หุ้น mai


FPI ปักธงรายได้ 4 พันล. ตลาด OEM โตกระโดด

FPI ปักธงรายได้ 4 พันล. ตลาด OEM โตกระโดด

            หุ้นวิชั่น - FPI จับตาตลาด OEM โตก้าวกระโดด ออเดอร์ไทย อินเดียแน่น คาดหนุนผลงาน Q2/68 โตสนั่น ด้านผู้บริหาร "สมพล ธนาดำรงศักดิ์" ปักหมุดรายได้ แตะ 4 พันล้านบาทในปี 71 เล็งรับทรัพย์โรงงานซาอุดิอารเบีย นายสมพล ธนาดำรงศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ FPI เปิดเผยว่า คาดว่าตลาด OEM จะเติบโตอย่างก้าวกระโดดหลังจากเดือนพฤษภาคม 2568 เนื่องจากบริษัทจะเริ่มส่งมอบและรับรู้รายได้จากทั้งในประเทศไทยและอินเดีย โดยในส่วนของประเทศไทย บริษัทได้รับออเดอร์จาก Toyota สำหรับรถรุ่นใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มส่งมอบในเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคมนี้ โดยมีมูลค่าโปรเจ็กต์ประมาณ 300 ล้านบาท จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ระหว่าง 200-500 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้เริ่มทำการจัดทำแม่พิมพ์ไปบางส่วนแล้ว และคาดว่าจะสามารถส่งมอบได้ตามแผนในเดือนมิถุนายนนี้ ส่วนในประเทศอินเดีย บริษัทจะเริ่มส่งสินค้าในเดือนพฤษภาคม 2568 โดยมีโปรเจ็กต์ใหญ่จาก Suzuki ซึ่งคาดว่าจะรับรู้รายได้จากโปรเจ็กต์นี้ 3 โครงการใหญ่ในเดือนพฤษภาคมนี้เช่นกัน ดังนั้น บริษัทคาดว่าธุรกิจจะมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดในไตรมาส 2 ปี 2568 เนื่องจากจะเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป โดยในไตรมาส 1/2568 จะเป็นช่วงของการติดตั้งเครื่องจักรและเริ่มกระบวนการผลิต ซึ่งจะทำให้การรับรู้รายได้เพิ่มขึ้นอย่างมากในไตรมาส 2 เป็นต้นไป นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับคำสั่งซื้อจากค่ายรถยนต์แบรนด์อื่นๆ เพิ่มเติม คาดว่าจะสนับสนุนการเติบโตของ FPI อย่างต่อเนื่อง บริษัทมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) โดยเริ่มจากรายได้ 1,500 ล้านบาท และตั้งเป้าหมายที่จะเติบโตเป็น 4,000 ล้านบาทในปี 2571 จากการเริ่มดำเนินการโรงงานในซาอุดิอารเบียอย่างเต็มตัว โดยคาดว่าจะมีรายได้จากซาอุดิอารเบียเฉลี่ยปีละ 10-20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจะสามารถทำรายได้รวม 4,000 ล้านบาทในปี 2571 ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรจากจีน ซึ่งมีปัญหาจากสงครามการค้า และกำลังพิจารณาร่วมทุนกับบริษัทโดยผ่านการรีไวท์ 2-3 บริษัท บริษัทให้ความสำคัญและสนใจในเรื่องของการผลิตแม่พิมพ์ และใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปยังตลาดอเมริกา, แคนาดา และเม็กซิโก ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ โดยคาดว่าจะได้รับอานิสงส์จากนโยบายภาษีและผลกระทบจากสงครามการค้า

CHOW ร่วมมือ SME D Bank ถ่ายทอดความรู้ Solar Rooftop

CHOW ร่วมมือ SME D Bank ถ่ายทอดความรู้ Solar Rooftop

             นายปรมัตถ์ จุฬวนิช ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บริษัท เชาว์สตีล อินดัสทรี้ จำกัด(มหาชน) หรือ CHOW และดร.จีรณัทย์ สุทธวารี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฎิบัติการ บริษัท เชาว์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการด้านระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจร ในเครือ CHOW ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรบรรยายหลักสูตร “ความรู้ Solar Rooftop เพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์สินเชื่อ SME Green Productivity” ให้กับพนักงาน SME D Bank ทั่วประเทศ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในด้านต่างๆ เช่น เทคโนโลยีและอุปกรณ์มาตรฐานในการติดตั้ง การคำนวณต้นทุนและการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน เป็นต้น โดยมุ่งเน้นให้พนักงาน SME D Bank มีความเข้าใจและสามารถแนะนำข้อมูลให้ลูกค้าที่ต้องการติดตั้ง Solar Rooftop และเข้าร่วมโครงการ สินเชื่อ SME Green Productivity พร้อมดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3%ต่อปีส าหรับ 3 ปีแรก ณ ธนาคารพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank) สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็วๆนี้

LTMH เคาะ IPO  5 บ. เสนอขาย 25 - 27 มี.ค.  คาดเทรด 2 เม.ย. 68

LTMH เคาะ IPO 5 บ. เสนอขาย 25 - 27 มี.ค. คาดเทรด 2 เม.ย. 68

                 หุ้นวิชั่น - บริษัท แอลทีเอ็มเอช จำกัด (มหาชน) หรือ LTMH กำหนดราคาเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ที่ราคาหุ้นละ 5.00 บาท จำนวนเสนอขาย 50 ล้านหุ้น เตรียมเปิดจองซื้อระหว่างวันที่ 25 - 27 มีนาคม 2568 นี้คาดเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) วันที่ 2 เมษายน 2568 โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อขยายธุรกิจเทคโนโลยีบริหารความมั่งคั่ง (WealthTech) ภายใต้ชื่อ “WealthX” เพื่อสนับสนุนการเติบโตในระยะยาว                  นายสมภพ กีระสุนทรพงษ์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้น IPO ของบริษัท แอลทีเอ็มเอช จำกัด (มหาชน) หรือ LTMH เปิดเผยว่า LTMH จะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 50 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 25.00 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดหลังการเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้  โดยกำหนดราคา IPO ที่ราคาหุ้นละ 5.00 บาท รวมเป็นเงินที่บริษัทฯ ได้รับจากการระดมทุนในครั้งนี้จำนวน 250.00 ล้านบาท เปิดให้จองซื้อหุ้นในระหว่างวันที่ 25-27 มีนาคม 2568 และคาดว่าจะเข้าซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) หมวดธุรกิจบริการ (SERVICE) ในวันที่ 2 เมษายน 2568 ในชื่อย่อหลักทรัพย์ว่า "LTMH" พร้อมกันนี้มีผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายอีก 3 แห่ง ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด, บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน)                  สำหรับการกำหนดราคา IPO ดังกล่าว ถือเป็นระดับที่เหมาะสมกับปัจจัยพื้นฐาน และสอดคล้องกับสภาวะของตลาดหลักทรัพย์ในปัจจุบัน LTMH ถือเป็นธุรกิจสื่อออนไลน์ที่แข็งแกร่ง เป็นที่ยอมรับ และมีการเติบโตที่โดดเด่น Brand LTMH เริ่มต้นจากการสร้างเพจ Facebook ภายใต้ชื่อ “ลงทุนแมน” และต่อมาได้ขยายเพิ่มอีก 5 เพจ ประกอบด้วย ลงทุนเกิร์ล, MarketThink, Brandcase, Money Lab และ Mao-Investor ครอบคลุม เข้าถึง และตอบสนองกลุ่มลูกค้าและผู้ติดตามได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น จาก 4.87 ล้านคน ในปี 2564 เพิ่มเป็น 8.32 ล้านคน ณ สิ้นปี 2567 คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 19.61% ในช่วงปี 2564 -2567 ทำให้ LTMH ถือเป็นอินฟลูเอนเซอร์ ด้านการเงิน และการลงทุน ที่มีความน่าเชื่อถือ และมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นและการตัดสินใจของผู้ติดตามจำนวนมาก                  นอกจากนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน ผู้ถือหุ้นใหญ่ คือกลุ่มครอบครัวคุณธณัฐ เตชะเลิศ และ ผู้ถือหุ้นเดิมรายอื่นอีก 4 ราย ยังได้สมัครใจทำข้อตกลงไม่จำหน่ายหุ้นในส่วนที่เหลือจากการติด Silent Period ตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นเวลา 6 เดือนตั้งแต่วันที่เริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมส่วนที่เหลือที่ไม่ติด Lock up จะมีจำนวนเพียง 4.03 ล้านหุ้น คิดเป็นเพียงร้อยละ 2.02 ของจำนวนหุ้นภายหลังการเสนอขายหุ้นเท่านั้น                  นายธณัฐ เตชะเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอลทีเอ็มเอช จำกัด (มหาชน) หรือ LTMH เปิดเผยว่าการเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้ เป็นอีกก้าวสำคัญที่จะสร้างให้ LTMH เติบโตอย่างยั่งยืน โดยการระดมทุนครั้งนี้ จำนวน 250.00 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อขยายธุรกิจ WealthTech ภายใต้แบรนด์ "WealthX" ที่จะช่วยให้คนไทยสามารถยกระดับทางการเงิน การลงทุนได้มากขึ้นในอนาคต ในเบื้องต้น เราได้ยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2568 คาดว่าจะเริ่มดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์ได้ภายในปี 2568 นอกจากนี้ การระดมทุนยังมีวัตถุประสงค์เพื่อชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินที่ใช้ลงทุนในหุ้น บลจ.ทาลิส รวมถึงเป็นเงินทุนหมุนเวียนในบริษัทฯ และบริษัทย่อย ซึ่งผมเชื่อมั่นว่า สิ่งที่จะทำให้ LTMH ประสบความสำเร็จในการขยายธุรกิจครั้งนี้มาจาก “จุดแข็งสำคัญ” ที่เรามีอยู่ทั้งชื่อเสียงของแบรนด์ที่แข็งแกร่ง การมีสื่อออนไลน์และช่องทางการติดตามที่หลากหลาย รวมถึงการมีแพลตฟอร์มสื่อออนไลน์ที่เป็นของเราเอง และระบบ Ecosystem ที่เกื้อหนุนกันรวมถึงทีมผู้บริหารและบุคลากรที่มีความสามารถและประสบการณ์ในอุตสาหกรรมมาอย่างยาวนาน                  ในนามของ LTMH ผมขอขอบคุณบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ที่สนับสนุนและช่วยเหลือให้คำแนะนำในการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) และต้องขอขอบคุณผู้ร่วมจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายทั้ง 3 แห่งในฐานะผู้ร่วมจัดจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ LTMH รวมถึงนักลงทุนทุกๆ ท่าน ที่ให้ความสนใจการเสนอขายหุ้น IPO ของ LTMH ในครั้งนี้                  ในช่วงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ระหว่างปี 2564 – 2567 รายได้รวมของบริษัทฯ เท่ากับ 118.06 ล้านบาท 173.90 ล้านบาท 225.77 ล้านบาท และ 231.72 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ได้ถึง 25.20% รวมถึงในปี 2567 บริษัทฯ มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงถึง 50.55% และมีอัตรากำไรสุทธิที่ระดับ 15.23% แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไรที่สูง                  ทั้งนี้ ทางบริษัทฯ เชื่อว่าด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ค่อนข้างสูง บวกกับต้นทุนค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของบริษัทฯ เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงรากฐานขององค์กรที่แข็งแกร่ง ทั้งในด้านธุรกิจสื่อและแพลตฟอร์มสื่อ (ออนไลน์) และธุรกิจออฟไลน์นั้น เมื่อมาผนวกกับแผนการทางธุรกิจในอนาคตที่ค่อนข้างชัดเจน โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาต่อยอดธุรกิจ WealthTech ที่มีโอกาสเติบโตอยู่ในระดับสูง ก็จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้บริษัทฯ สามารถเดินหน้าสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการขยายธุรกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพต่อการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอนาคตได้เป็นอย่างดี [PR News]

[Vision Exclusive] SVR เชื่อผ่อนคลาย LTV หนุนตลาดอสังหาฯคึกคัก

[Vision Exclusive] SVR เชื่อผ่อนคลาย LTV หนุนตลาดอสังหาฯคึกคัก

          หุ้นวิชั่น - SVR มองมาตรการผ่อนคลาย LTV เป็นปัจจัยบวก หนุนกำลังซื้อบ้านทั้งหลังแรกและหลังที่สอง ด้านผู้บริหาร "รณฤทธิ์ ฐิติสุริยารักษ์" จ่อบุ๊กเงินขายอสังหาริมทรัพย์ 8 โครงการ มูลค่ารวมเกือบ 4 พันล้านบาท พร้อมปรับกลยุทธ์รับมือเศรษฐกิจชะลอตัว           นายรณฤทธิ์ ฐิติสุริยารักษ์ ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงินอาวุโส บริษัท สิวารมณ์ เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ SVR เปิดเผยกับ หุ้นวิชั่น ว่า การผ่อนคลายเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) โดยคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) คาดว่าจะเป็นปัจจัยบวกต่อผู้ที่ต้องการซื้อบ้านทั้งหลังแรกและหลังที่สอง           ทั้งนี้ การผ่อนคลายมาตรการดังกล่าวจะช่วยให้เม็ดเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบมากขึ้น และลดอัตราการปฏิเสธสินเชื่อของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถประเมินได้ชัดเจนว่าการปฏิเสธสินเชื่อจะลดลงมากน้อยเพียงใด แต่จากสถิติที่ผ่านมา พบว่ามีอัตราการปฏิเสธสินเชื่อในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญ           บริษัท มองว่า การผ่อนคลายมาตรการ LTV จะช่วยให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ส่งผลบวกต่อบรรยากาศการซื้อขายและกำลังซื้อของผู้บริโภคในอนาคต           ด้าน สาระสำคัญของการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV มีดังนี้ กำหนดให้เพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกันเป็นร้อยละ 100 สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ทั้งกรณี (1) มูลค่าหลักประกันต่ำกว่า 10 ล้านบาท ตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 2 เป็นต้นไป และ (2) มูลค่าหลักประกันตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 1 เป็นต้นไป           และการผ่อนคลายนี้ให้เป็นการชั่วคราว สำหรับสัญญาเงินกู้ที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569           สำหรับแผนธุรกิจปี 2568 SVR ได้เปิดตัวโครงการใหม่ไปแล้วในช่วงต้นปี ส่งผลให้ปัจจุบันบริษัทมีโครงการรวม 8 แห่ง มูลค่ารวมเกือบ 4,000 ล้านบาท โดยโครงการที่เปิดตัวประกอบด้วย สิวารมณ์ แกรนด์ (สุขุมวิท-บางปู), สิวารมณ์ วิลเลจ (สุขุมวิท-บางปู 58), สิวารมณ์ เนเจอร์พลัส (อัสสัมชัญ-ศรีราชา), สิวารมณ์ เนเจอร์พลัส 2 (สุขุมวิท-บางปู), สิวารมณ์ ปาร์ค (วงแหวน-ประชาอุทิศ 76), สิวารมณ์ วิลเลจ (วงแหวน-ชัยพฤกษ์) และสิวารมณ์ ไฮด์ (บางแค-สาทร)           SVR ยังคงเดินหน้าโอนกรรมสิทธิ์ พร้อมรุกตลาดอสังหาริมทรัพย์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่อยู่อาศัยในทำเลศักยภาพ           คาดว่าการเติบโตในปี 2568 อาจไม่ได้ขยายตัวในระดับสูงเช่นปีก่อนหน้า เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจน ทั้งนี้ที่ผ่านมา SVR มีอัตราการเติบโตโดดเด่นถึง 50% อย่างไรก็ตาม บริษัทจะยังคงเดินหน้าขยายโครงการใหม่ และปรับกลยุทธ์เพื่อรองรับสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงต่อไป           อนึ่ง ปี 2567 บริษัทมีรายได้อยู่ที่ 862.94 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 27.38 ล้านบาท รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

FVC ส่งซิก Q1 เข้าเป้า ผุดศูนย์ไตเทียมรับทรัพย์

FVC ส่งซิก Q1 เข้าเป้า ผุดศูนย์ไตเทียมรับทรัพย์

          หุ้นวิชั่น - FVC ตั้งเป้ารายได้ปี 2568 โต 25% ฟากบอสใหญ่ "วิจิตร เตชะเกษม" ชู 3 ธุรกิจโตต่อ ทุ่มงบ 300 ล้าน ผุดศูนย์ไตเทียมใหม่รับทรัพย์ ส่งซิกผลงานโค้งแรกมาตามนัด พร้อมปักหมุดโรงเรียนการดูแลทางการแพทย์ใน 3 ปี ปูพรมบริการภาคอีสานเต็มสูบ           ดร.วิจิตร เตชะเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลเตอร์ วิชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ FVC เปิดเผยว่า แนวโน้มธุรกิจในไตรมาส 1/2568 ยังเป็นไปตามแผน โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจบริการทางการแพทย์ (B3) ที่ดำเนินการโดย บริษัท เคที เมดิคอล เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ KTMS ซึ่งคาดว่าจะเติบโตตามแผนที่ตั้งไว้ ขณะที่ภาพรวมของปี 2568 บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโต 25% จากปี 2567 ที่มีรายได้ 1,052.51 ล้านบาท           สำหรับกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการด้านระบบน้ำ (B1) บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโต 13-14% พร้อมแผนการบุกตลาดภูมิภาคมากขึ้นและเสริมพลังงานสีเขียว โดยมีแผนการลงทุนปรับปรุงห้อง WORKSHOP ใหม่ ด้วยงบลงทุนขั้นต่ำ 3 ล้านบาท คาดว่าจะใช้งบลงทุนไม่เกิน 10 ล้านบาท           ด้านกลุ่มธุรกิจพาณิชย์และที่พักอาศัย (B2) บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโต 12-15% โดยมีแผนการออกแบบอาคารและร้านค้าใหม่ให้กับลูกค้าประเภทร้านอาหาร แต่ไม่ได้วางแผนลงทุนขนาดใหญ่ในกลุ่มนี้ และอาจมีการปรับปรุงพื้นที่เล็กน้อย           สำหรับกลุ่มธุรกิจบริการทางการแพทย์ (B3) บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโตมากกว่า 30% ในปีนี้ โดยมีแผนขยายธุรกิจท่อลม และขยายการผลิตน้ำยาไตเทียม โดยมีแผนลงทุน 200-300 ล้านบาท เพื่อขยายหน่วยไตเทียมเพิ่มเติม           ในระยะยาว (ปี 2568-2570) FVC มีแผนขยายบริการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตั้งเป้าจัดตั้งโรงเรียนการดูแลทางการแพทย์และเทคนิค (Medical Care & Technical School) ภายใน 3 ปี รวมถึงการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Neutral for Carbon Footprint) โดยกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมจะมุ่งเน้นพัฒนาเสริมสร้างธุรกิจพลังงานสะอาด

THANA ปักหมุด Luxury เปิด THANA RESIDENCE

THANA ปักหมุด Luxury เปิด THANA RESIDENCE

          22 – 23 มี.ค. นี้ ธนาสิริ กรุ๊ป (THANA) รุกตลาด Luxury อย่างต่อเนื่อง เปิดโครงการรอบ VVIP กับแบรนด์หรู THANA RESIDENCE กาญจนาภิเษก-พระราม 9 ราคาเริ่ม 18-30 ล้านบาท ภายใต้แนวคิด A NEW LUXURY: Simply Natural Heritage นิยามใหม่ของบ้านหรู เรียบง่าย ที่เป็นหนึ่งเดียวกับมรดกทางธรรมชาติ สะท้อนผ่านแรงบันดาลใจของธรรมชาติจากผืนป่า เพื่อสร้างความรู้สึกเหมือนพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติโอบล้อมรอบตัวทุกพื้นที่ในโครงการ           THANA RESIDENCE กาญจนาภิเษก-พระราม 9 ที่สุดแห่งการอยู่อาศัย เติมเต็มความสมบูรณ์ของการใช้ชีวิตได้อย่างลงตัวบนทำเลศักยภาพ สะดวกในการเดินทาง ตั้งอยู่บนถนนกาญจนาภิเษก และถนนสุขาภิบาล 2 ทั้งยังใกล้จุดขึ้นสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ นอกจากนี้ เพียงใช้เวลาแค่ 15 นาที ก็ถึงสนามบินสุวรรณภูมิแล้ว แวดล้อมด้วย Living Solutions ครบถ้วน ใกล้กับห้างสรรพสินค้าชั้นนำ โรงเรียนนานาชาติชื่อดัง โรงพยาบาลที่มีชื่อเสียง ตลอดจนสาธารณูปโภคต่างๆ มากมาย และยังสามารถเดินทางเข้าเมืองไปยัง สุขุมวิท ทองหล่อ พระรามเก้า อโศก ราชดำริ สีลม และสาธร ได้อย่างสะดวก           ขณะเดียวกัน THANA RESIDENCE กาญจนาภิเษก-พระราม 9 ยังออกแบบอย่างพิถีพิถันครบถ้วนทั้งตัวบ้าน และสันทนาการส่วนกลาง ในแนวคิด In the Wood ตอบโจทย์การอยู่อาศัย เพื่อความคุ้มค่า น่าอยู่ โดยรอบ VVIP นี้ พิเศษสุดกับการส่งบ้านหลังใหญ่ 3 แบบบ้าน ที่มีขนาดพื้นที่สูงสุด 474 ตร.ม. ประกอบด้วย 4 ห้องนอน 5 ห้องน้ำ 4 ที่จอดรถ 2 ห้องแม่บ้าน พร้อมนวัตกรรมที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้ใช้เวลาอยู่ กับคนในครอบครัว กับความสุขง่าย ๆ ที่เป็นความภาคภูมิใจในบ้านหลังใหญ่ ภายใต้แนวคิด “ธนาสิริ ... เราดูแล”

[ภาพข่าว] D เปิด “Smile Signature” สาขาสุขุมวิท

[ภาพข่าว] D เปิด “Smile Signature” สาขาสุขุมวิท

          นายพรศักดิ์ ตันตาปกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดนทัล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ D  เป็นประธานเปิดสาขาใหม่  คลินิกทันตกรรม สไมล์ซิกเนเจอร์  หรือ Smile Signature สาขาสุขุมวิท  พร้อมด้วยนายณัฐสิทธิ์ สุรพันธ์ไพโรจน์  ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีและการเงิน  และทีมบุคลากร  ซึ่งสาขาสุขุมวิท จะ รองรับกลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นหลัก  ตามแผนการตลาดในเชิงรุกของกลุ่มบริษัท  เปิดสาขาใหม่ในแหล่งท่องเที่ยว           คลินิกทันตกรรม Smile Signature สาขาสุขุมวิท ตั้งอยู่บนทำเลแหล่งท่องเที่ยว และแหล่งที่พักอาศัยของชาวต่างชาติ  เป็นสาขาที่เปิดเพื่อรองรับกลุ่ม medical tourism ที่เป็นลูกค้าชาวต่างชาติ 100%  มีพื้นที่ให้บริการกว่า 300 ตารางเมตร  เป็นสาขาที่มีการตกแต่งสวยงามทันสมัย มีพื้นที่ให้ลูกค้านั่งรอรับบริการ กว้างขวางและสะดวกสบาย มีห้องให้บริการทันตกรรมจำนวน 6 ห้อง สามารถรองรับลูกค้าได้วันละประมาณ 100 คน

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

CHOW ติดสปีดธุรกิจสีเขียว คว้าใบรับรอง “คาร์บอนฟุตพริ้นท์”

CHOW ติดสปีดธุรกิจสีเขียว คว้าใบรับรอง “คาร์บอนฟุตพริ้นท์”

             หุ้นวิชั่น - CHOW ได้รับใบรับรองฉลาก “คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน” และ “คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์” จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ประจำปี 2567 ตอกย้ำแนวคิดธุรกิจ Circular Economy เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาด พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนองค์กรสู่การเติบโตควบคู่การดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน              นายปรมัตถ์ จุฬวนิช ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน บริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ CHOW ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็กแท่งยาว (Steel Billet) รายใหญ่ของประเทศ เปิดเผยว่า CHOW ได้รับการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ และได้รับฉลากรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product: CFP) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ซึ่งเป็นไปตามแผนการดำเนินงานการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ CHOW ในการควบคุมตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตไปจนถึงขั้นตอนการจัดจำหน่าย เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ ซึ่งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) เป็นองค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อวิเคราะห์ กลั่นกรองและทำความเห็นเกี่ยวกับการให้คำรับรองโครงการที่ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม การลงทุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม “CHOW ให้ความสำคัญในเรื่องการใส่ใจดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนในทุกขั้นตอน ยึดมั่นในแนวคิดธุรกิจ Circular Economy หรือระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของการนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ ด้วยการเลือกวัสดุคุณภาพที่มีแนวคิดรักษ์โลกและรีไซเคิลได้ 100% ซึ่งไม่เพียงสนับสนุนแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ CHOW ให้เป็นไปตามเป้าหมาย แต่ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยในครั้งนี้ CHOW ได้รับใบรับรองสำหรับผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 รายการ ได้แก่ RB6, RB8 และ RB9 ถือเป็นการเสริมสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ องค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่หันมาสนใจเรื่องการใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้นร่วมกับการตัดสินใจซื้อสินค้า การได้รับฉลากรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของ CHOW นับเป็นการเพิ่มขีดความสามารถอีกทางหนึ่งสำหรับการแข่งขันในตลาดเหล็กปัจจุบันอีกด้วย และคาดว่าจะทำให้ยอดขายเหล็กในปีนี้เพิ่มขึ้น 2 หลัก ” นายปรมัตถ์ กล่าวสรุป              คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product) คือ ฉลากที่แสดงถึงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการผลิตผลิตภัณฑ์นั้น ๆ โดยจะคำนวณตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ จนเข้าสู่กระบวนการผลิต การขนส่ง การนำไปใช้และการกำจัดซาก โดย CHOW คาดหวังให้ผู้บริโภคทราบถึงความใส่ใจต่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปัญหาโลกร้อน ช่วยสร้างความตระหนักและทำให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจก หากเลือกใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ให้ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ของไทยให้มุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียวได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย

[ภาพข่าว] “JPARK” ต้อนรับนักลงทุนสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย

[ภาพข่าว] “JPARK” ต้อนรับนักลงทุนสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย

          นายสันติพล เจนวัฒนไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสุดวิณ ปัญญาวงศ์ขันติ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินและบัญชี  บริษัท เจนก้องไกล จำกัด (มหาชน) “JPARK” ให้การต้อนรับคณะนักลงทุนสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย อาสาฯ Visit  เนื่องในโอกาสเข้ารับฟังการบรรยายข้อมูล และเปิดโอกาสให้นักลงทุนได้ซักถามถึงผลการดำเนินงานและข้อมูลธุรกิจของบริษัทฯ อย่างใกล้ชิดและเป็นกันเอง ณ ห้องประชุม The Mitr-ting Room Samyan Mitrtown Hall ชั้น 5

AU - TPS โตแรง 3 ปีซ้อน! เดินหน้าขยายธุรกิจปี 68

AU - TPS โตแรง 3 ปีซ้อน! เดินหน้าขยายธุรกิจปี 68

           หุ้นวิชั่น –  เปิดโผหุ้น บจ. mai "อาฟเตอร์ ยู" หรือ AU และ "เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น" หรือ TPS โชว์ผลงานเด่น รายได้-กำไรเติบโตมากกว่า 10% ติดต่อกัน 3 ปีซ้อน AU เดินหน้าขยายสาขาทั้งในและต่างประเทศ พร้อมจับมือ 7-Eleven ขยายช่องทางจำหน่าย ส่วน TPS ตั้งเป้าเป็นผู้นำไอทีโซลูชั่นครบวงจร ดันรายได้โต 20-25% สร้างสถิติใหม่ต่อเนื่อง            ผู้สื่อข่าวรายงานจากตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่า บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ที่มีอัตราการเติบโตของรายได้และกำไรสุทธิเกิน 10% ติดต่อกัน 3 ปีซ้อน ได้แก่ บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) หรือ AU และ บริษัท เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TPS ซึ่งทั้งสองบริษัทมีแผนขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องในปี 2568 บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) หรือ AU ผู้ประกอบธุรกิจ 1. ร้านขนมหวาน 2. การขายสินค้าและวัตถุดิบ 3. การขายและการจัดงานนอกสถานที่ 4. แฟรนไชส์ AU เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีการเติบโตของรายได้รวมและกำไรสุทธิอย่างต่อเนื่องมากกว่า 10% ติดต่อกัน 3 ปีซ้อน โดยมีผลประกอบการย้อนหลังดังนี้: กำไรสุทธิ: 118.48 ล้านบาท (ปี 2565), 178.17 ล้านบาท (ปี 2566), และ 296.20 ล้านบาท (ปี 2567) ปี 2565 เติบโต 2,564.67% จากปี 2564 ปี 2566 เติบโต 50.38% จากปี 2565 ปี 2567 เติบโต 66.25% จากปี 2566 รายได้รวม: 954.47 ล้านบาท (ปี 2565), 1,233.76 ล้านบาท (ปี 2566), และ 1,603.14 ล้านบาท (ปี 2567) ปี 2565 เติบโต 51.78% จากปี 2564 ปี 2566 เติบโต 29.26% จากปี 2565 ปี 2567 เติบโต 29.94% จากปี 2566 จำนวนสาขา: สิ้นปี 2564 มี 40 สาขา และเพิ่มขึ้นเป็น 62 สาขาในสิ้นปี 2567 (เพิ่มขึ้น 22 สาขา)            สำหรับทิศทางในการดำเนินธุรกิจในปี 2568 บริษัทมีแผนขยายแฟรนไชส์ร้านขนมหวาน อาฟเตอร์ ยู ไปยัง ประเทศอินโดนีเซีย และเมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ พร้อมทั้งมีแผนขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่าน ผู้แทนจำหน่าย (Distributor) ใน ประเทศมาเลเซีย และเวียดนาม นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคงมองหาโอกาสเติบโตในต่างประเทศเพิ่มเติม เพื่อกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพารายได้จากในประเทศเพียงอย่างเดียว รวมถึงเพื่อสร้างการเติบโตในระยะยาว            บริษัทจะมุ่งเน้นขยายสาขาร้านอาฟเตอร์ ยู และแบรนด์ลูกต่างๆ ในปี 2568 บริษัทมีแผนขยายสาขาเพิ่มเติม ได้แก่ ร้านขนมหวาน อาฟเตอร์ ยู จำนวน 8 สาขา ร้านผลไม้ ลูกก๊อ จำนวน 5 สาขา ร้านกาแฟ มิกก้า จำนวน 3 สาขา โดยมุ่งเน้นการขยายสาขาไปยังพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางของนักท่องเที่ยว และย่านที่พักอาศัยที่มีกำลังซื้อและมีลูกค้าจำนวนมาก เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และขยายการขายสินค้าผ่านช่องทางโมเดิร์นเทรด โดยวางขายสินค้าผ่านร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven            ในปี 2568 บริษัทมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้ากลุ่มขนมปังไปยังสาขาร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ให้ครอบคลุมทุกสาขาทั่วประเทศ พร้อมทั้งเพิ่มความหลากหลายของรสชาติสินค้าในแต่ละสาขา นอกจากนี้ บริษัท ยังมีแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นเพื่อจำหน่ายผ่านช่องทางโมเดิร์นเทรด            บริษัท เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TPS ผู้ประกอบธุรกิจ เป็นผู้ให้คำปรึกษา ออกแบบ จัดหา ติดตั้ง และจำหน่ายผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology Solutions Provider : ITP ) TPS มีการเติบโตต่อเนื่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ดังนี้: กำไรสุทธิ: 75.83 ล้านบาท (ปี 2565), 116.37 ล้านบาท (ปี 2566), และ 135.47 ล้านบาท (ปี 2567) ปี 2565 เติบโต 95.73% จากปี 2564 ปี 2566 เติบโต 53.46% จากปี 2565 ปี 2567 เติบโต 16.42% จากปี 2566 รายได้รวม: 986.86 ล้านบาท (ปี 2565), 1,362.81 ล้านบาท (ปี 2566), และ 1,606.31 ล้านบาท (ปี 2567) ปี 2565 เติบโต 67.48% จากปี 2564 ปี 2566 เติบโต 38.10% จากปี 2565 ปี 2567 เติบโต 17.87% จากปี 2566            สำหรับปี 2568  บริษัทจะมุ่งสู่การเป็นผู้นำให้บริการไอทีโซลูชั่นครบวงจร ตั้งเป้าหมายรายได้เติบโต 20-25% สร้างสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นพัฒนา 4 กลุ่มงานหลัก ทั้ง  1. Network Infrastructure ได้แก่ ระบบ LAN, Wi-Fi Network และระบบภายในห้อง Datacenter ซึ่งเป็นกลุ่มงานหลักที่ TPS มีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่ง 2.งาน Cyber Security ซึ่ง TPS ยังคงให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นระบบที่ช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กร            และ TPS มุ่งสู่การเป็นผู้นำในการให้บริการโซลูชั่นในด้าน Cybersecurity พร้อมกับพัฒนาทีมงานให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น 3.ระบบ System ได้แก่ เทคโนโลยี AI, Cloud, Compute, Storage และระบบ Virtual Machine ต่างๆ และ 4.งานด้าน Customer Service โดยมุ่งเน้นเป็นหนึ่งในผู้นำการให้บริการหลังการขายแบบครบวงจร สรุปภาพรวม            ทั้ง AU และ TPS เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai ที่มีการเติบโตของรายได้และกำไรสุทธิอย่างต่อเนื่อง โดย AU ขยายธุรกิจด้านขนมหวานและเครื่องดื่มไปยังต่างประเทศ พร้อมขยายสาขาภายในประเทศ ขณะที่ TPS มุ่งพัฒนาโซลูชั่นด้านไอทีและระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยตั้งเป้าหมายสร้างสถิติรายได้ใหม่ในปี 2568 ที่มา https://www.settrade.com และ https://www.set.or.th/ รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

KTMS ชูธงรายได้แตะพันล. ใส่เกียร์ผุดศูนย์ไตเทียมเร่งโต

KTMS ชูธงรายได้แตะพันล. ใส่เกียร์ผุดศูนย์ไตเทียมเร่งโต

              หุ้นวิชั่น - KTMS ตั้งเป้ารายได้แตะ 1 พันล้านบาทในปี 70 จากปีนี้ปักธงรายได้ 800 ล้านบาท หรือโตเฉลี่ย 20-30% ต่อปี เดินหน้าผุดศูนย์ไตเทียมทำเงิน กางแผนธุรกิจ วางงบลงทุนที่ 200-250 ล้านบาท เชื่อดีมานด์ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมสูง สยายปีกภาคตะวันออกเฉียงเหนือเต็มสูบ               นางสาวกาญจนา พงศ์พัฒนะเดชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคที เมดิคอล เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ KTMS เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 2568 แตะ 800 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเติบโต 20-30% ต่อปี โดยปัจจุบันบริษัทครองส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจนี้ประมาณ 1 ใน 3 หรือคิดเป็น 3-5% ของตลาดรวม               สำหรับไตรมาส 1/2568 บริษัทคาดว่ารายได้จะเติบโตจากการขยายสาขาและหน่วยไตเทียมเพิ่มขึ้น ปัจจุบัน KTMS มีสาขาทั้งหมด 36 แห่ง และมีเครื่องฟอกไตเทียมจำนวน 495 เครื่อง โดยในปีนี้มีแผนเพิ่มเครื่องฟอกไตอีก 70-90 เครื่อง รองรับจำนวนผู้ป่วยที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง               ขณะที่อัตรากำไร (มาร์จิ้น) ของหน่วยไตเทียมในโรงพยาบาล (Outsource) จะมีอัตรากำไรอยู่ที่ 10-20% ขณะที่คลินิกเวชกรรมไตเทียมแบบ Stand-Alone คาดว่าจะสร้างอัตรากำไรที่ 15-30% โดยบริษัทมีแผนขยายาขาทั้งรูปแบบ Outsource และ Stand-Alone โดยบริษัทตั้งงบไว้ที่ 200-250 ล้านบาท เพื่อขยายหน่วยไตเทียมเป็นหลัก               ในส่วนของค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ใช้สิทธิ์ประกันสังคมและบัตรทอง บริษัทไม่มีนโยบายลดรายจ่ายในส่วนนี้ และยังคงใช้นโยบายเดิม แม้ว่าสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะมีแนวทางผลักดันการล้างไตทางช่องท้อง (PD First) บริษัทมั่นใจว่ายังสามารถรักษารายได้จากฐานผู้ป่วยเดิม ซึ่งมีจำนวนกว่า 3,000 คนในปัจจุบัน               สำหรับงบลงทุนปี 2568 นอกจากการขยายหน่วยไตเทียมแล้ว บริษัทยังมีแผนขยายโรงงานผลิตน้ำยาฟอกไตแห่งใหม่ ปัจจุบันอยู่ระหว่างมองหาโลเคชั่น โดยบริษัทวางเงินลงทุนไว้ที่ 80-100 ล้านบาท (ไม่รวมที่ดิน) แต่คาดว่าจะใช้จริงประมาณ 50 ล้านบาท               สำหรับแผนระยะยาว ปี 2568-2570 บริษัทตั้งเป้ารายได้แตะ 1,000 ล้านบาท ภายในปี 2570 โดยเตรียมขยายกำลังการผลิตน้ำยาไตเทียม และขยายการให้บริการลูกค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ ยังมีแผนนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ นอกเหนือจากการฟอกเลือด พร้อมเดินหน้าพัฒนาระบบน้ำสำหรับฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และเพิ่มการติดตั้งท่อลมให้กับโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน

TBN เป้ารายได้โต 30-35% แบ็คล็อกแน่น 400 ลบ.

TBN เป้ารายได้โต 30-35% แบ็คล็อกแน่น 400 ลบ.

          “บมจ.ทีบีเอ็น คอร์ปอเรชั่น หรือ TBN” พร้อมคัมแบ็ค เติบโตต่อเนื่อง ตั้งธงรายได้ปี 68 เติบโตราว 30-35% จากปีก่อน ผันตัวเป็น Intelligent Digital Solutions Accelerator และตุน Backlog แข็งแกร่งเฉียด 400 ลบ. โดยเบื้องต้นบริษัทมีรายได้ที่เป็น Recurring Income แล้วมากกว่า 200 ลบ. ชูกลยุทธ์การเติบโตในปีนี้เตรียมเพิ่มผลิตภัณฑ์และการบริการ โซลูชั่น AI ต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กรลูกค้า รวมถึงโซลูชั่น Cybersecurity           นายปนายุ ศิริกระจ่างศรี  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีบีเอ็น คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TBN ผู้นำด้าน Intelligent Digital Platform เปิดเผยว่าแผนธุรกิจในปี 2568  บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 68 เติบโตราว 30-35% จากปีก่อนที่มีรายได้ราว 349.30 ล้านบาท โดยเบื้องต้นบริษัทประเมินว่ามีรายได้ประจำ (Recurring Income)  แล้วกว่า 200 ล้านบาท โดย ณ สิ้นปีที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้ที่เป็น Recurring Income เพิ่มขึ้นแตะที่ 60% ของรายได้รวม เทียบกับปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ราว 50% กว่าๆ และเชื่อว่าปีนี้จะเติบโตต่อเนื่อง โดยปีที่ผ่านมาบริษัทได้ขยายตลาดกลุ่มลูกค้าไปยัง Sector อื่นๆ ได้แก่ กลุ่มโรงพยาบาลและกลุ่มพลังงาน           นอกจากนี้ บริษัทยังมีแบ็คล็อกแข็งแกร่งอยู่ที่ราว 389 ล้านบาท โดยจะรับรู้รายได้ปีนี้ 263 ล้านบาท และส่วนที่เหลือ 126 ล้านบาท ทยอยรับในปีถัดไป ซึ่งปีนี้บริษัทยังเดินหน้ารับงานต่อเนื่องทั้งงานรัฐและเอกชน รวมทั้งงานที่อยู่ในเทรนด์การเติบโต อาทิ กลุ่ม AI, Cybersecurity และ คลาวด์ ซึ่งบริษัทมีความเชี่ยวชาญ           อย่างไรก็ตาม ปี 2568 นี้ บริษัทคาดหวังว่างานโครงการขนาดใหญ่ที่เลื่อนรับรู้จากปีก่อนจะทยอยรับรู้แล้วเสร็จภายในปีนี้ นอกจากนี้บริษัทยังเน้นงานภาครัฐเพิ่มขึ้น พร้อมกับการเพิ่มความเข้มงวดในการบริหารโครงการ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากต้นทุนส่วนเกินที่อาจไม่สามารถเรียกเก็บคืนได้ในอนาคต           โดยกลยุทธ์การเติบโตในปี 2568 บริษัทเตรียมเพิ่มผลิตภัณฑ์และการบริการ โซลูชั่น AI ต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถนำ AI ไปใช้ในหลายๆส่วนในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการบริหารความรู้ (knowledge management) รวมถึงการสื่อสาร AI communications platform นอกจากนั้น TBN ยังมีโซลูชั่นด้าน Cybersecurity สำหรับองค์กรขนาดใหญ่และ mobile application อีกด้วย           “TBN ยังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการนำเสนอเทคโนโลยีที่ช่วยให้องค์กรไทยก้าวสู่อนาคตได้อย่างมั่นคงและมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมสร้างความแข็งแกร่งและความยั่งยืนในระยะยาว พัฒนาการ ของ Mendix สู่การเป็น AI Low-Code Platform เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการพัฒนาแอปพลิเคชัน และใช้ AI เพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงานให้ ตอบโจทย์ธุรกิจที่ต้องการความยืดหยุ่นและความเร็วในการปรับตัว” นายปนายุ กล่าว

[ภาพข่าว] TQR อัปเดตแผนธุรกิจปี 68 ในงาน Analyst meeting

[ภาพข่าว] TQR อัปเดตแผนธุรกิจปี 68 ในงาน Analyst meeting

          คุณชนะพันธุ์ พิริยะพันธุ์ (ที่ 2 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ที คิว อาร์ จำกัด (มหาชน) (TQR) ร่วมนำเสนอข้อมูลแผนการดำเนินธุรกิจปี 2568 ในงานประชุมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Analyst meeting) ซึ่งจัดโดย บริษัท ทีคิวเอ็ม อัลฟา จำกัด (มหาชน) (TQM) โดยระบุว่า ทิศทางการดำเนินธุรกิจในปีนี้ มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยี มาพัฒนาแพลตฟอร์มและผลิตภัณฑ์ประกันภัยต่อรูปแบบใหม่ร่วมกัน TQM อย่างต่อเนื่อง  คาดว่า ในปีนี้ จะได้เห็นผลิตภัณฑ์ประกันภัยต่อรูปแบบใหม่เกิดขึ้น นอกจากนี้ ประกันภัยต่อไซเบอร์ (Cyber), ประกันภัยต่อสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Personal Accident and Health),ประกันภัยต่อความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร (Directors and Officers), ประกันภัยต่อการก่อการร้ายและภัยทางการเมือง (Political Violence) รวมถึงประกันภัยต่อที่เกี่ยวข้องกับ ESG เช่น โครงการพลังงานแสงอาทิตย์และรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ยังมีความต้องการที่สูงขึ้น จึงมั่นใจว่า ในปี 2568 จะสามารถสร้างรายได้ให้เติบโตที่ระดับ 5-10% สร้างสถิติสูงสุดใหม่ตามแผน งานดังกล่าวจัดขึ้น ณ HOW ชั้น 12 โรงแรมโซ แบงคอก กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้

abs

ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารอย่างครบวงจร

TITLE ปักหมุดเสาเอก  3 โครงการใหม่ 1 หมื่นล.

TITLE ปักหมุดเสาเอก 3 โครงการใหม่ 1 หมื่นล.

                 หุ้นวิชั่น - “ร่มโพธิ์ พร็อพเพอร์ตี้” หรือ “THE TITLE” เร่งเดินหน้าตามแผนถือฤกษ์ดีปักหมุดลงเสาเอก 3 โครงการ Leisure Residence ได้แก่ โครงการเดอะ โมเดวา บางเทา (The Modeva Bang-Tao), โครงการ เดอะ ไทเทิล อาร์ทริโอ บางเทา (The Title Artrio Bang-Tao) และโครงการ เดอะ ไทเทิล เซียโล่ ราไวย์ (The Title Cielo Rawai) ซึ่งนับเป็นก้าวแรกสำคัญในการเริ่มดำเนินการก่อสร้าง   หลังผ่านการอนุมัติการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) พร้อมเตรียมลุยก่อสร้างตามแผนที่วางไว้                  นายดรงค์ หุตะจูฑะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ร่มโพธิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ THE TITLE ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ Leisure Residence เพื่อการพักอาศัยและการลงทุนอย่างยั่งยืน กล่าวว่า บริษัทฯ ได้เริ่มเดินหน้าทำพิธีลงเสาเอก โครงการเดอะ โมเดวา บางเทา, โครงการ เดอะ ไทเทิล อาร์ทริโอ บางเทา และ โครงการ เดอะ ไทเทิล เซียโล่ ราไวย์ ตามแผนงานที่วางไว้ หลังทั้ง 3 โครงการได้รับการอนุมัติผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA Approved ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพร้อมและศักยภาพในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์คุณภาพในจ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นทำเลที่มีความน่าสนใจสูงในตลาดอสังหาฯ ทั้งในแง่ของการพักอาศัยและการลงทุน รวมถึงเป็นการยืนยันถึงมาตรฐานการทำงานของบริษัทฯ ที่ให้ความสำคัญกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน รวมถึงยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าและนักลงทุนในการตัดสินใจซื้อโครงการได้มากยิ่งขึ้น                  ด้านนายเวคิน ตั้งกุลวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท ร่มโพธิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพ ถ่ายทอดความตั้งใจและผ่านการคัดสรรในทุกๆ รายละเอียด ทั้งทำเลที่ดี เชื่อมต่อการเดินทางได้หลากหลาย การออกแบบที่เข้าใจผู้อยู่อาศัย และการก่อสร้างที่มีคุณภาพ ส่งมอบโครงการที่อยู่อาศัยได้รวดเร็วตามกำหนด ซึ่งเป็นจุดเด่นสำคัญของเรา ที่ลูกค้าและนักลงทุนให้ความไว้วางใจมาโดยตลอด ผนวกกับความใส่ใจถึงผลกระทบที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญตั้งแต่เริ่มต้น ทำให้ทั้ง 3 โครงการนี้ สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้                  สำหรับ 3 โครงการดังกล่าวประกอบด้วย 1. โครงการเดอะ โมเดวา บางเทา  เป็นโครงการ  Leisure Residences และยังเป็นครั้งแรกของแบรนด์ THE TITLE ที่พัฒนาอาคารที่พักอาศัยที่มีโซน “Pet-Friendly” ภายในโครงการ มาพร้อม Pet Pool & Pet Grooming ตอบโจทย์คนรักสัตว์เลี้ยง มูลค่าโครงการ 6,200 ล้านบาท          กับแนวคิด The Vibes of Pleasure เพียง 500 เมตร ก็ได้สัมผัสความงดงามของชายหาดบางเทา และยังสะดวกสบายใกล้แหล่งลักชูรี่ไลฟ์สไตล์อย่าง Porto De Phuket & Boat Avenue อีกด้วย โครงการเดอะ ไทเทิล อาร์ทริโอ บางเทา ตั้งอยู่ติด Porto de Phuket แหล่งรวมไลฟ์สไตล์ ร้านอาหาร คาเฟ่ ใจกลางย่านบางเทา โดยสามารถเดินเชื่อมต่อด้วยประตูเข้า-ออกจากโครงการ มาพร้อมคอนเซปต์ Live Artfully, Where Creative Retreat Meets Style ที่ถ่ายทอดความงาม และตอบโจทย์การพักผ่อนเสมือน ได้ชมศิลปะในอาร์ทแกเลอรี่ มูลค่าโครงการ 2,600 ล้านบาท ครบครันด้วยส่วนกลางขนาดใหญ่กว่า 41 โซน ทั้ง Outdoor และ Indoor รวมถึงโซนสำหรับสัตว์เลี้ยง Pet Grooming และ Pet Pool & Playground ในอาคาร Pet-Friendly โครงการเดอะ ไทเทิล เชียโล่ ราไวย์ ตั้งอยู่บนทำเลศักยภาพราไวย์ ใกล้หาดราไวย์เพียง 250 เมตร สัมผัสวิถีชีวิตของหมู่บ้านชาวประมง ลิ้มรสอาหารทะเลแบบสดๆ ส่งตรงจากทะเล พัฒนาโครงการภายใต้แนวคิด “The Breeze of Blissful Living” ผสานกลิ่นอายสถาปัตยกรรมชายฝั่งทะเลยุโรป พร้อมสระว่ายน้ำขนาดใหญ่สไตล์ชายหาดล้อมทั่วโครงการ มูลค่าโครงการ 1,200 ล้านบาท

TACC ปันผล 10.9% เยอะสุดในกลุ่มเครื่องดื่ม

TACC ปันผล 10.9% เยอะสุดในกลุ่มเครื่องดื่ม

            หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) ระบุว่า การประชุมโทนเป็นกลางของ TACC ใน Opportunity Day เป็นไปในทิศทางกลาง โดยฝ่ายบริหารเน้นย้ำถึงการเติบโตของรายได้ 10% ในปี 2025F ซึ่งจะมาจากทั้งร้านสะดวกซื้อ 7-11 (คิดเป็น 93% ของยอดขายในปี 2024) และจากแบรนด์ของตัวเอง (น้ำเชื่อมและชา – คิดเป็น 7% ของยอดขายในปี 2024) เราคาดว่ากำไรหลักจะเติบโต 10% สอดคล้องกับยอดขาย จึงคงคำแนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 6 บาท โดยเชื่อว่า TACC สามารถรักษาอัตราการจ่ายเงินปันผล 96% (เท่ากับปี 2024) ซึ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลอยู่ที่ 10.9% ในปี 2025F ณ ราคาหุ้นปัจจุบัน อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่สูงนี้ทำให้หุ้นนี้มีความน่าสนใจท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ สาระสำคัญของการประชุม:             ฝ่ายบริหารเน้นย้ำว่า ยอดขาย อาจเติบโต 10% ในปี 2025F จากทั้ง B2B (ยอดขายที่ร้านสะดวกซื้อ 7-11) และ B2C (ยอดขายแบรนด์ของตัวเอง ซึ่งประกอบด้วยน้ำเชื่อมและชา) ยอดขาย B2B อาจเติบโตไปพร้อมกับยอดขายของร้านสะดวกซื้อ และบริษัทมีแผนจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ (เช่น ชาแอปเปิ้ล) มากขึ้นในปีนี้เพื่อกระตุ้นยอดขาย บริษัทกำลังพิจารณาข้อตกลงการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ แต่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดใดๆ ด้วยราคากาแฟที่สูงขึ้น อาจกดดันอัตรากำไรขั้นต้นของบริษัท แต่ TACC พยายามจัดการโดยล็อกราคาผ่านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงใช้กาแฟที่ราคาถูกกว่า TACC อาจปรับขึ้นราคาขายเพื่อชดเชยต้นทุนสินค้าที่เพิ่มขึ้น หากจำเป็น คงคำแนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 6.00 บาท             TACC ซื้อขายที่ 8.8 เท่าของ P/E ปี 2025 และมองว่าอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ 10.9% ซึ่งสูงที่สุดในกลุ่มเครื่องดื่มนั้นน่าสนใจ ความเสี่ยงหลัก คือการกระจุกตัวของรายได้ (93% ของรายได้รวม) มาจากร้านสะดวกซื้อ 7-11 โดยคาดว่าจะมีการต่อสัญญาทุก สามปี

“MMM” จ่อขาย PO 64.20 ล้านหุ้น  นำร่อง LiVEx ยกชั้นเทรด mai

“MMM” จ่อขาย PO 64.20 ล้านหุ้น นำร่อง LiVEx ยกชั้นเทรด mai

             หุ้นวิชั่น - ก.ล.ต.นับหนึ่งไฟลิ่ง บมจ. เอ็มเอ็มเอ็ม แคปปิตอล หรือ MMM หนึ่งในผู้นำด้านตัวแทนการขายอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้การให้บริการที่ปรึกษาด้านการขายและการตลาดแก่ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาฯ และซื้อขายอสังหาฯ เตรียมเสนอขายหุ้น PO จำนวน 64.20 ล้านหุ้น พร้อมระบุ MMM จะเป็นบริษัทแรกใน LiVEx ที่ก้าวสู่การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) เล็งนำเม็ดเงินจากการระดมทุน สยายปีกเพื่อสร้างโอกาสการเติบโต ก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านการเป็นที่ปรึกษาด้านการขายและการตลาดเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร              นางสาวเดือนพรรณ ลีลาวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไพโอเนีย แอดไวเซอรี่ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของ บริษัท เอ็มเอ็มเอ็ม แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ MMM  เปิดเผยว่า หลังจากที่ MMM ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (แบบไฟลิ่ง) และแบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่วไป (PO) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. โดยล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต.นับหนึ่งแบบไฟลิ่ง MMM เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2568 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเพื่อเสนอขายหุ้น PO จำนวนไม่เกิน 64,200,000 หุ้น หรือคิดเป็น 21.40% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 0.50 บาท เพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) หมวดอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง              สำหรับหุ้นที่เสนอขายในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) หุ้นสามัญเพิ่มทุนไม่เกิน 52,200,000 หุ้น คิดเป็นไม่เกิน 17.40% และ 2) หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย บริษัท ณัชชา โฮลดิ้ง จำกัด ไม่เกิน 12,000,000 หุ้น คิดเป็นไม่เกิน 4.00% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้              ปัจจุบัน MMM ดำเนินธุรกิจเป็นตัวแทนการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยทุกประเภท                ให้กับเจ้าของโครงการ ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม รวมถึงการวางแผนกลยุทธ์       ทางการตลาดและการขายผ่านเครือข่ายนายหน้าอิสระ นอกจากนี้ บริษัทฯ ทำธุรกิจซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ โดยการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีสภาพดีนำมาปรับปรุงเพื่อจำหน่าย ธุรกิจของ MMM สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ที่ปรึกษางานขายโครงการ (BU1) โดยเป็นตัวแทนขายอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงผู้เดียว ให้กับเจ้าของโครงการ เพื่อให้บริการแนะนำติดต่อผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย ตลอดจนประสานงานเพื่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาฯ ระหว่างผู้ซื้อและเจ้าของโครงการจนกว่าแล้วเสร็จ การบริหารงานขายโครงการ (BU2) เป็นตัวแทนขายและรับประกันการขายแต่เพียงผู้เดียว เพื่อให้บริการ แนะนำ ติดต่อผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย ตลอดจนประสานงานเพื่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ระหว่างผู้ซื้อและเจ้าของโครงการจนกว่าแล้วเสร็จ นอกจากนี้ MMM ให้บริการบริหารงานขายแบบวางหลักประกันการซื้อ (Hybrid) ซึ่งเป็นการรวมรูปแบบการให้บริการที่ปรึกษางานขายโครงการ (BU1) ในช่วงแรก และสิทธิในการเลือกเป็นการบริหารงานขายโครงการแบบรับประกันการขาย (BU2) ในช่วงที่สอง การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ (BU3) เป็นการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีสภาพดีนำมาปรับปรุงเพื่อจำหน่าย “MMM มีศักยภาพความโดดเด่น ด้านความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการวางแผนการตลาดที่สามารถตอบโจทย์ทุกความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้ครบทุกมิติ ส่งผลให้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 บริษัทฯ มีโครงการอสังหาฯ ภายใต้สัญญาให้บริการและรอการขายสำหรับ BU1  BU2 และ BU3 รวมจำนวน 25 โครงการ  848 ยูนิต ซึ่งกระจายในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี ชลบุรี ระยอง และจังหวัดอื่นๆ ครอบคลุมทั้งบ้านเดี่ยว  บ้านแฝด ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม”              นางสาวณิชา โรจน์วัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็มเอ็มเอ็ม แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ MMM เปิดเผยว่า MMM ถือว่าเป็นบริษัทแรกที่ย้ายจากตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ (LiVEx) เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ ดังนั้น การเข้าระดมทุนในครั้งนี้ ถือเป็นอีกก้าวที่สำคัญของบริษัทฯ   ที่จะเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว รวมถึงยังเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสในการดำเนินธุรกิจสู่การต่อยอดการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนในอนาคต สอดรับกับแนวคิดภายใต้               การเป็น “เพื่อนคู่คิด นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์”              สำหรับเม็ดเงินจากการระดมทุนในครั้งนี้ บริษัทฯ นำไปขยายธุรกิจ โดยใช้ในการวางเป็นเงินประกันสัญญาในธุรกิจการให้บริการที่ปรึกษางานขายโครงการ (BU1) และสัญญาการให้บริการบริหารงานขายโครงการ (BU2) รวมทั้งสัญญาการให้บริการบริหารงานขายแบบวางหลักประกันการซื้อ (Hybrid) อีกทั้งยังใช้เพื่อการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในธุรกิจการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ (BU3) และส่วนที่เหลือเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรองรับการขยายธุรกิจ เพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้นำในด้านการเป็นที่ปรึกษาด้านการขายและการตลาดเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร ตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ ควบคู่กับการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนและสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น ภายใต้นโยบายการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิจากงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทฯ ภายหลังการหักภาษีเงินได้นิติบุคคล และการจัดสรรเงินทุนสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทฯ              อย่างไรก็ตาม จากความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจ สะท้อนถึงผลการดำเนินงานในปี 2565 - 2567 โดยบริษัทฯ มีรายได้จากการขายและบริการเท่ากับ 168.08 ล้านบาท 255.66 ล้านบาท และ 357.88 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่กำไรสุทธิ และอัตรากำไรสุทธิเท่ากับ 35.09 ล้านบาท 47.74 ล้านบาท และ 80.76 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิร้อยละ 20.62 ร้อยละ 18.49 และร้อยละ 22.39 ตามลำดับ              จากการเติบโตดังกล่าว บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายที่จะขยายธุรกิจให้เติบโตและสามารถสร้างผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ผ่านการเพิ่มเครือข่ายนายหน้าอิสระเพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ขยายฐานการเข้าถึงผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อเพิ่มยอดขาย รวมถึงการรักษามาตรฐานและคุณภาพในการให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าปัจจุบันพร้อมกับการขยายการให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าใหม่ เพื่อการเติบโตของรายได้ในอนาคต

abs

Hoonvision

AUCT น่ากังวล Supply รถยึดแนวโน้มลดลงต่อ

AUCT น่ากังวล Supply รถยึดแนวโน้มลดลงต่อ

              หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง AUCT ว่า ถูกกดดันจาก Supply รถยึดที่มีแนวโน้มลดลงในช่วง 1-2 ปีนี้ Event วานนี้ผู้บริหารให้ข้อมูลธุรกิจในงาน Opportunity Day และเราสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้ ► แนวโน้ม Supply ของรถยึดจากสถาบันการเงิน ที่จะไหลเข้าสู่ลานประมูลคาดว่าจะลดลงจากปี 2024 หลังได้รับผลกระทบจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของธนาคารที่เพิ่มขึ้น ทั้งมาตรการ Responsible Lending ที่ให้ธนาคารต้องเจรจากับลูกหนี้เพื่อปรับโครงสร้างทั้งก่อนและหลังจากเป็น NPL รวมถึงมาตรการ “คุณสู้ เราช่วย” ที่จะมีผลในช่วง 3 ปีนี้ คาดทำให้การยึดรถของสถาบันการเงินช้าลง กระทบกับรายได้ค่าธรรมเนียมประมูลซึ่งเป็นรายได้หลักของบริษัท ► ผู้บริหารมองว่า ประเด็นดังกล่าวจะมีผลในระยะสั้น-กลาง แต่ในระยะยาวปริมาณรถยึดจะเพิ่มขึ้น คล้ายกับช่วง COVID-19 ที่มีการดำเนินมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้จำนวนมาก แต่พอมาตรการดังกล่าวครบกำหนด หนี้เสียและรถยึดก็จะกลับมาเพิ่มขึ้น ► ในช่วงที่จำนวนรถยึดน้อยลง ผู้บริหารตั้งเป้าที่จะเพิ่มรายได้จากบริการอื่นๆ เสริมเข้ามา เช่น บริการขนส่งรถ, บริการประมูลอสังหาฯ, บริการจัดไฟแนนซ์ให้กับผู้ประมูล (AUCT Fin) และล่าสุดบริษัทได้เปิด สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) เพื่อดึงให้ลูกค้าใช้บริการต่างๆ ผ่านทางบริษัทให้มากที่สุด และในอนาคตจะต่อยอดเพิ่มบริการขายประกัน พรบ. เป็นอีกแหล่งรายได้ใหม่ ► ปัจจุบัน AUCT มีลานจอดรถยึด 45 แห่ง และมีโรงประมูล 13 โรง โดยปีนี้จะสร้างลานจอดเพิ่มอีก 4 แห่ง เพื่อรองรับรถยึดที่จะมีระยะเวลาจอดในลานนานขึ้น ตามเกณฑ์ของ สคบ. (เปิดโอกาสให้ลูกหนี้มาชำระหนี้เพื่อไถ่ถอนรถคืน) Our Take               เรามีมุมมองเป็นลบ จากข้อมูลที่ได้ในงาน Opportunity Day โดยภาพรวมคาดปี 2025 AUCT จะมีกำไรสุทธิ 362 ลบ. ลดลง 2.5% YoY หลังรายได้ค่าธรรมเนียมประมูลลดลงจากปริมาณรถยึดของสถาบันการเงินที่เข้าสู่ลานประมูลน้อยลง ขณะที่รายได้ค่าบริการอื่นๆ มองว่ายังมีผลบวกไม่พอที่จะชดเชยปัจจัยลบข้างต้น ทำให้เรามองว่าผลดำเนินงานของ AUCT ยังไม่เด่นและมีโอกาสจะซึมลงในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า               เราคงคำแนะนำเพียง “Trading” และคงมูลค่าพื้นฐานปี 2025 เดิมที่ 8.30 บาท แม้เราคาดกำไรสุทธิของ AUCT จะชะลอตัว แต่จุดเด่นของ AUCT อยู่ที่การจ่ายปันผลสูง และคงนโยบาย Div. Payout Ratio สูงกว่า 95% มานาน ทำให้คาดยังมีความน่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการหุ้นปันผลสูง ล่าสุดบริษัทประกาศจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิ 2H24 หุ้นละ 0.32 บาท คิดเป็น Div. Yield 4.3% (XD วันที่ 11 เม.ย. และจ่ายปันผลวันที่ 2 พ.ค.) และคาดจะจ่ายปันผลหุ้นละ 0.65 บาท ในปี 2025 คิดเป็น Div. Yield 8.8%

PIS คว้าบิ๊กโปรเจค พัฒนาระบบ ERP กฟภ.มูลค่า 2.9 พันลบ.

PIS คว้าบิ๊กโปรเจค พัฒนาระบบ ERP กฟภ.มูลค่า 2.9 พันลบ.

           หุ้นวิชั่น - บมจ.โปร อินไซด์ (PIS) สุดยอด! ประกาศบิ๊กดีลส่งท้ายไตรมาส 1/68 คว้างานบิ๊กโปรเจค พัฒนาระบบ ERP ให้กับ กฟภ.มูลค่ากว่า 2.9 พันล้านบาท ดัน Backlog พุ่งแตะ 5,938 ล้านบาท แม่ทัพหญิง "เบญญาภา เฉลิมวัฒน์" ระบุถือเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงศักยภาพ ผู้ให้บริการ ICT Solution ครบวงจร ที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ แย้มยังมีอีกหลายโปรเจคที่อยู่ระหว่างการยื่นประมูลระดับพันล้านบาท มั่นใจช่วยผลักดันผลงานในช่วง 1-3 ปี ข้างหน้า เติบโตอย่างก้าวกระโดด สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น            นางสาวเบญญาภา เฉลิมวัฒน์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โปร อินไซด์ จำกัด (มหาชน) (PIS) ผู้ให้บริการ ICT Solution ครบวงจร  เปิดเผยว่า ตามที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ออกเอกสารประกวดราคาจ้างงานจัดหา พัฒนา ติดตั้ง และดูแลบำรุงรักษา ระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning: ERP) ของ กฟภ. ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิคส์ (e-bidding) นั้น บริษัทฯ ได้ยื่นข้อเสนอราคางานโครงการฯ ดังกล่าว และในวันที่ 3 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา กฟภ. ได้ประกาศให้บริษัทฯ เป็นผู้ชนะการเสนอราคา โดยมีมูลค่าโครงการเป็นเงินทั้งสิ้น 2,938,220,000 บาท (สองพันเก้าร้อยสามสิบแปดล้านสองแสนสองหมื่นบาทถ้วน) ซึ่งเป็นราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว            "การได้รับงานเมกะโปรเจคพัฒนาระบบ ERP ของ กฟภ.ในครั้งนี้ ตอกย้ำให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจที่มีต่อ PIS ในฐานะผู้ให้บริการ ICT Solution ครบวงจร ส่งผลให้งานในมือรอรับรู้รายได้ (Backlog) เพิ่มจาก 3,000 ล้านบาท เป็น 5,938 ล้านบาท และมีงานที่อยู่ระหว่างการยื่นประมูลและรอการประมูลหลายโปรเจค มูลค่าหลักพันล้านบาท ผลักดันผลการดำเนินงานในช่วง 1-3 ปีข้างหน้า เติบโตอย่างก้าวกระโดด สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น"             นางสาวเบญญาภา กล่าวอีกว่า ในช่วงที่เหลือของปีนี้ PIS ยังคงเดินหน้าเข้าประมูลงานด้านไอซีทีของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นจุดแข็งที่สำคัญของบริษัทฯ ภายใต้ทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นมืออาชีพ มีประสบการณ์มายาวนาน ได้รับความไว้วางใจจากภาครัฐ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่นๆ ที่มีแผนขยายการลงทุน และเปิดประมูลโครงการใหม่ๆ ต่อเนื่องทุกปี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น สอดรับนโยบายของรัฐบาล ทำให้มั่นใจว่าแนวโน้มรายได้ในปี 2568 จะเติบโตเกิน 15% ทำสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง            โดยตั้งแต่ปลายปี 2567 จนถึงต้นปี 2568 บริษัทฯได้งาน 2 โปรเจคใหม่ร่วมกับพันธมิตรผ่านกิจการค้าร่วม พี ที เอ็น พี ใอ (PTNPI) ในงานจ้างดูแลบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสำหรับธุรกิจหลัก (รชธ.) และบูรณาการระบบงานที่เกี่ยวข้อง มูลค่าโครงการ 1,504.42 ล้านบาท  และกิจการค้าร่วม เอสพี (SP Consortium) ในโครงการจัดซื้อระบบคลาวด์กลางด้านสาธารณสุขของประเทศไทยกับ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT) มูลค่า 992 ล้านบาท            ขณะที่ผลการดำเนินงานของ PIS ในปี 2567 (สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2567) มีรายได้จากธุรกิจหลักรวม 1,472 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 37% จากปีก่อนที่ทำไว้ 1,077 ล้านบาท สร้างสถิติสูงสุดใหม่ และมีกำไรสุทธิ 103 ล้านบาท

[Vision Exclusive] ATP30 วิ่งรถบัสอีวีใหม่ 20 คัน  โค้งแรก Utilization ดีด 10%

[Vision Exclusive] ATP30 วิ่งรถบัสอีวีใหม่ 20 คัน โค้งแรก Utilization ดีด 10%

           หุ้นวิชั่น - ATP30 ส่งสัญญาณโค้งแรกสดใส รับลูกค้าเพิ่ม Utilization โต 10% บิ๊กบอส ‘ปิยะ เตชากูล’ คุมต้นทุนอยู่หมัด เตรียมเซ็นสัญญาให้บริการรถบัสไฟฟ้าใหม่ 20 คัน คาดใช้เงินลงทุน 90 ล้านบาท จากงบรวม 130 ล้านบาท มั่นใจหนุนมาร์จิ้นดีดแซงรายได้ ลุ้นผลงานปีนี้ทำ All Time High             นายปิยะ เตชากูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอทีพี 30 จำกัด (มหาชน) หรือ ATP30 เปิดเผยกับ ทีมข่าวหุ้นวิชั่น ว่า แนวโน้มธุรกิจในไตรมาส 1/2568 อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อเนื่อง โดยได้รับปัจจัยหนุนจากจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น รวมถึงอัตราการใช้บริการ (Utilization) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 10% ปัจจัยหลักมาจากการนำรถใหม่เข้ามาให้บริการเพิ่มเติม รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้รถเดิม ส่งผลให้ภาพรวมการดำเนินงานของบริษัทในไตรมาสแรกปีนี้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง            บริษัทสามารถควบคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญคือการนำรถโดยสารไฟฟ้ามาให้บริการ ซึ่งช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานได้มากกว่าการใช้รถน้ำมัน ส่งผลให้แนวโน้มอัตรากำไร (มาร์จิ้น) มีโอกาสเติบโตมากกว่ารายได้            นอกจากนี้ บริษัทคาดว่าไตรมาส 1/2568 จะเป็นฐานการเติบโตที่สำคัญสำหรับไตรมาส 2-4/2568 ตามจำนวนลูกค้าใหม่ที่ทยอยเข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี            ในไตรมาส 1/2568 บริษัทมีลูกค้าใหม่เริ่มใช้บริการเพิ่มขึ้น 2 ราย ขณะเดียวกัน ยังเห็นสัญญาณความต้องการใช้บริการรถรับส่งพนักงานในหลายอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น            ทั้งนี้ ในไตรมาส 1/2568 บริษัทได้เพิ่มจำนวนรถให้บริการอีกกว่า 10 คัน จากเดิมที่ ณ สิ้นปี 2567 มีรถให้บริการรวม 729 คัน แบ่งเป็น รถบัส 277 คัน, รถมินิบัส 51 คัน, รถตู้ 383 คัน, รถกระบะ 2 คัน และ รถไฟฟ้า 16 คัน ซึ่งในจำนวนรถไฟฟ้าดังกล่าว ประกอบด้วย รถตู้มินิแวนไฟฟ้า 3 คัน, รถบัสไฟฟ้า 3 คัน และ รถมินิบัสไฟฟ้า 10 คัน            นอกจากนี้ ATP30 มี Backlog มูลค่ารวม 1,943 ล้านบาท และ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 บริษัทให้บริการลูกค้าจำนวน 65 ราย โดยยังคงเดินหน้าขยายฐานลูกค้าและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการอย่างต่อเนื่อง            ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับลูกค้ารายใหม่ เพื่อให้บริการรับส่งพนักงานด้วยรถไฟฟ้า พร้อมเตรียมเซ็นสัญญาเพิ่มอีกประมาณ 20 คัน โดยคาดว่าจะใช้เงินลงทุนราว 90 ล้านบาท จากงบลงทุนทั้งหมด 130 ล้านบาท ในปี 2568            อย่างไรก็ตาม หากสามารถเพิ่มจำนวนรถบัสรับส่งพนักงานได้ตามแผน บริษัทคาดว่ารายได้จะเติบโตเฉลี่ย เดือนละ 10% และจะสามารถรับรู้รายได้จากลูกค้าใหม่เต็มปีในปี 2569            นายปิยะ กล่าวต่อว่า บริษัทมั่นใจทิศทางรายได้ปี 2568 รายได้จะทุบสถิติใหม่ หรือทำ All time high จากปี 2567 ที่มีรายได้ อยู่ที่ 728.71 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.89% และมีกำไรสุทธิปี 2567 อยู่ที่ 45.53 ล้านบาท เติบโต 57.11% รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

TERA ปูพรมเจาะงานรัฐ โชว์แบ็กล็อก 315 ล้าน

TERA ปูพรมเจาะงานรัฐ โชว์แบ็กล็อก 315 ล้าน

          หุ้นวิชั่น – TERA ปักธงเป้ารายได้ ปี 68 แตะ 626 ล้านบาท จากปีก่อนที่ 505.50 ล้านบาท โชว์งานในมือ (Backlog) 315.65 ล้านบาท ปูพรมเจาะงานรัฐ เล็งประมูลโปรเจ็กต์ใหม่ 120 ล้านบาท เสริมแกร่ง           นายสุรสิทธิ์ คิวประสบศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เทอร์ราไบท์ พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ TERA เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 2568 แตะ 626 ล้านบาท จากรายได้รวมปีที่ผ่านมา 505.50 ล้านบาท คาดรายได้หลักมาจากบริการ Recurring ที่ทางบริษัทได้พัฒนาตอบสนองลูกค้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกค้าเอกชน และบริษัทวางแผนจะขยายการให้บริการลูกค้าภาครัฐมากขึ้น           สำหรับรายได้ที่ตั้งเป้าไว้ที่ 626 ล้านบาทนั้น แบ่งเป็น บริการด้านการขาย 45% และส่วนที่เหลือจะมาจากธุรกิจบริการอื่นๆ และคาดธุรกิจบริการมีโอกาสเติบโตเพิ่มขึ้นตามการให้บริการ ในส่วนงานในมือ หรือ Backlog ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ 315.65 ล้านบาท (ไม่รวมรายได้ที่รับรู้ไปแล้ว ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. – 9 มี.ค. 68) และบริษัทอยู่ระหว่างรอเข้าประมูลงานใหม่ของภาครัฐอีก 120 ล้านบาท           "ปีนี้ได้มีกลุ่มธุรกิจใหม่ 2 ธุรกิจ ที่คาดว่าจะช่วยให้รายได้ในปีนี้เพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจาก PROJECT BASE และบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่ต้องเข้าตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากบริษัทมีความเชี่ยวชาญด้านไอที และการส่งเสริมอุตสาหกรรมด้านเอไอในประเทศไทย โดยเฉพาะตอนนี้ได้มีโครงการ Data Center จึงคาดว่าจะส่งผลดีต่อบริษัทในภาพรวม" นายสุรสิทธิ์ กล่าว ทั้งนี้ บริการแอพพลิเคชั่น SKYFROG นั้น มีการเติบโตสูงจากกลุ่มลูกค้าโลจิสติกส์ ซึ่งตอนนี้ได้ทยอยรับรู้รายได้แล้ว ส่วนบริการ T.Cloud Gen3 ที่มีการลงทุนตั้งเป้าไว้ 60 ล้านบาทนั้น บริษัทได้ลงทุนจริง 40 ล้านบาท โดยพัฒนาด้านซอฟต์แวร์, ฮาร์ดแวร์ และเช่า Data Center โดยไม่ได้ใช้เงินเต็มจำนวน แต่ลงทุนแบบระมัดระวัง

HEALTH ปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น “วาสนา อินทะแสง”ขายหุ้น ให้ ‘เฉลิมพงษ์’ สัดส่วน 11.83%

HEALTH ปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น “วาสนา อินทะแสง”ขายหุ้น ให้ ‘เฉลิมพงษ์’ สัดส่วน 11.83%

          หุ้นวิชั่น - ตามที่ บริษัท เฮลท์ เอ็มไพร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (“บริษัท/HEALTH”) ทราบจากแบบรายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ (“แบบ 246-2”) เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่รายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“ก.ล.ต.”) ดังนี้           เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2568 นาย เฉลิมพงษ์ มหาวาณิชย์วงศ์ ได้ยื่นแบบ 246-2 ต่อ ก.ล.ต. เพื่อแจ้งการได้มาซึ่งหุ้นสามัญของ HEALTH จาก น.ส. วาสนา อินทะแสง โดยมีการซื้อขายกันโดยตรงเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2568 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 50,000,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 11.83% ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายและชำระแล้ว           ทั้งนี้ บริษัทขอเรียนว่า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างคณะกรรมการบริษัท โครงสร้าง

AUCT บริการเสริมแกร่ง ยืนหนึ่งผู้นำการประมูล

AUCT บริการเสริมแกร่ง ยืนหนึ่งผู้นำการประมูล

            บมจ.สหการประมูล (AUCT) ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการประมูลครบวงจร ด้วยบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าทั้งผู้ซื้อและผู้ขายผ่านการประมูลหน้าลานและการประมูลออนไลน์ รองรับพฤติกรรมการซื้อ-ขายที่หลากหลาย พร้อมเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าทั่วประเทศสามารถเข้าถึงสินค้าได้อย่างสะดวกและมั่นใจด้านคุณภาพ             นายสุธี สมาธิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สหการประมูล จำกัด (มหาชน) หรือ AUCT เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้พัฒนาแพลตฟอร์มการประมูลเพื่อให้รองรับการซื้อ-ขายรถยนต์และรถจักรยานมือสอง ทั้งช่องทางประมูลหน้าลาน (Onsite Auction) และการประมูลออนไลน์   (Online Auction)  เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายสามารถเลือกประมูลได้ตามความสะดวก ซึ่งที่ผ่านมาลูกค้าส่วนใหญ่ได้รับประสบการณ์ที่ดีจากบริการดังกล่าว ทั้งการเข้าร่วมประมูลซื้อที่ลานประมูลและการประมูลผ่านระบบออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ได้ทั่วประเทศ             “การพัฒนาบริการต่าง ๆ เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับลูกค้าเข้าร่วมประมูลซื้อได้ตามไลฟ์สไตล์ บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายว่าจะให้ความสำคัญกับนโยบายการพัฒนาและปรับปรุงบริการให้สามารถตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้า เห็นได้จากการประมูลหน้าลาน (Onsite Auction) ลูกค้ามีโอกาสได้สัมผัสบรรยากาศการประมูลจากความเป็นมืออาชีพ และมีความสะดวกสบาย นอกจากนี้แล้วยังเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้ตรวจสอบสภาพรถยนต์ก่อนประมูลแบบใกล้ชิด จึงเป็นรูปแบบประมูลที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการชมรถจริงและตรวจสอบสภาพรถก่อนตัดสินใจซื้อ สำหรับการประมูลออนไลน์ (Online Auction) เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าประมูลซื้อรถยนต์ได้จากทุกที่และทุกเวลา ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีความสะดวก เข้าถึงง่าย” นายสุธีกล่าว             กรรมการผู้จัดการ บริษัท สหการประมูล จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยเพิ่มเติมถึงการประมูลออนไลน์ที่มีความหลากหลาย เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม เช่น การประมูลแบบกำหนดราคาล่วงหน้า (PROXY BID) เป็นบริการที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าตั้งราคาซื้อล่วงหน้าผ่านระบบ หากราคาที่เสนอไว้สูงที่สุดในวันประมูลจริงจะได้รับสิทธิ์เป็นผู้ชนะโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้แล้วยังมีการประมูลแบบกำหนดระยะเวลา ( AUCT BID) เป็นบริการที่เปิดให้ลูกค้าแข่งขันราคาในช่วงเวลาที่กำหนด ซึ่งเหมาะสำหรับสินค้าที่ต้องการให้ผู้ซื้อมีเวลาตัดสินใจ และยังมีอีกบริการหนึ่งคือประมูลผ่านภาพถ่าย (PICTURE BID)  เป็นบริการที่ลูกค้าสามารถเลือกซื้อรถจากลานประมูลทั่วประเทศผ่านรูปภาพ  ซึ่งทั้ง 3 บริการเป็นทางเลือกที่มีความหลากหลายที่เพิ่มความสะดวกสบาย ซึ่งบริษัทฯ ได้มุ่งมั่นพัฒนาให้ตอบรับกับทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้า ไม่ว่าจะเลือกเข้าร่วมประมูลที่หน้าลานหรือประมูลผ่านระบบออนไลน์พร้อมให้บริการด้วยระบบที่ครอบคลุม เข้าถึงง่าย และมั่นใจได้ในคุณภาพ  สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมประมูล สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.auct.co.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทรศัพท์ 02-033-6555 [PR News]

TACC รายได้โต Double Digit ลุยออกโปรดักส์ใหม่

TACC รายได้โต Double Digit ลุยออกโปรดักส์ใหม่

            บมจ.ที.เอ.ซี.คอนซูเมอร์ (TACC) เปิดแผนและยุทธศาสตร์ปี 68 มุ่งเน้นการเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจหลัก ผ่านนวัตกรรมที่สร้างประสบการณ์ให้กับกลุ่มลูกค้าควบคู่ไปกับการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ หนุนธุรกิจเติบโตยั่งยืน ฟากผู้บริหาร "ชัชชวี วัฒนสุข"ประกาศเดินหน้าเปิดตัวสินค้าใหม่ในกลุ่ม ธุรกิจ B2B และกลุ่มธุรกิจ B2C สอดรับเทรนด์ผู้บริโภคยุคใหม่ หนุนรายได้ปีนี้ทะลุ 2,000 ล้านบาท ตามแผน พร้อมมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ผ่านดีล  M&A, JV สร้าง New S-Curve              นายชัชชวี วัฒนสุข ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ที.เอ.ซี.คอนซูเมอร์ (TACC) เปิดเผยว่า แผนยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจในปี 2568 มุ่งเน้นการเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจหลัก ผ่านนวัตกรรมที่สร้างประสบการณ์ ให้กับกลุ่มลูกค้ายุคใหม่ อีกทั้งยังเน้นการสร้างกลุ่มธุรกิจผ่านผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของบริษัท ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ การให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านต้นทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างต่อเนื่อง สร้างคุณค่าด้านความเป็นอยู่ที่ดีให้มีคุณภาพ เพื่อความยั่งยืนสู่ทุกด้าน (Compounding Well Being Quality Value) โดยตั้งเป้าหมายรายได้โต Double Digit ทะลุ 2,000 ล้านบาท จากยอดขายที่เพิ่มขึ้น             กลุ่มธุรกิจ B2B (7-Eleven) ในปีนี้ บริษัทฯมุ่งมั่นพัฒนาสินค้า Core Menu และ New Menu รวมทั้งออกสินค้าใหม่ร่วมกับ CPALL ในฐานะ Key Strategic Partner ไม่ว่าเป็นเครื่องดื่มเย็นในโถกด (Jet Spray) และเครื่องดื่ม Non-Coffee Menu ใน All Cafe ล่าสุดได้เปิดตัวเครื่องดื่มรสชาติใหม่ตามฤดูกาล "น้ำผึ้งมะนาว" (Honey Lime) เพื่อต้อนรับอากาศร้อนช่วงซัมเมอร์ ลงในกลุ่มเครื่องดื่มเย็นในโถกด 7-Eleven พร้อมกันทั่วประเทศ ระหว่างวันที่  6 มีนาคม - 30 เมษายน 2568 นี้ หรือสั่งง่ายๆ ผ่าน #7DELIVERY อีกหนึ่งช่องทางความสะดวกสบาย             ขณะที่ 7-Eleven ต่างประเทศ (ประเทศกัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) มีการเติบโตตามการขยายสาขา โดยในส่วนของประเทศกัมพูชา มีการร่วมพัฒนาสินค้าเครื่องดื่มใหม่ๆ ในกลุ่ม Counter drink เพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภค             ส่วนกลุ่มธุรกิจ B2C (Own Brands) บริษัทฯพร้อมพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่ม Cafe Business และการเพิ่มลูกค้ารายใหม่ให้มากขึ้นทั้งในประเทศ และต่างประเทศ             นอกจากนี้ TACC ยังคงมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่มาจากการ M&A, JV เพื่อเป็น New S-Curve ต่อยอดกับธุรกิจเดิม และการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น             อนึ่ง ผลการดำเนินงานในปี 2567 มีรายได้รวม 1,951.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.76% จากปีก่อนมีรายได้รวม 1,715.68 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 240.76 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.60% จากปีก่อนมีกำไรสุทธิ 221.69 ล้านบาท             นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯมีมติอนุมัติจ่ายปันผลสำหรับงวดผลการดำเนินงานในปี 2567 ในอัตรา 0.19 บาท/หุ้น กำหนดขึ้นเครื่องหมาย  XD วันที่ 6 พฤษภาคม 2568 และจ่ายเงินปันผลในวันที่ 21 พฤษภาคม 2568 [PR News]

LEO ตั้ง “บ.ลีโอ จี๋ทู่ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี” รุก EV Bike ผ่าน App

LEO ตั้ง “บ.ลีโอ จี๋ทู่ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี” รุก EV Bike ผ่าน App

          บมจ.ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ (LEO) ไฟแรง! ส่งบริษัทย่อย ลีโอ ซอร์สซิ่ง ซัพพลายเซน (LSSC) ผนึกกำลัง Yunnan Xiaomaolv Information Technology เปิดบริษัทใหม่ “ลีโอ จี๋ทู่ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี” ลุยให้บริการให้เช่า-จำหน่าย Power Bank โทรศัพท์มือถือ / รถจักรยานไฟฟ้า ผ่าน Application รวมถึงบริการเทคโนโลยีสื่อสารและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ คาดจะเริ่มดำเนินงานได้ภายในไตรมาส 2/68 ฟาก “เกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์” มั่นใจสามารถต่อยอดธุรกิจ Non Freight ที่จะช่วยส่งเสริมให้ทำรายได้สูงขึ้นตามแผนงานที่วางไว้           นายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) (LEO)  เปิดเผยว่าบริษัทฯ ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านการลงทุน (Investment Cooperation Agreement) ระหว่าง บริษัท ลีโอ ชอร์สซิ่ง แอนด์ ซัพพลายเชน จำกัด (LSSC) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ LEO กับ Yunnan Xiaomaolv Information Technology Co., Ltd. จัดตั้งบริษัทร่วมทุน ภายใต้ชื่อ บริษัท ลีโอ จี๋ทู่ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท โดย LSSC ลงทุน 2,550,000 บาท คิดเป็นสัดส่วน 51% ส่วน Yunnan Xiaomaolv Information Technology Co., Ltd. ลงทุน 2,450,000 บาท คิดเป็นสัดส่วน 49% เพื่อประกอบธุรกิจให้เช่า และจำหน่าย Power Bank โทรศัพท์มือถือ / รถจักรยานไฟฟ้า ให้บริการโซลูชั่นแก่ลูกค้าผ่าน Application คาดว่าจะ           สามารถจะเริ่มดำเนินงานได้ภายในไตรมาส 2/ 2568 โดยการลงนามในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายเหอ เจี่ยน ประธานกรรมการ และ นายพัน ไป๋หลิ่ง กรรมการผู้จัดการ Yunnan Xiaomaolv Information Technology Co., Ltd. ร่วมลงนาม           สำหรับความร่วมมือทางธุรกิจ ระหว่าง LEO และ Yunnan Xiaomaolv ในครั้งนี้ ถือเป็นอีกก้าวที่สำคัญของทั้งสองฝ่ายที่จะเพิ่มความแข็งแกร่งทางด้านการให้บริการในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบัน Yunnan Xiaomaolv เป็นบริษัทชั้นนำในประเทศจีน ดำเนินธุรกิจให้เช่าจักรยานไฟฟ้า (EV Bike) ผ่านแอปพลิเคชั่น   มีจักรยานไฟฟ้าให้บริการเช่า รวมทั้งสิ้น 80,000 คันในเมืองทางตอนใต้ของประเทศจีน 28 แห่ง เช่น มณฑลเจ้อเจียง หูหนาน กวางโจว ฝูเจี้ยน ยูนนาน กวางสี อีกทั้งบริษัทฯ ยังมีทีมพัฒนาเทคนิคระดับแนวหน้า  ด้วยจุดแข็งที่มีความสามารถด้านการพัฒนาระบบนวัตกรรมนี้ ทางบริษัทฯ สามารถนำมาขยายการให้บริการให้เช่า Power Bank  ต่อในประเทศไทย คาดว่าจะตอบโจทย์ให้ลูกค้าชาวไทย และนักท่องเที่ยวต่างชาติ หมดกังวลเรื่องแบตเตอรี่มือถือหมดอีกต่อไป           “LEO มั่นใจว่าความร่วมมือระหว่าง LSSC กับ Yunnan Xiaomaolv  ในธุรกิจให้เช่าแบตเตอรี่สำรองหรือ Power Bank สำหรับโทรศัพท์มือถือในครั้งนี้ จะเป็นการเปิดตลาดธุรกิจใหม่ที่เป็น Sharing Economy  โดยเฉพาะลูกค้าเป้าหมายหลักของบริษัทฯ ที่เป็นกลุ่ม Millennials และ Generation Z ซึ่งมีการใช้งานสมาร์ทโฟนสูง และสนใจใช้ผลิตภัณฑ์ Sharing Economy  เนื่องจากพวกเขามีการใช้งานสมาร์ทโฟนมาก และยินดีที่จะจ่ายค่าบริการเช่า power bank รวมทั้งลูกค้าหลักอีกกลุ่ม จะเป็นนักท่องเที่ยวจีน ญี่ปุ่น และฮ่องกง ที่คุ้นเคยกับ Sharing Economy ของ Power Bank เป็นอย่างดี” นายเกตติวิทย์ กล่าว           สำหรับแนวโน้มตลาด และโมเดลความสำเร็จของธุรกิจให้เช่า Power Bank ตามผลวิจัยจาก xResearch ตลาดเช่า power bank ทั่วโลก คาดว่าจะมีมูลค่า 9,378.5 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปีพ.ศ. 2073 โดยอุตสาหกรรม Power Bank Rental (PBR) นี้ ประกอบด้วยบริษัทที่ให้บริการเช่าหรือให้ยืม power bank ในระยะเวลาต่างๆ เช่น รายชั่วโมง, รายวัน หรือแบบเช่าเพื่อเป็นเจ้าของ   จำนวนบริษัท PBR  เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สะท้อนถึงความสนใจของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2560 และคาดว่าจะขยายตัวมากกว่า 600 ล้านคน ในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดยได้รับแรงสนับสนุนหลักจากกลุ่ม Millennials ที่เป็นกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี ปี พ.ศ. 2523 – 2539 และ Generation Z  ที่เป็นประชากรที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2540 – 2552  ซึ่งมีความสนใจในการใช้ผลิตภัณฑ์ Sharing Economy แทนการเป็นเจ้าของ ธุรกิจนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในตลาด Sharing Economy  ประกอบกับการนำเทคโนโลยี           สมาร์ทโฟนใหม่ๆ เช่น 5G และการใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ความต้องการใช้บริการเช่า power bank เพิ่มขึ้นด้วย           สำหรับในประเทศไทย จำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในไตรมาส 3 ปี 2567  จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ  พบว่า ประชาชนอายุ 6 ปี ขึ้นไปทั่วประเทศ มีประมาณ 66.0 ล้านคน เป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 59.2 ล้านคน (89.7%) และเป็นผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 62.9 ล้านคน (95.2%) มีระยะเวลาการท่องโซเชียลสูงเป็นอันดับต้นๆ  ทางบริษัทฯ เชื่อว่าคนไทยหลายคนอาจพบปัญหาเกี่ยวกับแบตเตอรีไม่เพียงพอและไม่ต้องการพกพาอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติม           ทั้งนี้ บริษัท ลีโอ จี๋ทู่ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด จะเริ่มธุรกิจจากให้บริการเช่ายืม power bank โดยจัดทำเป็นตู้เช่า คิดค่าบริการรายชั่วโมง เมื่อใช้เสร็จสามารถนำมาคืนที่จุดบริการไหนก็ได้ ตอบโจทย์ผู้ใช้ที่ไม่สะดวกพกพาพาวเวอร์แบงค์ตลอดเวลา หรือไม่ต้องใช้เวลานานๆ ตามจุดบริการปลั๊กไฟสาธารณะที่ค่อนข้างหายาก ให้สามารถเช่าและชาร์จแบตโทรศัพท์ได้ทันที และสามารถพกพาไปกับการเดินทางได้ตลอดเวลา หมดกังวลแบตโทรศัพท์มือถือหมดระหว่างวัน  โดยจะเปิดให้บริการด้วยสถานีเช่า power bank จำนวน 3,000 แห่งในกรุงเทพฯ ภายในไตรมาส 2 ของปี 2568 และมีแผนที่จะขยายไปถึง 10,000 แห่งภายในปลายปี 2568 โดยมีเป้าหมายที่จะขยายถึง 25,000 สถานีในปี 2569  และจะสามารถสร้างรายได้กว่าปีละ 100 ล้านบาท ภายในปี 2569           “ข้อได้เปรียบที่เรามี คือแอปพลิเคชันที่ใช้งานง่าย ( User Friendly) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้ของเราสามารถเช่า power bank ในสถานที่หนึ่งและคืนในอีกสถานที่หนึ่งได้ทั่วประเทศไทย ทำให้การเดินทางสะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องพกพา power bank ส่วนตัว  รวมถึงบริการให้เช่ารถจักรยานไฟฟ้าหรือ EV Bike  ซึ่งเป็นแผนงานที่ทางบริษัทฯ จะให้บริการในอนาคต    ในประเทศไทยมีโอกาสที่จะเติบโตสูง โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่มีปัญหาจราจรและมลพิษสูง การที่ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับการเดินทางที่สะดวก และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะช่วยสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจ” นายเกตติวิทย์ กล่าว [PR News]

PLANET ชู 6 กลยุทธ์ เจาะ New S Curve มุ่ง Digital go Green

PLANET ชู 6 กลยุทธ์ เจาะ New S Curve มุ่ง Digital go Green

                  หุ้นวิชั่น - PLANET ปักธงปี 68 มุ่งเน้น นำเทคโนโลยีขั้นสูง และเทคโนโลยีดิจิทัลใช้เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Digital Go Green) เต็มตัว ชู 6 กลยุทธ์ รักษาฐานตลาดเดิมและเจาะตลาด New S Curveประกอบด้วย กลุ่มเทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced Technology) กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสำหรับการป้องกันประเทศ (Defense Technology) กลุ่มธุรกิจระบบป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ในระบบปฏิบัติการ (OT Cybersecurity) กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืน (ESG)  กลุ่มธุรกิจศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะสีเขียว (Green AI Data Center) และต่อยอดด้วยกลุ่มธุรกิจบริการ AI และ ข้อมูลขนาดใหญ่ (AI & Big Data Services) บิ๊กบอส "ประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์" ตั้งเป้าปี 68 ผลงานพลิกเป็นกำไร                   นายประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย จำกัด (มหาชน) หรือ PLANET ผู้ให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลแบบครบวงจร เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมา สภาพตลาดได้เปลี่ยนแปลงไป ทั้งทางด้านเทคโนโลยี  ความต้องการของลูกค้าเดิมขยายช้า และการแข่งขันในธุรกิจเดิมที่สูงมาก ทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโตของบริษัทฯ ดังนั้น  เพื่อสร้างโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืนและผลกำไรเพิ่มขึ้น ในปี 2568 บริษัทฯ จึงได้วางแผนการดำเนินธุรกิจ 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 รักษาฐานลูกค้าและเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมเดิม ส่วนที่ 2 มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูงสำหรับตลาดเฉพาะ (New S Curve) รวมทั้งนำเทคโนโลยีดิจิทัลใช้เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Digital Go Green) อย่างเต็มตัว จึงได้กำหนดกลยุทธ์การขับเคลื่อนธุรกิจองค์กรภายใต้ 6 กลยุทธ์ ประกอบด้วย                   1.กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced Technology) ซึ่งบริษัทเริ่มดำเนินธุรกิจนี้มาตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา หลังได้เป็นตัวแทนจำหน่ายบริษัท SAAB Technologies จากประเทศสวีเดน ซึ่งมีความชำนาญทางด้านเทคโนโลยีขั้นสูงทางด้านระบบควบคุมการเดินอากาศที่ใช้กิจการควบคุมการเดินอากาศและสนามบินต่างๆทั่วโลก โดยในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการจำหน่ายระบบติดตามอากาศยานภาคพื้นดินแบบ Multilateration (MLAT) ของ SAAB Technologies ให้แก่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (Aerothai) ตามนโยบายของรัฐบาลเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้เติบโต จึงมีแผนในการปรับปรุงระบบการเดินอากาศของสนามบินทุกแห่ง ให้มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยตามมาตราการบินสากล เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีความมั่นใจในการเดินทางมาประเทศไทยเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายของรัฐบาล “ กลุ่มธุรกิจในส่วนนี้มีแนวโน้มเติบโตทุกปีตามนโยบายของรัฐบาลที่จะปรับปรุงระบบควบคุมการบินของทุกสนามบิน ด้วยภาวะการแข่งขันในตลาดซึ่งอยู่ในระดับต่ำ จึงมีแนวโน้มกำไรขั้นต้นสูง และบริษัทฯ ยังมีความได้เปรียบจากการเป็นพันธมิตรกับ SAAB Technologies ซึ่งเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก จึงเป็นโอกาสสำคัญในการสร้างรายได้ เพื่อผลักดันให้ธุรกิจกลับมาทำกำไรอย่างมั่นคง” นายประพัฒน์กล่าว                   2.กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสำหรับการป้องกันประเทศ (Defense Technology) ในปี 2568 บริษัทฯเล็งเห็นโอกาสในการเพิ่มรายได้ จากนโยบายรัฐบาล ที่ให้ความสำคัญกับการเสริมศักยภาพด้านความมั่นคงของประเทศ และจำนวนคู่แข่งในตลาดไทยที่ยังมีไม่มาก จึงวางแผนขยายธุรกิจ และผลิตภัณฑ์สินค้าเทคโนโลยีใหม่ๆสำหรับตลาดนี้ อาทิ ระบบโครงข่ายสื่อสารแบบเคลื่อนที่เป็นกลุ่ม ,ระบบวิทยุสื่อสารทางการทหาร และ Drone & Anti Drone, Jammers ทั้งนี้ ในฐานะที่บริษัทฯ เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสื่อสารทางการทหาร และได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีป้องกันประเทศ อาทิ DTC, L3Harris, Skydio, IXI, Flyfocus และIAI จึงมองเห็นโอกาสในการขยายตลาด และเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการเติบโตของบริษัทฯ                   3.กลุ่มธุรกิจระบบป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ในระบบการปฏิบัติการ (OT Cybersecurity) ปัจจุบัน เหล่าแฮกเกอร์เริ่มขยายเป้าหมายโจมตีไซเบอร์จากทางด้าน IT ระบบคอมพิวเตอร์ มาเน้นโจมตีระบบปฏิบัติการภายในหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานของประเทศและภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่สามารถสร้างเสียหายได้มากกว่า รวมทั้งมีผลกระทบกับความมั่นคงของประเทศอย่างรุนแรง ซึ่งระบบการปฏิบัติการ OT Cybersecurity ของบริษัทฯเป็นเทคโนโลยีใหม่และมีโอกาสสร้างรายได้ที่มีมูลค่าสูง “ในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ Siemens ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกทางด้านระบบปฎิบัติการของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานของประเทศและภาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีประสบการณ์ในการป้องกันการโจมตีจากภัยคุกคามไซเบอร์ให้หน่วยงานชั้นนำทั่วโลก ในปีที่ผ่านมา จึงได้นำเสนอโซลูชัน OT Cybersecurity  และจัดสัมมนาให้ความรู้แก่หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากกลุ่มเป้าหมาย คาดว่าจะเห็นผลงานภายในปี 2568 นี้“ นายประพัฒน์กล่าว                   4.กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืน (ESG) ในปี 2568 บริษัทฯมีแผนให้บริการโซลูชันบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลการปล่อยคาร์บอนขององค์กร (Carbon Management Platform) พร้อมบันทึกการเกิดลดคาร์บอน (Carbon Footprints)และการลดคาร์บอน (Carbon Credit)  พร้อมเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT กับระบบไฟฟ้า ในการวัดค่าการใช้งานเพื่อใช้การคำณวนแบบ Real Time  รวมทั้งการรับรองผล กับเทคโนโลยี่ทางด้านพลังงานทดแทน อาทิ Solar, รถไฟฟ้า EV, EV Charger, BESS, Wind Turbines, Water Turbines ให้แก่ทุกอุตสาหกรรมโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมภาคการส่งออก ที่ต้องการปรับตัวให้สอดคล้องกับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม และต้องปฏิบัติตามมาตรการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) ซึ่งเป็นกฎระเบียบสำคัญของสหภาพยุโรปในการควบคุมการปล่อยคาร์บอนในห่วงโซ่อุปทาน ในปีปี 2569 นี้ ซึ่งมั่นใจว่ากลุ่มธุรกิจของบริษัทฯในส่วนนี้จะสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโตในปีนี้                   5.กลุ่มธุรกิจศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะสีเขียว (Green AI Data Center) ในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ มุ่งเน้นให้บริการรับฝากวางคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Co-Location Service) สำหรับองค์กรและธุรกิจที่ต้องการพื้นที่วางเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์ไอที และจากความร่วมมือกับ NVIDIA ทำให้ปัจจุบันเริ่มมีลูกค้าจากต่างประเทศ เช่าใช้บริการพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และประสงค์ใช้บริการ GPU Server NVIDIA ซึ่งเป็นจุดเด่น ที่บริษัทฯ มีพร้อมให้บริการ นอกเหนือจาก ความพร้อมด้าน ระบบสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐาน ทำให้มั่นใจว่า ภายในสิ้นปี 2568 มีลูกค้าเข้าใช้บริการเต็มพื้นที่ 124 เซิร์ฟเวอร์ หรือเต็มกำลังผลิตไฟฟ้ารองรับลูกค้า1.3 เมกะวัตต์ ตามเป้าหมาย " บริษัทฯ ยังมีแผนขยายพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อรองรับ Hyperscale Data Center เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด AI และฐานข้อมูลที่ขยายตัวอย่างก้าวกระโดด ซึ่งจะช่วยเสริมศักยภาพของบริษัทฯ ในการเป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI Data Center ที่ครบวงจรและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม" นายประพัฒน์กล่าว                   6.กลุ่มธุรกิจบริการ AI และ ข้อมูลขนาดใหญ่ (AI & Big Data Services) ต่อยอดจากบริการศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะสีเขียว ในปี 2568 บริษัทฯมีแผนขยายบริการ AI และ Big Data เพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรภาครัฐ โดยเฉพาะ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ซึ่งมีการเก็บข้อมูลจำนวนมาก แต่ยังขาดระบบวิเคราะห์และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถ จัดเก็บ วิเคราะห์ และนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อย่างเป็นระบบ โดยเน้นการสนับสนุนด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน                   สำหรับ กลุ่มธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunications Technology) ที่บริษัทดำเนินงานมากว่า 30 ปี  ปัจจุบันมีการจำหน่ายสินค้าและบริการ ให้กับหน่วยงานราชการ หน่วยงานทหารและความมั่นคง บริษัทเอกชนชั้นนำ โรงงานอุตสาหกรรม ประกอบด้วย  ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satcom) ระบบโครงข่ายพื้นฐานโทรคมนาคม (Network Infrastructure) ระบบรวมศูนย์การสื่อสาร ภาพ เสียง ข้อมูล (Unified Communications System) ระบบถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์แบบดิจิทัล (Digital Broadcasting) และ รถสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Mobile Vehicle)                   ในส่วนนี้ เราจะเน้นรักษาฐานลูกค้าเดิม และหาลูกค้าใหม่ที่มีความต้องการและมีกำลังซื้อมาชดเชยยอดขายที่ลดลง พร้อมทั้งการปรับตัวทางด้านการหาสินค้าที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆให้ตรงกับความต้องการของตลาด และหากสินค้าใดไม่สามารถทำผลกำไรได้ บริษัทจะพิจารณาลดบทบาทลงไป                   “ด้วยกลยุทธ์ทั้งหมดในข้างต้น มั่นใจว่าจะทำให้ผลการดำเนินของบริษัทฯ สามารถพลิกกลับมาเป็นมีกำไรและกลับไปอยู่ในจุดที่แข็งแกร่ง สามารถสร้างรายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน พร้อมขยายศักยภาพไปสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในอนาคตต่อไป” นายประพัฒน์กล่าว   [PR News]    

KUMWEL ปูพรมต่างแดน ปักธงรายได้ปี 68 โตเกิน 20%

KUMWEL ปูพรมต่างแดน ปักธงรายได้ปี 68 โตเกิน 20%

           หุ้นวิชั่น – KUMWEL ปี 68 ตั้งเป้ารายได้โตเกิน 20% จับตา มอก.ประกาศมาตรฐาน หนุนผู้ประกอบการเร่งปรับปรุงระบบเพียบ พร้อมเสิร์ฟโซลูชั่นใหม่หนุนบริการ เล็งสยายปีกธุรกิจต่างแดน ปูพรมสู่ออสเตรเลีย มาเลเซีย อินเดียทำเงิน ดันแบรนด์ฮิต ติดสู่เวทีโลก!            นายบุญศักดิ์ เกียรติจรูญเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คัมเวล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KUMWEL เปิดเผยว่า ปี 2568 บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโตมากกว่า 20% จากปีก่อนที่มีรายได้รวม 585.98 ล้านบาท โดยคาดรายได้จะเติบโตขึ้นมาจากอุตสาหกรรมป้องกันฟ้าผ่าเป็นเรื่องใหม่ อีกทั้งประกาศมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) มีข้อกำหนดจากกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงแรงงาน ให้สถานประกอบการต้องทำการปรับปรุงระบบป้องกันฟ้าผ่า            บริษัทคาดรายได้จะมาจากผู้ประกอบการที่ต้องการใช้ผลิตภัณฑ์และจากการให้คำแนะนำปรึกษา ซึ่งเชื่อว่าปีนี้จะมีแนวโน้มค่อนข้างสูง รวมถึงการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายขึ้นจะช่วยให้ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า            ทั้งนี้บริษัทได้มุ่งเน้นกลยุทธ์การเติบโตจากแนวทางเดิม โดยกระจายผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางต่างๆ และพัฒนาโซลูชันที่ผสานผลิตภัณฑ์จากทุก BUSINESS UNIT เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการเฉพาะของแต่ละภาคส่วน เพื่อตอบโจทย์ และสร้างขีดความสามารถ และเพิ่มมูลค่าให้ลูกค้า โดยส่งต่อ KUMWELL SOLUTION สู่ SMART HOME, HOSPITAL, MILITARY เป็นต้น            และบริษัทมี NEW BUSINESS UNIT ใหม่ 2 ธุรกิจ ได้แก่ SAFETY SOLUTION BUSINESS มีผลิตภัณฑ์ EN-KLEAN, DISTRIBUTED FIBER OPTIC SENSING และ ELECTROMAGNETIC COMPATIBILITY (EMC) BUSINESS UNIT ที่ให้บริการด้าน Training และ Survey ซึ่งคาดว่าจะส่งเสริมให้มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ส่งต่อลูกค้ามากขึ้น            ในด้านการลงทุนต่างประเทศ บริษัทคาดทิศทางปี 2568 จะกลับมาเติบโตแข็งแกร่ง อีกทั้งบริษัทตั้งเป้าขยายตลาดไปสู่ออสเตรเลีย มาเลเซีย อินเดีย พร้อมใช้ชื่อแบรนด์ KUMWEL ออกสู่ตลาดต่างประเทศ และได้นำหลักความเสี่ยงด้านความยั่งยืนมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ            สำหรับผลประกอบการปี 2567 นั้น บริษัทสามารถทำรายได้ได้ดี โดยมีรายได้รวม 585.98 ล้านบาท ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 53.29 ล้านบาท

KGEN คืบแผนลงทุน “OJMT” เดินหน้าผลิตรถอีวี OMODA

KGEN คืบแผนลงทุน “OJMT” เดินหน้าผลิตรถอีวี OMODA

          หุ้นวิชั่น - KGEN เผยความคืบหน้าแผนลงทุน OJMT-OJST ร่วมกับ Purui เดินหน้าผลิตรถอีวี EV แบรนด์ "OMODA" และ "JAECOO" ลั่นส่ง KGA เข้าถือหุ้น 24.4% คิดเป็นมุลค่า 230 ล้านบาท ใน OJMT เรียบร้อย พร้อมตั้ง "นวพร เกียรติขจรวงษ์" นั่งบอร์ด ด้าน KGEN ย้ำเดินหน้าตามแผนนางสาวพรทิพย์ ตรงกิ่งตอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คิง เจน จำกัด (มหาชน) หรือ KGEN แจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ ว่า สืบเนื่องจากแผนการเข้าลงทุนในบริษัท โอโมดา แอนด์ เจคู แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด (“OJMT”) และบริษัท โอโมดา แอนด์ เจคู (ประเทศไทย) จำกัด (“OJST”) ร่วมกับ อู๋หู ผู่รุ่ย ออโตโมบิล อินเวสต์เมนต์ คัมปะนี ลิมิเต็ด (“Purui”) ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มของ Chery Group และได้รับอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2567 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2567 (“ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น”) โดยบริษัท คิง เจน จำกัด (มหาชน) (“KGEN”) ได้ลงทุนในบริษัทร่วมทุนดังกล่าวผ่านบริษัท คิงเจน ออโต จำกัด (“KGA”) โดย บริษัทขอแจ้งความคืบหน้าการดำเนินตามแผนการเข้าลงทุนข้างต้น ดังนี้           OJMT ได้ดำเนินการรับโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากบริษัท เอส เอ็น ซี เซเรนิตี้ จำกัด (“SEREN”) และบริษัท เอส เอ็น ซี ครีเอติวิตี้ แอนโทโลจี จำกัด (“SCAN”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จำกัด (มหาชน) (“SNC”) เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 โดยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจะใช้เป็นสถานประกอบการและอาคารโรงงานสำหรับการดำเนินกิจการผลิตรถยนต์ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า และยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ภายใต้แบรนด์ OMODA และ JAECOO รวมถึงแบรนด์อื่นๆ ภายใต้ Chery Group           ปัจจุบัน KGA ได้เข้าลงทุนใน OJMT โดยการซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนแล้ว โดย ณ ปัจจุบัน KGA ถือหุ้นสามัญใน OJMT จำนวน 2,300,001 หุ้น (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.4 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของ OJMT) โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท (ชำระเต็มมูลค่า) คิดเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 230,000,100 บาท และ Purui ถือหุ้นสามัญใน OJMT สัดส่วนร้อยละ 75.6 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วทั้งหมดของ OJMT โดย ณ ปัจจุบัน OJMT มีทุนชำระแล้วทั้งสิ้น 714,369,900 บาท นอกจากนี้ บริษัท คิง เจน จำกัด (มหาชน) ในฐานะเป็นผู้ถือหุ้นใน KGA ที่สัดส่วนร้อยละ 100 ได้แต่งตั้ง นายนวพร เกียรติขจรวงษ์ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานบัญชีและการเงินของ KGEN เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทของ OJMT เป็นที่เรียบร้อยแล้ว           อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการดำเนินการตามแผนการเข้าลงทุนใน OJMT และ OJST เพื่อให้การดำเนินการสอดคล้องและสมบูรณ์ตามแผนการเข้าลงทุนใน OJMT และ OJST ซึ่งได้รับอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 2/2567 โดยบริษัทจะแจ้งความคืบหน้าต่อไป

DEXON ปักหมุดปี 68 รุกตลาดโลก ดันรายได้พุ่ง 900 ล.

DEXON ปักหมุดปี 68 รุกตลาดโลก ดันรายได้พุ่ง 900 ล.

              หุ้นวิชั่น - DEXON ปี 68 ปักเป้ารายได้ที่ 900 ล้านบาท หรือโต 20% กางแผนรุกตลาดระดับโลก โดยเฉพาะยุโรป อเมริกาเหนือ และตะวันออกกลาง โชว์ Backlog 425 ล้านบาท เผยโอกาสทางธุรกิจสูง อีกกว่า 268 ล้านบาท มั่นใจบรรลุเป้าหมายในปีนี้               ดร.อิทธิพัฒน์ ชินางกูรภิวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน บริษัท เด็กซ์ซอน เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ DEXON เปิดเผยว่า บริษัทฯ ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในปี 2567 ด้วยรายได้ทะลุ 757 ล้านบาท เติบโตก้าวกระโดด 17% และกำไรสุทธิพุ่ง 13% เป็น 57 ล้านบาท การเติบโตนี้ขับเคลื่อนหลักโดยธุรกิจ In-Line Inspection ที่เติบโตถึง 37% และธุรกิจด้านการวิจัยและพัฒนาที่เติบโตโดดเด่นถึง 104% สะท้อนความสำเร็จของกลยุทธ์การลงทุนด้านนวัตกรรมและการขยายตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง พร้อมปันผลให้ผู้ถือหุ้น 0.06 บาทต่อหุ้น โดยจะนำเสนอเข้าที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการจ่ายเงินปันผลในวันที่ 24 เมษายน 2568               และในปี 2567 ถือเป็นปีทองของ DEXON ด้วยความสำเร็จเชิงกลยุทธ์หลายประการ ทั้งการลงนามความร่วมมือกับบริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซระดับโลกเพื่อรุกตลาดพลังงานแห่งอนาคต การปักธงในทวีปยุโรปผ่านการจัดตั้งบริษัทในเยอรมนี และความภาคภูมิใจกับรางวัล Best Innovative Company Awards จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นปีที่สองติดต่อกัน ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง จุดเด่นสำคัญคือการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาร่วมกับบริษัทระดับโลกในทวีปอเมริกาและแถบตะวันออกกลาง ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีล้ำสมัยสำหรับการตรวจสอบระบบท่อนำส่ง โดยความร่วมมือเหล่านี้ไม่เพียงแต่สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในศักยภาพด้านนวัตกรรมของ DEXON จากพันธมิตรระดับโลก แต่ยังเป็นประตูสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในภูมิภาคดังกล่าวอีกด้วย               DEXON มีความพร้อมเต็มที่สำหรับการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปี 2568 พร้อมเผยเป้าหมายรายได้ที่ 900 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโตประมาณ 20% โดยมีแผนการรุกตลาดในปี 2568 ที่ยังคงมุ่งสู่ฐานลูกค้าระดับโลกมากขึ้น โดยเฉพาะในยุโรป อเมริกาเหนือ และตะวันออกกลาง ซึ่งมีความต้องการตรวจสอบระบบท่อนำส่งด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยบริษัทฯ จะเดินหน้าขยายงานวิจัยร่วมกับพันธมิตรในอเมริกาและตะวันออกกลาง โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การตรวจสอบระบบท่อนำส่งในยุคเปลี่ยนผ่านพลังงาน ซึ่งจะเป็นฐานสำคัญในการขยายตลาดในพื้นที่ดังกล่าวต่อไป               ส่วนแผนการเติบโตในปี 2568 DEXON ยังคงบุกตลาดพลังงานหมุนเวียนเพื่อรองรับเทรนด์การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานระดับโลก และในปัจจุบันบริษัทฯ มีงานในมือ (Backlog) มูลค่า 425 ล้านบาท หรือเกือบครึ่งหนึ่งของเป้าหมายทั้งปี และงานที่มีโอกาสทางธุรกิจสูงอีกกว่า 268 ล้านบาท ซึ่งสร้างความมั่นใจให้กับการบรรลุเป้าหมายในปีนี้ ซึ่งโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมกับพันธมิตรในอเมริกาและตะวันออกกลางนั้น ไม่เพียงแต่ช่วยยกระดับขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของบริษัทฯ แต่ยังเป็นประตูสู่การขยายตลาดในภูมิภาคนั้นๆ ที่มีมูลค่าตลาดสูงและมีความต้องการเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างต่อเนื่อง [PR News]

IMH เปิดตัว “วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์”  ตั้งเป้าครองตลาด 400,000 เข็ม

IMH เปิดตัว “วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์” ตั้งเป้าครองตลาด 400,000 เข็ม

              หุ้นวิชั่น - บริษัท โรงพยาบาลอินเตอร์เมดิคัล แคร์ แอนด์ แล็บ จำกัด (มหาชน) หรือ IMH คืนสังเวียน ล่าสุด ผนึก Biogenetech เปิดตัว “วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์” รุ่นใหม่ ปี 2025 ซึ่งผลิตด้วยเทคโนโลยีปลอดภัยสูง Cell-culture based ตั้ง รพ.IMH สีลม เป็นหัวหอกหลักในการทำตลาดวัคซีน​ไข้หวัดใหญ่ ตอบโจทย์การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายกลุ่มลูกค้าพนักงานออฟฟิศ นักธุรกิจ ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้า เงินสด-ประกัน ประกาศเป้าครองตลาด 400,000 เข็ม                 ดร.สิทธิวัตน์  กำกัดวงษ์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรงพยาบาลอินเตอร์เมดิคัล แคร์ แอนด์ แล็บ จำกัด (มหาชน) หรือ IMH เปิดเผยว่า กลุ่มโรงพยาบาล IMH ยังคงมุ่งพัฒนาสู่การเป็นอันดับ 1 ด้านการแพทย์ เพื่อให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ตามนโยบายที่วางไว้ โดยล่าสุด IMH ได้ผนึกพันธมิตรด้านวัคซีน ร่วมกับ บริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด (Bio​genetech)​ ซึ่งเป็นพันธมิตรที่เคยประสบความสำเร็จ​จากนำเข้าวัคซีน              ซิโนฟาร์ม (Sinopharm) ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 มาแล้ว               โดยการกลับมาร่วมมืออีกครั้งระหว่างกลุ่มโรงพยาบาล IMH และ Biogenetech ครั้งนี้ ได้ร่วมกันเปิดตัวในการนำวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ รุ่นใหม่ ปี 2025 มาจำหน่าย โดยวัคซีนดังกล่าวผลิตด้วยเทคโนโลยีปลอดภัยสูงต่อคนไข้ ภายใต้การเพาะเลี้ยงเชื้อในเซลล์เพาะเลี้ยง (Cell-culture based) ที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในคนไข้ที่แพ้ไข่ เนื่องจากไม่มีส่วนผสมจากไข่ เหมือนวัคซีนยี่ห้ออื่นๆ ในตลาด ส่งผลให้มีความปลอดภัยในคนไข้ที่แพ้ยาฆ่าเชื้อ ซึ่งจะเป็นการการันตีเพื่อสร้างความเชื่อมั่นทำให้ลูกค้าของ IMH มั่นใจได้ว่า จะได้รับวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง สำหรับวัคซีนดังกล่าว IMH คาดว่า จะมียอดฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ปี 2025 ครองสัดส่วนตลาด มากกว่า 400,000 เข็ม ซึ่งทางกลุ่มโรงพยาบาล IMH ยังคงเน้นนโยบายการตั้งราคา "เข้าถึงได้" ให้ผู้บริโภค           ทุกกลุ่มเข้าถึงวัคซีนได้อย่างทั่วถึง โดยได้เริ่มเปิดตัวแคมเปญไป ในราคา 399.- บาทต่อเข็ม (รวมค่าบริการ​ทางการ​แพ​ทย์แล้ว)​ และทางโรงพยาบาล สามารถให้บริการนอก​สถานที่​ได้ ขั้นต่ำ 50​ คน ขึ้นไป ผ่านสายด่วนวัคซีน 065-502-9631​               ทั้งนี้ โรงพยาบาล IMH​ สีลม ซึ่งเป็นโรงพยาบาลในกลุ่ม IMH​ จะเป็นโรงพยาบาลหลักในการทำตลาดวัคซีน​ไข้หวัดใหญ่ ปี 2025 เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ใจกลางย่านธุรกิจสีลม-สาทร ดังนั้นเพื่อเป็นการตอบโจทย์การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย IMH สีลม จึงถูกวางตัวเป็นโรงพยาบาลยุทธ์ศาสตร์ในการรองรับกลุ่มลูกค้าพนักงานออฟฟิศและนักธุรกิจที่ต้องการบริการทางการแพทย์คุณภาพสูง               “กลยุทธ์การต่อยอดความร่วมมือระหว่าง IMH กับ Biogenetech ในการทำตลาดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ รุ่นใหม่ ปี 2025 ซึ่งผลิตด้วยเทคโนโลยี Cell-culture based ปลอดภัยสูงต่อคนไข้ ซึ่งจะทำให้ IMH สามารถเจาะกลุ่ม ลูกค้าเงินสด-ประกัน ได้อย่างรวดเร็ว”               นอกจากนี้ ดร.สิทธิวัตน์ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงภาพรวมการเติบโตของกลุ่มโรงพยาบาล IMH สำหรับปี 2568 ว่า กลุ่ม รพ.IMH​ ได้ตั้งเป้ารายได้ระดับ 1,200 ล้านบาท ภายใต้การเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ครั้งสำคัญ ซึ่งล่าสุดบอร์ด IMH ได้อนุมัติพิจารณาให้บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) เข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง (Private Placement) โดยหลังจากการเพิ่มทุนแล้วเสร็จ จะแต่งตั้ง "คุณชัย โสภณพนิช" เป็น "ประธานที่ปรึกษา" กลุ่ม รพ.IMH เพื่อปรับโมเดลธุรกิจสู่โรงพยาบาลเงินสด พุ่งเป้าฐานลูกค้าประกัน  ซึ่งปัจจุบัน คุณชัย โสภณพนิช ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) “บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ BKI จะเพิ่มทุน 9.7% ใน IMH และหลังจาก BKI เพิ่มทุนแล้วเสร็จ คุณ​ชัย โสภณ​พ​นิช​ จะดำรงตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษา​ กลุ่ม รพ.IMH และจะก้าวสู่การปรับ Model เป็นรพ. เงินสด และ ประกัน”ดร.สิทธิวัตน์ กล่าวทิ้งท้าย [PR News]

[Gossip] PANEL จ่อขึ้น XD 20 มี.ค.นี้ ปันผล 0.02 บ./หุ้น

[Gossip] PANEL จ่อขึ้น XD 20 มี.ค.นี้ ปันผล 0.02 บ./หุ้น

          หุ้นวิชั่น - บมจ.เพเนเล่ส์มาติก โซลูชั่นส์ (PANEL) ผู้นำด้านระบบประตูห้องผ่าตัด ระบบประตูอัตโนมัติ ผนังบานเลื่อนกันเสียง และห้องเก็บเสียงเคลื่อนที่ ภายใต้การบริหารงานของซีอีโอหญิงแกร่ง “จูเลีย เพ็ชญไพศิษฎ์” หลังสร้างเซอร์ไพรส์! ปี 67 โชว์รายได้ 150 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% และกำไรสุทธิ 20 ล้านบาท ..ล่าสุดบอร์ดไฟเขียวจ่ายเงินปันผลอัตรา 0.02 บาทต่อหุ้น เตรียมขึ้น XD วันที่ 20 มี.ค. 68 รอรับทรัพย์วันที่ 22 พ.ค. นี้ พร้อมเดินหน้าลุยขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ควบคู่เปิดโรงงานใหม่ตามแผน มั่นใจดันรายได้ปีนี้เติบโตกว่า 40% งานนี้ไม่ทำให้ผู้ถือหุ้นผิดหวังแน่นอนคร้าา!

BC  คาดปิดการขาย Summer Point Q1/68 ปันผล 0.052 บ. 27 พ.ค. นี้

BC คาดปิดการขาย Summer Point Q1/68 ปันผล 0.052 บ. 27 พ.ค. นี้

           หุ้นวิชั่น -  “บูทิค คอร์ปอเรชั่น (BC)” เปิดเผยผลประกอบการประจำปีพลิกกำไรตามนัด คาดผลประกอบการไตรมาส 1/68 เกินเป้า ยอดจองโรงแรมแน่น รับเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเติบโตดี แย้มแผนการขาย “Summer Point Token” โดย บริษัท โทเคน เอกซ์ จำกัด (“Token X”) บริษัทภายใต้ SCBX ระหว่างวันที่ 24 ก.พ. – 14 มี.ค.นี้ ฮอตสุดๆ ในตลาด ICO นอกจากนี้ BC เตรียมปูพรมเปิดโรงแรมใหม่ “Journey hub Bangkok Sukhumvit 26” ภายใน Q1/68 และอยู่ระหว่างพัฒนาโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง ด้านบอร์ดไฟเขียวมีมติอนุมัติการจ่ายปันผลตอบแทนผู้ถือหุ้นทันที 0.052 บาท/หุ้น กำหนดจ่ายวันที่ 27 พ.ค.นี้ ตอกย้ำความเชื่อมั่นของนักลงทุน และมั่นใจว่า BC กลับมาคืนฟอร์มอย่างแข็งแกร่ง พร้อมแนวโน้มการเติบโตที่สดใส             นายปรับ ทักราล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บูทิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BC ผู้นำด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้โมเดลธุรกิจ “สร้าง-ดำเนินการ-ขาย” (Build-Operate-Sale : BOS) เปิดเผยแนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 1/2568 เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ได้รับปัจจัยบวกจากภาพรวมอสังหาริมทรัพย์ในแลนด์มาร์คเศรษฐกิจและแหล่งท่องเที่ยวยังเติบโตดี ในช่วงแรกของปีประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดย 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน มาเลเซีย รัสเซีย เกาหลีใต้ และอินเดีย ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐต่อตลาดท่องเที่ยวโลก เช่น มาตรการ “Ease of Traveling” ที่ช่วยอํานวยความสะดวกในการเดินทาง และการยกเว้นวีซ่าของนักท่องเที่ยวหลายประเทศ อาทิ มาเลเซียและจีน มุ่งผลักดันประเทศไทยให้เป็นจุดหมายปลายทางระดับโลก ทั้งการเข้าพักระยะสั้นและระยะยาว ส่งผลให้ตลาดการท่องเที่ยวขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะโครงการโรงแรมในจังหวัดเชียงใหม่ของบริษัทมีอัตราการเข้าพักในระดับสูง ตอกย้ำศักยภาพของ BC ในตลาดโรงแรมและอสังหาริมทรัพย์เพื่อการท่องเที่ยว             ขณะเดียวกัน แผนการเดินหน้าระดมทุนผ่าน ICO โดยใช้โครงการซัมเมอร์พอยท์ (Summer Point) เป็นสินทรัพย์อ้างอิงในการออกโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน ในชื่อ “Summer Point Token” โครงการมิกซ์ยูสสุดฮอตบนถนนสุขุมวิท ติดสถานี BTS พระโขนง โครงการนี้ได้รับกระแสตอบรับดีอย่างดีเยี่ยม ด้วยศักยภาพที่โดดเด่นของโครงการ ในไตรมาส 4/2567 มีการเติบโตของอัตราการเช่าพื้นที่เฉลี่ย 96% ของพื้นที่ทั้งหมด รวมทั้ง EBITDA ที่ปรับตัวขึ้นเป็น 61.9% สะท้องถึงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการต้นทุน โดยมี บริษัท โทเคน เอกซ์ จำกัด หรือ Token X ภายใต้กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ (SCBX Group) ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเค็นดิจิทัลในประเทศไทย (ICO Portal) คาดว่า ธุรกรรมของโครงการซัมเมอร์พอยท์จะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคมนี้ และจะช่วยเสริมสภาพคล่อง BC เพื่อการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ใหม่ๆ ต่อไป             โดย BC ยังคงมุ่งเน้นพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในโมเดลธุรกิจ BOS เพื่อสะท้อนถึงศักยภาพในการขยายธุรกิจและการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในทำเลที่มีศักยภาพสูง ปัจจุบัน BC เตรียมแผนเปิดโรงแรมใหม่ภายใต้ชื่อ “Journeyhub Bangkok Sukhumvit 26” ในไตรมาส 1/2568             และมีโครงการที่กำลังอยู่ในแผนพัฒนาต่อเนื่องในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ อาทิ โครงการโรงแรมกมลา 1 ภายใต้ เมอเวนพิค แบรนด์ จำนวน 197 ห้อง และกมลา 2 โรงแรมระดับ ลักซูรี่ รีสอร์ทจำนวน 200 ห้อง ที่จังหวัดภูเก็ตบนพื้นที่รวม 9 ไร่ และโครงการที่สุขุมวิท 5 จำนวน 194 ห้อง เป็นต้น             สำหรับโครงการ โคฟ ฮิลล์ (Cove Hill) มิกซ์ยูสอาคารสำนักงานและพื้นที่เชิงพาณิชย์ย่านเจริญกรุงเปิดตัวโครงการไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับที่ดี และคาดว่าจะสามารถรับรู้รายได้เต็มปีได้ในปีนี้             อย่างไรก็ดี ผลการดำเนินงานในปี 2567 ที่ผ่านมา BC สามารถพลิกกลับเทิร์นอะราวด์ได้ตามนัด กำไรพุ่งกว่า 226 ล้านบาท อยู่ที่ 32.2 ล้านบาท ด้านรายได้รวมอยู่ที่ 632.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 58.5% จากความสำเร็จดังกล่าว ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ อนุมัติการจ่ายปันผลจากผลประกอบการประจำปี 2567 ให้แก่ผู้ถือหุ้น ในอัตราหุ้นละ 0.052 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 30 ล้านบาท หรือคิดเป็น 5% dividend yield จากราคาหุ้นปัจจุบัน โดยกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้น (Record Date) ในวันที่ 20 มีนาคมนี้ และกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 27 พฤษภาคม 2568 เพื่อตอกย้ำภาพรวมธุรกิจและสถานะการเงินที่แข็งแกร่ง มีความมั่นคง             อีกทั้ง ก่อนหน้านี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียน จากเดิม 629,237,982 บาท เป็น 992,551,622 บาท โดยออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 363,313,640 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท โดยแบ่งเป็น จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อรองรับการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ภายใต้โครงการ BC-ESOP 2025 รวมทั้ง รองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ ครั้งที่ 3 หรือ BC-W3 และการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิ BC-W4             นอกจากนี้ การเพิ่มทุนแบบมอบอำนาจทั่วไป จำนวนไม่เกิน 171,656,820 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท เพื่อรองรับการเพิ่มทุนแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับธุรกิจ และลงทุนเพิ่มเติมในโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ดำเนินการอยู่ปัจจุบันหรือลงทุนในบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักตามแผนยุทธศาสตร์ของบริษัท ในการเข้าทำธุรกรรมรับโอนกิจการทั้งหมดของบริษัท บีคิว ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ซึ่งรวมถึงที่ดินบนถนนสุขุมวิท 24 เพื่อขยายพื้นที่พัฒนาโครงการของบริษัท โดยธุรกรรมดังกล่าวมีมูลค่ารวม 709.87 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การเติบโตอย่างยั่งยืน และเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโครงการโรงแรมระดับพรีเมียมแห่งใหม่ในอนาคต  ซึ่งแผนการเพิ่มทุนนี้มุ่งเน้นการสร้างรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืนให้แก่บริษัทและผู้ถือหุ้น ซึ่งต้องรอผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 28 เมษายนนี้ [PR News]

CHOW ไม่ทิ้งธุรกิจเหล็ก! เป้า OEM ชน 4 แสนตัน

CHOW ไม่ทิ้งธุรกิจเหล็ก! เป้า OEM ชน 4 แสนตัน

             หุ้นวิชั่น - CHOW ตั้งเป้า OEM เหล็กชน 4 แสนตัน สินค้าคาร์บอนต่ำหนุนยอดโต เชื่อหลังปรับปรุงโรงงาน กระบวนการผลิตกดต้นทุนลดฮวบ พร้อมสู้คู่แข่ง ยันไม่ทิ้งธุรกิจเหล็ก! ชี้พอร์ตรายได้ มาร์จิ้นยังทำเงินสูง ใส่เกียร์ปั๊มกำลังผลิตแตะ 300 เมกะวัตต์ ย่องเจรจาลูกค้าต่อเนื่อง ส่งซิกผลงานโค้งแรกสดใสบุ๊กรายได้พลังงานเต็มพิกัด              นายกันตเมศฐ์ โชติจิราภิรมย์ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านบัญชี บริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ CHOW เปิดเผยว่า บริษัทมีเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจปี 2568 โดยตั้งเป้ายอดขายธุรกิจเหล็กในปี 2568 ให้แตะระดับ 85,000 ตัน โดยยังไม่สามารถระบุเป็นมูลค่าเงินได้ เนื่องจากต้องพิจารณาตามราคาเหล็ก ณ ขณะนั้น ขณะที่การรับจ้างผลิต (OEM) ตั้งเป้าไว้ที่ 400,000 ตัน ซึ่งยังไม่ถึงขีดความสามารถตามใบอนุญาตการผลิตที่บริษัทมีอยู่              สำหรับปัจจัยสนับสนุนหลักที่จะส่งผลให้บริษัทบรรลุเป้าหมายได้ มาจากการที่บริษัทได้ปรับปรุงกระบวนการผลิตในปีที่ผ่านมา ทำให้การผลิต ณ ปัจจุบันมีประสิทธิภาพและสามารถผลิตเหล็กได้เร็วขึ้น ต้นทุนการผลิตลดลง และสามารถแข่งขันในตลาดได้ดียิ่งขึ้น คาดว่าจะช่วยขยายการผลิตและการขายได้ตามเป้า ทั้งนี้ บริษัทมีปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นต์น้อยที่สุดในตลาดหรืออุตสาหกรรม ทำให้ลูกค้าสามารถนำตัวเลขดังกล่าวไปใช้ในรายงานการลดการปล่อยคาร์บอนของบริษัทนั้นๆ ได้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมยอดขายทั้งทางตรงและทางอ้อม และบริษัทไม่มีแผนขยายธุรกิจเหล็ก เนื่องจากได้มุ่งเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และเพิ่มกำลังการผลิตในกระบวนการรีดเหล็กอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการลดคาร์บอนฟุตพริ้นต์ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการเพิ่มรายได้ของบริษัท ทั้งนี้ หากย้อนดูผลประกอบการของบริษัท พบว่า รายได้จากธุรกิจเหล็กยังคงเป็นแหล่งรายได้หลัก และสร้างอัตราการทำกำไร (มาร์จิ้น) ของบริษัท โดยบริษัทยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจเพื่อสร้างความเติบโตในอนาคตอย่างต่อเนื่อง              ขณะที่ธุรกิจพลังงาน บริษัทจะเดินหน้าขยายกำลังการผลิต โดยตั้งเป้ากำลังการผลิตแตะ 300 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันที่ 150 เมกะวัตต์ โดยแบ่งเป็นโครงการในประเทศ 117 เมกะวัตต์ และโครงการต่างประเทศ 32 เมกะวัตต์ ขณะเดียวกัน บริษัทอยู่ระหว่างการมองหาโครงการลงทุนเพิ่มเติมอีก 150 เมกะวัตต์ เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตและส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มบริษัท              ทั้งนี้ บริษัทได้เริ่มหาลูกค้าอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2566 อย่างไรก็ตาม การปรับลดค่าไฟฟ้าผันแปร (FT) โดยภาครัฐ ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าปรับลดลง ส่งผลให้ลูกค้าชะลอการตัดสินใจลงทุนในพลังงานทดแทน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเริ่มมีลูกค้ากลับมาเจรจากับบริษัทอีกครั้ง โดยบริษัทมีทีมงานเข้าพบลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่ากลุ่มลูกค้าที่อยู่ในกระบวนการพิจารณาจะช่วยสนับสนุนการขยายกำลังการผลิตในอนาคต นอกจากนี้ บริษัทมีแผนลงทุนในโครงการพลังงานภายในประเทศ ตามนโยบายภาครัฐที่มีการประกาศโครงการเพิ่มเติม เพื่อเสริมสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจพลังงานของบริษัทอย่างต่อเนื่อง              ด้านแนวโน้มผลการดำเนินในไตรมาส 1/2568 ณ ปัจจุบัน ธุรกิจเหล็ก บริษัทได้รับคำสั่งซื้อ (ออเดอร์) อย่างต่อเนื่อง และการผลิตสินค้าอย่างสม่ำเสมอ ขณะที่ธุรกิจพลังงาน บริษัทเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ หรือ COD โครงการในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมา ส่วนในไตรมาส 1/2568 จะรับรู้รายได้เต็ม ดังนั้นบริษัทจึงมองภาพธุรกิจพลังงานยังอยู่ในเชิงบวก

TQR ปักธงปี 68 รายได้โต 5-10% นิวไฮต่อเนื่อง

TQR ปักธงปี 68 รายได้โต 5-10% นิวไฮต่อเนื่อง

             หุ้นวิชั่น - คุณชนะพันธุ์ พิริยะพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคุณปาริฉัตร โชติภูมิเวทย์ ผู้อำนวยการสายงานบัญชีและการเงิน บริษัท ที คิว อาร์ จำกัด (มหาชน) (TQR) ร่วมนำเสนอข้อมูลผลการดำเนินงานประจำปี 2567 และแผนการดำเนินธุรกิจปี 2568 ในงานบริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน “Opportunity Day” ผ่านระบบ Video Conference ระบุว่า ในปี 2568 ตั้งเป้าหมายรายได้เติบโต 5-10% นิวไฮต่อ              เนื่อง ซึ่งธุรกิจนายหน้าประกันภัยต่อ Alternative Business ยังมีทิศทางการเติบโตที่ดี โดยเฉพาะประกันภัยต่อรูปแบบใหม่ เช่น ประกันภัยต่อสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคล,ประกันภัยไซเบอร์,ประกันภัยความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร,ประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับ ESG เช่น โครงการพลังงานแสงอาทิตย์และรถยนต์ไฟฟ้า, ประกันภัยต่อการก่อการร้ายและภัยทางการเมือง              โดย TQR ได้นำเทคโนโลยี และนวัตกรรม มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับ บริษัท ทีคิวเอ็ม อัลฟา จำกัด (มหาชน) (TQM) และบริษัทประกันภัยชั้นนำอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า คู่ค้า และยังสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล พร้อมมุ่งสู่การเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมประกันภัยและประกันภัยต่อครบวงจร กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นที่บริษัทฯ เมื่อเร็วๆ นี้

PMC ปั๊มสติ๊กเกอร์ Value สูง ปี68 เป้าโต Double Digit

PMC ปั๊มสติ๊กเกอร์ Value สูง ปี68 เป้าโต Double Digit

             หุ้นวิชั่น - บริษัท พีเอ็มซี เลเบิล แมททีเรียลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PMC ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สติ๊กเกอร์เปล่า (Sticker) หรือฉลากกาว (Self-Adhesive Label) ซึ่งเป็นวัตถุดิบต้นน้ำสำหรับการผลิตฉลากสินค้าและฉลากบรรจุภัณฑ์ โดยจำหน่ายให้แก่ลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร่วมกิจกรรมบริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน (Opportunity Day) นำเสนอผลการดำเนินงานประจำปี 2567 รวมถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2568              โดยมีนางเศรษฐภร สุนทรวิภาต ประธานเจ้าหน้าที่สายงานบัญชีและการเงิน และ นางสาวนิดา เที่ยงธรรม ประธานเจ้าหน้าที่สายงานขาย บริษัท พีเอ็มซี เลเบิล แมททีเรียลส์ จำกัด (มหาชน) ฉายภาพกลยุทธ์การเติบโตของ PMC เดินหน้าสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมมุ่งมั่นสร้างความแตกต่าง สู่การเป็นผู้นำอย่างยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน ด้วยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ่านเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากการดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สติ๊กเกอร์เปล่า (Sticker) หรือฉลากกาว (Self-Adhesive Label) ที่ครอบคลุมทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์กระดาษ (Paper) 63%, ผลิตภัณฑ์ฟิล์ม (Filmic) 24%, และผลิตภัณฑ์ฉลากพิเศษ (Specialty) อีก 13% ตามลำดับ พร้อมส่งออกผลิตภัณฑ์ไปสู่ 15 ประเทศทั่วโลก ทั้งทวีปเอเชีย ตะวันออกกลาง ยุโรป แอฟริกา และโอเชียเนีย              โดยปี 2568 PMC มุ่งเน้นการวางกลยุทธ์ทางการตลาด เพิ่มสัดส่วนในผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าหรือผลิตภัณฑ์ที่มี Value สูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ฟิล์ม (Filmic) และผลิตภัณฑ์ฉลากพิเศษ (Specialty) มากยิ่งขึ้น พร้อมรักษาฐานลูกค้าเดิมด้วยการเพิ่มเติมบริการหลังการขาย พร้อมขยายฐานลูกค้าใหม่ รองรับความต้องการใหม่ๆ ของลูกค้า เนื่องจาก PMC มีความยืดหยุ่นสูงในการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ อีกทั้งยังมองหาโอกาสจากพันธมิตรในต่างประเทศเพิ่มเติม เพื่อต่อยอดธุรกิจ เพิ่มช่องทางการขาย การผลิต และเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้จากความร่วมมือใหม่ๆ อีกด้วย               ขณะที่ผลการดำเนินงานของ PMC ในปี 2567 บริษัทฯ สามารถทำรายได้ 872 ล้านบาท กำไรสุทธิพุ่ง 46 ล้านบาท หรือเติบโตเพิ่มขึ้น 166.8% จากปีก่อน สำหรับปี 2568 PMC มุ่งเดินหน้าธุรกิจผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สติ๊กเกอร์เปล่า (Sticker) หรือฉลากกาว (Self-Adhesive Label) ชั้นแนวหน้า พร้อมก้าวสู่การเป็นผู้นำอย่างยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน พร้อมวางเป้าหมายรายได้เติบโตในระดับ Double Digit

LTMH จ่อขาย 50 ล้านหุ้น เข้า mai ต่อยอดธุรกิจ WealthTech

LTMH จ่อขาย 50 ล้านหุ้น เข้า mai ต่อยอดธุรกิจ WealthTech

                หุ้นวิชั่น - บริษัท แอลทีเอ็มเอช จำกัด (มหาชน) หรือ LTMH ร่วมกับ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) จัดโรดโชว์นำเสนอข้อมูลธุรกิจ และแผนงานของบริษัทฯ ก่อนนำเสนอขาย IPO ในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) จำนวน 50 ล้านหุ้น พร้อมเดินหน้าขยายการดำเนินธุรกิจเทคโนโลยีบริหารความมั่งคั่ง (WealthTech) ของ “WealthX” เพื่อสนับสนุนแผนการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของบริษัทฯ                 นายธณัฐ เตชะเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอลทีเอ็มเอชจำกัด (มหาชน) หรือ LTMH ผู้ดำเนินธุรกิจด้านสื่อด้านการเงิน การลงทุนและธุรกิจ ที่มีสื่อออนไลน์ชื่อดังอย่าง “ลงทุนแมน” เป็นหนึ่งในเรือธงของบริษัทฯ พร้อมด้วย นายสมภพ กีระสุนทรพงษ์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่าย และรับประกันการจำหน่าย ร่วมนำเสนอข้อมูลธุรกิจสำหรับการเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) จำนวน 50 ล้านหุ้น ซึ่งคิดเป็น 25% ของจำนวนหุ้นหลังการ IPO โดยการนำเสนอข้อมูลดังกล่าวจัดขึ้น ณ ห้อง 603 ชั้น 6 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การนำเสนอข้อมูลในครั้งนี้ มีจุดประสงค์หลักเพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าใจถึงภาพรวมการดำเนินธุรกิจของ LTMH ที่ประกอบด้วย                 ธุรกิจสื่อและแพลตฟอร์มสื่อ (ออนไลน์) และธุรกิจออฟไลน์ เพื่อเน้นย้ำให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ในการสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจ (Ecosystem) ที่แข็งแกร่งของบริษัทฯ รวมทั้ง LTMH ยังได้เผยถึงกลยุทธ์การเติบโตของบริษัทฯ ผ่านแผนธุรกิจบริการด้านเทคโนโลยีบริหารความมั่งคั่ง (WealthTech) ภายใต้ชื่อ “WealthX” ที่จะช่วยให้คนไทยสามารถยกระดับทางการเงิน การลงทุนได้มากขึ้นอีกในอนาคต ด้วยการนำเสนอเนื้อหาที่มีคุณภาพ ทันเหตุการณ์ และการทำเนื้อหาที่มีความซับซ้อนในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่ายส่งผลให้จำนวนผู้ติดตาม (Followers) รวมทุกช่องทาง Facebook, Youtube, Instagram, X, Tiktok, Line และ Blockdit จำนวน 4.87 ล้านคน ในปี 2564 เพิ่มขึ้นเป็น 8.32 ล้านคน ในปี 2567 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ร้อยละ 19.61 ต่อปี ในช่วงปี 2564 – 2567 ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างรายได้ให้แก่บริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง                 ทั้งนี้ สำหรับปี 2564 – 2567 บริษัทฯ มีรายได้รวมเท่ากับ 118.06 ล้านบาท 173.90 ล้านบาท 225.77 ล้านบาท และ 231.72 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ร้อยละ 25.20 ในช่วงปี 2564 – 2567 และจากการที่ต้นทุนและค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของบริษัทฯ เป็นต้นทุนพนักงาน ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น อัตรากำไรต่างๆ จะเพิ่มสูงขึ้นหากมีรายได้เพิ่มขึ้น                 โดยในปี 2567 บริษัทฯ มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงถึง 50.55% และมีอัตรากำไรสุทธิที่ระดับ 15% แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไรที่สูง และมีศักยภาพในการเติบโตอีกมากในอนาคต โดยการเข้าระดมทุน และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) ทาง LTMH มีวัตถุประสงค์หลัก คือการขยายการดำเนินธุรกิจเทคโนโลยีบริหารความมั่งคั่ง (WealthTech) ของ “WealthX” ที่สถานะปัจจุบัน ได้ทำการยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ เพื่อประกอบธุรกิจเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และตราสารหนี้ ไปแล้วเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา                 และนอกจากนี้ การระดมทุนยังมีจุดประสงค์เพื่อชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ที่กู้ยืมมาลงทุนในหุ้น บลจ.ทาลิส และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในบริษัทฯ และบริษัทย่อยด้วย การนำเสนอข้อมูลของ LTMH ในครั้งนี้นอกจากจะสะท้อนให้เห็นถึงรากฐานขององค์กรที่แข็งแกร่งแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงปัจจัยที่จะช่วยทำให้ LTMH สามารถเดินหน้าขยายธุรกิจ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับบริษัทฯ และสร้างโอกาสทางการเติบโตในอนาคตได้ ผ่านการพัฒนาต่อยอดธุรกิจ WealthTech ที่เป็นนวัตกรรมทางการเงินที่ทันสมัยและเป็นกลุ่มตลาดที่ยังคงมีโอกาสใน การเติบโตอยู่ในระดับสูง

BIS ผุดไอเดียลงทุนเสริมทัพ กดปุ่มสยายปีกต่างแดน

BIS ผุดไอเดียลงทุนเสริมทัพ กดปุ่มสยายปีกต่างแดน

          หุ้นวิชั่น - BIS กางแผนงานปี 68 ตั้งเป้าโต 10-15% จากปีก่อน 2.3 พันล้านบาท ชู 3 กลยุทธ์หลัก ใส่เกียร์ดันยอดโตแบบออแกนิค  พร้อมโฟกัสสินค้ามาร์จิ้นสูงปั๊มเงินเข้าพอร์ต กดปุ่มสยายปีกต่างแดน เล็งเวียดนาม อินโดนีเซีย ชี้ตลาดสัตว์เลี้ยง ประชากรแน่น ผุดไอเดียลงทุนธุรกิจเกี่ยวโยงเสริมทัพแกร่ง           น.สพ.สุชาติ วรวุฒางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไบโอซายน์ แอนิมัล เฮลธ์ จำกัด (มหาชน) หรือ BIS เปิดเผยว่า ในปี 2568 บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตที่ 10-15% จากปีก่อนที่ 2,374.43 ล้านบาท โดยการเติบโตจะมาจากสินค้าและบริการใหม่ รวมถึงการพัฒนา R&D สินค้าในโรงงานของบริษัท ทั้งนี้ บริษัทวางกลยุทธ์การเติบโตไว้ 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่             การเติบโตแบบออแกนิค หรือการจำหน่ายสินค้าในตลาดสัตว์ปศุสัตว์ โดยบริษัทมีสินค้าที่ผลิตจากโรงงานและกระจายไปยังช่องทางการขายต่างๆ เช่น โรงพยาบาลสัตว์ ซึ่งสินค้าที่ผลิตจากโรงงานมีอัตรากำไรสูง คาดว่าจะช่วยสนับสนุนการเติบโตของผลประกอบการอย่างมีนัยสำคัญ             การโฟกัสที่การจำหน่ายสินค้ามาร์จิ้นสูง โดยบริษัทมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินให้กับบริษัท โดยบริษัทจะพัฒนาแบรนด์ของตนเองควบคู่กับการผลิตภายในบริษัท พร้อมทั้งขยายไลน์ผลิตภัณฑ์สำหรับปศุสัตว์ประเภทอื่นๆ เพื่อเพิ่มความหลากหลายและโอกาสทางธุรกิจ             นอกจากนี้ บริษัทยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจสัตว์เลี้ยงผ่านช่องทาง B2C และค้าปลีก โดยมุ่งขยายฐานลูกค้า B2C เพิ่มการเข้าถึงผ่านช่องทางออนไลน์และพัฒนากิจกรรม B2B2C ร่วมกับตัวแทนจำหน่ายและร้านค้าสัตว์เลี้ยง พร้อมทั้งพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ             และการขยายตลาดต่างประเทศ โดยบริษัทมีแผนขยายธุรกิจไปยังประเทศที่มีความต้องการตลาดสัตว์เลี้ยงสูง และมีประชากรจำนวนมาก เช่น เวียดนาม และอินโดนีเซีย ส่วนในตลาดที่มีการเติบโตสูงอยู่แล้ว เช่น เมียนมาร์ และกัมพูชา บริษัทจะเน้นรักษาฐานตลาดไว้ โดยผ่านความร่วมมือกับตัวแทนจำหน่ายในท้องถิ่นและพันธมิตรหลัก ควบคู่ไปกับการลงทุนด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และการวิจัยพัฒนา โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ             นอกจากนี้ บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสัตว์เลี้ยง ซึ่งคาดว่าจะเห็นความชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้นในปี 2568             สำหรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญในปีที่ผ่านมา บริษัทลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัท เพ็ด เอ็กซ์ จำกัด เพิ่มเติมอีกร้อยละ 33 โดยบริษัทฯ มีสัดส่วนการลงทุนรวมเป็นร้อยละ 84 จากเดิมร้อยละ 51             บริษัทลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัท White Ocean Veterinary Vietnam JSC (ประเทศเวียดนาม) โดยบริษัท มีสัดส่วนการลงทุนร้อยละ 15             และบริษัทจัดตั้งบริษัท เพ็ทแอนิมัล ดาต้า แอนด์ อินโนเวชั่น จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจให้บริการเกี่ยวกับสัตวแพทย์และ Animal Wellbeing Platform สำหรับสัตว์เลี้ยง โดยบริษัทฯ มีสัดส่วนการลงทุนร้อยละ 85             อนึ่งปี 2567 บริษัทมีรายได้ที่ 2,374.43 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 65.04 ล้านบาท รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

โกลเบล็ก อัพกำไร KLINIQ  เพิ่มสาขาความสวย - เป้า 36 บ.

โกลเบล็ก อัพกำไร KLINIQ เพิ่มสาขาความสวย - เป้า 36 บ.

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด ระบุ ถึง KLINIQ ว่า งวด 4Q67 กำไรสุทธิมากกว่าคาด จาก %GPM ที่สูงกว่าคาด           กำไรสุทธิในงวด 4Q67 อยู่ที่ 99 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27%YoY และ 33%QoQ โดยมี SSSG เติบโต 13%YoY ขณะที่กำไรปี 67 เติบโต 12%YoY แนวโน้มรายได้ในงวด 1Q68 คาดว่าจะเติบโตทั้ง QoQ และ YoY จากโมเมนตัมรายได้ที่แข็งแกร่งต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน นอกจากนี้ ได้มีการปรับเพิ่มคาดการณ์กำไรปี 68 ขึ้น 15% เป็น 418 ล้านบาท เติบโต 30%YoY โดยตั้งเป้าเปิดสาขาใหม่เพิ่มอีก 10 แห่ง ทั้งนี้ ยังคงคำแนะนำ "ซื้อ" แต่ปรับลดราคาเหมาะสมเป็น 36 บาท           Investment Highlight           ในงวด 4Q67 บริษัทรายงานกำไรสุทธิที่ 99 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27%YoY และ 33%QoQ โดยมี SSSG เติบโต 13%YoY ซึ่งส่งผลให้กำไรปี 67 เติบโต 12%YoY บริษัทมีรายได้จากการขายและบริการอยู่ที่ 844 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13%QoQ และ 31%YoY ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์เดิม 6% ปัจจัยหนุนหลักมาจากยอดขายสาขาเดิมที่ขยายตัวได้ดีที่ 13%YoY และยอดขายจากสาขาใหม่ที่เปิดดำเนินการ โดยในไตรมาสนี้ บริษัทได้เปิดสาขาใหม่ทั้งหมด 6 แห่ง ประกอบด้วย L.A.B.X 3 สาขา, The KLINIQUE 2 สาขา และ KLINIQ Wellness Spa 1 สาขา อย่างไรก็ตาม มีการปิดสาขา 3 แห่ง เนื่องจากปริมาณ Traffic ในศูนย์การค้าน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ ณ สิ้นปี 67 บริษัทมีสาขารวม 72 แห่ง ทั้งนี้ อัตรากำไรขั้นต้น (%GPM) ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 54.0% จาก 51.5% ใน 3Q67 และ 53.0% ใน 4Q66 ซึ่งเป็นผลมาจากการเปิดสาขาใหม่จำนวนมากในช่วงต้นปี โดยบริษัทสามารถรักษาอัตรากำไรให้อยู่ในระดับที่ดีต่อเนื่อง ส่งผลให้มีกำไรสุทธิในไตรมาสที่ 4 อยู่ที่ 99 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27%QoQ และ 33%YoY ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึง 28% สำหรับปี 67 บริษัทมีรายได้รวมอยู่ที่ 2,983 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31%YoY และมีกำไรสุทธิ 322 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12%YoY           แนวโน้มรายได้ 1Q68F คาดเติบโต QoQ, YoY โมเมนตัมของรายได้ในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 68 ยังคงอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งและใกล้เคียงกับในงวด 4Q67 ซึ่งเป็นไตรมาสที่ทำจุดสูงสุดต่อเนื่อง อีกทั้งยังเติบโต YoY จากการเปิดสาขาใหม่อย่างต่อเนื่อง สำหรับอัตรากำไรขั้นต้น (%GPM) คาดว่าจะอยู่ในระดับ 54% ใกล้เคียงกับงวด 4Q67 ในไตรมาสนี้ บริษัทมีแผนเปิดสาขาใหม่อีก 1 แห่ง ได้แก่ L’Clinic ที่ซีคอน ศรีนครินทร์           ปรับเพิ่มคาดการณ์กำไรสุทธิปี 68 ขึ้น 15% เป็น 418 ล้านบาท เติบโต 30%YoY           บริษัทได้ปรับเพิ่มคาดการณ์รายได้ปี 68 เล็กน้อยเป็น 3,490 ล้านบาท เติบโต 17%YoY ซึ่งได้รับแรงหนุนจากยอดขายสาขาเดิมที่แข็งแกร่งและการเปิดสาขาใหม่ โดยในปี 68 บริษัทตั้งเป้าเปิดสาขาใหม่ 10 แห่ง ประกอบด้วย The KLINIQUE 3 สาขา, L.A.B.X 4 สาขา และ L’Clinic 3 สาขา นอกจากนี้ ยังได้ปรับเพิ่มสมมติฐาน %GPM เป็น 53.4% จากเดิมที่ 51.5% เนื่องจากอัตรากำไรในงวด 4Q67 ดีกว่าคาด และการเปิดสาขาใหม่ที่น้อยกว่าปีก่อน ซึ่งเปิดถึง 20 สาขา ทำให้ %GPM ไม่ถูกกดดันเหมือนในปี 67 ส่งผลให้มีการปรับเพิ่มคาดการณ์กำไรสุทธิปี 68 ขึ้น 15% เป็น 418 ล้านบาท เติบโต 30%YoY           คงคำแนะนำ "ซื้อ" แต่ปรับลดราคาเหมาะสมเป็น 36 บาท           ประเมินราคาเหมาะสมโดยใช้ Prospective PER ที่ 19 เท่า ซึ่งอยู่ในระดับ -1SD ของค่าเฉลี่ยในอดีต ลดลงจากเดิมที่ 24 เท่า ขณะที่ปรับคาดการณ์กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ปี 68 เป็น 1.90 บาทต่อหุ้น จากเดิม 1.65 บาทต่อหุ้น ส่งผลให้ราคาเหมาะสมใหม่อยู่ที่ 36 บาท ลดลงจากเดิมที่ 39.60 บาท โดยราคาหุ้นยังมีอัพไซด์จากราคาปัจจุบันราว 15% นอกจากนี้ คาดการณ์อัตราผลตอบแทนเงินปันผล (Dividend Yield) ในอนาคตอยู่ที่ประมาณ 5.4% ต่อปี ทำให้ยังคงคำแนะนำ "ซื้อ"

PACO เป้ารายได้ 1.15 พันล. อเมริกาโตเฉียด 100%

PACO เป้ารายได้ 1.15 พันล. อเมริกาโตเฉียด 100%

           หุ้นวิชั่น – PACO วางเป้ารายได้ปี 68 โต 15% แตะระดับ 1.15 พันล้านบาท เดินหน้าเจาะตลาด After Market เล็งเป้ายุโรป อเมริกาทำเงิน ส่งสัญญาณตลาดต่างแดนโตเฉียด 100% จับตาแผนรับออเดอร์ใหม่ดันยอด ด้านบอสใหญ่ “สมชาย เลิศขจรกิตติ” สั่งเพิ่มเครื่องจักรออโตเมชั่น อัพกำลังผลิตอีก 15%            นายสมชาย เลิศขจรกิตติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพรสซิเด้นท์ ออโตโมบิล อินดัสทรีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PACO เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 2568 ไว้ที่ 1,150 ล้านบาท หรือเติบโต 15% เมื่อเทียบกับปีก่อน 1,042.16 ล้านบาท โดยรายได้หลักยังคงมาจากตลาดอะไหล่ทดแทน (After Market) และบริษัทมีแผนเจาะตลาดใหม่ในต่างประเทศ โดยเฉพาะที่ยุโรปและอเมริกา ซี่งยังเป็นเป้าหมายหลัก ปัจจุบันบริษัทมีคำสั่งซื้อ (ออเดอร์) จากฝั่งยุโรป และอเมริกาประมาณ 30 ล้านบาท และคาดจะมีออเดอร์เข้ามาต่อเนื่อง            ปัจจุบันสัดส่วนการยอดขายอเมริกา มีอัตราการเติบโตสูง หากเทียบจากปัจจุบันกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน เติบโตสูงเกือบ 100%            ขณะที่ฝั่งยุโรป บริษัทเตรียมขยายผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อรองรับยานพาหนะเฉพาะทาง เช่น รถเกี่ยวข้าว รถทหาร และยานพาหนะในภารกิจพิเศษ ซึ่งยังมีความต้องการใช้คอยล์ร้อน (Condenser) อย่างต่อเนื่อง คาดว่ารายได้จากต่างประเทศจะขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจุบันบริษัทมีออเดอร์เข้ามาแล้ว จากทั้งอิตาลี ฝรั่งเศส โดยมีออเดอร์ประมาณ 20 ล้านบาท            นอกจากนี้ บริษัทให้ความสำคัญกับมาตรฐานการผลิต และเพิ่มความร่วมมือกับพันธมิตรสำคัญอย่าง Kubota ซึ่งปีที่ผ่านมาบริษัทมีออเดอร์ แล้ว 3,000 คัน และคาดจะมีรุ่นใหม่เพิ่มขึ้นเข้ามาอย่างต่อเนื่อง หากเป็นไปตามแผนคาด ปีหน้า (ปี 2569) ออเดอร์จะขยับ ไปถึง 6,000 คัน            อีกทั้ง SAFRAN AIRBUS ยังเป็นกลุ่มบริษัทที่ PACO ให้ความสำคัญเพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าและเสริมโอกาสในการเติบโตระยะยาว ปัจจุบันออเดอร์จาก SAFRAN AIRBUS ยังไม่มาก แต่อัตราการทำกำไร (มาร์จิ้น) สูง            ในด้านการผลิต บริษัทมีแผนเพิ่มเครื่องจักร 30 เครื่อง จากเดิมที่มีเพียง 3 เครื่อง เพื่อลดการพึ่งพากำลังคนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รองรับอุปสงค์ที่ขยายตัว โดยคาดการเพิ่มเครื่องงจักรออโตเมชั่นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ 15% ในปีนี้            นายสมชาย กล่าวต่อว่า จากการที่สหรัฐฯ ใช้มาตรการภาษีต่อจีน ส่งผลบวกต่อบริษัทในฐานะหนึ่งในผู้ผลิตหลักของตลาด After Market ซึ่งไทยและจีนเป็นซัพพลายเออร์รายสำคัญ หากมาตรการภาษียังคงมีผลต่อเนื่อง คาดว่าบริษัทจะได้รับคำสั่งซื้อ (ออเดอร์) เพิ่มขึ้นจากตลาดอเมริกา            สำหรับผลประกอบการปี 2567 PACO มีกำไรสุทธิ 147.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 101.5% จาก 73.2 ล้านบาท ในปี 2566 แม้ว่ารายได้รวมจะทรงตัวที่ 1,022.16 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจาก 1,027.0 ล้านบาท ในปีก่อนหน้า โดยปัจจัยสนับสนุนหลักมาจาก การบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ และ การปรับโครงสร้างต้นทุนการผลิตให้เหมาะสม

WINMED ปี 68 โต ตุน Backlog แน่น-เปิดโครงการพิเศษตรวจคัดกรองมะเร็ง

WINMED ปี 68 โต ตุน Backlog แน่น-เปิดโครงการพิเศษตรวจคัดกรองมะเร็ง

           หุ้นวิชั่น - บมจ.วินเนอร์ยี่ เมดิคอล (WINMED) ส่งสัญญาณปี 68 โตแกร่ง มี Backlog กว่า 150 ล้านบาท เตรียมรับรู้รายได้ทั้งหมดภายในปีนี้ ฟากซีอีโอ “นันทิยะ ดารกานนท์” ระบุพร้อมเปิดโครงการพิเศษตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยวิธี Thermogram.AI ฟรี 1,000 สิทธิ์ ให้กับผู้ถือหุ้นสำหรับเฟสแรก มั่นใจโครงการ Winmed Cares จับมือร่วมกับภาคเอกชนจะช่วยเพิ่มปริมาณการตรวจคัดกรองต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น และพร้อมเดินหน้ามูลงานภาครัฐ-เอกชนอีกหลายโครงการ ผลักดันรายได้ปีนี้เติบโตแข็งแก่ง              นายนันทิยะ ดารกานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินเนอร์ยี่ เมดิคอล จำกัด (มหาชน) (WINMED) ผู้นำเข้าและจำหน่ายเครื่องและชุดอุปกรณ์ สำหรับการเก็บ การตรวจวิเคราะห์ วินิจฉัย และการบำบัดรักษาทางการแพทย์ เปิดเผยว่า บริษัทฯชนะงานประมูลได้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา จากกลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ความปลอดภัยของโลหิต, กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ดูแลสุขอนามัยระบบเจริญพันธุ์, กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์และบริการด้านการสรรหาโลหิตทางการแพทย์ และกลุ่มผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีของเซลล์และโมเลกุล ทำให้ปัจจุบันบริษัทฯมี Backlog รวมกันกว่า 150 ล้านบาท และจะรับรู้รายได้ทั้งหมดภายในปีนี้ ถือเป็นการส่งสัญญาณการเติบโตที่แข็งแกร่งในปี 2568

บจ. mai รายงาน ปี 67 ยอดขายรวม 209,453 ล้านบาท กำไรเติบโต 5.5%

บจ. mai รายงาน ปี 67 ยอดขายรวม 209,453 ล้านบาท กำไรเติบโต 5.5%

           หุ้นวิชั่น - บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2567 มียอดขายรวม 209,453 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.8% ขณะที่ต้นทุนขาย เพิ่มขึ้น 2.9%  และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้น 0.1%  ทำให้กำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 27.9% เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน พบกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มบริการ และกลุ่มเทคโนโลยี เป็น 3 กลุ่มอุตสาหกรรรมที่มีผลการดำเนินงานเติบโตทั้งยอดขายและกำไร            นายประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) เปิดเผยว่า บริษัทจดทะเบียนใน mai จำนวน 215 บริษัท คิดเป็น 97% จากทั้งหมด 222 บริษัท (ไม่รวมบริษัทในกลุ่มที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน หรือ NC และบริษัทที่ปิดงบไม่ตรงงวด) นำส่งผลการดำเนินงาน โดยปี 2567 มี บจ. ที่รายงานกำไรสุทธิจำนวน 152 บริษัท คิดเป็น 71% ของบริษัทที่นำส่งงบการเงินทั้งหมด            ผลการดำเนินงานประจำปี 2567 ของ บจ. mai เปรียบเทียบกับปีก่อน มียอดขายรวม 209,453 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.8% ต้นทุนขาย 155,577 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.9% ทำให้อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) เพิ่มขึ้นจาก 25.1% มาอยู่ที่ 25.7% อย่างไรก็ดี การที่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มเพียง 0.1% ส่งผลให้ บจ. มีกำไรจากการดำเนินงาน 14,995 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.9% และมีกำไรสุทธิรวม 5,550 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.5%            “ผลการดำเนินงาน บจ. ใน mai งวดปี 2567 พบว่า บจ. มีกำไรสุทธิเติบโตเพียง 5.5% ทั้งที่ผลการดำเนินงาน 9 เดือนปี 2567 ทำผลประกอบการสะสมมาได้ดี แต่เนื่องจากไตรมาส 4 มีรายการอื่นๆ เช่น การตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น การตั้งด้อยค่าเงินลงทุนหรือสินทรัพย์ ทั้งนี้หากไม่รวมรายการอื่นๆ ดังกล่าว กำไรสุทธิจะเติบโต 71.8% พบ 3 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังคงเติบโตทั้งยอดขาย และกำไรสุทธิ ได้แก่ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มบริการ และกลุ่มเทคโนโลยี” นายประพันธ์กล่าว            ในส่วนของฐานะทางการเงิน บจ. mai มีสินทรัพย์รวม 328,946 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.3% จากสิ้นปี 2566 โดยมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E ratio) อยู่ที่ 0.79 เท่า เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2566 ที่เท่ากับ 0.77 เท่า            ปัจจุบันมี บจ. ใน mai 222 บริษัท (ข้อมูล ณ วันที่ 12 มีนาคม 2568) ดัชนี mai ปิดที่ระดับ 246.45 จุด มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม (market capitalization) อยู่ที่ 239,893.40 ล้านบาท มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ย 672.37 ล้านบาทต่อวัน

[ภาพข่าว] TPS ปักหมุดปี 68 รายได้โต 20-25% New High ต่อเนื่อง

[ภาพข่าว] TPS ปักหมุดปี 68 รายได้โต 20-25% New High ต่อเนื่อง

          คุณบุญสม กิจเกษตรสถาพร (กลาง) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร, คุณอุมาพร เส้งสุย (ขวา) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานขาย และคุณดาวนภา ศุขดวง (ซ้าย) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบัญชี บริษัท เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น จำกัด (มหาชน) (TPS) ร่วมนำเสนอผลการดำเนินงานประจำปี 2567 และแผนการดำเนินธุรกิจปี 2568 ในงานบริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน “Opportunity Day” ผ่านระบบ Video Conference โดยระบุว่า ในปีนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้เติบโต 20-25% New High ต่อเนื่อง จากงานในมือที่รอรับรู้รายได้ (Backlog) จำนวน 1,920 ล้านบาท เดินหน้าประมูลงานภาครัฐและเอกชนต่อเนื่อง มุ่งเน้นพัฒนา 4 กลุ่มงานหลัก ทั้ง Network Infrastructure, Cyber Security, ระบบ System และCustomer Service  เพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้นำให้บริการไอทีโซลูชั่นครบวงจร โดยงานดังกล่าวจัดขึ้น ณ สำนักงานใหญ่ของบริษัทฯ เมื่อเร็วๆ นี้

AU ปักเป้า 98 สาขาในปี 68 เมนูใหม่ดันยอด - พิกัด 12.5 บ.

AU ปักเป้า 98 สาขาในปี 68 เมนูใหม่ดันยอด - พิกัด 12.5 บ.

              หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) ระบุถึง AU ว่าSSSG และการขยายสาขาผลักดันการเติบโต เราคงคำแนะนำ "ซื้อ" โดยมีราคาเป้าหมาย 12.50 บาท ด้วยเหตุผลดังนี้ คาดการณ์การเติบโตของกำไรที่แข็งแกร่งในปี FY25F ซึ่งขับเคลื่อนโดยยอดขายสาขาเดิมที่ยังคงเป็นบวก การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง และการขยายช่องทางการขายราคาหุ้นที่ลดลง 20% ในช่วงที่ผ่านมาเป็นโอกาสในการสะสมหุ้น AU เพื่อรับผลตอบแทนจากการเติบโตของกำไรที่คาดการณ์ไว้               บริษัทคงเป้าหมายรายได้เติบโต 20-30% หลังจากเข้าฟัง Opportunity Day เรายังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของ AU ในปี FY25F โดยเป้าหมายการเติบโตของรายได้ที่ 20-30% ของผู้บริหารสอดคล้องกับการคาดการณ์ของเราที่ 20% โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนดังนี้ยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง +11% ในปี FY24 ได้รับแรงหนุนจากเมนูใหม่ที่ประสบความสำเร็จ เช่น มะยงชิดคาคิโกริ และแบล็กฟอเรสต์ทริเฟิล การขยายสาขาเชิงกลยุทธ์               ตั้งเป้าหมาย 98 สาขา ภายใน FY25F (เพิ่มขึ้นจาก 84 สาขา)เพิ่ม 6 สาขา สำหรับ After You (ปัจจุบัน 62 สาขา)เพิ่ม 5 สาขา สำหรับ Luggaw (ปัจจุบัน 15 สาขา)เพิ่ม 2 สาขา สำหรับ Specialty Coffee (ปัจจุบัน 5 สาขา) การเพิ่มสินค้าในร้านสะดวกซื้อและค้าปลีกสมัยใหม่ แผนเปิดตัว SKU ใหม่ 4-5 รายการ ใน 7-Eleven (จากปัจจุบัน 2 SKU)ขยายไปยังช่องทางอื่นๆการเติบโตในภูมิภาค แผนเปิด แฟรนไชส์ในดูไบ (FY25F) และ กัมพูชา (ปลาย FY25F/ต้น FY26F)มีการเจรจาต่อเนื่องใน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม               คาดกำไรเติบโต 19% YoY ในปี FY25F นำโดยการเพิ่มช่องทางการขาย เราคาดการณ์ว่ากำไรใน 1Q25F จะเพิ่มขึ้นทั้ง YoY และ QoQ โดยคงประมาณการกำไรสุทธิปี FY25F ไว้ที่ 351 ล้านบาท (+19% YoY) โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนดังนี้: รายได้จากร้าน Dessert Café ที่เพิ่มขึ้นได้รับแรงหนุนจาก SSSG +5% จากเมนูใหม่และการขยายสาขา 5 แห่ง รายได้จาก 7-Eleven ที่เพิ่มขึ้น               AU จัดจำหน่ายสินค้าให้กับ ทุกสาขา และเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ (ปัจจุบัน 2 SKU) คาดว่ายอดขายสินค้าและวัตถุดิบจะคิดเป็น 17% ของรายได้รวมในปี FY25F (เพิ่มจาก 13% ในปี FY24) เป้าหมายระยะยาวที่ 20-25%               คงคำแนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 12.50 บาท (DCF) AU ซื้อขายที่ 21x PER FY25F ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต -1.5SD ราคาหุ้น AU ลดลง 20% ในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากความกังวลว่ากำลังซื้อที่อ่อนแอลงจะส่งผลกระทบต่อยอดขายอาหารนี่เป็นโอกาสในการสะสมหุ้นเพื่อรับผลตอบแทนจากการเติบโตของกำไรที่แข็งแกร่งในอนาคต ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก ตำแหน่งทางการตลาดของแบรนด์ที่แข็งแกร่งยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ที่เป็นบวกการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวที่มากขึ้น (30% ของทั้งหมด)การขยายช่องทางการขายใหม่ๆ เราคงคำแนะนำ "ซื้อ" โดยมีราคาเป้าหมาย 12.50 บาท ความเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่การเติบโตของรายได้ที่ช้าลง ต้นทุนที่สูงขึ้น

NCP แตกไลน์สินค้าเมกะเทรนด์ เป้ารายได้ปี 68 โต 20-30%

NCP แตกไลน์สินค้าเมกะเทรนด์ เป้ารายได้ปี 68 โต 20-30%

                หุ้นวิชั่น - บมจ.ไนซ์ คอล (NCP) เปิดแผนธุรกิจปี 2568 ทุ่มงบ 10 ล้านบาท พัฒนาระบบเทคโนโลยี และเทคโนโลยี AI เพิ่มประสิทธิภาพงานขาย เล็งเปิดตัวสินค้า (House Brand) การันตีคุณภาพระดับพรีเมี่ยมกว่า 10 รายการ พร้อมรุกตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพและสำหรับสัตว์เลี้ยง เสริมแกร่งธุรกิจ พร้อมตั้งเป้ารายได้ปี 2568 เติบโต 20-30%                 นายศรัณย์ เวชสุภาพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไนซ์ คอล จำกัด (มหาชน) หรือ NCP เปิดเผยแผนการดำเนินธุรกิจปี 2568 ว่า บริษัทได้วางแผนการดำเนินงานเพื่อสานต่อความสำเร็จอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยเน้นบทบาทการเป็น Telesales ที่ตอบโจทย์การให้บริการธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) อย่างต่อเนื่อง พร้อมขยายการให้บริการธุรกิจ Upselling Service และ Dedicated Telesale Outsourcing เพิ่มขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อการให้บริการสำหรับลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ รองรับการขยายตัวธุรกิจ Telesales  โดยตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ปีนี้ 20-30% โดยมีปัจจัยหนุนการเติบโตจากธุรกิจ Upselling Service และ Dedicated Telesale Outsourcing รวมถึงเทรนด์การดูแลสุขภาพที่เติบโตต่อเนื่อง จากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ของประเทศไทย และการดูแลรักษาสุขภาพของกลุ่ม Gen X และ Gen Y                 โดยปีนี้ บริษัทเตรียมออกผลิตภัณฑ์ใหม่ (House Brand) การันตีคุณภาพระดับพรีเมี่ยม มากกว่า 10 รายการ สอดรับเทรนด์ Health and Beauty ของผู้บริโภคในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพและความงาม รวมถึงการเจาะกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่เพิ่มมากขึ้น                 ไม่เพียงเท่านี้ บริษัทยังเตรียมขยายตลาดไปสู่ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสัตว์เลี้ยง ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนยุคนี้ ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เหมือนลูก (Pet Parent) ส่งผลให้ตลาดสัตว์เลี้ยงเติบโตอย่างก้าวกระโดด นับเป็นการเพิ่มศักยภาพของผลิตภัณฑ์และการตลาดใหม่ๆ ที่ช่วยหนุนการเติบโตของ NCP อย่างมีนัยสำคัญ                 นอกจากนี้ บริษัทได้วางแผนใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท ในการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานขาย โดยจะนำเทคโนโลยีมาช่วยในการผลิต การขายและการบริการลูกค้า การวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการคาดการณ์ความต้องการของตลาดและปรับกลยุทธ์การขายให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย                 สำหรับการขยายจำนวนพนักงาน Telesales ทั้งพนักงาน Telesales ประจำ และผู้ต้องขังภายในเรือนจำหรือทัณฑสถานหญิงที่ทำหน้าที่ Telesales ตามโครงการ “คืนคนดีสู่สังคมกับกรมราชทัณฑ์” โดยการฝึกอาชีพและส่งเสริมทักษะการทำงานให้แก่ผู้ต้องขัง ประเภทการขายทางโทรศัพท์ (Telesales) บริษัทตั้งเป้าเพิ่มจำนวนพนักงานอีก 200 คน แบ่งเป็น พนักงาน Telesales ประจำ 100 คน จากเดิมที่มีในขณะนี้ 100 คน รวมเป็น 200 คน และเพิ่มจำนวนผู้ต้องขัง ที่ทำหน้าที่เป็น Telesales อีก  100 คน ในเรือนจำหรือทัณฑสถานหญิงอีก 2 แห่ง จากเดิมที่มี 3 แห่ง ได้แก่ เรือนจำกลางสมุทรปราการ ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ และทัณฑสถานหญิงชลบุรี รองรับจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มธุรกิจ Upselling Service และ Dedicated Telesale Outsourcing                 สำหรับแผนธุรกิจ ใน 3-5 ปีข้างหน้า NCP ตั้งเป้าขยายธุรกิจให้แข็งแกร่งขึ้น โดยเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ, ขยายช่องทางจัดจำหน่าย, สร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์ และขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ “NCP พร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภค และมองหาพันธมิตรเพื่อเสริมความแข็งแกร่งธุรกิจสร้างการเติบโตอย่างมั่นคง โดยมั่นใจรายได้ปีนี้จะเติบโตได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ 20-30% จากการเติบโตของธุรกิจ “Dedicated Telesale Outsourcing Service และ Upselling Service” ที่โดดเด่น รวมถึงการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ (House Brand) ที่ช่วยเพิ่มฐานลูกค้าในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ตลอดปี” นายศรัณย์ กล่าว [PR News]

TACC ยอดขาย 7-11 โตต่อ ส่องพื้นฐาน 5.34 บาท

TACC ยอดขาย 7-11 โตต่อ ส่องพื้นฐาน 5.34 บาท

            หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เอสบีไอ ไทย ออนไลน์ จำกัด ระบุถึง TACC ว่า TACCรายงานกำไรสุทธิปี 67 เพิ่มขึ้น 19.0% YoY อยู่ที่ 243.6 ล้านบาท ผลจาก 3 ปัจจัยบวกหลัก ได้แก่ 1. ยอดขายสินค้าของบริษัทในร้านสะดวกซื้อ 7-11 ที่เติบโต 2. การออกสินค้าใหม่ในทุกไตรมาส ส่งผลบวกต่อยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้น 3. การบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ             บริษัทมีรายได้รวมเติบโต 14.0% YoY อยู่ที่ 1,953.8 ล้านบาท เนื่องจากยอดขายในช่องทางร้านสะดวกซื้อ 7-11 เติบโตตามการขยายสาขา และการเพิ่มขึ้นของลูกค้ากลุ่มนักเรียน พนักงานบริษัท และนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ (E-Receipt) ในช่วงต้นปี 67 การออกสินค้าใหม่ทุกไตรมาส และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของอัตรากำไรขั้นต้น อยู่ที่ระดับ 33.22% เพิ่มขึ้นจาก 32.71% ในปี 66 เนื่องจากการออกสินค้าใหม่ที่มีมาร์จิ้นสูงอย่างต่อเนื่อง และการบริหารต้นทุนภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนวโน้มปี 68             บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้รวมเติบโต 10% YoY โดยมีปัจจัยหนุน ได้แก่ 1. การขยายสาขาอย่างต่อเนื่องของร้านสะดวกซื้อ 7-11 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีแผนจะเปิดสาขาในประเทศเพิ่มขึ้นประมาณ 700 สาขา ซึ่งจะช่วยหนุนยอดขายของ TACC 2. การออกสินค้าใหม่ที่ตรงตามความชอบของกลุ่มลูกค้าอย่างต่อเนื่อง 3. การบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ 4. ปัจจัยหนุนภายนอก เช่น การเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ (เงิน 10,000 บาท และ Easy E-Receipt ปี 68)             คาดประมาณการกำไร • คาดกำไรสุทธิปี 68 อยู่ที่ 275 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.0% YoY บนสมมติฐานรายได้จากการขายและบริการเพิ่มขึ้น 10% YoY • คาดกำไรสุทธิปี 69 อยู่ที่ 308 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.1% YoY บนสมมติฐานรายได้จากการขายและบริการเพิ่มขึ้น 10% YoY             ประเมินราคาพื้นฐานปี 68 ไว้ที่ 5.34 บาท (สมมติฐาน PE -0.25 SD ในอดีตเฉลี่ยที่ 11.81 เท่า) แนะนำซื้อ

[Vision Exclusive] AF เป้าสินเชื่อโต 10% - Green Loan ดาวเด่น

[Vision Exclusive] AF เป้าสินเชื่อโต 10% - Green Loan ดาวเด่น

           หุ้นวิชั่น - AF ตั้งเป้ารายได้ สินเชื่อปี 68 โต 8-10% ฟากผู้บริหาร "อัครวิทย์ สุกใส" คาดดีมานด์สินเชื่อ ESG Finance หรือ Green Loan ติดเครื่องโตต่อ จากปีก่อนปล่อยสินเชื่อกว่า 600 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายเดิมที่ 200 ล้านบาท            นายอัครวิทย์ สุกใส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอร่า แฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ AF เปิดเผยกับทีมข่าวหุ้นวิชั่น ว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้และการปล่อยสินเชื่อปี 2568 เติบโต 8-10% จากปีก่อน โดย ณ สิ้นปี 2567 บริษัทมีสินเชื่อคงค้างรวม 19,500 ล้านบาท แบ่งเป็น สินเชื่อแฟคตอริ่ง 19,000 ล้านบาท และสินเชื่อประเภทอื่น 500 ล้านบาท            สำหรับแนวโน้มสินเชื่อแฟคตอริ่งในปี 2568 คาดว่าจะทรงตัวใกล้เคียงปีก่อน ขณะที่สินเชื่อ ESG Finance หรือ Green Loan มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยในปี 2567 บริษัทปล่อยสินเชื่อ ESG Finance ไปแล้วกว่า 600 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ 200 ล้านบาท            ทั้งนี้ แนวโน้มความต้องการใช้สินเชื่อ ESG Finance ในปี 2568 ยังอยู่ในทิศทางที่ดี โดยเฉลี่ยบริษัทมีการปล่อยสินเชื่อ 60-70 ล้านบาทต่อเดือน ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา และในปี 2568 คาดจะปล่อยสินเชื่อ ESG Finance ราวๆ 200-250 ล้านบาท            สำหรับภาพรวมธุรกิจปล่อยสินเชื่อในกลุ่มอุตสาหกรรมหรือ แฟคตอริ่ง ปี 2568 บริษัทประเมินว่าหลายธุรกิจจะทยอยขยายการลงทุน ตามทิศทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ส่งผลให้นักลงทุนและผู้ประกอบการเริ่มเห็นสภาพเศรษฐกิจที่ผ่อนคลายขึ้น รวมถึงมีโอกาสขยายกำลังการผลิตและต้องการเงินทุนหมุนเวียนมากขึ้น            AF มองว่าปัจจัยดังกล่าวเป็นสัญญาณบวกต่อธุรกิจสินเชื่อ และหากในระหว่างปี 2568 ธปท. มีการประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม คาดว่าจะเป็นอีกปัจจัยหนุนที่ส่งผลดีต่อแนวโน้มการเติบโตของบริษัท            อนึ่ง ปี 2567 บริษัทมีรายได้ที่ 255.18 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ ที่ 16.74 ล้านบาท รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

D  เจาะลูกค้า medical tourism เปิดคลินิก “Smile Signature” ใจกลางสุขุมวิท

D เจาะลูกค้า medical tourism เปิดคลินิก “Smile Signature” ใจกลางสุขุมวิท

          "เดนทัล คอร์ปอเรชั่น" เปิดคลินิกทันตกรรม “Smile Signature”  ใจกลางสุขุมวิท  ปลายเดือนมีนาคมนี้ เจาะลูกค้าต่างชาติกลุ่ม medical tourism 100%  คาดเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปีนี้  ตั้งเป้าหมายรายได้ทั้งปีกว่า 30 ล้าน           นายพรศักดิ์ ตันตาปกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดนทัล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ D ผู้ให้บริการทันตกรรมแบบครบวงจร เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมเปิดสาขา คลินิกทันตกรรม สไมล์ซิกเนเจอร์ (Smile Signature) สาขาสุขุมวิท  ซึ่งเป็นสาขาแรกของปี 2568 ในปลายเดือนมีนาคมนี้ เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นหลัก           โดยคาดว่าคลินิกทันตกรรม สไมล์ซิกเนเจอร์  สาขาสุขุมวิท    จะสามารถรับรู้รายได้ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2568 และได้ตั้งเป้าหมายรายได้สาขาสุขุมวิทปีละประมาณ 30 ล้าน ซึ่งเป็นไปตามแผนการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัท จากกลยุทธ์ทำการตลาดในเชิงรุก ในการเปิดสาขาใหม่ในแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งในปีนี้กลุ่มบริษัท เปิดสาขาไม่ต่ำกว่า 4 สาขา  และตั้งเป้าหมายรายได้ทั้งปี เติบโตจากปีที่ผ่านมาไม่ต่ำกว่า 10% หรือคาดว่าไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท           คลินิกทันตกรรม สไมล์ซิกเนเจอร์  สาขาสุขุมวิท ตั้งอยู่ใจกลางสุขุมวิท ในทำเลที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว และแหล่งที่พักอาศัยของชาวต่างชาติ  ซึ่งเป็นสาขาที่เปิดเพื่อรองรับกลุ่ม medical tourism ที่เป็นลูกค้าชาวต่างชาติ 100%  มีพื้นที่ให้บริการกว่า 300 ตารางเมตร มีห้องให้บริการทันตกรรมจำนวน 6 ห้อง สามารถรองรับลูกค้าได้วันละประมาณ 100 คน           “กำหนดการเปิด  flagship store คลินิค Smile Signature สุขุมวิท   ปลายเดือนมีนาคมนี้ สถานที่ตั้งอยู่ใจกลางสุขุมวิท เป็นแหล่งท่องเที่ยว และที่พักของชาวต่างชาติ กลุ่มเป้าหมายของสาขานี้เน้นลูกค้าชาวต่างชาติเป็นหลัก เป็นสาขาที่มีการตกแต่งสวยงามทันสมัย มีพื้นที่ให้ลูกค้านั่งรอรับบริการ กว้างขวางและสะดวกสบาย ในปีนี้ตามเป้าหมายน่าจะมีรายได้จากลูกค้าต่างชาติเพิ่มขึ้น 15% หรือประมาณ 70% ของรายได้จากบริการด้าน         ทันตกรรมของกลุ่ม D  เมื่อเทียบกับในปีก่อนหน้า”  นายพรศักดิ์ กล่าว [PR News]

TPCH ปิดจ๊อบ ลงทุนวินด์ฟาร์ม 150 MW ในกัมพูชา ลุย Spin Off “สยาม พาวเวอร์” เข้า mai

TPCH ปิดจ๊อบ ลงทุนวินด์ฟาร์ม 150 MW ในกัมพูชา ลุย Spin Off “สยาม พาวเวอร์” เข้า mai

          หุ้นวิชั่น - บมจ.ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง (TPCH) ปิดดีลลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม กำลังการผลิต 150 เมกะวัตต์ ในประเทศกัมพูชา ฟากบิ๊กบอส “กนกทิพย์ จันทร์พลังศรี” ลุยพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนในต่างประเทศเพิ่ม ส่วนในประเทศเร่งก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ 2 แห่ง ภายในไตรมาส 2/68  พร้อมขึ้นทะเบียน Carbon Credit และ I-RECs สร้าง Recurring Income พร้อมเดินหน้า Spin Off  “สยาม พาวเวอร์” เข้าตลาดหลักทรัพย์ mai รองรับแผนการเติบโตในอนาคต นางกนกทิพย์ จันทร์พลังศรี ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (TPCH) ประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้เข้าลงทุนในโครงการพลังงานลม ในนามบริษัท อินโดไชน่า วินด์ พาวเวอร์ จํากัด (IWP) ที่ประกอบธุรกิจผลิตและจําหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมในประเทศกัมพูชา และ IWP ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจำนวน 150 เมกะวัตต์ กับ รัฐวิสาหกิจไฟฟ้ากัมพูชา (EDC) แล้วเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 โดยมีระยะเวลา 25 ปี นับจากวันที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date : COD) ซึ่งปัจจุบันได้รับการเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) และ สัญญาสัมปทานโครงการเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการพัฒนาใบอนุญาตก่อสร้างโครงการ และคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง ส่วนการพัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ซึ่ง TPCH เข้าร่วมลงทุนกับ บริษัท แม่โขง พาวเวอร์ จํากัด (MKP) ในสัดส่วน 40% มูลค่า 12.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ประกอบธุรกิจผลิต และจําหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ใน สปป.ลาว ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจำนวน 100 เมกะวัตต์ กับรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (EDL) เรียบร้อยแล้ว คาดว่า จะเริ่มก่อสร้างในช่วงไตรมาส 1/2568 โดยมีระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 1 ปี “การเข้าลงทุนในโครงการพลังงานลมที่ประเทศกัมพูชา เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ ซึ่งเรามองเห็นโอกาสการเติบโต และช่องทางการลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทน โดยเฉพาะใน สปป.ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รายได้เติบโตได้ในระยะยาวอย่างมั่นคง” นางกนกทิพย์กล่าว ด้านนายเชิดศักดิ์ วัฒนวิจิตรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (TPCH) กล่าวว่า สำหรับการพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนในประเทศ ปัจจุบันมีการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าขยะชุมชน สยาม พาวเวอร์ หนองสาหร่าย (SPNS) กำลังการผลิตติดตั้ง 9.9 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าขยะชุมชน สยาม พาวเวอร์ นากลาง (SPNK) ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 9.9 เมกะวัตต์ คาดว่า จะเริ่มก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักรได้ภายในไตรมาส 2/2568 ในส่วนของโรงไฟฟ้าประเภทพลังงานขยะ สยาม พาวเวอร์ นนทบุรี (SPNT) กำลังการผลิตติดตั้ง 9.5 เมกะวัตต์ มีการปรับปรุงให้สามารถเดินเครื่องให้เสถียรมากขึ้น ขณะที่ มีการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ เพิ่มประมาณ 4 โครงการ ประกอบด้วย SP4-SP7 เป็นโครงการพลังงานขยะชุมชนในรูปแบบ VSPP (Very Small Power Producer) นอกจากนี้ บริษัทฯ มีแผนที่จะนำบริษัท สยาม พาวเวอร์ จำกัด (SP) ซึ่ง TPCH ถือหุ้นในสัดส่วน 50% ที่ร่วมกันพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) คาดว่า ภายในปี 2570  เพื่อรองรับแผนการเติบโตในอนาคต ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าประเภทเชื้อเพลิงชีวมวล จำนวน 7 แห่ง ประกอบด้วย CRB, MWE, MGP, TSG, PGP, SGP, PTG มีกำลังการผลิตติดตั้ง 80.7 เมกะวัตต์ จะมีการพัฒนาปรับปรุงการเดินเครื่องให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้ง ยังมีการควบคุมราคาเชื้อเพลิงและจัดหาแหล่งเชื้อเพลิงใหม่ เพื่อช่วยบริหารจัดการต้นทุนการผลิตไฟฟ้าได้ดีขึ้น  พร้อมทั้ง อาจจะมีการศึกษานโยบายการรับซื้อพลังงานชีวมวลจากภาครัฐเพิ่มเติมในอนาคต ขณะเดียวกัน TPCH ได้ทำ Carbon Footprint และพัฒนาแผนระยะยาวเพื่อก้าวสู่ Carbon Neutral และ Net Zero อย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงการขึ้นทะเบียน Carbon Credit และ I-RECs ให้กับโครงการโรงไฟฟ้าที่ได้ COD แล้ว เพื่อเพิ่มช่องทางสร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอ และให้บริการจําหน่ายแก่ผู้ที่สนใจในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของตนเอง บริษัทฯ ยังคงเป้าหมายกำลังการผลิตติดตั้งรวม 500 เมกะวัตต์ ภายในปี 2569 แบ่งเป็น โรงไฟฟ้าในประเทศ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล และโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ กำลังการผลิตรวม 150 เมกะวัตต์ รวมทั้งโครงการในต่างประเทศ ทั้งโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม กำลังการผลิต 350 เมกะวัตต์ ซึ่งปัจจุบัน TPCH มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 110 เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล 80.7 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ 29.3 เมกะวัตต์ อนึ่ง ผลการดำเนินงานในปี 2567 (สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2567) มีรายได้รวม 2,444.69 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 234.30 ล้านบาท   ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 มีมติจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสดเพิ่มอีก ในอัตราหุ้นละ 0.037 บาท โดยวันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล (XD) ในวันที่ 29 เมษายน 2568 กำหนดวันที่จ่ายปันผล  15 พฤษภาคม 2568 โดยได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลแล้วในปี 2567 ในอัตราหุ้นละ 0.230 บาท  เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 และในอัตราหุ้นละ 0.128 บาท เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2567 รวมเป็นเงินปันผลจ่ายทั้งสิ้น 158.47 ล้านบาท

[Gossip] AMA ขึ้นแท่นหุ้นดี P/E ต่ำ-ปันผลสูง

[Gossip] AMA ขึ้นแท่นหุ้นดี P/E ต่ำ-ปันผลสูง

           หุ้นวิชั่น - สะท้อนการบริหารอย่างมืออาชีพของ “พิศาล รัชกิจประการ”กรรมการผู้จัดการ บมจ.อาม่า มารีน (AMA)  หุ้นธุรกิจโลจิสติกส์ขนส่งสินค้าทางเรือ–ทางบก หลังโชว์งบปี 67 แข็งแกร่ง รายได้ 3,158.35 ล้านบาท กำไรสุทธิ 335.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.77% เทียบปีก่อน…แถมบอร์ดใจป้ำเสนอที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นจ่ายปันผลเป็นเงินสดในอัตรา 0.25 บ./หุ้น ติดชาร์ตหุ้นดี P/E ต่ำ ปันผลสูง หากเทียบ(ณ ราคาปิด 7 มี.ค.68 ที่ 4.08 บ.) P/E อยู่ที่ 6.26 เท่า Yield 11.03% แว่วว่าปี 68 เป้าเติบโต 2 Digıt จากธุรกิจการให้บริการขนส่งสินค้าทางรถขาขึ้น.. สำหรับนักลงทุนที่มองหาโอกาสการลงทุนในธุรกิจที่มั่นคงและเติบโตได้ระยะยาว เลือก AMA ติดพอร์ตไว้สบายใจหายห่วงคร้าา!!ฃ

ผู้ถือหุ้น YGG ไฟเขียวอนุมัติเพิ่มทุน PP กลุ่มทุนใหม่ 29.34%

ผู้ถือหุ้น YGG ไฟเขียวอนุมัติเพิ่มทุน PP กลุ่มทุนใหม่ 29.34%

             หุ้นวิชั่น - อิ๊กดราซิล กรุ๊ป  เผย ผู้ถือหุ้นไฟเขียวอนุมัติเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงแก่บุคคลในวงจำกัด 5 ราย ถือหุ้นรวม 29.34%  เชื่อมั่นศักยภาพ YGG พร้อมลงทุนระยะยาว สนับสนุนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน  มั่นใจรับเงิน135 ล้านบาท ช่วยเสริมสภาพคล่อง ต่อยอดธุรกิจ ขณะที่ผู้บริหารเดินหน้าพัฒนาผลงานตามแผนธุรกิจ              นายธนัช   จุวิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อิ๊กดราซิล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ YGG เปิดเผยว่า ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2568 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2568  ผู้ถือหุ้นมีมติเป็นเอกฉันท์ในการอนุมัติการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุน เพื่อเสนอขายแบบเฉพาะเจาะจงให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement)  5 ราย จำนวน 250 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท ราคาเสนอขายหุ้นละ 0.54 บาท              โดยหุ้นสามัญเพิ่มทุน มีเสนอขายให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) 5 ราย ประกอบด้วย นายพิรัส ศิริขวัญชัย  จำนวน 10 ล้านหุ้น หรือ 1.17%  ศ.นพ.สมศักดิ์ เซาว์วิศิษฐ์เสรี  จำนวน 20 ล้านหุ้น  หรือ 2.35%  นางทัศน์ดาว ชมเชย จำนวน 30 ล้านหุ้น หรือ 3.52%  นายเธียรชัย ลีสิรวงศ์ จำนวน 35,000,000 หุ้น  หรือ 4.11% และนางสาวอัครภิทย์ตา มีชัยวงค์ จำนวน 155 ล้านหุ้น  หรือ 18.19%              นายธนัช  กล่าวอีกว่า บริษัทได้เงินจากการเพิ่มทุนครั้งนี้จำนวน 135 ล้านบาท ประมาณเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2568 โดยเงินที่ได้จากการเพิ่มทุน  บริษัทมีแผนทางธุรกิจเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ จำนวน 95 ล้านบาท ส่วนอีกจำนวน 40 ล้านบาท ใช้เพื่อต่อยอดทางธุรกิจ และพัฒนาโครงการผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ของบริษัท ซึ่งมั่นใจว่าเม็ดเงินจากการเพิ่มทุนในครั้งนี้ จะสร้างความมั่นคงทางการเงิน  เพิ่มสภาพคล่อง และเปิดโอกาสให้บริษัทได้ขยายและต่อยอดธุรกิจ              “กลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่ 5 ราย มีสัดส่วนการถือหุ้นรวม  29.34% ทุกท่านมั่นใจในศักยภาพของ YGG ต้องการเข้ามาลงทุนมองถึงระยะยาว และมองว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตตามเทรนด์ตลาดโลก ในจำนวนผู้เข้ามาถือหุ้นมี คุณพิรัส ศิริขวัญชัย จะเข้ามาเป็นกรรมการของบริษัท และผู้ถือหุ้นทุกท่านพร้อมสนับสนุนธุรกิจของ YGG ให้เติบโตได้อย่างมั่นคง” นายธนัช กล่าว [PR News]

[Vision Exclusive] JPARK เป้ารายได้ปี 68 แตะ 800 ล. เล็งบุ๊กบริหารช่องจอดเต็มแม็ก

[Vision Exclusive] JPARK เป้ารายได้ปี 68 แตะ 800 ล. เล็งบุ๊กบริหารช่องจอดเต็มแม็ก

          หุ้นวิชั่น - JPARK ตั้งเป้ารายได้ปี 68 แตะ 800 ล้านบาท บอสใหญ่ 'สันติพล เจนวัฒนไพศาล' ส่งสัญญาณผลงาน Q1 สดใส พร้อมจับตาครึ่งปีหลัง บุ๊กยอดบริหารที่จอดรถ 6 พันช่องเต็มๆ ปักหลักเพิ่มช่องจอด 1 หมื่นช่อง จากปีก่อน 4 หมื่นช่อง พร้อมลงทุนธุรกิจเสริมทัพ           นายสันติพล เจนวัฒนไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจนก้องไกล จำกัด (มหาชน) หรือ JPARK เปิดเผยกับทีมข่าวหุ้นวิชั่นว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 2568 ที่ 800 ล้านบาท โดยในปี 2567 ผลประกอบการเติบโตอย่างโดดเด่น มีกำไรสุทธิ 164.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 102.34 ล้านบาท หรือคิดเป็นการเติบโต 163.51% ขณะที่รายได้รวมปี 2567 อยู่ที่ 670.07 ล้านบาท           สำหรับทิศทางธุรกิจในปี 2568 บริษัทจะทยอยรับรู้รายได้จากธุรกิจบริหารที่จอดรถ (PS) และธุรกิจรับจ้างบริหารจัดการพื้นที่จอดรถ (PMS) โดยคาดว่าในไตรมาส 1/2568 ผลประกอบการจะใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และในไตรมาส 3 และ 4/2568 จะเห็นการรับรู้รายได้จากธุรกิจ PS และ PMS จำนวนมาก รวมถึงการเพิ่มจำนวนช่องจอดอีก 6,000 ช่องในครึ่งปีหลัง 2568           ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าจำนวนช่องจอดในปี 2568 จะเพิ่มขึ้นอีก 10,000 ช่องจากปีที่แล้ว ซึ่งมีจำนวนช่องจอดรวม 40,000 ช่อง           ขณะที่แผนการลงทุนในปี 2568 บริษัทมีแผนที่จะลงทุนในธุรกิจที่ใกล้เคียงกับธุรกิจเดิม โดยคาดว่าจะเห็นความชัดเจนในไตรมาส 3/2568 เบื้องต้นคาดว่าเงินลงทุนจะอยู่ที่ประมาณ 400-500 ล้านบาท ซึ่งจะมาจากทั้งเงินระดมทุนจากการทำ IPO และแหล่งเงินทุนอื่นๆ ที่บริษัทกำลังพิจารณา สำหรับการขยายธุรกิจ           การลงทุนดังกล่าวคาดว่าจะช่วยสนับสนุนการเติบโตของ JPARK ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และยังช่วยเสริมสร้างอัตราการทำกำไร (มาร์จิ้น) ให้เติบโตสอดคล้องกันไปตามการขยายตัวของธุรกิจ รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

WARRIX เป้ารายได้ชน 2 พันล. รุกออนไลน์ - จับตายอดขายจีน

WARRIX เป้ารายได้ชน 2 พันล. รุกออนไลน์ - จับตายอดขายจีน

          หุ้นวิชั่น – WARRIX ตั้งเป้ายอดขายปีนี้โต 20-30% ชน 2 พันล้านบาท ส่วนปี 69 คาดแตะ 2.7 พันล้านบาท รุกขยายตลาด โฟกัส Own Channels เร่งปั๊มสัดส่วนเป็น 65% จากปีก่อน 54% พร้อมเดินหน้ารุกช่องทางออนไลน์ จับตาตลาดจีน ส่งซิกแนวโน้มโตสูง           นายพงศ์วรรธน์ ติยะพรไชย ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด (มหาชน) หรือ WARRIX เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้ายอดขายปี 2568 ที่ 2,000 ล้านบาท โดยได้เซ็นสัญญาความร่วมมือกับคู่ค้าหลายรายตั้งแต่ต้นปี 2568 คาดว่าจะช่วยเสริมรายได้จากช่องทางหลัก พร้อมทั้งเพิ่มการใช้สื่อเพื่อสนับสนุนการขายออนไลน์เป็นสำคัญ โดยเฉพาะผ่านความร่วมมือกับ KLS SPORT SHOP ที่มุ่งขยายฐานลูกค้าต่างจังหวัดและมี 3 ช่องทางหลักเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการเติบโต สำหรับกลยุทธ์ด้านพาร์ทเนอร์ ต้นปีที่ผ่านมาบริษัทได้จับมือกับสโมสรฟุตบอลอุทัยธานี และสโมสรฟุตบอลในมาเลเซีย นอกจากนี้ยังร่วมเป็นพันธมิตรในงานบอลจตุรมิตร พร้อมขยายช่องทางออนไลน์ร่วมกับ KLS SPORT และ TIKTOK SHOP ด้านการขยายสาขา บริษัทเน้นโฟกัสที่ Own Channels ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนยอดขายจาก 54% ในปี 2567 เป็น 65% ในปี 2568 โดยมุ่งเน้นการเติบโตผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ขณะเดียวกันยังเดินหน้าขยายสาขาในต่างประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ 1 สาขา มาเลเซีย 2 สาขา และเมียนมา 1 สาขา พร้อมวางแผนเปิดตลาดในกัมพูชา           สำหรับตลาดจีน ยอดขายสินค้าใน Outlet ของ Himaxx มีแนวโน้มเติบโตสูง โดย Himaxx มี 24 Outlet ในเซี่ยงไฮ้ และจำหน่ายสินค้าของ WARRIX ใน 22 แห่ง ทั้งนี้ Himaxx มีแผนขยายสาขาเป็น 100 แห่งทั่วประเทศจีนภายในสิ้นปี 2568 จากปัจจุบันที่มีอยู่ 42 แห่ง           บริษัทได้ปรับแผนบริหารคลังสินค้าใหม่โดยใช้ระบบเช่าคลังสินค้า พร้อมให้บริษัทจัดการขนส่งด้วยตัวเอง ส่งผลให้การกระจายสินค้ารวดเร็วขึ้น โดยปัจจุบันเริ่มใช้การกระขายสินค้าของบริษัทเองราว 50% ทำให้การบริหารจัดส่งดีขึ้น ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้ายอดขายผ่านช่องทางออนไลน์เติบโตต่อเนื่อง และคาดยอดขายรวมแตะ 2,700 ล้านบาทในปี 2569 จากความร่วมมือกับ KLS SPORT พร้อมเดินหน้าควบคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ในระดับ 60%           ด้านการบริหารสต็อกสินค้า บริษัทเน้นสำรองสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า โดยสินค้าทั้งหมดเป็นสินค้าหมุนเวียนเร็ว และมีอายุการจัดเก็บไม่เกิน 1-2 ปี           สำหรับการลงทุนในต่างประเทศ ยังคงให้ความสำคัญกับตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia) และประเทศจีนเป็นหลัก ส่วนตลาดยุโรปแม้จะเป็นตลาดที่มีศักยภาพ แต่ยังต้องติดตามทิศทางอีก 3-5 ปี

[ภาพข่าว] TBN ร่วมงาน DX Day 2025 ยกระดับองค์กรสู่ Work Smart with DX

[ภาพข่าว] TBN ร่วมงาน DX Day 2025 ยกระดับองค์กรสู่ Work Smart with DX

บริษัท ทีบีเอ็น คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TBN ผู้นำด้าน Intelligent Digital Platform ได้เข้าร่วมงาน DX Day 2025 (Digital Transformation Day) ภายใต้ธีม “Work Smart with DX” เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2568 TBN นำเสนอโซลูชั่นต่างๆที่ช่วยองค์กรปรับตัวสู่ดิจิทัลได้เร็วขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพ ลดขั้นตอนการทำงาน เพิ่มความปลอดภัย และรองรับการเติบโตทางธุรกิจแบบยั่งยืน เช่น AI-Driven Low-Code, Business Process Automation และ Cybersecurity ในงานนี้ TBN ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการใช้ Digital Transformation (DX) เพื่อยกระดับการทำงาน (Work Smart) ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอัจฉริยะ โดยเฉพาะการนำ Low-Code Platform มาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ พร้อมเชื่อมการทำงานของ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ และช่วยองค์กรเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างครบวงจร รองรับการทำงานขององค์กรในยุคดิจิทัลพร้อมปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและความยั่งยืนในระยะยาว TBN ยังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการนำเสนอเทคโนโลยีที่ช่วยให้องค์กรไทยก้าวสู่อนาคตได้อย่างมั่นคงและมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมสร้างความแข็งแกร่งและความยั่งยืนในระยะยาว

SEI ตั้งเป้าปีนี้โต 20% รุกอุปกรณ์ห้องไอซียู-เช่าซื้อเครื่องมือแพทย์

SEI ตั้งเป้าปีนี้โต 20% รุกอุปกรณ์ห้องไอซียู-เช่าซื้อเครื่องมือแพทย์

          “เอสอีไอ เมดิคัล”  ประกาศแผนธุรกิจปี 2568  ในงานพบผู้ลงทุน ตั้งเป้ารายได้เติบโตไม่ต่ำกว่า 20%  เผยเทรนด์ Healthcare มีศักยภาพเติบโตสูงจากแนวโน้มที่ไทยและโลกเข้าสู่สังคมสูงวัย เดินหน้าให้บริการธุรกิจผลิตภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ครอบคลุม 6 กลุ่มธุรกิจ ล่าสุดเปิดตัวผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์สำหรับใช้ในห้องไอซียู เพิ่มศักยภาพด้านบริการหลังการขาย และการเช่าซื้อเครื่องมือแพทย์ รวมทั้งเพิ่มพันธมิตรธุรกิจเป็น 25  แบรนด์ครอบคลุมทั่วโลกจากปัจจุบัน 17 แบรนด์ หวังตอบโจทย์ลูกค้า  ขณะที่ผลงานปี 2567 all time high รายได้รวม 444 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.81%  และมีกำไรสุทธิ 53.42 ล้านบาท เติบโตแรงกว่า 144%           นายกานต์ ปุญญเจริญสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสอีไอ เมดิคัล จำกัด (มหาชน) หรือ SEI ผู้นำด้านการจัดจำหน่ายและเช่าอุปกรณ์การแพทย์และวิทยาศาสตร์แบบครบวงจร (One stop service ) ได้นำเสนอข้อมูลในงานบริษัทจดทะเบียน พบผู้ลงทุน (Opportunity Day) ว่า แผนการดำเนินธุรกิจในปี 2568 บริษัทได้วางเป้าหมายรายได้เติบโตไม่ต่ำกว่า  20% จากปี 2567 โดยได้รับปัจจัยบวกธุรกิจ Healthcare มีศักยภาพเติบโตสูงจากแนวโน้มที่ประเทศไทยและโลกเข้าสู่สังคมสูงวัย แม้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจจะมีความผันผวน           โดยในปีนี้บริษัทได้ขยายผลิตภัณฑ์เครื่องมือและนวัตกรรมทางการแพทย์ใหม่ๆ ให้ครบวงจรในทุกมิติ เพื่อเพิ่มการให้บริการในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาของชีวิต และในปีนี้บริษัทได้ตั้งเป้าหมายเพิ่มกลุ่มผลิตภัณฑ์ จาก 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ เป็น 6 กลุ่มผลิตภัณฑ์ และเพิ่มกลุ่มวัสดุสิ้นเปลือง เพื่อสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ           นอกจากนี้ไตรมาแรกปีนี้บริษัทได้ขยายขอบข่ายผลิตภัณฑ์เพิ่มในกลุ่มให้บริการผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้สำหรับห้องไอซียู (ICU: Intensive Care Unit)           ทั้งนี้มูลค่าตลาดอุปกรณ์การแพทย์ในแผนก ICU ของประเทศไทยเติบโตต่อเนื่อง โดยในปีนี้คาดว่าจะมีมูลค่าตลาดประมาณ 5,000 - 6,000 ล้านบาท ครอบคลุมอุปกรณ์ ICU หลากหลายประเภท เช่น เครื่องช่วยหายใจ, เครื่องมอนิเตอร์การเต้นของหัวใจ, เครื่องวัดสัญญาณชีพ,เครื่องฟอกไต, เครื่องช่วยหายใจแบบพกพา, และอุปกรณ์การแพทย์ขั้นสูงอื่นๆ ที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต ตลาดเครื่องช่วยหายใจ (Ventilator) ด้านส่วนแบ่งการตลาด หรือ market share ในประเทศไทยปีนี้  มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะตลาดเครื่องช่วยหายใจ คาดว่ามีมูลค่ารวมประมาณ 1,500-2,000 ล้านบาท เป็นผลมาจากการขยายตัวของการดูแลผู้ป่วยวิกฤต จากการระบาดของโรคติดเชื้อที่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น COVID-19  ,การพัฒนาเทคโนโลยี เครื่องช่วยหายใจให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการดูแลผู้ป่วยที่ต้องการการช่วยหายใจใน ICU ได้รับความนิยมมากขึ้น , การเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุและมีความเสี่ยงต่อโรคที่เกี่ยวกับระบบหายใจมาก  และการพัฒนาขยายการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ จากการเพิ่มจำนวนโรงพยาบาลและคลินิก นายกานต์ยังกล่าวด้วยว่า ปีนี้บริษัทตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มพันธมิตรทางธุรกิจเป็น 25 แบรนด์ครอบคลุมทั่วโลก จากปัจจุบันมีพันธมิตรอยู่ 17 แบรนด์ที่กระจายอยู่ในประเทศต่างๆ ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป เอเชีย และจีน เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะขยายและต่อยอดธุรกิจการให้บริการเพิ่มขึ้น ทั้งในเรื่องการให้บริการซ่อม บำรุงรักษา ดูแลอุปกรณ์ทางการแพทย์ และอบรมบุคลากรทางการแพทย์ในการใช้เครื่องมือใหม่ โดยในส่วนนี้บริษัทคาดหวังอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่า 30% นายกานต์ยังกล่าวอีกว่า แนวโน้มธุรกิจให้เช่าซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ก็เป็นอีกเทรนด์ที่กำลังมาแรง ซึ่งบริษัทได้ตั้งเป้าหมายที่จะให้บริการด้านนี้เพิ่มขึ้น ตามความต้องการของลูกค้า โดยบริษัทจะดำเนินการให้เช่าซื้อทั้งรูปแบบ ระยะสั้น กลาง และระยะยาว ส่วนผลการดำเนินงานในงวดปี 2567  ว่า ถือเป็นปีที่ดี และโดดเด่น เนื่องจากทั้งรายได้และกำไรสุทธิ สามารถเติบโตแบบ all time high  โดยรายได้รวม 443.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 12.81% มีกำไรสุทธิ 53.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 144.26%  จากงวดปี 2566 สินค้าที่สร้างรายได้หลักให้กับบริษัท   ยังเป็นกลุ่มสินค้าด้านกล้องส่องตรวจ (Endoscope) และกลุ่มสินค้าสำหรับผู้ป่วยทารกแรกเกิด (Neonatal Care) ที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มสูงขึ้นมาก [PR News]

[ภาพข่าว] EURO ปี 68 ลุยเปิด 2 โชว์รูม 1 Pop-up Store ดันรายได้เติบโต

[ภาพข่าว] EURO ปี 68 ลุยเปิด 2 โชว์รูม 1 Pop-up Store ดันรายได้เติบโต

           คุณเควิน กัมบีร์ (ขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วย คุณพัทธ์ธีรา จันทจร (ซ้าย) รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท ยูโร ครีเอชั่นส์ จำกัด (มหาชน) (EURO) ถ่ายภาพร่วมกันภายหลังการนำเสนอข้อมูลธุรกิจ และผลการดำเนินงานปี 2567 ในงานบริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน (Opportunity Day) ซึ่งถ่ายทอดผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยบริษัทฯ เปิดเผยถึงแผนการขยายธุรกิจในปี 2568 เตรียมเปิดโชว์รูมใหม่ ได้แก่ Bang & Olufsen (B&O) at Central Embassy และ Molteni&C Flagship Store /T5 พร้อมทั้ง 1 Pop-up Store Bang & Olufsen (B&O) at Emporium ขณะที่ปัจจุบันมี Sales Order Outstanding จำนวน 1,191 ล้านบาท ทยอยรับรู้เป็นรายได้ในปีประมาณ 70% ผลักดันรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นที่โชว์รูม Euro Creations Thonglor 7  เมื่อเร็วๆ นี้

TQR ประกันภัยต่อครบวงจร ปันผล 0.40 บ. - เงินสดแกร่ง

TQR ประกันภัยต่อครบวงจร ปันผล 0.40 บ. - เงินสดแกร่ง

            หุ้นวิชั่น - TQR ตั้งเป้ารายได้ปี 68 โต 5-10% ชูความเป็นผู้นำประกันภัยต่อครบวงจร พร้อมนำเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ใหม่ ตอบโจทย์ลูกค้า แย้มไม่ปิดกั้นโอกาสทางธุรกิจผ่าน M&A ด้านบิ๊กบอส "ชนะพันธุ์ พิริยะพันธุ์" ประกาศจ่ายปันผลรวม 0.40 บาท สะท้อนผลการดำเนินงานแข็งแกร่ง             นายชนะพันธุ์ พิริยะพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ที คิว อาร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TQR เปิดเผยว่า ในปี 2568 บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโตที่ระดับ 5-10% จากปี 2567 ที่มีรายได้ 258.92 ล้านบาท โดยยังคงดำเนินธุรกิจในฐานะผู้นำในอุตสาหกรรมประกันภัยและประกันภัยต่ออย่างครบวงจร ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ ร่วมกับบริษัท ทีคิวเอ็ม อัลฟา จำกัด (มหาชน) หรือ TQM และบริษัทประกันภัยชั้นนำ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในปัจจุบันและอนาคต             สำหรับประกันภัยต่อที่บริษัทให้ความสำคัญ ยังมุ่งเน้นธุรกิจประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับ ESG โดยเฉพาะในด้านพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เช่น โครงการพลังงานแสงอาทิตย์และรถยนต์ไฟฟ้า (EV) รวมถึงประกันภัยต่อสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Personal Accident and Health), ประกันภัยไซเบอร์ (Cyber), ประกันภัยความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร (Directors and Officers), ประกันภัยต่อการก่อการร้ายและภัยทางการเมือง (Political Violence) และประกันภัยที่อยู่อาศัย ซึ่งธุรกิจประกันภัยต่อจะมีบทบาทสำคัญในการกระจายความเสี่ยงให้กับบริษัทประกันภัย             นอกจากนี้ บริษัทยังให้ความสำคัญกับธุรกิจ Non-Brokerage โดยก่อนหน้านี้ TQR ได้เข้าลงทุนในบริษัท อาร์สแควร์ จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจให้บริการ (Service) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและการปรับปรุงคุณภาพของแพลตฟอร์มเพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการลูกค้า โดยปัจจุบันมีลูกค้าใช้บริการแล้วจำนวน 4 ราย และบริษัทยังได้เข้าลงทุนในบริษัท อัลฟ่าเซค จำกัด ซึ่ง TQR ถือหุ้นในสัดส่วน 30% เพื่อประกอบธุรกิจประกันภัยไซเบอร์ โดยมีการพัฒนาแพลตฟอร์มการให้บริการเป็นระบบอัตโนมัติ (Automatically) และนำเทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ลูกค้า             ทั้งนี้ บริษัทมีแผนที่จะขยายธุรกิจผ่านการลงทุนแบบ M&A กับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประกันภัยต่อ เพื่อสร้างฐานการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นในการลงทุนเพื่อให้ได้ผลสำเร็จเฉลี่ยปีละ 1 ดีล             ขณะเดียวกัน TQR ประกาศจ่ายปันผลรวมปี 2567 ที่ 0.40 บาท คิดเป็นจำนวนเงินปันผลจ่ายรวม 92 ล้านบาท โดยบริษัทได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลแล้วในปี 2567 ในอัตราหุ้นละ 0.184 บาท คิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 42.32 ล้านบาท เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 ดังนั้น คงเหลือเงินปันผลที่จะจ่ายจากกำไรสุทธิประจำปี 2567 ในอัตราหุ้นละ 0.216 บาท คิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 49.68 ล้านบาท             การจ่ายปันผลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงผลการดำเนินงานของ TQR ที่ยังคงมั่นคง แม้ธุรกิจประกันภัยในปี 2567 จะเติบโตไม่มาก อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงการบริหารและกระแสเงินสดที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการจ่ายเงินปันผลต่อเนื่องเพื่อผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

TPS  ตั้งเป้ารายได้ปี 68 โต 20-25% โชว์ Backlog แน่น 1.9 พันลบ.

TPS ตั้งเป้ารายได้ปี 68 โต 20-25% โชว์ Backlog แน่น 1.9 พันลบ.

          บมจ.เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น (TPS) เปิดแผนปี 68 ตั้งเป้ารายได้เติบโต 20-25% นิวไฮต่อเนื่อง ฟากซีอีโอ “บุญสม กิจเกษตรสถาพร” เดินหน้ามุ่งสู่การเป็นผู้นำให้บริการไอทีโซลูชั่นครบวงจร เน้นพัฒนา 4 กลุ่มงานหลัก “Network Infrastructure-Cyber Security-ระบบ System-Customer Service” ลุยประมูลงานภาครัฐและเอกชนเต็มสูบ โชว์ Backlog แน่น 1,920 ล้านบาท หนุนผลงานโตต่อเนื่อง พร้อมเปิดโครงการ EJIP เฟส 2 ระยะเวลา 2 ปี ส่งเสริมพนักงานสะสมหุ้นและร่วมเป็นเจ้าของกิจการ           นายบุญสม กิจเกษตรสถาพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น จำกัด (มหาชน) (TPS) ดำเนินธุรกิจเป็นผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา ออกแบบ จัดหา ติดตั้ง และจำหน่ายผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดเผยว่า แผนการดำเนินธุรกิจในปี 2568  บริษัทฯ มุ่งสู่การเป็นผู้นำให้บริการไอทีโซลูชั่นครบวงจร ตั้งเป้าหมายรายได้เติบโต 20-25% สร้างสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นพัฒนา 4 กลุ่มงานหลัก ทั้ง  1. Network Infrastructure ได้แก่ ระบบ LAN, Wi-Fi Network และระบบภายในห้อง Datacenter ซึ่งเป็นกลุ่มงานหลักที่ TPS มีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่ง 2.งาน Cyber Security ซึ่ง TPS ยังคงให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นระบบที่ช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กร และ TPS มุ่งสู่การเป็นผู้นำในการให้บริการโซลูชั่นในด้าน Cybersecurity พร้อมกับพัฒนาทีมงานให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น 3.ระบบ System ได้แก่ เทคโนโลยี AI, Cloud, Compute, Storage และระบบ Virtual Machine ต่างๆ และ 4.งานด้าน Customer Service โดยมุ่งเน้นเป็นหนึ่งในผู้นำการให้บริการหลังการขายแบบครบวงจร           ทั้งนี้  บริษัทฯ ได้จัดทำโครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (Employee Joint Investment Program-EJIP) ครั้งที่ 2  โดย EJIP เป็นโครงการลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทสะสมเป็นรายงวด เพื่อเป็นรูปแบบหนึ่งของการให้ผลตอบแทนกับพนักงานของบริษัท และบริษัทย่อย ซึ่งระยะเวลาการดำเนินโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 – 31 มีนาคม 2570 (รวมระยะเวลา 2 ปี) ผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ เป็นพนักงานประจำของ TPS และพนักงานประจำของบริษัทย่อย ที่มีอายุงาน 1 ปี ขึ้นไป รวมทั้ง ผู้บริหารระดับผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไปของ TPS และบริษัทย่อย  รูปแบบโครงการ โดยบริษัทฯ จะหักเงินเดือนของพนักงานหรือผู้บริหารที่มีสิทธิและสมัครใจเข้าร่วมโครงการในอัตรา 5% จากฐานเงินเดือนเป็นประจำทุกเดือน จนครบกำหนดระยะเวลาจ่ายเงินสะสม และบริษัทฯ จะจ่ายเงินสมทบในอัตรา 150% ของเงินสมทบของพนักงานหรือผู้บริหารที่จ่ายเข้าโครงการ โดยดำเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (PST)           “ในปีนี้ TPS และกลุ่มบริษัทย่อย มีความมุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาในผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้สอดคล้องกับเทรนด์ความต้องการของลูกค้า คู่ค้าให้มากที่สุด พร้อมมุ่งสู่การเป็นผู้นำในการให้บริการโซลูชั่นในด้าน Cybersecurity ซึ่งปัจจุบันในแต่ละองค์กร หรือหน่วยงานต่างๆ มีความต้องการ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในฐานข้อมูล พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ยังเดินหน้าเข้าประมูลงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ TPS และ บริษัท เดอะวิน เทเลคอม จำกัด มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ เพื่อนำมาเพิ่มงานในมือรอรับรู้รายได้ (Backlog) ที่มีจำนวน 1,920 ล้านบาท โดยปัจจุบันมีสัดส่วนรายได้จากภาครัฐ 42% และภาคเอกชน 58%  มั่นใจว่า ผลการดำเนินงานในปีนี้จะสร้างสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่องตามแผน” นายบุญสมกล่าว           อนึ่ง ผลการดำเนินงานปี 2567 (สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2567) บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 135.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.10 ล้านบาท หรือคิดเป็น 16.42% เทียบกับปีก่อน มีกำไรสุทธิ 116.37 ล้านบาท สร้างสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง และมีรายได้รวม 1,606.31 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 243.50 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 17.87% เทียบกับปีก่อน มีรายได้รวม 1,362.81 ล้านบาท นิวไฮต่อเนื่อง           ขณะที่ ผลการดำเนินงานไตรมาส 4/67 บริษัทฯ มีรายได้รวม 523.82 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 75 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 16.71% จากงวดเดียวกันของปีก่อน มีรายได้รวม 448.82 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 60.80 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.30 ล้านบาท หรือคิดเป็น 43.04% จากงวดเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสุทธิ 42.51 ล้านบาท           ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 มีมติอนุมัติจ่ายปันผลงวดประจำปี 2567 ให้กับผู้ถือหุ้นเป็นเงินสด 0.20 บาท/หุ้น  ขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 29 เมษายน 2568  และกำหนดจ่ายวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 [PR News]

XO เดินหน้าซอส ส่งออกปี 68 เจาะยุโรป โฟกัสตลาดมาร์จิ้นสูง

XO เดินหน้าซอส ส่งออกปี 68 เจาะยุโรป โฟกัสตลาดมาร์จิ้นสูง

          “บมจ.เอ็กโซติก ฟู้ด หรือ XO” ย้ำศักยภาพการเติบโตในปี 68 ไม่ต่ำกว่าปีก่อน ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นไม่ต่ำกว่า 45% จากปี 67 ทำได้ 47.85% สูงกว่าเป้า รับอานิสงส์ต้นทุนวัตถุดิบลด-บาทอ่อน พร้อมโฟกัสลูกค้าหลักในทวีปยุโรปและทวีปอื่นที่ยังโตดี และมีมาร์จิ้นสูงกว่าตลาดสหรัฐ เผยแผนเดินเครื่องไลน์ผลิตใหม่เมษายนนี้ รองรับยอดขายได้ 1,000 ล้านบาทต่อปี หนุนแผนบุกตลาดส่งออกเต็มสูบ โฟกัสตลาดที่ทำอัตรากำไรดีต่อเนื่อง           นายจิตติพร จันทรัช กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็กโซติก ฟู้ด จำกัด (มหาชน) หรือ XO  ผู้นำธุรกิจผลิตและส่งออกซอสพริกศรีราชาอันดับหนึ่งของประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมผลการดำเนินงานปี 68 คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องจากปี 67 ที่ผ่านมา ส่วนตัวเลขการเติบโตที่ชัดเจน บริษัทรอพิจารณาหลังงบไตรมาส 2/68 ออกมาก่อน เพื่อจะได้ทราบทิศทางหรือเทรนด์ในช่วงครึ่งปีหลัง และตั้งเป้าอัตรากำไรขั้นต้นไม่ต่ำกว่า 45% วางกลยุทธ์ขยายตลาดในประเทศที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะยุโรป ซึ่งเป็นตลาดหลักของบริษัทที่ยังคงเติบโตแข็งแกร่ง รวมทั้ง การฟื้นตัวของยอดขายในตลาดสหรัฐ คาดจะปรับตัวดีขึ้น จากปีที่ผ่านมายอดขายในตลาดสหรัฐปรับตัวลดลง เนื่องจากการแข่งขันในตลาดที่สูงขึ้นและภาวะสินค้าล้นสต๊อก (Over Stock)           ในด้านกลยุทธ์การเติบโตปี 68 บริษัทมีการส่งออกสินค้าไปกว่า 70 ประเทศทั่วโลก และยังคงขยายตลาดใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ผ่านการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติมากกว่า 24 งานต่อปี โดยยังคงเน้นตลาดหลักในทวีปยุโรปและทวีปอื่นๆ ต่อเนื่อง โฟกัสกลุ่มทวีปที่สามารถทำอัตรากำไรได้ในระดับสูง ขณะที่ตลาดแคนาดาเริ่มมีออเดอร์เข้ามา อย่างไรก็ดี บริษัทได้รับอานิสงส์จากต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง โดยเซ็นสัญญาซื้อพริกและน้ำตาลล่วงหน้าในราคาที่เอื้อต่อการควบคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ           ด้านความคืบหน้าไลน์การผลิตใหม่ 1 ไลน์ ที่โรงงานเดิมที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ งบลงทุน 200 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ในช่วงของการทดสอบระบบ (Test  run) เเละคาดว่าจะเริ่มผลิตสินค้าส่งออกได้ในเดือนเม.ย. ปี 68 นี้ โดยไลน์การผลิตใหม่จะสามารถสร้างยอดขายได้ราว 1,000 ล้านบาทต่อปี ขณะที่แผนการก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่เลื่อนออกไปคาดจะเริ่มก่อสร้างปลายปี 68 นี้ โดยจะใช้เวลาก่อสร้างไม่เกิน 18 เดือน เพื่อขยายตลาดซอสส่งออกไปยังตลาดที่เป็นโอกาสต่อเนื่อง รับทิศทางอาหารไทย Kitchen of the world           ทั้งนี้ ภาพรวมผลการดำเนินงานในปี 2567 กลุ่มผลิตภัณฑ์หลักของ XO ยังคงเป็นกลุ่มซอสปรุงรสและน้ำจิ้ม คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 89.9% ของยอดขายบริษัท ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตรากำไรสูงที่สุด ในด้านการใช้อัตรากำลังการผลิต (Utilization Rate) ทำได้แตะระดับ 87.8% มีสัดส่วนลูกค้ากลุ่มหลักอยู่ในทวีปยุโรป 78.8% เติบโตขึ้นจากปีที่ผ่านมา รวมทั้ง ทวีปเอเชีย 7.2% และทวีปอเมริกาสัดส่วนลดลงอยู่ที่ 4.7% ของยอดขาย ซึ่งเป็นการปรับลดลงตามกลยุทธ์ที่วางไว้           ทั้งนี้ ในปี 67 บริษัทมีรายได้จากการขายสินค้า จำนวน 2,478.91 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 42.18 ล้านบาท คิดเป็น 1.67% โดยรายได้ปรับลดลงเล็กน้อย ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นจากการขายสินค้าในปี 67 ทำได้ 47.85% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีอัตรากำไรขั้นต้นจากการขายสินค้าเท่ากับ 46.76% โดยสาเหตุหลักมาจากการขยายตัวของตลาดหลักในทวีปยุโรปและทวีปอื่นๆ ต่อเนื่อง ขณะที่ สัดส่วนการขายสินค้าไปยังทวีปอเมริกาซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้นต่ำกว่าการขายไปยังทวีปยุโรปลดลง และการอ่อนค่าของสกุลเงินบาท ส่งผลให้บริษัทมีกำไรสุทธิในปี 67 เท่ากับ 790.76 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.73 จากงวดเดียวกันของปีก่อน โดยสาเหตุหลักเนื่องจากการลดลงของผลขาดทุนอื่น และการเพิ่มขึ้นของอัตรากำไรขั้นต้น           “แม้ว่ารายได้รวมและปริมาณการขายจะลดลงจาก 28,301 ตัน ในปี 66 เหลือ 25,511 ตัน ในปี 67 หรือลดลง 9.86% มาจากสัดส่วนการขายสินค้าไปยังทวีปอเมริกา แต่บริษัทสามารถควบคุมต้นทุนได้ดี ทำให้กำไรขั้นต้นยังคงเติบโตอยู่ที่ 47.85% สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ 45% ในด้านอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยอยู่ที่ 37.75 บาท/USD เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วอยู่ที่ 37.20 บาท/USD” นายจิตติพร กล่าว           นายจิตติพร กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับประเด็นที่นักลงทุนสงสัย เกี่ยวกับวิธีการจ่ายปันผลที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากบริษัทมี BOI ที่บัตรหมดอายุในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี จึงต้องจ่ายปันผลระหว่างกาลออกมาก่อน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นไม่ต้องจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% ส่งผลให้ XO มีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจำนวน 2 ครั้ง จากกำไรสะสมและผลการดำเนินงานประจำปี 67 จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน รวมในอัตราหุ้นละ 2.088 บาท คิดเป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 894.22 ล้านบาท ซึ่งเมื่อพิจารณาผลประกอบการของปี 67 กำไรสะสม และอัตราการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวรวมกัน ถึงนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทแล้ว           ส่วนประเด็นการขายหุ้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 68 ที่ผ่านมา คิดเป็น 1.2066% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ โดยจำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการจำหน่าย คิดเป็น 8.8263% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ ซึ่งยืนยันว่าไม่ได้ถูกบังคับขาย แต่มีความจำเป็นต้องใช้เงิน เนื่องจากมีความสนใจอยากซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง และไม่กระทบต่อการบริหารงาน [PR News]

พาย ยังแนะ

พาย ยังแนะ"ซื้อ" XO ออเดอร์ใหม่หนุนฟื้น

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) ระบุถึง XO ว่า ช่วงครึ่งแรกของปี 2568 (1H25) ยังไม่ใช่จังหวะที่ดี           เรามองว่าผลประกอบการของ XO ในช่วง 1H25 มีโอกาสลดลงอย่างมากจาก 1H24 เนื่องจากฐานที่สูงในปีก่อน อีกทั้งลูกค้าในสหรัฐฯ ยังไม่กลับมา รวมถึงลูกค้าหลักในยุโรปยังมีปัญหาสต๊อกสินค้าคงค้างจากการสั่งซื้อจำนวนมากในช่วงก่อนหน้านี้ เห็นได้จากยอดการส่งออกซอสพริกจากไทยในเดือนมกราคม ลดลงถึง 19% YoY อย่างไรก็ตาม เนื่องจากลักษณะธุรกิจของ XO มีคำสั่งซื้อที่มีระยะเวลาสั้น ๆ จึงมีโอกาสเห็นการฟื้นตัวได้เร็วหากลูกค้ากลับมา ทำให้ในแง่การลงทุน เราจึงยังคงแนะนำ "ซื้อ" โดยประเมินมูลค่าเหมาะสมใหม่ที่ 21.2 บาท (15.4x PER 25E) และปรับประมาณการกำไรปี 2568 ลงเหลือ 590 ล้านบาท (-25% YoY) โดยแนะนำให้ติดตามตัวเลขส่งออกซอสพริกรายเดือนก่อนเข้าลงทุน           XO ประกาศจ่ายปันผล 0.3888 บาท/หุ้น XD วันที่ 13 มีนาคม และจ่ายเงินปันผลวันที่ 27 มีนาคม ผลประกอบการ 4Q67 XO มีกำไรสุทธิ 134 ล้านบาท (-41% YoY, -15% QoQ) - กำไรลดลงแรงจากตลาดสหรัฐฯ ที่มีฐานสูงในปีก่อน และตลาดยุโรปที่ลูกค้าสั่งซื้อจำนวนมากตั้งแต่ต้นปี 2567 - รายได้ 510 ล้านบาท (-37% YoY, -8% QoQ) โดยลดลงแรงในตลาดสหรัฐฯ (-95% YoY) และยุโรป (-12% YoY) ขณะที่ตลาดอื่น เช่น ออสเตรเลียและเอเชีย ปรับตัวดีขึ้น (+35% YoY) - อัตรากำไรขั้นต้น 43% ลดลงจาก 46% ใน 4Q66 และ 47% ใน 3Q67 เนื่องจากปริมาณการผลิตลดลงและมีการให้ส่วนลดแก่คู่ค้าในช่วงปลายปี - ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 97 ล้านบาท (-20% YoY, +15% QoQ) ลดลงจากปีก่อนที่มีฐานสูง แต่เพิ่มขึ้นจาก 3Q67 เนื่องจากค่าใช้จ่ายผลตอบแทนพนักงาน - รวมทั้งปี 2567 XO มีกำไรสุทธิ 791 ล้านบาท (-15% YoY) แนวโน้มปี 2568           ผู้บริหาร XO ตั้งเป้าอัตรากำไรขั้นต้นไม่ต่ำกว่า 45% จากที่เคยทำได้ 47-48% ในช่วงปี 2566-2567 โดยได้รับผลกระทบจากต้นทุนพริกที่ปรับตัวสูงขึ้น และยอดขายจากสหรัฐฯ ที่ยังไม่กลับมา (ยอดขายในสหรัฐฯ ปี 2566 และ 2567 อยู่ที่ 577 ล้านบาท และ 117 ล้านบาท ตามลำดับ)           ด้านรายได้ ผู้บริหารจะรอดูผลประกอบการในช่วง 1H25 ก่อนประเมินการเติบโตอีกครั้ง ขณะที่การขยายกำลังการผลิต ไลน์ผลิตใหม่จะเริ่มในปี 2568 ส่วนโรงงานใหม่ยังคงแผนเดิมในการเปิดช่วงปลายปี 2568 คำแนะนำการลงทุน           เราคาดว่าผลประกอบการในช่วง 1Q25 จะลดลงจาก 1Q24 เนื่องจากฐานที่สูงและการส่งออกซอสพริกจากไทยในเดือนมกราคม 2568 ลดลง 19% YoY ทำให้เราปรับประมาณการกำไรปี 2568 ลงเหลือ 590 ล้านบาท (-25% YoY) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากธุรกิจของ XO มีคำสั่งซื้อระยะสั้น หากมีคำสั่งซื้อลูกค้ากลับมา อาจเห็นผลประกอบการฟื้นตัวได้           ดังนั้นเรายังคงแนะนำ "ซื้อ" แต่แนะนำให้ติดตามตัวเลขการส่งออกซอสพริกรายเดือนก่อนเข้าลงทุน โดยประเมินมูลค่าเหมาะสมที่ 21.2 บาท (15.4x PER 25E)           XO ประกาศจ่ายปันผล 0.388 บาท/หุ้น XD วันที่ 13 มีนาคม และจ่ายเงินปันผลวันที่ 27 มีนาคม

WARRIX เป้าขายปีนี้ 2 พันล. ใส่เกียร์ลุยออนไลน์มาร์จิ้นสูง

WARRIX เป้าขายปีนี้ 2 พันล. ใส่เกียร์ลุยออนไลน์มาร์จิ้นสูง

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง WARRIX Event ► ประชุมนักวิเคราะห์วันที่ 10 มี.ค. คงมุมมองเชิงบวก Our Takes ► บริษัทยังคงเป้ารายได้ปี 2026 ที่ 2,700 ล้านบาท (ประมาณการของเราคาดไว้ที่ 2,257 ล้านบาท) โดยตั้งเป้ารายได้ปี 2025 ที่ 2,000 ล้านบาท (+29% YoY) สูงกว่าประมาณการของเรา 6% โดยมี GPM ที่ไม่น้อยกว่า 50% เทียบกับประมาณการของเราที่ 49.2% และปี 2024 อยู่ที่ 49.0% ► ตลอดช่วง 3Q-4Q24 มีการเปลี่ยนตัวแทนบริหารคลังสินค้าที่หมดสัญญาไปเป็นรายใหม่ แต่ตัวแทนใหม่ไม่สามารถส่งสินค้าได้ทัน ทำให้ลูกค้ายกเลิกคำสั่งซื้อ ส่งผลให้รายได้ของบริษัทถูกกระทบจากประเด็นนี้เกือบ 200 ล้านบาท บริษัทจึงปรับแผนโดยเช่าคลังสินค้าและใช้รถขนส่งรวมถึงบุคลากรของบริษัทในการบริหารจัดการเอง โดยลงทุนราว 10 ล้านบาท ปัจจุบันเริ่มใช้ระบบกระจายสินค้าของบริษัทเองประมาณ 50% และจะครบ 100% ในวันที่ 1 พ.ค. นี้ เพื่อรองรับการเติบโตของช่องทางออนไลน์ ► บริษัทตั้งเป้ารายได้จากช่องทางออนไลน์ที่ 25% หรือราว 500 ล้านบาท เนื่องจากเป็นช่องทางที่มีความเป็น Seasonal น้อยกว่าสินค้าหน้าร้าน และมี GPM สูงกว่ากลุ่ม Traditional Trade ที่ต้องให้ส่วนลดค่อนข้างมาก ซึ่งจะช่วยให้ GPM สูงขึ้น ► การตั้ง JV ร่วมกับ KSL ซึ่งเป็นลูกค้ากลุ่ม Traditional Trade รายใหญ่ที่สุด 1 ใน 2 อันดับแรก โดยมียอดขายหลักจากการขายออนไลน์ และขายสินค้าของ WARRIX คิดเป็น 85% ของยอดขายทั้งหมด การ JV จะช่วยลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาลูกค้ารายใหญ่ นอกจากนี้ ธุรกิจทั้งหมดของ KSL จะมาอยู่ภายใต้ JV โดย KSL ถือหุ้น 49% ทำให้ WARRIX สามารถรวมงบการเงินของ JV ได้ ► บริษัทตั้งเป้ารายได้ทั้งปี 2025 ของ JV ที่ 250 ล้านบาท และกำไรสุทธิราว 20 – 30 ล้านบาท โดยเป็นส่วนของ WARRIX ประมาณ 51% (ซึ่งยังไม่รวมในประมาณการของเรา) และจะเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่ 2Q25 เป็นต้นไป ► นอกจาก KSL จะเป็นลูกค้ารายใหญ่ ยังเป็นลูกหนี้การค้ารายใหญ่เช่นกัน ซึ่งมีระยะเวลาเก็บหนี้นาน เนื่องจากจำนวนธุรกรรมค่อนข้างมาก และ KSL ยังไม่มีระบบที่ดีพอ ทำให้การเช็คยอดและการจ่ายหนี้ใช้เวลานาน ดังนั้น การตั้ง JV จะช่วยลดความเสี่ยงในการเก็บหนี้ เพราะกลายเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท โดย WARRIX จะมีกรรมการควบคุมการดำเนินงาน และการรวมงบการเงินจะไม่มีลูกหนี้การค้าส่วนนี้ ทำให้ระยะเวลาการเก็บหนี้ของ WARRIX ในงบการเงินรวมสั้นลงอย่างมีนัยสำคัญ ► ยอดขายสินค้า WARRIX ใน Outlet ของ Himaxx ในจีนค่อนข้างดี และมีแนวโน้มดีกว่าเป้าของ Himaxx โดยปัจจุบัน Himaxx มี Outlet จำนวน 24 แห่งในเซี่ยงไฮ้ และขายสินค้าของ WARRIX อยู่ใน 22 แห่ง นอกจากนี้ Himaxx มีแผนขยายสาขาเป็น 100 แห่งภายในสิ้นปีนี้ จากปัจจุบันที่มี 42 แห่ง ► ยอดขายสินค้าของ WARRIX ช่วงเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2024 อยู่ที่ 13 ล้านหยวน (ราว 60 ล้านบาท) ขณะที่ 2 เดือนแรกของปี 2025 มียอดขายไปแล้ว 106 ล้านบาท เทียบกับเป้าทั้งปีที่ 250 ล้านบาท ถือว่าทำได้ดีกว่าแผน โดย WARRIX จะเริ่มได้รับ Royalty Fee ในปี 2026 เป็นปีแรก ► สำหรับปี 2026 บริษัทมีแผนปรับกลยุทธ์ โดยจะไม่ส่งสินค้าจากไทยไปขายในจีนอีก เนื่องจาก Positioning สินค้าในจีนถูกวางในระดับ Premium หากนำเข้าสินค้าจากไทยไปขายในราคาที่แตกต่างกันมาก อาจทำให้ภาพลักษณ์เสียหาย บริษัทจึงมีแผนใช้ Sourcing จากผู้ผลิตเดียวกับ Himaxx เพื่อลดต้นทุน โดยจะเริ่มจากสินค้ากลุ่มเสื้อโปโลในช่วงกลางปี ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดต้นทุนได้ราว 10% ► รายได้ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2025 เติบโตไม่น้อยกว่า 20% YoY ขณะที่ 1Q24 เคยมีขาดทุนจากบริษัทในสิงคโปร์ แต่ใน 1Q25 ไม่มีผลกระทบดังกล่าว คาดว่ากำไร 1Q25 ควรเติบโตไม่น้อยกว่ารายได้ โดยประมาณการไว้ที่ราว 25 ล้านบาท +/– ► ราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายที่ PER ปี 2025 ต่ำเพียง 11.0 เท่า และหากพิจารณาประเด็นทั้งหมดข้างต้น จะเห็นได้ว่าประมาณการกำไรของเรามีโอกาสปรับขึ้นมากกว่าปรับลง คงคำแนะนำ: "ซื้อ"

[ภาพข่าว] PANEL ตั้งเป้ารายได้ปี 68 เติบโต 40% ลุยเปิดสาขาภูเก็ต มี.ค.นี้

[ภาพข่าว] PANEL ตั้งเป้ารายได้ปี 68 เติบโต 40% ลุยเปิดสาขาภูเก็ต มี.ค.นี้

           หุ้นวิชั่น - นางจูเลีย ดับเบิ้ลยู เพ็ชญไพศิษฎ์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วย นายสมศักดิ์ พริกบุญจันทร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินและบัญชี บมจ.เพเนเล่ส์มาติก โซลูชั่นส์ (PANEL) ถ่ายภาพร่วมกันภายหลังจากการนำเสนอข้อมูลผลการดำเนินงานไตรมาส 4/2568 ในงานบริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน (Opportunity Day) บนแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยโชว์ผลงานปี 2567 เติบโตต่อเนื่อง มีรายได้รวม 150 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% จากปีก่อน กำไรสุทธิ 20 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% จากปีก่อน และคณะกรรมการบริษัทฯ อนุมัติจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 0.02 บาท กำหนดขึ้น XD วันที่ 20 มีนาคม และรับเงินปันผลวันที่ 22 พฤษภาคม 2568  สำหรับปี 2568 ตั้งเป้ารายได้รวมเติบโต 40% พร้อมเดินหน้าเปิดสาขาภูเก็ตในเดือนมีนาคมนี้ โดยงานดังกล่าวจัดขึ้น ณ ห้องประชุมบริษัทฯ เมื่อเร็วๆ นี้

[Vision Exclusive] LTS ดาต้าเซ็นเตอร์-เอไอจัดเต็ม! ดันโต 50%

[Vision Exclusive] LTS ดาต้าเซ็นเตอร์-เอไอจัดเต็ม! ดันโต 50%

          หุ้นวิชั่น - ‘ภัฏ ตรัสโฆษิต’ บิ๊กบอส LTS ตั้งเป้ารายได้ปี 68 โต 50% พร้อมขยายฐานสมาร์ทโฮม เดินหน้าดาต้าเซ็นเตอร์-เอไอ ดัน New S-Curve หนุนโต เร่งปั๊มสัดส่วนแตะ 50% จากปีก่อน 33% จับตาโค้งแรก งานใหญ่จ่อร้อยล้านบาท           นายภัฏ ตรัสโฆษิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไลท์อัพ โทเทิล โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ LTS เปิดเผยกับทีมข่าวหุ้นวิชั่นว่า ผลประกอบการในปี 2567 เติบโตตามเป้าหมาย โดยมีรายได้ 472.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 80.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 156.1% การเติบโตมาจากกลุ่มธุรกิจไอทีและกลุ่มอุปกรณ์ส่องสว่างที่เติบโตทั้งสองกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มไอทีที่มีการเติบโตสูงจาก 1% ในปี 2566 มาเป็น 33% ในปี 2567           สำหรับแนวโน้มในปี 2568 บริษัทได้เพิ่มสินค้าสมาร์ทโฮมในกลุ่มอุปกรณ์ส่องสว่าง และคาดว่าจะมีการรับรู้ยอดขายมากขึ้น ขณะเดียวกันบริษัทกำลังเจรจาโครงการใหม่ที่มีมูลค่าราว 100 ล้านบาท และเตรียมส่งมอบงานให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง           ในส่วนของกลุ่มไอที คาดว่าในปี 2568 จะเติบโตจากการขยายตัวของกลุ่มดาต้าเซ็นเตอร์และเอไอ โดยจากปี 2567 บริษัทได้งานจำนวน 1 โครงการ และคาดว่าปีนี้จะมีโครงการเพิ่มขึ้นเป็น 3-4 โครงการ คาดว่าสัดส่วนรายได้จากกลุ่มไอทีจะขยับจาก 33% ไปเป็น 40-50% ในปีนี้ ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างเจรจา และคาดว่าจะได้ข้อสรุปบางส่วนในไตรมาส 1/2568 โดยมีมูลค่าอยู่ในหลักร้อยล้านบาท และเชื่อว่าตลอดทั้งปี 2568 จะมีงานเข้ามาอย่างต่อเนื่อง           คาดว่าในปี 2568 รายได้ของบริษัทจะเติบโตในระดับ 50% เนื่องจากบริษัทมีงานในมือหรือ Backlog ที่เพียงพอ รวมถึงมีแผนที่จะออกงานแสดงสินค้าสถาปนิกเพื่อขยายฐานสินค้ากลุ่มสมาร์ทโฮม           อนึ่ง ผลการดำเนินงานในปี 2567 เติบโตอย่างโดดเด่น โดยมีรายได้จากการขายและบริการ 472.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จากการขายและการให้บริการ 227.8 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นถึง 107.6% สะท้อนถึงศักยภาพการดำเนินธุรกิจของ LTS ที่แข็งแกร่ง           ทั้งกลุ่มธุรกิจจำหน่ายและติดตั้งอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าส่องสว่าง ซึ่งเป็นธุรกิจหลักที่ขยายตัวโดดเด่นตามแผนงานและความคืบหน้าโครงการก่อสร้างให้แก่ลูกค้าได้เป็นอย่างดี ขณะที่กลุ่มธุรกิจ IT ที่เกี่ยวข้องกับ DATA CENTER และ AI ที่เป็น New S Curve ของบริษัท เติบโตได้ก้าวกระโดด สอดคล้องแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานที่ต้องการรับรู้รายได้ในกลุ่มธุรกิจนี้เพิ่มขึ้น ประกอบกับการบริหารจัดการต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้กำไรสุทธิทั้งปีทำได้ 80.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 31.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 156.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

CPANEL แย้ม Q1/68 แนวโน้มดี เร่งส่งมอบงานโปรเจกต์รัฐ

CPANEL แย้ม Q1/68 แนวโน้มดี เร่งส่งมอบงานโปรเจกต์รัฐ

          CPANEL เผยทิศทางธุรกิจไตรมาส 1/2568 สัญญาณดี เตรียมส่งมอบงานโปรเจกต์รัฐ รับรู้รายได้เพิ่ม อยู่ระหว่างประมูลงานใหม่ มูลค่ารวมประมาณ 292 ล้านบาท วางเป้าเพิ่มสัดส่วนงานรัฐ 60% ภาคเอกชน 40% พร้อมบุกงานเอกชนหลากหลาย โรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม โรงพยาบาล โครงการอสังหาฯ ดัน Backlog แตะ 1,528.29 ล้านบาท หนุนภาพรวมธุรกิจกลับมาดีขึ้น ขณะที่ผลประกอบการปี 2567 รายได้รวม 247 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 3.8 ล้านบาท           นายชาคริต ทีปกรสุขเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีแพนเนล จำกัด (มหาชน) หรือ CPANEL ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป (Precast Concrete) ด้วยระบบอัตโนมัติ (Fully Automated Precast) ที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ทิศทางธุรกิจในไตรมาส 1/2568  จะปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากบริษัทฯ ได้รับงานโครงการภาครัฐมูลค่ารวม 288.65 ล้านบาท โดยเริ่มทยอยส่งมอบงาน และรับรู้รายได้เข้ามาเพิ่ม ตั้งแต่ไตรมาส 1/2568  - 3/2568 ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ภาพรวมธุรกิจของบริษัทฯ กลับมาดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง           อีกทั้ง อยู่ระหว่างการประมูลงานใหม่มูลค่าประมาณ 292 ล้านบาท โดยหากได้รับงานดังกล่าว จะช่วยสนับสนุนให้มูลค่างานในมือ (Backlog) เพิ่มขึ้นอีก ปัจจุบัน บริษัทมีมูลค่างานในมือ (Backlog) อยู่ที่ 1,528.29ล้านบาท           ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนงานภาครัฐเป็น 60% โดยมุ่งเน้นการขยายฐานลูกค้าในกลุ่มงาน อาทิ งานอาคารที่พักราชการ งานอาคารโรงเรียนและงานภาคเอกชน 40%  อาทิ โรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม โรงพยาบาล และโครงการอสังหาริมทรัพย์ แนวสูง - แนวราบ ลดความเสี่ยงจากความผันผวนจากสภาวะเศรษฐกิจ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว           “อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานอย่างเต็มที่ เพื่อรักษาการเติบโตของรายได้และผลกำไรอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป (Precast Concrete) มาตรฐานสูง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเดิมและใหม่ สนับสนุนยอดขายสร้างการเติบโตของบริษัทฯ ในระยะยาว” นายชาคริต กล่าว           สำหรับผลประกอบการปี 2567 บริษัทมีรายได้รวม 247 ล้านบาท และมีขาดทุนสุทธิ 3.8 ล้านบาท [PR News]

[ภาพข่าว]

[ภาพข่าว] "KJL" จัดสัมมนา "รวมพลคนไฟฟ้า ON TOUR"

           บริษัท กิจเจริญ เอ็นจิเนียริ่ง อีเลคทริค จำกัด (มหาชน) หรือ KJL ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย ตู้ไฟ รางไฟ อันดับหนึ่ง ที่ช่างไฟเชื่อมั่นในประสบการณ์กว่า 36 ปี ได้จัดงานสัมมนา “KJL รวมพลคนไฟฟ้า” จัดกิจกรรมเชิงวิชาการ ที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการติดตั้งระบบไฟฟ้าอย่างถูกต้อง เพื่อยกระดับความปลอดภัย และเพิ่มศักยภาพให้แก่ช่างไฟฟ้า วิศวกร หรือ ผู้ออกแบบ ทั่วประเทศ            กิจกรรมในครั้งนี้ ทางบริษัทฯ ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสองท่าน อย่างอาจารย์ลือชัย ทองนิล เลขาธิการสภาวิศวกร และอาจารย์สุธี ปิ่นไพสิฐ อดีตผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมโครงสร้างและงานระบบกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ขึ้นบรรยายเรื่องการติดตั้งไฟฟ้าอย่างมืออาชีพ พร้อมอัพเดทคู่มือและมาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้า (วสท.) ฉบับปี 2568 ทั้งนี้ทาง KJL ได้รับผ่านการรับรองการเป็นองค์กรแม่ข่ายจากสภาวิศวกรเรียบร้อยแล้ว วิศวกรที่ผ่านการอบรมในครั้งนี้ครบ 6 ชั่วโมงเต็มจะได้รับคะแนน CPD 6 คะแนนโดยอัตโนมัติ            โดยวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 บริษัทฯ ได้จัดงานสัมมนา KJL รวมพลคนไฟฟ้าขึ้น ณ โรงแรม     แกรนด์ริชมอนด์ และได้กระแสตอบรับที่ดีจากผู้เข้าร่วมงานกว่า 700 คน นอกจากนี้จะวางแผนจัดงานสัมมนาต่อไป ที่จังหวัดภูเก็ต ในวันที่ 26 มีนาคม 2568 เพื่อทำตามวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ ที่ จะยกระดับความปลอดภัย และเพิ่มศักยภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่แวดวงวิศวกรรมต่อไป            แล้วพบกันครั้งต่อไป KJL “สัมมนารวมพลคนไฟฟ้า” ON TOUR ที่ จ.ภูเก็ต ในเดือนมีนาคม 2568 ที่จะถึงนี้ !!

AUCT ดีมานด์รถมือสองคึกคัก ลุยจับมือไฟแนนซ์เปิดประมูล

AUCT ดีมานด์รถมือสองคึกคัก ลุยจับมือไฟแนนซ์เปิดประมูล

           บมจ.สหการประมูล (AUCT) เผยความต้องการซื้อรถยนต์มือสองดันตลาดภูมิภาคมีแนวโน้มเติบโต จับ มือไฟแนนซ์เปิดประมูลขายทุกวันไม่มีวันหยุด ยืนยันตลาดมีการแข่งขันสูงมั่นใจบริการมาตรฐานเดียวกันทุกสาขาทั่วประเทศ            นายสุธี สมาธิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สหการประมูล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตลาดประมูลรถยนต์ มือสองมีแนวโน้มการแข่งขันเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการพัฒนาบริการต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้าทั้งผู้ซื้อและผู้ขายให้ได้รับ ความพึงพอใจสูงสุด ที่ผ่านมาสหการประมูลได้ให้ความสำคัญกับเรื่องบริการเพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีใน การประมูลซื้อรถยนต์ ทั้งลานประมูลสำนักงานใหญ่ ทั้งสาขารังสิต-คลอง 8 และลานประมูลทั่วประเทศ ให้ได้รับบริการ มาตรฐานเดียวกัน จึงทำให้การประมูลซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์มือสองจากจุดบริการในภูมิภาคต่าง ๆ มี แนวโน้มการเติบโตที่ดี เพราะนอกจากปัจจัยด้านบริการที่มีการพัฒนาแล้วความต้องการซื้อรถยนต์มือสองใน จังหวัดต่าง ๆ ยังมีอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากราคาที่ประหยัดกว่าการซื้อรถยนต์ใหม่เป็นปัจจัยสำคัญที่ตลาดประมูล รถยนต์ต่างจังหวัดมีความคึกคักอย่างต่อเนื่อง            “เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของตลาด ทุก ๆ เดือนบริษัทฯ ร่วมมือกับไฟแนนซ์ต่าง ๆ นำรถยนต์ และรถจักรยานยนต์มือสองที่ผ่านการประเมินและจัดเกรดระบุคุณภาพ มาเปิดประมูลขายทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดย เดือนมีนาคม 2568 นี้บริษัทฯ ได้จัดให้มีกิจกรรมประมูลในภูมิภาคต่าง ๆกระจายกันทุกวันไม่มีวันหยุด เนื่องจากมีสาขาบริการ ตั้งอยู่ในจังหวัดที่เป็นเมืองศูนย์กลางของภูมิภาคจำนวน 13 สาขา เช่น ที่จังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา อุบลราชธานี นครราชสีมา อุดรธานี ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง ราชบุรี สุราษฎร์ธานี รังสิต-คลอง8 และสำนักงานใหญ่ โดยในแต่ละจังหวัดได้จัดให้มีการประมูลขายทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์มือสองไม่ต่ำกว่า 300 คัน” นายสุธีกล่าว            กรรมการผู้จัดการ บริษัท สหการประมูล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยเพิ่มเติมว่า สหการประมูลมีความพร้อม เพื่อเปิดให้บริการประมูลซื้อ-ขายรถยนต์มือสองทุกวัน แม้ว่าสำนักงานใหญ่จะหยุดบริการวันอาทิตย์ แต่ลูกค้า สามารถไปใช้บริการได้ที่สาขารังสิต-คลอง8 ส่วนลูกค้าที่อยู่ต่างจังหวัดสามารถเลือกใช้บริการได้ที่สาขาที่อยู่ใกล้ บ้าน อย่างไรก็ตาม หากไม่สะดวกในการเดินทางไปประมูลที่สาขาสามารถลงทะเบียนเพื่อใช้บริการประมูลออนไลน์ ได้ทั่วประเทศ สำหรับผู้ที่ต้องการทราบว่าในเดือนมีนาคม 2568 นี้แต่ละสาขาเปิดประมูลวันไหนบ้างสอบถาม ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02-033-6555 หรือดูรายการประมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.auct.co.th [PR News]

[ภาพข่าว] PRAPAT ออกบูธงาน “THAIFEX HOREC ASIA 2025

[ภาพข่าว] PRAPAT ออกบูธงาน “THAIFEX HOREC ASIA 2025

           นายวีระพงค์ ลือสกุล รองประธานบริษัท  นายสุกานต์ อินทรสูต ประธานเจ้าหน้าที่การตลาด และ นางสาวอภิสรา เกตุนุติ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาด บริษัท พีรพัฒน์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ PRAPAT  ร่วมออกบูธงาน “THAIFEX HOREC ASIA 2025” นำผลิตภัณฑ์เครื่องจักร เคมีภัณฑ์ จัดแสดงภายในงานสำหรับบริการธุรกิจโรงแรม โรงพยาบาล ร้านอาหาร  เป็นต้น ภายใต้ธีม “Food Service Solutions for Sustainable Future” โดยจัดสรรพื้นที่แสดงสินค้ากว่า 36 ตารางเมตรภายในงาน และเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดนำมาจัดแสดงและสาธิตภายในงาน อาทิ เช่น ระบบเครื่องย่อยเศษอาหาร แบรนด์ ShooShoke   เตาอบ Combi Oven 6 ชั้น GN1/1  , เครื่องขัดด้านพื้น แบรนด์ Peerapat รุ่น Mini S รวมไปถึงจัดกิจกรรมสาธิตการทำอาหารโดยใช้เตาอบ COMBI OVEN รุ่น OKFE 101 แบรนด์ Ozti นำเข้าจากประเทศตุรเคีย (Turkiye) พร้อมเสิร์ฟน้ำส้มคั้นสด 100% จากเครื่องคั้นน้ำส้มอัตโนมัติ แบรนด์ Zumex นำเข้าจากประเทศสเปน ระหว่างวันที่ 5-7 มีนาคม 2568 เวลา 10.00-18.00 นาฬิกา ณ บูธ 11-Y14 ฮอลล์ 11  อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็คเมืองทองธานี

XO ปักหมุดมาร์จิ้น 45% ปั๊มยอดขายโตไม่หยุด

XO ปักหมุดมาร์จิ้น 45% ปั๊มยอดขายโตไม่หยุด

                 หุ้นวิชั่น - XO ขอรักษาอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ที่ระดับ 45% ชี้อาหารไทยฮอตติดเทรนด์โลก ด้านบอสใหญ่ "จิตติพร จันทรัช" จับตาอเมริกาเก็บภาษี 25% ลั่นไม่กระทบ! ตลาดหลักอยู่ที่แคนาดา พร้อมปรับกลยุทธ์รับมือสถานการณ์ ปักธงยอดขายปี 68 ไม่น้อยกว่าปี 67 ที่ 2,479 ล้านบาท                  นายจิตติพร จันทรัช กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็กโซติค ฟู้ด จำกัด (มหาชน) หรือ XO เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้าอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ไว้ที่ระดับ 45% พร้อมคาดการณ์ว่าผลประกอบการปี 2568 จะไม่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา โดยมองว่าอาหารไทยและดีมานด์การรับประทานซอสปรุงรสยังคงเป็นกระแสระดับโลก เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและการขยายตัวในตลาดส่งออก ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เด่นของปีนี้ยังคงเป็นซอสพริกศรีราชา                  ด้านตลาดต่างประเทศต้องจับตา โดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกามียอดขายลดลงในช่วงปลายปีที่ผ่านมา และในปีนี้ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสหรัฐฯ ได้มีการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะแคนาดาและเม็กซิโก ที่ถูกเรียกเก็บภาษีสูงถึง 25% อย่างไรก็ตาม มองว่าสถานการณ์ดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบมากนัก เนื่องจากตลาดหลักอย่างแคนาดายังคงมีการนำเข้าสินค้าอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงต้องเฝ้าระวัง ทั้งนี้ ยืนยันว่าไม่ได้ละทิ้งตลาดอเมริกา แต่ต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูและปรับกลยุทธ์เพื่อรองรับสถานการณ์                  สำหรับเป้าหมายรายได้ บริษัทคาดว่าจะเติบโตไม่น้อยกว่าปีที่แล้ว โดยรายได้ในไตรมาสแรกของปีนี้ คาดการณ์ว่าจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสแรกของปี 2567 แม้ว่าตลาดอเมริกาจะชะลอตัว แต่ยอดขายในตลาดอื่น ๆ ยังคงแข็งแกร่ง ซึ่งต้องติดตามผลประกอบการในไตรมาสที่ 2 ของปี 2568 เพื่อประเมินแนวโน้มรายได้โดยรวมอีกครั้ง ในส่วนของกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ บริษัทวางแผนลดจำนวนกลุ่มผลิตภัณฑ์จาก 4 กลุ่ม ให้เหลือ 3 กลุ่ม โดยจะยุติกลุ่ม Ready Meal แต่จะเพิ่มสินค้าในหมวดอื่นแทน ขณะเดียวกัน มีแผนสร้างโรงงานแห่งใหม่ภายในปีนี้                  อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ยังตั้งเป้าหมายบรรลุแผน Net Zero ภายในปี 2593 โดยขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการแล้ว สำหรับตลาดยุโรป ความต้องการยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคที่นิยมรับประทานอาหารรสเผ็ด ส่วนตลาดนิวซีแลนด์ยังคงมีแนวโน้มเติบโตดี นอกจากนี้ บริษัทได้เดินหน้ากลยุทธ์การตลาดผ่านสื่อบันเทิง โดยเฉพาะการโปรโมตผลิตภัณฑ์ผ่านซีรีย์เกาหลี ซึ่งเป็นที่นิยมในระดับสากล                  นายจิตติพร ชี้แจงกรณีการขายหุ้นของตนเองว่า เป็นไปตามความจำเป็นส่วนตัว เนื่องจากต้องการใช้เงินซื้อที่ดิน ไม่ได้ถูกบังคับให้ขาย (Force Sell) แต่อย่างใด                  สำหรับผลประกอบการปี 2567 มียอดขายครอบคลุมกว่า 70 ประเทศทั่วโลก โดยมีรายได้รวม 2,479 ล้านบาท กำไรสุทธิ 790.76 ล้านบาท และมียอดจำหน่ายสินค้ารวม 25,511 ตัน สะท้อนถึงการเติบโตของบริษัทในระดับสากล

BBIK คลาวด์ - AI หนุนแกร่ง เคาะเป้า 45.70 บาท แนะ

BBIK คลาวด์ - AI หนุนแกร่ง เคาะเป้า 45.70 บาท แนะ "ซื้อ"

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุถึง BBIK ว่า ธนาคารไร้สาขา, คลาวด์ และ AI คือปัจจัยหนุนการเติบโตปี 68-69 คงคำแนะนำ "ซื้อ" แต่ปรับลดราคาเป้าหมายลงเป็น 45.70 บาท           เรายังคงคำแนะนำ "ซื้อ" สำหรับ BBIK เนื่องจากคาดการณ์อัตราการเติบโตเฉลี่ยของกำไรหลักปี 67-69 ที่ 25% CAGR และ BBIK มี PEG เพียง 0.9 เท่า (อิงจาก P/E ปี 67 ที่ 22x และอัตราการเติบโตเฉลี่ยของกำไรหลักปี 67-69) โดยปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตในปี 68-69 ได้แก่ การลงทุนในธนาคารไร้สาขา, การย้ายระบบลูกค้าสู่คลาวด์, การนำ AI มาใช้เพิ่มขึ้น และโครงการภาครัฐ หลังจากกำไรหลักทำจุดสูงสุดใหม่ใน 4Q67 เราคาดว่ากำไรหลัก 1-2Q68 จะยังคงเติบโตแข็งแกร่ง YoY อย่างไรก็ตามเราปรับลดราคาเป้าหมายที่อิงวิธี DCF ลงเป็น 45.70 บาท (WACC 10%, TG 3%) จากเดิม 50.10 บาท หลังปรับลดประมาณการกำไรปี 70-73 ลง ปรับลดประมาณการกำไรหลักปี 70 ลง 5% แม้ประมาณการกำไรปี 68-69 ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่เราปรับลดประมาณการกำไรหลักปี 70 ลง 5% เพื่อสะท้อนแนวโน้มความต้องการบริการด้านเทคโนโลยีจากกลุ่มธนาคารที่อาจลดลง โดยคาดว่าความต้องการจากอุตสาหกรรมธนาคารจะเริ่มลดลงหลังกลางปี 69 เมื่อโครงการพัฒนาธนาคารไร้สาขาได้การลงระบบเสร็จแล้ว การปรับประมาณการครั้งนี้ส่งผลให้อัตราการเติบโตของกำไรหลักจะชะลอลงจาก 25% ต่อปีในปี 68-69 เหลือ 16% ในปี 70 แนวโน้มปี 68-69 แข็งแกร่งจาก 4 ปัจจัยหนุน เราคาดว่ากำไรหลักจะเติบโตเฉลี่ย 25% ต่อปีในปี 68-69 โดยได้รับแรงหนุนจาก 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ความต้องการจากธนาคารที่เพิ่มขึ้น – โดยมีธนาคาร 4 แห่งที่ต้องอัปเกรด/เปลี่ยนระบบ Core Banking ใน 1-2 ปีข้างหน้า และการลงทุนในธนาคารไร้สาขาจะเริ่มกลางปี 68 การย้ายระบบขึ้นคลาวด์ – การลงทุนในดาต้าเซ็นเตอร์ที่เพิ่มขึ้นในไทยช่วยลดค่าความหน่วง (Latency) ในการใช้งานระบบคลาวด์ การใช้ AI ที่เพิ่มขึ้น – ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของลูกค้า โครงการภาครัฐ แนวโน้มระยะสั้นยังคงแข็งแกร่ง           BBIK รายงานกำไรหลัก 4Q67 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 103 ล้านบาท (+29% YoY, +17% QoQ) เราคาดว่ากำไรหลัก 1-2Q68 จะยังเติบโต YoY จากการชนะประมูลโครงการที่แข็งแกร่งและอัตราการใช้พนักงาน (staff utilisation) ที่ Vulcan สูงขึ้น ทั้งนี้ในช่วง ม.ค.-ก.พ. 68 บริษัทจำเป็นต้องปฏิเสธบางโครงการจากลูกค้าเนื่องจากมีบุคลากรไม่พอรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้เราคาดว่าแนวโน้มรายไตรมาสยังคงแข็งแกร่งต่อเนื่องใน 3-4Q68 จากการที่ธนาคารไร้สาขาเริ่มลงทุนในช่วงกลางปี 68

TRP โรงพยาบาลใหม่หนุน โกลเบล็ก ให้เป้า 8.60 บ.

TRP โรงพยาบาลใหม่หนุน โกลเบล็ก ให้เป้า 8.60 บ.

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด ระบุถึง TRP ว่า กำไร 4Q67 หดตัว 27% YoY และ 14% QoQ           รายงานกำไร 4Q67 ที่ 33 ลบ. หดตัว 27% YoY และ 14% QoQ โดยรายได้เติบโต 1% QoQ แต่หดตัว 20% YoY สู่ 133 ลบ. จากลูกค้าเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นหลังการแพร่ระบาด COVID-19 สิ้นสุดลง ทำให้การทำศัลยกรรมลดลง ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวลงจาก 53.2% ในไตรมาสก่อนสู่ 52.4% เนื่องจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ต้นทุนยา และเวชภัณฑ์เพิ่มขึ้น ด้านค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารทรงตัวที่ระดับ 33 ลบ. ใกล้เคียงไตรมาสก่อน ทั้งนี้ รายงานกำไรปี 67 ที่ 139 ลบ. -28% YoY และต่ำกว่าที่เราคาด 5% ปรับลดประมาณการรายได้และกำไรปี 68 ลง 6% และ 7% ตามลำดับ           เราคาดรายได้ 1H68 อ่อนตัวจาก 1H67 ที่มีฐานสูงใน 1Q67 แต่หากเทียบกับ 2H67 จะทรงตัว โดยคาดว่ารายได้จะเร่งตัวขึ้นใน 2H68 เนื่องจากเตรียมออกบริการใหม่ และมีแผนย้ายการให้บริการทั้งหมดจากธีรพรคลินิกไปยังโรงพยาบาลธีรพรใน 2Q68 (ล่าช้าจาก 1Q68) โดยบริษัทได้เพิ่มบุคลากรทางการแพทย์ในปี 67 อีก 5 ท่าน รวมมีบุคลากรทางการแพทย์ 26 ท่านเพื่อรองรับการเปิดโรงพยาบาลธีรพร ทั้งนี้ เราปรับลดคาดการณ์รายได้ปี 68 จาก 593 ลบ. เหลือ 560 ลบ. ลดลง 6% แต่เติบโต 5% จากปีก่อน และปรับลดกำไรจาก 153 ลบ. เหลือ 143 ลบ. ลดลง 7% แต่เติบโต 7% จากปีก่อน โดยได้แรงหนุนจาก 1. การออกผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ให้ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย 2. การสร้าง Branding รักษาฐานลูกค้า 3. การเพิ่มยอดการใช้จ่ายของลูกค้าที่เข้ารับบริการทั้งการขายหัตถการอื่น ๆ 4. คาดโรงพยาบาลแห่งใหม่จะแล้วเสร็จภายใน 2Q68 เป็นปัจจัยหนุนผลประกอบการเพิ่มเติม คงคำแนะนำ “ซื้อ” แต่ปรับลดราคาเหมาะสมสู่ 8.60 บาท           ฝ่ายวิจัยประเมินราคาเหมาะสมด้วยวิธี Prospective PER โดยใช้ค่าเฉลี่ย PE Ratio ย้อนหลัง 1 ปี ได้ค่าเฉลี่ย 20 เท่า และเราคาดการณ์กำไรต่อหุ้นปี 2568 อยู่ที่ราว 0.43 บาทต่อหุ้น คำนวณเป็นราคาเหมาะสมปี 2568 ได้ 8.60 บาทต่อหุ้น ลดลงจากราคาเหมาะสมครั้งก่อนที่ 10.80 บาทต่อหุ้น           อย่างไรก็ตาม บริษัทประกาศจ่ายปันผล 0.20 บาทต่อหุ้น คิดเป็นอัตราผลตอบแทน 2.7% ต่อปี และการประกาศซื้อหุ้นคืน 14 ล้านหุ้น ในวงเงินไม่เกิน 120 ลบ. ช่วง 3 มี.ค. - 2 ก.ย. 68 ช่วยหนุนต่อราคาหุ้น เราจึงคงคำแนะนำ “ซื้อ”

‘ลงทุนแมน’ เล็งโรดโชว์ 14 มี.ค.  โชว์วิสัยทัศน์ผู้นำ WealthTech

‘ลงทุนแมน’ เล็งโรดโชว์ 14 มี.ค. โชว์วิสัยทัศน์ผู้นำ WealthTech

           หุ้นวิชั่น - LTMH เตรียมพบนักลงทุนก่อน IPO ในงานโรดโชว์ 14 มี.ค. นี้ เปิดวิสัยทัศน์จาก “ลงทุนแมน” สู่ธุรกิจ WealthTech ต่อยอดระบบนิเวศธุรกิจที่แข็งแกร่ง            บริษัท แอลทีเอ็มเอช จำกัด (มหาชน) หรือ LTMH ผู้นำสื่อการลงทุน ธุรกิจ และการเงิน ที่มีแบรนด์เรือธงอย่าง “ลงทุนแมน” ที่เตรียมนับถอยหลังเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) โดยบริษัทฯ ได้เตรียมจัดงานโรดโชว์ ในวันศุกร์ที่ 14 มีนาคม 2568 ตั้งแต่เวลา 10.00 - 12.00 น. นักลงทุนสามารถรับชมผ่านทาง Facebook Page ลงทุนแมน และ Youtube ลงทุนแมน             นายธณัฐ เตชะเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอลทีเอ็มเอช จำกัด (มหาชน) หรือ LTMH พร้อมด้วย “นายสมภพ กีระสุนทรพงษ์” กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่าย และรับประกันการจำหน่ายร่วมกันนำเสนอภาพรวมการดำเนินธุรกิจ พร้อมโชว์วิสัยทัศน์ในการสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจ (Ecosystem) ที่แข็งแกร่ง รวมถึงกางแผนธุรกิจบริการด้านเทคโนโลยีบริหารความมั่งคั่ง (WealthTech) ภายใต้ชื่อ WealthX ที่จะเพิ่มโอกาสให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนที่ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น และสามารถรักษาหรือยกระดับความมั่งคั่งได้มากขึ้น            การก้าวสู่ตลาดทุนของ LTMH สะท้อนให้เห็นถึงรากฐานองค์กรที่แข็งแกร่ง ผ่านธุรกิจในเครือที่มีความหลากหลาย ที่สำคัญการเข้าสู่ตลาดทุนในครั้งนี้ จะทำให้ LTMH มีฐานเงินทุนที่มากขึ้น เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดธุรกิจ WealthTech ที่มีโอกาสเติบโตสูงในอนาคต            สำหรับนักลงทุนที่สนใจหุ้น IPO “LTMH” โดยเฉพาะท่านที่เคยติดตามอ่านเพจ “ลงทุนแมน” เล่าเรื่องราวธุรกิจต่าง ๆ มาหลายปี ในวันที่ 14 มี.ค. 2568 นี้ ถือเป็นโอกาสพิเศษที่ท่านจะได้รับฟังเส้นทางการเติบโตของ "ลงทุนแมน" จากเพจให้ความรู้ทางการเงินเล็ก ๆ ที่ได้เติบโตขึ้นมาเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีความหลากหลาย และล่าสุดกำลังเบนเข็มธุรกิจเข้าสู่นวัตกรรมทางการเงินที่ทันสมัย ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนอยู่ภายใต้วิสัยทัศน์ในการสร้างระบบนิเวศทางการเงินที่ครบวงจร เพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสทางการลงทุน และสร้างความมั่งคั่งได้อย่างยั่งยืน            รับชมการถ่ายทอดสดได้ที่ Facebook และ Youtube : ลงทุนแมน [PR News]

[Vision Exclusive] HPT ปั๊มรายได้ปี 68 โตแรง! กอด Backlog แน่น 100 ลบ.

[Vision Exclusive] HPT ปั๊มรายได้ปี 68 โตแรง! กอด Backlog แน่น 100 ลบ.

            หุ้นวิชั่น - HPT ใส่เกียร์ปั๊มรายได้ปี 68 โตต่อ 20-40% อัพกำลังผลิตสโตนแวร์เกือบ 100% เดินเครื่องผลิตเต็มกำลัง รับดีมานด์แน่น ด้านแม่ทัพหญิง "นิจวรรณ เชาว์กิตติโสภณ" เล็งรักษาอัตรากำไรที่ระดับ 30% กอด Backlog เต็มหน้าตัก 100 ล้านบาท จ่อส่งมอบตามแผน             นางสาวนิจวรรณ เชาว์กิตติโสภณ รองประธานกรรมการบริหารและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท โฮม พอตเทอรี่ จำกัด (มหาชน) หรือ HPT เปิดเผยกับ ทีมข่าวหุ้นวิชั่น ว่า ผลประกอบการปี 2567 เป็นไปตามเป้าหมาย โดยบริษัทมีกำไรสุทธิ 29.94 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ซึ่งอยู่ที่ 23.63 ล้านบาท หรือเติบโต 26.70% ขณะที่รายได้รวมอยู่ที่ 302.90 ล้านบาท             สำหรับ ทิศทางธุรกิจปี 2568 บริษัทตั้งเป้ารายได้รวมเติบโต 20-40% โดยมีปัจจัยหลักมาจาก การขยายกำลังผลิตและจำหน่ายสโตนแวร์ ซึ่งบริษัทมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตเกือบ 100% ในปีนี้ พร้อมคาดว่า อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin: GPM) จะอยู่ที่ระดับ 25-30% จากบริหารจัดการต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต             ปัจจุบันบริษัทมีงานในมือ (Backlog) ณ สิ้นปี 2567 อยู่ที่ 100 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยส่งมอบให้กับลูกค้าภายใน 2-3 เดือนข้างหน้า             HPT มีแผนขยายตลาดไปยัง ออสเตรเลีย และเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในกลุ่ม เอเชีย เนื่องจากทั้งสองภูมิภาคยังมี ส่วนแบ่งตลาดที่ไม่มากนัก ขณะที่ลูกค้าหลักของบริษัทส่วนใหญ่อยู่ใน ยุโรป บริษัทคาดว่าในปี 2568 สัดส่วนยอดขายจะแบ่งเป็น 15% ในประเทศ และ 85% จากต่างประเทศ ซึ่งสะท้อนโอกาสการเติบโตจากตลาดส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง             ขณะเดียวกัน ในปี 2567 บริษัทได้ เพิ่มกำลังการผลิตในส่วนของไฟน์ไชน่า โดยเพิ่มกระบวนการเผาอีก 10-15% และในปี 2568 บริษัทเตรียมเดินเครื่องผลิต เต็มกำลัง ครอบคลุมทั้ง ไฟน์ไชน่าและสโตนแวร์ เพื่อรองรับ ความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง             การจำหน่ายภายในประเทศของ HPT ดำเนินการผ่าน บริษัท เซ็นทรัล ฮอสพิแทลลิที จำกัด (CHL) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้น 98% โดย CHL ดำเนินธุรกิจ จัดจำหน่ายอุปกรณ์ครัวครบวงจร ภายใต้สโลแกน “ครบพร้อมสำหรับธุรกิจด้านอาหาร” และมีแผนขยายฐานลูกค้าในตลาดไทยให้กว้างขึ้น เพื่อเพิ่มยอดขายและ สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน             ด้วยกลยุทธ์การ ขยายกำลังผลิตและตลาดส่งออกที่เข้มแข็ง บริษัทเชื่อว่าปี 2568 จะเป็นอีกปีที่สามารถ รักษาการเติบโตและขยายฐานลูกค้าทั้งในและต่างประเทศได้อย่างมีนัยสำคัญ รายงานโดย: มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

โกลเบล็กทำนายแม่น ATP30 - AU มาตามนัด

โกลเบล็กทำนายแม่น ATP30 - AU มาตามนัด

          หุ้นวิชั่น – บล.โกลเบล็ก เคาะหุ้นผลงานเด่น ATP30 กำไรโต 57.11% มาตามคาดการณ์ ชี้ศักยภาพเติบโตต่อ รับอานิสงส์ EEC ขยายตัว โชว์ Backlog 1,943 ล้านบาท พร้อมแผนเพิ่มรถไฟฟ้าอีก 21 คัน ด้าน AU กำไรพุ่ง 66% เตรียมขยายสาขาใหม่ 7-10 แห่ง เพิ่มโอกาสสร้างรายได้ แนะนำ "ซื้อ" ให้ราคาเหมาะสม 13.50 บาท           นางสาววิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด (GBS) เปิดเผยกับทีมข่าวหุ้นวิชั่น ว่า จากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ที่ประกาศผลประกอบการปี 2567 พบว่า บริษัท เอทีพี 30 จำกัด (มหาชน) หรือ ATP30 และ บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) หรือ AU รายงานผลประกอบการออกมาตามที่ฝ่ายวิเคราะห์คาดการณ์           ATP30 รายงานผลประกอบการปี 2567 มีรายได้รวม 730.61 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 45.53 ล้านบาท เติบโต 57.11% จากปี 2566 โดยฝ่ายวิเคราะห์มีมุมมองเชิงบวกต่อศักยภาพการเติบโตของรายได้จากการให้บริการรถรับส่งพนักงานในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งครอบคลุมจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง โดยบริษัทมีแนวโน้มได้รับอานิสงส์จากมาตรการ EEC Free Visa รวมถึงการขยายฐานการผลิตของภาคอุตสาหกรรมสู่พื้นที่ดังกล่าว           ขณะนี้ฝ่ายวิเคราะห์อยู่ระหว่างการปรับปรุงบทวิเคราะห์และแนวโน้มการเติบโตของ ATP30 ในปี 2568 โดยก่อนหน้านี้ได้ให้ราคาเหมาะสมที่ 1.25 บาท พร้อมคงคำแนะนำ "ซื้อ"           โดย ณ สิ้นปี 2567 บริษัทได้ให้บริการลูกค้า 65 รายด้วยรถโดยสารให้บริการจำนวน 729 คัน ประกอบด้วย รถบัสจำนวน 277 คัน, รถมินิบัสจำนวน 51 คัน, รถตู้จำนวน 383 คัน, รถกระบะจำนวน 2 คัน และรถไฟฟ้าจำนวน 16 คัน อาทิ รถตู้มินิแวนจำนวน 3 คัน, รถบัสไฟฟ้าจำนวน 3 คัน และรถมินิบัสไฟฟ้าจำนวน 10 คัน นอกจากนี้บริษัทมี Backlog มูลค่า 1,943.00 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ในอนาคต พร้อมแผนขยายกองรถบัสไฟฟ้าเพิ่มอีก 21 คันในปี 2568           ส่วน AU ประกาศผลประกอบการปี 2567 มีรายได้ 1,603.14 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 296.20 ล้าน เพิ่มขึ้น 118 ล้านบาท หรือเติบโต 66% จากปี 2566  ฝ่ายวิเคราะห์คาดการณ์รายได้และกำไรปี 2568 อยู่ที่ 1,810 ล้านบาท (+14% YoY) และ 332 ล้านบาท (+12% YoY) ตามลำดับ โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลัก 2 ประการ ได้แก่ (1) การขยายสาขา After You ราว 7-10 สาขา ส่งผลให้มีสาขารวม 70-73 แห่ง และ (2) การรับรู้รายได้จากการวางขายสินค้าในร้าน 7-Eleven ตลอดทั้งปี รวมถึงแผนการเพิ่มกำลังการผลิตให้ครอบคลุม 7-Eleven 14,000 สาขา ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน ไตรมาส 1/2568           ปัจจุบัน After You มีรายได้จากการวางขายสินค้าใน 7-Eleven ประมาณ 30 ล้านบาทต่อไตรมาส  ซึ่งยังครอบคลุมเพียง 8,000-9,000 สาขา ในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หากสามารถขยายการวางขายสินค้าไปยัง ทุกสาขาของ 7-Eleven คาดว่าจะทำให้มีรายได้ส่วนเพิ่มราว 150-200 ล้านบาทต่อปี (เฉพาะกลุ่มสินค้าขนมปังเนยโสด ยังไม่รวมสินค้าอื่นๆ ที่จะเพิ่มเข้ามา)           นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเติมจากการขยายตลาดต่างประเทศ ผ่านการขายแฟรนไชส์หรือหาตัวแทนจำหน่าย (Distributor) ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจา การทยอยออกสินค้าใหม่ ฝ่ายวิเคราะห์ คงคำแนะนำ “ซื้อ” โดยให้ราคาเหมาะสมที่ 13.50 บาท

BE8 ถึงรอบรายได้ฟื้น Backlogs 1.87 พันล.

BE8 ถึงรอบรายได้ฟื้น Backlogs 1.87 พันล.

           หุ้นวิชั่น – ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง BE8 ว่า เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของรายได้ ► Backlogs ณ สิ้นปี 2024 อยู่ที่ 1.87 พันล้านบาท และวางโครงการที่เตรียมเข้าประมูลและมองว่ามีโอกาสราว 5.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้น 3Q24 ที่ 1.7 พันล้านบาท เป็นสัญญาณการทยอยฟื้นตัวที่เข้ามาในช่วงครึ่งหลังของ 4Q24 ► การประมูลงานใน 1Q25 ยังฟื้นตัวต่อเนื่องในระดับใกล้เคียง 4Q24 และจะเร่งตัวยิ่งขึ้นใน 2Q25 ภาพรวมการฟื้นตัวของงานประมูลดีขึ้นเทียบกับ 1H24 ที่งานประมูลขาดแคลนในตลาด แรงหนุนการฟื้นตัวมาจาก            ภาคเอกชนต้องการงานด้านการทำ Cost Optimization เพื่อลดต้นทุน โดยเฉพาะการนำ AI และเทคโนโลยี Digital มาปรับปรุงระบบการทำงานดั้งเดิม            งานภาครัฐที่อาจจะไม่โดดเด่น แต่ไม่ได้ขาดแคลนเหมือนในช่วง 1H24 ► BE8 ปรับกลยุทธ์การดำเนินงานจากการเป็นผู้นำด้าน Digital Transformation ยกระดับขึ้นเป็นผู้นำด้าน AI-Powered Digital Transformation หรือการนำ AI อย่างครบวงจรมาให้บริการลูกค้า ► BE8 จะยังทำ Digital Transformation แต่จะเพิ่มบริการ AI เข้าไปในทุกภาคส่วนการบริการ ยกตัวอย่างเช่น การวางกลยุทธ์องค์กรด้าน AI การทำ Digital Transformation ด้าน AI การยกระดับ Cyber Security เพื่อรองรับ AI การอบรมพนักงานให้มีความพร้อมด้าน AI เป็นต้น ► บริษัทฯ ประเมินว่า AI จะเป็นโอกาสเติบโตรอบใหม่ในตลาด IT ประเทศไทย และต้องการเป็นผู้นำในด้านดังกล่าวก่อนที่ตลาดจะเติบโตเด่น การนำเสนองานของ BE8 ต่อจากนี้จะเน้นไปที่การนำ Solution ด้าน AI บวกกับบริการที่มีอยู่ เพื่อลดต้นทุนในการทำธุรกิจให้กับลูกค้า เพิ่มเติมจากการนำเสนอ CRM ระดับโลกเท่านั้น ► ตัวอย่างงานแรก เช่น BE8 จับมือกับ ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) จัดตั้ง JV ชื่อ HORIXON T8 (BE8 ถือ 49%) เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการให้กับเครือทิพย โดยมีโครงการที่จะทำร่วมกันกว่า 20 โครงการ ปัจจุบันเริ่มดำเนินการไปแล้วราว 3-4 โครงการ เช่น การพัฒนา Solution เพื่อยกระดับระบบ Claim ประกันให้เป็นอัตโนมัติ และนำ AI มาช่วยในการพิจารณา หรือการพัฒนาระบบ AI ที่จะ Support พนักงานขาย เป็นต้น ► Virtual Bank มีคู่ค้าเข้ามาเจรจาหลายราย โดยบริษัทฯ ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ หากมีการอนุมัติ License ในช่วงกลางปี 2025 มีโอกาสที่ BE8 จะได้งานเป็น Catalyst ใหญ่ที่ต้องติดตามใน 2H25 ► เป้าหมายทางการเงินของกลุ่ม BE8 ในปี 2025 บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้และกำไรฟื้นตัวกลับสู่ศักยภาพปกติ เบื้องต้นตั้งเป้ารายได้หลักกลับมาเติบโตในระดับ Double Digit Our Take ► เรามีมุมมองเป็นบวกต่อการฟื้นตัวของผลประกอบการในปี 2025 Backlogs ที่กลับมาเติบโตในช่วงปลายปี 2024 แนวโน้มการประมูลงานที่เริ่มดีขึ้นต่อเนื่องในช่วง 1Q25 สะท้อนโอกาสฟื้นตัวที่สูงขึ้น ขณะที่ Virtual Bank เป็นโอกาสใหญ่ใน 2H25 ► ขณะที่กลยุทธ์การนำ AI มาให้บริการเป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจ แต่อาจต้องใช้เวลาก่อนที่จะเริ่มเห็นผลบวกทางการเงินชัดเจนในระยะถัดไป ► เราคงประมาณการปี 2025 ที่ 224 ล้านบาท (+23% YoY) และราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2025 ที่ 19.50 บาทต่อหุ้น อิง PER 23x หรือระดับต่ำกว่า -2.0 SD ของค่าเฉลี่ยในอดีต ► เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายบน PER25 ที่ 14.2x ไม่แพง เราคาดว่าหุ้นจะกลับเข้าสู่รอบการฟื้นตัว

4 โบรกให้เป้า “ลงทุนแมน” ราคาเหมาะสม 6.6 - 7.4 บาท

4 โบรกให้เป้า “ลงทุนแมน” ราคาเหมาะสม 6.6 - 7.4 บาท

          4 บริษัทหลักทรัพย์ ออกบทวิเคราะห์ หุ้น บมจ.แอลทีเอ็มเอช (LTMH) ให้กรอบราคาเป้าหมาย 6.6 - 7.4 บาทต่อหุ้น โดยให้ความเชื่อมั่นในศักยภาพต่อยอดความสำเร็จจาก “ลงทุนแมน” สู่การขยายธุรกิจไปเป็นผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีบริหารความมั่งคั่ง (WealthTech)            บริษัท แอลทีเอ็มเอช จำกัด (มหาชน) หรือ LTMH เป็นผู้นำในธุรกิจสื่อออนไลน์ เจ้าของแบรนด์ “ลงทุนแมน” และอีก 5 แบรนด์ชั้นนำ ได้แก่ ลงทุนเกิร์ล, MarketThink, BrandCase, MONEY LAB และ Mao-Investor ที่มีผู้ติดตามรวมทุกช่องทางกว่า 8.33 ล้านคน ณ 15 มกราคม 2568 นอกจากนี้ LTMH ยังดำเนินธุรกิจที่ปรึกษาด้านการตลาดออนไลน์แบบครบวงจร พร้อมกับธุรกิจจัดงานอิเวนต์และสัมมนาด้านการเงินการลงทุนที่มีคุณภาพ อีกทั้งยังมีแพลตฟอร์มสื่อ Blockdit ที่พัฒนาโดยหน่วยงานเทคโนโลยีของ LTMH           ด้วยวิสัยทัศน์ในการสร้างระบบนิเวศธุรกิจ (Ecosystem) ที่แข็งแกร่ง LTMH ยังได้มองหาโอกาสลงทุนในธุรกิจที่มีศักยภาพอย่างต่อเนื่อง เช่น การเข้าถือหุ้น 25% ใน บลจ.ทาลิส ซึ่งประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนส่วนบุคคลและกองทุนรวม           ทั้งนี้บริษัทฯ เตรียมเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 50,000,000 หุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯในครั้งนี้ และมีแผนจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) หมวดบริการ (SERVICE)           สำหรับการเข้าระดมทุนในครั้งนี้ บริษัทฯ จะนำเงินที่ได้ไปใช้ขยายการดำเนินธุรกิจเทคโนโลยีบริหารความมั่งคั่ง (WealthTech) ชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ที่กู้ยืมมาลงทุนในหุ้น บลจ.ทาลิส และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน เพื่อขยายการเติบโตของบริษัทฯ และบริษัทย่อย           โดยบทวิเคราะห์ จากบริษัทหลักทรัพย์ทั้ง 4 แห่ง ประกอบด้วย  บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด ได้ประเมินราคาเหมาะสมของหุ้น LTMH ในช่วงราคา 6.6 - 7.4 บาท ต่อหุ้น           บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ประเมินมูลค่าเหมาะสม 7.4 บาทต่อหุ้น Forward PE ปี 2568 ที่ 25.5 เท่า ซึ่งมี  premium จากกลุ่มสื่อราว 30% และประเมินจากการเติบโตของของ LTMH ประกอบกัน คิดเป็น PEG เพียง 0.5 บนประมาณการ EPS ของ LTMH ปี 2568 ที่ 0.29 บาทต่อหุ้น โดยคาดรายได้และกำไรสุทธิในช่วง 3 ปี (ปี 2567-2569) เติบโตเฉลี่ย 30% และ 48% CAGR ตามลำดับ จากการเติบโตของธุรกิจสื่อและแพลตฟอร์มสื่อด้วย 6 แบรนด์ที่ได้รับความนิยมสูงและมีผู้ติดตามจำนวนมาก อัตรากำไรขั้นต้นมีแนวโน้มสูงขึ้นหลังจากที่ LTMH ได้เตรียมลงทุนไปก่อนหน้านี้แล้วโดยการเพิ่มทีมงานสำหรับธุรกิจ WealthTech แม้จะเป็นธุรกิจใหม่สำหรับ LTMH แต่ด้วยประสบการณ์ด้านการลงทุนของผู้บริหาร ความเข้าใจในธุรกิจการเงินการลงทุนของทีมงาน และการตั้งเป้าที่เป็นไปได้ เช่น ส่วนแบ่งตลาดเพียง 1.3% ของมูลค่าเงินกองทุนรวมของผู้ลงทุนไทย เชื่อว่าจะประสบความสำเร็จได้ไม่ยากนัก           บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประเมินระดับความเหมาะสมราคาหุ้น ที่ 7.0 บาทต่อหุ้น อิง Forward PE ปี 2568 ที่ 26.0 เท่า ซึ่งมี premium กว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มอุตสาหกรรม ด้วยบริษัทดำเนินธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับสื่อออนไลน์ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตสูงกว่าสื่อประเภทอื่นๆ และความสามารถในการทำกำไรในระดับที่สูงกว่า รวมทั้งมีศักยภาพการเติบโตของรายได้จากการให้บริการและการขายของธุรกิจหลักในระยะยาวรวมถึงโอกาสทางธุรกิจเพิ่มขึ้นจากแผนการขยายธุรกิจสู่การเป็นผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีบริหารความมั่งคั่ง (WealthTech) พร้อมทั้งคาดกำไรของ LTMH จะโตแข็งแกร่งด้วยอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) 25% ในปี 2567-2569 หนุนโดยการขยายตัวของรายได้จากการให้บริการและการขายเฉลี่ย 19% หลักๆ จากธุรกิจสื่อและแพลตฟอร์มออนไลน์บนสมมติฐานการเพิ่มขึ้นของจำนวนลูกค้าและการปรับราคาบางส่วน รวมถึงความสามารถในการทำกำไรดีขึ้น           บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) ให้ราคาเหมาะสมที่ 6.8 บาทต่อหุ้นอิง Forward PE ปี 2568 ที่ 23.2 เท่า  คิดเป็น PEG ที่ 0.65 เท่า โดยให้ premium ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมสื่อในไทยแม้จะเป็นหุ้นสื่อรายเล็ก จากแนวโน้มผลกำไรที่คาดเติบโตโดดเด่นที่ 35.5% CAGR ปี 2567-2570 โดยคาดกำไรสุทธิของ LTMH ในปี 2568 จะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งราว 69% YoY เป็น 58.8 ลบ. จากรายได้สื่อที่ยังคงเติบโตโดดเด่น 22.3% YoYด้วยความสามารถในการปรับเพิ่มราคาตามจำนวน followers ที่เพิ่มขึ้น และมีอัตราการทำกำไรขั้นต้น (GPM) สูงถึงระดับ 58.8% ตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น (จากต้นทุนคงที่ส่วนใหญ่) ด้วยการใช้ Ecosystem ด้านสื่อออนไลน์ จะช่วยส่งเสริมผลกำไรของ LTMH ให้เติบโตดีขึ้น           บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด ประเมินราคาเหมาะสมของ LTMH ที่ 6.6 บาทต่อหุ้น โดยอิง Prospective PE ปี 2568 ที่ 24.2 เท่า เนื่องจากไม่มีบริษัทในตลาดฯ ที่ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกับบริษัท LTMH จึงใช้หลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจใกล้เคียงกับ LTMH (อุตสาหกรรมบริการ/หมวดธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์) ในการอ้างอิงโดยใช้ค่าเฉลี่ย P/E Ratio ย้อนหลัง 2 ปีของ PLANB ที่ระดับ 32.0 เท่า และ ONEE ที่ระดับ 16.4 เท่า ประกอบกับคาดการณ์กำไรสุทธิต่อหุ้นปี 2568 ราว 0.272 บาท/หุ้น คำนวณเป็นราคาเหมาะสมปี 2568 เท่ากับ 6.60 บาท คาดรายได้ปี 2567 และ 2568 อยู่ที่ 225 ล้านบาท (ทรงตัว YoY) และ 300 ล้านบาท (+33% YoY) ตามลำดับ และคาดกำไรสุทธิปี 2567 และ 2568 อยู่ที่ 34 ล้านบาท (-8% YoY) และ 54 ล้านบาท (+58% YoY) ตามลำดับ สรุปราคาเป้าหมายของหุ้น LTMH ของแต่ละบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ให้ราคาเหมาะสมที่ 7.4 บาท บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ให้ราคาเหมาะสมที่ 7.0 บาท บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) ให้ราคาเหมาะสมที่ 6.8 บาท บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด ให้ราคาเหมาะสมที่ 6.6 บาท

[ภาพข่าว] GFC Rama 9 International Grand Opening

[ภาพข่าว] GFC Rama 9 International Grand Opening

              หุ้นวิชั่น  - รศ.นพ.พิทักษ์ เลาห์เกริกเกียรติ  ประธานกรรมการ ร่วมกับ นพ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ รองประธานกรรมการ พร้อมด้วยนายกรพัส อัจฉริยมานีกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ คณะกรรมการ บริษัท เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ GFC ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์  ร่วมกันเปิดให้บริการรักษาผู้มีบุตรยากอย่างเป็นทางการ (Grand Opening) สาขา GFC Rama 9 International ซึ่งเป็นหนึ่งในแลนด์มาร์คที่สำคัญ สู่การยกระดับการให้บริการทางการแพทย์สำหรับ   ผู้มีบุตรยากอย่างครอบคลุม พร้อมเตรียมขยายพอร์ตกลุ่มลูกค้าต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าจีน และ มีแผนศึกษาเจาะกลุ่มลูกค้า CLMV ลูกค้าอินเดีย รวมถึงลูกค้าตะวันออกกลาง เพื่อต่อยอดสู่การขยาย     ฐานลูกค้าให้กับ GFC ในอนาคต ตอบโจทย์ “GFC ใส่ใจในความสำเร็จ” เพื่อเติมเต็มคำว่า “ครอบครัว ที่สมบูรณ์แบบ” ณ สาขา GFC Rama 9 International

“ลงทุนแมน” เล็งเทรด mai โกลเบล็ก ล็อกเป้า 6.60 บาท

“ลงทุนแมน” เล็งเทรด mai โกลเบล็ก ล็อกเป้า 6.60 บาท

             หุ้นวิชั่น – ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด ระบุถึง LTMH ผู้ผลิตสื่อและให้บริการสื่อโฆษณาด้านการเงินและการลงทุน ว่า บริษัท แอลทีเอ็มเอช จำกัด (มหาชน) หรือ “ลงทุนแมน” ดำเนินธุรกิจหลักแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) ธุรกิจสื่อและแพลตฟอร์มสื่อ (ออนไลน์) ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภทย่อย ได้แก่ 1.1 ธุรกิจสื่อออนไลน์ (Online Media), 1.2 ธุรกิจแพลตฟอร์มสื่อออนไลน์ (Online Media Platform), และ 1.3 ธุรกิจให้บริการที่ปรึกษาด้านการตลาดออนไลน์แบบครบวงจร (Digital Marketing Solution) และ (2) ธุรกิจออฟไลน์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย ได้แก่ 2.1 ธุรกิจการจัดงานอีเวนต์ (Event) และ 2.2 ธุรกิจการจำหน่ายหนังสือ              วัตถุประสงค์ของการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้แก่ (1) ขยายการดำเนินธุรกิจเทคโนโลยีบริหารความมั่งคั่ง (WealthTech), (2) ชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน, และ (3) ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน ฝ่ายวิจัยประเมินมูลค่าเหมาะสมของ LTMH ในปี 2568 ที่ 6.60 บาทต่อหุ้น Investment Highlight              อุตสาหกรรมสื่อโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์ในช่วงปี 2565-2567F เติบโตเฉลี่ย (CAGR) 7.5% ต่อปี และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องในปี 2568-2569 โดย LTMH มีการผลิตสื่อและให้บริการสื่อโฆษณาออนไลน์ (Online Media) ปัจจุบันบริษัทมี 6 แบรนด์สื่อออนไลน์ ได้แก่ 1.ลงทุนแมน, 2.ลงทุนเกิร์ล, 3.MarketThink, 4.BrandCase, 5.MONEY LAB, และ 6.MaoInvestor ซึ่งรองรับกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจหลากหลาย จากแหล่งข้อมูลของ สมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) รายงานว่า ค่าใช้จ่ายโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ในปี 2565-2567F เติบโตเฉลี่ย (CAGR) 7.5% ต่อปี และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มีการใช้งานมากที่สุดในประเทศไทยคือ Facebook ซึ่งเป็นช่องทางหลักที่ผู้ติดตามของบริษัทใช้ติดตามเนื้อหา              ลูกค้าหลักของ LTMH ส่วนใหญ่เป็น บริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่ม สถาบันการเงิน เช่น ธนาคาร, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.), บริษัทหลักทรัพย์ (บล.), และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) คาดการณ์ผลประกอบการปี 2567-2569 ที่ 34 ลบ., 54 ลบ., และ 67 ลบ. ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย (3 Yrs-CAGR) 40% ต่อปี   เราคาดการณ์รายได้จากการดำเนินงานปี 2567-2568 อยู่ที่ 225 ลบ. (ทรงตัว YoY) และ 300 ลบ. (+33% YoY) ตามลำดับ โดยรายได้ปี 2567 คาดว่าทรงตัว YoY เนื่องจากในปี 2566 มีรายได้จากธุรกิจแพลตฟอร์มสื่อออนไลน์ที่เกี่ยวกับ งานรับจ้างพัฒนาระบบและการตลาดสำหรับธุรกิจ Travel Content Platform ซึ่งเป็นโครงการที่มีรายได้สูงและได้สิ้นสุดลงแล้ว ส่วนการเติบโตของรายได้ในปี 2568 มาจาก ธุรกิจสื่อออนไลน์ที่ขยายตัวตามความต้องการใช้บริการสื่อโฆษณา ของลูกค้า รวมถึงฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้น            เราตั้งสมมติฐานว่า อัตรากำไรขั้นต้น (%GPM) ปี 2567-2568 อยู่ที่ 50.3% และ 57.6% ตามลำดับ โดย %GPM ปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากต้นทุนส่วนใหญ่เป็น ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) ทำให้เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น ต้นทุนจะปรับเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่า ขณะที่คาดอัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อรายได้รวม (%SG&A/Sales) อยู่ที่ 27.3% และ 30.3% ตามลำดับ ซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2566 สาเหตุหลักมาจาก การเพิ่มจำนวนพนักงานเพื่อสนับสนุนธุรกิจเทคโนโลยีบริหารความมั่งคั่ง (WealthTech) จากปัจจัยข้างต้น เราคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2567 ที่ 34 ลบ. (-8% YoY) และปี 2568 ที่ 54 ลบ. (+58% YoY) ประเมินราคาเหมาะสมปี 2568 ของ LTMH เท่ากับ 6.60 บาทต่อหุ้น ฝ่ายวิจัย บล.โกลเบล็ก ประเมินราคาเหมาะสมของ LTMH ด้วยวิธี Market Comparable Approach โดยใช้ Price to Earning Approach อิง Prospective PE ที่ระดับ 24.2x เนื่องจาก ไม่มีบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจแบบเดียวกับ LTMH จึงใช้หลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจใกล้เคียงกันใน อุตสาหกรรมบริการ / หมวดธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์ เป็นเกณฑ์อ้างอิง การคำนวณอ้างอิงจาก ค่าเฉลี่ย P/E Ratio ย้อนหลัง 2 ปีของ PLANB ที่ระดับ 32.0x และ ONEE ที่ระดับ 16.4x ประกอบกับคาดการณ์ กำไรสุทธิต่อหุ้นปี 2568 อยู่ที่ 0.272 บาท/หุ้น จึงคำนวณเป็น ราคาเหมาะสมปี 2568 เท่ากับ 6.60 บาทต่อหุ้น

ณกรณ ภักดีกมลสุข ผถห.อันดับ 3 ขาย VS เกลี้ยงพอร์ต ให้ เฉลิมศักย์ รอดรัศมี

ณกรณ ภักดีกมลสุข ผถห.อันดับ 3 ขาย VS เกลี้ยงพอร์ต ให้ เฉลิมศักย์ รอดรัศมี

          หุ้นวิชั่น -สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับแบบรายงานการจำหน่าย หุ้นของ บริษัท วีเซิร์ฟ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) (VS) โดย นาย ณกรณ ภักดีกมลสุข ซึ่งเป็นการจำหน่าย เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 จำนวนหลักทรัพย์ที่จำหน่าย คิดเป็น 16.4742% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการจำหน่าย คิดเป็น 0% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ที่จำหน่าย ของกลุ่มคิดเป็น 16.4742% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการจำหน่าย ของกลุ่มคิดเป็น 0% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ           ทั้งนี้เป็นการจำหน่ายให้กับ นายเฉลิมศักย์ รอดรัศมี ซึ่งเป็นการได้มา เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 จำนวนหลักทรัพย์ที่ได้มา คิดเป็น 16.4698% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการได้มา คิดเป็น 16.4698% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ที่ได้มา ของกลุ่มคิดเป็น 16.4698% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการได้มา ของกลุ่มคิดเป็น 16.4698% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ

จิตติพร จันทรัช ขายหุ้น XO ออก 1.2066% คงหลือถือ 8.8263%

จิตติพร จันทรัช ขายหุ้น XO ออก 1.2066% คงหลือถือ 8.8263%

             หุ้นวิชั่น - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับแบบรายงานการจำหน่าย หุ้นของ บริษัท เอ็กโซติค ฟู้ด จำกัด (มหาชน) (XO) โดย นาย จิตติพร จันทรัช ซึ่งเป็นการจำหน่าย เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2568 จำนวนหลักทรัพย์ที่จำหน่าย คิดเป็น 1.2066% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการจำหน่าย คิดเป็น 8.8263% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ที่จำหน่าย ของกลุ่มคิดเป็น 1.2066% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการจำหน่าย ของกลุ่มคิดเป็น 9.0598% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ

YGG รับเงินเพิ่มทุน 135 ลบ. ดันส่วนผถห.สูงเกิน 50% หวังปลดเครื่องหมาย CB ส.ค.นี้

YGG รับเงินเพิ่มทุน 135 ลบ. ดันส่วนผถห.สูงเกิน 50% หวังปลดเครื่องหมาย CB ส.ค.นี้

                หุ้นวิชั่น - อิ๊กดราซิล กรุ๊ป แจงแผนเพิ่มทุนขายผู้ถือหุ้นเฉพาะเจาะจง ได้รับเงิน 135 ล้านบาท รวมทั้งแผนขายลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ Home Sweet Home Rebirth ทำรายได้ทยอยเข้ามาตั้งแต่ไตรมาส 1 ปีนี้ ส่งผลให้ส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นและสูงกว่า 50% ของทุนชำระแล้ว และคาดสามารถปลดเครื่องหมาย CB ได้ภายในเดือนสิงหาคม 2568 ย้ำผู้ถือหุ้นใช้สิทธิร่วมประชุมโหวตขายหุ้นเพิ่มทุน PP วันที่ 11 มีนาคมนี้               นายธนัช จุวิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท อิ๊กดราซิล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ YGG  เปิดเผยว่า  เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2568 บริษัทได้จัดประชุมเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูล และชี้แจงแนวทางแก้ไขตตามสาเหตุที่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ขึ้นเครื่องหมาย CB เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 จากกรณีที่บริษัท  มีส่วนของผู้ถือหุ้นน้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนชำระแล้ว สำหรับงบการเงินประจำปี 2566 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2567               โดยบริษัทมีแนวทางการแก้ปัญหาและทิศทางการดำเนินงานในอนาคต  ด้วยการเพิ่มทุนจดทะเบียน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียน ตามที่ที่ประชุมของคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 1/2568 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2568 และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2568 และฉบับที่แก้ไข มีมติให้นำเสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2568 ในวันที่ 11 มีนาคม 2568 เพื่อพิจารณาและอนุมัติการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทจำนวน 250 ล้านหุ้น  มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท เสนอขายแบบเฉพาะเจาะจงให้แก่ บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ราคาเสนอขายหุ้นละ 0.5400 บาท รวมเป็นมูลค่าทั้งสิน 135 ล้านบาท คาดว่าจะได้รับเงินดังกล่าวในช่วงมีนาคม - มิถุนายน 2568               ส่วนผลการดำเนินงานของบริษัท ในไตรมาส 1 และ ไตรมาส 2 ปี 2568  จะมีการรับรู้รายได้จากการจำหน่ายลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ของบริษัท  ที่จะเริ่มรับรู้ในปี 2568 และแนวทางกลยุทธ์การปรับโครงสร้างต้นทุน จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้น  เพิ่มขึ้นภายในช่วงไตรมาส 2 ปี 2568 และหากไม่มีเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ คาดว่าจะส่งผลให้บริษัท  มีฐานะทางการเงินที่ไม่เข้าเกณฑ์เครื่องหมาย CB อีกต่อไป               อย่างไรก็ตามหากบริษัทดำเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วจำนวน 135 ล้านบาทแล้วเสร็จ จะทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2568 เป็นไปตามที่คาดการณ์ ประกอบกับกำไรสะสมของบริษัทที่มีอยู่  คาดว่าระดับอัตราส่วน ในส่วนของผู้ถือหุ้นต่อทุนชำระแล้วจะสูงกว่าร้อยละ 50 และบริษัทจะสามารถปลดเครื่องหมาย CB ได้ภายในช่วงกลางเดือนสิงหาคม 2568 (งบการเงินสำหรับผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 2 ปี 2568)               นายธนัช กล่าวอีกว่า ในส่วนภาพยนตร์ฮอลลีวูด เรื่อง "Home Sweet Home: Rebirth" ได้ทยอยขายลิขสิทธิ์แล้ว ซึ่งได้รับความสนใจจากบริษัทจัดจำหน่ายชั้นนำระดับโลก ปัจจุบันสามารถขายลิขสิทธิ์ได้แล้วใน   64 ประเทศทั่วโลก และยังอยู่ระหว่างการเจรจากับหลายประเทศเพิ่มเติม ส่วนของตลาดในประเทศไทย อยู่ระหว่างการเจรจากับผู้จัดจำหน่าย คาดว่าจะสรุปได้ในเร็วๆนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าฉายในประเทศไทย   ซึ่งขณะนี้ภาพยนตร์ Home Sweet Home: Rebirth ได้โปรโมทเพื่อเตรียมเปิดฉายช่วงปลายเดือนมีนาคมนี้ในหลายประเทศ               สำหรับรายได้จากการขายลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ เริ่มทยอยรับรู้รายได้ตั้งแต่ต้นปี 2568 เป็นต้นไป  โดยแบ่งเป็นรายได้จากการขายสิทธิ์เผยแพร่ภาพยนตร์ จำนวน 1.4 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 47 ล้านบาท ที่เริ่มทยอยรับรู้รายได้ และรายได้จากส่วนแบ่งการจัดจำหน่ายในทุกแพลตฟอร์ม ซึ่งบริษัทจะได้รับส่วนแบ่ง 50%-70% ของรายได้ในแต่ละตลาด และจะเริ่มมีรายได้เข้ามาหลังจากภาพยนตร์ออกฉายในปลายเดือนมีนาคมนี้               นอกจากนี้ยังได้ฝากถึงผู้ถือหุ้นของบริษัท ใช้สิทธิในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2568 ในวันที่ 11 มีนาคม 2568 ในวาระขออนุมัติการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (PP) จำนวน 5 ราย รวม 250 ล้านหุ้น มูลค่ารวม 135 ล้านบาท โดยเงินที่ได้จะถูกนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนภายในกิจการ และลงทุนในโครงการทางธุรกิจในอนาคตของบริษัท เพื่อการพัฒนาและต่อยอดธุรกิจอย่างยั่งยืน               ผู้ถือหุ้นที่สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถตอบกลับ หรือมอบฉันทะ มายังบริษัท หรือ ทางอีเมล [email protected] ภายในวันที่ 10 มีนาคม 2568 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณกัณฐิกา อังประทีป โทร. 081-934-8176

[Vision Exclusive] KK เป้าขาย 1.3 พันล.- รับทรัพย์

[Vision Exclusive] KK เป้าขาย 1.3 พันล.- รับทรัพย์ "สราญ เอ็นเนอร์ยี่เทค"

           หุ้นวิชั่น - KK โชว์ผลงานปี 67 พลิกกำไร 10.43 ล้านบาท เทิร์นอะราวด์แรง 333% ด้านบอสใหญ่ "กวิศพงษ์ สิริธนนนท์สกุล" ตั้งเป้ายอดขายปี 68 ที่ 1.3 พันล้านบาท เล็งขยายสาขาใหม่ 2 แห่ง เตรียมรับทรัพย์จากบริษัทย่อย "สราญ เอ็นเนอร์ยี่เทค" เล็งจรดปากกาเซ็นสัญญา 138 ล้านบาทเร็วๆ นี้**            นายกวิศพงษ์ สิริธนนนท์สกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เคแอนด์เค ซุปเปอร์สโตร์ เซาท์เทิร์น จำกัด (มหาชน) หรือ KK เปิดเผยว่า ผลประกอบการปี 2567 เติบโตตามคาด โดยบริษัทพลิกมีกำไร 10.43 ล้านบาท จากปี 2566 ที่ขาดทุน 4.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 14.90 ล้านบาท หรือเติบโต 333.27% ขณะที่รายได้รวมอยู่ที่ 1,140.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 73.15 ล้านบาท หรือ 6.85% เมื่อเทียบกับปีก่อน            สำหรับปี 2568 บริษัทคาดว่าการเติบโตจะสูงกว่าปี 2567 หลังจากที่ได้ปรับโครงสร้างภายในองค์กร และบริหารต้นทุนอย่างรัดกุม รวมถึงเน้นการขยายสาขาในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อเพิ่มยอดขายและมาร์จิ้น โดยจะลดต้นทุนการขนส่งจากการขยายสาขาในจังหวัดอื่น ๆ ที่มีต้นทุนสูง            แผนการดำเนินงานในปี 2568 โดยมีแผนที่จะเปิดสาขาใหม่เพิ่มอีก 2 แห่ง จากปัจจุบันที่มี 37 สาขา โดยจะมีการลงทุนประมาณ 13-15 ล้านบาทต่อสาขา และเน้นขยายสาขาในพื้นที่ที่มีความเชี่ยวชาญสูง            สำหรับยอดขายในปี 2568 บริษัทตั้งเป้าที่จะทำรายได้รวม 1,300 ล้านบาท โดยคาดว่าจะได้รับการสนับสนุนจากการขายทั้งสาขาเก่าและสาขาใหม่ บริษัทมองว่ากำลังซื้อในพื้นที่จังหวัดสงขลาจะยังคงเสถียรภาพต่อเนื่องจากปี 2567 เนื่องจากราคาพืชผลทางการเกษตรอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น            บริษัทคาดว่ายอดขายสาขาเดิม หรือ Same Store Sales Growth (SSSG) จะเติบโต 8-10% จากปีก่อนที่เติบโต 5.3-6% นอกจากนี้ บริษัทจะเริ่มรับรู้รายได้จากบริษัทย่อย "สราญ เอ็นเนอร์ยี่เทค" ซึ่งทำธุรกิจศึกษา วิจัย พัฒนา และให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีพลังงาน คาดว่าจะมีรายได้จากบริษัทนี้ประมาณ 100 ล้านบาทในไตรมาส 4/2568 โดยปัจจุบัน "สราญ เอ็นเนอร์ยี่เทค" กำลังรอเซ็นสัญญากับลูกค้าอีกประมาณ 138 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะลงนามได้ภายในเดือนเมษายนนี้ รายงานโดย มินตรา แก้วภูบาล  บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

TACC เสิร์ฟ “น้ำผึ้งมะนาว” ต้อนรับซัมเมอร์ ปักหมุดรายได้ปี 68 แตะ 2,000 ล.

TACC เสิร์ฟ “น้ำผึ้งมะนาว” ต้อนรับซัมเมอร์ ปักหมุดรายได้ปี 68 แตะ 2,000 ล.

           บมจ.ที.เอ.ซี.คอนซูเมอร์ (TACC) ลุยเปิดตัวเครื่องดื่มใหม่ “น้ำผึ้งมะนาว” เปรี้ยวหวานจี๊ดใจ รสชาติกลมกล่อม ดับร้อนได้ดี มีวิตามินซี ทำจากมะนาวแท้ น้ำผึ้งดอกลำใย ในกลุ่มเครื่องดื่มเย็นในโถกด เซเว่นฯ พร้อมกันทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 6 มี.ค.- 30 เม.ย 68 นี้ ฟากบิ๊กบอส"ชัชชวี วัฒนสุข"ระบุ มั่นใจช่วยผลักดันยอดขายในครึ่งปีแรก ปักหมุดรายได้ปี 68 แตะ 2,000 ล้านบาท ตามแผน            นายชัชชวี วัฒนสุข ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ที.เอ.ซี.คอนซูเมอร์ จำกัด (มหาชน) (TACC) เปิดเผยว่า บริษัทฯได้ส่งเครื่องดื่มรสชาติใหม่ตามฤดูกาล “น้ำผึ้งมะนาว” (Honey Lime) เพื่อต้อนรับอากาศร้อนช่วงซัมเมอร์ โดยได้ร่วมกันพัฒนากับ CPALL ในฐานะ Key Strategic Partner ลงในกลุ่มเครื่องดื่มเย็นในโถกด พร้อมกันทั่วประเทศ ระหว่างวันที่  6 มีนาคม - 30 เมษายน 2568 นี้ หรือสั่งง่ายๆ ผ่าน #7DELIVERY อีกหนึ่งช่องทางความสะดวกสบาย ซึ่งมั่นใจว่าจะช่วยผลักดันยอดขายในครึ่งปีแรก ปักหมุดรายได้ปี 2568 แตะ 2,000 ล้านบาท ตามเป้าหมายที่วางไว้            ทั้งนี้ เครื่องดื่มใหม่ตามฤดูกาล น้ำผึ้งมะนาว รสเปรี้ยวหวานจี๊ดใจ รสชาติกลมกล่อม ดับร้อนได้ดี มีวิตามินซี ได้รสเปรี้ยวจากมะนาวแท้ๆ และรสหวาน หอม จากน้ำผึ้งดอกลำใย อร่อย ชุ่มคอ ดื่มได้ตลอดทั้งวัน            “มั่นใจว่าเครื่องดื่มรสชาติใหม่ที่ออกจะได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคยุคใหม่ ที่ใส่ใจดูแลสุขภาพ อย่างดีเยี่ยม เนื่องจากสินค้าของเราได้ผ่านการวิจัยและพัฒนาร่วมกับ CPALL "            ประธานกรรมการบริหาร TACC กล่าวอีกว่า บริษัทฯยังคงมุ่งเน้นการเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจหลัก ผ่านนวัตกรรมที่สร้างประสบการณ์ ให้กับกลุ่มลูกค้ายุคใหม่ อีกทั้งยังเน้นการสร้างกลุ่มธุรกิจผ่านผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของบริษัท ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ และการให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านต้นทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน [PR News]

"อินดิจี” ยื่นไฟลิ่ง ขาย IPO 28 ล้านหุ้น เดินหน้าเข้า mai

            “บมจ.อินดิจี หรือ IDG” เตรียมเสนอขาย IPO 28 ล้านหุ้น เข้าตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) หมวดธุรกิจเทคโนโลยี โดยมี “บล.ยูโอบี เคย์เฮียน” เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน พร้อมชูจุดเด่น IDG ในฐานะผู้เชี่ยวชาญการเป็นที่ปรึกษาด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันครบวงจร และผู้พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับองค์กร ภายใต้แผนระดมทุนเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจในยุคดิจิทัล             นายวิธาน ฉั่วเจริญศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินดิจี จำกัด (มหาชน) หรือ IDG เปิดเผยว่า การเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้เป็นโอกาสสำหรับประชาชนและนักลงทุนในการเป็นส่วนหนึ่งของการต่อยอดความสำเร็จของบริษัทในฐานะองค์กรยุคใหม่ด้านเทคโนโลยี ซึ่งให้บริการที่ปรึกษาด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันแบบครบวงจรและผู้พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับองค์กร โดยบริษัทมีความเชี่ยวชาญในกลุ่มผลิตภัณฑ์ของ Microsoft และกลุ่มผลิตภัณฑ์ Transformation+ ของบริษัท สอดรับกับภาพรวมอุตสาหกรรมบริการดิจิทัลและซอฟต์แวร์ที่มีการเติบโต และดีมานด์ความต้องการของภาคธุรกิจที่มีการลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อติดอาวุธในการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) ให้สามารถเติบโตอย่างยั่งยืน             บมจ.อินดิจี หรือ IDG ดำเนินธุรกิจที่ปรึกษาด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน และพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มแบบครบวงจร โดยใช้เทคโนโลยีชั้นนำที่ทันสมัย มาวางโครงสร้างพื้นฐานทางธุรกิจให้กับลูกค้า ภายใต้แนวคิด “Simply Work, Amplify Innovation” ซึ่งมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการทำงานที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กร และเสริมศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจในยุคดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้บริษัทฯ สามารถตอบโจทย์ลูกค้าในการออกแบบโซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพสูงและตรงตามความต้องการได้อย่างแท้จริง             IDG มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมยาวนานกว่า 24 ปี ในการให้คำปรึกษาและพัฒนาระบบให้กับองค์กรชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบงานที่มีประสิทธิภาพสูงรองรับกับการทำงานให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง บริษัทมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาระบบงานบริการจัดการทำงานทั้งแบบศูนย์รวมและกระจายศูนย์ที่ครอบคลุมการบริหารจัดการองค์กร ช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการทั้งทรัพยากรพัฒนากระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ในเชิงลึก เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย             บมจ.อินดิจี หรือ IDG ดำเนินธุรกิจหลัก 4 ประเภท ซึ่งแบ่งตามประเภทรายได้ประกอบด้วย      1.การจำหน่ายซอฟต์แวร์ 2.การให้บริการพัฒนาระบบดิจิทัล 3. การให้บริการบำรุงรักษาระบบและซอฟต์แวร์ และ 4.การให้บริการอื่นๆ             สำหรับวัตถุประสงค์การระดมทุน IDG เตรียมจะนำไปใช้สำหรับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ขยายสำนักงานและศูนย์บริการธุรกิจดิจิทัล รวมถึงใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท เพื่อรองรับการเติบโต ด้วยวิสัยทัศน์เป็นผู้นำในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการทำงาน เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจในยุคดิจิทัล             นายกิตติชัย นาคะประเสริฐกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน ของบริษัท อินดิจี จำกัด (มหาชน) หรือ IDG เปิดเผยว่า ขณะนี้ IDG ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ สำนักงาน ก.ล.ต. เรียบร้อยแล้ว โดยการเสนอขายหุ้นสามัญให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก หรือ IPO หุ้นที่เสนอขายทั้งหมด จำนวน 28,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (Par) 0.50 บาทต่อหุ้น คิดเป็น 28% ของจำนวนหุ้นที่ออกและเสนอขายภายหลัง การเสนอขายหุ้นต่อประชาชนในครั้งนี้จะช่วยให้ IDG เดินหน้าเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี (Technology)             ชูจุดเด่น บมจ.อินดิจี (IDG) มุ่งเน้นการให้บริการที่ครบวงจรระดับมืออาชีพ ด้วยทีมผู้บริหารและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในด้านการพัฒนาระบบหรือซอฟต์แวร์ มากกว่า 24 ปี และได้รับความไว้วางใจมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการเติบโตของทีมนักพัฒนาได้สะท้อนถึงผลการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการลงทุนด้านระบบไอทีที่เพิ่มขึ้นขององค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทย เพื่อเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันและโอกาสการเติบโตในยุคดิจิทัล [PR News]

FVC ปี 67 กวาดรายได้ 1,046.68 ล้านบาท เดินหน้าธุรกิจโตยั่งยืน

FVC ปี 67 กวาดรายได้ 1,046.68 ล้านบาท เดินหน้าธุรกิจโตยั่งยืน

           หุ้นวิชั่น - กรุงเทพฯ – บมจ.ฟิลเตอร์ วิชั่น (FVC) โชว์งบปี 67 ผลงานแจ่ม กวาดรายได้กว่า 1,046.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.10% เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน (YoY) และมีกำไรส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นใหญ่ 14.17 ล้านบาท จากการเติบโตใน 3 กลุ่มธุรกิจ พร้อมประกาศแผนปี 68 เน้นรักษาฐานลูกค้าเดิม ขยายฐานลูกค้าใหม่ ควบคู่การเพิ่มสาขาและเครื่องไตเทียมต่อเนื่อง หนุนธุรกิจเติบโตต่อเนื่อง            ดร.วิจิตร เตชะเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลเตอร์ วิชั่น จำกัด (มหาชน) “FVC” เปิดเผยว่าด้วยภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2567 ที่ผ่านมา มีการฟื้นตัวและเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไปประกอบกับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง แต่อย่างไรก็ตามภาครัฐได้มีการออกมาตรการสนับสนุนกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในด้านการแก้ไขปัญหาอัตราเงินเฟ้อ รวมถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งจัดเป็นนโยบายที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทำให้ภาคเอกชนมีการลงทุนเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้ผลการดำเนินงานงวดปี 2567 ของกลุ่มบริษัทฯ มีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการ 1,046.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 145.11 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 16.10% เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน (YoY) และมีกำไรส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นใหญ่ 14.17 ล้านบาท            โดยปัจจัยหลักจากการเติบโตใน 3 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ 1.กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการด้านระบบน้ำ (B1) มีรายได้ 112.62 ล้านบาท ลดลง 12.08% เนื่องจากภาคการผลิตยังคงฟื้นตัวได้ไม่ดีนัก ส่งผลให้การแข่งขันในตลาดยังคงสูงมาก  มีการตัดราคาขายของคู่แข่งรวมถึงต้นทุนที่สูงขึ้นจากสินค้าต่างประเทศ แม้บริษัทฯ จะมีการสรรหาผู้ขายจากหลากหลายประเทศเพื่อทดแทน แต่ยังต้องใช้เวลาและสร้างการสื่อสารให้กับลูกค้า ทำให้ผลการดำเนินงานของ B1 ในภาพรวมยังไม่ได้ตามเป้าหมาย 2.กลุ่มธุรกิจพาณิชย์และที่พักอาศัย (B2) มีรายได้ 336.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.14% เนื่องจากลูกค้าหลักคือร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหารและเครื่องดื่มและอุตสาหกรรมโรงแรมในประเทศไทย มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากกำลังซื้อภาคการบริโภคภายในประเทศรวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้รายได้ในส่วน Trading สามารถขายอุปกรณ์กรองน้ำทั้งเครื่องใหม่พร้อมทั้งอุปกรณ์ให้กับลูกค้าเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของกลุ่มผู้บริโภคดังกล่าว 3.กลุ่มธุรกิจบริการทางการแพทย์ (B3) ซึ่งดำเนินการโดย บริษัท เคที เมดิคอล เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) “KTMS” และบริษัทย่อย (กลุ่มบริษัท KTMS) มีรายได้ 597.38 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.93% เนื่องจากการขยายสาขาของธุรกิจหน่วยไตเทียม รวมถึงการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ            สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2568 นั้น ดร.วิจิตร กล่าวเสริมว่า ในกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการด้านระบบน้ำ(B1)นั้น ยังคงเน้นการรักษาฐานลูกค้าเดิม และขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ ทั้งในโซนรอบนอกกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยปัจจุบันบริษัทฯ ได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้างานโครงการติดตั้งขนาดเล็กและงานบริการ และสัญญาซ่อมบำรุง รวมจำนวน 12 งาน มูลค่ารวม 4.38 ล้านบาท ส่วนงานในกลุ่มธุรกิจพาณิชย์และที่พักอาศัย จะมุ่งเน้นที่กลุ่มร้านอาหารและเครื่องดื่ม โดยเข้าไปมีส่วนการออกแบบคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานของลูกค้าเพื่อให้ลูกค้านำผลผลิตที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ที่ได้ ไปประกอบอาหารและเครื่องดื่มมีคุณภาพเพื่อทำให้เป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค และมีแผนเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ รองรับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการน้ำกรองคุณภาพเฉพาะทาง สำหรับการผลิตอาหาร และเครื่องดื่ม            ด้านกลุ่มธุรกิจบริการทางการแพทย์ (B3) ทั้งในส่วนของ KTMS ในปีนี้ตั้งเป้าขยายสาขาและเพิ่มเครื่องไตเทียมอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาส 1/2568 จะเปิดสาขาใหม่ 1 สาขา และเครื่องไตเทียม 4-24 เครื่อง ส่วนบริษัท เนโฟร วิชั่น จำกัด มีแผนเพิ่มเครื่องไตเทียมในไตรมาส 1/2568 อีก 2-4 เครื่อง รวมทั้งบริษัท เออร์วิง คอร์ปอเรชั่น จำกัด ปัจจุบันได้รับคำสั่งซื้องานติดตั้งระบบน้ำจากลูกค้าแล้ว 5 โครงการ มูลค่ารวม 6.77 ล้านบาท และงานปรับปรุงหน่วยไตเทียม 2 โครงการ มูลค่า 2.16 ล้านบาท  และบริษัท เมดิคอล วิชั่น จำกัด ปัจจุบันได้รับคำสั่งซื้องานติดตั้งท่อลมรับ-ส่ง สิ่งส่งตรวจทางการแพทย์จากลูกค้าแล้ว 3 โครงการ มูลค่ารวม 7 ล้านบาท [PR News]

IND คว้างานใหม่ “กรมทางหลวง” 61.59 ลบ. ดัน Backlog แตะ 2,964.18 ลบ.

IND คว้างานใหม่ “กรมทางหลวง” 61.59 ลบ. ดัน Backlog แตะ 2,964.18 ลบ.

           บมจ.อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (IND) งานเข้าเพียบ! ล่าสุดคว้างานใหม่ของ “กรมทางหลวง” เพิ่มอีก 4 โครงการ มูลค่ารวม 61,587,766 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) หนุน Backlog เพิ่มขึ้นเป็น 2,964,177,863 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ฟากผู้บริหาร “ดร.พรลภัส ณ ลำพูน” ประกาศเดินหน้าตุนโปรเจคใหม่ทั้งจากโครงการภาครัฐ-รัฐวิสาหกิจ และเอกชนต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มศักยภาพรายได้และกำไร มั่นใจดันผลงานปีนี้เติบโตตามเป้าหมายไม่ต่ำกว่า 10-15%            ดร.พรลภัส ณ ลำพูน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ IND ผู้ให้บริการงานด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมครอบคลุมงานออกแบบพร้อมก่อสร้าง, งานบริหารโครงการขนาดใหญ่และควบคุมงานก่อสร้างของภาครัฐ รวมถึงงานด้านวิศวกรรมที่ปรึกษาต่างๆ เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ลงนามสัญญากับกรมทางหลวง จำนวน 4 โครงการ รวม 4 สัญญา คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 61,587,766 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ประกอบด้วย โครงการที่ 1 สัญญาจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบและบูรณะสะพานบนทางหลวง จังหวัดนครปฐม ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม (ระยะที่ 2) มูลค่า 18,802,575 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ระยะเวลาดำเนินการ 450 วัน            โครงการที่ 2 สัญญาจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวงแนวใหม่ ทางเลี่ยงเมืองทับปุดมูลค่า 15,791,060 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ระยะเวลาดำเนินการ 450 วัน, โครงการที่ 3 สัญญาจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวงพิเศษฯ สายชลบุรี-หนองคาย ตอน ชลบุรี (ท่าเรือแหลมฉบัง)-ปราจีนบุรี ตอนที่ 2 ส่วนที่ 2 มูลค่า 18,209,431 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ระยะเวลาดำเนินการ 450 วัน และโครงการที่ 4  สัญญาจ้างที่ปรึกษา โครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร บนทางหลวง 1001 และทางหลวง 1414 ตอน บ้านโป่ง-พร้าว มูลค่า 8,784,700 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ระยะเวลาดำเนินการ 450 วัน            สำหรับงานที่ได้รับในครั้งนี้จะส่งผลทำให้งานในมือ (Backlog) เพิ่มขึ้นเป็น 2,964.18 ล้านบาท (ณ สิ้นสุดวันที่ 3 มีนาคม 2568)  โดยบริษัทฯ พร้อมเข้าร่วมประมูลโครงการใหม่ๆ จากภาครัฐ-รัฐวิสาหกิจ และเอกชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายโอกาสการเติบโตทางธุรกิจ และเพิ่มศักยภาพรายได้และกำไรให้เติบโตตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ ซึ่งเชื่อว่าภาพรวมอุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้างในปี 2568 จะมีแนวโน้มฟื้นตัวที่ดีขึ้น จากการที่รัฐบาลมีแรงขับเคลื่อนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยผลักดันให้มีงานโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ออกมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานอื่นๆ ที่ยังมีแนวโน้มขยายตัว จึงเป็นสัญญาณบวกที่ส่งผลดีต่อธุรกิจของบริษัทฯ ซึ่งปีนี้ได้ตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ไว้ไม่ต่ำกว่า 10-15% เทียบกับปีที่ผ่านมา            “การที่ IND เป็นบริษัทชั้นนำด้านวิศวกรรมที่ปรึกษาและออกแบบพร้อมก่อสร้างในการลงทุนโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ได้รับการยอมรับและได้รับความเชื่อถือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทำให้สามารถคว้างานโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และการที่บริษัทฯ ได้รับงานในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของบริษัทฯ ที่ผ่านคุณสมบัติครบถ้วนจากกรมทางหลวง ซึ่งมั่นใจว่าจะช่วยหนุนให้ผลการดำเนินงานเติบโตอย่างมีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น” ดร.พรลภัส กล่าวในที่สุด  

“ศุภโชค ปัญจทรัพย์” ตัดขายหุ้น READY 1.0416% คงเหลือถือ 4.0333%

“ศุภโชค ปัญจทรัพย์” ตัดขายหุ้น READY 1.0416% คงเหลือถือ 4.0333%

           หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับแบบรายงานการจำหน่ายหุ้นของ บริษัท เรดดี้แพลนเน็ต จำกัด (มหาชน) (READY) โดย นายศุภโชค ปัญจทรัพย์ ซึ่งเป็นการจำหน่าย เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2568 จำนวนหลักทรัพย์ที่จำหน่าย คิดเป็น 1.0416% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการจำหน่าย คิดเป็น 4.0333% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ที่จำหน่าย ของกลุ่มคิดเป็น 1.0416% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการจำหน่าย ของกลุ่มคิดเป็น 4.0333% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ

KLINIQ ความงามถึงรอบโต แนะ “ซื้อ” - เป้า 36 บาท

KLINIQ ความงามถึงรอบโต แนะ “ซื้อ” - เป้า 36 บาท

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) ระบุถึง KLINIQ ว่า เข้าช่วงผลประกอบการเติบโต            ฝ่ายวิจัยมองบวกต่อการประชุมนักวิเคราะห์และงาน Opportunity Day เริ่มเข้าช่วงผลประกอบการกลับสู่รอบเติบโต หลังเร่งเปิดสาขามากกว่าปกติ 18 แห่ง จากปกติ 10 แห่ง ช่วงแรกมีผลขาดทุนและกดดันผลประกอบการ 9M24 แต่สาขาเริ่มมีผลตอบรับดีขึ้นแล้ว ขณะที่แผนปีนี้เปิดสาขากลับสู่ระดับปกติ 10 แห่ง โดยรวมคงกำไรปี 2025F ที่ 360 ลบ. (+12% y-y) และเริ่มเปิด Upside risk มากขึ้น แนะนำ “Buy” จาก TP25F 36 บาท อิง PER 22x มองกลุ่มศัลยกรรมความงามยังเป็นกลุ่มที่เติบโตได้ดีระยะยาว Positive view จาก Analyst Meeting และ Opportunity Day            - คงเป้ารายได้ปี 25F ที่ 3.5 พันลบ. +17% (เราคาด 3.4 พันลบ.) และอัตรากำไร 12% (เราคาด 10.5%) ประเมินผลประกอบการจะเริ่มฟื้นตัว หลังเร่งเปิดสาขาปีก่อนมากถึง 18 แห่ง จากปกติ 10 แห่ง โดยเฉพาะ 1Q24 เปิดถึง 10 แห่ง และระยะแรกต้องใช้เวลาสร้างฐานลูกค้า โดยเฉพาะแบรนด์ L.A.B.X (20% ของรายได้) ซึ่งเป็นแบรนด์ที่ก่อตั้งมาเพียง 2.5 ปี ต้องใช้เวลาสร้างฐานลูกค้านานกว่าปกติ และสาขา L.A.B.X เพิ่มจาก 14 เป็น 23 แห่งในปี 2024 ส่งผลกดดันกำไรตลอด 9M24 ซึ่งเพิ่มเพียง 6% y-y และเริ่มเห็นผลประกอบการฟื้นตัว 4Q24 +27% y-y จากสาขาที่เริ่มเห็นผลงานดีขึ้น (ปกติสาขาใหม่ Breakeven ใช้เวลา 3-6 เดือน) โดยเฉพาะจาก L.A.B.X ที่ฟื้นตัวชัดเจน รายได้ 4Q24 +19% q-q และยอดขาย/สาขา/เดือน (Cash sales) ขยับขึ้นมาที่ 2.5 ลบ. ใกล้เคียง 4Q23 และดีขึ้นจาก 1Q-3Q24 ซึ่งอยู่ที่ 2.1-2.2 ลบ.            - แผนเปิดสาขาใหม่ปี 25F กลับสู่ปกติที่ 10 แห่ง (มีทำเลครบหมด) (ตรงกับสมมติฐานของเรา) แบ่งเป็น 1Q-4Q25F เปิด 1/5/3/1 สาขาตามลำดับ โดยแบ่งเป็นแบรนด์ The Klinique 3 แห่ง, L.A.B.X 4 แห่ง และ L’clinic 3 แห่ง ขณะที่สาขา SPA ยังไม่มีแผนเปิดเพิ่ม โดยยังเน้นสร้างฐานลูกค้าจากปัจจุบันที่มี 2 สาขา            - แผนระยะกลาง ภายใน 2 ปี จะเพิ่มสัดส่วนลูกค้าต่างชาติเป็น 15-20% จากปัจจุบันที่ยังไม่ได้ทำตลาดมากนัก (12%) โดยเน้นกลุ่มอาเซียนและจีน พร้อมตั้งทีมงานดูแลเฉพาะ ทั้งผ่านเอเยนซี่และทำการตลาดโดยตรง ในระยะยาว บริษัทมีแผนต่อยอดไปยังกลุ่ม Wellness ครบวงจร ทั้งจากกลุ่มสปา และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ            - ศูนย์ศัลยกรรมยังมีแนวโน้มที่ดี รายได้เพิ่มขึ้น q-q ตลอด 10 ไตรมาสตั้งแต่เปิด (ปัจจุบันคิดเป็น 16% ของรายได้) โดย 4Q24 มีอัตราการใช้บริการ (U-rate) เกือบ 60% และมีกำไรราว 11 ลบ. ขณะที่ศูนย์ศัลยกรรมใหม่คาดว่าจะมีการประกาศเร็วๆ นี้ และบริษัทมีแผนเปิดให้ทัน 4Q25F (เรายังไม่รวมในประมาณการ) ความคิดเห็นและคำแนะนำ            - เรามอง “Positive” ต่อข้อมูลที่ได้รับ เนื่องจากธุรกิจเข้าสู่รอบเติบโต มีแผนธุรกิจเชิงรุก และแบรนด์ที่แข็งแกร่ง ในระยะยาวยังมีโอกาสเติบโตจากอุตสาหกรรมความงาม, ศัลยกรรม, และ Wellness ซึ่งไทยมีความได้เปรียบ            - เราคงกำไรปี 2025F ไว้ที่ 360 ลบ. (+12% y-y) แต่เริ่มมี Upside risk 5-10% จากอัตรากำไรที่เริ่มดีขึ้น และหากอิงเป้าหมายของบริษัท กำไรยังมี Upside risk 15%            - ระยะสั้น 1Q25F ยังมีแนวโน้มที่ดี โดย Cash sales YTD ยังคงเป็นโมเมนตัมบวกต่อจาก 4Q24 คาดการณ์เบื้องต้น กำไรแตะระดับ 100 ลบ. (+33% y-y, ทรงตัว q-q) ตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น            - แนะนำ “Buy” จาก TP25F ที่ 36.0 บาท อิง PER 22 เท่า (ค่าเฉลี่ย -1SD)

[Vision Exclusive] APO น้ำมันปาล์ม ปี 68 โตต่อ รับดีมานด์พุ่ง-ขยายพื้นที่ปลูก

[Vision Exclusive] APO น้ำมันปาล์ม ปี 68 โตต่อ รับดีมานด์พุ่ง-ขยายพื้นที่ปลูก

          หุ้นวิชั่น - APO คาดปริมาณวัตถุดิบน้ำมันปาล์มปี 68 โตต่อ รับดีมานด์พุ่ง แถมขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น 1.5% จากปีก่อน 6.34 ล้านไร่ จากพื้นที่สำรวจดโดยรวใ 6.4 ล้านไร่ ฟากผู้บริหาร "สิทธิภาส อุดมผลกุล" โชว์รายได้ปี 67 โตแรง 17.64% กำไรทะยาน 724.29% ผลงานแกร่ง           นายสิทธิภาส อุดมผลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชียนน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) หรือ APO เปิดเผยกับทีมข่าวหุ้นวิชั่น ว่า บริษัทคาดว่าปริมาณวัตถุดิบน้ำมันปาล์มในปี 2568 จะเติบโตสูงขึ้นจากปี 2567 เนื่องจากพื้นที่ปลูกปาล์มในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้น โดยจากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจเกษตร พบว่าพื้นที่ปลูกปาล์มในปี 2567 มีจำนวน 6.34 ล้านไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 6.4 ล้านไร่ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1.5% อีกทั้งนโยบายจากภาครัฐที่สนับสนุนให้เกษตรกรปลูกปาล์มและการขยายพื้นที่เพาะปลูกปาล์มเป็น 10 ล้านไร่ในปี 2572 คาดว่าจะมีส่วนช่วยเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มอย่างมีนัยสำคัญ           อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าไตรมาส 1/2568 จะเห็นภาพการผลิตปาล์มเพิ่มขึ้น และจะเห็นผลผลิตเกิดขึ้นชัดเจนและเห็นผลปาลืมออกมาเต็มในไตรมาส 2/2568 หรือไตรมาส 3/2568 เป็นต้นไป           ทั้งนี้ผลจากการพัฒนาสายพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตสูงจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างเป็นรูปธรรม ประกอบกับความต้องการใช้น้ำมันปาล์มในประเทศที่มีแนวโน้มขยายตัว โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารและพลังงานชีวภาพ ทั้งนี้ หากอินโดนีเซียขยายการใช้น้ำมันปาล์มในเชื้อเพลิงไบโอดีเซลให้ครอบคลุมถึง B10 หรือ B20 อย่างแพร่หลาย จะช่วยสนับสนุนการขยายตลาดส่งออกน้ำมันปาล์มของประเทศไทย           บริษัทเล็งเห็นถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านมาตรฐานการผลิต RSPO ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มไทยในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงเผชิญกับความเสี่ยงจากความผันผวนของปริมาณและราคาทะลายปาล์มสด บริษัทจึงมุ่งเน้นกลยุทธ์บริหารความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดหาวัตถุดิบผ่านโครงการ Asian Plus+ ที่สนับสนุนการรับซื้อทะลายปาล์มสดจากเกษตรกรโดยตรง เพื่อให้ได้วัตถุดิบคุณภาพสูงและรักษาอัตราการสกัดน้ำมันปาล์มในระดับสูง           และบริษัทยังมีแผนลงทุนในธุรกิจต้นน้ำ ผ่านแปลงเพาะปลูกต้นกล้าปาล์มน้ำมัน เพื่อยกระดับคุณภาพผลผลิตในระยะยาว ควบคู่กับการปรับปรุงระบบการผลิตอัตโนมัติเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน บริษัทมุ่งมั่นพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ พร้อมขับเคลื่อนการเติบโตภายใต้แนวทางการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบอย่างยั่งยืน           อนึ่ง ผลการดำเนินงานปี 2567 (มกราคม-ธันวาคม) บริษัทประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยมีรายได้รวมจากการดำเนินงาน 1,795.25 ล้านบาท เติบโต 17.64% เมื่อเทียบกับปีก่อน และทำกำไรสุทธิ 107.06 ล้านบาท เติบโต 724.29% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งการเติบโตอย่างโดดเด่นมาจากการขยายตัวในทุกกลุ่มธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจน้ำมันปาล์มมีรายได้ 1,782.32 ล้านบาท เติบโต 17.42% ส่งผลให้ปริมาณการขายและการผลิตน้ำมันปาล์มดิบเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีปัจจัยจากความต้องการของในตลาด ทั้งในด้านเชื้อเพลิงและการบริโภคเพิ่มขึ้น รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

5 หุ้น mai สุดปัง พลิกกำไรแรง!

5 หุ้น mai สุดปัง พลิกกำไรแรง!

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน 5 หุ้น mai ประกาศผลประกอบการปี 67 พลิกมีกำไรสูงสุด  ได้แก่ ALPHAX เทิร์นอะราวน์แรง 411% รองลงมา JSP พลิกกำไร 363.20% KK พลิกกำไร 333.33% ADB พลิกกำไร 173.26% และ UBIS พลิกกำไร 128.69%           ผู้สื่อข่าว รายงาน จากตลาดหลักทรัพย์ พบ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ประกาศผลประกอบการปี 2567 และประกาศผลประกอบการปี 67 พลิกมีกำไรสูงสุด  5 อันดับ ได้แก่ บริษัท อัลฟ่า ดิวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ALPHAX ปี 2567 พลิกมีกำไรที่ 331.11 ล้านบาท จากปี 2566 ขาดทุน 106.57 ล้านบาท หรือมีกำไร 437.68 ล้านบาท เทิร์นอะราวน์ 411.00% บริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ JSP ปี 2567 พลิกมีกำไรที่ 4.52 ล้านบาท จากปี 2566 ขาดทุน 1.71 ล้านบาท หรือมีกำไร 6.23 ล้านบาท เทิร์นอะราวน์ 363.20% บริษัท เคแอนด์เค ซุปเปอร์สโตร์ เซาท์เทิร์น จำกัด (มหาชน) หรือ KK ปี 2567 พลิกมีกำไร 10.43 ล้านบาท จากปี 2566 ขาดทุน 4.47 ล้านบาท หรือมีกำไร 14.9 ล้านบาท เทิร์นอะราวน์ 333.33% บริษัท แอ็พพลาย ดีบี จำกัด (มหาชน) หรือ ADB  ปี 2567 พลิกมีกำไร 34.22 ล้านบาท จากปี 2566 ขาดทุน 46.71 ล้านบาท หรือมีกำไร 80.93 ล้านบาท เทิร์นอะราวน์ 173.26% บริษัท ยูบิส (เอเชีย) จำกัด (มหาชน) หรือ UBIS ปี 2567 พลิกมีกำไร 21.23 ล้านบาท จากปี 2566 ขาดทุน 74 ล้านบาท หรือมีกำไร 95.23 ล้านบาท เทิร์นอะราวน์ 128.69% โดย แสดงเป็นตาราง ดังนี้           นายสิทธิชัย แดงประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ JSP เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้ในปี 2568 ไว้ที่ 900-1,000 ล้านบาท โดยการเติบโตจะมาจากทุกกลุ่มธุรกิจ ทั้งการรับจ้างผลิต (OEM) และการจำหน่ายสินค้าแบรนด์ของบริษัทเอง (Own Brand) เช่น งาดำรำข้าว ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าผลักดันสัดส่วนรายได้จาก OEM และ Own Brand ให้เท่ากันที่ 50:50 จากปัจจุบันที่ Own Brand มีสัดส่วน 42% และ OEM มีสัดส่วน 39% พร้อมมั่นใจว่าสินค้าอย่างงาดำรำข้าวจะเติบโตได้อย่างรวดเร็ว           ในปี 2568 จะเป็นปีที่สามารถวัดผลจากการขยายและติดตั้งตู้ยาทั่วประเทศ โดยบริษัทสามารถติดตั้งตู้ยาได้ตามเป้าหมายครบ 200 ตู้แล้ว ขณะเดียวกันในการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์น้ำยาฟอกไต ซึ่งบริษัทผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในศูนย์ฟอกไตในประเทศ สายการผลิตได้ดำเนินการตามปกติและเริ่มเดินเครื่องจักรชุดที่สองแล้ว ส่งผลให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 160,000 แกลลอนจากเดิม 120,000 แกลลอน คิดเป็นอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ 50% โดยหากสามารถเดินเครื่องจักรได้เต็มประสิทธิภาพ จะสามารถผลิตได้ถึง 240,000 แกลลอน           นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนการนำบริษัท เกรซ วอเทอร์ เมด จำกัด เข้าจดทะเบียนในตลาด Livex และเตรียมยื่นไฟลิ่งในไตรมาส 2 หรือ 3 ของปี 2568 โดยคาดว่าเงินทุนที่ได้จากการจดทะเบียนจะช่วยเสริมศักยภาพการขายในอนาคต รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

[ภาพข่าว] KJL ฉายภาพธุรกิจ งาน Opp Day โชว์งบปี 67 โกยกำไร 181 ล้านบาท

[ภาพข่าว] KJL ฉายภาพธุรกิจ งาน Opp Day โชว์งบปี 67 โกยกำไร 181 ล้านบาท

           นายเกษมสันต์ สุจิวโรดม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วยนายพงศกร ประเวศวัฒนกุล ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท กิจเจริญ เอ็นจิเนียริ่ง อีเลคทริค จำกัด (มหาชน) หรือ KJL ร่วมให้ข้อมูลผลการดำเนินงานประจำปี 2567 ในงานบริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน (Opportunity Day) ถ่ายทอดผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ซึ่งบริษัทมีรายได้รวม 1,204.35 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 181.37 ล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยบริษัทจะจ่ายปันผลเป็นเงินสดจำนวน 0.35 บาทต่อหุ้น ขึ้น XD วันที่ 13 มีนาคม 2568 จ่ายปันผลวันที่ 7 พฤษภาคม 2568            ในปี 2568 บริษัทยังคงตั้งเป้ายอดขาย 1,400 ล้านบาท โดยบริษัทคาดหวังการเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะกลุ่ม Solar Rooftop ในขณะที่การลงทุนในโครงการศูนย์นวัตกรรม KJL Innovation Campus (KiN) ที่สร้างขึ้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ที่ทันสมัย เข้าถึงอุตสาหกรรมใหม่ ๆ โดยมีการจัดทำ Metal Design Lab และ Metal Total Solution พร้อมทั้งสร้าง Brand Experience รวมไปถึงสร้างโอกาสการได้เปรียบทางการแข่งขัน ทั้งนี้อาคารดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาส 4 ปี 2568

NDR ปี67 พลิกกำไร ปีนี้ลุยอังกฤษ – ญี่ปุ่น ปักธงรายได้ 1 พันลบ.

NDR ปี67 พลิกกำไร ปีนี้ลุยอังกฤษ – ญี่ปุ่น ปักธงรายได้ 1 พันลบ.

           หุ้นวิชั่น - บมจ. เอ็น.ดี. รับเบอร์ หรือ NDR เทิร์นอะราวด์ โชว์ผลงานปี 2567 พลิกมีกำไรสุทธิ 7.85 ล้านบาท จากปีก่อนที่ขาดทุนราว 65 ล้านบาท และมีรายได้รวม 918.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ  9.78  จากปีก่อนที่มีรายได้ 836.28 ล้านบาท หลังบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านเอ็มดี “ชัยสิทธิ์  สัมฤทธิวณิชชา” ปักธงเป้ารายได้ในปีนี้แตะ  1,000 ล้านบาท เดินหน้าขยายตลาดยางรถจักรยานยนต์ไปยังอังกฤษ – ญี่ปุ่น ลุยธุรกิจผลิตและจำหน่ายเชื้อเพลิงชีวภาพ คาดติดตั้งเครื่องจักรในไตรมาส 2/2568  เริ่มเดินเครื่องได้ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ สนับสนุนการเติบโตระยะยาว            นายชัยสิทธิ์  สัมฤทธิวณิชชา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ดี. รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NDR ผู้ผลิตและจำหน่ายยางนอกและยางในรถจักรยานยนต์ภายใต้แบรนด์ N.D.Rubber  เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในปี 2567 บริษัทฯมีรายได้รวมอยู่ที่ 918.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 81.85 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ  9.78  จากปีก่อนที่มีรายได้ 836.28  ล้านบาท โดยสาเหตุที่ผลประกอบการเติบโตมาจากการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง ตลอดจนการขยายตลาดสู่ต่างประเทศ โดยบริษัทฯ ได้รับส่วนแบ่งตลาดเพิ่มเติมในประเทศญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ ยอดขายในประเทศมาเลเซียยังปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น            ขณะที่บริษัทฯพลิกมีกำไรสุทธิ 7.85 ล้านบาท จากปีก่อนที่ขาดทุนราว 65 ล้านบาท  และบริษัทฯ สามารถรักษาอัตรากำไรขั้นต้นให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นได้ แม้ว่าราคาวัตถุดิบจะยังคงอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ร้อยละ 19.51 จากช่วงปีก่อนที่ร้อยละ 17.13 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการมุ่งเน้นการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในกลุ่มที่มีอัตรากำไรสูง ควบคู่ไปกับการควบคุมค่าใช้จ่ายในการขายและค่าใช้จ่ายในการบริหารให้อยู่ในระดับปกติ ส่งผลให้บริษัทฯ มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น            กรรมการผู้จัดการ NDR กล่าวอีกว่า บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายรายได้รวมปี 2568 ไว้ที่ 1,000 ล้านบาท โดยยังคงมุ่งเน้นธุรกิจหลักด้านการผลิตและจำหน่ายยางในและยางนอกรถจักรยานยนต์ ซึ่งคาดว่าจะสร้างรายได้คิดเป็นสัดส่วน 90-95% ของรายได้รวม พร้อมเดินหน้าขยายตลาดในอังกฤษและญี่ปุ่นเพิ่มเติม หลังจากได้รับการตอบรับที่ดีในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายตลาดไปยังสหรัฐอเมริกา            นอกจากการดำเนินธุรกิจหลักแล้วนั้น บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับการเติบโตในอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด ผ่านการลงทุนในธุรกิจผลิตและจำหน่ายเชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับความสนใจและสอดคล้องกับแนวโน้มด้านสิ่งแวดล้อม โดยคาดว่าธุรกิจนี้จะมีสัดส่วนรายได้ประมาณ 5% ของรายได้รวม คาดว่าจะสามารถติดตั้งเครื่องจักรในไตรมาส 2/2568  และจะเริ่มการผลิตได้ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ ซึ่งจะเป็นอีกธุรกิจหนึ่งในการขับเคลื่อนสำคัญที่ช่วยสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับบริษัทฯ ในระยะยาว

ITNS ปักหมุดรายได้ปี 68 โต 25-30% อานิสงส์ AI-Security ดันตลาดไอทีโตแกร่ง

ITNS ปักหมุดรายได้ปี 68 โต 25-30% อานิสงส์ AI-Security ดันตลาดไอทีโตแกร่ง

             หุ้นวิชั่น - บมจ.อินเตอร์เนชั่นแนล เน็ตเวิร์ค ซิสเต็ม (ITNS) ตั้งเป้ารายได้ปี 68 โต 25-30% โดยได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวของธุรกิจ AI และ Security ที่มีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมไอที พร้อมแตกไลน์ธุรกิจลุยงานพลังงานแสงอาทิตย์และระบบไฟฟ้า มุ่งสร้างรายได้ระยะยาว ฟากบอสใหญ่ “สมชาย อ่วมกระทุ่ม” แย้มฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น 64% มั่นใจหนุนผลงานปีนี้โตแกร่ง ฟากบอร์ดใจป้ำ! อนุมัติจ่ายเงินปันผล 0.153 บาท/หุ้น โดยกำหนดวัน Record Date ในวันที่ 5 มี.ค.68 และจ่ายเงินปันผลในวันที่ 6 พ.ค. 68 นี้              นายสมชาย อ่วมกระทุ่ม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เน็ตเวิร์ค ซิสเต็ม จำกัด (มหาชน) (ITNS) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายการเติบโตของรายได้ในปี 2568 ประมาณ 25-30% จากปีก่อน  โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมไอทีทั่วโลก โดยเฉพาะธุรกิจ AI และ Security ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย ส่งผลให้เกิดการปรับตัวและการลงทุนด้านเทคโนโลยี เพื่อรองรับการเติบโตที่เพิ่มขึ้น              บริษัทฯ ยังมุ่งเน้นการขยายฐานลูกค้าและตลาดอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อคัดสรรผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์เทคโนโลยีและสภาวะเศรษฐกิจที่ท้าทาย              "บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นที่จะรักษาการเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสภาวะตลาดที่มีความท้าทาย พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ จะสามารถสร้างรายได้และกำไรได้อย่างต่อเนื่อง" นายสมชาย กล่าว              ขณะที่ผลการดำเนินงานปี 2567 มีรายได้รวม 489.46 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 34.10 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ได้ดำเนินมาตรการเชิงรุก เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจ โดยมุ่งเน้นการควบคุมต้นทุน และปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งพัฒนาโซลูชันที่ตอบโจทย์ตลาดปัจจุบัน โดยเฉพาะด้าน Cloud Integration และ AI นอกจากนี้ บริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการขยายฐานลูกค้าให้ครอบคลุมหลากหลายอุตสาหกรรมผ่านทีมขายที่มีประสบการณ์  ทำให้สามารถเพิ่มฐานลูกค้าได้ถึง 64% จากปี 2566 ซึ่งคาดว่าจะส่งผลบวกต่อรายได้ในปีต่อๆ ไป โดยปัจจุบันบริษัทฯ มีโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ เพื่อส่งมอบให้กับลูกค้าอีกราว 300 ล้านบาท ทยอยรับรู้รายได้ตั้งแต่ไตรมาส 1/2568 เป็นต้นไป              นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลสำหรับงวดปี 2567 (มกราคม-ธันวาคม 2567) ให้กับผู้ถือหุ้นเป็นเงินสด ในอัตราหุ้นละ 0.153 บาท จำนวน 209,000,000 หุ้น รวมเป็นเงินจำนวน 31,977,000 บาท  โดยกำหนดให้ผู้ถือหุ้นที่จะมีชื่อปรากฏ ณ วันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้น (Record Date) ในวันที่ วันที่ 5 มีนาคม 2568 และกำหนดวันจ่ายเงินปันผล ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2568 [PR News]

“หมอพงศ์ศักดิ์” เก็บหุ้น JPARK เพิ่ม 0.0125% รวมถือ 5.01%

“หมอพงศ์ศักดิ์” เก็บหุ้น JPARK เพิ่ม 0.0125% รวมถือ 5.01%

              หุ้นวิชั่น - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับแบบรายงานการได้มาหุ้นของ บริษัท เจนก้องไกล จำกัด (มหาชน) (JPARK) โดย นายพงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี ซึ่งเป็นการได้มา เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2568 จำนวนหลักทรัพย์ที่ได้มา คิดเป็น 0.0125% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการได้มา คิดเป็น 5.01% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ที่ได้มา ของกลุ่มคิดเป็น 0.0125% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการได้มา ของกลุ่มคิดเป็น 5.01% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ

5 หุ้น mai ประกาศกำไรปี 67 โตสนั่น!

5 หุ้น mai ประกาศกำไรปี 67 โตสนั่น!

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน 5 หุ้น mai ประกาศกำไรปี 67 โตสูงสุด ได้แก่ APO พุ่งแรงสุด 724.29% รองลงมา IND โต 333.31% AMARC โต 313.70% TITLE โต 310.72% และ K โต 263%            ผู้สื่อข่าวรายงาน จากตลาดหลักทรัพย์ พบ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ประกาศผลประกอบการปี 2567 และมีกำไรโตสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ บริษัท เอเชียนน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) หรือ APO มีกำไรปี 2567 ที่ 107.06 ล้านบาท เทียบกับปี 2566 ที่ 12.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 94.07 ล้านบาท เติบโต 724.29% บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ IND มีกำไรปี 2567 ที่ 57.89 ล้านบาท เทียบกับปี 2566 ที่ 13.36 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 44.53 ล้านบาท เติบโต 333.31% บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์และการเกษตรแห่งเอเซีย จำกัด (มหาชน) หรือ AMARC มีกำไรปี 2567 ที่ 39.89 ล้านบาท เทียบกับปี 2566 ที่ 9.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.25 ล้านบาท เติบโต 313.70% บริษัท ร่มโพธิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ TITLE มีกำไรปี 2567 ที่ 91.22 ล้านบาท เทียบกับปี 2566 ที่ 22.21 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 69.01 ล้านบาท เติบโต 310.72% บริษัท คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหาชน) หรือ K มีกำไรปี 2567 ที่ 50.62 ล้านบาท เทียบกับปี 2566 ที่ 13.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36.09 ล้านบาท เติบโต 263% โดย แสดงเป็นตาราง ดังนี้            ด้าน ดร.พรลภัส ณ ลำพูน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ IND เปิดเผยว่า สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้างในปี 2568 มีแนวโน้มฟื้นตัวที่ดีขึ้น จากการที่รัฐบาลมีแรงขับเคลื่อนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยผลักดันให้มีงานโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ออกมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานอื่นๆ ที่ยังมีแนวโน้มขยายตัว ทำให้เห็นสัญญาณบวกที่ส่งผลดีต่อธุรกิจ ซึ่งปีนี้บริษัทฯ ตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ไว้ไม่ต่ำกว่า 10-15% เทียบกับปีที่ผ่านมา โดยทยอยรับรู้รายได้จาก Backlog ที่มีอยู่ประมาณ 2,924 ล้านบาท (ณ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2567)            “ที่ผ่านมากลุ่มบริษัทฯ ได้วางกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจอย่างเข้มข้น รวมถึงดำเนินธุรกิจได้ตามแผนที่วางไว้ จึงผลักดันให้รายได้และกำไรปี 2567 เติบโตตามที่คาดการณ์ไว้  ซึ่งเชื่อว่านับจากนี้ภาพรวมธุรกิจจะเติบโตอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น จากการมุ่งเน้นเข้าร่วมประมูลงานใหม่ๆ ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ รวมถึงภาคเอกชน รวมถึงศึกษาธุรกิจใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจพลังงานสะอาด ทั้งรูปแบบงานรับเหมาก่อสร้างแบบครบวงจร (EPC) เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและรักษาอัตรากำไรให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งเพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นได้ในระยะยาว” ดร.พรลภัส  กล่าว ที่มา : https://www.set.or.th/

FPI ปี 67 รายได้โต 2.6 พันลบ. ลุยเพิ่มกำลังผลิตรับออเดอร์อินเดีย ดันปี 68 ออลไทม์ไฮ

FPI ปี 67 รายได้โต 2.6 พันลบ. ลุยเพิ่มกำลังผลิตรับออเดอร์อินเดีย ดันปี 68 ออลไทม์ไฮ

          บมจ.ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ (FPI) ฐานแน่น! ปี 67 โชว์รายได้ 2,628.3 ล้านบาท กำไรสุทธิ 276.2 ล้านบาท บอร์ดเคาะจ่ายเงินปันผลรวมปี67 อยู่ที่ 0.08 บาท/หุ้น โดยได้จ่ายระหว่างกาลงวดครึ่งปีแรกไปแล้ว 0.04 บาท/หุ้น ยังคงเหลือจ่ายอีก 0.04 บาท/หุ้น กำหนดขึ้น XD วันที่ 2 พฤษภาคม และจ่ายเงินปันผลวันที่ 25 พฤษภาคม 2568 ฟากบิ๊กบอส "สมพล ธนาดำรงศักดิ์"ระบุตั้งเป้ารายได้ปีนี้เติบโต 10% แตะระดับ 3,000 ล้านบาท ทำออลไทม์ไฮ เดินหน้าเพิ่มกำลังการผลิตรับออเดอร์ทะลักโดยเฉพาะจากลูกค้าในอินเดียและไทย ตุน Backlog แน่น 1,000 ล้านบาท ทยอยรับรู้รายได้ 2 ปี           นายสมพล ธนาดำรงศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน) (FPI) เปิดเผยว่า ภาพรวมผลการดำเนินงานปี 2567 (สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2567) บริษัทฯ มีรายได้รวม 2,628.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 115.3 ล้านบาท หรือ 4.6% จากปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราการส่งออกไปยังตะวันออกกลางที่เพิ่มสูงขึ้น ควบคู่กับการเพิ่มขึ้นของปริมาณการขายของบริษัทย่อยในต่างประเทศ และบริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 276.2 ล้านบาท มีอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 27.28%           ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ได้มีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานงวดวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567 ในอัตรา  0.08 บาทต่อหุ้น ซึ่งบริษัทฯ ได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับงวดวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567 ในอัตรา 0.04 บาทต่อหุ้นดังนั้น จึงเหลืองวดดำเนินงานวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567 อีก 0.04 บาทต่อหุ้น กำหนดวันขึ้น XD วันที่ 2 พฤษภาคม 2568 และจ่ายเงินปันผลวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 ทั้งนี้จะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งมีกำหนดจัดประชุมในวันที่ 25 เมษายน 2568           สำหรับปี 2568 บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้ที่ระดับ 3,000 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 10% สร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หลังจากปี2567 ซึ่งมีการลงทุนติดตั้งเครื่องจักรใหม่ พร้อมกับปรับปรุงระบบการจัดการภายในทั้งหมด รวมถึงระบบ ERP เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจของบริษัทลูกในประเทศอินเดีย 2 แห่ง มีแนวโน้มเติบโตอย่างโดดเด่น ทั้ง บริษัท เอฟพีไอ ออโต้ พาร์ท อินเดีย และ บริษัท อาร์บีเอส พลาสติก อินโนเวชั่น จำกัด ที่มีคำสั่งซื้อ OEM จากลูกค้าเข้ามาจำนวนมาก ขณะที่ลูกค้าในประเทศไทยก็มีแนวโน้มการเติบโตในทิศทางที่ดีเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ล่าสุดบริษัทฯ มีงานในมือ (Backlog) เพิ่มขึ้นเป็น 1,000 ล้านบาท ทยอยรับรู้รายได้ใน 2 ปี           นอกจากนี้ในปี 2568 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) คาดการณ์ปริมาณการผลิตรถยนต์อยู่ที่ประมาณ 1.50 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 2.1% และสำหรับตลาดอะไหล่ทดแทนจะเติบโตขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน เนื่องจากรถยนต์สะสมทั่วโลกในปี 2024 มียอดสูงถึง 2,140 ล้านคัน ทำให้บริษัทสามารถขยายฐานลูกค้าไปในตลาดต่างประเทศมากยิ่งขึ้น สำหรับชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์แบรนด์ญี่ปุ่นและเกาหลี นอกจากนี้ปัญหาสงครามการค้าจากสหรัฐอเมริกา และจีน จะทำให้ยอดลูกค้าอเมริกาหันมาซื้อสินค้าในประเทศอาเซียนมากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลประโยชน์กับบริษัทในอนาคต [PR News]

STX โชว์งบปี 67 นิวไฮรอบ 5 ปี ลุยซื้อเหมืองใหม่เพชรบุรี หนุนโตยาว

STX โชว์งบปี 67 นิวไฮรอบ 5 ปี ลุยซื้อเหมืองใหม่เพชรบุรี หนุนโตยาว

               หุ้นวิชั่น - “บมจ.สโตนวัน หรือ STX” ขยายอาณาจักรเหมืองหิน เดินหน้าซื้อเหมืองใหม่ที่ จ.เพชรบุรี เพิ่มปริมาณสำรองหินอุตสาหกรรม รองรับดีมานด์ก่อสร้างจากเมกะโปรเจกต์ภาครัฐ-โครงการ EEC ที่ขยายตัวในอัตราเร่ง ดันศักยภาพเติบโตระยะยาว จากปี 67 ประกาศผลงานทุบสถิติรายได้-กำไรในรอบ 5 ปี โดยกำไรสุทธิอยู่ที่เกือบ 52 ล้านบาท โตแรง 36% รายได้รวมเกือบ 457 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23% ด้าน ESG โดดเด่น ปลื้มคว้ารางวัล Green Mining Award ตอกย้ำผู้นำมาตรฐานเหมืองสีเขียว พร้อมแจกปันผล 0.10 บาท/หุ้น ขึ้น XD วันที่ 14 มี.ค. 68                 นายทรงวุธ เวชชานุเคราะห์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สโตนวัน จำกัด (มหาชน) หรือ STX ผู้นำในอุตสาหกรรมเหมืองหินและแร่ เปิดเผยว่า ในปี 2567 บริษัททำสถิติรายได้และกำไรสูงสุดในรอบ 5 ปี นับจากปี 2563 ด้วยความเชี่ยวชาญด้านหินอุตสาหกรรมและแร่โดโลไมต์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ทำให้ STX อยู่ในจังหวะเติบโต ด้วยศักยภาพธุรกิจที่แข็งแกร่ง และมีแผนขยายเหมืองใหม่ รองรับดีมานด์จากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐ มอเตอร์เวย์, รถไฟฟ้า และนิคมอุตสาหกรรม รวมถึงการก่อสร้างภาคเอกชนที่โตรองรับการขยายเมือง               ปัจจุบัน STX อยู่ระหว่างการเข้าซื้อเหมืองใหม่ที่ อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี เป็นเหมืองหินปูนที่ได้รับอนุญาตประทานบัตร เป็นอายุประทานบัตร 29 ปี ด้วยปริมาณสำรองหินปูนตามประทานบัตร 25 ล้านตัน จะช่วยเพิ่มปริมาณสำรองหินอุตสาหกรรม และทำให้บริษัทสามารถรองรับคำสั่งซื้อในอนาคตได้มากขึ้น โดยจะนำเสนอแผนการลงทุนของเหมืองใหม่เพื่อขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 คาดว่าจะเริ่มเห็นความชัดเจนปีนี้ สนับสนุนโอกาสการเติบโตในระยะยาว               “ธุรกิจเหมืองหินและแร่ เป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง รวมทั้งการเข้ามาของผู้เล่นรายใหม่ทำได้ยาก เพราะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และใช้เงินลงทุนสูง จึงเป็นโอกาสของ STX ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า เนื่องจาก ธุรกิจเหมืองของบริษัทอยู่ใกล้แหล่งก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการ สร้างความได้เปรียบแก่บริษัท เนื่องจากต้นทุนการขนส่งเป็นปัจจัยสำคัญในการแข่งขัน” นายทรงวุธ กล่าว               ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในปี 2567 บริษัทฯ มีกําไรสุทธิ 51.76 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.72 ล้านบาท หรือเติบโต 36.1% มีรายได้รวม 456.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 85.31 ล้านบาท หรือ 23% จากปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากการขยายตัวของยอดขายในกลุ่มผลิตภัณฑ์หินแกรนิตจากเหมืองหนองข่าที่เพิ่มขึ้นถึง 89.63 ล้านบาท จากภาวะอุตสาหกรรมก่อสร้างในแถบภาคตะวันออกมีการเร่งเดินหน้าในโครงการขนาดใหญ่ และปริมาณหินก่อสร้างขนาด 20 มม. มีความต้องการสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาของหินแกรนิตปรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ขณะที่กลุ่มผลิตภัณฑ์แร่โดโลไมต์ มียอดขายเพิ่มขึ้น 30.52 ล้านบาท               และมีแนวโน้มขยายตัว จากอุตสาหกรรมเหล็กและกระจกที่เติบโต ในส่วนของผลิตภัณฑ์หินปูนมียอดขายลดลง 28.95 ล้านบาท จากการชะลอตัวของภาคการก่อสร้างโดยรวมในพื้นที่แถบจ.ราชบุรี ทำให้ความต้องการหินก่อสร้างลดลงและการแข่งขันด้านราคาที่สูงขึ้นจากเหมืองใกล้เคียง ส่งผลให้ภาพรวมในปี 2567 บริษัทมีสัดส่วนรายได้จากหินแกรนิต หินปูน และแร่โดโลไมต์ อยู่ที่ 48%, 37% และ 15% ของรายได้ตามลำดับ               “ในปี 2567 ถือเป็นอีกปีแห่งการเติบโตครั้งใหญ่ของเรา ได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการ EEC ที่กลับมาเร่งพัฒนา รวมถึงการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจหลายด้าน เช่น การขยายสินค้าใหม่กลุ่มผลิตภัณฑ์โดโลไมต์ การปรับโครงสร้างโลจิสติกส์ การขยายฐานลูกค้าและกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจแทนการพึ่งพาอุตสาหกรรมก่อสร้างเพียงอย่างเดียว และการเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai เพื่อระดมทุนขยายกิจการ และการเข้าซื้อเหมืองหินแหล่งใหม่เพื่อเพิ่มปริมาณสำรองหินอุตสาหกรรม ส่งผลให้ธุรกิจของบริษัทมีการเติบโตที่ยั่งยืนมากขึ้น” นายทรงวุธ กล่าว               นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทเดินหน้า ESG ควบคู่กับการขยายตัวทางธุรกิจ กลุ่มบริษัทได้รับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green System) ในปี 2567 กลุ่มบริษัทได้รับรางวัลรักษามาตรฐานเหมืองแร่สีเขียว (Green Mining Award) ประเภทเหมืองแร่และโรงโม่หิน รวมถึงสถานประกอบการตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR-DPIM) จากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ โดยได้รับทั้ง บริษัท สโตนวัน จำกัด (มหาชน) และบริษัท ราชบุรี เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (บริษัทย่อย) รางวัลเหล่านี้นับเป็นความภาคภูมิใจของกลุ่มบริษัท และเป็นแรงผลักดันให้พัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการเติบอย่างยั่งยืนในระยะยาว               อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการตอบแทนผู้ถือหุ้น ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติจ่ายปันผลเป็นเงินสดสำหรับผลประกอบการปี 2567 ในอัตราหุ้นละ 0.155 บาท โดยบริษัทได้จ่ายปันผลระหว่างกาลในปี 2567 ให้แก่ผู้ถือหุ้นไปในอัตราหุ้นละ 0.055 บาท เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2567 คงเหลือจ่ายปันผลสำหรับงวดนี้ในอัตราหุ้นละ 0.10 บาท โดยวันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล (XD) วันที่ 14 มีนาคมนี้ กำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผล (Record Date) วันที่ 17 มีนาคม และจ่ายเงินปันผลวันที่ 30 พฤษภาคม 2568 ซึ่งนับเป็นการจ่ายปันผลทันทีหลังจากเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai               ทั้งนี้ STX เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์หินอุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้าง และแร่โดโลไมต์ รวมทั้ง ให้บริการด้านขนส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าที่ไซต์งานอย่างครบวงจร ปัจจุบัน บริษัทและบริษัทย่อย มีเหมืองหิน 2 แห่ง ประกอบด้วย เหมืองหนองข่า (ผลิตและจำหน่ายหินแกรนิต) ตั้งอยู่ที่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และเหมืองจอมบึง (ผลิตและจำหน่ายหินปูนและแร่โดโลไมต์) ตั้งอยู่ที่ อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี โดยเหมือนหินทั้ง 2 ที่ของบริษัท ระยะทางห่างกันเกินกว่า 150 กิโลเมตร ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ทางด้านการขายของบริษัท โดยเหมืองหินแกรนิตซึ่งตั้งอยู่บริเวณภาคตะวันออกของประเทศ จะสามารถจำหน่ายให้กับกลุ่มลูกค้าแถบจังหวัดชลบุรี ซึ่งรวมถึงพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก EEC และพื้นที่ในบริเวณใกล้เคียง ในส่วนของเหมืองหินจอมบึงซึ่งอยู่ทางภาคตะวันตกของประเทศ ถือได้ว่าเป็นเหมืองหินขนาดใหญ่ในพื้นที่ สามารถจำหน่ายให้กับกลุ่มลูกค้าแถบจังหวัดราชบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง  รองรับความต้องการของลูกค้าได้อย่างทั่วถึง

LEO ขนส่งโค้งแรกสดใส เปิดกรุรับทรัพย์เต็มสูบ

LEO ขนส่งโค้งแรกสดใส เปิดกรุรับทรัพย์เต็มสูบ

           หุ้นวิชั่น - LEO ส่งซิกขนส่งโค้งแรกสดใส จับตาช่วงพีคไตรมาส 2-3 ด้านบอสใหญ่ "เกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์" ฉายภาพอุตสาหกรรมปี 68 เป็นบวก ใส่เกียร์ดันรายได้โตต่อ พร้อมรักษา Gross Profit Margin ในระดับ 20% เปิดกรุรับทรัพย์ผลการลงทุนเต็มปี ผู้ถือหุ้นเฮ! บอร์ดใจดีอนุมัติจ่ายเงินปันผลปี 67 อัตรา 0.14 บาท เล็ง XD  13 มี.ค.68 พร้อมโอน 14 พ.ค.นี้            นายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LEO เปิดเผยว่า แนวโน้มธุรกิจขนส่งในเดือนมกราคมที่ผ่านมาเป็นไปตามแผนของบริษัท โดยปกติแล้ว ไตรมาสแรกของปีมักไม่ใช่ช่วงพีคของการนำเข้าและส่งออก ซึ่งจะเร่งตัวขึ้นในไตรมาสที่ 2-3 อย่างไรก็ตาม บริษัทคาดว่าผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/2568 จะเป็นไปตามเป้าหมาย และมีโอกาสเติบโตเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน            สำหรับภาพรวมทั้งปี 2568 บริษัทมีมุมมองเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมขนส่ง และยังคงตั้งเป้ารายได้เติบโตต่อเนื่อง พร้อมรักษาอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ในระดับ 20% ขณะที่อัตรการกำไรสุทธิ (Net Profir Margin) ให้อยู่ที่ระดับ 8% จากปี 2567 อยู่ที่ระดับใกล้เคียง 2% เพื่อสร้างผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ถือหุ้น            ขณะเดียวกัน เชื่อว่าสถานการณ์ในปี 2568 จะดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2567 เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่าย One-time หรือการตั้งสำรองหนี้สูญเพิ่มเติม หลังจากที่บริษัทได้ดำเนินการตั้งสำรองสำหรับลูกค้าที่มีปัญหา และยกเลิกการดำเนินธุรกิจในเมียนมาไปแล้ว ส่งผลให้มีการรับรู้การตั้งสำรองดังกล่าวไปแล้วในไตรมาส 4 ของปีที่ผ่านมา            สำหรับการขนส่งทางราง คาดว่าจะเห็นตัวเลขการดำเนินธุรกิจที่ชัดเจนมากขึ้น โดยในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ของปีที่ผ่านมา อัตราการเติบโตอยู่ในระดับที่ดี อย่างไรก็ตาม ในปี 2568 บริษัทไม่มีแผนลงทุนขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งได้ใช้เงินจากการระดมทุนจากการเสนอขายหุ้น IPO ไปกับการขยายธุรกิจ Self-Storage และ Wine Storage สาขาที่ 3 บนถนนพระราม 4 โดยในปีนี้ บริษัทจะมุ่งเน้นการสร้างรายได้จากการลงทุนที่ผ่านมาให้เกิดความคุ้มค่า            สำหรับการลงทุนผ่านการควบรวมกิจการ (M&A) บริษัทมีแนวทางชัดเจนว่าจะลงทุนในธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นจากศูนย์เหมือนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ บริษัทไม่ได้ปิดกั้นโอกาสในการทำ M&A และยอมรับว่า ที่ผ่านมาได้มีการเจรจาดีลหลายครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากธุรกิจที่มีการเจรจาได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก ทำให้ผลประกอบการไม่เป็นไปตามเป้าหมาย            ดังนั้น ในปี 2568 บริษัทจึงยังไม่มีแผนลงทุนขนาดใหญ่ และไม่มีแผนเพิ่มทุน เนื่องจากยังมีเงินสดเพียงพอสำหรับการดำเนินงาน หากมีความจำเป็นต้องลงทุนในธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนไม่สูง นอกจากนี้ บริษัทยังมีเงินสนับสนุนจากสถาบันการเงินที่สามารถนำมาใช้ได้หากมีความจำเป็น            สำหรับภาพรวมผลการดำเนินงวดปี 2567 (สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2567) บริษัทฯ มีรายได้รวม จำนวน1,632.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 259.6 ล้านบาท คิดเป็น19% เมื่อเทียบกับปีก่อน และมีกำไรสุทธิของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ (งบการเงินรวม) อยู่ที่ จำนวน 47.6  ล้านบาท ในขณะที่กำไรสุทธิของบริษัทใหญ่อยู่ที่ 83.4 ล้านบาท            พร้อมกันนี้ ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ได้มีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลของปี 2567 ให้กับผู้ถือหุ้นเป็นเงินสดในอัตรา 0.14 บาท/หุ้น เป็นจำนวนเงินรวม 44.1 ล้านบาท จากกำไรสุทธิของบริษัทใหญ่ที่ 83.4  ล้านบาท และกำหนดขึ้นเครื่องหมาย XD ในวันที่ 13 มีนาคม 2568 และกำหนดจ่ายเงินปันผลวันที่ 14 พฤษภาคม 2568 รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

THANA เสริมแกร่งธุรกิจ ดึงพันธมิตรลุยโปรเจกต์ต่อเนื่อง

THANA เสริมแกร่งธุรกิจ ดึงพันธมิตรลุยโปรเจกต์ต่อเนื่อง

           THANA เผยผลประกอบการ 2024 เติบโตอย่างสมดุล น่าอยู่ ยั่งยืน ดันรายได้รวมจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และบริการ อยู่ที่ 1,187 ล้านบาท พร้อมเตรียมนำเสนอต่อประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อจ่ายเงินปันผล ทั้งยังคงเดินหน้าสร้างความแข็งแกร่ง ปี 2025 ด้วยการชูกลยุทธ์ Proactive & Cost Efficiency และเหนียวแน่นกับ อนาบูกิ โคซัน พันธมิตรบิ๊กอสังหาฯ สัญชาติญี่ปุ่น ร่วมทุนพัฒนาโครงการลักชัวรี ภายใต้แบรนด์ “ธนาเรสซิเดนซ์ กาญจนาภิเษก - พระราม 9” มูลค่า 1,500 ล้านบาท พร้อมรุกธุรกิจด้านบริการ และสุขภาพ สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน            นายสุทธิรักษ์ เสถียรภาพอยุทธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และ นายธนิศร นิติสาโรภาส ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการเงิน (CFO) ธนาสิริ กรุ๊ป (THANA) ร่วมกันเปิดเผยถึงผลประกอบการปี 2024 ในงาน Opportunity Day ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยแจ้งผลประกอบการที่เติบโตขึ้นในปี 2024 กับรายได้รวมจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และบริการ อยู่ที่ 1,187 ล้านบาท เติบโตขึ้นเล็กน้อยประมาณ 16 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งจากโครงการบริษัท และโครงการร่วมทุน โดยยังคงสอดคล้องกับกลยุทธ์การเติบโตอย่างสมดุล น่าอยู่ และยั่งยืน            ด้วยผลประกอบการดังกล่าว บริษัทฯ มีมตินำเสนอในที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินปันผล ในอัตราหุ้นละ 0.041 บาท โดยจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลแล้ว 0.025 บาทต่อหุ้น คงเหลือจ่ายเงินปันผลงวดนี้ 0.016 บาทต่อหุ้น ทั้งนี้ หากได้รับการพิจารณาอนุมัติแล้ว มีกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 9 พฤษภาคม นี้            “สำหรับแผนธุรกิจปี 2025 บริษัทวางกลยุทธ์ “Proactive & Cost Efficiency” ที่มุ่งเน้นการทำงานเชิงรุก และการบริหารต้นทุน อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเร่งขยายการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยยังคงร่วมทุนกับ อนาบูกิ โคซัน พันธมิตรรายใหญ่ด้านธุรกิจอสังหาฯ ของญี่ปุ่น ในการพัฒนาโครงการต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีโครงการร่วมทุน จำนวน 4 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 3,400 ล้านบาท ทั้งโซนนนทบุรีและ บางนา-บางบ่อ และสิ้นไตรมาสแรกปีนี้ เตรียมเปิดโครงการลำดับที่ 5 เป็นโครงการลักชัวรี ภายใต้แบรนด์ “ธนาเรสซิเดนซ์ กาญจนาภิเษก - พระราม 9” มูลค่า 1,500 ล้านบาท”            พร้อมกันนี้ ธนาสิริ กรุ๊ป (THANA) ยังคงมุ่งสู่ธุรกิจการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของท่านเจ้าของบ้านในทุกมิติ ผ่าน Home Smile by THANA ธุรกิจบริการตกแต่งต่อเติมครบวงจร และธุรกิจด้านสุขภาพ ผ่าน Homey Wellness คลินิกกายภาพบำบัด ตามพันธกิจการเป็น Lifetime Total Living Solution ตอบทุกโจทย์การอยู่อาศัยของคนทุกวัย พร้อมมอบบริการครอบคลุม One Stop Service            “สำหรับผลการดำเนินงาน THANA Green ในปี 2024 ที่ผ่านมาว่ามีการผลักดันทั้งภายในองค์กร และภายนอกองค์กรให้สามารถวัดผลได้ในทุกมิติ มุ่งเน้นการทำงานให้สอดคล้องกับ E-S-G ภายใต้กรอบแนวคิด Total Green Real Estate Development – Services ในทุกกระบวนการอย่างเข้มข้น ซึ่งจากผลการดำเนินงานสามารถช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ 147,486 KgCO2eq เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น 14,749 ต้น (* การปลูกต้นไม้ยืนต้น 1 ต้น ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ประมาณ 9-15 กิโลกรัม ต่อปี) โดยทั้งหมดนี้ เพื่อตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นในการสร้างสังคมที่ร่มรื่น อบอุ่น ในทุกจังหวะชีวิตอย่างยั่งยืน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวในที่สุด [PR News]

TEGH ปี 67 กำไรโต 158.86% เล็งดันบ.ย่อย “TEBP”เข้าตลาด mai

TEGH ปี 67 กำไรโต 158.86% เล็งดันบ.ย่อย “TEBP”เข้าตลาด mai

              หุ้นวิชั่น - บมจ.ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (TEGH) เปิดงบปี 2567 รายได้แตะ 16,843.70 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38.86% กำไรสุทธิ 556.49 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 158.86% บอร์ดไฟเขียวจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสดในอัตรา 0.21 บาท/หุ้น กำหนดขึ้น XD วันที่ 19 มีนาคม 2568 และจ่ายเงินปันผลวันที่ 23 พฤษภาคม 2568 ฟากแม่ทัพหญิง “สินีนุช โกกนุทาภรณ์” ระบุตั้งเป้ารายได้ปีนี้เติบโต 30% ประเมินยอดขายยางแท่งมีลุ้นออลไทม์ไฮต่อเนื่อง ลุยสร้างการเติบโตในทุกธุรกิจ ทั้งยางธรรมชาติ น้ำมันปาล์ม และพลังงานทดแทนและรับบริหารจัดการกากอินทรีย์ พร้อมเตรียมแผนนำบริษัทย่อย “TEBP” ระดมทุนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)               นางสาวสินีนุช โกกนุทาภรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TEGH ผู้ผลิตและจำหน่ายยางธรรมชาติ และน้ำมันปาล์มดิบรายใหญ่ในภาคตะวันออก และผู้นำด้านการผลิตพลังงานทดแทนและรับบริหารจัดการกากอินทรีย์แบบครบวงจร ที่นำพลังงานสะอาดมาใช้ในกระบวนการผลิต เปิดเผยว่า ภาพรวมผลการดำเนินงานงวดปี 2567 (สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2567) บริษัทฯ มีรายได้ 16,843.70 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38.36% ถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่บริษัทฯ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางธรรมชาติ 14,774 ล้านบาท ธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบ 1,907 ล้านบาท และธุรกิจพลังงานทดแทนและบริหารจัดการกากอินทรีย์ 139 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 88%, 11%, 1% ของรายได้ทั้งหมดตามลำดับ และมีกำไรสุทธิ 556.49 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 158.86% หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้น 202.60% ก่อนหักรายการพิเศษบันทึกค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ถาวรของบริษัทย่อย จำนวน 94.05 ล้านบาท               พร้อมกันนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 ได้มีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานงวดวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567 ในอัตราหุ้นละ 0.21 บาท โดยกำหนดวันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผล (Record Date) ในวันที่ 20 มีนาคม 2568 และจ่ายเงินปันผลวันที่ 23 พฤษภาคม 2568 ทั้งนี้จะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งมีกำหนดจัดประชุมในวันที่ 25 เมษายน 2568               สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2568 บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้รวมเติบโต 30% แตะระดับ 22,000 ล้านบาท จากทุกกลุ่มธุรกิจ ทั้งยางธรรมชาติ น้ำมันปาล์ม และพลังงานทดแทนและรับบริหารจัดการกากอินทรีย์ โดยเฉพาะธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางแท่ง มีโอกาสที่ยอดขายจะทำสถิติสูงสุดใหม่ (All Time High) จากปริมาณขายที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 250,000-280,000 ตัน และราคายางธรรมชาติปรับตัวสูงขึ้น โดยที่ผ่านมากลุ่มบริษัทฯ TEGH มียอดการผลิตและจำหน่ายยางแท่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งในปี 2567 มีมียอดขายยางแท่ง 220,284 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ที่มียอดขาย 197,240 ตัน คิดเป็นเพิ่มขึ้น 11.68% โดยมีสัดส่วนปริมาณส่งออกยางแท่งที่ 66.1% เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ซึ่งอยู่ที่ 47.75% อันเป็นผลมาจากการขยายกำลังการผลิตยางแท่งที่เพิ่มขึ้นเป็น 390,000 ตันต่อปี และมีปริมาณขายยางแท่งเกรด EUDR ทั้งหมดที่ 51,743 ตัน โดยคิดเป็นสัดส่วนยางแท่งเกรด EUDR ถึง 45.11% ของปริมาณส่งออกยางแท่งทั้งหมดในครึ่งปีหลัง สะท้อนถึงความสามารถในการขยายฐานลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ และความต้องการสินค้ายางแท่งเกรด EUDR โดยเฉพาะตลาดยุโรป ที่ถึงแม้จะมีการเลื่อนการบังคับใช้กฎหมาย EUDR ออกไปอีก 1 ปี (เริ่มบังคับใช้ 31 ธันวาคม 2568)               ส่วนธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบ มีแนวโน้มผลการดำเนินงานจะเทิร์นอะราวด์ในปีนี้ หลังจากปรับปรุงกระบวนการผลิต ซ่อมบำรุงเครื่องจักร ติดตั้งหม้อต้มไอน้ำ (Boiler) ลูกใหม่ ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้น และหม้อนึ่งปาล์มต่อเนื่อง (Sterilizer) ที่ติดตั้งแล้วเสร็จไปในปีก่อน พร้อมดำเนินการทดสอบเครื่องจักรในช่วงผลผลิตปาล์มออกสู่ตลาด หรือภายในไตรมาส 2 ของปีนี้ ทำให้กำลังการผลิตน้ำมันปาล์มดิบจะเพิ่มขึ้นอีก 20% ในปี 2568 และจะเพิ่มเป็น 50% ภายในปี 2569 พร้อมเตรียมพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลในปีนี้ โดยการนำทะลายปาล์มมาเพิ่มมูลค่าใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับทดแทนการซื้อไฟฟ้าจากภายนอกของโรงงานในกลุ่มบริษัทฯ และจากสภาวะตลาดปาล์มน้ำมันที่ไม่ปกติในช่วง 2-3 ปีที่ผ่าน บริษัทฯ จึงได้พิจารณาบันทึกการด้อยค่าสินทรัพย์ถาวรของบริษัทย่อยในสายธุรกิจปาล์มน้ำมันเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการใช้งานในปัจจุบัน ซึ่งบริษัทฯ ประเมินว่าจะช่วยลดภาระค่าเสื่อมระหว่างปี 2568-2570 ลงได้ประมาณปีละ 20 ล้านบาท               ด้านธุรกิจด้านพลังงานทดแทนและรับบริหารจัดการกากอินทรีย์ ปีที่ผ่านมาเติบโตอย่างโดดเด่น หลังขยายกำลังการผลิตก๊าซชีวภาพโซน 3 เฟสที่ 1 เสร็จเรียบร้อย ที่กำลังการผลิตก๊าซชีวภาพ 30,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และรับรู้รายได้จากการขายก๊าซชีวภาพผ่านทางท่อให้กับ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GGC) แล้วเมื่อช่วงปลายปี และมีแนวโน้มที่ความต้องการใช้ก๊าซชีวภาพจะเพิ่มขึ้นในปีนี้ ล่าสุดเตรียมขยายกำลังการผลิตก๊าซชีวภาพโซน 3 เฟสที่ 2 เพิ่มอีก 90,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ควบคู่กับการศึกษาและพัฒนายกระดับขึ้นเป็นก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) เพื่อใช้ทดแทนก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) และก๊าซธรรมชาติ (NGV) สำหรับอุตสาหกรรมการขนส่งในอนาคต               นอกจากนี้ ในที่ประชุมคณะกรรมการ TEGH ได้มีมติอนุมัติแผน Spin-Off ของบริษัทย่อย คือ บริษัท ไทยอีสเทิร์น ไบโอ พาวเวอร์ จำกัด (TEBP) ในการออกและเสนอขายหุ้นสามัญที่ออกใหม่ต่อประชาชนครั้งแรก (IPO) และแผนการนำหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินและสร้างการเติบโตทางธุรกิจในอนาคต ภายใต้แผน Spin-Off นั้น TEBP จะเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) เท่ากับหุ้นละ 1 บาท โดยจะออกและเสนอขายหุ้นสามัญที่ออกใหม่จำนวนไม่เกิน 75 ล้านหุ้น และ TEGH จะขายหุ้นเดิมจำนวนไม่เกิน 15 ล้านหุ้น รวมจำนวนหุ้นที่จะ IPO ทั้งหมดไม่เกิน 90 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 30.00% ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของ TEBP โดยภายหลังการ IPO TEGH ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ TEBP และ TEBP จะยังคงมีสถานะเป็นบริษัทย่อยของ TEGH ภายหลังการ IPO

YGG ขายลิขสิทธิ์

YGG ขายลิขสิทธิ์ "Home Sweet Home: Rebirth" 64 ประเทศทั่วโลก เตรียมฉายปลายมีนาคมนี้

          หุ้นวิชั่น - อิ๊กดราซิล กรุ๊ป ประกาศความสำเร็จในการขยายธุรกิจสู่ตลาดสากล ปิดดีลขายลิขสิทธิ์ ภาพยนตร์ ฮอลลีวูด "Home Sweet Home: Rebirth" ให้กับพันธมิตรระดับแนวหน้าในวงการภาพยนตร์แล้ว 64 ประเทศทั่วโลก พร้อมทยอยรับรู้รายได้กว่า 1.4 ล้านดอลลาร์หรือราว 47 ล้านบาท สะท้อนถึงศักยภาพ และ ความเชื่อมั่นในระดับสากล  พร้อมเสริมความแข็งแกร่งด้วยการเพิ่มทุน 135 ล้านบาท           นายธนัช จุวิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท อิ๊กดราซิล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ YGG  เปิดเผยว่า ภาพยนตร์ฮอลลีวูด เรื่อง "Home Sweet Home: Rebirth" ได้ทยอยขายลิขสิทธิ์แล้ว ปรากฎว่า ได้รับความสนใจจากบริษัทจัดจำหน่ายชั้นนำระดับโลก ปัจจุบันสามารถขายลิขสิทธิ์ได้แล้วใน  64 ประเทศทั่วโลกโดย  เฉพาะ  Vertical Entertainment ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์คุณภาพในสหรัฐอเมริกา ที่มีผลงานโดดเด่นจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติอย่าง Poolman (TIFF 2023), Firebrand (Cannes 2023) และ She Came to Me (Berlin 2023) Signature Entertainment ผู้จัดจำหน่ายอิสระชั้นนำในสหราชอาณาจักร ซึ่งมีเครือข่ายกว้างขวางและประสบการณ์จากผลงานกว่า 1,500 เรื่อง รวมถึง Femme (George MacKay), The End We Start From (Jodie Comer) และ The Dead Don't Hurt (Viggo Mortensen) เป็นอีกหนึ่งพันธมิตรสำคัญที่จะช่วยผลักดันภาพยนตร์เรื่องนี้ให้เข้าถึงตลาดยุโรปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีพันธมิตรสำคัญอย่าง Splendid Film, Arna Media และ Noori Film ที่จะช่วยขยายการเข้าถึงไปยังภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก โดยบริษัทยังอยู่ระหว่างการเจรจากับหลายประเทศเพิ่มเติม ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน สำหรับตลาดในประเทศไทย บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับผู้จัดจำหน่าย เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าฉายในประเทศไทยเช่นกัน "YGG จะเริ่มทยอยรับรู้รายได้ตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป ผ่านสองช่องทางหลัก โดยแบ่งเป็นรายได้จากการขายสิทธิ์เผยแพร่ภาพยนตร์ และรายได้จากส่วนแบ่งการจัดจำหน่ายในทุกแพลตฟอร์ม ซึ่งบริษัทจะได้รับ 50%-70% ของรายได้ในแต่ละตลาด คาดว่าจะสามารถทยอยบันทึกรายได้บางส่วนในไตรมาส 1 ปีนี้ จากจำนวนรายได้ขายสิทธิ์ 1.4 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 47 ล้านบาท และหลังจากภาพยนตร์ออกฉาย จะมีรายได้จากส่วนแบ่งทยอยเข้ามาเพิ่มเติม" นายธนัช กล่าว ภาพยนตร์ "Home Sweet Home: Rebirth" เตรียมเปิดฉายปลายเดือนมีนาคมนี้ในหลายประเทศ โดยเฉพาะตลาดรัสเซียที่มีกระแสตอบรับเชิงบวกอย่างมาก หลังการเผยแพร่ตัวอย่างภาพยนตร์ ทั้งนี้ ความ สำเร็จในการขยายสิทธิ์การฉายไปยังตลาดต่างประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของตลาดที่มีต่อศักย ภาพของภาพยนตร์เรื่องนี้ "Home Sweet Home: Rebirth" เป็นภาพยนตร์สยองขวัญฟอร์มยักษ์ที่พัฒนาต่อยอด จาก  IP เกมHome Sweet Home ซึ่งเป็นผลงานที่พัฒนาโดย YGG และมีผู้เล่นทั่วโลกสตรีมมิ่งแล้วกว่า 400 ล้านครั้ง ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอความน่ากลัวและความขลังของผีไทยสู่ตลาดโลก ได้รับการกำกับโดยผู้กำกับระดับโลก อเล็กซานเดอร์ คีสเซิล และสเตฟเฟน แฮกเกอร์ โดยใช้เทคนิคพิเศษที่ทำให้ภาพยนตร์มีความน่าสนใจและชวนติดตาม  นำแสดงโดยดาราฮอลลีวูด มิเชล มอร์โรน, วิลเลียม โมสลีย์ ร่วมกับนักแสดงชั้นนำของไทย ญาญ่า อุรัสยา เสปอร์บันด์ และนักแสดงจากเกาหลี อเล็กซานเดอร์ ลี ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงผู้ชมในตลาดต่างๆ ทั่วโลก นายธนัชกล่าวอีกว่า YGG ได้เตรียมจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2568 ในวันที่ 11 มีนาคม 2568 เพื่อขออนุมัติการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (PP) จำนวน 5 ราย รวม 250 ล้านหุ้น มูลค่ารวม 135 ล้านบาท โดยเงินที่ได้จะถูกนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนภายในกิจการ และลงทุนในโครงการทางธุรกิจในอนาคตของบริษัท เพื่อการพัฒนาและต่อยอดธุรกิจอย่างยั่งยืน ผู้ถือหุ้นที่สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถตอบกลับ หรือมอบฉันทะ มายังบริษัทฯ หรือ ทางอีเมล [email protected] ภายในวันที่ 5 มีนาคม 2568 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณกัณฐิกา อังประทีป โทร. 081-934-8176 [PR News]

WARRIXปี67กำไร148.89ล. สินค้าคลาสสิคขายดี

WARRIXปี67กำไร148.89ล. สินค้าคลาสสิคขายดี

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน WARRIX ปี 67 กำไร 148.89 ล้านบาท เทียบกับปี 66 ที่ 127.38 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.50 ล้านบาท หรือโต 16.88% ส่วนรายได้จากการขายและบริการอยู่ที่ 1,553.48 ล้านบาท เติบโตขึ้น 26.86% ชี้ออนไลน์ ร้านค้าโตสนั่น           นายวิศัลย์ ศรีสกล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด (มหาชน) หรือ WARRIX แจ้งผลประกอบการต่อตลาดหลักทรัพย์ ว่า ภาพรวมผลการดำเนินงาน บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด (มหาชน) มีรายได้จากการขายและบริการในไตรมาส 4/2567 จำนวน 447.01 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.67% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2566 ทั้งนี้ บริษัทสามารถขายสินค้าได้มากกว่ารายได้ที่ปรากฏในงบการเงิน เนื่องจากบริษัทสามารถขายสินค้าได้ แต่ผู้ให้บริการคลังสินค้ารายใหม่ไม่สามารถจัดส่งสินค้าได้ทันตามกำหนด จึงส่งผลกระทบต่อรายได้บางส่วน บริษัทจึงอยู่ระหว่างเริ่มดำเนินการบริหารคลังสินค้าเอง ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์บริหารคลังสินค้ายาวนานกว่า 20 ปี ในคลังสินค้ามใหม่บนพื้นที่กว้างขึ้น ซึ่งจะสามารถรองรับการเติบโตระยะยาว           อย่างไรก็ตาม บริษัทยังมียอดขายเติบโตในเกือบทุกช่องทางการขาย โดยช่องทางร้านค้าทั่วไปมีกาการเติบโตสูงสุด เนื่องจากร้านค้าสั่งซื้อสินค้าเพื่อรองรับการขายในปีถัดไปมากขึ้น ประกอบกับการฟื้นตัวของยอดขายช่องทางออนไลน์ในแง่ของสินค้า มีสาเหตุหลักจากการเติบโตของยอดขายกลุ่มสินค้า Non-Licensed โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสินค้าคลาสสิค สินค้าคอลเลคชั่น และสินค้าทำตามคำสั่ง (Made to Order)           บริษัทมีอัตรากำไรขั้นต้นสำหรับไตรมาส 4/2567 คิดเป็น 49.74% เพิ่มขึ้น 1.46% เมื่อเทียบกับช่วงเวลเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ บริษัทมีค่าใช้จ่ายในการขายเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับการเติบโตของยอดขาย และสามารถควบคุมสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหารต่อรายได้ดีขึ้น ส่งผลให้บริษัทมีกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 4/2567 จำนวน 57.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.06% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2566           สำหรับปี 2567 บริษัทมีรายได้จากการขายและบริการจำนวน 1,553.48 ล้านบาท เติบโตขึ้น 26.86% เมื่อเทียบกับปี 2566 เนื่องจากมีการเติบโตของรายได้เกือบทุกช่องทางการขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่องทางร้านค้าทั่วไป ช่องทางออนไลน์ และร้านค้าของบริษัท อีกทั้ง บริษัทสามารถสร้างการเติบโตในช่องทางการขายต่างประเทศได้ดีขึ้นมาก ทั้งในประเทศสิงคโปร์ และผ่านตัวแทนจำหน่ายรายใหม่ในประเทศมาเลเซีย           อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 3/2567 บริษัทมีกระบวนการย้ายคลังสินค้าในประเทศไทย และพบว่าผู้ให้บริการรายใหม่ไม่สามารถจัดส่งสินค้าได้ทันตามกำหนด จึงส่งผลกระทบต่อยอดขายบางส่วน และในแง่ของสินค้า มีการเติบโตของทุกกลุ่มสินค้าเป็นผลจากการสร้างแบรนด์และขยายช่องทางการขายให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าคลาสสิคมีรายได้เติบโตมากที่สุด           บริษัทมีอัตรากำไรขั้นต้นสำหรับปี 2567 คิดเป็น 48.97% เพิ่มขึ้น 1.17% เมื่อเทียบกับช่วงเวลเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายในการขายที่ผันแปรสอดคล้องกับยอดขายที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่เริ่มควบคุมอัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหารต่อยอดขายได้ดีขึ้น ส่งผลให้บริษัทมีกำไรสุทธิสำหรับปี 2567 จำนวน 148.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.88% เมื่อเทียบกับปี 2566

PLT ขนส่งใหญ่ LPG  เจรจาบิ๊กเนมต่างแดน   

PLT ขนส่งใหญ่ LPG เจรจาบิ๊กเนมต่างแดน  

          หุ้นวิชั่น - PLT เดินเกมสู่ความเป็นผู้นำขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ในเอเชีย ฟากบอสใหญ่ "วราวิช ฉิมตะวัน" เน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน แย้มแผนเพิ่มเรือใหญ่ 5,000 CBM ย่องเจรจารายใหญ่ต่างแดน พร้อมให้บริการขนส่ง ปักธงรายได้ปี 68 โต 15-20%  โชว์ผลงานปี 67 รายได้ทำสถิติใหม่สูงสุด 963.38 ล้านบาท หรือโต 21.14% ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 62.81 ล้านบาท พุ่ง 42.92%           นายวราวิช ฉิมตะวัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีลาทัส มารีน จำกัด (มหาชน) หรือ PLT เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ในปี 2568 ที่ระดับ 15-20% พร้อมวางแผนก้าวขึ้นเป็นผู้นำ (Leader) ด้านการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ บริษัทมีแผนกระจายการให้บริการขนส่งไปยังสินค้าอื่น ๆ เพื่อเพิ่มแหล่งรายได้และสร้างความมั่นคงทางธุรกิจ           ทั้งนี้ PLT มุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านการกระจายรายได้จากการขนส่งสินค้าหลายประเภท รวมถึงการขยายเส้นทางขนส่งไปยัง ภูมิภาคเอเชียเหนือ (North Asia) และเอเชียใต้ (South Asia) มากขึ้น โดยได้รับแรงสนับสนุนจาก ปัจจัยหลัก 2 ประการ ได้แก่ ความต้องการเรือขนส่งก๊าซ (Gas Carrier) ในเอเชียที่สูงกว่าจำนวนเรือที่มีอยู่ในตลาดจำนวนเรือขนาดเล็ก (ไม่เกิน 5,000 CBM) ที่ให้บริการในเอเชียมีจำกัด โดยปัจจุบันเรือกลุ่มนี้ 70% ให้บริการในยุโรป ขณะที่มีเพียง 30% ให้บริการในเอเชีย ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการขนส่งที่เพิ่มขึ้น            PLT เผยแผนลงทุนปี 2568 เตรียมเพิ่มเรือขนส่งขนาดใหญ่ 5,000 CBM รองรับความต้องการของลูกค้าที่ต้องการใช้บริการเรือลำใหญ่ในการขนส่ง LPG ขณะเดียวกันบริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับ ลูกค้ารายใหญ่หลายราย เพื่อขยายฐานลูกค้าและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ           นอกจากนี้ PLT ได้เริ่มให้บริการขนส่งสินค้าแก่ ลูกค้ารายใหญ่ในประเทศมาเลเซีย ซึ่งช่วยสร้างการรับรู้และทำให้ลูกค้ารายใหญ่เริ่มรู้จักบริษัทในฐานะ ผู้ให้บริการขนส่ง LPG ชั้นนำในภูมิภาค พร้อมเดินหน้าขยายตลาดและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในระดับสากล           ด้านแผนกลยุทธ์ในปี 2568 บริษัทจะมุ่งเน้นการขยายการให้บริการ นอกเหนือจากการขนส่ง LPG และเพิ่มฐานลูกค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการพึ่งพาลูกค้ารายใดรายหนึ่ง และเพิ่มการให้บริการในสินค้าประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเหลวและเคมีภัณฑ์ เช่น โอเลฟินส์ ซึ่งจะช่วยให้สัดส่วนรายได้ของบริษัทมีความสมดุลและเติบโตไปพร้อมกับแนวโน้มของอุตสาหกรรม           ทั้งนี้ คาดว่า Business Unit (BU) ใหม่ ของบริษัทจะเริ่มเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีสัดส่วนรายได้ถึง 5% ภายในปี 2568           สำหรับผลประกอบการปี 2567 บริษัทมีรายได้จากการให้บริการรวม 963.38 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.14% เมื่อเทียบกับ 795.25 ล้านบาท ของงวดเดียวกันในปี 2566 ซึ่งการเติบโตนี้มาจากสองส่วนหลัก ได้แก่ รายได้จากธุรกิจขนส่งทางเรือทั้งในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 833.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 92.00 ล้านบาท หรือเติบโต 12.41% จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ประเภทสัญญาให้บริการเช่าเหมาเรือแบบระยะเวลา (Time Charter) กับลูกค้าต่างประเทศ จำนวน 98.39 ล้านบาท และการเพิ่มขึ้นของการให้บริการแบบ COA และ SPOT จำนวน 3.11 ล้านบาท ธุรกิจขนส่งทางรถ จำนวน 130.22 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 76.14 ล้านบาท หรือเติบโต 140.76% เนื่องจากบริษัทฯ มีการให้บริการการขนส่งทางรถเพิ่มขึ้น           ขณะที่ปี 2567 บริษัทมีกำไร อยู่ที่ 62.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42.92% จาก 43.95 ล้านบาท ของงวดเดียวกันในปี 2566 เป็นผลจากการเติบโตของรายได้โดยรวมและการบริหารจัดการต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น           นายวราวิช กล่าวเพิ่มเติมว่า รายได้ในปี 2567 ถือเป็นเป้าหมายใหม่สูงสุดของบริษัท อย่างไรก็ตาม กำไรอาจต่ำกว่าที่ทีมบริหารคาดการณ์ เนื่องจากค่าใช้จ่ายการขนส่งแบบ COA ภายในประเทศที่สูงขึ้น และปัญหาเรือขาดตลาด ส่งผลให้บริษัทต้องปรับกลยุทธ์ในการบริหารและปรับรูปแบบการให้บริการให้เหมาะสม คาดว่าจะเห็นความชัดเจนในปี 2568 และทิศทางผลประกอบการจะดีขึ้นและเติบโตอย่างชัดเจนในปี 2568 รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision