒนาโครงการเรือกักเก็บน้ำมันดิบ โดย Nova X พร้อมเป็นผู้นำในธุรกิจนี้ และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลังงานไทยให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน             เชื่อมั่นว่า NOVA จะเติบโตต่อไปได้อย่างมั่นคง ด้วยการวางแผนธุรกิจที่รอบคอบชัดเจน ส่งผลให้ NOVA มีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง ปัจจุบันมีอัตราหนี้สินต่อทุนที่ต่ำ และมีรายได้จากการดำเนินงานที่แน่นอนจากทั้ง Nova X และธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ดำเนินการโดยกลุ่มบริษัท โซลาร์ อาเขต จำกัด และมั่นใจว่าในปี 2568 กลุ่มบริษัทจะสร้างรายได้ได้สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของการดำรงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างแน่นอน             ทั้งนี้ สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2567 ที่ผ่านมานั้น NOVA มีรายได้จากกลุ่มบริษัทผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 52.25 ล้านบาท และรายได้จากธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมจำนวน 185.18 ล้านบาท ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท วินชัย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ NOVA ในช่วงวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 11 มีนาคม 2567”             “เราจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจ Offshore Service ที่ให้ผลตอบแทนที่ดี และสม่ำเสมอ เรายังคงมองหาโอกาสทางธุรกิจที่สนับสนุนและต่อยอดธุรกิจที่มีอยู่ โดยใช้บุคคลากร ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่มีมากขึ้นให้เป็นประโยชน์ ควบคู่กับการรับผิดชอบต่อสังคม และสนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน” นางสาวปาลีรัฐ กล่าวทิ้งท้าย

ปตท. ร่วมส่งเสริมความรู้ด้านพลังงานแก่ผู้บริหาร สปป.ลาว

ปตท. ร่วมส่งเสริมความรู้ด้านพลังงานแก่ผู้บริหาร สปป.ลาว

          หุ้นวิชั่น - เมื่อเร็ว ๆ นี้ – ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานพิธีเปิดการอบรมหลักสูตร Energy Training Executive Program สำหรับผู้บริหารด้านพลังงานจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) นำโดย Mr. Malaithong Kommasith รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า พร้อมด้วยคณะผู้บริหารจากกระทรวงพลังงานและ ปตท. เข้าร่วมพิธีเปิด โดยมี ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ให้เกียรติบรรยายพิเศษในมุมมองด้านพลังงาน (Energy Perspective) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านพลังงาน และบทบาทสำคัญของกลุ่ม ปตท. ในการพัฒนาความมั่นคงด้านพลังงานระหว่างประเทศ

ตลท.เปิดเฮียริ่งทบทวน

ตลท.เปิดเฮียริ่งทบทวน "ขายชอร์ต-HFT" ถึง 31 มี.ค.นี้

           หุ้นวิชั่น - ตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ปรับปรุงมาตรการกำกับดูแลเพื่อยกระดับความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงทุนที่ใช้บังคับในปี 2567 เช่น มาตรการกำกับดูแลการขายชอร์ต มาตรการกำกับดูแล HFT และการกำหนด Minimum Resting Time (MRT) นั้น เพื่อให้มาตรการกำกับดูแลเหมาะสมกับสภาวะการซื้อขายในปัจจุบัน โดยยังคงให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงจัดให้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็น “การทบทวนการกำกับดูแลการขายชอร์ต และ HFT” ดังนี้ มาตรการกำกับดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์กรณีราคาหลักทรัพย์ลดลงอย่างมาก ทบทวนมาตรการ Uptick สำหรับการขายชอร์ต ให้ใช้เกณฑ์ราคาที่สูงกว่าราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย (Uptick) เป็นรายหลักทรัพย์ในวันทำการถัดไป เมื่อราคาปิดของหลักทรัพย์ใดมีราคาลดลงตั้งแต่ 10% เมื่อเทียบกับราคาปิดของวันทำการก่อนหน้า แทนการใช้เกณฑ์ Uptick กับทุกหลักทรัพย์ (กรณีปกติให้ใช้เกณฑ์ Zero-Plus Tick) เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการกำกับดูแลการขายชอร์ต และสอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ มาตรการกำกับดูแลความผันผวนในหุ้นขนาดกลางและเล็ก ทบทวนหลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ขายชอร์ตได้ และผู้ลงทุน HFT สามารถซื้อขายได้ กำหนดหลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ขายชอร์ตและหลักทรัพย์ที่ผู้ลงทุน HFT สามารถซื้อขายได้เพียงเฉพาะหุ้นใน SET100 ซึ่งมีขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องสูง โดยยกเลิกหุ้นที่มี Market Cap. ³ 7,500 ล้านบาท ยกเลิกการกำหนด Minimum Resting Time (MRT) เนื่องจากเมื่อได้กำหนดให้ผู้ลงทุน HFT ซื้อขายหลักทรัพย์ได้เฉพาะหลักทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องสูงแล้ว มาตรการ MRT จึงไม่มีความจำเป็นอีก เนื่องจากโดยปกติการใส่-ถอนในเวลาอันสั้นมักจะไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพการซื้อขายในหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง การเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาปรับปรุงเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นพร้อมรายละเอียดบนเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ https://www.set.or.th/th/rules-regulations/market-consultation หัวข้อ “การทบทวนการกำกับดูแลการขายชอร์ต และ HFT” สามารถร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่ https://forms.gle/jmocr6Fz68zKcJVW9 จนถึง 31 มีนาคม 2568

WHA พุ่ง 5.11% คลายกังวล หลังจ่อยกเลิกนำ WHAID เข้าตลาด

WHA พุ่ง 5.11% คลายกังวล หลังจ่อยกเลิกนำ WHAID เข้าตลาด

           หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.กรุงศรี ระบุ ตามที่หนังสือพิมพ์ได้มีการรายงานว่า บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (WHA) มีแผนจะยกเลิกการนำ บริษัท ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ (WHAID) เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เนื่องจากสภาพแวดล้อมตลาดที่ไม่เอื้ออำนวย อย่างไรก็ตามจะมีการตัดสินใจจากคณะกรรมการบริษัทอีกครั้ง โดยการยกเลิกครั้งนี้น่าจะช่วยคลายความกังวลออกไปได้ คงคำแนะนำ "ซื้อ" สำหรับหุ้น WHA (ราคาเป้าหมาย 6.4 บาท)

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

บอร์ด MGI ไฟเขียว เข้าทำสัญญาจัดประกวด มิสยูนิเวิร์ส ครั้งที่ 74 ในไทย

บอร์ด MGI ไฟเขียว เข้าทำสัญญาจัดประกวด มิสยูนิเวิร์ส ครั้งที่ 74 ในไทย

           หุ้นวิชั่น - บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (MGI) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 3/2568 เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2568 มีมติอนุมัติให้บริษัทเข้าทำสัญญาจัดงานประกวด มิสยูนิเวิร์ส ครั้งที่ 74 (Hosting Agreement) กับบริษัทในกลุ่ม JKN ซึ่งเป็นผู้ถือสิทธิ์ในการจัดการประกวดมิสยูนิเวิร์ส ทั่วโลก เพื่อให้บริษัทได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าภาพจัดการประกวดมิสยูนิเวิร์ส ครั้งที่ 74 ที่จะจัดขึ้นในประเทศไทย ในช่วงเดือน พฤศจิกายน 2568            สำหรับการจัดการประกวดมิสยูนิเวิร์ส ครั้งที่ 74 ในปีนี้ บริษัทจะดำเนินการลงทุน ออกแบบ และจัดงานเองทั้งหมด ในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “ The Grand Universe. The Power of Love. The Power of Thailand.” เพื่อมอบ ประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่อลังการพร้อมแสดงพลังแห่งประเทศไทยให้กับแฟนนางงามและผู้รับชมจากทั่วโลก โดยบริษัทจะยังคงรับผิดชอบการจัดงานประกวดมิสยูนิเวิร์ส ครั้งที่74 ในประเทศไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานของ องค์กรมิสยูนิเวิร์ส พร้อมทั้งดำเนินงานให้สำเร็จลุล่วงตามเงื่อนไขสัญญาที่กำหนด โดยบริษัทจะมีรายได้จากการจำหน่าย บัตรเข้าชมและการสนับสนุนจากสปอนเซอร์ เป็นต้น นอกจากนี้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทยังมีมติอนุมัติให้บริษัทเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน เรื่อง การรับความ ช่วยเหลือทางการเงิน ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ วงเงินกู้ยืม : ไม่เกิน 35 ล้านบาท รายละเอียดของบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน : บริษัท (ผู้กู้) กู้ยืมเงินจากนายณวัฒน์ อิสรไกรศีล (ผู้ให้กู้) ซึ่งเป็น กรรมการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท (ถือหุ้นร้อยละ 42.88 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ บริษัท) รายละเอียดการกู้ยืม : เงินกู้ยืมไม่มีหลักประกัน อัตราดอกเบี้ย : ร้อยละ 2.5 ต่อปี กำหนดเวลาการคืนเงินกู้ : ภายใน 30 วันนับจากวันที่เบิกใช้วงเงินกู้ยืม มูลค่าที่ใช้ในการคำนวณขนาดรายการ : มูลค่าดอกเบี้ยที่บริษัทต้องจ่ายให้ผู้ให้กู้ ตลอดระยะเวลารับความ ช่วยเหลือทางการเงินเป็นระยะเวลา 30 วัน ซึ่งคิดเป็นมูลค่าดอกเบี้ยที่ บริษัทจะต้องชำระตลอดช่วงเวลาที่กู้ยืมเงินตามสัญญา จำนวนไม่เกิน 71,917.81 บาท ตามวิธีคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 24 เดือน ตามประกาศของธนาคารไทยพาณิชย์ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งคิดเป็นอัตราร้อยละ 2.0 ต่อปี บวกส่วนเพิ่ม (premium) ร้อยละ 0.5 บริษัทมุ่งมั่นที่จะสร้างปรากฏการณ์ครั้งใหม่ให้กับการจัดการประกวดมิสยูนิเวิร์ส ครั้งที่ 74 และพร้อมผลักดัน ประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางของเวทีระดับโลกต่อไป

EAST ปักธงพอร์ต 2 หมื่นล.ใน 5 ปี ขยายสินเชื่อยานยนต์ฯ-Car 4 Cash

EAST ปักธงพอร์ต 2 หมื่นล.ใน 5 ปี ขยายสินเชื่อยานยนต์ฯ-Car 4 Cash

          หุ้นวิชั่น - บมจ. ตะวันออกพาณิชย์ลีสซิ่ง โชว์ผลการดำเนินงานปี 2567 ทำมีรายได้รวม 709.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.47% หลังพอร์ตลูกหนี้โดยรวมขยายตัวต่อเนื่อง และมีกำไรสุทธิ 62.03 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าเปลี่ยนตัวย่อซื้อขายหลักทรัพย์เป็น EAST สะท้อนแนวทางความร่วมมือกับหุ้นส่วนทางธุรกิจทั้ง GMT และ PREMIUM เร่งขยายพอร์ตสินเชื่อโดยรวม 5 ปี เพิ่มเป็น 20,000 ล้านบาท             นายดนุชา วีระพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ตะวันออกพาณิชย์ลิสซิ่ง หรือ EAST เปิดเผยว่า ภาพรวมผลการดำเนินงานในปี 2567 เป็นปีที่มีความท้าทายการดำเนินธุรกิจให้บริการสินเชื่อยานยนต์มือสองในประเทศไทย แต่บริษัทฯ ยังสามารถผลักดันการเติบโตของผลการดำเนินงานได้เป็นที่น่าพอใจ โดยมีรายได้รวม 709.40 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 8.47% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งความสำเร็จมาจากพอร์ตสินเชื่อโดยรวมในปีนี้ขยายตัวต่อเนื่อง เป็นผลให้มีรายได้ดอกผลจากการขายตามสัญญาเช่าซื้อในปีนี้ทำได้ 530.82 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.36% แม้จะมีการช่วยเหลือลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้เพื่อบรรเทาการชำระหนี้ที่เป็นแรงกดดันทำให้รายได้เช่าซื้อไม่สูงมากนัก ขณะที่กำไรสุทธิทำได้ 62.03 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้เตรียมเปลี่ยนแปลงสัญลักษณ์การซื้อขายหลักทรัพย์ฯ จาก ECL เป็น “EAST” เพื่อสะท้อนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ในปีนี้ ทั้งนี้ได้ร่วมมือกับหุ้นส่วนทางธุรกิจกับบริษัท GMT ในเครือ ITOCHU Corporation จากประเทศญี่ปุ่น และกลุ่มพรีเมียม คอร์ปอเรชั่น (PREMIUM) โดยผนึกองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญการดำเนินธุรกิจและฐานทุนที่แข็งแกร่ง เพื่อบริหารจัดการพอร์ตสินเชื่อให้มีคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อที่รัดกุม รองรับแผนขยายพอร์ตสินเชื่อยานยนต์มือสองและธุรกิจ Car 4 Cash ในประเทศไทย ซึ่งตั้งเป้าภายใน 3 ปี พอร์ตสินเชื่อโดยรวมจะเพิ่มเป็น 10,000 ล้านบาท และเป็น 20,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปีข้างหน้า