หุ้นวิชั่น- มาวิเคราะห์หัวข้อประเด็นเจรจาการค้ากันให้ชัดๆ รัฐบาลแถลงมาตรการรับมือนโยบายภาษีของสหรัฐอเมริกา โดยถือเป็นโอกาสในการยกระดับการค้าของไทยให้สูงขึ้น โดยจะเน้นแนวทางที่ ไม่ใช่การลดภาษีให้กับสหรัฐฯ แต่เป็นการปรับสมดุลทางการค้าระหว่างกัน
ซึ่งมีแนวทางหลัก ๆ ดังนี้คือ นำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ มากขึ้น โดยเน้นสินค้าที่ประเทศไทยมีความต้องการใช้อยู่แล้ว เช่น สินค้าเกษตร เครื่องในสุกร และก๊าซธรรมชาติ ลดหรือยกเว้นภาษีให้กับสินค้าสหรัฐฯ ที่ไทยมีการจัดเก็บภาษีได้ไม่สูงนัก และมีรายได้ต่อปีไม่มากอยู่แล้ว โดยมีมากกว่า 100 รายการ ยกเลิกมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers) ป้องกันการสวมสิทธิ์แหล่งกำเนิดสินค้าไทย เพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ และสนับสนุนภาคเอกชนไทยให้ไปลงทุนในสหรัฐฯ มากขึ้น โดยเฉพาะในภาคเกษตร ภาคพลังงาน และอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ
โดยรวม มาตรการนี้ถือว่าสอดรับกับแนวทางที่สหรัฐฯ ต้องการ ซึ่งอ้างอิงจากแนวทางที่ ประธานาธิบดีทรัมป์ เคยชื่นชมการแก้ปัญหาของเกาหลีใต้ เช่น การนำเข้าก๊าซธรรมชาติ และการร่วมลงทุนกับสหรัฐฯ ทำให้มีโอกาสที่การเจรจาระหว่างไทยกับสหรัฐฯ จะบรรลุข้อตกลงเชิงบวกได้
ผลบวกต่อหุ้น ที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากแนวทางนี้ ได้แก่ CPF, GFPT (ต้นทุนลดลงจากการนำเข้าสินค้าบางประเภท) กลุ่มพลังงาน (ได้ประโยชน์จากการลงทุนเพิ่มเติม) โรงไฟฟ้า (ได้แหล่งก๊าซใหม่ หากค่าขนส่งรวมต้นทุนไม่สูง ช่วยเพิ่มอำนาจต่อรอง) (ที่มา KSS)
วกมาที่ บล.พาย มองว่า ในเชิงกลยุทธ์การลงทุนยังไม่เร่งร้อนเข้าลงทุนแม้หุ้นไทยจะถูกก็ตาม เพราะไม่มีปัจัยหนุนชัดเจนและยังเสี่ยงจะปรับลงได้อีกตามปัจจัยกดดันการค้าและการปรับประมาณการเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตามนักลงทุนระยะกลาง – ยาว หากประสงค์จะลงทุนอาจเลือกสะสมบางส่วนในหุ้นพื้นฐานดีที่เป็นผู้นำอุตสาหกรรม อาทิ ค้าปลีก (BJC CRC CPALL) ศูนย์การค้า (CPN) โรงพยาบาล (BDMS)
ขณะที่ CPF มีปัจจัยบวกจากผลประกอบการงวด 1Q25 ที่คาดว่าจะสูงถึงระดับ 7,078 ล้านบาท (+514%YoY,+70%QoQ) จากผลดีของราคาเนื้อสุกรที่ไทยและเวียดนามที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากผลกระทบของโรคระบาดที่เกิดขึ้น ซึ่งผลดีดังกล่าวยังคงเห็นต่อเนื่องมาถึงช่วง 2Q25 นี้ ขณะที่ผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีของสหรัฐฯ เบื้องต้นทาง CPF มีการขายไปยังสหรัฐฯ ไม่มากนัก มีสัดส่วนไม่ถึง 2% ของรายได้รวม (ราคาเป้าหมาย 30.50 บาท)
มาส่องBDMSกัน คาดประกาศกำไรสุทธิ 4Q24 สูงที่ 4.3 พันล้านบาท (+9% YoY, +2% QoQ) หนุนกำไรสุทธิปี 2024 เติบโตอยู่ที่ 1.6 หมื่นล้านบาท (+11% YoY) เป็นไปตามทิศทางเดียวกับที่เราและตลาดคาด สำหรับในปี 2025 คาดกำไรสุทธิเติบโตต่อเนื่องหนุนจาก 1) แผนขยายจำนวนโรงพยบาลและเตียงผู้ป่วย และ 2) การเติบโตของนักท่องเที่ยวต่างชาติ( ราคาเป้าหมาย 28.00 บาท)
ส่วน บล.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ประเมินว่า CPALL กำไร 4Q67 +28% QoQ และ +31% YoY รับผลบวกจากฤดูกาลท่องเที่ยว เทศกาลฉลองส่งท้ายปี และผลบวกจาก Synergy MAKRO & LOTUS ชัดเจนมากขึ้นหลังควบรวมเสร็จต้น 4Q67คาดกำไร 1Q68F ยังเติบโตเกิน 15% YoY ทั้งจาก 7-11 ที่ SSSG 2 เดือนแรก +3% YoY และธุรกิจ CPAXT SSSG 2 เดือนแรก +1-2% YoY และ GPM ปรับตัวดีขึ้นในทุกธุรกิจ โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มอาหารสด และ Ready to eat คาดกำไรทั้งปีนี้เติบโต 15% จากปีก่อนหน้า แม้จะเห็น Synergy ในกลุ่ม CPAXT มากขึ้น แต่ด้วยฐานกำไรที่สูงมากในปีก่อน + กำลังซื้อในไทยยังอ่อนแอ เคาะราคาพื้นฐาน 70 บาทต่อหุ้น
บล.เอเซียพลัส กระซิบว่า ใกล้ถึงโซนบรรจุกระสุนเพิ่ม SET INDEX 5 เดือน ย่อตัวลงมาเกิน -25% จนมี MARKET CAP เหลือเพียง 13.2 ล้านล้านบาท ต่ำกว่า GDP ไทย 67 ที่ 18.6 ล้านล้านบาท พอสมควร ที่สำคัญ คือ มี P/BV เหลือเพียง 1 เท่า เท่านั้น ในอดีตเวลา SET INDEX ปรับตัวลงมาเกิน -25% ยังมีโอกาสผันผวนได้อีก 1 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน แต่ระยะยาวฟื้นได้ ดีมาก
- เช่นเดียวกับเวลาที่ SET มี PBV ต่ำกว่า 1 เท่า มักเกิดขึ้นน้อยเพียงแค่ 1% กว่าตลอด 25 ปี และมักจะทยอยปรับตัวขึ้นได้ดีในระยะกลางยาวเช่นเดียวกัน
- ภายใต้ความผันผวนกับ TRADE WAR 2 ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ เลือกหุ้น DOMESTIC ผันผวนต่ำ ดังนี้ ADVANC, BEM, CPALL,
โดยสรุปทำเนียบหุ้นความเสี่ยงต่ำ ที่นักลงทุนน่าสะสม และโบรกเกอร์ส่วนใหญ่แนะนำ ประกอบด้วย 8 หลักทรัพย์ ดังนี้ ADVANC, BEM, CPALL,BDMS,CPF,BJC,CPN,GFPT
การลงทุน มีความเสี่ยง ผู้ลงทุน ควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ ลงทุน
ข่าวหัวม่วง และทีมงานหุ้นวิชั่น